เที่ยวในประเทศ

ภารกิจตามหาหญ้าทะเล ฮาเฮ เกาะหมาก จ.ตราด

logo-castawayอ่าวผ่อง 2

เคยมีคนกล่าวไว้ว่า ตราดคือเมืองเกาะครึ่งร้อย และเป็นสวรรค์แห่งทะเลตะวันออก ที่อาบอิ่มด้วยคลื่นลมเห่กล่อม ผสานน้ำทะเลสีครามสดใส เคียงคู่หาดทรายขาวสะอาดตา วันนี้เราจะพาตัวเองล่องเรือโล้คลื่นสู่ เกาะหมาก หนึ่งในเกาะแสนงามแห่งเมืองตราด เพื่อดำดิ่งลงไปยังโลกใต้ทะเลอันสวยงาม น่าพิศวง และมีเรื่องราวให้ค้นหาไม่รู้จบ

ทริปนี้พิเศษกว่าทุกครั้ง เพราะ Go Travel Photo ได้รับเกียรติจาก อพท. หรือ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ให้เข้าร่วมในโครงการ Castaway @Low Carbon Island 2016 ทำหน้าที่อาสารักษ์โลก สัมผัสธรรมชาติสงบงาม และวิถีชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมบนเกาะหมากแห่งนี้

อ่าวผ่อง 3

มาเที่ยวเกาะหมากคราวนี้ เรามีภารกิจพิเศษพกติดตัวมาด้วย เพราะเราได้ยินมาว่า ที่ “อ่าวผ่อง” ทางด้านทิศใต้ของเกาะหมาก ซึ่งอยู่ติดกับท่าเรืออ่าวนิด เป็นจุดดำน้ำตื้นชมปะการังที่น่างดงามมาก แถมยังมีแนวหญ้าทะเลอยู่ด้วย! โห ถ้าจริงก็ดีนะสิ เพราะหญ้าทะเลเหลืออยู่ไม่มากแล้วในเมืองไทย หวังว่าจะได้เห็นกับตาตัวเองสักครั้ง
อ่าวผ่อง 4

อ่าวผ่อง ที่เราเห็นในแว๊บแรก ทำให้หลงรักในทันที เพราะถึงแม้จะเป็นเวิ้งอ่าวเล็กๆ ยาวไม่กี่ร้อยเมตร ทว่าจุดเด่นคือความสงบ หาดทรายเป็นสีทอง เนื้อละเอียดเนียน เดินนุ่มเท้า วันนี้ฟ้าใสเป็นใจกับการดำน้ำตามหาหญ้าทะเลจริงๆ เลย
อ่าวผ่อง 5

พวกเราเป็นคนชอบกิจกรรมมันส์ๆ จะทำอะไรทีก็ต้องไม่ธรรมดา เลยขอเพิ่มดีกรีความสนุกก่อนจะไปดำน้ำที่อ่าวผ่อง ด้วยการพายเรือคายัคระยะทางสักครึ่งกิโลเมตร เริ่มต้นจากทะเล ไทม์ รีสอร์ท ไปอ่าวผ่อง โดยครั้งนี้ได้สาวสวยขาลุย “คุณหมอนก” จากเว็บไซต์เพื่อนนักสะพายเป้ มาเป็นเพื่อนร่วมทาง ก่อนพายเรือก็ต้องเตรียมความพร้อมกันหน่อยล่ะ
อ่าวผ่อง 6

แม้จะเป็นการพายเรือคายัคระยะทางสั้นๆ แต่มากางแผนที่ดูเส้นทาง และจุดหมาย กันไว้ก่อน ก็ดีเหมือนกัน
อ่าวผ่อง 7

น่าจะใช้เวลาพายเรือไม่เกิน 30 นาที ถ้าคลื่นลมไม่แรงเกินไป พร้อมแล้วก็ลุยกันเลยยยยยอ่าวผ่อง 8

การพายเรือคายัค เป็นหนึ่งในกิจกรรมการท่องเที่ยวทางน้ำที่ถือว่า “เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” เพราะไม่ได้ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อะไรเลยสู่ชั้นบรรยากาศโลก เสียงก็เงียบ พายเรือไปอย่างอิสระเสรี จะหยุดแวะชมธรรมชาติตรงไหนก็ได้ตามใจชอบ นับว่าเหมาะสุดๆ แล้ว สำหรับเกาะคาร์บอนต่ำอย่างเกาะหมากครับ

แต่วันนี้ดูเหมือนคลื่นลมจะค่อนข้างแรง เรือคายัคของผมกับหมอนกเลยโดนคลื่นซัดไปคนละทางสองทาง ฮาฮาฮา สุดท้ายก็ต้องใช้วิธีผูกเชือกโยงเรือเข้าไว้ด้วยกัน แล้วพายไปพร้อมๆ กันดีกว่าเนอะอ่าวผ่อง 9

ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ตามที่กะไว้ ในที่สุดเรือคายัคลำน้อยสองลำก็มาจอดเกยหาดอยู่ที่อ่าวผ่อง อย่างปลอดภัย โดยมี คุณไมเคิล ซึ่งเป็นชาวยุโรปที่มาทำธุรกิจรีสอร์ทเล็กๆ อยู่ที่อ่าวผ่อง แถมยังเป็นนักถ่ายภาพใต้น้ำฝีมือฉกาจ รวมทั้ง คุณเนม เจ้าของทะเล ไทม์ รีสอร์ท (อ่าวทองหลาง) ที่อยู่ติดกัน มายืนรอรับอยู่ด้วยความเป็นห่วง

ก่อนจะเปลี่ยนชุดลงไปดำน้ำ เราได้พูดคุยกันถึงความสมบูรณ์ของพื้นที่ คุณไมเคิลเล่าว่า แนวปะการังหน้าอ่าวผ่องเคยถูกภาวะปะการังฟอกขาว หรือ Coral Bleching จากน้ำทะเลที่ร้อนขึ้น (ผลจากภาวะโลกร้อน) ส่วนหนึ่งจึงตายไป แต่โชคดีที่ปัจจุบันบางส่วนเริ่มฟื้นตัวแล้ว จึงมีปลาเล็กปลาน้อย และปะการังเกิดใหม่ ค่อยๆ เติบโตขึ้น
อ่าวผ่อง 10.1

บริเวณหัวหาดด้านหนึ่งของอ่าวผ่อง ยามน้ำลดจะเห็น แนวหินภูเขาไฟ (Volcanic Rock) จำนวนมากผุดขึ้นมา ลักษณะเป็นหินสีน้ำตาลเกือบดำ เนื้อเป็นรูพรุนจำนวนมาก เพราะหินลาวานี้มีฟองอากาศอยู่ภายใน และเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว นี่เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า เมื่อ 200 กว่าล้านปีก่อน บริเวณนี้เป็นแหล่งธรณีภูเขาไฟที่ดุเดือดไม่ใช่เล่น คงอย่างนี้นี่เอง ในบริเวณจังหวัดตราดและจันทบุรี จึงมีหินอัญมณีมีค่าและหินภูเขาไฟหลงเหลืออยู่มากมาย อย่างที่เกาะขามที่อยู่ใกล้เกาะหมากก็มีเหมือนกันครับอ่าวผ่อง 10.2

แนวหินภูเขาไฟผุดยามน้ำลง ที่อ่าวผ่องอ่าวผ่อง 10

เอาล่ะ ตอนนี้ได้เวลาดำน้ำตามหาหญ้าทะเลกันแล้ว ตื่นเต้นจัง! หมอนกคนสวยของเรา โดดน้ำตามคุณไมเคิลลงไปก่อนเลย วันนี้ถ้าภารกิจไม่สำเร็จ เราสัญญากับตัวเองไว้แล้วว่าจะไม่หยุดแน่นอน!อ่าวผ่อง 11

แม้วันนี้บนผิวน้ำคลื่นจะค่อนข้างแรง น้ำไม่ใสเคลียแบบ 100 เปอร์เซนต์ แต่ก็ยังพอมองเห็นป่าใต้น้ำได้บ้าง ไม่ห่างจากฝั่งมากนัก ในบริเวณน้ำลึกไม่เกิน 1.50 เมตร สิ่งแรกที่เตะตานักดำน้ำมือสมัครเล่นอย่างผมก็คือ “สาหร่ายทุ่น” (Sargassum) เป็นสาหร่ายสีน้ำตาล ที่มีลำต้นยาวตั้งตรง พลิ้วไหวโอนเอนไปมาตามกระแสคลื่น ทำให้จุดนี้เราต้องว่ายน้ำซิกแซกไปมาหลบพวกมัน น่าสนุกดีครับ เหมือนผจญภัยในป่าใต้น้ำไม่มีผิดเลย!อ่าวผ่อง 12

ในบริเวณเดียวกับที่พบสาหร่ายทุ่น เรายังพบ สาหร่ายเห็ดหูหนู (Lobophora) งอกงามอยู่เป็นจำนวนมาก ลักษณะของมันเนื้อจะนิ่มๆ เหมือนวุ้น มีแผ่นใบกลมๆ เหมือนหูหนูขนาดใหญ่ การที่เราพบสาหร่ายในน้ำตื้นทั้งสองชนิดนี้ ถือว่าดี เพราะนอกจากมันจะช่วยสังเคราะห์แสงเพิ่มออกซิเจนให้ทะเลแล้ว ยังเป็นตัวดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย เพราะในกระบวนการสังเคราะห์แสงของมัน ต้องใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากอ่าวผ่อง 13

ดำน้ำตีขาสู้คลื่นห่างจากฝั่งออกมาประมาณ 30-40 เมตร ช่วงแรกนี้ปะการังที่พบส่วนใหญ่เป็นปะการังแข็ง (Hard Coral) หลากชนิด อย่างในภาพนี้คือ ปะการังรังผึ้ง (Honey Comb Coral) รูปแบบหนึ่งอ่าวผ่อง 14

ปะการังรังผึ้งรูปแบบหนึ่ง กำลังเติบโตขึ้นบนโขดปะการังเดิมที่ตายลงเพราะภาวะน้ำทะเลร้อนในอดีตอ่าวผ่อง 15

รูปแบบชีวิตอันหลากหลายใต้ท้องทะเลที่อ่าวผ่อง ปะการังรังผึ้ง แบบนี้แม้กอจะไม่ใหญ่ แต่ถ้าสังเกตให้ดี จะพบว่ามีสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ไปพึ่งพิงอิงอาศัยอยู่มากมาย แนวปะการังจึงเป็นสังคมสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ ที่มีห่วงโซ่อาหารซับซ้อนมากอ่าวผ่อง 16

ปะการังดาวสีทอง (Golden Star Coral) สีส้มสดใส ที่เห็นนี้จริงๆ แล้วปะการังไม่ใช่พืช แต่เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่ดูดหรือกรอกกินสารอาหารและแพลงก์ตอนจากน้ำทะเล ปะการังบางชนิดอาศัยอยู่ในโครงสร้างหินปูนแข็ง รูปร่างคล้ายต้นไม้ ใบไม้ จึงทำให้หลายคนเข้าใจผิด คิดว่าปะการังเป็นพืช แต่จริงๆ แล้วพวกมันเป็นสัตว์จำพวกหนึ่งนะจ๊ะ อิอิอ่าวผ่อง 17

ปะการังรังผึ้งรูปแบบหนึ่ง ที่อ่าวผ่อง รูปร่างสวยงามแปลกตาเหลือเกินอ่าวผ่อง 18

ในบริเวณน้ำตื้นของอ่าวผ่อง ช่วงที่น้ำลึกไม่เกิน 1.50 เมตร เราพบ ปลิงทะเล (Lolly Sea Cucumber) อยู่บ้างพอสมควร จริงๆ แล้วปลิงทะเลเป็นญาติใกล้ชิดกับดาวทะเลและหอยเม่น มันเคลื่อนที่ด้วยการยืดหดกล้ามเนื้อ ทำนองคืบคลานไปมา เพราะมันไม่มีกระดูกสันหลัง โดยมันจะใช้หนวดที่ปากคุ้ยเขี่ยซากอินทรีย์และอาหารบนพื้นทราย เลน กิน การพบปลิงทะเลในบริเวณใดมากๆ จึงเท่ากับว่า มีเทศบาลคอยช่วยทำความสะอาดพื้นทะเลให้นั่นเองอ่าวผ่อง 19ปะการังรังผึ้ง (Honey Comb Coral) ก้อนกลมเกือบเท่าลูกฟุตบอล ลายสวยน่ารัก เป็นปะการังแข็งชนิดหนึ่งที่พบได้มากมายบริเวณอ่าวผ่อง กว่าจะขยายขนาดขึ้นเป็นกอใหญ่ๆ ได้ มันต้องใช้เวลาหลายสิบปีทีเดียว

อ่าวผ่อง 20

เพลิดเพลินกับการดำน้ำตื้นไปเรื่อยๆ ก็ไปจ๊ะเอ๋ เข้ากับกอ ปะการังสมองร่องลึก (Large Brain Coral) ที่ทำให้ขนลุกได้เหมือนกัน คงเพราะรูปร่างของมันเหมือนกับสมองของคนเราไม่ผิดเลยนะสิ! แต่จริงๆ แล้วไม่มีอันตรายหรอกนะ แค่เราคิดไปเอง ไม่น่ากลัวอะไร เราจะเห็นหนอนสีดำขนาดเล็กอาศัยอยู่ในร่องของปะการังสมองด้วยอ่าวผ่อง 21

ปะการังสมองร่องลึก (Large Brain Coral) ขนาดเท่าหัวผักกะหล่ำใหญ่ๆ
อ่าวผ่อง 22

การดำน้ำตามหาหญ้าทะเลในวันนี้ที่อ่าวผ่อง เรามีคุณไมเคิลเป็น Dive Leader หรือผู้นำดำน้ำ เพราะเขาอาศัยอยู่ที่นี่ จึงมีความเชี่ยวชาญ รู้ว่าตรงไหนมีอะไร แต่ที่สำคัญคือ คุณไมเคิลได้ช่วยเราเก็บภาพ VDO ใต้น้ำด้วย ดีใจมากๆ ครับอ่าวผ่อง 23

ในจุดดำน้ำหลักจุดแรก ซึ่งเป็นเหมือนดงปะการังแข็งพื้นที่กว้าง เราพบ หอยมือเสือ (Giant Clam) ซึ่งเป็นหอยทะเลขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่ง กระจายอยู่มากมาย แม้มันจะยังโตไม่เต็มที่ จนถึงขนาด 100-120 เซนติเมตร แต่ก็ถือเป็นหอยมือเสือวัยรุ่น ที่บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของอ่าวผ่องได้เป็นอย่างดี และจะช่วยให้ท้องทะเลบริเวณนี้ในอนาคตมีความอุดม มีคุณค่า มีห่วงโซ่อาหารที่ไม่ขาดตอนอ่าวผ่อง 24

ว่ากันว่า พบหอยมือเสือที่ใด น้ำในบริเวณนั้นถือว่าสะอาด เพราะหอยมือเสือจะมีชีวิตอยู่ได้ในบริเวณที่น้ำค่อนข้างคื้น ใสสะอาด ตะกอนน้อย เนื่องจากตัวของมันเองแม้จะเป็นสัตว์ แต่ช่างน่าอัศจรรย์ กลับมีสาหร่ายชนิดหนึ่งไปอาศัยอยู่ในเนื้อของมันด้วย หอยมือเสือจึงต้องเปิดปากออกมา ให้สาหร่ายสังเคราะห์แสงสร้างอาหาร เป็นการอาศัยแบบพึ่งพากัน ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย (Symbiosis) คือสาหร่ายได้ที่อยู่อาศัย และหอยมือเสือได้อาหารจากสาหร่าย
อ่าวผ่อง 25

การสังเคราะห์แสงของสาหร่ายที่อยู่ในเนื้อหอยมือเสือ ถือว่ามีประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ทางทะเลอย่างมาก เพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มออกซิเจนให้น้ำทะเลแล้ว ยังช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาเก็บไว้ด้วย หรือที่ในทางนิเวศน์วิทยาเรียกว่า Carbon Sink นั่นเอง หอยมือเสือจึงไม่ได้มีไว้กินอย่างเดียวตามที่หลายคนเข้าใจผิด

“ทุกสิ่งทุกอย่างในธรรมชาติล้วนมีหน้าที่ และเชื่อมโยงกันเป็นวงจร ห่วงโซ่อันเปราะบาง”
อ่าวผ่อง 26

ถ้าสังเกตให้ดี นอกจากหอยมือเสือแล้ว เรายังพบ หอยมือแมว (Crocus Giant Clam) ด้วย ถ้าไม่รู้จักมองผ่านๆ ก็อาจนึกว่าเป็นชนิดเดียวกับหอยมือเสือ (Giant Clam) วิธีสังเกตง่ายๆ ในความต่าง คือ หอยมือแมวขนาดจะเล็กกว่า ยาวเพียง 10-15 เซนติเมตร (ไม่เกิน 20 เซนติเมตร) และมักฝังตัวอยู่ในกอหรือโขดปะการังแข็ง ไม่ได้เห็นเป็นตัวเด่นขึ้นมาเหมือนหอยมือเสือ อ่าวผ่อง 27

หอยมือแมว (Crocus Giant Clam) อยู่ในตระกูลเดียวกับหอยมือเสือ แต่ตัวเล็กกว่า ทว่ามันสามารถช่วยสังเคราะห์แสง ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เช่นกัน
อ่าวผ่อง 28

ปะการังสีทอง ที่อ่าวผ่อง ชนิดนี้ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเป็นสีทองตามธรรมชาติ หรือเกิดจากภาวนะน้ำทะเลร้อนขึ้น???อ่าวผ่อง 29

ปะการังโขด (Hump Coral) สีม่วงอมชมพูสวยงาม พบกระจายอยู่ทั่วไปที่อ่าวผ่อง
อ่าวผ่อง 30

ปะการังโขด (Hump Coral) สีชมพูอ่อนที่อ่าวผ่อง บางจุดพบว่ามีขนาดใหญ่ แผ่ออกไปหลายสิบตารางเมตรเลยทีเดียว จะเห็นว่า นอกจากมีลูกปลาเล็กๆ แอบไปใช้เป็นที่หลบภัยแล้ว ยังมีหอยไปฝังตัวอยู่ในเนื้อของปะการังโขดด้วยอ่าวผ่อง 31

เมื่อดำน้ำห่างจากฝั่งออกมาเรื่อยๆ จนถึงระยะน้ำลึกราวๆ 3 เมตร ก็พบ ปะการังโขด (Hump Coral / Mountain Coral) ขนาดใหญ่และกินพื้นที่กว้างขึ้น ปะการังโขดบางกอมีสีส้ม ชมพู ม่วง ผสานกันไปมา สวยงามมากอ่าวผ่อง 32

ฝูงปลาเล็กปลาน้อย ว่ายวนหากินอยู่ในแนวปะการังแข็งของอ่าวผ่อง
อ่าวผ่อง 33

ปะการังดอกเห็ด (Mushroom Coral) แม้พบได้ทั่วไป เป็นปะการังที่หาง่าย แต่ก็มีรูปร่างสวยงามเตะตา ดึงดูดความสนใจเราให้ว่ายน้ำเข้าไปดูใกล้ๆ ได้ทุกครั้ง พวกมันเป็นปะการังที่เติบโตขึ้นเป็นกอเดี่ยวๆ เส้นผ่าศูนย์กลาง 20-30 เซนติเมตร แต่ถ้าโตอยู่ใกล้กันหลายๆ อัน บางครั้งมันก็รวมตัวเป็นกอใหญ่ก็มี จัดเป็นปะการังน้ำตื้นที่โดดเด่นมากชนิดหนึ่งของอ่าวผ่องครับ
อ่าวผ่อง 34ปะการังเขากวาง (Staghorn Coral) ในลักษณะการเติบโตขึ้นเป็นพุ่ม (Table) รูปร่างคล้ายโต๊ะขนาดใหญ่ การที่พบเห็นมันเป็นสีเหลืองทองขนาดนี้ เป็นดัชนีบ่งชี้ได้ชัดเจนว่าน้ำทะเลของภาคตะวันออกร้อนขึ้น อันเป็นผลมาจากปี 2016 เป็นปีที่โลกต้องประสบภาวะโลกร้อน และปะการังฟอกขาว รุนแรงที่สุดปีหนึ่ง!!!

อ่าวผ่อง 35

กว่าปะการังเขากวางแต่ละกิ่งจะงอกงามขึ้นได้ขนาดนี้ มันต้องใช้เวลาหลายสิบปี เพราะแต่ละปีมันงอกยาวได้แค่ไม่กี่มิลลิเมตรเท่านั้น! ดังนั้นเวลาไปดำน้ำดู เราต้องระวังไม่จับต้อง และระวังไม่ให้ตีนกบดำน้ำของเราไปโดนมันจนหัก!
อ่าวผ่อง 36

ในบริเวณปะการังใต้น้ำกลุ่มที่ 2 ซึ่งคุณไมเคิลนำเราดำน้ำดู โชคดีไปพบกับ กอปะการังโขดรูปหัวใจ!!! ที่มีปะการังรังผึ้งกลมสวยคล้ายลูกบอลอยู่ตรงกลางพอดิบพอดี ช่างน่าพิศวงในประติมากรรมธรรมชาติใต้น้ำชิ้นนี้ เปรียบไป ก็คล้ายกับหัวใจแห่งมหาสมุทรที่ไข่มุกแสนงามประดับอยู่ตรงกลาง นี่คือของขวัญล้ำค่าสำหรับมนุษย์ตัวเล็กๆ อย่างเรา

ผมถือว่า นี่คือ Unssen ของอ่าวผ่อง และเกาะหมาก อย่างหนึ่งเลยล่ะ!
อ่าวผ่อง 37

ปะการังรังผึ้งที่อ่าวผ่อง
อ่าวผ่อง 38

ปะการังโขดขนาดเล็ก กำลังเริ่มก่อตัวขึ้นอย่างช้าๆ อ่าวผ่อง 39

ปะการังแผ่น เติบโตขึ้นเคียงคู่กับปะการังโขด ปะการังรังผึ้ง และชุมชนหอยเม่นหนามยาว ทำหน้าที่คล้ายชุมชนใต้น้ำ ให้หมู่กุ้ง หอย ปู ปลา เข้ามาหลบอาศัย หากิน และขยายพันธุ์ต่อไปอ่าวผ่อง 40

ปะการังสมอง (Brain Coral) เป็นหนึ่งในชนิดปะการังโดดเด่นที่สุดบริเวณอ่าวผ่อง รวมถึงรอบๆ เกาะหมาก และท้องทะเลภาคตะวันออกของไทย รูปร่างอันชวนพิศวงของมัน คงทำให้หลายคนรู้สึกขนลุกได้ไม่น้อย!
อ่าวผ่อง 41

ในที่สุด หลังจากดำน้ำกันมาชั่วโมงกว่า ผ่านกลุ่มปะการังเด่นๆ มา 2 กลุ่ม คุณไมเคิลก็นำเราว่ายน้ำกลับเข้าสู่บริเวณน้ำลึกไม่เกิน 2 เมตร ณ จุดนี้คือ แหล่งหญ้าทะเลที่เราตามหา! มันคือผืนพรมสีเขียวใต้น้ำใส แผ่กว้างออกไปหลายสิบตารางเมตร จนยากจะวัดให้ชัดเจนได้ว่ามีพื้นที่เท่าใดแน่ แต่นั่นคงไม่สำคัญเท่ากับ การได้เห็นหญ้าทะเลของจริงกับตาตัวเองสักครั้งในระยะใกล้ชิดแบบเผาขนขนาดนี้ คือสิ่งพิสูจน์ว่า เกาะหมากยังเป็นสวรรค์ของคนรักทะเลอย่างแท้จริงอ่าวผ่อง 42

หญ้าทะเลที่อ่าวผ่องขึ้นเบียดเสียดกันอย่างหนาแน่น สมบูรณ์มาก และแทบไม่มีร่องรอยความเสียหายเลย ดีใจจัง! โดยตามธรรมชาติแล้ว หญ้าทะเล หรือ Sea Grass คืออาหารของ เต่าทะเล (Sea Turtle) และ พะยูน (Dugong) รวมทั้งยังเป็นแหล่งอาศัย หลบภัย หากิน สืบพันธุ์ ของกุ้ง หอย ปู ปลา รวมถึงม้าน้ำตัวจิ๋วด้วย นอกจากนี้ หญ้าทะเลยังช่วยสังเคราะห์แสง เพิ่มออกซิเจนให้ท้องทะเล เป็นการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากักเก็บไว้ในตัวและผืนดินข้างใต้ ได้อย่างน่าอัศจรรย์อ่าวผ่อง 43

หญ้าทะเลที่อ่าวผ่อง มีชื่อชนิดว่า หญ้าชะเงาใบฟันเลื่อย ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cymodocea serrulata เป็นหญ้าทะเล 1 ใน 12 ชนิด ที่พบในเมืองไทยของเรา แหล่งหญ้าทะเลอันมีคุณค่านี้ล่ะ คือพืชที่ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ในปริมาณมหาศาล มหาสมุทรจึงเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนใหญ่ที่สุดอีกแห่ง อย่างที่เรามิอาจมองข้าม!
อ่าวผ่อง 44

ไม่น่าเชื่อเลยว่า กลางกอหญ้าทะเล เราจะพบสังคมการอยู่ร่วมกัน ของหญ้าทะเล สาหร่ายทะเล ปะการังเขากวาง และโขดปะการังแข็ง อย่างกลมกลืน ราวกับมีใครไปแอบจัดสวนไว้ใต้ทะเล ยังไงยังงั้นเลย ฮาฮาฮา

อ่าวผ่อง 45

ตรงบริเวณชายขอบของแหล่งหญ้าทะเลอ่าวผ่อง เราสามารถพบ หอยจอบ หรือหอยซองพลู (Comb Pen Shell) ฝังตัวอยู่ในพื้นทรายเป็นจำนวนมาก โดยมันจะฝังปลายด้านหนึ่งที่เป็นทรงแหลม ลึกลงไปในพื้นทราย ปล่อยไว้เพียงปากอีกด้านหนึ่งที่มนกว่าโผล่พ้นพื้นขึ้นมา ขอเตือนว่า เปลือกนี้ค่อนข้างคม ถ้าเดินลุยน้ำไปเหยียบเข้า ก็อาจเกิดแผลได้!

ตามปกติแล้ว หอยจอบจะกรองกินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร ซึ่งแพลงก์ตอนบางชนิดมีพิษด้วย การเอาเนื้อหรือเอ็นหอยจอบมากิน จึงอาจท้องเสียได้ ขอแนะนำให้ตัดปัญหา ไม่กินมันเลยจะดีกว่านะครับ
อ่าวผ่อง 46

จากจุดที่พบหญ้าทะเล ถ้าว่ายน้ำหันหัวออกทะเล ไปจนถึงระดับความลึกราวๆ 3 เมตร จะพบไฮไลท์อีกอย่างหนึ่งของอ่าวผ่อง นั่นคือ “ซากเรือจม” เป็นเรือประมงขนาดกลาง ชื่อ Thaitanic ซึ่งมาอับปางลงตรงนี้เมื่อหลายปีที่แล้ว ทว่าซากเรือที่พบไม่ได้มีลักษณะเป็นเรือเต็มลำชัดเจน เพราะถูกคลื่นลมถาโถมพัดไปมาจนพัง แตกออกเป็นชิ้นๆ กระจัดกระจาย นับเป็นจุดดำน้ำที่น่าตื่นเต้น ให้อารมณ์ของการผจญภัยเล็กๆ และเป็นจุดสิ้นสุดเส้นทางดำน้ำของเราในวันนี้ด้วย
อ่าวผ่อง 47ผลจากการดำน้ำตื้นที่อ่าวผ่องในวันนี้ ทำให้ทีมของเราช่วยกันสรุปวาดแผนที่ เส้นทางศึกษาธรรมชาติใต้น้ำ หรือ Underwater Trail แบบคร่าวๆ ได้ แม้จะไม่ละเอียดนัก (เพราะเราไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล) แต่เราก็ภูมิใจ ที่ได้ดำดิ่งลงไปพิสูจน์ให้เห็นสรรพชีวิตใต้ทะเลกับตาตัวเอง โดยเฉพาะหญ้าทะเลที่ดูได้อย่างใกล้ชิด

เราหวังว่า สมบัติทางธรรมชาติอันล้ำค่านี้จะคงอยู่คู่คนเกาะหมาก คนตราด และคนไทย ไปอีกนานแสนนานเลยนะจ๊ะ
logo รวม

ขอขอบคุณ : อพท. หรือ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) และพี่น้องชาวเกาะหมากที่น่ารักทุกท่าน ที่ร่วมมือ ร่วแรงร่วมใจสร้างสรรค์กิจกรรมดีๆ นี้ขึ้น สอบถามโทร. 0-2357-3580-402
Nikon logo 1Special Thanks : บริษัท Nikon Sales (Thailand) Co., Ltd. สนับสนุนกล้องถ่ายภาพระดับมืออาชีพ D4 และกล้องถ่ายภาพใต้น้ำ AW130 เพื่อการเก็บภาพสวยๆ เหล่านี้มาฝากเพื่อนๆ ทุกคน สนใจสอบถาม โทร. 0-2633-5100

https://goo.gl/GeqdbB

#LowcarbonAtkohmak #CastawayAtkohmak #ติดเกาะโลว์คาร์บอน

เกาะหมาก สวรรค์วันพักผ่อนแห่งทะเลบูรพา

เกาะหมาก 2

ก่อนที่ Go Travel Photo จะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพาบล็อกเกอร์ไปปล่อยเกาะ ที่เกาะหมาก จังหวัดตราด ของ อพท. (องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน องค์การมหาชน) ระหว่างวันที่ 19-22 เมษายน 2559 เราจึงอยากพาแฟนๆ ไป Say Hello กับเกาะอันแสนน่ารักแห่งนี้ก่อนเลย
เกาะหมาก 3 เกาะหมาก 4

ขอต้อนรับสู่เกาะหมาก เกาะเงียบสงบที่ไม่ต่างจากโอเอซิส หรือสรวงสวรรค์แห่งน่านน้ำทะเลตะวันออก เพราะวันนี้ขณะที่หลายเกาะพัฒนาไปจนสูญเสียความเป็นธรรมชาติ ทว่าเกาะหมากยังคงสงบงามตามวิถี แถมยังเป็นต้นแบบการท่องเที่ยวแบบ Low Carbon หรือปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ น่าชื่นชมจริงๆ
เกาะหมาก 5

วิถีชีวิตดั้งเดิมบนเกาะหมาก ล้วนผูกพันอยู่กับสวนมะพร้าวและสวนหมาก ทว่าด้วยเวลาที่เปลี่ยนไป หลังจากมีการนำยางพาราเข้าปลูกบนเกาะ ป่าหมากก็หายไป เหลือแต่ป่ามะพร้าวต้นสูงลิ่วใบลู่ลม ที่ยังคงพอสะท้อนวิถีชีวิตแบบเดิมๆ ของคนบนเกาะหมากให้เราได้เห็น
เกาะหมาก 6

อ่าวขาว เป็นหนึ่งอ่าวที่สวยและสงบที่สุดทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะหมาก น้ำทะเลเป็นสีฟ้าครามสดใส ลงเล่นน้ำได้สบายใจ มีรีสอร์ทเล็กๆ อยู่ด้วย เหมาะสำหรับการหลบความวุ่นวายไปพักผ่อนจริงๆ
เกาะหมาก 7

อ่าวขาวในวันฟ้าใส แทบไม่มีคนไทย แต่เป็นสวรรค์ของนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย
เกาะหมาก 8

เสน่ห์ของทิวมะพร้าวโอนเอนลงทักทายผืนทะเลที่ อ่าวขาว
เกาะหมาก 9

อ่าวแดง อยู่ติดกับอ่าวขาว บริเวณนี้เต็มไปด้วยก้อนหินสีส้มอมแดง ไม่มีหาดทราย ถัดเข้ามาเป็นป่ามะพร้าวเก่า ยังไม่มีรีสอร์ทมาสร้างอยู่ เหมาะเป็นเส้นทางปั่นจักรยานหรือเก็บภาพมุม Unseen สวยๆเกาะหมาก 10

อาทิตย์อัสดงลงจุมพิตผืนทะเล ที่ Banana Sunset Resort หนึ่งในจุดชมวิวแสงสุดท้ายของวัน ที่สวยที่สุดบนเกาะหมาก
เกาะหมาก 11

เกาะหมากเป็นสวรรค์ของช่างภาพ ทั้งมือใหม่และมือโปร ที่ Banana Sunset Resort ชมอาทิตย์อัสดงได้งดงามมากเกาะหมาก 12

Sunset แสนประทับใจที่ Banana Sunset Resort
เกาะหมาก 13

ที่ Banana Sunset Resort มีสะพานไม้เล็กๆ ยื่นลงไปในทะเล เหมาะจะชวนคนรักไปนั่งทำโรแมนติกกันชะมัด
เกาะหมาก 14

แสงสุดท้ายอันน่าประทับใจที่ Banana Sunset Resortเกาะหมาก 15

ความงามของแสงสีบนฟากฟ้าที่ Maka Thani Resort
เกาะหมาก 16

พระอาทิตย์ตื่นนอน ค่อยๆ ลอยอ้อยอิ่งขึ้นทักทายพวกเรา ที่ Maka Thani Resort
เกาะหมาก 17

แสงยามเช้าอันอ่อนโยนที่ Maka Thani Resort
เกาะหมาก 18

อรุณเบิกฟ้าที่สะพานเรือด้านหน้า Maka Thani Resort
เกาะหมาก 19

นกแอ่นบ้านตัวน้อยน่ารัก ตื่นแต่เช้ามารับลมทะเลแสนสดชื่นของเกาะหมาก
เกาะหมาก 20

หอยนมสาว ถูกคลื่นพัดขึ้นมาเกยหาดที่ พลับพลา Resortเกาะหมาก 21

อ่าวผ่อง อยู่ติดกับท่าเรืออ่าวนิด มองเห็นไกลๆที่สุดเส้นขอบฟ้าตรงนั้น ก็คือแหลมดุ่น (แหลมกะดุ่น)
เกาะหมาก 22

หาดทรายสีทองของอ่าวผ่องเกาะหมาก 23

อ่าวผ่องวันนี้ยังเงียบสงบ เป็นมุมส่วนตัวที่จะไปนั่งๆ นอนๆ เอกเขนกได้สบายโดยไม่มีใครกวนเกาะหมาก 24

อ่าวผ่องไม่ได้สวยน่าหลงใหลเฉพาะบนบกนะจ๊ะ แต่โลกใต้ทะเลยังมีชีวิตชีวา เต็มไปด้วยหมู่ปลา ปะการัง เหมาะไปดำน้ำทักทายโลกแห่งสรรพชีวิตที่ไม่ค่อยมีใครได้พบเห็นเกาะหมาก 25

ปะการังเขากวางที่อ่าวผ่องหอยมือแมว 2

ใต้น้ำหน้าอ่าวผ่อง เต็มไปด้วยหอยมือเสือ และหอยมือแมว ซึ่งปัจจุบันที่อื่นหายากแล้ว ทว่าที่นี่ยังได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดี พวกมันจึงค่อยๆ ขยายพันธุ์ รอให้เราเข้าไปเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความรักความเข้าใจในธรรมชาติมากขึ้นเกาะหมาก 26

ไม่น่าเชื่อเลยว่า ที่อ่าวผ่องจะมีแนวหญ้าทะเลขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น และอุดมสมบูรณ์มาก จึงมั่นใจได้เลยว่า ในอดีตน่าจะเคยมีทั้งเต่าทะเลและพยูน (คนภาคตะวันออกเรียก หมูดุด) แวะเวียนหากินอยู่แถวนี้ด้วย
เกาะหมาก 27

หญ้าทะเลในน้ำใสแจ๋วไร้ตะกอนรบกวน ที่อ่าวผ่อง
เกาะหมาก 28

แม้จะได้รับการพัฒนาไปมาก แต่ชายหาดบางแห่งของเกาะหมากก็ยังมีป่าชายเลนหลงเหลืออยู่เหมือนกัน อย่างที่อ่าวทองหลาง ยังมีแนวป่าต้นโกงกางใบเล็กขึ้นอยู่ ให้เป็นที่กำบังคลื่นลม และอนุบาลสัตว์ทะเลวัยอ่อน ตัวเล็กๆ น่ารัก
เกาะหมาก 29

แหลมตุ๊กตา ทางปลายสุดด้านตะวันตกของเกาะหมาก มองออกไปในทะเล เห็นเกาะระยั้งในและเกาะระยั้งนอก อยู่ไม่ไกลแล้วล่ะจ้า น่าพายเรือคายัคออกไปเที่ยวจริงๆ เลย
เกาะหมาก 30

แหลมตุ๊กตา เป็นชายหาดเวิ้งว้าง ธรรมชาติบริสุทธิ์ อยู่ทางปลายสุดด้านตะวันตกของเกาะหมากเกาะหมาก 31

อ่าวทองหลาง อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะหมาก เป็นอ่าวที่คลื่นลมสงบ ชาวเกาะจึงนำเรือเข้ามาจอดหลบคลื่นลมเกาะหมาก 32

มุมส่วนตัวที่อ่าวทองหลาง เอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม 5555555เกาะหมาก 33

แหลมสน ตั้งอยู่ทางปลายสุดตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะหมาก สงบเงียบ ไม่มีใครไปรบกวน จากแหลมสนมองออกไปเห็นเกาะกระดาดตั้งอยู่ตรงเส้นขอบฟ้า ต้องหาเวลานั่งเรือไปเที่ยวซะแล้ว
เกาะหมาก 34

อ่าวตาโล่ง เป็นชายหาดยาวเหยียดหลายกิโลเมตรทางด้านทิศเหนือสุดของเกาะหมาก เป็นชุมชนประมงดั้งเดิม ที่ปัจจุบันยังมีวิถีประมงพื้นบ้านให้สัมผัส โดยชาวบ้านส่วนหนึ่งหารายได้เสริม ทำสวนยางพารา จึงมีโรงยางให้ชมด้วยเกาะหมาก 35

ทิวมะพร้าวต้นสูงลิ่วล้อลมทะเล ที่อ่าวตาโล่งเกาะหมาก 36

อ่าวตาโล่ง เป็นเส้นทางปั่นจักรยาน Off Road รอบเกาะหมาก ที่นักท่องเที่ยวต่างชาติชอบมาก
เกาะหมาก 37

เส้นทางปั้นจักรยานเที่ยว ผ่านอ่าวตาโล่ง และผ่านโรงทำน้ำมันมะพร้าวเก่าของเกาะหมาก ซึ่งปัจจุบันเลิกกิจการไปแล้วเกาะหมาก 38.1

จักรยาน คือพาหนะยอดฮิตของคนบนเกาะหมาก รวมถึงนักท่องเที่ยวที่มาเยือนด้วย เพราะนอกจากจะเงียบ ไม่ปลดปล่อยมลพิษแล้ว ยังทำให้เราได้ออกกำลังกาย ปั่นช้าๆ เนิบๆ ชมธรรมชาติ แวะตรงโน้นตรงนี้ พูดคุยกับชาวบ้านเปี่ยมรอยยิ้มเกาะหมาก 38

นอกจากจะมีแหล่งท่องเที่ยวแบบชิลชิลแล้ว เกาะหมากยังมีจุดท่องเที่ยวสไตล์ผจญภัยเล็กๆ Soft Adventure ด้วยล่ะ แอบกระซิบดังๆ เลยว่า อยู่ตรง “เขาแผนที่” (ชาวบ้านเรียก เขาบ้านแหลม) แม้ทางเดินขึ้นจะค่อนข้างชัน แต่ระยะทางไม่ไกล เดินไม่เกิน 1 ชั่วโมง ถึงยอดเขาแล้วครับเกาะหมาก 39

บนเขาแผนที่ ส่วนหนึ่งปกคลุมด้วยป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) เต็มไปด้วยต้นพ้อเขา ซึ่งเป็นปาล์มชนิดหนึ่ง มีใบแตกเป็นแฉกกลมคล้ายพัด สวยงามมาก ให้บรรยากาศแปลกดีแฮะ
เกาะหมาก 40

ใบของต้นพ้อเขา (กะพ้อเขา) ที่พบระหว่างทางเดินขึ้นเขาแผนที่เกาะหมาก 41

เดินขึ้นเขาแผนที่มาครึ่งทาง ก็พบกับหน้าผาชมวิวจุดแรก ว้าว! โล่ง กว้าง มองได้ไกลสุดสายตา เห็นเกาะระยั้งใน และเกาะระยั้งนอก ด้วยนะ ตรงนี้มีลักษณะเป็นหน้าผาหินโล่งๆ ตอนกลางวันร้อนฉ่าเลยทีเดียวล่ะ 55555เกาะหมาก 42

เมื่อขึ้นไปถึงยอดเขาแผนที่แล้ว แนวป่ารกก็หายไป กลายเป็นลานหินกับไม้พุ่มค่อนข้างโล่ง เหมาะเป็นจุดชมสุดยอดพระอาทิตย์ตก เพราะเขาแผนที่คือยอดเขาสูงสุดบนเกาะหมากนั่นเองจ้าเกาะหมาก 43

หนึ่งมุม Unseen บนเกาะหมาก ณ แหลมดุ่น (แหลมกะดุ่น)เกาะหมาก 44

หาดหินแดงแหลมดุ่นเกาะหมาก 45

หาดหินแดงแหลมดุ่น มีมุมให้ไปสำรวจผจญภัยเพียบ!
เกาะหมาก 46

หาดหินแดงแหลมดุ่น
เกาะหมาก 47

บรรยากาศแสนโรแมนติก ยามอัสดงที่แหลมดุ่นเกาะหมาก 48

เวลาแห่งความสุขมีให้แบ่งปันกันไม่รู้จบ ณ แหลมดุ่น
เกาะหมาก 49

หน้าร้อนนี้ ถ้ายังคิดไม่ออก ไม่รู้จะไปพักผ่อนนอนเล่นหลบร้อนที่ไหน “เกาะหมาก” อาจเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ช่วยเติมเต็มพลังชีวิตของคุณให้เต็มเปี่ยม สุขล้น ไปกับธรรมชาติและความสงบของทะเลตะวันออก ที่งามราวต้องมนต์เลยล่ะ

https://goo.gl/GeqdbB

#LowcarbonAtkohmak #CastawayAtkohmak #ติดเกาะโลว์คาร์บอน

พยาม เกาะหิมพานต์แห่งอันดามัน ฝันที่เป็นจริง

เกาะพยาม 2

ในขณะที่เรือสปีตโบ๊ทความเร็วสูงลำนั้น ค่อยๆ เร่งเครื่องฝ่าเกลียวคลื่น ตรงออกจากท่าเรือเทศบาลเมืองระนอง ออกสู่ปากน้ำมุ่งหน้าไปทางทะเลเปิดด้านทิศตะวันตก ผมก็พบว่าในที่สุด ก็ได้ตกอยู่ในวงล้อมของท้องทะเลสีคราม สายลม แสงแดด และความสดชื่นที่ธรรมชาติมอบให้ ณ วินาทีนั้น ผมอดจะอิจฉาตัวเองไม่ได้ เพราะความฝันหลายปีที่จะอยากไปเยือน “เกาะพยาม” จังหวัดระนอง บัดนี้เป็นจริงแล้วล่ะ เย้ๆ
เกาะพยาม 3

ความพยายามที่จะได้ไปเที่ยวเกาะพยาม จึงมาถึงวันเป็นจริง! ขณะที่เรือเที่ยวบ่ายสองทะยานเหนือเกลียวคลื่นต่อไปไม่หยุดยั้ง ในใจก็คิดจินตนาการวาดฝันไปต่างๆ นาๆ ว่าเกาะพยามหน้าตาจริงๆ เขาจะเป็นยังไงหนอ? เพราะเคยเห็นแต่ภาพที่เพื่อนๆ ถ่ายมาเย้ย! เอาล่ะ วันนี้ได้มาเห็นกับตาตัวเองซะทีเกาะพยาม 4

มาถึงท่าเรืออ่าวแม่หม้ายบนเกาะพยามก็บ่ายแก่แล้ว รีบเอาของเข้าที่พักแล้วออกมาเดินเล่นเก็บภาพแสงสุดท้ายที่ อ่าวใหญ่ ซึ่งเป็นอ่าวด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ชายหาดสวยทอดยาวหลายกิโลเมตร บัดนี้น้ำกำลังลง เผยให้เห็นการถอยร่นของเกลียวคลื่น คู่กับแสงสุดท้ายอันงดงามบนฝากฟ้า และการปรากกฏตัวของริ้วทรายอันสวยงาม บรรยากาศช่างคลาสสิก โรแมนติก น่าเกี่ยวก้อยพาคนรักมาเดินเล่นซะจริงๆ นะเกาะพยาม 5

บางคนก็ปั่นจักรยานออกกำลังกายบนอ่าวใหญ่ ชมแสงสุดท้ายสุดอลังการ!เกาะพยาม 6 เกาะพยาม 7

ความรักเบ่งบานบนอ่าวใหญ่ เกาะพยาม แหม บรรยากาศโรแมนติกอย่างนี้ อดใจไม่ไหวที่จะจับมือคนรักไว้ แล้วหันไปบอกรักกันสักพันครั้ง
เกาะพยาม 8

ความสงบ และความงามของธรรมชาติบนอ่าวใหญ่ เกาะพยาม วันนี้ยังชวนหลงใหล เป็นอีกหนึ่งเกาะ Slow Life ที่ยังไม่ถูกความทันสมัย และสิ่งก่อสร้างมากมายเกินพอดีทำให้เสียความงามไปเกาะพยาม 9 เกาะพยาม 10.1 เกาะพยาม 10

นั่งเหม่อมองพระอาทิตย์ตกลงน้ำที่อ่าวใหญ่ พร้อมเครื่องดื่มเย็นๆ สักแก้ว เท่านี้ก็คือความสุขเล็กๆ ของชีวิตแล้วล่ะเกาะพยาม 11

อีกหนึ่งจุดชมพระอาทิตย์ตกที่งามไม่แพ้อ่าวใหญ่ ก็คือ “อ่าวเขาควาย” ที่ทอดยาวโค้งเป็นรูปวงพระจันทร์ และมีบาร์น่ารักๆ อยู่ริมทะเล ให้นั่งชิลกันได้ไปจนดึกดื่นเกาะพยาม 12เมื่อน้ำทะเลลดระดับต่ำสุดในยามเย็น อ่าวใหญ่บนเกาะพยาม ก็เผยริ้วลายแห่งประติมากรรมธรรมชาติลอนทราย ซึ่งถูกสลักเสลาฝากไว้โดยเกลียวคลื่นน้อย เป็นศิลปะในธรรมชาติที่น่าประทับใจเหลือเกิน
เกาะพยาม 13

Sunset พระอาทิตย์อัสดงลงที่อ่าวใหญ่ ยามนี้ใครๆ ก็ออกมาอยู่บนหาดทราย ซึมซับช่วงเวลาอันมีค่าของวัน อ่าวใหญ่จึงเป็นจุดพักผ่อนที่เพียบพร้อม เพราะมีรีสอร์ทเรียงรายอยู่หลายแห่ง ซึ่งมีข้อดีคือ ส่วนใหญ่ไม่ได้สร้างรุกล้ำแนวหาด ธรรมชาติจึงยังงดงามจริงๆเกาะพยาม 14

รีสอร์ทที่อ่าวใหญ่ สร้างกลมกลืนกับธรรมชาติ หลบอยู่ใต้ทิวต้นสนทะเลขนาดใหญ่ และต้นมะพร้าวสูงลิ่ว ชวนกันไปนอนเล่นบนเก้าอี้ชายหาด ฟังเสียงคลื่นเสนาะโสต ช๊าตพลังให้ชีวิตเกาะพยาม 15

เกาะพยาม เป็นเกาะขนาดใหญ่ที่มีเนื้อที่กว่า 35 ตารางกิโลเมตร (ถัดลงไปในทะเลทิศใต้คือ เกาะช้าง จ.ระนอง) บนเกาะพยามมีคนอาศัยอยู่ราวๆ 160 ครอบครัว ส่วนใหญ่ทำสวนปลูกมะม่วงหิมพานต์มาหลายชั่วอายุคนแล้ว ผมเลยตั้งชื่อเล่นให้เกาะพยามว่า “เกาะหิมพานต์แห่งอันดามัน” ฮาฮาฮา ฟังดูน่ารักดีเนอะ

ชาวบ้านบนเกาะยังทำอาชีพประมง และก็มีบางส่วนที่เริ่มหันมาทำรีสอร์ทรับนักท่องเที่ยว ซึ่งส่วนมากเป็นกลุ่มคนชอบธรรมชาติ รักความสงบ ไม่ต้องการแสงสีเสียงอึกทึก ป่าเขาและธรรมชาติบนเกาะพยามจึงยังค่อนข้างดิบอยู่ เดินๆ เล่นอาจได้เห็นนกแก๊ก (นกเงือกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง) บินข้ามหัวไปแบบเฟี้ยวฟ้าว! กิจกรรมของเราผู้ไปเยือน จึงมีทั้งการพักผ่อน เล่นน้ำ ปั่นจักรยานเที่ยว เดินป่า และไปดำน้ำดูปะการังที่ยังอุดมอยู่เกาะพยาม 16

อ่าวเขาควาย คือหนึ่งในอ่าวที่มีชื่อเสียงที่สุดของเกาะพยาม เพราะนอกจากจะมีขนาดใหญ่ เป็นอ่าวรูปจันทร์เสี้ยวต่อเนื่องกันทอดโค้งยาวหลายกิโลเมตรแล้ว ริมอ่าวยังมีร้านอาหารหน้าตาแปลกๆ ให้ไปเยือนด้วย ชื่อ Hippy Bar เห็นรูปทรงการสร้างแล้วถึงกับอึ้ง!! เพราะเหมือนยกเรือโจรสลัดลำเบ้อเริ่มขึ้นมาตั้งไว้บนหาดจริงๆ เลยนะสิ!!
เกาะพยาม 17

เรือโจรสลัดที่ Hippy Bar อ่าวเขาควาย ไม่รู้จะใช้คำอะไรบรรยายนอกจาก “เจ๋งจริง” เอาเศษไม้ต่างๆ มาปะติดปะต่อขึ้นมาราวกับงานศิลป์ชิ้นมหึมา ด้านบนเป็นร้านอาหาร เหมาะมานั่งดื่มนั่งชิลกันได้ไปจนดึกดื่นเกาะพยาม 18 เกาะพยาม 19 เกาะพยาม 20 เกาะพยาม 21 เกาะพยาม 22

ด้านใน Hippy Bar ตกแต่งกลมกลืนกับธรรมชาติ ให้ความรู้สึกดิบๆ เหมือนหมู่บ้านโจรสลัดเลย ฮาฮาฮา แต่ถ้าคิดดูให้ดี คนที่สร้างสถานที่แบบนี้ขึ้นมาได้ ต้องมีหัวศิลปะระดับเทพเลยนะเนี่ยะ ขอปรบมือให้ครับเกาะพยาม 23 เกาะพยาม 24 เกาะพยาม 25

บริเวณอ่าวเขาควายบนเกาะพยาม มีหนึ่งภูมิประเทศสำคัญ หรือ Land Mark อันโดดเด่นเป็นสัญลักษณ์ ที่ใครๆ ก็ต้องรู้จัก นั่นคือ “หินทะลุ” นับเป็นแหล่งท่องเที่ยว Unseen ที่ต้องไปเห็นกับตาตัวเอง เพราะผมว่า Amazing จริงๆ!

ที่ตั้งของหินทะลุ บางช่วงเวลาน้ำลง จะสามารถเดินเข้าไปได้ แต่ยามน้ำขึ้นสูง จะกลายเป็นเกาะลอยน้ำ ต้องพายเรือเข้าไปครับ น่าสนุกดีใช่ป่ะล่ะเกาะพยาม 26

ความเจ๋งของหินทะลุเกาะพยาม ที่เกาะอื่นๆ ในเมืองไทยเลียบแบบไม่ได้ คือตรงจุดนี้มีช่องทะลุอยู่มากกว่า 1 ช่องครับ นับรวมๆ กันแล้ว ไม่น้อยกว่า 8 ช่องทีเดียว เวลาเดินสำรวจจึงให้บรรยากาศแบบลึกลับ น่าค้นหาดีเกาะพยาม 27

นอกจากหินทะลุแล้ว ในบริเวณเดียวกันยังมีหินตา หรือเสาหินสโตนเฮนจ์แห่งเกาะพยาม ตั้งโดดเด่นอยู่ด้วย เสาหินต้นนี้สูงราวๆ 3-4 เมตร เลยทีเดียวเกาะพยาม 28

บรรยากาศยามน้ำทะเลลดระดับต่ำสุดที่หินทะลุ อ่าวเขาควาย มองเห็นโขดหินที่มีเพรียงทะเลและหอยนางรมเกาะอยู่ กระจัดกระจายเต็มไปหมด บรรยากาศเงียบสงบ เวิ้งว้าง ชวนให้ขนลุกดีเหมือนกันเกาะพยาม 29 เกาะพยาม 30

ช่องโพรงทะลุขนาดใหญ่ เกิดจากน้ำทะเลกัดเซาะอยู่นานเป็นพันๆ หมื่นๆ ปีเกาะพยาม 31

โขดหินทรงประหลาด ที่หาดหินทะลุ เกาะพยาม
เกาะพยาม 32

อีกหนึ่งช่องทะลุอันแสนแปลกตา บนเกาะพยามเกาะพยาม 33ช่องทะลุ 3 พี่น้อง เล็ก กลาง ใหญ่ กับสะพานหินโค้งธรรมชาติด้านบน นี่คือประติมากรรมธรรมชาติโดยแท้เกาะพยาม 34 เกาะพยาม 35

มองลอดช่องหินทะลุและสะพานโค้งธรรมชาติออกไป เห็นเวิ้งทะเลและเรือประมงด้านหลังแล่นผ่านมาพอดี
เกาะพยาม 36

สังเกตดูให้ดี นี่คือช่องหินทะลุ “รูปหัวใจคว่ำ” เหมาะจะพาหวานใจมาบอกรักกันที่นี่นะครับ
เกาะพยาม 37

จากช่องหินนี้ มองออกไปเห็นหินตาตั้งเด่นเป็นสง่า โดยมีทะเลสีฟ้าใสแจ๋วรับอยู่เบื้องหลังเกาะพยาม 38

บนหาดทรายที่หินทะลุ มีปูลมตัวจิ๋ววิ่งกันให้พล่าน ตัวนี้มาเฝ้าสังเกตการณ์อยู่ที่ปากรูซึ่งมันขุดไว้ เกาะพยาม 39

ทางชายหาดด้านทิศตะวันออกของเกาะพยาม บริเวณท่าเรืออ่าวแม่หม้าย ยามน้ำลงจะกลายเป็นหาดทรายสีทองทอดยาวสุดสายตา งามด้วยลอนคลื่นบนผืนทรายที่ธรรมชาติสลักเสลาไว้อย่างลงตัวทีเดียว
เกาะพยาม 40

หาดทรายสวยแสนประทับใจ ใกล้ท่าเทียบเรืออ่าวแม่ม่าย และ Blue Sky Resortเกาะพยาม 41

Blue Sky Resort เป็นหนึ่งในรีสอร์ทที่มีชื่อเสียงที่สุด และได้รับการกล่าวขวัญกันว่าสวยที่สุดบนเกาะพยามเกาะพยาม 42

แสงแดดอุ่น กับใบมะพร้าวล้อลม ที่ Blue Sky Resort เกาะพยาม
เกาะพยาม 43

ป่าชายเลนที่ Blue Sky Resort ใกล้ท่าเรืออ่าวแม่หม้าย เป็นเสมือนกำแพงกำบังคลื่นลมทะเลได้เป็นอย่างดี
เกาะพยาม 44

บนภูเขาสูงของเกาะพยาม มีจุดชมวิวสวยๆ อยู่หลายแห่ง อย่างด้านตะวันออก พอขึ้นไปบนภูเขาก็จะมองเห็นเกาะขามอยู่ไม่ไกลแล้ว บนภูเขาตรงนี้มีบาร์เล็กๆ อยู่แห่งหนึ่ง ซึ่งทำให้ผมต้องตกกะใจ! เพราะนึกว่าพี่ Bob Marley นักร้องชื่อดังยังไม่ตาย! เห็นพี่เขานั่งร้องเพลงฝรั่ง ดีดกีต้าอยู่อย่างสบายอารมณ์เกาะพยาม 45 เกาะพยาม 46

เสียงเพลงจากกีต้าโปร่ง Un Plug และวิวสวยๆ จากมุมสูงของเกาะพยาม ทำให้อารมณ์ศิลปินของผมชักจะขึ้น ฮาฮาฮา พี่เขาร้องแพลงแบบออกมาจาก Inner จริงๆ เลย ไพเราะมากๆ ครับ
เกาะพยาม 47

เพื่อนของพี่ Bob Marley บนจุดชมวิวเกาะพยาม
เกาะพยาม 48

Bob Marley Bar
เกาะพยาม 49

ในส่วนของใจกลางเกาะพยาม ก็มีบ้านเรือน ที่พัก และร้านค้าเล็กๆ น่ารัก กระจายอยู่ทั่วไป ริมสองฟากถนนเส้นหลักของเกาะ โดยถนนนี้มีลักษณะเป็นทางปูนแคบๆ พอรถมอเตอร์ไซค์สองคันวิ่งสวนทางกันได้ บนเกาะนี้จึงไม่มีรถยนต์เลย มีแต่รถมอเตอร์ไซค์ จักรยาน และรถแทร็กเตอร์ เท่านั้น
เกาะพยาม 50

ร้านค้าบนเกาะพยาม เล็กๆ น่ารัก สมกับบรรยากาศของเกาะที่ยังคงความเป็นธรรมชาติสูงเกาะพยาม 51

นั่งรถแทร็กเตอร์พ่วง ทัวร์บนถนนเส้นหลักของเกาะพยาม ผ่านป่าหิมพานต์ (สวนหิมพานต์) ของชาวบ้าน และป่ายางพารา ที่ดูเหมือนวันนี้จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกที! ทดแทนวิถีชีวิตแบบเก่า ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไปเกาะพยาม 52

นั่งรถแทร็กเตอร์พ่วง ทัวร์รอบเกาะพยาม
เกาะพยาม 53

เรือไปเกาะพยาม สะดวกสุดมีออกจากท่าเรือเทศบาลปากน้ำระนอง มีทั้งเรือเร็วเรือช้าให้เลือกตามงบประมาณนะจ๊ะ

หวังว่าเพื่อนคนไหนที่ไม่เคยไปเยือนหมู่เกาะทะเลระนองเลย หรือบางคนที่ยังคิดไม่ออกว่าฤดูร้อนปีนี้จะไปพักผ่อนที่ไหนรับรองว่า “เกาะพยาม” จะเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าแน่นอนจ้าlogo123-300x300Special Thanks : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคใต้ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานชุมพร ระนอง โทร. 0-7750-2775-6,  0-7750-1831 สนับสนุนการเดินทางเป็นอย่างดี

เกาะพยาม Guide

การเดินทาง : ลงเรือที่ท่าเทียบเรือเทศบาลปากน้ำระนอง หรือท่าเทียบเรือชาวเกาะ ถนนสะพานปลา (ทางเข้าท่าเทียบเรือติดกับสถานีตำรวจภูธร ตำบลปากน้ำ จังหวัดระนอง) มีเรือบริการทุกวัน วันละหลายเที่ยว เรือเร็วสปีตโบ๊ท ใช้เวลาเดินทางราวๆ 45 นาที ค่าโดยสารคนละ 350 บาท โทร. 08-1270-4801, 0-7783-4082 แต่ถ้าเป็นเรือโดยสารธรรมดา หรือเรือช้า ใช้เวลาราวๆ 2 ชั่วโมง ค่าโดยสารคนละ 150 บาท ส่วนการเดินทางบนเกาะ นิยมใช้รถมอเตอร์ไซค์เช่า, มอเตอร์ไซค์รับจ้าง หรือถ้ามาเป็นหมู่คณะใหญ่ มีบริการรถแทร็กเตอร์พ่วง

ฤดูกาลท่องเที่ยว : ช่วง High Season อยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เมษายน

สอบถามเพิ่มเติม : อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง (ชื่อเดิม อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม) โทร. 0-7781-3840

วันเดียวเที่ยวเกาะกำ ผจญภัยสุดสนุกที่ระนอง

เกาะกำ 2ไปเที่ยวทะเลมาก็หลายที่ ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ได้เห็นความงดงามของท้องทะเลไทย ซึ่งเปรียบเสมือนปราการด่านสุดท้ายของนักผจญภัยอย่างผม โลกใต้ทะเลยังมีอะไรลึกลับให้ค้นหาอีกอย่างไม่รู้จบ และทะเลระนองก็เป็นอีกหนึ่งหมุดหมายการเดินทาง ที่ผมจะต้องเจาะลึกต่อไป

ทริปนี้เราเดินทางท่องเที่ยวร่วมกับ ททท. สำนักงานชุมพร ระนอง และททท. ภูมิภาคภาคใต้ ใจดีพาเรามาล่องเรือชมความงามของ “หมู่เกาะกำ” ซึ่งเป็นทริปล่องเรือเที่ยวแบบ One Day Trip 3 เกาะ คือ เกาะค้างคาว เกาะญี่ปุ่น และเกาะกำตก พร้อมแล้วก็เปลี่ยนชุดออกไปลงเรือหัวโทงกันเลยดีกว่าพวกเรา เย้…
เกาะกำ 3

การล่องเรือออกไปเที่ยวหมู่เกาะกำ เริ่มต้นขึ้นที่ท่าเรือของ อุทยทานแห่งชาติแหลมสน โดยมีเรือหัวโทง ซึ่งเป็นเรือหางยาวแบบปักษ์ใต้จอดเรียงรายรอนักท่องเที่ยว สำหรับการเช่าเหมาลำออกไปดำน้ำเป็นรายวันครับ วันนี้ฟ้าใสแจ๋ว น้ำกับฟ้าดูเหมือนจะจุมพิตกันเลยทีเดียว ฮาฮาฮาเกาะกำ 4

ที่ท่าเรือเราได้เห็นวิถีชีวิตของพี่น้องชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ในแถบนี้ จริงๆ เรือที่พานักท่องเที่ยวออกไปในทะเล ก็เป็นเรือของพวกเขานั่นล่ะเกาะกำ 5

เรือของพี่บังโอ๋ ค่อยๆ เร่งเครื่องฝ่าเกลียวคลื่นออกไปสู่เวิ้งทะเลเบื้องหน้า กะว่าราวๆ ไม่เกิน 45 นาที ก็น่าจะถึงเกาะค้างคาวและเกาะญี่ปึ่นล่ะ กฎข้อหนึ่งของการนั่งเรือเที่ยวให้ปลอดภัยคือ ทุกคนต้องสวมเสื้อชูชีพด้วยนะจ๊ะ

เกาะกำ 6

วิ่งมาได้กลางทาง ก็มองเห็นเกาะค้างคาว เกาะญี่ปุ่น และเกาะกำตกอยู่ลิบๆ ที่เส้นขอบฟ้าแล้ว
เกาะกำ 7

ลมเย็นสลับกับลมร้อน บวกกับละอองน้ำทะเลที่กระเซ็นซ่าขึ้นมาต้องผิวกายเรา ทำให้รู้สึกสดชื่นเมื่อได้มาใช้ชีวิตอยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ หลังจากต้องเหนื่อยล้าตรากตรำอยู่กับงานหนักๆ ในเมืองหลวงมาซะนาน แค่ได้เห็นผืนน้ำกว้างๆ ท้องฟ้าสีครามโล่งๆ และอากาศบริสุทธิ์หายใจได้เต็มปอด เท่านี้ก็มีความสุขแล้วครับเกาะกำ 8

เหมือนโชคไม่เข้าข้าง ธรรมชาติไม่เป็นใจ พอเรือแล่นมาถึงจุดหมาย คือเกาะค้างคาว และเกาะญี่ปุ่น ท้องฟ้าก็เริ่มมืดสลัวลง เมฆฝนสีเทาเริ่มตั้งเค้า ประกอบกับระดับน้ำยังไม่อำนวย เราจึงต้องเบนหัวเรือไปขึ้นที่เกาะกำตกกันก่อนเกาะกำ 9

มาถึงแล้ว เกาะกำตก (อยู่ห่างากฝั่งประมาณ 15 กิโลเมตร) อันเป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ เป็นหน่วยย่อยของอุทยานแห่งชาติแหลมสน แม้ไม่ใช่เกาะใหญ่ แต่เกาะกำตกก็มีชื่อเสียง เพราะด้านหน้ามีหาดทรายขาวทอดโค้งยาว เรียกว่า อ่าวเขาควาย อ่าวโค้งยาวกว่า 300 เมตรเกาะกำ 10

บนเกาะกำตกมีทะเลแหวกเป็นสันทรายเชื่อมเกาะเล็กๆ เข้าหากัน ยามน้ำลดสามารถเดินเที่ยวบนสันทรายนี้ได้ด้วยเกาะกำ 11

ทะเลแหวกเกาะกำตกเกาะกำ 12

พอเรือเทียบท่าที่อ่าวเขาควาย เราก็ไม่รอช้า ให้เจ้าหน้าที่พาเดินป่าปีนเขาขึ้นไปยังจุดชมวิวแห่งใหม่ ซึ่งเพิ่งจะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม เป็นจุดชมวิวมุมสูงที่มองลงมาเห็นอ่าวเขาควายได้อย่างเต็มตาพาโนรามาเลยล่ะเกาะกำ 13.1

แต่กว่าจะขึ้นถึงจุดชมวิวได้ก็ต้องออกแรงกันไม่ใช่น้อย! โดยเฉพาะมีช่วงที่ต้องปีนไต่โหนตัวขึ้นไปตามเชือกนำ ซึ่งเจ้าหน้าที่เขาผูกไว้ให้แล้ว ดังนั้นสัมภารก เอ้ย สัมภาระอะไรไม่จำเป็น ก็ไม่ต้องหิ้วขึ้นไปให้เมื่อยตุ้มนะครับ สองข้างทางเป็นป่าหวายหนาแน่น เป็นธรรมชาติสุดๆ

เกาะกำ 13

เห็นลีลาการปีนเชือกขึ้นเขาอย่างคล่องแคล่วแบบนี้ บอกได้คำเดียวว่าน้องเขานักเที่ยวมือโปรคร้าบบบเกาะกำ 14

ใช้เวลาปีนไต่เขาขึ้นไปไม่เกิน 20 นาที ในที่สุดเราก็มาถึงจุดชมวิวที่ตั้งใจไว้ ว้าว! บนนี้วิวเปิดโล่งมาก มองเห็นได้กว้างไกลไปจนถึงเกาะญี่ปุ่นเลยล่ะ นอกจากนี้ยังมองเห็นสันทรายทะเลแหวก และอ่าวเขาควายโค้งเว้าสวยงามสมชื่อ เสียดายอย่างเดียวที่วันนี้ฟ้าไม่ใสปิ๊งปั๊ง แถมมีฝนเม็ดบางๆ โปรยลงมาให้ชุ่มฉ่ำเล่นซะงั้นเกาะกำ 15 เกาะกำ 16

จุดชมวิวมุมสูงบนเกาะกำตกอ่าวเขาควาย ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ที่ให้ภาพออกมาสวยงามน่าชม สามารถซึมซับความบริสุทธิ์ของธรรมชาติได้เต็มที่ และให้บรรยากาศการผจญภัยเล็กๆ ตอนปีนไต่ขึ้นมาอีกด้วยเกาะกำ 17 เกาะกำ 18

นอกจากจุดชมวิวอ่าวเขาควายจะเป็นจุดท่องเที่ยวใหม่ล่าสุดแล้ว ยังเป็นเส้นทางหนีคลื่นยักษ์สึนามิด้วย เพราะเมื่อคราวเกิดคลื่นยักษ์ซัดถล่มอันดามัน เกาะกำตกอ่าวเขาควายก็โดนเต็มๆ เขาจึงมีการจัดทำเส้นทางอพยพฉุกเฉินขึ้นเขานี้ไว้ครับ โดยในปัจจุบัน บนเกาะกำตกห้ามไม่ให้มีการค้างแรม มาเที่ยวได้แบบเช้ามา เย็นกลับ จ้าเกาะกำ 19

โดยปกติ เกาะกำตกจะเป็นจุดแวะกินข้าวเที่ยงของเรือทัวร์ หลังจากช่วงเช้าเรือพานักท่องเที่ยวไปดำน้ำเล่น ที่เกาะค้างคาว และเดินสำรวจเกาะญี่ปุ่นกันมาแล้ว บนเกาะมีป่าสนทะเลร่มรื่น บรรยากาศผ่อนคลาย ลมโชยพัดชื่นใจ ในยามที่ลมทะเลพัดแรง ยอดสนก็จะสีกันดังเกรียวกราว โบกพลิ้วไปมาอย่างอ่อนโยนน่ามอง
เกาะกำ 20

อาหารเที่ยงสำหรับเราวันนี้ มีทั้งหมึก ปู กุ้ง เปรมกันเลยทีเดียว ฮาฮาฮาเกาะกำ 21 เกาะกำ 22 เกาะกำ 23

อิ่มข้าวแล้ว ฟ้ายิ่งมืดสลัวลง เป็นอันว่าวันนี้คงหมดโอกาสที่จะไปดำน้ำเล่นที่เกาะค้างคาวและเกาะญี่ปุ่นแล้วล่ะ เราเลยใช้เวลาอีกสองสามชั่วโมงที่เหลือก่อนกลับเข้าฝั่ง เดินถ่ายรูปเล่นบนอ่าวเขาควาย เดินต่อเนื่องไปบนสันทรายทะเลแหวก มีมุมแจ๋มๆ ให้ถ่ายรูปไม่น้อยเกาะกำ 24

นั่งเหม่อมองชมทะเล ปล่อยกายใจให้ธรรมชาติโอบกอด ขณะที่ลมทะเลพัดโชยชื่นใจ หัวใจเราก็ล่องลอยไป ณ ที่ใดสักแห่ง ธรรมชาติสอนให้เราเป็นคนอ่อนโยน ละเอียด และใส่ใจกับสิ่งรอบข้าง โดยเฉพาะทะเล ที่ผมรักมากที่สุด
เกาะกำ 25

เมื่อสุดยังสันทรายทะเลแหวก เราจะพบกับป้ายสุสานหอย ซึ่งจริงๆ พื้นที่ตรงนี้ไม่ได้ใหญ่โตอะไร มีซากหอยทะเลตัวจิ๋วๆ ถูกคลื่นพัดขึ้นมากองรวมกันอยู่จำนวนหนึ่ง สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นโขดหินมากกว่า เดินตรงนี้แนะนำว่าอย่าถอดรองเท้านะครับ เพราะเปลือกหอยคมๆ อาจบาดเท้าได้ เป็นห่วงนะจ๊ะเกาะกำ 26

หาดหินและสุสานหอยเกาะกำ 27

สำรวจระบบนิเวศน์หาดหินยามน้ำลด เกิดเป็นแอ่งน้ำขังเล็กๆ มีสิ่งมีชีวิตน่ารักๆ ทั้งหอย ปู ปลา ติดอยู่ในแอ่งนี้ รอเวลาน้ำขึ้นมันก็ว่ายกลับออกทะเลไปได้อีกครั้ง
เกาะกำ 28

จากหาดหินและสุสานหอย ด้านขวามือมีทางเดินขึ้นไปบนเนินเขาเตี้ยๆ นำไปสู่ผาด้านทิศตะวันตกของอ่าวเขาควาย บนยอดเนินนี้เต็มไปด้วยต้นเตยทะเลขนาดใหญ่ บ่งบอกถึงอายุของมันว่าหลายร้อยปีทีเดียวเกาะกำ 29 เกาะกำ 30

บนยอดเนินเป็นผาหินเปิดโล่ง ถ้าวันไหนฟ้าโปร่งๆ ช่วงเย็นคงจะเห็นพระอาทิตย์ตกได้งดงามแน่นอน
เกาะกำ 31

บนผาตะวันตกมีต้นปรงเขา (Cycas pectinata) ขนาดใหญ่ขึ้นอยู่ด้วย พรรณไม้พวกนี้เป็นพืชทนแล้ง พบได้ทั่วไปบนเกาะกลางทะเล ชอบขึ้นอยู่ตามโขดหิน หรือหน้าผาสูงเกาะกำ 32

ต้นเตยทะเลที่ผาตะวันตกของอ่าวเขาควายเกาะกำ 33

ในที่สุด ราวๆ สี่โมงเย็น เราก็ล่องเรือฝ่าคลื่นลมแรงกลับเข้ามาที่ท่าเรืออุทยานแห่งชาติแหลมสน โดยปลอดภัย พร้อมกับพกพาความประทับใจ และภาพงามๆ ที่เต็มปรี่ Memory Card ในกล้องดิจิตอลหมดแล้วเกาะกำ 34

ขอขอบคุณธรรมชาติ ท้องทะเล ที่สร้างสรรค์เกาะงามๆ ให้เราไปเยือน และขอขอบคุณใครก็ตาม ที่ยังช่วยกันรักษาสมบัติทางธรรมชาตินี้ไว้ให้เราได้พบเห็นเกาะกำ 35

หวังว่า หมู่เกาะกำแห่งทะเลระนอง จะยังคงความสวยงามเช่นนี้ไปอีกนานเท่านาน ตราบใดที่ทุกคนยังท่องเที่ยวกันอย่างมีจิตสำนึก ด้วยวิถียั่งยืน Sustainable Tourism ที่จะทำให้กิจกรรมการท่องเที่ยว และการอนุรักษ์ สามารถดำเนินไปอย่างควบคู่และกลมกลืน ครับผม บ้ายบายlogo123-300x300Special Thanks : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคใต้ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานชุมพร ระนอง โทร. 0-7750-2775-6,  0-7750-1831 สนับสนุนการเดินทางเป็นอย่างดี

สอบถามเพิ่มเติม : อุทยานแห่งชาติแหลมสน จังหวัดระนอง โทร. 0-7786-1431, 0-7786-1442,  0-7786-1432 

ปั่นท่องเที่ยว CSR ตามหาพลับพลึงธาร จ.ชุมพร-ระนอง

พลับพลึงธาร 2

พลับพลึงธาร หลายคนคงเคยได้ยินชื่อนี้มาบ้างแล้ว แต่อาจเป็นชื่อใหม่สำหรับใครหลายคน พลับพลึงธารได้รับฉายาว่าเป็น “ราชินีแห่งไม้น้ำในป่าปักษ์ใต้” เพราะเธอคือพรรณไม้สุดพิเศษ ตามธรรมชาติดั้งเดิมพบเพียงแห่งเดียวในโลกที่ คลองนาคา จังหวัดระนอง เท่านั้น

เธอจึงเป็นพรรณไม้อันแสนเปราะบาง ขึ้นอยู่ในลำธารน้ำใสกลางป่าดิบ ที่ปราศจากการรบกวนของมนุษย์ โดยลำธารที่เธอชอบขึ้นอยู่นั้น มักจะเป็นพื้นทรายปนกรวด น้ำไหลตลอด และคุณภาพน้ำใสสะอาดดีเยี่ยม
พลับพลึงธาร 3

ทว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ผลกระทบจากการรุกล้ำของมนุษย์ ทำให้พลับพลึงธารตามธรรมชาติลดลงอย่างน่าใจหาย จนเป็นที่หวั่นเกรงกันว่ามันจะสูญพันธุ์ไปจากเมืองไทย และจากโลก!

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานชุมพร ระนอง จึงจับมือร่วมกับภาครัฐและเอกชน ที่เห็นความสำคัญของพรรณไม้หายากของโลกอย่างพลับพลึงธาร ร่วมกันจัดงานสำคัญ “ปั่นท่องเที่ยวและ CSR ตามหา…พลับพลึงธาร” ขึ้นเมื่อวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2559 นำนักปั่นที่มีจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อม สู่เส้นทางสีเขียวชุมพร-ระนองพลับพลึงธาร 4 พลับพลึงธาร 5 พลับพลึงธาร 6

งาน CSR สุดเจ๋งในครั้งนี้ มีพิธีปล่อยตัวจักรยานตามหาพลับพลึงธารกันที่ ด้านหน้าที่ว่าการอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร โดยมี ท่านเลิศพรไชย ไชยฤทธิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงาน ปล่อยตัวจักรยานกว่า 300 คันออกไปตามเส้นทาง สู่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา จังหวัดระนอง ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้ไปนอนแค้มปิ้งกลางป่ากัน 1 คืน ก่อนจะได้ร่วมกันปลูกพลับพลึงธารกันในวันรุ่งขึ้นพลับพลึงธาร 7

พันธมิตรที่ร่วมกันจัดงานยิ่งใหญ่ขึ้นในครั้งนี้ ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานชุมพร ระนอง, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา, อำเภอพะโต๊ะ, สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดระนอง, ศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดระนอง, สายการบินนกแอร์ (สถานีชุมพรและระนอง) และธนาคารกรุงเทพ จำกัดพลับพลึงธาร 8

เพื่อนนักปั่นน่องเหล็ก มาตั้งแถวรอปล่อยตัว บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอพะโต๊ะ
พลับพลึงธาร 9

รอยยิ้มแห่งความสุขที่ได้ทำความดีร่วมกัน ปั่นจักรยานไปปลูกพลับพลึงธาร ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา แต่ละคนมาในชุดจัดเต็มทั้งนั้นเลยนะ

พลับพลึงธาร 10

พร้อมค่ะ งานดีๆ แบบนี้นานๆ จะเกิดขึ้นสักครั้ง จะพลาดได้ไงนะพลับพลึงธาร 11 พลับพลึงธาร 12 พลับพลึงธาร 13 พลับพลึงธาร 14

ได้เวลาปล่อยตัว จักรยาน CSR ตามหา…พลับพลึงธาร โดยท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรพลับพลึงธาร 15.1

ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ร่วมถ่ายภาพกับคณะเยาวชนนักปั่น รวมถึงท่านผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานชุมพร ระนอง, ตัวแทนจากนกแอร์, ธนาคารกรุงเทพ และมิตรสหายใจดีจากจังหวัดระนอง ชุมพร ที่ช่วยกันสร้างสรรค์ให้งาน CSR อันมีคุณค่านี้เป็นจริง
พลับพลึงธาร 15

ได้เวลาที่รอคอย ปั่นจักรยานไปตามหาพลับพลึงธาร ราชินีแห่งไม้น้ำ กันดีกว่านะพวกเราพลับพลึงธาร 16.1 พลับพลึงธาร 16

เส้นทางปั่นจักรยานจากจังหวัดชุมพร-ระนอง เป็นทางคดเคี้ยวขึ้นลงเขา ผ่านป่าดิบอันอุดมสมบูรณ์ สวยงาม อากาศบริสุทธิ์สดชื่น ไหล่ทางกว้าง ปริมาณรถน้อย จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพ และตามหาพลับพลึงธารในครั้งนี้พลับพลึงธาร 17 พลับพลึงธาร 18 พลับพลึงธาร 19 พลับพลึงธาร 20

จุดแรกที่นักปั่น CSR ตามหา…พลับพลึงธาร ได้หยุดพัก คือ บ้านดิน กลุ่มโฮมสเตย์เศรษฐกิจพอเพียงตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร (โทร. 08-7287-2745, 09-1854-0074)พลับพลึงธาร 21

หมู่บ้านดินแห่งนี้ไม่ธรรมดา เพราะเป็นรีสอร์ทเล็กๆ แนวเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์เรียนรู้ครบวงจร จึงมีนักท่องเที่ยว (โดยเฉพาะชาวต่างชาติ) มาพักแบบ Long Stay เป็นจำนวนมากตลอดปี ที่นี่เขามีกิจกรรมเดินป่า, ล่องแพ, ศึกษาพรรณไม้, ปลูกผักกินเอง, กินอาหารพื้นบ้าน, เรียนรู้เรื่องสมุนไพร, เรียนรู้วิถีพอเพียง Sustainable Living และที่ขาดไม่ได้คือ มี Workshop สอนทำบ้านดินด้วย
พลับพลึงธาร 22.1 พลับพลึงธาร 22

ท่านผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานชุมพร ระนอง พร้อมตัวแทนจากหน่วยงานพันธมิตร มอบของที่ระลึกให้แก่บ้านดิน ที่นักปั่น CSR ตามหา…พลับพลึงธาร เข้าเยี่ยมชม เรียนรู้กิจกรรมวิถีพอเพียงพลับพลึงธาร 23 พลับพลึงธาร 24

เข้าเยี่ยมชมบ้านดิน และถือเป็นการพักเหนื่อยจากการปั่นจักรยานช่วงแรกด้วยพลับพลึงธาร 25

เจ้าของบ้านดิน รับเงินสมทบจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม CSR ตามหา…พลับพลึงธาร
พลับพลึงธาร 26

งานนี้สู้ตายค่ะ
พลับพลึงธาร 27

ในวันที่ 2 ของกิจกรรม หลังจากเมื่อคืนวาน นักปั่นกว่า 300 ชีวิต ได้ร่วมกันค้างแรมที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคาแล้ว ก็ได้เวลาเดินป่าเข้าไปยังลำธารกลางป่า เพื่อปลูกพลับพลึงธาร กลับคืนสู่ถิ่นเดิมตามธรรมชาติ
พลับพลึงธาร 28

แต่เดิมการปลูกพลับพลึงธารคือสิ่งที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย! เพราะเธอเป็นพรรณไม้น้ำที่บอบบางมาก จนกระทั่งมีการคิดค้นเทคนิควิธีการปลูกพลับพลึงธารให้รอดได้สำเร็จ คือการนำหัวพลับพลึงธาร ซึ่งมีรูปทรงคล้ายหัวหอมนน้ำขนาดใหญ่ ไปเพาะเลี้ยงในตระกร้าหรือชะลอมสานใบเล็กๆ เมื่อโตได้ที่ ก็นำไปขุดหลุมตื้นๆ วางไว้ในลำธารน้ำใสกลางป่าพลับพลึงธาร 29

ปีนี้ถือเป็นกิจกรรมปลูกพลับพลึงธารอย่างเป็นทางการ ครั้งแรกของโลก! โดยมีการปลูกจำนวน 200 ตะกร้า ตะกร้าละ 3-4 หัว และจะมีการดูแลประเมินผลหลังจากวันปลูกอย่างใกล้ชิดพลับพลึงธาร 30

ร่วมแรงร่วมใจ ฟื้นฟูพลับพลึงธารกลับคืนสู่คลองนาคา ให้เธอยิ่งใหญ่เป็นราชนินีแห่งไม้น้ำในป่าดิบปักษ์ใต้เหมือนเดิมนะจ๊ะพลับพลึงธาร 31ช่วยกันคนะลไม้คนละมือ มีรอยยิ้มเปื้อนหน้า เพราะวันนี้เราได้มาร่วมกันทำสิ่งดีๆ
พลับพลึงธาร 32 พลับพลึงธาร 33

เมื่อวางตะกร้าพลับพลึงธารลงในหลุมกลางลำธารแล้ว ก็ต้องโกยหินกรวดเข้ามาล้อมไว้ให้แน่น เพื่อไม่ให้น้ำซัดตะกร้าหลุดลอยเสียหาย
พลับพลึงธาร 34น้องๆ เยาวชนนักปั่นจักรยาน ไม่กลัวความลำบากแม้แต่น้อย เดินป่าเข้ามาปลูกพลับพลึงธารกันถึงที่เลย
พลับพลึงธาร 35 พลับพลึงธาร 36

หวังว่าอีกไม่นาน ราชินีแห่งไม้น้ำ “พลับพลึงธาร” จะกลับมาเบ่งบานทั่วคลองนาคาอีกครั้ง เพื่อต่อเติมระบบนิเวศน์ป่าให้สมบูรณ์ เพื่อเติมเต็มความมั่งคั่งของความหลากหลายทางชีวภาพเมืองไทย จนกลายเป็นสมบัติล้ำค่าของลูกหลานพวกเรา ไปอีกนานแสนนานlogo123-300x300

Special Thanks : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคใต้ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานชุมพร ระนอง โทร. 0-7750-2775-6,  0-7750-1831 สนับสนุนการเดินทางเป็นอย่างดี

เที่ยวสนุกหลากสไตล์ ในเมืองแร่นอง

ระนอง 2

“โอ่โอ ปักษ์ใต้บ้านเรา มีน้ำภูเขาทะเลกว้างไกล จะไปไหน ปักษ์ใต้บ้านเรา…” บทเพลงอมตะของวงดนตรี Hammer ยังคงก้องอยู่ในโสตของผมทุกครั้ง ยามเมื่อได้ล่องใต้ไปเยือน 14 จังหวัดด้ามขวานทองของไทย โดยเฉพาะจังหวัดระนอง เมืองที่ได้ฉายาว่า ฝน 8 แดด 4 เมืองมีเสน่ห์ครบเครื่องทั้งป่าเขา ท้องทะเล และผู้คน

ทริปนี้เลยอยากพาเพื่อนๆ ไปเที่ยวลั้นลา กิน ช็อป แช๊ะ ด้วยกันเพลินๆ ล่ะคร้าบ
ระนอง 31. ภูเขาหญ้า สัญลักษณ์สำคัญของระนอง ที่ใครๆ ก็กล่าวขวัญถึง ตั้งอยู่ตรงข้ามคนละฝั่งถนนกับอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว ภูเขาหญ้ามีลักษณะเป็นเนินเขาเตี้ยๆ ซึ่งแทบจะไม่มีไม้ใหญ่ขึ้นอยู่เลย ส่วนมากปกคลุมด้วยต้นหญ้าเตี้ยๆ ยามฤดูฝนจะเขียวสดงดงาม ส่วนฤดูร้อนหญ้าจะกลายเป็นสีทองอร่าม เขาบอกว่าการไปชมภูเขาหญ้าให้งามสุดๆ ต้องตอนพระอาทิตย์ใกล้ตกดิน เพราะแสงสีทองจะอาบยอดหญ้ามลังเมลือง! ทว่าภูเขาหญ้าไม่ได้งามอย่างเดียว ยังเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และที่ออกกำลังกายของคนระนองเขาด้วยนะจ๊ะระนอง 4 ระนอง 5

2. บ่อน้ำพุร้อนรักษะวารินทร์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตมาเนิ่นนานหลายสิบปี จนทำให้ระนองได้ฉายาว่าเป็น เมืองแร่นอง หรือเมืองสปาธรรมชาติ มีน้ำแร่ร้อนผุดขึ้นมาหลายบ่อ ทั้งบ่อพ่อ บ่อแม่ บ่อลูก มีการต่อท่อออกมาให้นั่งแช่เท้า ลงไปว่ายน้ำเล่น เช่นเดียวกับมีการนำไปให้อาบเพื่อสุขภาพ รักษาโรคได้ต่างๆ นาๆ เพราะในน้ำแร่ร้อนเหล่านี้มีแร่ธาตุอันเป็นประโยชน์จากใต้พิภพเจือปนอยู่มากมาย ไม่ต้องไปไกลถึงออนเซนญี่ปุ่นแล้วล่ะ ฮาฮาฮา ยิ่งกว่านั้นยังมีการนำมาทำเป็นเสปร์น้ำแร่พ่นใบหน้า เพื่อให้สดชื่น บำรุงผิวพรรณดีแท้
ระนอง 6 ระนอง 7 ระนอง 8.1 ระนอง 8

3. พระราชวังรัตนรังสรรค์ (จำลอง) ตั้งอยู่ใจกลางเมืองระนอง บริเวณเชิงเขานิเวศน์คีรี ใกล้ศาลากลางจังหวัดหลังเก่า สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกการเสด็จประพาส และประทับแรมของรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2433) รัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2452) และรัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2471) ตัวพระราชวังสร้างด้วยไม้ตะเคียนทอง ภายในมี 3 ชั้น แบ่งเป็นห้องต่างๆ ทั้งห้องท้องพระโรง ห้องบรรทมพระราชินี และห้องบรรทมของพระเจ้าอยู่หัวบนชั้น 3 ปกติถ้าเดินเข้าไปเที่ยวเฉยๆ ก็เที่ยวชมได้แค่ด้านนอก แต่ถ้าอยากชมด้านในด้วยต้องติดต่อล่วงหน้าครับ โทร. 0-7781-1422, 0-7781-1161, 08-9645-2101
ระนอง 9 ระนอง 10

4. วัดบางนอน หรือวัดวารีบรรพต อยู่ในอำเภอเมืองระนอง เป็นวัดที่มีชื่อเสียงมากในปัจจุบัน เพราะเป็นวัดสไตล์พม่า ที่ได้รับความเคารพสักการะ ทั้งจากคนไทย และคนพม่าในเมียนมาร์เดินทางมากราบไหว้ ส่งลูกหลานมาบวชเรียน ภายในวัดมีไฮไลท์ที่ห้ามพลาดชม คือ พระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่, หลวงปู่ทวดจำลอง, รอยพระพุทธบาท (มีงานฉลองประจำปี ทุกวันที่ 11 เมษายน) รวมถึงยังมีเจดีย์ชเวดากองจำลององค์ใหญ่ สีทองอร่าม และสุดยอดไฮไลท์คือ ต้องเข้าไปกราบสักการะสังขารที่ไม่ไหม้ไฟของหลวงพ่อด่วน ถามวโร พระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่ละสังขารไปแล้ว ได้สร้างปาฏิหาริย์ “สังขารไม่ไหม้ไฟ!”ระนอง 11 ระนอง 12 ระนอง 13 ระนอง 14 ระนอง 15 ระนอง 16 ระนอง 17

5. ตลาดพม่า ตั้งอยู่ใจกลางเมืองระนอง ในย่านชุมชนตลาดเก่า ถือเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่ให้บรรยากาศเหมือนกับยกเมียนมาร์มาอยู่บนแผ่นดินไทยยังไงยังงั้น! เพราะแม่ค้าแต่ละร้านล้วนเป็นคนพม่าจริงๆ สินค้าส่วนใหญ่เน้นไปทางเสื้อผ้า และของกินที่คนพม่านิยม โดยเฉพาะแป้งทานาคา ที่ใช้ทาหน้าให้ผิวผ่องแจ่มกระจ่าง รวมทั้งยังมีหมากพม่า และชาพม่า ให้เลือกซื้อกันอย่างจุใจด้วย จากปากทางเข้าด้านหน้าเมื่อเดินไปสุดแล้ว ก็จะมีตลาดปลาเล็กๆ อยู่ด้านหลัง ซึ่งตอนเช้าๆ จะคึกคักมาก ปลาดสดๆ ตัวใหญ่ๆ ราคาไม่แพงเลยล่ะ
ระนอง 18 ระนอง 19 ระนอง 20 ระนอง 21

6. ถนนคนเดินระนอง จัดกันบริเวณถนนเรืองราษฎร์ ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ เป็นถนนคนเดินสายสั้นๆ เล็กๆ น่ารัก เหมาะกับขนาดของเมือง และอารมณ์ความเป็น Slow Town ที่เงียบสงบ ผู้คนยิ้มแย้มแจ่มใส สินค้าส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า ของกินพื้นเมือง และของที่ระลึกเก๋ไก๋ เหมาะชวนกันไปเดินเล่นย่อยอาหารยามค่ำ เพราะเขาจัดกันตั้งแต่ประมาณ 18.00-22.30 น. และเมื่อเดินช็อปกันเหนื่อยแล้ว อยากเติมพลัง ลองแวะเข้าไปที่ ร้านดอกไม้ แต่ไม่ได้ขายดอกไม้ ฮาฮาฮา เขาขายน้ำเต้าหู้ น้ำขิง รสเด็ด ชื่อดังจ้า
ระนอง 22 ระนอง 23 ระนอง 24 ระนอง 25 ระนอง 26

7. ตลาดปลาระนอง (ท่าเทียบเรือองค์การสะพานปลาระนอง) เป็นจุดที่มีเรือประมงพม่าและไทยเข้ามาเทียบมากที่สุด จึงมีสัตว์น้ำนานาชนิดนำขึ้นมาคัดแยก เตรียมส่งขายไปยังร้านอาหารต่างๆ ใครไม่เคยเห็น ก็นับว่าเป็นภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจดี เพราะจะมีสัตว์ทะเลหน้าตาแปลกๆ ให้ชมเพียบ รวมถึงสัตว์ทะเลอนุรักษ์และหายากที่อาจติดอวนขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจด้วย เวลาที่ควรไปชมคือ ประมาณ 05.00-06.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่เรือจะเข้าเทียบท่ามากที่สุด แต่ต้องเที่ยวแบบระวังอย่าไปเกะกะการทำงานของคนที่นั่นล่ะ
ระนอง 27 ระนอง 28 ระนอง 29

8. ชวนชิมอาหารระนอง เสน่ห์ปักษ์ใต้ที่ใครๆ ไม่กล้าปฏิเสธ เพราะระนองเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์อย่างยิ่ง ทั้งป่าเขาและท้องทะเล จึงมีอาหารให้กินบริบูรณ์ตลอดปี แน่นนอนว่า Seafood สดๆ ราคาไม่แพง คือตัวเลือกแรกที่เราต้องลิ้มลอง
ระนอง 30 ระนอง 31

แกงส้มปลากะพง ใส่ยอดมะพร้าว, อ้อดิบ (บอน), หัวมันขี้หนู รสจัดจ้าน กินคู่กับปลาเค็ม ข้าวสวยร้อนๆ หรอยจังหู! ไปกินแต่ละร้านรสชาติน้ำแกงจะต่างกันไป ขึ้นอยู่กับเครื่องแกงโขลกเอง แต่หลักๆ ที่เหมือนกันทุกร้านคือต้องมีขมิ้น เป็นส่วนผสมหลักที่ทำให้น้ำมีสีเหลือง บางร้านเผ็ดจัด บางร้านเผ็ดอ่อนๆ ระนอง 32

ปูนิ่ม ถือเป็นอาหาร Signature ของจังหวัดระนองเลยก็ว่าได้ เพราะมีให้ชิมตลอดปี ส่วนใหญ่ทำแบบทอดกระเทียมมา บางร้านเลือกปูไซต์พอดีคำ บางร้านเลือกใช้ปูตัวใหญ่ เคี้ยวได้ทันที Amazing จริงๆระนอง 33

ใบเหรียงผัดไข่ (บางจังหวัดเรียก ใบเหมียง) ถือเป็นพืชผักธรรมชาติที่ขึ้นอยู่ตามป่าเขาของระนองมาแต่เดิม ในตลาดสดมีขายเป็นกำๆ กำละ 5 บาทบ้าง 10 บาทบ้าง นำมาปรุงได้หลายอย่าง ทั้งใบเหรียงผัดไข่, ใบเหรียงต้มกะทิ, ใบเหรียงลวกกินกับน้ำพริกกุ้งสด น้ำพริกกะปิ หรือจะสับเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ในไข่เจียวก็อร่อยดี รสชาติไม่ขม ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว จึงเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมมากระนอง 34 ปลาทรายทอดขมิ้น หนึ่งอาหารจานเด็ดของระนอง ที่กินง่าย อร่อย ราคาไม่แพง สร้างความประทับใจให้ได้ทุกครั้งที่ลิ้มลอง หลังจากนำปลาทรายสดมาคลุกเคล้าเครื่องแกงที่มีขมิ้นเป็นส่วนผสมหลักแล้ว เขาจะนำลงทอดในน้ำมันร้อนฉ่า บางร้านทอดแบบกรอบ เคี้ยวกร๊วบ! แต่บางร้านก็ทอดมาแบบเนื้อยังนิ่ม กินง่าย มีให้ชิมตลอดปีจ้าระนอง 35

ปูผัดฉ่า และปูผัดผงกะหรี่ เป็นเมนูขึ้นชื่อของระนอง เพราะเป็นเมืองแห่งท้องทะเลอันดามันอันอุดมสมบูรณ์ มีปูจากน่านน้ำไทยและอันดามันให้ชิมเพียบ โดยเฉพาะปูม้าและปูทะเล (ปูดำ) ราคาต่างกันไปตามขนาดปู แหม พูดแล้วก็น้ำลายสอขึ้นมาทันที! ฮาฮาฮาระนอง 36

หอยตลับ เป็นเมนูที่คนระนองนิยมกินกันมาก เพราะยังหาได้ดาษดื่น ตัวก็ใหญ่ นำมาปรุงได้หลายแบบ ทั้งต้มซุป, ผัดน้ำพริกเผา, ผัดฉ่า และนึ่งกับใบโหระพา จิ้มน้ำจิ้มซีฟู๊ดรสเด็ด ถ้าหอยสดจริง เนื้อจะแน่นหนึบสู้ปาก ต้องเคี้ยวกันนานพอดู แหม ดูซิ ขนาดสิ้นชีพแล้วยังไม่ยอมให้เรากินง่ายๆ เลยนะ ฮาฮาฮาระนอง 37

กุ้งผัดซอสมะขาม เป็นเมนูอาหารปักษ์ใต้ที่ไม่ได้พบเฉพาะในระนอง แต่มีให้ชิมทั่วไปในปัจจุบัน ทว่าที่ระนองได้เปรียบ เพราะมีวัตถุดิบคือกุ้งตัวใหญ่จากทะเลที่ใกล้แค่เอื้อม ความเจ๋งของเมนูนี้คือ น้ำซอสมะขามหวานอมเปรี้ยวปะแล่มๆ ซึ่งแต่ละร้านเขาจะมีสูตรเด็ด สูตรลับ สูตรเฉพาะของตัวเอง กินกับข้าวสวยร้อนๆ หยุดไม่ได้แน่นอน!
ระนอง 38

และสุดท้ายก่อนกลับบ้าน ถ้าคุณไม่ได้ชิม หรือซื้อ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ (คนใต้เรียกอีกหลายชื่อ เช่น เล็ดล่อ, กาหยู, ลูกหัวครก) คงจะเรียกว่ามาถึงระนองไม่ได้ เพราะนี่คือผลไม้ประจำจังหวัดครับ หาซื้อได้ทั่วไปในเมืองระนอง เขาแกะเปลือกคั่วมาเสร็จสรรพ จะกินเล่นกินจริงได้ทั้งนั้น เพราะมีความหวานมันอยู่ในตัวเอง

ทั้งหมดนี้คือบางส่วนของเสน่ห์เมืองระนองที่ผมหลงรัก เมืองฝน 8 แดด 4 ที่คุณต้องมาสัมผัสด้วยตัวเองสักครั้งครับlogo123-300x300

Special Thanks : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคใต้ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานชุมพร ระนอง โทร. 0-7750-2775-6,  0-7750-1831 สนับสนุนการเดินทางเป็นอย่างดี

เที่ยวสุดยอด Unssen กาฬสินธุ์ ถิ่นอีสาน (ตอน 2)

กาฬสินธุ์ 48

ต่อจากความเดิม ในการท่องเที่ยวถิ่นอีสานกาฬสินธุ์ ชมสถานที่ Unseen และชุมชนน่ารักๆ ของชาวผู้ไทยกันไปแล้ว ในตอน 2 นี้ เราก็ยังขอพาแฟนๆ ตามรอย Go Travel Photo ไปเยือนกาฬสินธุ์เมืองน่ารักกันต่อเลยจ้า

1. สิมวัดอุดมประชาราษฎร์ บ้านนาจารย์ ตำบลนาจารย์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ เป็นวัดที่เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. 2448 จนเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2476 โดยผู้นำคือ ญาคูบุปผา เจ้าอาวาสในสมัยนั้น ร่วมกับญวนสองพี่น้อง คือ นายทองคำ จันทร์เจริญ และนายคำมี จันทร์เจริญ โดยสร้างขึ้นตามลักษณะของสิม (โบสถ์อีสาน) ในอดีต คือมีขนาดเล็ก ก่ออิฐถือปูน มุงหลังคากระเบื้องหรือไม้เกล็ด ความพิเศษอยู่ตรงภาพจิตรกรรมฝาผนัง ที่วาดอยู่บนผนังด้านนอกสิมทุกด้าน รวมถึงภายในด้วย เกี่ยวกับพุทธประวัติ เรื่องชาดก และวิถีชีวิตของคนอีสานในอดีต เช่น การละเล่นหัวล้านชนกัน, งานศพ, ภาพตลกขบขัน ฯลฯ โดยมีอักษรธรรมเขียนกำกับไว้ ช่างผู้วาดภาพเหล่านี้คือ อาจารย์ผาย ชาวอำเภอสหัสขันธ์
กาฬสินธุ์ 49

รอบสิมเต็มไปด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังลายเส้นง่ายๆ ดูแล้วสนุก สะท้อนถึงความเชื่อ วิถีชีวิตแบบเก่า คาดว่าน่าจะใช้สีธรรมชาติมาระบายแต้ม สีสันจึงไม่ฉูดฉาด ทว่าติดทนนานมาก
กาฬสินธุ์ 50

บนผนังด้านนอกสิม มีการปั้นเป็นอาร์ค (Arch) คล้ายซุ้มโค้ง ที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังอยู่ภายใน งดงามมากกาฬสินธุ์ 51

ภายในสิม ประดิษฐานพระประทานโบราณ หลังพระประธานเป็นฮูปแต้ม (ภาพจิตรกรรมฝาผนัง) ภาพมังกรกลางผนัง ล้อมรอบด้วยภาพพระเวสสันดรชาดก เทวดา และอื่นๆ นับเป็นความงามอย่างเรียบง่าย ที่ให้ความรู้สึกขรึมขลังดีแท้กาฬสินธุ์ 52การเดินทางไปชมสิมวัดอุดมประชาราษฎร์ : จากตัวเมืองกาฬสินธุ์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 213 (กาฬสินธุ์-สมเด็จ) จนถึงบ้านนาจารย์ เมื่อผ่านโรงเรียนชุมชนนาจารย์วิทยาแล้ว มีแยกขวาพร้อมป้ายบอกทางไปวัด ซึ่งตั้งอยู่ในหมู่บ้าน รวมระยะทางจากตัวเมือง เพียง 15 กิโลเมตร เท่านั้น
กาฬสินธุ์ 54

2. วัดป่ารังสีปาลิวัน ตำบลบ้านโพน อำเภอคำม่วง เป็นเจดีย์ในวัดป่าอันสงบ ร่มรื่น เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกแด่ หลวงปู่เขียน ฐิตสีโล พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้มีวัตรปฏิบัติเคร่งครัด งดงาม ท่านเป็นสหายธรรมกับสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) และพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน) ตั้งแต่ครั้งสมัยที่ท่านทั้งสามยังมีอายุพรรษาไม่มากนัก
กาฬสินธุ์ 55

ปัจจุบันภายในเจดีย์วัดป่ารังสีปาลิวัน เป็นที่ประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งเหมือนจริง ของพระอริสงฆ์แห่งอีสานไว้หลายท่าน รวมถึงยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังปริศนาธรรม และพระบรมธาตุ อัฐิธาตุอันศักดิ์สิทธิ์มากมายให้กราบสักการะกาฬสินธุ์ 56 กาฬสินธุ์ 57 กาฬสินธุ์ 58

3. วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ เป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวใหม่ที่คนทั่วไปยังไม่ค่อยทราบ เหมาะสำหรับการเข้าเยี่ยมชมเป็นหมู่คณะ ใครรักชอบนาฏศิลป์ไทยถิ่นอีสาน เข้ามาดูการเรียนการสอน เพื่อสืบสานวัฒนธรรมการร่ายรำ ดนตรี ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ เร่ิมต้นด้วยการไปกราบสักการะพระพิฆเนตร เทพผู้ให้การปกปักรักษาและให้พรกับผู้ที่ทำงานด้านศิลปะ
กาฬสินธุ์ 62 กาฬสินธุ์ 63วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ เป็นวิทยาลัยนาฏศิลป์ 1 ใน 12 แห่งของไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2524 ในสังกัดกองศิลปศึกษา กรมศิลปากร เปิดรับนักเรียนที่มีความสนใจในศิลปการแสดงดั้งเดิมของอีสาน และของไทย เพื่อสืบสานให้คงอยู่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ ไม่ว่าจะเป็นละคร, โขน, การแสดงพื้นบ้าน, ปี่พาทย์ (ระนาด ฆ้องวง ปี่), เครื่องสาย (ซออู้ ซอด้วง จระเข้), คีตศิลป์ (ขับร้องเพลงไทย), ดนตรีสากล (เครื่องดนตรีสากลทุกชนิด) และที่ขาดไม่ได้แน่นอน คือ ดนตรีพื้นบ้าน (เครื่องดนตรีอีสานทุกประเภท โดยเฉพาะโปงลาง สัญลักษณ์สำคัญของกาฬสินธุ์)

กาฬสินธุ์ 64

อนุสาวรีย์ของท่าน ผอ. สำเริง จิตรจง อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ ผู้มีคุณูปการเอนกอนันต์ต่อสถาบันแห่งนี้ แม้ว่าท่านจะได้อำลาโลกไปแล้ว ทว่าคุณงามความดีของท่านยังคงอยู่ ทุกปีจะมีการจัดงานรำลึกแด่ท่านด้วย
กาฬสินธุ์ 65

น้องๆ นักเรียนนาฏศิลป์ ตั้งใจฝึกซ้อมกันอย่างขยันขันแข็ง นับเป็นภาพอันน่าชื่นใจ ว่ายังมีเยาวชนอีกกลุ่มหนึ่งให้ความสำคัญต่อศิลปของชาติ เข้ามาเรียน เข้ามาฝึกฝนเต็มเวลา ไม่ปล่อยให้กระแสโลกาภิวัฒน์ของโลก พาพวกเขาไหลบ่าไปกับอารยธรรมตะวันตกจนหมด ขอปรบมือให้ดังๆ เลยครับกาฬสินธุ์ 66

โปงลาง เครื่องดนตรีสัญลักษณ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ แน่นอนว่าต้องมีการเรียนการสอนที่นี่ด้วย
กาฬสินธุ์ 67

ฝึกรำบ่อยๆ และดัดมือ จนมืออ่อนโค้งงอน สะท้อนความอ่อนช้อยของนาฏศิลป์ถิ่นไทยจ้า

กาฬสินธุ์ 68

สนใจเข้าชมวิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ : ติดต่อล่วงหน้า โทร. 0-4381-1317, 08-5455-1501กาฬสินธุ์ 69

4. แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว พิพิธภัณฑ์สิรินธร อำเภอสหัสขันธ์ อยู่บริเวณเชิงเขาภูกุ้มข้าว วัดสักกะวัน เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี ที่ไม่ได้มีชื่อเสียงเฉพาะในเมืองไทย หรือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เท่านั้น ทว่ายังมีชื่อเสียงในระดับโลก เพราะค้นพบโครงกระดูกไดโนเสาร์มากถึง 700 ชิ้นเป็นอย่างน้อย เป็นซากไดโนเสาร์ 7 ตัว อายุกว่า 130 ล้านปี ในยุคครีเตเชียสตอนต้น

อีกอย่างที่ทำให้ภูกุ้มข้าวโด่งดังมาก เพราะมีการค้นพบไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ของโลกเกือบ 10 ชนิด โดยเฉพาะไดโนเสาร์กินพืชตัวใหญ่ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่ ทำให้ทั่วโลกตื่นเต้น โดยซากโครงกระดูกจริงของมัน ยังไปชมได้ที่หลุมขุดค้น สภาพคล้ายมันนอนคว่ำม้วนหางเป็นวง
กาฬสินธุ์ 70

จำลองไดโนเสาร์ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่ ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติตามพระนามของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
กาฬสินธุ์ 71

พิพิธภัณฑ์สิรินธร มิได้เป็นแหล่งเรียนรู้เฉพาะเรื่องไดโนเสาร์เท่านั้น ทว่ายังมีการจัดพิพิธภัณฑ์เป็น 8 โซน อย่างดี เล่าเรื่องราวของกำเนิดโลก, ธรณีวิทยา, ไดโนเสาร์, การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์ทะเลโบราณ และอื่นๆ อีกมากมาย ไปเที่ยวกันได้ตลอดปี ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จ้า
กาฬสินธุ์ 72

ขอแนะนำว่า พิพิธภัณฑ์สิรินธรมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ถ้าจะเดินชมแบบไม่รีบ ศึกษาหาความรู้ไปด้วย ก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง อย่างในภาพนี้ คือห้องแรกๆ ที่จัดแสดงยุคทางธรณีวิทยาของโลก และตัวอย่างหินต่างๆกาฬสินธุ์ 73

หนึ่งในไฮไลท์ของการมาเที่ยวที่พิพิธภัณฑ์สิรินธร คือการเดินเข้าสู่ห้องโถงกลาง ซึ่งจำลองโครงกระดูกทั้งตัว ของไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ คล้ายฉากในหนังฮอลีวูดเรื่อง Jurassic Park น่าตื่นตาตื่นใจสุดๆ! แต่ไม่ได้น่าตื่นเต้นอย่างเดียว เขายังมีป้ายให้อ่านเพิ่มความรู้ใส่สมองอย่างละเอียดด้วยนะกาฬสินธุ์ 74

ซากฟอสซิลใหม่ล่าสุด ซึ่งพิพิธภัณฑ์สิรินธรได้นำมาจัดแสดงเพิ่มเติมจากพวกไดโนเสาร์ตัวใหญ่ก็คือ ซากฟอสซิลปลาโบราณจาก ภูน้ำจั้น บ้านดงเหนือ ตำบลเหล่าใหญ่ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีการขุดพบซากฟอสซิลปลากินพืชที่สูญพันธุ์ไปพร้อมๆ กับยุคไดโนเสาร์เมื่อกว่า 65 ล้านปีก่อน สังเกตลักษณะเกล็ดปลาโบราณ จะเป็นสี่เหลี่ยม ไม่เป็นเกล็ดกลมมนเหมือนปลาปัจจุบัน ซากฟอสซิลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า อีสานคือผืนดินโบราณ ที่เคยมีสัตว์ดึกดำบรรพ์อยู่เต็มไปหมด!กาฬสินธุ์ 75

ณ หลุมขุดค้นจริง เราจะได้ชมซากไดโนเสาร์ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่ ในจุดที่มันนอนตายอยู่จริงๆ น่าตื่นเต้นดี สนใจสอบถามเพิ่มเติม โทร. 0-4387-1014, 0-4387-1394, 0-4387-1613
กาฬสินธุ์ 76

5. สวนไดโนเสาร์ อบจ. กาฬสินธุ์ ห่างจากพิพิธภัณฑ์สิรินธรเพียง 3 กิโลเมตร ริมทางหลวงหมายเลข 227 เป็นสวนสาธารณะที่ไม่เหมือนใคร เพราะนอกจากจะมีสนามหญ้า และไม้ดอกไม้ใบร่มรื่นให้ไปนั่งปิกนิกกันได้แล้ว ยังมีไดโนเสาร์จำลองขนาดยักษ์หลายสิบชนิด ยืนจังก้าคล้ายกับว่ามีชีวิต! ให้เราตื่นเต้นเล่นๆ ฮาฮาฮา ถ่ายภาพมาได้บรรยากาศเหมือนย้อนอดีตไปเมื่อ 65 ล้านปีก่อนเลยล่ะ!
กาฬสินธุ์ 77 กาฬสินธุ์ 78

6. ปาท่องโก๋ไดโสเสาร์ ตลาดโรงสี อำเภอเมืองกาฬสินธุ์  ใครที่ชอบตื่นเข้า ไปเที่ยวกาฬสินธุ์รับรองมีรางวัลให้ชีวิต เพราะหลังจากได้ไปชมไดโนเสาร์จำลองตัวเบ้อเริ่มกันมาแล้วที่พิพิธภัณฑ์สิรินธร อำเภอสหัสขันธ์ เช้าวันต่อมาเรายังได้ชิม “ปาท่องโก๋ไดโนเสาร์” ตัวจิ๋วน่ารัก เหมือนลูกไดโนเสาร์สีทองลองฟ่องอยู่ในน้ำมันร้อนฉ่า! สั่งมาหลายๆ ตัวกินกับน้ำเต้าหู้ร้อนๆ แค่ตัวละ 5 บาทเท่านั้น เป็นอาหารเช้าของคนหัวใส สร้างกิมมิคให้เข้าคู่กับเมืองแห่งไดโนเสาร์ กาฬสินธุ์ได้อย่างเยี่ยมยอด
กาฬสินธุ์ 79 กาฬสินธุ์ 80

7. หมูทุบบ้านนาจารย์ ตำบลนาจารย์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ เป็นของกินเล่นกินจริง ที่กำลังโด่งดังทำเงินทำทองให้คนบ้านนาจารย์อย่างเป็นล่ำเป็นสัน เพราะเนื้อหมูทุบของที่นี่รสชาติเป็นเลิศ เนื้อหนานุ่ม เคี้ยวมัน เคี้ยวเพลิน จะกินเล่น กินจริง หรือกินกับข้าวสวยร้อนๆ กินเป็นกับแกล้มได้ทั้งนั้น เหมาะจะซื้อเป็นของฝากกัน เพราะเก็บไว้ได้นาน สนใจติดต่อ คุณอัจฉรา เดชพรรณา ประธานกลุ่มแปรรูปเนื้อสัตว์บ้านนาจารย์ โทร. 08-7215-8459
กาฬสินธุ์ 81 กาฬสินธุ์ 82 กาฬสินธุ์ 83

นอกจากหมูทุบแสนอร่อยแล้ว บ้านนาจารย์ยังมีสุดยอดแจ่วบอง (และแจ่วบองแมงดา) ให้ลองชิมด้วย เห็นคนที่ชอบๆ เขาไม่ได้ซื้อกันกระปุกเดียว แต่ซื้อกันทีละครึ่งโหล! กลิ่นหอมหวนชวนรับประทานเป็นที่สุด!
กาฬสินธุ์ 84

8. ไส้กรอกปลากาฬสินธุ์ (ห้างหุ้นส่วนจำกัด กาฬสินธุ์ผลิตภัณฑ์อาหาร) ถนนผ้าขาว ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ โทร. 0-4381-5255, 08-7863-3344, 08-1261-6091
กาฬสินธุ์ 85

ทุกวันนี้ อาหารฝรั่งอย่างไส้กรอกกำลังได้รับความนิยมมาก แต่หลายคนกังวลว่าถ้ากินไส้กรอกหมูบ่อยๆ จะอ้วน เพราะมีไขมันเยอะ ความกังวลนี้คงจะหมดไปล่ะ ถ้าเราได้ลองชิม “ไส้กรอกปลากาฬสินธุ์” เป็นไส้กรอกปลาสุขภาพที่มีชื่อเสียง ได้รับการตรวจประเมินคุณภาพจากหลายสถาบันเรียบร้อยแล้ว จึงส่งขายทั้งในเมืองไทย และส่งออกต่างประเทศแข่งกับไส้กรอกหมูเยอรมันต้นตำรับได้สบาย ฮาฮาฮากาฬสินธุ์ 86

ไส้กรอกปลากาฬสินธุ์ เป็นไส้กรอกสไตล์เยอรมัน แฟรงเฟอเธอร์ แต่นำปลาน้ำจืดของบ้านเรามาดัดแปลง แทนหมู วัว และไก่ โดยใช้ไขมันปลาและไขมันพืชแทน ในอัตราส่วนไม่เกิน 15 เปอร์เซนต์ ไม่ผสมแป้ง ไม่ใส่สารกันเสีย และใช้ไส้สังเคราะห์จากคอลลาเจนในการบรรจุ ทำให้คนห่วงใยเรื่องอาหารสุขภาพมั่นใจได้เลยจ้ากาฬสินธุ์ 87logo123-300x300Special Thanks : ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคอีสาน และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานขอนแก่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม สนับสนุนการเดินทางเป็นอย่างดี สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0-4322-7714-5

เที่ยวสุดยอด Unseen กาฬสินธุ์ ถิ่นอีสาน (ตอน 1)

กาฬสินธุ์ 1

เมื่อเอ่ยถึงชื่อ “ทุ่งกุลาร้องไห้” หลายคนคงร้องอ๋อ เพราะจำได้ว่าสมัยเด็กๆ ครูเคยสอนว่าเป็นเขตแห้งแล้งของภาคอีสาน รวมกว้างๆ อยู่ในเขตจังหวัดสุรินทร์, มหาสารคาม, บุรีรัมย์, ศรีสะเกษ, ยโสธร, ร้อยเอ็ด และบางส่วนของกาฬสินธุ์ ความทรงจำจากหนังสือเรียนสมัยเด็ก ทำให้ใครหลายคนไม่อยากย่างกรายไปอีสาน ทว่านั่นคือความเข้าใจผิดมาก!

เพราะแท้จริงแล้วทุ่งกุลาร้องไห้ที่อาจจะดูเปลี่ยวเหงาในฤดูแล้ง เมื่อได้ไปเยือนในฤดูฝน ภาพอีกภาพหนึ่งจะปรากฏให้เห็น เป็นภาพแห่งความเขียวขจีในผืนนานับล้านไร่! เนื่องจากดินบริเวณนี้เหมาะเจาะอย่างยิ่งสำหรับการปลูกข้าวหอมมะลิพันธุ์ดีเกรด Premium ส่งขายไปทั่วไทยและทั่วโลก!

ทริปนี้เราได้มาเยือนส่วนเสี้ยวหนึ่งของทุ่งกุลาร้องไห้ “กาฬสินธุ์ ถิ่นไดโนเสาร์” และอดีตเมืองโบราณอาณาจักรฟ้าแดดสงยาง สถานที่ซึ่งครั้งหนึ่งเคยรุ่งเรืองเฟื่องฟูที่สุดแห่งหนึ่งบนผืนดินอีสาน ลองมาชมกันซิว่า วันนี้กาฬสินธุ์ยังสบายดีอยู่ไหมจ๊ะ? ฮาฮาฮากาฬสินธุ์ 21. พระธาตุยาคู หรือพระธาตุใหญ่ อำเภอกมลาไสย เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองโบราณอาณาจักรฟ้าแดดสงยาง (อายุประมาณ 2,200 ปี) ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงเหลี่ยมก่ออิฐ สร้างซ้อนทับบูรณะกันมาถึง 3 สมัย ชาวบ้านเชื่อว่าภายในบรรจุพระธาตุอัฐิของพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่ชาวเมืองฟ้าแดดสงยางเคารพนับถือ สังเกตได้จากเหตุการณ์เมื่อเมืองเชียงโสมชนะสงคราม ได้ทำลายทุกอย่างในเมืองฟ้าแดดสงยาง แต่ไม่ทำลายพระธาตุยาคู ปัจจุบันจึงเป็นโบราณสถานที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ โดยชาวบ้านจะจัดให้มีงานบุญบั้งไฟช่วงเดือนพฤษภาคมทุกปี เพื่อเป็นการขอฝนและความร่มเย็นแก่หมู่บ้าน

ส่วนคำว่า “ยาคู” แท้จริงมาจากคำในภาษาอีสานว่า “ญาคู” หมายถึง “พระสงฆ์ผู้ใหญ่ในวัด” นั่นเองกาฬสินธุ์ 3

ในบริเวณใกล้ๆ องค์พระธาตุยาคูมีพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็ก จัดแสดงใบเสมาหินทรายขนาดใหญ่ ที่ขุดค้นพบในบริเวณเมืองโบราณฟ้าแดดสงยาง และรอบๆ พระธาตุยาคู โดยค้นพบมากถึง 130 แผ่น นับเป็นแหล่งที่ขุดพบมากที่สุดในเมืองไทยก็ว่าได้ บ่งบอกถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ความยิ่งใหญ่ของเมืองฟ้าแดดสงยาง และยังเผยให้เห็นถึงรูปแบบวิธีคิดของคนในอดีตอีกด้วยกาฬสินธุ์ 4 กาฬสินธุ์ 52. ไม่ห่างจากพระธาตุยาคูมากนัก ณ ทางเข้าของเมืองฟ้าแดดสงยางโบราณ ปัจจุบันคือที่ตั้งของ “วัดโพธิ์ชัยเสมาราม” หรือ “วัดบ้านก้อม” เป็นวัดเก่าที่ชาวบ้านได้นำใบเสมาหินทรายที่ขุดพบในเขตเมืองฟ้าแดดสงยางมารวบรวมไว้ ลักษณะเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่น่าสนใจมาก ใบเสมาบางอันขนาดใหญ่กว่า 2 เมตร สูงท่วมหัวคน! จำหลักเป็นภาพนูนต่ำเรื่องราวพุทธประวัติตอนต่างๆ และเรื่องชาดก

อาทิ ตอนพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากกรุงกบิลพัสดุ์ พร้อมด้วยพระเจ้าสุทโธทนะ ภาพแสดงให้เห็นพระราหุลและพระนางยโสธราพิมพา เข้าเฝ้าสักการะด้วยการสยายพระเกศา (ผม) เช็ดพระบาทพระพุทธเจ้า เรียกว่า “เสมาหินพิมพาพิลาป” ซึ่งใบเสมาหลักจริงได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่นแล้ว ใครที่รักชอบเรื่องโบราณคดี มาวัดบ้านก้อมไม่ผิดหวังแน่นอนครับ
กาฬสินธุ์ 6 กาฬสินธุ์ 7 กาฬสินธุ์ 8 กาฬสินธุ์ 9

3. มาลัยไม้ไผ่ ประณีตศิลป์แห่งชนเผ่าผู้ไทย บ้านกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ ณ ที่นี้คือชุมชนเผ่าผู้ไทยอันมีอัตลักษณ์เฉพาะตน งดงาม น่าชื่นชม โดยเฉพาะเมื่อย่างเข้าเดือนเก้าและเดือนสิบ ในช่วงบุญข้าวประดับดินและบุญข้าวสาก ตามวิถีฮีต 12 ของชาวอีสาน ผู้ไทยบ้านกุดกว้าก็จะรวมตัวกันสืบสานงานประเพณี “มาลัยไม้ไผ่” ซึ่งถือเป็นวิจิตรศิลป์เพื่อพุทธบูชาแห่งชาวกุดหว้าทั้งมวล
กาฬสินธุ์ 10 กาฬสินธุ์ 11

นอกจากมาลัยไม้ไผ่ดอกเล็กๆ แล้ว ชาวกุดหว้ายังประดิษฐ์มาลัยวิจิตรศิลป์อันตระการตา ขึ้นมาประกวดประชันกันด้วยกาฬสินธุ์ 12

เมื่อใกล้ถึงกำหนดวันงานบุญพวงมาลัย คณะกรรมการหมู่บ้านจะนำมาลัยไม้ไผ่ไปแจกจ่ายให้ชาวบ้าน ใช้เป็นเครื่องผูกร้อยพืชพรรณธัญญาหารตามฤดูกาล หรือสิ่งของอุปโภคบริโภค พร้อมด้วยดอกไม้ ธูป เทียน เป็นเครื่องไทยธรรม นำไปประกอบพิธีแห่มาลัยไม้ไผ่รอบโบสถ์ ก่อนจะนำมาแขวนรวมกันเป็นต้นกัลปพฤกษ์ถวายเป็นพุทธบูชากาฬสินธุ์ 13 กาฬสินธุ์ 14

ยิ้มง่ายๆ งามๆ แสนจริงใจ ของสาวผู้ไทยบ้านกุดหว้า
กาฬสินธุ์ 15

สาวผู้ไทยบ้านกุดหว้าในช่วงงานมาลัยไม้ไผ่ จะแต่งกายสวยสุดๆ โดยจะสวมเสื้อแขนกระบอกเข้ารูปสีดำหรือครามเข้ม พาดเฉวียงบ่าด้วยผ้าไหมแพรวาลายงามวิจิตร อีกทั้งยังตกแต่งเรือนกายด้วยดอกมาลัยไม้ไผ่ มีตั้งแต่เข็มกลัด, ต่างหู, ปิ่นปักผม ซึ่งล้วนสร้างสรรค์ขึ้นจากไม้ไผ่ไร่ในหมู่บ้าน นำมาจักสานอย่างประณีตบรรจง
กาฬสินธุ์ 16

ดอกมาลัยไม้ไผ่ ประดิษฐ์จากไม้ไผ่ไร่ซึ่งตัดทิ้งไว้ 15 วัน ให้แห้งสนิทดีซะก่อน จากนั้นนำมาตัดเป็นท่อนๆ ผ่าซีก เหลาให้บาง ความกว้างและยาวขึ้นอยู่กับขนาดดอก โดย 1 ดอก ใช้ไม้ไผ่ที่เหลาแล้ว 6 ชิ้น นำมาหักพับสลับฟันปลาแบ่งระยะความห่างช่องไฟให้พอดี สวยงาม เท่าๆ กัน พร้อมกับผ่าออกเป็นซี่เล็กๆ นำมาประกบเข้าคู่อย่างประณีต จนมีรูปร่างเป็นดอกไผ่ ใช้แขวนในพิธีทำบุญพวงมาลัยนั่นเองกาฬสินธุ์ 17 กาฬสินธุ์ 18

เข็มกลัดดอกไผ่
กาฬสินธุ์ 19

ต่างหูดอกไผ่กาฬสินธุ์ 20

ปิ่นปักผมดอกไผ่กาฬสินธุ์ 21

เมื่อพร้อมแล้ว ชาวบ้านก็จะนำขบวนมาลัยไม้ไผ่มาจัดขบวน เดินแห่แหนร่ายรำกันไปอย่างสนุกสนาน 3 รอบโบสถ์วัดกกต้องกุดกว้า ทั้งลูกเด็กเล็กแดง ผู้สาว แม่ใหญ่ ต่างมาร่วมงานกันอย่างชื่นมื่นอิ่มบุญกาฬสินธุ์ 22 กาฬสินธุ์ 23

ชาวบ้านกุดหว้า ออกมาร่วมงานมาลัยไม้ไผ่ พ่อเพลงหมอแคนต่างแสดงฝีมือกันเต็มที่ เพราะงานนี้มีปีละครั้งเดียว
กาฬสินธุ์ 24

4. วัดวังคำ บ้านนาวี ตำบลสงเปือย อำเภอเขาวง เป็นวัดสำคัญที่สุดของชาวผู้ไทยในเขตอำเภอเขาวง ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างขึ้นในเนื้อที่ 8 ไร่ เมื่อปี พ.ศ. 2539 สิ่งสำคัญที่สุดในวัดคือ นอกจากมีองค์พระธาตุอันศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังมีวิหารที่จำลองแบบมาจากวัดเชียงทอง (มรดกโลก) ณ เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว หากได้ไปเยือนในยามค่ำคืน จะมีการเปิดไฟแสงสีประดับอย่างน่าตื่นตา อีกทั้งผนังด้านนอกส่วนหลังวิหาร มีการจำลองแบบต้นไม้แห่งชีวิต Tree of Life ประดับกระจกสี เฉกเช่นเดียวกับวัดเชียงทองอีกด้วย
กาฬสินธุ์ 25 กาฬสินธุ์ 26

ภายในวิหารวัดวังคำ งามอลังการดุจเทพนฤมิตร! เด่นด้วยสีแดงชาติและสีทองสุกปลั่งเหลืองอร่าม ทว่าภายในวิหารนี้ห้ามมิให้สตรีเข้าไปนะครับ เข้าได้เฉพาะผู้ชายเท่านั้นกาฬสินธุ์ 27

ในการไปเยือนวัดวังคำ ศูนย์กลางชุมชนชาวผู้ไทยบ้านนาวี หากมีการติดต่อล่วงหน้า และเข้าเยี่ยมชมเป็นหมู่คณะ เขาก็จะมีการจัดงานต้อนรับอย่างเอิกเริก ทั้งในส่วนของชุดผู้ไทยที่มีการใช้ผ่าเบี่ยงพาดบ่า เป็นผ้าไหมแพรวาลวดลายวิจิตร รวมถึงการจำลองวิถีชีวิตของชาวผู้ไทยในแง่มุมต่างๆ ให้ชมกันอย่างใกล้ชิดครับกาฬสินธุ์ 28 กาฬสินธุ์ 29

สาธิตการประดิษฐ์ขันหมากเบ็ง หรือที่คนไทยภาคกลางเรียกว่าพานบายศรีนั่นเอง โดยขันหมากเบงนี้ชาวบ้านจะใช้ในขบวนแห่ในงานประเพณี หรือนำไปถวายวัดเป็นพุทธบูชา
กาฬสินธุ์ 30

สาวน้อยน่ารักชาวผู้ไทย โปรยยิ้มหวานต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน พร้อมกับการแต่งกายย้อนยุคอันมีเอกลักษณ์
กาฬสินธุ์ 31

สาธิตการทำเครื่องจักสาน อีกหนึ่งสาขางานประณีตศิลป์ที่ชาวผู้ไทยบ้านนาวีชำนาญกาฬสินธุ์ 32 กาฬสินธุ์ 33 กาฬสินธุ์ 34

ข้าวแดกงา ขนมพื้นบ้านของชาวผู้ไทยบ้านนาวี เป็นการนำข้าวเหนียวและงาที่เพิ่งเก็บเกี่ยวใหม่ๆ มาตำรวมกันอย่างง่ายๆ จนได้แผ่นแป้งที่เห็น แล้วนำถั่วลิสงกับถั่วแดงใส่เป็นไส้ จากนั้นม้วนเป็นแท่งกลม กินเป็นขนมทานเล่นได้อร่อยดี เพราะเป็นของธรรมชาติล้วนๆ ทว่าขนมแดกงาจะมีให้ชิมเฉพาะช่วงฤดูหนาวเท่านั้น ซึ่งเป็นช่วงที่ชาวบ้านเพิ่งเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จใหม่ๆ ข้าวและงาที่ได้จึงหอมหวลเป็นพิเศษกาฬสินธุ์ 35

แม่ใหญ่ชาวผู้ไทย ยิ้มหวานอย่างภาคภูมิในชุดประจำชนเผ่าของตน หวังว่าวัฒนธรรมการแต่งกายอันงดงาม มีเอกลักษณ์เช่นนี้ จะมีให้เราเห็นต่อไปอีกนานๆ นะครับ
กาฬสินธุ์ 36

ขบวนแห่รอบวิหารวัดวังคำ จัดเต็มมากันในชุดผู้ไทยสวยสุดๆ พร้อมด้วยขันหมากเบ็ง ต้นดอกไม้ และเครื่องพุทธบูชานานาชนิด
กาฬสินธุ์ 37

แห่ต้นดอกไม้ รอบวิหารวัดวังคำ 3 รอบ ก่อนนำต้นดอกไม้เข้าไปถวายสักการะหน้าพระประธานในวิหารกาฬสินธุ์ 38 กาฬสินธุ์ 39 กาฬสินธุ์ 40 กาฬสินธุ์ 41 กาฬสินธุ์ 42

แม่ใหญ่แห่งบ้านนาวี ยังคงมีรอยยิ้มเปื้อนหน้า เมื่อมีนักท่องเที่ยวเข้ามาชื่นชมวัฒนธรรมอันดีงามของตนกาฬสินธุ์ 43

หลังจากพระอาทิตย์ลาลับขอบฟ้าไปแล้ว เหล่านักท่องเที่ยวก็ยังไม่หนีหายไปไหน แต่มารวมตัวกันทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ โดยหมอขวัญผู้ไทยแห่งบ้านนาวี เป็นพิธีที่สะท้อนความโอบอ้อมอารี ความห่วงใย และความรักที่มีต่อกันกาฬสินธุ์ 44

ตอนผูกข้อไม้ข้อมือ เราต้องถือไข่ต้มไว้ด้วย 1 ฟอง เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งโชคดีและความสมบูรณ์พูนสุขกาฬสินธุ์ 45

เสร็จจากพิธีบายศรีสู่ขวัญ ก็ได้เวลาที่นักท่องเที่ยวทุกคนรอคอย คือการนั่งล้อมวงกินพาแลง (อาหารเย็น) ด้วยกัน แน่นอนว่าอาหารมื้อนี้ล้วนเป็นเมนูพื้นบ้านแสนอร่อยของชาวผู้ไทย ป้าดดดด! น้ำลายไหล!กาฬสินธุ์ 46เราคือแขกผู้เข้าไปเยือนชุมชนชาวผู้ไทย แห่งบ้านนาวี อำเภอเขาวง เราได้ประจักษ์แล้วถึงความน่ารัก ความโดดเด่น และความเข้มแข็งของชุมชน ที่ยังคงใส่ใจสืบสานภูมิปัญญาจากปู่ย่าตาทวด นี่คืออีกหนึ่งชุมชนน่ารัก แห่งดินแดนอีสานอันแสนกว้างใหญ่ ซึ่งเรามิอาจปฏิเสธได้เลยว่า พวกเขาคือทูตแห่งวัฒนธรรม ผู้เก็บรักษาสมบัติล้ำค่าจากอดีต ให้ข้ามผ่านกาลเวลาไปสู่อนาคตได้อย่างแท้จริง
กาฬสินธุ์ 47

logo123-300x300Special Thanks : ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคอีสาน และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานขอนแก่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม สนับสนุนการเดินทางเป็นอย่างดี สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0-4322-7714-5

ปราสาทรวงข้าว ปราสาทแห่งศรัทธากาฬสินธุ์

ปราสาทรวงข้าว 2“หลงรักอีสาน” นี่คือความรู้สึกของฉันเมื่อได้ไปเยือนแผ่นดินอันมีเสน่ห์นี้ เพราะอีสานเป็นดินแดนแห่งรอยยิ้ม ความโอบอ้อมอารี และวัฒนธรรมอันรุ่มรวย หยั่งรากลึกสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน แม้วันนี้โลกจะเปลี่ยนไป วัฒนธรรมเก่าแก่หลายอย่างเริ่มเลือนหาย ทว่าคนอีสานก็ยังรักบ้านเกิด พากันสืบสานภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ

เช่นเดียวกับเมื่อสายลมหนาวมาเยือนต่อกับต้นฤดูร้อน ผืนนาอีสานถึงกาลเก็บเกี่ยวเสร็จเรียบร้อย ลอมฟางถูกกองทับสูงส่งกลิ่นหอม วัวควายได้เวลาพักจากการหว่านไถ ทว่าชาวบ้านต้อน ตำบลเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ กลับยังไม่ได้พักผ่อน ต่างมารวมตัวกันที่วัดเศวตวันวนาราม ร่วมแรงร่วมใจกันจัดงาน “บุญบายศรีสู่ขวัญข้าวคูนลาน” เพื่อรำลึกบุญคุณพระแม่โพสพผู้ให้ชีวิต อีกทั้งยังเป็นโอกาสที่พวกเขาร่วมแรงร่วมมือกันจัดสร้าง “ปราสาทรวงข้าว” ขึ้นเป็นตัวแทนแห่งศรัทธา ปรากฏเป็นสิ่งมหัศจรรย์แห่งขวัญข้าว เพียงแห่งเดียวบนผืนดินสยาม!ปราสาทรวงข้าว 3

ปราสาทรวงข้าว คืองานศิลป์แห่งวิถีศรัทธาสามัคคีของชาวบ้านกาฬสินธุ์ ในการประกอบพิธีบุญบายศรีสู่ขวัญข้าวคูนลาน หรือบุญคูนลานตามวิถีฮีตสิบสองของชาวอีสาน ซึ่งจะประกอบพิธีหลังฤดูเก็บเกี่ยว เพื่อระลึกถึงคุณพระแม่โพสพ อีกทั้งยังเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูต่อแผ่นดินที่ให้ผลผลิตเพื่อการยังชีพ ให้เกิดสิริมงคลแก่ชีวิต และการเพาะปลูก ตลอดจนเพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบไปปราสาทรวงข้าว 4

ด้วยรวงข้าวน้อยที่งอกงามขึ้นจากผืนดินอีสานกาฬสินธุ์ คือตัวแทนแห่งความอุดมของธรรมชาติ ที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คน บัดนี้ได้รับการนำมาเนรมิตเป็นงานศิลป์ประจำท้องถิ่นในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี เพื่อสร้างเป็น ปราสาทรวงข้าว
ปราสาทรวงข้าว 5

ชาวบ้านและพระสงฆ์จะช่วยกันนำรวงข้าวมามัดเป็นกำๆ แล้วนำไปผูกติดกับโครงไม้ไผ่ที่ขึ้นรูปไว้เป็นปราสาทรวงข้าวปราสาทรวงข้าว 6

ปราสาทรวงข้าว ในประเพณีบุญบายศรีสู่ขวัญข้าวคูนลาน มีจุดเริ่มต้นสร้างครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2537 โดยในขณะนั้น เมื่อถึงช่วงเวลาประกอบพิธีบุญคูนลาน แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังนวดข้าวไม่เสร็จ จึงนำมัดข้าวที่ยังไม่ได้แยกเมล็ดข้าวออกจากฟางมาถวายวัด จนเกิดแนวคิดการนำมามัดรวมสร้างเป็นปราสาทรวงข้าวขึ้น จนมีการพัฒนารูปแบบให้งดงาม น่าศรัทธา ดังเช่นปัจจุบัน โดยระยะเวลาในการสร้างปราสาทรวงข้าวแต่ละครั้ง ใช้เวลาถึง 2 เดือนทีเดียว
ปราสาทรวงข้าว 7

สวยสง่า เปี่ยมด้วยพลังแห่งศรัทธาในทุกอณู สะท้อนถึงความผูกพันของผู้คน ธรรมชาติ และพระพุทธศาสนาปราสาทรวงข้าว 8 ปราสาทรวงข้าว 9 ปราสาทรวงข้าว 10 ปราสาทรวงข้าว 11 ปราสาทรวงข้าว 12.1 ปราสาทรวงข้าว 12

ชาวบ้านในละแวกวัดเศวตวันวนาราม นำกับข้าวมาเตรียมตักบาตรในยามเช้าตรู่ปราสาทรวงข้าว 13

ตามปกติแล้ว งานบุญบายศรีสู่ขวัญข้าวคูนลาน จะจัดกันไม่ต่ำกว่า 4 วัน โดยวันแรก ชาวบ้านจะนำข้าวเปลือกมากองรวมกันที่วัดในปราสาทรวงข้าว แล้วรับบริจาคจตุปัจจัยตลอดวัน มีพิธีทำบุญตักบาตร 108 และบูชาข้าวเปลือกมงคลคูนลาน พร้อมด้วยขบวนแห่พานบายศรี แห่ปราสาทรวงข้าวจำลอง และแห่เครื่องบูชาพระแม่โพสพ ปิดท้ายด้วยการแสดงบวงสรวงบูชาพระแม่โพสพสมโภชกันอย่างสนุกสนานชื่นบาน

ปราสาทรวงข้าว 14

ในวันถัดไป ก็จะมีการทำบุญตักบาตร, บายศรีสู่ขวัญข้าวคูนลาน รวมถึงการแข่งเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ บริเวณหนองสาหร่าย ซึ่งอยู่ติดกับวัดเศวตวันวนาราม นั่นเอง
ปราสาทรวงข้าว 15

หนุ่มสาวหน้าใสในชุดพื้นเมืองโบราณกาฬสินธุ์ มาร่วมทำบุญตักบาตรกันอย่างชื่นบานปราสาทรวงข้าว 16 ปราสาทรวงข้าว 17

ร่วมทำบุญตักบาตรสืบสานพลังแห่งศรัทธา ณ วัดเศวตวันวนาราม ในงานบุญคูนลาน ปราสาทรวงข้าว 18 ปราสาทรวงข้าว 19 ปราสาทรวงข้าว 20

ตักบาตรเสร็จแล้ว ก็ได้เวลาฟังเทศน์ฟังธรรม รับศีลรับพร ให้ชีวิตมีแต่มงคลตลอดไปนะจ๊ะปราสาทรวงข้าว 21.1 ปราสาทรวงข้าว 21

จากนั้นก็ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ หน้าตาอาหารพื้นบ้านแท้ๆ เห็นแล้วน่าทานไปซะทุกสิ่งอย่าง อุดมด้วยพืชผักพื้นบ้านที่ส่วนใหญ่ปลอดสารพิษทั้งนั้นเลยล่ะปราสาทรวงข้าว 22 ปราสาทรวงข้าว 23 ปราสาทรวงข้าว 24

สาวงามหนุ่มหล่อ ก็ต้องมาถ่ายภาพคู่กับปราสาทรวงข้าวไว้เป็นที่ระลึก
ปราสาทรวงข้าว 25

การได้มาร่วมงานบุญคูนลาน และเห็นปราสาทรวงข้าวอันงดงามตั้งอยู่ตรงหน้า ทำให้เราสำนึกในทันทีว่า แท้จริงแล้วข้าวมิใช่เป็นเพียงแค่อาหาร หรือเป็นข้าวในกระสอบที่ใช้เงินทองแลกเปลี่ยนซื้อขายกันเท่านั้น! ข้าวคือแม่ คือผลผลิตแห่งพระแม่ธรณีที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิตผองเราชาวไทยมาหลายชั่วอายุคน และปราสาทรวงข้าว ก็คือตัวแทนแห่งความนอบน้อม ความขอบคุณ ต่อพระคุณของเมล็ดข้าว แม้เพียงเมล็ดเดียวก็สูงค่ายิ่งแล้ว
ปราสาทรวงข้าว 26

คำว่า “หลงรักอีสาน” คือคำที่จะตรึงอยู่ในใจฉันไปอีกนาน เพราะวันนี้ ฉันมีความสุขเหลือเกินที่ได้มาเยือน ปราสาทรวงข้าว แห่งกาฬสินธุ์ ถิ่นคนงามน้ำใจดี บ้ายบาย.logo123-300x300Special Thanks : ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคอีสาน และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานขอนแก่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม สนับสนุนการเดินทางเป็นอย่างดี สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0-4322-7714-5

ผ้าไหมแพรวา ราชินีแห่งแพรพรรณไทย

ผ้าแพรวา 1

เมื่อพูดถึงเรื่องการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อไปชื่นชมความงามของผืนผ้าแพรพรรณในเมืองไทยเรา ก็ต้องยอมรับว่าเป็นสวรรค์ของคนรักผ้า รักงานศิลป์อย่างแท้จริง เพราะในแทบทุกจังหวัด แทบทุกภูมิภาค ล้วนมีผ้าทอเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของตนเองด้วยกันทั้งนั้น โดยเฉพาะในดินแดนภาคอีสาน ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว มิใช่ดินแดนแห้งแล้งอย่างที่หลายคนเข้าใจ ทว่าอีสานคือดินแดนอันรุ่มรวยด้วยวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตผู้คนหลายเผ่าหลากพันธุ์

ในทริปนี้ เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับ “ราชินีแห่งผ้าไหมไทย ผ้าไหมแพรวา” แห่งอำเพอบ้านโพน จังหวัดกาฬนสินธุ์ผ้าแพรวา 2

ผ้าไหมแพรวา ได้รับการยกย่องให้เป็นราชินีแห่งไหมไทย! เพราะเป็นผ้าไหมที่มีลวดลายวิจิตพิสดาร ประณีต สวยงาม อย่างที่ใครเห็นก็ไม่กล้าปฏิเสธ! ทั้งในส่วนของสีสันอันเตะตา ซึ่งแต่เดิมใช้สีหลักเป็นสีแดงจากตัวครั่ง รวมถึงลวดลายทรงเรขาคณิตแบ่งจังหวะลวดลายบนผืนผ้าอย่างลงตัว ผืนผ้ามีความแวววาว สูงค่าน่าสวมใส่ ทำให้ผ้าไหมแพรวาเป็นที่ต้องการของทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ อย่างที่ผลิตกันแทบไม่ทันในปัจจุบัน!ผ้าแพรวา 3

แต่ก่อนจะไปลงลึกถึงเรื่องผ้าแพรวากันมากกว่านี้ เราคงต้องมาทำความรู้จักกับ “ชาวผู้ไทย” หรือ “ภูไท” กันสักเล็กน้อยก่อน เพราะว่าชาวผู้ไทยนี้เอง คือเจ้าของผ้าไหมแพรวาอันเลื่องชื่อ โดยแต่เดิมในอดีตนั้น ชาวผู้ไทยอาศัยอยู่ในแคว้นสิบสองจุไทย (ดินแดนตอนเหนือของลาวและเวียดนาม ซึ่งต่อกับจีนตอนใต้) จากนั้นในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ถูกภัยสงคราม กวาดต้อนเข้ามาสู่แผ่นดินสยามหลายระลอก โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งชาวผู้ไทยได้ถูกกวาดต้อนเข้ามาสู่แถบจังหวัดกาฬสินธุ์ สกลนคร และนครพนม (เทือกเขาภูพาน) มากที่สุด ทว่าชาวผู้ไทยในแต่ละจังหวัดก็แต่งกายต่างกัน อย่างเช่นผู้ไทย อำเภอบ้านโพน กาฬสินธุ์ก็จะแต่งกายด้วยผ้าพื้นสีดำเป็นหลัก ส่วนผู้ไทยอำเภอเรณูนคร นครพนม ก็จะแต่งกายด้วยสีฟ้าครามเป็นหลัก เป็นต้น

ชาวผู้ไทยจากลาวที่เข้ามาตั้งรกรากใหม่อยู่บนผืนดินอีสาน จริงๆ แล้วถือเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนมากที่สุด รองจากคนลาวเลยก็ว่าได้ ลักษณะของชาวผู้ไทยคือเป็นชนเผ่าที่มีอารยธรรมค่อนข้างสูง นิสัยรักสงบ ยิ้มแย้ม หน้าตาดี ผิวพรรณดี โอบอ้อมอารี และมีฝีมือทางด้านงานถักทอผ้าแพรวา นำติดตัวเข้ามาสืบสานจนถึงปัจจุบันผ้าแพรวา 4

ผ้าไหมแพรวาของชาวผู้ไทยจะใช้เทคนิคการจกและขิดผสมกัน โดยแต่เดิมผืนผ้านั้นมีความยาวเพียง 1 วา หรือ 1 ช่วงแขน ใช้สำหรับคลุมไหล่หรือห่มสไบเฉียง เรียกว่า “ผ้าเบี่ยง” ใช้พาดบ่าไปวัดไปวาในโอกาสงานเทศกาลบุญประเพณี หรือเทศกาลงานสำคัญ กระทั่งถึงปี พ.ศ. 2520 ครั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยี่ยมราษฎรผู้ไทย บ้านโพน กาฬสินธุ์ ทรงเห็นสาวชาวบ้านห่มผ้าเบี่ยงมารอรับเสด็จ จึงทรงสนพระทัยมาก จากนั้นจึงมีการส่งเสริมให้มีการทอเพิ่มหน้ากว้างและเพิ่มความยาวของผ้าแพรวา เพื่อนำไปตัดชุด ทำประโยชน์ได้หลากหลายมากขึ้น ให้สอดรับวิถีชีวิตและการใช้งานยุคปัจจุบัน ผ้าแพรวาจึงได้ประกาศความยิ่งใหญ่ในวงการผ้าไทย มาถึงทุกวันนี้
ผ้าแพรวา 5

ลายหลักของผ้าไหมแพรวา เป็นทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน สลับด้วยลายคั่นเป็นเส้นทางยาว ไล่ไปจนถึงลายเชิงหรือปลายสุดของผ้าผ้าแพรวา 6

ลวดลายบนผืนผ้าแพรวา เกิดจากการใช้เทคนิคการจกและขิด ในอดีตใช้สีธรรมชาติ แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนมาใช้สีเคมีบ้างตามความนิยมของยุคสมัย จากที่เคยนิยมทอแต่สีแดง เหลือง ขาว ดำ ทุกวันนี้มีให้เลือกทุกสีแล้วล่ะผ้าแพรวา 7.1

กลุ่มสตรีทอผ้าไหมแพรวาบ้านโพน สหกรณ์ศูนย์ศิลปาชีพทอผ้า ผ้าไหมแพรวาบ้านโพน ตั้งอยู่เลขที่ 173 หมู่ 5 ตำบลบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ โทร. 0-4385-6204, 08-3338-3956ผ้าแพรวา 7

กลุ่มทอผ้าไหมแพรวาบ้านโพน เขาผลิตกันเองในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ปลูกต้นหม่อน เลี้ยงไหม สาวไหม ไปจนถึงการทอ และทำการตลาดขายกันอย่างเป็นระบบ นักท่องเที่ยวสามารถเข้าเยี่ยมชมขั้นตอนเหล่านี้ได้ตลอดปีเลยจ้าผ้าแพรวา 8

เส้นไหมดิบจะมีสีเหลืองทองอร่ามอย่างนี้เอง ว้าว!
ผ้าแพรวา 9

ตัวหนอนไหม กำลังกินใบหม่อนอย่างเอร็ดอร่อย เพื่อสะสมพลังงานและสารอาหารไว้ ก่อนที่มันจะเข้าสู่ระยะดักแด้ ที่มีการสร้างรังไหมสีทองห่อหุ้มตัวไว้ โดยในระยะนั้นนั่นล่ะ ที่เราจะได้เส้นไหมจากรังดักแด้ของมัน นำมาทอผ้า
ผ้าแพรวา 10

นำรังไหมมาต้ม แล้วสาวไหมออกมาทีละเส้น ปั่นรวมกันเป็นเส้นไหม พร้อมใช้ทอผ้าต่อไปผ้าแพรวา 11 ผ้าแพรวา 12.1

ต้มรังไหมให้ร้อนได้ที่ ค่อยๆ สาวเส้นไหมออกไปปั่นรวมกัน
ผ้าแพรวา 12

ปั่นเส้นไหมเข้ากระสวย เตรียมนำไปใช้งานผ้าแพรวา 13 ผ้าแพรวา 14

บางครั้งก็ต้องมีการย้อมสีเส้นไหม หรือเส้นฝ้าย ก่อนนำไปทอเป็นผืน เพื่อให้เกิดความหลากหลายของสีสันมากขึ้น
ผ้าแพรวา 15 ผ้าแพรวา 16

เส้นไหมที่ผ่านกระบวนการย้อมมาเรียบร้อยแล้ว มีหลายสิบสี อีกไม่นานเมื่อผ่านมือช่างทอผ้าแพรวาผู้ชำนาญการ ก็จะกลายมาเป็นผืนผ้าอันสูงค่า มีราคาตั้งแต่หลักพันบาท ไปจนถึงหมื่นบาท และแสนบาท! ตามความยากของการทอ โดยลวดลายในปัจจุบัน ยังมีการอนุรักษ์ลายโบราณไว้นับร้อยลายผ้าแพรวา 17 ผ้าแพรวา 18

หนึ่งในเสน่ห์การทอผ้าแพรวาที่ไม่มีใครเหมือน ก็คือการใช้ปลายนิ้วก้อยเกี่ยวเส้นยืนของเส้นไหมบนกี่ขึ้นมา แล้วสอดเส้นไหมอีกแนวหนึ่งเข้าไป ผูกให้เกิดลายตามต้องการ โดยลายเหล่านี้จริงๆ แล้วแต่ละครอบครัว แต่ละคน ก็มีลายเฉพาะของตนเอง ที่แม่จะสอนต่อให้ลูกสาวสืบกันมาเป็นรุ่นๆ ในภาษาอีสานเรียกว่า “พ่อแม่พาทำ”ผ้าแพรวา 19

การผูกลายอันสลับซับซ้อนของผ้าแพรวา ต้องใช้เวลาเรียนรู้กันนานหลายปี จึงต้องใช้ช่างทอที่มีใจรักในงานศิลป์อย่างแท้จริง โชคดีที่มีโครงการศิลปาชีพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เข้ามาโอบอุ้ม ทำให้ผ้าแพรวาไม่สูญหายไปจากผืนดินสยาม
ผ้าแพรวา 20 ผ้าแพรวา 21 ผ้าแพรวา 22

ผ้าไหมแพรวาลายจกผ้าแพรวา 23

ผ้าไหมแพรวาลายจกผ้าแพรวา 24

ผ้าไหมแพรวาลายจกผ้าแพรวา 25

เมื่อทอเสร็จแล้ว ก็จะได้ผ้าไหมแพรวาอันเลอค่า นิยมสวมใส่กันตั้งแต่ประชาชนทั่วไป จนถึงเจ้านายในวังหลวง รวมถึงสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ก็ทรงโปรดผ้าไหมแพรวาอย่างมาก
ผ้าแพรวา 26

สาวผู้ไทยบ้านโพน ในชุดการแต่งกายแบบดั้งเดิม เสื้อทรงกระบอกสีดำเข้ารูป และมีผ้าแพรวาหน้าแคบพาดบ่า พร้อมกับยิ้มอันจริงใจ คอยต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกคนผ้าแพรวา 27

ที่บ้านโพนมีผ้าไหมแพรวาให้เลือกชมเลือกซื้อกันอย่างจุใจ ราคาอาจจะสูงหน่อย แต่ขอร้องว่าอย่าต่อเลยนะ เพราะกว่าจะได้มาสักผืน ต้องใช้ความอุตสาหะอย่างมาก นับเป็นงานศิลป์ที่ควรค่าแก่การซื้อมาใช้และสะสมไว้ประดับตัวผ้าแพรวา 28

เห็นแล้วก็น้ำลายไหล อยากซื้อทุกผืนเลย!!!ผ้าแพรวา 29

ผ้าไหมแพรวา เคยประกาศศักดาความงามในงานกาล่าดินเนอร์ที่จังหวัดกาฬสินธุ์จัดขึ้น เป็นการนำผ้าแพรวามาดีไซน์ใหม่ให้ดู Modern จนต้องตะลึง!!!
ผ้าแพรวา 30 ผ้าแพรวา 31 ผ้าแพรวา 32 ผ้าแพรวา 33 ผ้าแพรวา 34 ผ้าแพรวา 35 ผ้าแพรวา 36 ผ้าแพรวา 37

ในตัวอำเภอบ้านโพน มีร้านจำหน่ายผ้าแพรวาอยู่หลายร้าน เมื่อเยี่ยมชมศูนย์การผลิตของชาวบ้านแล้ว ก็ลองแวะเลือกชมเลือกซื้อกันได้ตามอัธยาศัยนะครับ
ผ้าแพรวา 38 ผ้าแพรวา 39 ผ้าแพรวา 40 ผ้าแพรวา 41 ผ้าแพรวา 42logo123-300x300Special Thanks : ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคอีสาน และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานขอนแก่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม สนับสนุนการเดินทางเป็นอย่างดี สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0-4322-7714-5