ภาคใต้

Aonang Princess 9 ล่องเรือยอร์ชสุดหรูดู Sunset ทะเลกระบี่

บริษัท Aonang Travel & Tour จำกัด เปิดตัวเรือเจ้าหญิงองค์ใหม่แห่งท้องทะเลอันดามัน เชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยง กระบี่-ภูเก็ต-พังงา-สตูล ในนามเรือ “Aonang Princess 9” ที่มีความทันสมัย เน้นการให้บริการ เสริมด้วยแนวคิดรักษ์โลก Low Carbon และ Wellness Toutism
เสน่ห์ของทะเลกระบี่ คือน้ำทะเลใสและเกาะแก่งหินปูนรูปทรงแปลกตา มีชื่อเสียงระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นทะเลแหวก, เกาะปอดะ, เกาะพีพีเล เกาะพีพีดอน, เกาะห้อง, เกาะไหง, เกาะลันตา, อ่าวมาหยา ฯลฯ เที่ยวชมได้สวยงามที่สุดช่วงเดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคม

การล่องเรือยอร์ช Aonang Princess 9 เปิดมิติมุมมองใหม่ของการท่องเที่ยวทะเลกระบี่ให้มีสีสันคึกคักมากขึ้น
ด้วยความจุผู้โดยสารกว่า 350 คนต่อเที่ยว เรือ Aonang Princess 9 แล่นออกจากท่าหาดนพรัตน์ธารา อำเภอเมืองกระบี่ เวลาประมาณ 16.00 น. พาไปชมหลายจุด ทั้งอ่าวนาง หาดไร่เลย์ ทะเลแหวก เกาะไก่ เกาะหม้อ เกาะทับ ลอยลำดูอาทิตย์อัสดงลงทะเลน่าประทับใจ ครั้งหนึ่งในชีวิต ได้ดูพระอาทิตย์ตกแสนโรแมนติกกลางทะเล บนเรือยอร์ชสุดหรู Aonang Princess 9เรือ Aonang Princess 9 จอดรอรับนักท่องเที่ยวที่ท่าเรือหาดนพรัตน์ธารา อำเภอเมืองกระบี่ ผู้โดยสารทุกท่านต้อง Booking และชำระค่าโดยสารมาล่วงหน้าเท่านั้น เพื่อจะได้จัดเตรียมความพร้อมให้เรียบร้อยห้องโดยสารมีหลายชั้น ติดแอร์เย็นฉ่ำ พร้อมด้วยที่นั่งนุ่มสบาย ปรับเอนได้ แบบที่นั่งเครื่องบิน

เรือ Aonang Princess 9 ให้บริการผู้โดยสารได้ 350 คนต่อเที่ยว พนักงาน 22 คน จัดอยู่ในประเภทเรือกลเดินทะเลเฉพาะเขต ความยาวตลอดลำ 48 เมตร ใช้เครื่องยนต์ Boudouin 1,500 แรงม้า 2 เครื่อง กินน้ำลึก 3.25 เมตร มีห้องโดยสารปรับอากาศทั้ง 3 ชั้น เก้าอี้นั่งปรับระดับได้เหมือนบนเครื่องบิน พร้อมที่นั่งเบาะหนังเกรดพรีเมี่ยม (เฉพาะชั้น VIP) และช่องเก็บสัมภาระ (เฉพาะชั้น 2 ขึ้นไป) นอกจากนี้ยังมี จอทีวีขนาดใหญ่ทุกชั้น WIFI มินิบาร์ มีห้องน้ำแยกชาย/หญิง 6 ห้อง (ชั้นละ 2 ห้อง แบบถังบำบัด EM) และแทงค์น้ำจืด 8,000 ลิตร

อุปกรณ์นิรภัย บนเรือ Aonang Princess 9 มีพร้อมสรรพ ทั้งกล้องวงจรปิดครอบคลุมทั้งเรือ, หัวน้ำดับเพลิง, เซนเซอร์ตรวจจับควันไฟ, เสื้อชูชีพทุกที่นั่ง, ถังดับเพลิง, แพชูชีพ 8 ลำ, อุปกรณ์ความปลอดภัยนำร่อง, เรดาร์ตรวจจับสภาพอากาศ, พายุฝน และการเคลื่อนไหวของวัตถุต่างๆ, ระบบนำทาง GPS ผ่านดาวเทียม, ซาวเดอร์ ตรวจความลึกใต้น้ำ และวิทยุสื่อสาร ระบบ VHF/UHF CB

คุณอิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก ที่ปรึกษาสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวอ่าวนาง และกรรมการบริหาร บริษัท อ่าวนาง แทรเวล แอนด์ ทัวร์ จำกัด กล่าวว่าเส้นทางการให้บริการของเรือ Aonang Princess 9 คือ ภูเก็ต-อ่าวนาง, อ่าวนาง-เกาะพีพี, เกาะพีพี-เกาะลันตา และในอนาคตมีแผนจะเพิ่มเส้นทาง เกาะลันตา-เกาะไหง, เกาะไหง-เกาะหลีเป๊ะ ด้วย

บริการพร้อมรอยยิ้ม ตลอดการเดินทางล่องทะเลกับ เรือ Aonang Princess 9
ท่าเรือหาดนพรัตน์ธารา เป็นหนึ่งในท่าเรือหลักของการออกเที่ยวทะเลกระบี่ มีเรือหลากหลายประเภทและขนาดของบริษัทต่างๆ จอดอยู่
เรือหัวโทง หรือ เรือหางยาวแบบปักษ์ใต้ เป็นหนึ่งในพาหนะหลักพานักท่องเที่ยวออกไปสัมผัสหมู่เกาะทะเลกระบี่เรือหัวโทงทยอยแล่นกลับเข้าสู่ท่าเรือหาดนพรัตน์ธาราท่าเรือหาดนพรัตน์ธาราในยามเย็น
ยืนเหม่อมองรับลมทะเลอย่างมีความสุข บนดาดฟ้าชั้นบนสุดของ เรือ Aonang Princess 9 แสงอาทิตย์ยามเย็นก็อุ่นสบายกำลังดีส่วนดาดฟ้าหัวเรือ เป็นจุดชมวิวทะเลกว้างได้เกิน 180 องศา แบบพาโนรามารอยยิ้มแห่งความสุข บน เรือ Aonang Princess 9 หลังเรือแล่นออกจากท่าหาดนพรัตน์ธาราได้ประมาณ 40 นาที ก็ได้ชมเกาะและภูมิทัศน์ชายฝั่ง เป็นภูเขาและหน้าผาหินปูนรูปทรงแปลกตา เก็บภาพประทับใจไว้อวดเพื่อนๆ พร้อมรับลมทะเลแสนสดชื่นบนดาดฟ้า วงดนตรีแบบ Live Music บนดาดฟ้า ขับกล่อมตลอดการเดินทาง เติมเต็มความสุข ให้วิวทะเลสวยๆ ดูชิลและฟินขึ้นอีกล้านเท่า เมื่อเรือ Aonang Princess 9 แล่นมาถึงทะเลแหวก และได้เวลาพระอาทิตย์ตก ก็ได้เวลาเสิร์ฟอาหารเย็นบนดาดฟ้า มีทั้งอาหารหนัก ของหวาน และอาหารทานเล่น ข้าวผัดทะเล, ปอเปี๊ยะทอด, ไก่สะเต๊ะ, ลูกชิ้นปลาลวกจิ้ม, ผลไม้, เค้กช็อกโกแลต, เค้มกล้วยหอม ฯลฯ เสิร์ฟแบบไลน์บุฟเฟ่ กินไป ชมวิวไป ฟังเพลงไป นี่คือสวรรค์กลางท้องทะเลกระบี่ที่เราสัมผัสได้
วินาทีที่เรารอคอย อาทิตย์อัสดงลงที่ทะเลแหวก วิวหลักล้านกับความงามสุดโรแมนติก พระอาทิตย์ตกลงทะเลที่ทะเลแหวก จ.กระบี่
พระอาทิตย์ตกที่เกาะไก่ (ภาพนี้ผม Retouch ไว้ให้ดูกันเล่นๆ ครับ เพราะของจริงพระอาทิตย์ตกอีกด้านของเกาะไก่ เรือแล่นไปไม่ถึง ผมเลยใช้จินตนาการสร้างภาพเสมือนจริงขึ้นมาสนุกๆ นะครับ อย่าซีเรียส)แม้ดวงอาทิตย์จะตกลงทะเลลับเส้นขอบฟ้าไปแล้ว ทว่าอีก 30 นาทีต่อจากนั้น ผืนฟ้าก็ยังมีแสงสีสวยงามยิ่งใหญ่อลังการ น่าตื่นตาตื่นใจเกือบ 20.00 น. เรือ Aonang Princess 9 ค่อยๆ แล่นฝ่าความมืดกลับสู่ท่าเรือหาดนพรัตน์ธารา พร้อมความประทับใจของทุกคน

สนใจล่องเรือ Aonang Princess 9 จ.กระบี่

จองตั๋ว Online ได้ทาง www.aonangtravel.co.th  บริษัท Aonang Travel & Tour จำกัด

ทร. 0-7563-7152, 0-7563-7153 (สำนักงานกระบี่) / 0-7635-3211-2 , 08-3389-7770 (สำนักงานภูเก็ต)

เกาะกระดาน หาดสวยที่สุดในโลก มหัศจรรย์แห่งอันดามัน

ในบรรดาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีอยู่ดาษดื่นในเมืองไทยเรา “ท้องทะเลอันดามัน” ถือว่ามีความพิเศษน่าสนใจ และให้ภาพที่สวยงาม โรแมนติก น่าประทับใจเสมอ

โดยเฉพาะ “หมู่เกาะทะเลตรัง” ซึ่งมีเกาะน้อยใหญ่กระจายกันอยู่กว่า 54 เกาะ เสน่ห์ของทะเลตรังที่ยากจะหาที่ใดเทียบ คือความพิสุทธิ์ของธรรมชาติ น้ำทะเลสีเขียวมรกตใสแจ๋วราวกับแก้วคริสตัล รวมถึงสรรพปะการังและหมู่ปลานานาชนิด แม้เวลาจะผ่านไปเนิ่นนานเพียงใด ก็ยังคงสวยงามดึงดูดให้นักแรมทางคนแล้วคนเล่า ลงเรือออกไปชื่นชมอย่างไม่เบื่อ

ความสวยงามดังกล่าว ไม่ได้กล่าวขานกันเฉพาะในหมู่นักท่องเที่ยวไทยเท่านั้น ทว่าในปี 2566 นี้เอง “เกาะกระดาน” แห่งทะเลตรัง ได้คว้าตำแหน่งชายหาดที่ดีที่สุดในโลก จัดอันดับโดย World Beach Guide 2023 สำรวจความคิดเห็นและลงคะแนนจากนักท่องเที่ยวทั่วโลกจำนวนมาก นับเป็นความภาคภูมิใจของไทยเรา สะท้อนได้อย่างยอดเยี่ยมว่าเกาะกระดานมีหาดทราย สายลม เกลียวคลื่น แนวปะการัง และบรรยากาศยามเย็นเห็นอาทิตย์อัสดงน่าตื่นตะลึงแนวหาดทรายบนเกาะกระดานเกิดจากการสลายตัวของแนวปะการัง รวมถึงปลานกแก้วที่กินปะการัง แล้วถ่ายออกมาเป็นเม็ดทรายพัดพาขึ้นมารวมตัวเป็นชายหาด ปลานกแก้วเต็มวัยหนึ่งตัวจะผลิตทรายได้มากถึงปีละ 100 กิโลกรัมเลยทีเดียว นอกจากนี้แนวปะการังหน้าหาดเกาะกระดาน ยังช่วยกันคลื่นทำให้น้ำนิ่ง ก่อตัวเป็นหาดทรายสวยได้ตลอดปี

หมู่เกาะทะเลตรังที่ว่ามีอยู่มากถึง 54 เกาะนั้น มีตำนานพื้นบ้านเล่าขานกันว่า เกิดจากการค้าทางทะเลของนายลิบงได้แต่งงานกับนางมุก ภายหลังเกิดเรือสำเภาล่ม สิ่งของกระจัดกระจายกลายเป็นเกาะที่เห็นทุกวันนี้

นอกจากเกาะกระดานแล้ว ยังมีเกาะอื่นๆ อีกเพียบ ทั้ง เกาะลิบง แหล่งหญ้าทะเลอุดมสมบูรณ์ เป็นบ้านของพะยูนฝูงสุดท้ายของไทย เกาะรอกนอก-เกาะรอกใน ซึ่งมีน้ำตกลงทะเล เกาะมุก ที่ตั้งของถ้ำมรกต เกาะสุกร มีนาข้าวและการปลูกแตงโมริมทะเล ฯลฯ การเที่ยวทะเลตรังมักเป็นแบบเที่ยววันเดียว หรือ One Day Trip 5 เกาะ โดยเรือจะออกจากท่าเรือปากเมงช่วงเช้า พาไปเกาะมุก (ถ้ำมรกต) เกาะกระดาน เกาะเชือก เกาะม้า และเกาะแหวน มีทั้งเรือสปีทโบ๊ท เรือหัวโทง และเรือประมงดัดแปลงสองชั้น จุได้ไม่ต่ำกว่า 50 คน แต่จะเหมาเรือส่วนตัวตรงดิ่งไปเกาะกระดานเลยก็ได้

ยามเช้าที่ฟ้าเปิดแดดเจิดจ้า คลื่นลมสงบ เรือประมงดัดแปลงสองชั้นค่อยๆ แล่นออกจากท่าเรือปากเมง ใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมง 40 นาที ก็ถึง “เกาะกระดาน” สวรรค์แห่งท้องทะเลอันดามันที่เราค้นหา ช่วงตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนพฤษภาคม ถือว่าเป็นไฮท์ซีซันของเกาะกระดาน ทะเลจะสวยสุดๆ คลื่นลมสงบ ฟ้าเปิดโปร่งโล่งเป็นสีฟ้าครามสะอาดตา เคียงคู่น้ำทะเลสีเขียวมรกตไล่โทนเข้มอ่อนรอบๆ สะกดทุกสายตาให้หยุดมอง บริเวณหน้าหาดซันเซ็ท จะแลเห็นทิวสนทะเลสีเขียวเป็นพุ่มแน่นขนัดเรียงราย ถัดลงมาเป็นหาดทรายสีขาวและสีเหลืองอ่อนนวลตา ทอดตัวยาวเกือบ 3 กิโลเมตร คลื่นน้อยค่อยๆ ทยอยกันสาดซัดเข้าคลอเคลียเม็ดทรายละเอียดเนียนนุ่ม แผ่นน้ำสีเขียวมรกตนั้นมีความใสไม่ต่างจากกระจก มองลงไปเห็นริ้วทรายเบื้องล่าง รวมถึงแนวปะการังแข็ง และฝูงปลาเล็กๆ ที่ว่ายเข้ามาทักทายพวกเราเกาะกระดานมีลักษณะผอมยาว ทอดตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้ พื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นของชาวบ้านและรีสอร์ทเอกชน ซึ่งเข้ามาอยู่อาศัยก่อนประกาศเขตเป็นอุทยานแห่งชาติ ทุกวันนี้จึงมีรีสอร์ทอย่างดีให้พักค้างคืนได้ พื้นที่อีกส่วนอยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ส่วนหาดอื่นๆ ที่ห้ามพลาดชม คือ หาดอ่าวเนียง ยาวกว่า 800 เมตร เป็นจุดดำน้ำชมปะการังแข็งที่น่าตื่นตา มองเห็นเกาะลิบงได้ ถัดมาคือ หาดอ่าวไผ่ ไม่มีปะการัง ทว่ามีหาดทรายขาวสะอาดทอดยาวประมาณ 200 เมตร มองเห็นเกาะเชือก เกาะแหวน และเกาะมุก สุดท้ายคือ หาดอ่าวช่องลม ยาวราวๆ 800 เมตร สามารถเดินขึ้นสู่จุดชมวิวมุมสูงบนเนินเขา จะมองเห็นเกาะรอก และพระอาทิตย์ตกได้ชัดเจนมากที่มาของชื่อเกาะกระดาน อย่างแรกสันนิษฐานว่ามาจากตำนานนายลิบงและนางมุก ซึ่งเรือสำเภาแตก ไม้แผ่นกระดานได้ลอยมาติดอยู่บริเวณนี้จนกลายเป็นเกาะกระดาน ส่วนอีกที่มาสันนิษฐานว่ามาจากภูมิประเทศของเกาะ ลักษณะค่อนข้างแบนเหมือนแผ่นกระดานหาดที่นิยมสุดคือหาดซันเซ็ท (หาดเกาะกระดาน) นั่นเอง เพราะเป็นหาดด้านตะวันตก ที่เรือทัวร์ทุกคณะจะเข้ามาจอดเทียบท่าทอดสมอ หาดทรายทอดยาวเกือบ 3 กิโลเมตร เนื้อทรายละเอียดนุ่มเท้าสีน้ำตาลอ่อนนวลตา เวลาน้ำลดจะเห็นแนวหาดทรายทอดยาวออกไปในทะเล โดยมีทิวสน ต้นหูกวาง ต้นโพธิ์ทะเล แผ่กิ่งก้านให้ร่มเงาส่วนตัว บางจุดมีกิ่งไม้หักผูกชิงช้าอยู่ริมหาด กลายเป็นจุดถ่ายภาพเช็คอินที่ห้ามพลาดเด็ดขาดน้ำที่เกาะกระดานใสแจ๋วราวกับแก้วคริสตัลเจียระไน ใสจนแลเห็นพื้นทรายใต้น้ำ และฝูงปลาแหวกว่ายไปมาอย่างเสรีเดินเล่นริมหาดเงียบสงบ ปล่อยตัวและหัวใจไปกับความงามของท้องทะเล และหาดทรายสวยที่สุดในโลกบรรยากาศแห่งความสุขล่องลอยอยู่ในทุกอณูของเกาะกระดาน

นอกจากการเล่นน้ำทะเลใสๆ พายเรือคายัค นอนอาบแดด เดินถ่ายภาพริมหาด ยังมีการดำน้ำตื้น ดำน้ำลึกที่ “อ่าวเนียง” ซึ่งน้ำลึกไม่เกิน 5 เมตร อุดมด้วยแนวปะการังแข็งสวยงาม ทั้งปะการังเขากวาง ปะการังโขด ปะการังสมอง น้ำใสแจ๋วทำให้เห็นปลาต่างๆ แหวกว่ายอยู่รอบตัวเรา เหมือนกับอะควาเรียมธรรมชาติ ทั้งปลาโนรีครีบยาว ปลานกแก้ว ปลาวัว ปลาเสือ ปลากสาก และลูกปลาเล็กๆ ฝูงใหญ่นับไม่ถ้วน แหวกว่ายอย่างอิสระเสรี ต่อเติมระบบนิเวศใต้น้ำให้สมบูรณ์

แดดเจิดจ้าฟ้าใสสีคราม น่าลงเล่นน้ำซะจริงๆ นะ
หาดซันเซ็ทเกาะกระดาน มีหาดทรายทอดยาวเกือบ 3 กิโลเมตร เคียงคู่น้ำทะเลใสแจ๋วสีมรกตปัจจุบันหน้าหาดซันเซ็ท มีการทำทุ่นลอยต่อเป็นสะพานทางเดินจากเรือใหญ่ ให้นักท่องเที่ยวเดินเข้าสู่หาดได้เลยบนเกาะกระดานมีที่พักให้เลือก ทั้งบ้านพักหรือลานกางเต็นท์ของอุทยานฯ และรีสอร์ทเอกชน เช่น The Sevenseas Resort โทร. 08-2490-2552, 08-2490-2442 / Kalume Eco Boutique Resort โทร. 06-2009-6620 ฯลฯท่าเรือปากเมง อำเภอสิเกา คือจุดลงเรือสู่เกาะกระดานที่ใกล้ที่สุดประตูสู่อันดามันของจังหวัดตรัง ท่าเรือปากเมงท่าเรือปากเมงวันนี้ มีการปรับปรุงสร้างใหม่อย่างดีเรือพร้อมออกทะเลสู่เกาะกระดานแล้ว

สนใจซื้อแพ็กเกจทัวร์เที่ยวเกาะกระดาน จ.ตรัง ติดต่อ บริษัท เมืองไทย ครีเอทีฟ แอนด์ ทัวร์ จำกัด

โทร. 081-251-2207, 085-065-8144, 064-232-2878

บินไปเที่ยว เบตง หรอยแรง แหล่งใต้ 2022

 เบตง ใต้สุดแดนสยาม เมืองงามชายแดน  คำกล่าวนี้ยังจริงเสมอ เพราะแม้จะอยู่ไกล แต่ความงามด้านธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม และอาหารแสนอร่อย ยังสามารถดึงดูดผู้คนให้ไปเยือนเบตงได้อย่างไม่ขาดสาย และมีมิติใหม่ เมื่อสนามบินเบตงเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อต้นปี พ.ศ. 2565 ร่วมกับสายการบินนกแอร์ ใช้เครื่องบินใบพัด 86 ที่นั่ง (เครื่อง Q400 NextGen) บินสัปดาห์ละ 3 เที่ยว ทุกวันอังคาร ศุกร์ และอาทิตย์ เวลา 10.00 – 11.45 น. และออกจากเบตงเวลา 12.15 – 14.00 น. ใช้เวลาบินประมาณ 1 ชั่วโมง 55 นาที ยิ่งทำให้การเดินทางสู่เบตงง่ายขึ้นไปอีก
สนามบินเบตง เป็นสนามบินลำดับที่ 29 ของกรมท่าอากาศยาน และเป็นสนามบินแห่งที่ 39 ของประเทศไทย อยู่ห่างจากตัวเมืองเบตงออกไปประมาณ 10 กิโลเมตร อาคารที่พักรับรองผู้โดยสารได้ 300 คน/ชั่วโมง และปัจจุบันมี Runway ยาว 2,500 เมตร จึงมีเฉพาะเครื่องบินขนาดเล็กเท่านั้นที่ขึ้นลงได้ใน อนาคตมีแผนต่อเติม Runway ให้ยาวเพิ่มขึ้นอีก 300 เมตร เพื่อรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่เอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครของสนามบินเบตงสนามบินเบตง ออกแบบให้มีความทันสมัยแต่ไม่ลืมกลิ่นอายท้องถิ่น คือยังมีการใช้ไม้ไผ่ตงมาประดับตกแต่งอย่างสวยงามน่ามองบินถึงเบตงแล้วไม่รอช้า ได้เวลาไปเที่ยวชมเสน่ห์อันหลากหลายของเมืองใต้สุดแดนสยาม โดยเริ่มต้นที่ธรรมชาติสุดอลังการ Skywalk ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง
ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง อยู่ที่ตำบลอัยเยอร์เวง บนถนนหมายเลข 410 ช่วง กม.33 เป็นทะเลหมอกที่ Amazing มาก เพราะเที่ยวได้เกือบตลอดปี โดยเฉพาะช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ เราสามารถชมทะเลหมอกสีขาวหนาแน่นราวกับปุยนุ่น ลอยอ้อยอิ่งอาบแสงอาทิตย์ยามเช้า ขอ Confirm เลยว่า นี่คือธรรมชาติ Unseen ที่สวยสู้ทะเลหมอกทางภาคเหนือได้สบายSkywalk ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง เป็น Skywalk ยาวที่สุดในเอเชีย เพราะมีสะพานยื่นออกจากตัวอาคารยาวถึง 50 เมตร แบ่งเป็น 6 ชั้น แต่ละชั้นมีวิวสวยงามต่างกันไป โดย Skywalk ยาว 50 เมตร อยู่ที่ชั้น 3  ลักษณะเป็นสะพานกระจกใส ซึ่งนักท่องเที่ยวต้องใส่ถุงผ้าคลุมรองเท้าไว้กันกระจกเป็นรอย ตอนที่ซื้อตั๋วก่อนขึ้นไปชม เราจะได้รับถุงผ้าคลุมรองเท้านี้มาครับ (ราคาคู่ละ 30 บาท ใช้เสร็จแล้วเอากลับบ้านได้เลย)ที่จุดชมทะเลหมอกเดิมของอัยเยอร์เวง อยู่ห่างจาก Skywalk แค่นิดเดียว ปัจจุบันมีการสร้างหอชมวิวเล็กๆ 2 ชั้นไว้ให้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยประติมากรรมลอยตัวสามมิติรูปนกเงือก ที่พบในป่าฮาลา-บาลา จ.ยะลา มีทั้งนกเงือกหัวแรด นกเงือกกรามช้าง และนกกาฮัง (นกกก) สร้างไว้ข้างๆ หอคอย Skywalk อัยเยอร์เวง นับเป็นจุดถ่ายภาพใหม่ที่มีเอกลักษณ์มาก นั่งจิบกาแฟร้อนๆ ที่ ร้านกาแฟใต้หมอก ทะเลหมอกอัยเยอร์เวงชมทะเลหมอกอัยเยอร์เวงเสร็จแล้ว ลงเขามาก็เที่ยวน้ำตกต่อได้เลย ชื่อว่า น้ำตกเฉลิมพระเกียรติ ร.9 หรือ น้ำตกอัยเยอร์เค็ม ปากทางเข้าน้ำตกอยู่ริมถนนสาย 410 (ยะลา-เบตง) ช่วง กม.33 ขับรถเข้าไปไม่ไกล จอดรถไว้ แล้วเดินป่าเลียบธารน้ำตกอีกราวๆ 500 เมตร ก็จะพบกับน้ำตกยิ่งใหญ่อลังการจนต้องตะลึง เพราะสายน้ำสีขาวสะอาดไหลทิ้งตัวลงจากหน้าผาสูงไม่ต่ำกว่า 50 เมตร อากาศสดชื่นเย็นสบาย และผืนป่าโดยรอบก็บริสุทธ์เขียวชอุ่มชุ่มชื้นมาก ด้านหน้าน้ำตกมีโขดหินน้อยใหญ่ระเกะระกะ สลับกับวังน้ำให้ลงเล่นน้ำได้ แต่ก็ควรระวังหินลื่นๆ ด้วยล่ะ
ความงดงามตระการตาของ น้ำตกอัยเยอร์เค็ม หรือ น้ำตกเฉลิมพระเกียรติ ร.9 มีทั้งหมด 5 ชั้น

น้ำตกแห่งนี้เดิมชื่อว่า น้ำตก “วังเวง” หรือ “อัยเยอร์เค็ม” เพราะมีชาวจีนที่มาทำเหมืองกับฝรั่งในยุคมลายูเป็นอานานิคมอังกฤษ ชื่อ เข่ง ชาวบ้านเรียก “ไอเข่ง” “ไอเกง” เพี๊ยนเป็น “อัยเยอร์เค็ม” เริ่มมีการพัฒนาบุกเบิกเส้นทางเข้ามาเมื่อ พ.ศ. 2543 และ พ.ศ. 2546 ก็ได้พัฒนาอย่างจริงจัง ใครรักธรรมชาติและการถ่ายภาพมาเที่ยวน้ำตกนี้จะ Happy แน่นอนครับสวนหมื่นบุปผา (สวนดอกไม้เมืองหนาวเบตง) อยู่ที่หมู่บ้านปิยะมิตร 2 โครงการตามพระราชดำริของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  เป็นสวนดอกไม้นานาพันธุ์ตั้งอยู่บนเขา อากาศเย็นสบาย พาคนพิเศษของเราไปทำโรแมนติก ชวนกันถ่ายรูปกับดอกกุหลาบ ดอกฮอลีฮ้อค ดอกแอสเตอร์ สีสันสวยงามไม่แพ้ภาคเหนือ เสร็จแล้วจะนอนค้างในรีสอร์ทสวยได้สบาย ไม่น่าเชื่อเลยว่าสุดชายแดนใต้ของเราจะมีดอกไม้เมืองหนาวให้ชมกันด้วย Amazing!
บ่อน้ำร้อนเบตง อยู่ที่บ้านจะเราะปะไร ตำบลเนาะแม (ห่างจากตัวเมืองเบตง 5 กิโลเมตร บนถนนสาย 410) บ่อน้ำร้อนธรรมชาติแห่งนี้มีควันฉุยตลอดเวลา น้ำอุ่นกำลังดี ต้มไข่สุกได้ใน 7 นาที นักท่องเที่ยวนิยมลงมาอาบแช่แก้เมื่อย รักษาสุขภาพ บ้างก็แก้หนาว ปัจจุบันมีการสร้างรีสอร์ทเอาไว้ให้นักท่องเที่ยวได้นอนพักค้างคืนกันด้วย ใครที่มีเวลาน้อยจะแค่มานั่งแช่เท้าก็รู้สึกชิลแล้วล่ะทางเดินเข้าสู่บ่อน้ำร้อนเบตง สร้างใหม่สวยงาม บรรยากาศเหมือนอยู่ญี่ปุ่นเลยนิบ่อน้ำร้อนเบตงมีอุณหภูมิอยู่ที่ 80 องศาเซลเซียส แต่ในส่วนของบ่อแช่ตัวและแช่เท้า ได้มีการลดอุณหภูมิลงให้พอเหมาะเพื่อสุขภาพที่ดี คือไม่เกิน 40 องศาเซลเซียสบ่อน้ำร้อนเบตง เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจยอดนิยมของคนในท้องถิ่น เช่นเดียวกับนักท่องเที่ยวที่ชอบมาแวะพักผ่อนอุโมงค์ปิยะมิตร อยู่ที่หมู่บ้านปิยะมิตร 1 ต.ตะเนาะแมเราะ ใช้เส้นทางเดียวกับที่จะไปบ่อน้ำร้อนเบตง (เลยบ่อน้ำร้อนไป 4 กิโลเมตร) ปัจจุบันบริเวณนี้เป็นที่อยู่ของพี่น้องชาวจีนผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ซึ่งเดิมในอดีตเคยเป็นฐานที่มั่นของพรรคคอมมิวนิสต์มลายา (เขต 2) เขาเหล่านั้นต้องขุดอุโมงค์ใต้ดินยาวกว่า 1 กิโลเมตร กว้าง 50-60 ฟุต เพื่อใช้อยู่อาศัยหลบซ่อนจากการตรวจจับของทางการ โดยสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2519บรรยากาศในอุโมงค์ปิยะมิตร ดูลึกลับดีนะ แต่ไม่ต้องกังวล อากาศถ่ายเทดีหายใจได้สะดวก มีป้ายบอกทางพร้อมลูกศรชี้เตาไร้ควันใช้ทำอาหาในป่า  เพื่อไม่ให้คนภายนอกเห็นออกจากอุโมงค์ปิยะมิตร ขากลับจะเดินผ่าน ต้นไทรยักษ์ 100 ปี ที่มีความสูงกว่า 40-50 เมตร  เป็นจุดถ่ายภาพสวยงามแปลกตา แสดงให้เห็นถึงต้นไทรในธรรมชาติ ที่ทอดรากเลื้อยพันโอบรัดต้นไม้เจ้าบ้านจนตายลง  สุดท้ายเหลือไว้เพียงต้นไทร ที่มีลักษณะเป็นพืชกาฝาก (Parasitic Plant) ออกดอกออกผลให้นกและสัตว์ต่างๆ ได้กินอีกทอดหนึ่งจุดท่องเที่ยวใหม่ที่น่าสนใจในเบตงวันนี้คือ สะพานแตปูซู สามารถจอดรถชมได้ง่าย เพราะอยู่ริมถนน 410 ช่วง กม.32 ไม่ห่างจากทะเลหมอกอัยเยอร์เวง และน้ำตกเฉลิมพระเกียรติ ร.9 มากนัก

ประวัติเล่าว่าในอดีตชาวบ้าน กม.32 ต้องข้ามแม่น้ำปัตตานีสายนี้ด้วยแพไม้ไผ่ ทุกปีมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ชาวบ้านจึงร่วมแรงร่วมใจบริจาคเงินสร้างสะพานแขวนยาวกว่า 100 เมตร นี้กันเอง สะท้อนถึงความสามัคคีและกลายเป็น Landmark ใหม่ของเบตง ที่น่าไปเก็บภาพประทับใจไว้เบตงเป็นเมืองน่ารัก บรรยากาศสุดชิล เพราะตัวเมืองมีขนาดไม่ใหญ่ไม่เล็กเกินไปในการเที่ยวชม อีกทั้งตัวเมืองยังโอบล้อมด้วยภูเขาเขียวๆ อากาศเย็นสบาย แทบทุกเช้าตรู่จะมีสายหมอกโรยตัวลงห่มคลุม จนเบตงกลายเป็นเมืองในหมอกไม่แพ้ภาคเหนือ นอกจากนี้เบตงยังเป็นเมืองพหุวัฒนธรรม มีทั้งชาวมุสลิม ไทยพุทธ และจีน อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์มาช้านานแล้วสายหมอกยามเช้าตรู่อันหนาวเย็น ห่มคลุมตัวเมือง เบตง ไว้อย่างอ่อนโยนสีสันแต่งแต้มตัวเมือง เบตง ให้น่าเที่ยวน่ามองใกล้วงเวียนหอนาฬิกาเบตง มีซอยเล็กๆ ที่มีภาพ Street Art และโรตีเจ้าดังขายกันยามค่ำ สามารถซื้อใส่ถุงเดินกินเที่ยวแบบสนุกสนานเบิกบานใจหอนาฬิกาเบตง  (ขอบคุณภาพจาก : คุณสุเทพ ช่วยปัญญา เว็บไซต์ The Way News)

เป็นสิ่งก่อสร้างอันเก่าแก่อยู่เคียงคู่กับเมืองเบตงมาช้านาน เปรียบเสมือนสัญลักษณ์จุดศูนย์กลางเมือง สร้างด้วยหินอ่อนอย่างสวยงาม ในยามเย็นจะเห็นฝูงนกนางแอ่นนับพันตัวบินมาเกาะหลับอยู่บนสายไฟรอบๆ หอนาฬิกา กลายเป็นสัญลักษณ์คู่กันไปแล้ว คนเบตงเขามีอารมณ์ขัน บอกว่าถ้าใครมาเที่ยวเบตงแล้วถูกนกนางแอ่นอุจจาระใส่หัว จะต้องกลับมาเที่ยวที่นี่อีก! จะจริงหรือเปล่า คงต้องพิสูจน์ด้วยตัวเอง ฮาฮาฮา หอนามฬิกาเบตงในแต่ละช่วงของปีจะตกแต่งด้วยแสงไฟต่างกัน อย่างช่วงไหนตรงกับงานเทศกาลถือศีลอดของชาวมุสลิม ก็จะประดับประดาด้วยไฟสีรูปดาวและจันทร์เสี้ยว แต่ถ้าช่วงไหนตรงกับเทศกาลของชาวจีน ก็จะประดับประดาด้วยโคมไฟจีนสีแดงอย่างสวยสดงดงามตู้ไปรษณีย์ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย เบตง มีประวัติว่า นายสงวน จิรจินดา นายกเทศมนตรีเทศบาลเบตงคนแรก และเป็นอดีตนายไปรษณีย์โทรเลข เห็นว่าอำเภอเบตงอยู่ห่างไกล จะติดต่อสื่อสารโดยช่องทางอื่นกับโลกภายนอกไม่ได้เลย ยกเว้นทางจดหมาย เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของเมืองเบตงท่านจึงได้สร้างตู้ไปรษณีย์ยักษ์นี้ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2467 โดยสร้างขึ้นที่บริเวณสี่แยกหอนาฬิกาใจกลางเมืองเบตง

ตู้ไปรษณีย์ใหญ่ที่สุดในเมืองไทยของ เบตง ตั้งอยู่ที่ด้านหน้าอาคารสีเหลือง ติดกับวงเวียนหอนาฬิกาเลยครับอาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา

อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (หรือศาลารับเสด็จ) เป็นแหล่งท่องเที่ยวใกล้เมืองเบตงที่ไม่ควรพลาด เพราะตั้งอยู่บนยอดเขาที่สามารถชมวิวพาโนรามาได้กว้างไกลสุดสายตา อีกทั้งสวยงามด้วยสถาปัตยกรรมไทย รอบๆ ตกแต่งด้วยสวนไม้ดอกไม้ประดับงดงาม ภายในจัดเป็นพิพิธภัณฑ์เก็บรักษางานศิลป์ล้ำค่า ทั้งเครื่องปั้นดินเผา งานเซรามิค งานไม้แกะสลัก และภาพวาดทรงคุณค่ามากมาย เปิดให้เข้าชมเวลา 8.30-16.30 น.จุดชมวิวจากอาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา เห็นตัวเมืองเบตงอยู่ไม่ไกลภาพวาดพระบรมสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในตัวเมืองเบตง

และภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ ในหลวง ร.9 Street Art King Bhumibolใหญ่ที่สุดในเมืองไทย  ขนาด 8×12 เมตร อยู่ที่โรงเรียนอนุบาลเบตง (สุภาพอนุสรณ์) หรือโรงเรียนบ้านเบตง

ภาพวาดในหลวง ร.9 Street Art King Bhumibol ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย วาดขึ้นเพื่อรำลึกถึงการเสด็จเยือนเบตง เมื่อปี พ.ศ.​ 2519 วาดโดย นายชวัส จำปาแสน  หรือ ครูอะไหล่  ครูสอนศิลปะ จากสถาบันสอนศิลปะ Viridian Academy of Art  ศิษย์เก่าจากคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมม์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พร้อมเพื่อนอาจารย์ อีก 2 ท่าน
Street Art หลากหลายในตัวเมืองเบตง  สะท้อนเอกลักษณ์โดดเด่น และวิถีชีวิตผู้คนอันมีเสน่ห์เบตงวันนี้ไม่ใช่เมืองชายแดนธรรมดาๆ แต่มีการนำศิลปะเข้าไปเติมแต่งจนมีชีวิตชีวาน่าเที่ยวชม ทั้งตึกรามบ้านช่องร้านค้าที่พร้อมใจกันทาสีสดใส มี ภาพ Street Art ตามตรอกซอกซอยต่างๆ น่ารัก โดยเริ่มมีมาตั้งแต่ตอนเมืองเบตงครบ 111 ปี (เมื่อ พ.ศ. 2560) จึงเชิญศิลปินและนักเรียนศิลปะมาช่วยกันเพนท์ภาพ Street Art ไว้ และมีการวาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ Street Art น้องเหมียวสุดน่ารักที่ เบตงภาพ Street Art นกเงือกชนิดต่างๆ ในป่าฮาลา-บาลา จ.ยะลาภาพ Street Art กระทิง ในป่าฮาลา-บาลา จ.ยะลา ภาพ Street Art เบตง สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตและของดีของเด่นของคนที่นี่ มีด้วยกันหลายสิบภาพแบ่งเป็นโซนๆ คือถ้าภาพอยู่ตรงโซนไหน ก็จะเกี่ยวเนื่องกับคนแถวนั้น เช่น ตรงตลาดสดก็จะมีภาพพืชผักผลไม้ต่างๆ และพอเดินเลยไปถึงโซนร้านน้ำชาติ่มซำ ก็จะมีภาพชุดม้านั่งที่มีคนกำลังนั่งจิบชาเปิดสภากาแฟกันอยู่ครับ น่ารักมาก Street Art และวิถีชีวิตที่เบตง หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว สะท้อนจิตวิญญาณซึ่งกันและกันตามตรอกซอกซอยต่างๆ ของตัวเมืองเบตง มีภาพ Street Art เก๋ๆ  ซ่อนอยู่เพียบ ขยันเดินหน่อยก็จะเจออุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์โฉมใหม่  เป็นอุโมงค์ลอดภูเขาแห่งแรกของประเทศไทย ตอนนี้ดู Modern ขึ้นเยอะ แต่เวลาไปถ่ายภาพ ต้องระวังรถที่แล่นไปมาด้วยนะจ๊ะอุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์ อยู่ที่ถนนอมฤทธิ์ตัดกับถนนภักดีดำรง ผ่านสวนสาธารณะออกสู่ถนน บริเวณหน้าสวนนกเชื่อมต่อกับถนนมงคลประจักษ์ ทะลุไปสู่ชุมชนเมืองใหม่หมู่บ้านแกรนด์วิว และเชื่อมต่อกับถนนอัยเยอร์เบอร์จัง ไปสู่ชุมชนธารน้ำทิพย์อีกทอดหนึ่ง เป็นอุโมงค์รถยนต์ลอดภูเขาแห่งแรกของไทย  สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กอย่างดี ยาว 268 เมตร กว้าง 9 เมตร สูง 7 เมตร ผิวจราจรคู่ กว้าง 7 เมตร ทางเท้าเดินกว้างข้างละ 1 เมตร ความเร็วรถวิ่งได้ 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง
สนามกีฬาเบตง เป็นสนามกีฬาท่ามกลางหุบเขาล้อมรอบ เนื้อที่กว่า 120 ไร่ ถือเป็นสนามกีฬามาตรฐานบนระดับความสูงที่สุดของเมืองไทย นอกจากฟุตบอลแล้ว คนเบตงยังนิยมมาเดินหรือวิ่งจ๊อกกิ้งออกกำลังกายกันทุกวันเพื่อรับอากาศบริสุทธิ์จากภูเขา ทำให้เบตงมีศักยภาพสามารถพัฒนาเป็น Sport City ได้ในอนาคตวัดพุทธาธิวาส เป็นวัดสำคัญตั้งเด่นอยู่บนเนินเขา มีพระประธานในอุโบสถเหมือนหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดเท่าองค์จริง ผู้คนมาสักการะกันไม่ได้ขาด ส่วนภายนอกมี พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ สีทองอร่ามงามเด่น กับพระพุทธรูปปางสมาธิขนาดยักษ์ตั้งอยู่กลางแจ้ง ชื่อ พระพุทธธรรมกายมงคลประยุรเกศานนท์สุพพิธาน  เป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย ให้กราบไหว้กันด้วย ด่านชายแดนอำเภอเบตง-รัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย  เปิดให้ข้ามไปมาได้ปกติแล้วเที่ยวเบตงแล้วถ้ายังไม่หนำใจ จะเที่ยวต่อเข้าไปในในมาเลเซียก็ได้ ด่านพรมแดนเบตงแห่งนี้ทำหน้าที่เหมือนประตูบ้านเชื่อมโยงสองประเทศเข้าหากัน จุดเด่นคือมีป้ายใต้สุดแดนสยามและหลักเขตแดนให้ถ่ายภาพเป็นที่ระลึก หรือจะเลยเข้าไปในมาเลเซียนิดนึง ช้อปปิ้งที่ร้าน Duty Free ปลอดภาษี  ซื้อขนม ช็อกโกแลต เครื่องดื่มต่างๆ รวมถึงกระเป๋า รองเท้า นาฬิกา กลับมาด้วยก็ได้ บ้านโบราณ 150 ปี ชาวจีนฮากกา (หมู่บ้าน กม.4) อยู่ที่หมู่ 1 ต.ตะเนาะแมเราะ อ.เบตง ปากทางเข้าอยู่บริเวณ กม.4 ถนนสาย 410 (ยะลา-เบตง) ไม่ห่างจากร้านวุ้นดำเบตงประวัติเล่าว่าเมื่อ พ.ศ. 2343 มีชาวจีนกลุ่มแรกเดินทางเข้าถึงบริเวณนี้ โดยมาจากมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน นั่งเรือมาขึ้นฝั่งที่มาเลเซีย แล้วเดินหรือนั่งเกวียนเข้ามาสู่อำเภอเบตง ครั้งนั้นมีประมาณ 10-20 คน เป็นคนหนุ่มสาว สภาพพื้นที่ในขณะนั้นยังคงเป็นป่าทึบที่อุดมด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ต่อมาจึงมีชาวจีนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเพิ่มขึ้น เนื่องจากทางการไทย ต้องการคนช่วยบุกเบิกป่า จึงเปิดโอกาสให้คนเข้ามาจับจองที่ดินได้ตามกำลังหมู่บ้าน กม.สี่ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา  ถือเป็นถิ่นอาศัยของชาวไทยเชื้อสาย จีนฮากกา หรือ จีนแคะ หนึ่งในกลุ่มพหุวัฒนธรรมของเบตง ได้แก่ ชาวมุสลิม ชาวจีน และชาวไทยพุทธ บ้านโบราณหลังนี้เป็นของต้นตระกูลแซ่ลู่  อพยพมาจากเมืองจีนและมาสร้างธุรกิจอยู่ที่เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย ต่อมาขายธุรกิจแล้วมาอยู่ที่เบตง ทางราชการจึงจัดสรรที่ดินให้ทำกิน 20,000 ไร่ ชาวไทยเชื้อสายจีนฮากกาจึงเรียกบริเวณนี้ว่า “ว่านหยี่ไร่” ในยุคนั้นยังเป็นป่าดงดิบ เริ่มบุกเบิกทำสวน ปลูกผัก ปลูกข้าว ทำโรงสีพลังน้ำตำข้าว ต้นตระกูลลู่สร้างบ้านหลังนี้โดยออกแบบมาจากตัวอักษรจีน ที่ออกเสียงว่า เกา หมายถึง สูง เนื่องจากตัวบ้านตั้งอยู่บนเนินสูง น้ำท่วมไม่ถึงนั่นเองบ้านโบราณหลังนี้เคยใช้เป็นที่หลบซ่อนจากทหารญี่ปุ่น ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2  ปัจจุบันยังพบเห็นช่องลับได้บนเพดานชั้น 2วุ้นดำเบตง กม.4 (เฉาก๊วยแท้) ขนมพื้นบ้านแสนอร่อย ที่ห้ามพลาดชิมเมื่อมาเยือนเบตง ทุกวันนี้ยังทำด้วยกรรมวิธีโบราณ

วุ้นดำเบตง เป็นขนมพื้นบ้านสไตล์จีนที่ใช้ภูมิปัญญาล้วนๆ รังสรรค์ขึ้นมา ทำจากหญ้าชนิดหนึ่งที่ปลูกในประเทศจีน (และอินโดนีเซีย) ปัจจุบันยังทำด้วยกรรมวิธีโบราณ คือใช้เตาไม้ฟืน เวลากินจึงได้กลิ่นหอมของไม้ด้วย กรรมวิธีคร่าวๆ คือ นำหญ้าเฉาก๊วยมาต้มกับส่วนผสมแล้วกรองเอาเฉพาะน้ำ เพื่อแยกหญ้าวุ้นดำออกจากกัน จากนั้นนำแป้งมันสำปะหลังผสมกับน้ำที่ได้จากการกรองในขณะร้อนๆ คนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน จนเย็นกลายเป็นวุ้น นิยมรับประทานกับน้ำเชื่อมเติมน้ำแข็ง มีสรรพคุณช่วยแก้ร้อนใน ให้ความรู้สึกชื่นใจดีนักแล

ปัจจุบันนี้นอกจากปลาจีนนึ่งซีอิ๊วที่นักท่องเที่ยวนิยมชมชอบกันที่เบตงแล้ว ยังมีเมนูใหม่ที่มาแรงแซงทางโค้ง คือ “ปลานิลสายน้ำไหล” ร้านโกหงิ่ว (โทร. 0-7329-9311, 09-5094-6153) โดยเลี้ยงปลานิลไว้ในบ่อที่ปล่อยให้สายน้ำธรรมชาติไหลผ่านตลอดเวลา จึงได้เนื้อปลานิลสด นุ่ม หวาน ไร้กลิ่นคาว นิยมนำมาลวกจิ้มได้อร่อยเด็ด! ทุเรียนพันธุ์มูซังคิง  (Musang King) ราชาแห่งทุเรียนจากมาเลเซีย ของแท้ต้องมีลายรูปดาวห้าแฉกที่ก้นลูก หาชิมได้ในเบตงประมาณเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม นอกจากนี้เบตงยังมีทุเรียนพันธุ์พวงมณี หมอนทอง ก้านยาว ชะนี และทุเรียนบ้านปักษ์ใต้ ให้ชิมด้วยมาถึงเบตงทั้งที ต้องไปชิมอาหารจีน Signature หลากหลายเมนูที่ ร้านต้าเหยิน (กิตติ) ร้านนี้เปิดมานานกว่า 50-60 ปี มีอาหารขึ้นชื่อของเบตงให้ชิมทุกเมนูครบ เปิดทุกวัน เวลา 10.00-22.00 น.ร้านต้าเหยิน ตั้งอยู่เลขที่ 253 ถนนสุขยางค์ อ.เบตง จ.ยะลา โทร. 0-7323-0461, 0-7324-5189, 08-1599-4654
ชิมอาหารรสเลิศที่ร้านต้าเหยิน โดยเฉพาะ “ไก่เบตง” ของแท้ต้องมาชิมที่อำเภอเบตงเท่านั้น เนื้อไก่เหนียวนุ่ม มันน้อย หวานในปาก เคี้ยวง่าย ส่วนหนังไก่เป็นสีเหลืองทอง กรอบ ไม่มีชั้นไขมันหนาอยู่ใต้ผิวหนังเหมือนไก่เลี้ยงสายพันธุ์อื่น เพราะไก่เบตงเวลาเลี้ยงต้องปล่อยให้วิ่งเล่นไปมาอย่างอิสระ ว่ากันว่าเมื่อร้อยกว่าปีก่อน มีชาวจีนนำพันธุ์ไก่เข้ามาจากจีนตอนใต้ เลี้ยงกันแพร่หลาย ทว่ากว่าจะจับขายได้แต่ละตัว ต้องรอนาย 6 เดือน หรือ 1 ปี จำนวนผู้เลี้ยงจึงลดลง ปัจจุบันเหลือเลี้ยงอยู่จริงไม่กี่เจ้า ไก่เบตงของร้านต้าเหยินอร่อยเป็นพิเศษ ​เพราะใช้ซีอิ๊วดำทำเองด้วย
เต้าหู้บ๊อก, ปลานิลน้ำไหลราดพริก, หมูย่างหมั่นโถว, ถั่วเจี๋ยน (ร้านต้าเหยิน)ผัดผักน้ำเบตง, ปลาจีนนึ่งซีอิ๊ว, หมูเต้าหู้ยี้, แกงจืดหมักชอย (ร้านต้าเหยิน)หมูย่างต้าเหยิน, กบภูเขาทอดกระเทียม, เคาหยก, ผัดต้นอ่อนทานตะวัน (ร้านต้าเหยิน)อาหารจีนในเบตงที่อยากแนะนำอีกร้าน คือ ร้านใบหยก หรือ Baiyok Restaurant (อยู่ติดกับวงเวียนหอนาฬิกา) เป็นร้านเก่าแก่ที่ห้ามพลาด เพราะทุกเมนูยังคงรสชาติดั้งเดิมแบบเบตงแท้ มิได้ผิดเพี้ยน ร้านเปิดทุกวัน เวลา 8.30-20.00 น. โทร. 08-6964-4692 / www.facebook.com/BaiyokBetong/ ก่อนไปกิน แนะนำให้โทร.จองโต๊ะก่อนนะ จะได้ไม่ผิวหวังยังไม่หมดนะครับ ยังมี ร้านก้งถง (อยู่ใกล้โรงแรม Grandview Landmark Hotel) เป็นร้านอาหารจีนเปิดใหม่ มีเมนูน่าชิมของเบตงครบ ทั้งไก่เบตง ไก่เก้าชั่ง ถั่วเจี๋ยน เคาหยก ฯลฯ ลองแวะไปชิมกันนะครับ

(ขอบคุณภาพจาก : คุณใหญ่ Thailand Fotobook)
ขอบอกว่าอาหารจีนยามเช้าในเมืองเบตงนั้นอลังการไม่ใช่เล่น เพราะที่นี่มีคนจีนอาศัยอยู่มาก เป็นชาวจีนกวางไสจากกว่างซีจ้วง และชาวจีนฮกเกี้ยน วัฒนธรรมการกินของพวกเขาสืบทอดกันมา อย่างติ่มซำยามเช้าที่มีให้เลือกเพียบ ในเบตงมีหลายร้าน เช่น ร้านไทซีฮี้ และร้านเซ้งติ่มซำ  Location อยู่แถวๆ หอนาฬิกาและตู้ไปรษณีย์ยักษ์ มองไปเห็นชัดเลย

ก่อนกลับบ้าน อย่าลืมแวะซื้อของฝากมากมายที่ ร้านสุมะโน (โทร.06-6156-6424) ร้านของฝากแบบดั้งเดิมของชาวเบตงโด่งดังมานานกว่า 65 ปี โดยเฉพาะขนมเปี๊ยะโบราณ และขนมไหว้พระจันทร์สูตรเบตงร้านรวมสินค้า OTOP หลากหลายของเบตงที่ One Stop Service โรงเรียนบ้านเบตง หรือ โรงเรียนอนุบาลเบตง (อยู่ใกล้กับภาพวาดในหลวง ร.9 ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย) ร้านนี้เน้นสินค้าจากท้องถิ่นจริงๆ ครับ รวมถึงนำผลงานฝีมือหัตถกรรมของนักเรียนมาจำหน่าย สร้างรายได้ ฝึกทักษะ เสริมกำลังใจให้เด็กๆ มีทุนการศึกษาเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีมุมกาแฟและอาหารจำหน่ายด้วย แนะนำที่พักเปิดใหม่ สะอาด โอ่โถง สะดวกสบาย โรงแรม Grandview Landmark Hotel (โทร. 0-7323-4888) ตั้งอยู่ใกล้จุดท่องเที่ยวต่างๆ ภายในตัวเมืองเบตง เดินทางง่าย และมีห้องพักหลายแบบให้เลือก อีกทั้งมีห้องประชุมขนาดใหญ่ ที่จอดรถกว้าง จากโรงแรมสามารถเดินไปแค่ไม่กี่ก้าว ก็ถึงร้านอาหารจีน ร้านก้งถง และอุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์

(ขอบคุณภาพจาก : คุณใหญ่ Thailand Fotobook)

สนใจซื้อแพ็กเกจทัวร์ “เบตง หรอยแรง แหล่งใต้ 2022”ได้ที่ บริษัท เมืองไทย ครีเอทีฟ แอนด์ ทัวร์ จำกัด

โทร. 081-251-2207, 085-065-8144, 064-232-2878

ถ้าใช้สิทธิ์โครงการทัวร์เที่ยวไทย รัฐจะช่วยจ่ายค่าแพ็กเกจทัวร์ให้ถึง 40 เปอร์เซนต์ สูงสุดไม่เกิน 5,000 บาท

เที่ยวสุขใจ ซาลามัตชายแดนใต้ @เบตง จ.ยะลา

“เมืองในหมอก ดอกไม้งาม ใต้สุดสยามเมืองงามชายแดน”  คือนิยามเก๋ไก๋ของอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ที่ผมไปเที่ยวมาแล้วเกิดหลงรักหมดจิตหมดใจ

ก็เพราะเบตงมีสิ่งสวยๆ งามๆ แปลกใหม่แบบคิดไม่ถึง ให้เราได้เที่ยวชมกันอย่างตื่นตาตื่นใจมากมายเลยนะสิ  Shutter Explorer ขอบคุณ “โครงการซาลามัตชายแดนใต้” ของ ททท. ที่นำเราลงไปสู่เบตงในทริปนี้เบตงเป็นเมืองน่ารัก บรรยากาศสุดชิล เพราะตัวเมืองมีขนาดไม่ใหญ่ไม่เล็กเกินไปในการเที่ยวชม อีกทั้งตัวเมืองยังโอบล้อมรอบไว้ด้วยภูเขาเขียวๆ อากาศเย็นสบาย แทบทุกเช้าตรู่จะมีสายหมอกโรยตัวลงห่มคลุม จนเบตงกลายเป็นเมืองในหมอกไม่แพ้ภาคเหนือของไทย นอกจากนี้เบตงยังเป็นเมืองพหุวัฒนธรรม คือมีทั้งพี่น้องชาวมุสลิม ไทยพุทธ และคนจีน อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์มาช้านานแล้ว
ใครหลายคนอยากมาพักผ่อนตากอากาศ เนื่องจากเบตงเป็นเมืองในอ้อมกอดของเทือกเขาสันกาลาคีรีกั้นพรมแดนไทย-มาเลเซีย สูงจากระดับน้ำทะเลกว่า 1,590 เมตร อากาศของเบตงจึงเย็นสบายตลอดปี หน้าร้อนไม่ร้อนอบอ้าว ส่วนหน้าหนาวเย็นเจี๊ยบจับใจไม่แพ้ภาคเหนือ แถมยังมีทะเลหมอกสวยที่สุดในภาคใต้ให้ชมกันด้วย 1. อุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์ ‘อุโมงค์รถยนต์ลอดภูเขาแห่งแรกของไทย’

อยู่ที่ถนนอมฤทธิ์ตัดกับถนนภักดีดำรง ผ่านสวนสาธารณะออกสู่ถนน บริเวณหน้าสวนนกเชื่อมต่อกับถนนมงคลประจักษ์ ทะลุไปสู่ชุมชนเมืองใหม่หมู่บ้านแกรนด์วิว และเชื่อมต่อกับถนนอัยเยอร์เบอร์จัง ไปสู่ชุมชนธารน้ำทิพย์อีกทอดหนึ่ง เป็นอุโมงค์รถยนต์ลอดภูเขาแห่งแรกของไทย ที่ขุดทอดโค้งให้รถวิ่งไปมา สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กอย่างดี ยาว 268 เมตร กว้าง 9 เมตร สูง 7 เมตร ผิวจราจรคู่ กว้าง 7 เมตร ทางเท้าเดินกว้างข้างละ 1 เมตร ความเร็วรถวิ่งได้ 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง
อุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์  เปิดใช้เป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544ในยามค่ำคืนจะมีการเปิดโคมไฟประดับประดาอย่างน่าตื่นตา ให้นักท่องเที่ยวได้ชักภาพเก็บไว้อย่างสนุกสนาน แต่เวลาถ่ายภาพอย่าลงไปบนผิวจราจรล่ะ ต้องคอยระวังรถยนต์ที่แล่นไปมาด้วยจ้า2. วงเวียนหอนาฬิกาเบตง 

เป็นสิ่งก่อสร้างอันเก่าแก่อยู่เคียงคู่กับเมืองเบตงมาช้านาน เปรียบเสมือนสัญลักษณ์จุดศูนย์กลางเมือง สร้างด้วยหินอ่อนอย่างสวยงาม ในยามเย็นจะเห็นฝูงนกนางแอ่นนับหมื่นตัวบินมาเกาะหลับอยู่บนสายไฟรอบๆ หอนาฬิกา จนกลายเป็นสัญลักษณ์คู่กันไปแล้วโดยปริยาย คนเบตงเขามีอารมณ์ขัน บอกว่าถ้าใครมาเที่ยวเบตงแล้วถูกนกนางแอ่นอุจจาระใส่หัว จะต้องกลับมาเที่ยวที่นี่อีก! จะจริงหรือเปล่า คงต้องพิสูจน์ด้วยตัวเอง ฮาฮาฮา
3. ตู้ไปรษณีย์ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย 

มีประวัติว่า นายสงวน จิรจินดา นายกเทศมนตรีเทศบาลเบตงคนแรก และเป็นอดีตนายไปรษณีย์โทรเลข เห็นว่าอำเภอเบตงอยู่ห่างไกล จะติดต่อสื่อสารโดยช่องทางอื่นกับโลกภายนอกไม่ได้เลย ยกเว้นทางจดหมาย เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของเมืองเบตงท่านจึงได้สร้างตู้ไปรษณีย์ยักษ์นี้ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2467 โดยสร้างขึ้นที่บริเวณสี่แยกหอนาฬิกาใจกลางเมืองเบตง
ปัจจุบันมีการสร้างตู้ใบใหม่ที่มีขนาดใหญ่เป็น 3.5 เท่าอยู่ริมถนนหน้าศาลาประชาคม ถือเป็นตู้ไปรษณีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่ของไทยในปัจจุบัน ตู้ทั้งสองใบสามารถใช้ส่งจดหมายได้จริงซะด้วย เท่ห์ไหมล่ะ? นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่อยากทำเก๋ ก็นิยมเขียนโปสการ์ดหรือจดหมาย ส่งกลับไปหาตัวเองหรือญาติมิตรที่บ้าน เพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึกไงล่ะครับ ว่าครั้งหนึ่งเราเคยมาเยือนเมืองใต้สุดแดนสยามแล้ว ว้าว 4. WOW! Street Art เบตง
เบตงวันนี้ไม่ใช่เมืองชายแดนธรรมดาๆ อีกต่อไป แต่มีการนำศิลปะเข้าไปเติมแต่งจนมีชีวิตชีวาน่าเที่ยวชม ทั้งตึกรามบ้านช่องร้านค้าที่พร้อมใจกันทาสีสดใส พร้อมทั้งมี ภาพ Street Art หรือภาพเพนท์บนผนังอาคารตามตรอกซอกซอยต่างๆ อย่างน่ารักน่าชัง เขาบอกว่าเริ่มมีมาตั้งแต่ตอนเมืองเบตงครบ 111 ปี (เมื่อ พ.ศ. 2560) จึงเชิญศิลปินและนักเรียนศิลปะมาช่วยกันเพนท์ภาพ Street Art เหล่านี้ไว้ ภาพ Street Art เบตง สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตและของดีของเด่นของคนที่นี่ มีด้วยกันหลายสิบภาพแบ่งเป็นโซนๆ คือถ้าภาพอยู่ตรงโซนไหน ก็จะเกี่ยวเนื่องกับคนแถวนั้น เช่น ตรงตลาดสดก็จะมีภาพพืชผักผลไม้ต่างๆ และพอเดินเลยไปถึงโซนร้านน้ำชาติ่มซำ ก็จะมีภาพชุดม้านั่งที่มีคนกำลังนั่งจิบชาเปิดสภากาแฟกันอยู่ครับ น่ารักมาก ภาพ Street Art เบตง ที่เป็นไฮไลท์มีด้วยกันหลายโซน เช่น เริ่มต้นเดินจากหน้าร้านติ่มซำไทซีอี้ (ข้างวงเวียนหอนาฬิกา และตู้ไปรษณีย์ใหญ่ที่สุดของไทย) ข้ามถนนมาฝั่งตรงข้าม เดินเข้าตรอกเล็กๆ ตรงไป ก็จะมีภาพ Street Art มากมายอยู่สองฟากฝั่ง จนไปทะลุถนนอีกเส้น ข้ามถนนเข้าสู่ตรอกถัดไป เป็นตลาดสดที่มีแผงพืชผักผลไม้นานาชนิด ก็มีภาพ Street Art เช่นกัน หรืออีกโซนที่หน้าสนใจ คือข้ามถนนจากหน้าร้านอาหารต้าเหยิน ในตรอกฝั่งตรงข้ามมี Street Art สุดน่ารัก

แต่เราไม่เฉลยว่าเป็นภาพอะไร ให้ทุกท่านไปชมกันเองดีกว่าจ้า
5. ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง “รับอรุณก่อนใคร ที่ทะเลหมอกใต้สุดแดนสยาม”
ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง อยู่ที่ตำบลอัยเยอร์เวง บนถนนหมายเลข 410 ตรงช่วง กม. 33 เป็นทะเลหมอกที่ Amazing มาก เพราะเที่ยวได้เกือบตลอดปี โดยเฉพาะช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ยิ่งถ้าเป็นวันแห่งความรัก 14 กุมภาพันธ์ ก็มักจะมีทะเลหมอกสีขาวหนาแน่นราวกับปุยนุ่น ลอยอ้อยอิ่งอาบแสงอาทิตย์ยามเช้าให้เราได้ตื่นตะลึงง! ขอ Confirm เลยว่า นี่คือธรรมชาติ Unseen ที่สวยสู้ทะเลหมอกทางภาคเหนือได้สบาย
แม้ว่าปัจจุบันที่เบตงจะเปิดจุดชมทะเลหมอกใหม่ๆ อีกหลายแห่ง เช่น ทะเลหมอกไต้ต๋ง และทะเลหมอกกูนุง ซีรีปัต แต่ว่าทะเลหมอกอัยเยอร์เวงก็ยังไม่เคยเสื่อมความนิยมไปจากใจของนักท่องเที่ยว อีกทั้งในปี 2563 นี้ ยังจะมีการเปิด Sky Walk ชมทะเลหมอกที่อัยเยอร์เวงเพิ่มด้วย เขาว่าจะเป็น Sky Walk ยาวที่สุดในเอเชีย คือมีสะพานที่ยื่นออกไปกว่า 50 เมตร!
6. บ่อน้ำร้อนเบตง “สปาธรรมชาติเพื่อสุขภาพ”

อยู่ที่บ้านจะเราะปะไร ตำบลเนาะแม (ห่างจากตัวเมืองเบตง 5 กิโลเมตร บนถนนสาย 410) บ่อน้ำร้อนธรรมชาติแห่งนี้มีควันฉุยตลอดเวลา น้ำอุ่นกำลังดี ต้มไข่สุกได้ใน 7 นาที นักท่องเที่ยวนิยมลงมาอาบแช่แก้เมื่อย รักษาสุขภาพ บ้างก็แก้หนาว ปัจจุบันมีการสร้างรีสอร์ทเอาไว้ให้นักท่องเที่ยวได้นอนพักค้างคืนกันด้วย ชิลมากๆ
7. สวนดอกไม้เมืองหนาว “อลังการพรรณไม้งามในหุบเขาหนาวเย็น” 

อยู่ที่หมู่บ้านปิยะมิตร 2 เป็นโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นสวนดอกไม้นานาพันธุ์ตั้งอยู่บนเขา อากาศเย็นสบาย พาคนพิเศษของเราไปทำโรแมนติก ชวนกันถ่ายรูปกับดอกกุหลาบ ดอกฮอลีฮ้อค ดอกแอสเตอร์ สีสันสวยงามไม่แพ้ภาคเหนือ เสร็จแล้วจะนอนค้างในรีสอร์ทสวยได้สบาย ไม่น่าเชื่อเลยว่าสุดชายแดนใต้ของเราจะมีดอกไม้เมืองหนาวให้ชมกันด้วย Amazing! 8. ด่านพรมแดนเบตง “มาเลเซียเที่ยวง่าย ใกล้แค่นี้เอง”
เที่ยวเบตงแล้วถ้ายังไม่หนำใจ จะเที่ยวต่อเข้าไปในในมาเลเซียก็ได้นะ ด่านพรมแดนเบตงแห่งนี้ทำหน้าที่เหมือนประตูบ้านเชื่อมโยงสองประเทศเข้าหากัน จุดเด่นคือมีป้ายใต้สุดแดนสยามและหลักเขตแดนให้ถ่ายภาพเป็นที่ระลึก หรือจะเลยเข้าไปในมาเลเซียนิดนึง ช้อปปิ้งที่ร้าน Duty Free ปลอดภาษี ซื้อขนมนมเนย หรือกระเป๋า รองเท้า นาฬิกาดีๆ กลับมาด้วยก็ได้ ด่านพรมแดนเบตงนี้ อยู่ติดกับประเทศมาเลเซียด้านกิ่งอำเภอปึงกาลันฮูลู รัฐเปรัค 9. พิพิธภัณฑ์เมืองเบตง “แหล่งเรียนรู้ประวัติวิถีเบตงที่ครบครัน”

พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บนเนินเขาสูง ตัวอาคารสร้างด้วยสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ มีสองชั้น แต่ละชั้นจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้โบราณๆ หาชมได้ยาก และประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันน่าสนใจของเบตงไว้ครบถ้วน โดยเฉพาะชั้นล่างมีการจัดแสดงกบภูเขา สัตว์หายากมากของเขตเทือกเขาสันกาลาคีรีให้ชมด้วย จากชั้นสองของพิพิธภัณฑ์ฯ เดินต่อขึ้นไปบนหอคอยชมวิวสูง มองเห็นตัวเมืองเบตงได้ทั่วถึง เต็มอิ่ม เต็มตา แบบพาโนรามาเลยล่ะ
10. มัสยิดกลางเบตง “ศาสนสถานแห่งศรัทธา”

เปรียบเสมือนศูนย์รวมใจของพี่น้องชาวมุสลิมเบตง สร้างด้วยสถาปัตยกรรมอิสลาม ทาสีฟ้าขาวเย็นตาเย็นใจ ส่วนบนสุดสร้างเป็นโดมทรงหัวหอม มีรูปจันทร์เสี้ยวและดาวห้าแฉกเป็นสัญลักษณ์ นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมได้ แต่ต้องแต่งกายให้เรียบร้อย สุภาพ ไม่ส่งเสียงดัง ถ่ายภาพห้ามใช้แฟลช และผู้หญิงควรหาผ้ามาคลุมศีรษะด้วย นักท่องเที่ยวนิยมเข้ามาชมการประกอบพิธีวันละ 5 ครั้ง ภายในมัสยิด
11. วัดพุทธาธิวาส “พระพุทธศาสนาปลายด้ามขวานทอง”

เป็นวัดสำคัญตั้งเด่นอยู่บนเนินเขา มีพระประธานในอุโบสถเหมือนหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดเท่าองค์จริง ผู้คนมาสักการะกันไม่ได้ขาด ส่วนภายนอกมี พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ สีทองอร่ามงามเด่น กับพระพุทธรูปปางสมาธิขนาดยักษ์ตั้งอยู่กลางแจ้ง ชื่อ พระพุทธธรรมกายมงคลประยุรเกศานนท์สุพพิธาน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย ให้กราบไหว้กันด้วย 12. อุโมงคปิยะมิตร “โลกใต้ดินที่ไม่สิ้นเรื่องเล่าประวัติศาสตร์”
อุโมงค์ปิยะมิตร อยู่ที่หมู่บ้านปิยะมิตร 1 ต.ตะเนาะแมเราะ ใช้เส้นทางเดียวกับที่จะไปบ่อน้ำร้อนเบตง (เลยบ่อน้ำร้อนไป 4 กิโลเมตร) ปัจจุบันบริเวณนี้เป็นที่อยู่ของพี่น้องชาวจีนผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ซึ่งเดิมในอดีตเคยเป็นฐานที่มั่นของพรรคคอมมิวนิสต์มลายา (เขต 2) เขาเหล่านั้นต้องขุดอุโมงค์ใต้ดินยาวกว่า 1 กิโลเมตร กว้าง 50-60 ฟุต เพื่อใช้อยู่อาศัยหลบซ่อนจากการตรวจจับของทางการ โดยสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2519 ทุกวันนี้เหตุการณ์สงบแล้ว อุโมงค์ปิยะมิตรกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้เราเข้าชมได้อย่างปลอดภัย ภายในปรับปรุงเป็นทางเดินเรียบและมีไฟฟ้าส่องสว่างอย่างดี ด้านในมีห้องหลบภัยห้องสะสมเสบียง เมื่อเดินทะลุกอีกฝั่งก็จะถึงทางออกในป่าทึบในบริเวณเดียวกันยังมี พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์พรรคคอมมิวนิสต์มลายา พร้อมด้วยตู้จัดแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ พร้อมด้วย ต้นไม้ยักษ์ สูงหลายสิบเมตรที่ต้องเดินป่าเข้าไปชมอย่างสนุกสนาน13.ไก่เบตง “กรอบนอก นุ่มใน ละลายในปาก”

ไก่เบตงคืออาหารรสเลิศเลื่องชื่อไปทั่วประเทศ ของแท้ต้องมาชิมที่อำเภอเบตงเท่านั้น เนื้อไก่ของเขาเหนียวนุ่ม มันน้อย หวานในปาก เคี้ยวง่าย ส่วนหนังไก่เป็นสีเหลืองทอง กรอบ ไม่มีชั้นไขมันหนาอยู่ใต้ผิวหนังเหมือนไก่เลี้ยงสายพันธุ์อื่น เพราะไก่เบตงเวลาเลี้ยงต้องปล่อยให้วิ่งเล่นไปมาอย่างอิสระ ว่ากันว่าเมื่อร้อยกว่าปีก่อน มีชาวจีนนำพันธุ์ไก่เบตงเข้ามาจากจีนตอนใต้ จนเลี้ยงกันแพร่หลาย ทว่ากว่าจะจับขายได้แต่ละตัว ต้องรอถึง 6 เดือน หรือ 1 ปี จำนวนผู้เลี้ยงจึงลดลง ปัจจุบันเหลือเลี้ยงอยู่จริงไม่กี่เจ้า ถึงบอกไงล่ะ ว่าไก่เบตงของแท้หาชิมยากสุดๆ
14. ร้านต้าเหยิน “สุดยอดร้านอาหารจีนแดนใต้”

ตั้งอยู่เลขที่ 253 ถนนสุขยางค์ อ.เบตง จ.ยะลา โทร. 0-7323-0461, 0-7324-5189, 08-1599-4654
ต้าเหยิน ชื่อนี้คือตำนานความอร่อยสะท้านยุทธจักรการกิน ที่นักชิมทั้งมืออาชีพและมือใหม่ต่างยกนิ้วโป้งให้ เพราะเป็นร้านอาหารจีนชื่อดังที่สุดในเบตง เปิดมาไม่ต่ำกว่า 30-40 ปีแล้ว คนแน่นทุกวัน อย่าลืมโทรจอง
นอกจากจะหาชิมไก่เบตงของแท้ได้ที่ร้านต้าเหยินแล้ว เขายังมีสุดยอดเมนูที่ต้องสั่งต้องชิมอีกเพียบ ไม่ว่าจะเป็นกบภูเขาทอดกระเทียม, ปลาจีนนึ่งซีอิ๊ว, ซี่โครงสวรรค์, เคาหยก (หมูสามชั้นอบเผือก), ถั่วเจี๋ยน, ซุปปู, ผัดหมี่เบตง, ผักน้ำเบตงผัดน้ำมันหอย และอื่นๆ อีกมากมาย 15. ติ่มซำยามเช้าที่เบตง “เริ่มต้นวันใหม่อย่างราชา”
ขอบอกว่าอาหารจีนยามเช้าในเมืองเบตงนั้นอลังการไม่ใช่เล่น เพราะที่นี่มีคนจีนอาศัยอยู่มาก ป็นชาวจีนกวางไสจากกว่างซีจ้วง และชาวจีนฮกเกี้ยน วัฒนธรรมการกินของพวกเขาจึงสืบทอดกันมา อย่างติ่มซำยามเช้าที่มีให้เลือกนับร้อยอย่าง ในเบตงมีหลายร้าน ที่มีชื่อเสียง เช่น ร้านไทซีอี้ และร้านเซ้งติ่มซำ Location อยู่แถวๆ หอนาฬิกาและตู้ไปรษณีย์ยักษ์ มองไปเห็นได้ชัดเลย
จะกินติ่มซำเมืองนี้ต้องขยันตื่นเช้าหน่อย และต้องกินร้อนๆ จึงจะอร่อยครบรส และอย่าลืมสั่งบักกุ๊ดเต๋มาซดน้ำซุปยาจีนให้คล่องคอด้วยล่ะ 16.วุ้นดำเบตง”เจ้าสุดท้ายความอร่อยต้นตำรับ”วุ้นดำเบตง หรือ เฉาก๊วย กม.4 เจ้าแรก (โทร. 0-7323-0413)มาถึงเบตงแล้วถ้าไม่ได้ชิม ‘วุ้นดำเบตง’ สักหน่อย ก็ถือว่าทริปเที่ยวครั้งนี้คงไม่สมบูรณ์ เพราะเป็นขนมพื้นบ้านที่ใช้ภูมิปัญญาล้วนๆ รังสรรค์ขึ้นมา

วุ้นดำเบตง ทำจากหญ้าชนิดหนึ่งที่ปลูกในประเทศจีน (และอินโดนีเซีย) เจ้าแรกนี้บรรพบุรุษอพยพมาจากเมืองจีน เมื่อกว่า 30 กว่าปีมาแล้ว เป็นร้านสุดท้ายที่ยังทำด้วยกรรมวิธีโบราณ คือใช้เตาไม้ฟืน เวลากินจึงได้กลิ่นหอมของไม้ด้วย แต่เพราะกรรมวิธีที่ยุ่งยาก ใช้เวลานาน เจ้าอื่นจึงเปลี่ยนไปใช้เตาแก๊สกันหมด กรรมวิธีคร่าวๆ คือ เขาจะนำหญ้าเฉาก๊วยมาต้มกับส่วนผสมแล้วกรองเอาเฉพาะน้ำ เพื่อแยกหญ้าวุ้นดำออกจากกัน จากนั้นนำแป้งมันสำปะหลังผสมกับน้ำที่ได้จากการกรองในขณะร้อนๆ คนให้เข้ากัน ทิ้งไว้จนกว่าจะเย็นกลายเป็นวุ้น นิยมรับประทานกับน้ำเชื่อมแล้วเติมน้ำแข็ง มีสรรพคุณช่วยแก้ร้อนในดีนักแล
17. ผักน้ำเบตง “ผัก Signature กลางขุนเขา”
มาถึงเบตงแล้วต้องชิม ผักน้ำ หรือ Watercress กันสักหน่อย ผักชนิดนี้ถือเป็นผักดีต่อสุขภาพ เนื่องจากการปลูกโดยไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ต้องปลูกในธรรมชาติตามลำธารบนขุนเขา ที่น้ำใสสะอาดและเย็นเจี๊ยบเท่านั้น

ว่ากันว่าผักน้ำมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ต่อมามีการนำมาปลูกที่จีนและมาเลเซีย คนจีนจึงนำเข้ามาปลูกในภาคใต้ของไทย โดยเฉพาะที่อำเภอเบตง ซึ่งตอนแรกคนจีนปลูกกินกันในครัวเรือน ไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ต่อมาทางราชการจึงส่งเสริมให้ปลูกกันแพร่หลาย เพราะเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ปัจจุบันสวนผักน้ำเบตงจึงกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวไปโดยปริยายธรรมชาติของผักน้ำชอบอากาศหนาวเย็น และน้ำที่ใสสอาดจากภูเขาไหลผ่านตลอดเวลา แปลงปลูกผักน้ำจึงทำเป็นขั้นบันไดลดหลั่นลงมา ยิ่งถ้าเป็นน้ำที่ไหลจากที่สูงใสเย็น และเป็นดินปนทรายด้วยจะทำให้ผักน้ำยิ่งเจริญเติบโตดี ต้นจะอวบน้ำ ก้านยาว ใบสีเขียวจัด เมื่อเลี้ยงไป 45-60 วัน ก็เก็บขายได้แล้ว ราคาขายกิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 80 บาทเลยทีเดียวส่วนใหญ่จะนำผักน้ำมาแกงจืด หรือต้มกับกระดูกหมูหรือไก่ นอกจากนี้ยังสามารถทำผักน้ำทรงเครื่อง, ผักน้ำมันหอย, ลวกจิ้มและสลัดผัก สรรพคุณช่วยคลายร้อน แก้ร้อนใน และลดความดันโลหิตสูงได้

18. ปลาจีนเบตง “ปลายักษ์แห่งลำธารบนขุนเขาสูง”

ติดต่อ สวนยายสวย (นางปานจิตร สายสวาท) โทร. 06-5682-4879
อีกหนึ่งความพิเศษของเมนูอาหารเมืองเบตงที่ขึ้นชื่อลือชาก็คือ ปลาจีน หรือ ปลาเฉาฮี้อ ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่มีต้นกำเนิดมาจากลุ่มน้ำแยงซีเกียงในประเทศจีน

ปลาจีน มีลำตัวทรงกระบอกสีขาวอมเขียว เกล็ดใหญ่ และเมื่อโตเต็มที่หนักได้หลายสิบกิโลกรัม แต่ที่ร้านอาหารจะรับซื้อไปทำอาหารจริงๆ ตัวจะไม่ใหญ่เกินไป แหล่งเพาะเลี้ยงที่ดีต้องอยู่ในลำธารบนขุนเขาที่อุดมสมบูรณ์ เงียบสงบปราศจากการรบกวน และที่สำคัญคือน้ำต้องเย็นและใสสะอาดมากด้วย ธรรมชาติป่าเขาของอำเภอเบตงจึงเหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเลี้ยงปลาชนิดนี้

เมนูอาหารที่นิยมนำปลาจีนมาทำ เช่น ปลาจีนนึ่งบ๊วย, ปลาจีนนึ่งซีอิ้ว, ปลาจีนนึ่งขิง, และปลาจีนแดดเดียว แหล่งเพาะเลี้ยงปลาจีนในเบตงบางแห่ง ยังทำสวนผลไม้อย่างทุเรียนหมอนทองปลูกควบคู่กันไปด้วย สนใจจะชิมต้องไปเที่ยวในเดือนสิงหาคมนะจ๊ะ

SPECIAL THANKS โครการ ‘ซาลามัตชายแดนใต้’ จ.นราธิวาส-ยะลา-ปัตตานี

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ททท สำนักงานนราธิวาส-ยะลา-ปัตตานี โทร. 0-7352-2411 , 0-7354-2345

เที่ยวสุขใจ ซาลามัตชายแดนใต้ @ยะลา

ยะลา ใต้สุดแดนสยาม เมืองงามชายแดน จังหวัดเดียวในภาคใต้ที่ไม่มีทางออกทะเล แต่มีชื่อเสียงในเรื่องแหล่งท่องเที่ยวอันหลากหลายงดงาม เป็นเมืองหน้าด่านเที่ยวต่อเนื่องเข้าสู่ประเทศมาเลเซียได้สบาย

วันนี้ Shutter Explorer ขอพาพวกเราไปตระเวนเที่ยว ตระเวนกิน กันในยะลาให้สนุกไปเลย กับโครงการดีๆ ของ ททท. “ซาลามัตชายแดนใต้”  จ้า
1. หมู่บ้านกาแป๊ะกอตอใน อ.เบตง ‘หมู่บ้านแห่งตำนานราชาสิยง’

“หมู่บ้านกาแป๊ะกอตอใน” ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล ต.เบตง อ.เบตง จ.ยะลา ห่างไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ตามเส้นทางที่จะออกไปด่านเบตง ประมาณ 4-5 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านดั้งเดิมที่มีตำนานซึ่งถูกเล่าขานโดยบรรพบุรุษ จากรุ่นสู่รุ่นมาถึงปัจจุบัน ความหมายของ “กาแป๊ะกอตอ” คำว่า “กาแป๊ะ” หมายถึง “ต้นไม้ชนิดหนึ่งดอกสีส้มคล้ายดอกเข็ม” ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ลำคลอง น้ำตก ส่วนคำว่า “กอตอ” หมายถึง “เมือง”

หมู่บ้านกาแป๊ะกอตอใน เป็นชุมชนที่ยังคงมีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม แต่ก็มีกลุ่มมุสลิมในหมู่บ้าน มีการรวมกลุ่มสตรีประกอบอาชีพสร้างรายได้เสริม ทั้งการทำผลิตภัณฑ์โอท้อป เช่น กาแฟคั่วแบบโบราณ สร้างรายได้ให้กลุ่มสตรีได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ แถมยังเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวได้ ให้คนเข้ามาชมขั้นตอนการผลิต และชิมกาแฟพันธุ์โรบัสต้ารสชาติเข้มข้นแสนอร่อย

ในหมู่บ้านมีอาคารพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กน่ารัก นำวัตถุโบราณและข้าวของเครื่องใช้ดั้งเดิมภายในชุมชน มาจัดแสดงไว้อย่างเป็นระบบระเบียบ ทั้งถ้วยโถโอชาม อาวุธโบราณ กริช หินบดยา และชุดชาวมุสลิม เป็นต้นด้วยความที่หมู่บ้านนี้มีประวัติศาสตร์เกี่ยวเนื่องกับการเคยเป็นวังเก่า และมีธรรมชาติอุดมสมบูรณ์จึงมีการทำ “สวนกาแฟวังเก่า” เพื่อปลูกขายปลูกกินสร้างรายได้ให้ชุมชนเมื่อหลายร้อยปีก่อน มีผู้นำกองทัพจากประเทศมาเลเซียผ่านมาบริเวณนี้ มีพระนามว่า ราชาสิยง ทรงตั้งกองทัพแล้วสร้างกำแพงกั้นล้อมรอบกองทัพไว้ ต่อมาจึงมีการตั้งรกรากเป็นหมู่บ้านขึ้น มีการประหารนักโทษที่กระทำผิดร้ายแรง โดยก่อนการประหารจะนำนักโทษไปอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด มี 2 บ่อ คือ บ่อน้ำสำหรับราชาสิยงและครอบครัว ส่วนอีกบ่อสำหรับประชากรและทหารในกองทัพ

เมื่อชำระล้างร่างกายนักโทษสะอาดแล้ว ก็จะให้กินอาหารมื้อสุดท้ายก่อนเข้าสู่หลักประหาร โดยมีเพชรฆาต 3 คน ใช้ดาบฟันคอจนเสียชีวิต กล่าวกันว่าก่อนคืนประหารจะได้ยินเสียงโอดครวญของเหล่าวิญญาณ และน้ำจะขึ้นเต็มบ่อทุกครั้งที่จะมีการประหารนักโทษ หลักไม้ที่ใช้ประหารเป็นไม้หลุมพอ ซึ่งในปัจจุบันหลักประหารเก่าแก่นั้นไม่มีอยูแล้ว จะมีเพียงหลักไม้จำลองที่ทำขึ้นมาแทน และตั้งปักไว้ในจุดที่เป็นลานประหารเดิมให้ชมกัน

ส่วนบ่อน้ำโบราณก็เรียกกันว่า บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่มีน้ำผุดขึ้นมาเองตามธรรมชาติ และมีชาวบ้านนำไปดื่ม อาบ รักษาโรคภัยไข้เจ็บ ส่วนราชาสิยงได้ดื่มเลือดจากนักโทษประหาร จนมีเขี้ยวงอกออกจากปาก จึงถูกชาวบ้าและทหารขับไล่ออกจากหมู่บ้าน จนต้องหนีเข้าไปในฝั่งมาเลเซียแถว ๆ บาลิง และได้สิ้นพระชนม์ที่นั่น จนมีการสร้างสัญลักษณ์รูปเขี้ยวไว้ที่บาลิงในปัจจุบันภายในหมู่บ้านกาแป๊ะกอตอในมี ต้นกาแฟร้อยปี ให้ชมกันด้วยจ้ากิจกรรมสนุกๆในการเที่ยวชมหมู่บ้าน คือการไปดูกลุ่มแม่บ้านทำกาแฟคั่วหอมกรุ่นแบบโบราณ ให้เราชิมกันเมล็ดกาแฟดิบสีขาวนวลเมื่อคั่วให้สุกบนเตาถ่านแล้ว ก็จะกลายร่างเป็นเมล็ดกาแฟสีดำปี๊แบบนี้ล่ะ แต่ยังกินไม่ได้นะยังมีอีกหลายขั้นตอนจ้าหลังจากนั้นก็นำน้ำตาลทรายขาวน้ำตาลทรายแดงมาคั่วบนกระทะ ให้ร้อนละลายกลายเป็นคาราเมล แล้วเทเมล็ดกาแฟลงไปคลุกเคล้าให้ทั่ว เสร็จแล้วผึ่งให้แห้ง ตำบดให้ละเอียดด้วยครกไม้โบราณ ก็พร้อมชงเสิร์ฟเป็นกาแฟดำพื้นบ้าน (โกปี้) แบบฉบับบ้านกาแป๊ะกอตอในที่ขายดิบขายดี ของกินเด่นดังอีกอย่างที่นี่คือ “ข้าวหลามยาว” หรือ “ข้าวหลามบาซุก้า” ที่กินอร่อยอิ่มนาน แถมแปลกไม่เหมือนใครด้วยก่อนลาจากชุมชนกาแป๊ะกอตอใน ก็ต้องลองชิมอาหารพื้นบ้านอร่อยๆ รสมือแม่กันหน่อย มีทั้งปลาทอดขมิ้น ผัดผักกูด น้ำพริกกะปิผักเหนาะ และต้มยำปลา แหมประทับใจจริงๆ

2. ผ้าสีมายา (SIMAYA) อ.เมืองยะลา “ผ้ามัดย้อมดินมายาหน้าถ้ำ”

เลขที่ 136 หมู่ 1 บ้านหน้าถ้ำ ต.หน้าถ้ำ อ.เมืองยะลา โทร. 0-9930-87252
กลุ่มผ้าสีมายา จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2558 โดยนำดินมายาซึ่งมีอยู่มากในภูเขาถ้ำและภูเขากำปั่น มาย้อมเป็นผ้าอันสวยงาม

ชาวบ้านได้สังเกตว่าเมื่อดินชนิดนี้ติดเสื้อผ้าจะล้างออกยาก จึงคิดค้นหาวิธีนำมาย้อมผ้าได้ผ้าสีส้มอมน้ำตาลสดใสอันเป็นเอกลัษณ์ อีกทั้งยังเพิ่มเติมคุณค่าให้ผืนผ้าแพรพรรด้วยการนำลายภาพเขียนสีในถ้ำอายุกว่า 1,000  ปี และลายศิลป์ช่องลมของศาลาการเปรียญ มาพิมพ์ลงบนผืนผ้า นอกจากนี้ยังเน้นการย้อมสีธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น อย่างใบหูกวาง และใบมังคุดอีกด้วย สีย้อมผ้าธรรมชาติจากดินมายาหน้าถ้ำกิจกรรมสนุกๆ เมื่อเข้าไปเยี่ยมกลุ่มสีมายา คือเราจะได้ทดลองทำผ้ามัดย้อมฝีมือเราเอง ขั้นแรกก็ต้องนำเชือกหรือหนังสติ๊ก มามัดลงบนผืนผ้าให้เกิดลายตามต้องการ
ผ้าสีมายาลายภาพเขียนสีโบราณ 1,000 ปี 3. เขื่อนบางลาง อ.บันนังสตา “เขื่อนแห่งความชุ่มฉ่ำ และจุดชมวิวพาโนรามา”
เขื่อนบางลาง อยู่ที่บ้านบางลาง ต.เขื่อนบางลาง ห่างจากตัวจังหวัดยะลาไปตามทางหลวงหมายเลข 410 ประมาณ 50 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายไปอีก 12 กิโลเมตร เป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าและเขื่อนเอนกประสงค์แห่งแรกของภาคใต้ โดยสร้างกั้นแม่น้ำปัตตานี เป็นเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียว สูง 85 เมตร สันเขื่อนยาว 422 เมตร นับเป็นจุดชมวิวธรรมชาติอันน่าตื่นตามาก4. ปั้มน้ำมันธารโต ‘จุดถ่ายภาพคู่กับแงะป่า และไก่เบตง” อ.ธารโต
ความสนุกในการขับรถท่องเที่ยวจากตัวเมืองยะลาสู่อำเภอเบตง ระหว่างทางแนะนำให้แวะพักยืดเส้นยืดสายในปั้มน้ำมันธารโตกันก่อน ถ่ายภาพคู่กับรูปปั้นคู่รักเงาะป่าที่เคยอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ และยังมีรูปปั้นไก่เบตงตัวเบ้อเริ่ม ยืนโพสต์ท่าพร้อมให้เราเก็บภาพไว้เป็นที่ระลึกจ้า5. สวนคุณชายโอ๊ค “ฟาร์มตัวอย่างที่น่าเอาเยี่ยงอย่าง” อ.ธารโต
สำหรับคนที่ชอบ ท่องเที่ยวชมวิถีเกษตร หรือ Agro-Tourism รับรองว่ามาเที่ยวยะลาแล้วจะติดใจ เพราะมีพืชผักผลไม้อุดมสมบูรณ์จริงๆ ที่อำเภอธารโตมีฟาร์มตัวอย่างสวนคุณชายโอ๊ค (ทางเข้าอยู่ติดปั๊มน้ำมันธารโต) ให้เราได้เที่ยวชมกันตลอดปี ยิ่งสำคัญถ้าตรงกับเดือนสิงหาคมก็จะมีผลไม้นานาชนิดให้ชิม โดยเฉพาะทุเรียนหมอนทองจะออกผลสุกพร้อมกินนับร้อยๆ ต้นที่สวนนี้ความสำเร็จของสวนคุณชายโอ๊คในวันนี้มิได้เกิดโดยบังเอิญ หากแต่เกิดจากการเดินตามรอยศาสตร์พระราชา ด้วยการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง และปลูกไร่ส้มจนสำเร็จโด่งดังนอกจากไม้ดอกไม้ผลต่างๆ แล้ว สวนคุณชายโอ๊คยังเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจหลายชนิดไว้ด้วย ทั้งนกยูง ไก่ฟ้า แพะเนื้อ แพะนม สามารถเที่ยวชมถ่ายภาพได้อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเหล่าแพะที่เราให้อาหารได้ด้วย
กิจกรรมที่ถือว่าเป็นไฮไลท์สุดๆ ของสวนคุณชายโอ๊คคือ การชิมน้ำผึ้งชันโรง (เป็นผึ้งจิ๋วซึ่งไม่มีเหล็กในที่ก้น หรือ Stingless Bee)โดยเขาจะเปิดรังเลี้ยงตัวชันโรง ให้เห็นอาณานิคมและส่วนเก็บน้ำผึ้งของมันอย่างเต็มตา จากนั้นก็ใช้หลอดจิ้มดูดกันสดๆ ตรงนั้นเลย ถือว่าได้คุณค่าวิตามินกันไปเต็มๆ สุดยอด!6. ศาลหลักเมืองยะลา “ศูนย์รวมใจรวมศรัทธาผู้คน”

ศาลหลักเมืองยะลา ตั้งอยู่กลางวงเวียนหน้าศาลากลางจังหวัด เป็นที่เคารพนับถือของชาวจังหวัดยะลา โดยประมาณปลายเดือนพฤษภาคมจะมีงานสมโภชนเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งเป็นงานเทศกาลประจำปีสำคัญงานหนึ่งของภาคใต้ ศาลหลักเมืองยะลาถือเป็นจุดศูนย์กลางของผังเมืองรูปใยแมงมุม อันเป็นเมืองที่มีผังเมืองสวยที่สุดในประเทศไทย 7. สวนขวัญเมือง อ.เมืองยะลา “พักผ่อนหย่อนใจในสวนสวยกลางเมือง”

สวนขวัญเมือง หรือพรุบาโกย อยู่ที่ถนนเทศบาล 1 ห่างจากศาลหลักเมืองยะลาประมาณ 300 เมตร เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกายชองชาวเมือง มีทะเลสาบ ทิวสน สนามหญ้า ให้ได้ทอดกายคลายอารมณ์ อีกทั้งยังเป็นจุดที่ใช้จัดงานออกร้านต่างๆ ของจังหวัดด้วย การที่ยะลาไม่ติดทะเล แต่มีทะเลสาบจำลองในสวนนี้ก็สร้างความชุ่มชื่นหัวใจทดแทนกันได้พอสมควร
8. ร้านธารา Seafood อ.เมืองยะลา  “ชิมอาหารทะเลสดจริง ในเมืองที่ไม่ติดทะเล!”

ถนนพิพิธภักดี ตำบลสะเตง เทศบาลนครยะลา 95000 โทร. 0-7321-2356 เปิด 11.00 – 21.00 น.

ร้านนี้โด่งดังนานกว่า 30 ปี แม้ยะลาจะไม่ติดทะเล แต่เขาก็ยังสามารถขายอาหารทะเลสดๆ ที่นำมาจากปัตตานีและนราธิวาส เมนูเด็ดของร้านธารา Seafood คือ ปลาเผาสมุนไพรอันเป็นเอกลักษณ์  หอมกลิ่นสมุนไพรสีเขียวๆ ส่วนเนื้อปลาก็หวานนุ่ม กินคู่กับน้ำจิ้มรสเด็ด นอกจากนี้ยังมีกุ้งทอดกระเทียม หอยหวาน หอยแครงและกุ้งหอยปูปลาอื่นๆ อีกเพียบ 9. ร้านเรือนนพรัตน์ อ.เมืองยะลา “อาหารไทยรสเด็ด ที่พิเศษจนห้ามพลาด!”

เลขที่ 90-92-94-96 ถนนรวมมิตร ต.สะเตง อ.เมืองยะลา 95000 โทร. 0-7372-0088, 08-6749-5543 เปิดทุกวัน เวลา 10.00-22.00 น.
เรือนนพรัตน์ เป็นร้านอาหารรับแขกบ้านแขกเมืองยะลาได้อย่างไม่อายใคร ตกแต่งร้านหรูหราในสไตล์ไทยภาคกลาง ภายในร้านติดแอร์เย็นฉ่ำ ตกแต่งด้วยวัสดุไม้พร้อมการจัดแสงให้ความรู้สึกอบอุ่นน่านั่ง โดยมีทั้งส่วนนั่งอิงหมอนสามเหลี่ยมบนพื้น ส่วนนั่งโต๊ะ และห้องส่วนตัวอย่างครบครัน
อาหารเด็ดก็มีทั้ง ห่อหมกถ้วย, ยำหัวปลี, ยำผักกูด, ต้มส้มปลากระบอก, ปลากระบอกทอดกระเทียม, ไข่เจียวปูฟู, ผักเหลียงผัดไข่, แกงคั่วหอยขม, น้ำพริกกุ้งสดและอื่นๆ อีกเพียบ แค่ได้ยินชื่อเมนูก็น้ำลายสอแล้วล่ะ

SPECIAL THANKS โครการ ‘ซาลามัตชายแดนใต้’ จ.นราธิวาส-ยะลา-ปัตตานี

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ททท สำนักงานนราธิวาส-ยะลา-ปัตตานี โทร. 0-7352-2411 , 0-7354-2345

เที่ยวสุขใจ ซาลามัตชายแดนใต้ @ปัตตานี

สามจังหวัดชายแดนใต้ ดินแดนแห่งความสดใหม่ไร้การปรุงแต่ง ดินแดนแห่งรอยยิ้มและมิตรไมตรี ดุจคำกล่าวต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกคนว่า ‘ซาลามัตชายแดนใต้’ วันนี้เราได้ไปเที่ยว จังหวัดปัตตานี ดินแดนพหุวัฒนธรรมที่มีทั้งพี่น้องชาวมุสลิม จีน และไทย อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์มาช้านาน เหมาะไปเที่ยวชมกันได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะวัย Silver Age ที่แม้จะมีอายุมาก แต่ก็เที่ยวปัตตานีได้สบาย 1. มัสยิดกลางปัตตานี อ.เมืองปัตตานี ‘สถาปัตยกรรมงดงามตามแบบทัชมาฮาล’

 ถือเป็นมัสยิดสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของไทย และเป็นหนึ่งในมัสยิดสำคัญที่สุดของภาคใต้ เป็นศูนย์รวมใจของพี่น้องชาวมุสลิมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 ที่เริ่มเปิดใช้งาน ความโดดเด่นอยู่ที่สถาปัตยกรรมการก่อสร้าง เลียนแบบทัชมาฮาลในอินเดีย ตรงกลางมีโดมขนาดใหญ่ ล้อมรอบด้วยหอขาน (หออะซาน) 4 หอ ด้านหน้ามีสระน้ำใหญ่ ยามค่ำคืนเปิดไฟหลากสีประดับประดาอย่างงดงาม นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมได้อย่างใกล้ชิด แต่ต้องแต่งกายสุภาพ ไม่ส่งเสียงดังโวยวาย และต้องเคารพผู้ที่มาประกอบพิธีกรรมทางศาสนาด้วย
2. มัสยิดกรือเซะ อ.เมืองปัตตานี ‘300 ปี แห่งศูนย์รวมใจพี่น้องชาวมุสลิม’

หรือ มัสยิดสุลต่านมูซัฟฟาร์ชาห์ เป็นมัสยิดเก่าแก่กว่า 300 ปี ซึ่งในอดีตเข้าใจผิดกันว่าเพราะต้องคำสาปจึงสร้างไม่เคยเสร็จ ทว่าปัจจุบันได้มีการพิสูจน์โดยนักโบราณคดีแล้วว่า โครงสร้างที่เหลือในปัจจุบัน คือร่องรอยของตัวมัสยิดที่เคยงดงามสมบูรณ์ในอดีต สันนิษฐานกันว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ด้วยการผสมผสานศิลปกรรมตะวันออกกลางและยุโรปเข้าด้วยกัน แม้รูปลักษณ์ภายนอกจะมิได้ฉาบปูนทาสี แต่มัสยิดกรือเซะก็ยังทำหน้าที่เป็นโบราณสถานและศูนย์รวมใจพี่น้องชาวมุสลิมอย่างเหนียวแน่น ด้านหน้ามีแท่นปืนใหญ่โบราณ (จำลอง) ตั้งอยู่ สำรวจพบว่าเป็นที่หล่อปืนใหญ่หลายกระบอกด้วยวิทยาการล้ำสมัย
3. ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว อ.เมืองปัตตานี ‘ศาลศักดิ์สิทธิ์ ตำนานเจ้าแม่แห่งศรัทธา’

หรือศาลเจ้าเล่งจูเกียง เป็นที่ประดิษฐานรูปแกะสลักของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว พระหมอเจ้าแม่ทับทิม และองค์พระอีกหลายองค์ เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวเป็นที่เลื่อมใสของชาวไทยเชื้อสายจีน ทั้งในท้องถิ่น และจากจีน มาเลเซีย สิงคโปร์ เปิดให้เข้าสักการะได้ทุกวัน เมื่อย่างเข้าไปภายในจะสัมผัสได้ถึงกลิ่นอายความศรัทธา และเรื่องราวของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ซึ่งท่านลงเรือจากเมืองจีนมาสู่ปัตตานี เพื่อติดตามพี่ชาย คือ ลิ้มโต๊ะเคี่ยม ให้กลับบ้านเกิด แต่ไม่สำเร็จ เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวจึงตัดสินใจปลิดชีวิตตนเอง ตามสัญญาที่มีกับแม่ ว่าถ้าตามพี่ชายกลับไปไม่ได้ ก็จะไม่กลับบ้านอีก ทุกปีจะมีงานสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ทุกเดือนกุมภาพันธ์
4. พิพิธภัณฑ์เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว อ.เมืองปัตตานี ‘แหล่งความรู้คู่เมืองปัตตานี’

ตั้งอยู่ติดกับศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เพิ่งจัดสร้างขึ้นใหม่ ภายในติดแอร์เย็นฉ่ำ บอกเล่าเรื่องราวประวัติความเป็นมาของเมืองปัตตานีในอดีต ที่มีลักษณะเป็นเมืองท่าขนาดใหญ่ รวมทั้งมีเรื่องราวของพระหมอ, เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว และอื่นๆ อีกมากมาย ใครที่สนใจด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มาเยี่ยมชมไม่ผิดหวังแน่นอนจ้า
5. สุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว อ.เมืองปัตตานี ‘รำลึกตำนานเจ้าแม่’

ตั้งอยู่ใกล้มัสยิดกรือเซะ เป็นที่ฝังศพของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ซึ่งในอดีตท่านได้ลงเรือจากเมืองจีน มาตามพี่ชาย คือ ลิ้มโต๊ะเคี่ยม ให้กลับบ้านเกิด ทว่าลิ้มโต๊ะเคี่ยมได้มีครอบครัวแต่งงานและเปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลามแล้ว เมื่อตามพี่ชายกลับบ้านเกิดไม่สำเร็จ เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวจึงตัดสินใจปลิดชีวิตตนเอง ด้วยสัญญาไว้กับแม่ว่า หากตามพี่ชายกลับไม่ได้ ก็จะไม่ไปให้เห็นหน้าอีก ปัจจุบันสถานที่นี้มีลักษณะเป็นเนินดินใหญ่ ที่มีหญ้าเขียวขึ้นปกคลุม และมีประชาชนผู้ศรัทธามาสักการะกันทุกวัน
6. CHINA TOWN ปัตตานี อ.เมืองปัตตานี ‘กือดาจีนอ เมืองเก่าเล่าเรื่องอดีต’

กือดาจีนอ ชื่อนี้อาจฟังไม่คุ้นหู แต่ถ้าบอกว่า ‘ย่านตลาดจีนเก่าของเมืองปัตตานี’ ก็คงพอมีคนรู้จัก แม้ว่าจะซบเซาไปนาน แต่บัดนี้ได้ฟื้นคืนชีวิตขึ้นใหม่ ด้วยการร่วมแรงร่วมใจของหลายฝ่าย จนกลายเป็นถนนวัฒนธรรมน่าเที่ยว เดินเล่นถ่ายภาพ เรียนรู้เรื่องราวอดีตกันได้ในทุกย่างก้าว กือดาจีนอ หรือตลาดจีนเก่า นี้ แท้จริงแล้วคือถนนปัตตานีภิรมณ์เลียบแม่น้ำปัตตานี ไปจนถึงศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว สองฟากฝั่งเต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่องโบราณ ในลักษณะบ้านคนจีน โรงเตี๊ยม และร้านค้า มีการจัดมุมถ่ายภาพน่ารักๆ พร้อมด้วยเติมภาพวาด Street Art สวยๆ เข้าไปตามฝาผนัง ทำให้กือดาจีนอมีชีวิตชีวาเป็นอย่างยิ่ง
7. Sky Walk ปัตตานี ต.รูสะลิแล อ.เมืองปัตตานี ‘Landmarkใหม่ใกล้ชิดธรรมชาติ’

น่าตื่นตาตื่นใจสุดๆ กับ Skywalk แห่งแรกของปัตตานี ตั้งอยู่ในสวนสมเด็จเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มีความยาวถึง 400 เมตร สูง 12 เมตร เชื่อมต่อจากเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน โดยโครงสร้างเป็นเหล็กรับน้ำหนักได้ราวๆ 400 กิโลกรัม/ตารางเมตร มีบันไดขึ้นลง 2 ทาง พร้อมศาลาพักผ่อน 5 จุด ความน่าตื่นเต้นอยู่ตรงที่พื้นสะพานเหล็กของ Skywalk คล้ายตาข่ายเหล็กโปร่ง มองทะลุลงไปเห็นพื้นและป่าชายเลนเบื้องล่างได้แจ่มชัด น่าตื่นเต้นสุดๆ คนนิยมมาเที่ยวกันตอนเย็นๆ เพราะมองออกไปเห็นพระอาทิตย์ตกที่แหลมตาชี ได้อย่างน่าประทับใจ
8. บ้านบางปู อ.ยะหริ่ง ‘อุโมงค์โกงกางมหัศจรรย์แห่งธรรมชาติ’

นี่คือชุมชนชาวมุสลิม ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนยะหริ่งของอ่าวปัตตานีมากว่า 100 ปี อันเป็นแหล่งที่มีปูดำอย่างชุกชุม ด้วยสภาพธรรมชาติป่าชายเลนอันอุดมสมบูรณ์อย่างยิ่ง นอกจากวิถีประมงพื้นบ้านที่ยังเห็นได้ทุกเมื่อเชื่อวันแล้ว เขายังมีกิจกรรมล่องเรือหางยางเข้าไปเที่ยวชมระบบนิเวศป่าชายเลน หรือ Mangrove Forest โดยเฉพาะบริเวณ ‘อุโมงค์โกงกาง’ ยาว 700 เมตร ซึ่งมีต้นโกงกางสองฝั่งโอนเอนเข้าหากัน คล้ายอุโมงค์ขนาดใหญ่ร่มรื่นเย็นสบาย ให้เรือลอดเข้าไปช้าๆ ระหว่างทางเราจะได้เห็นนกนานาชนิด พร้อมด้วยกิจกรรมเก็บหอยในป่าชายเลนมาทำกับข้าวกินกัน (สนใจติดต่อ นายคมกริช เจะเซ็ง บ้านบางปู โทร. 08-8389-4508) 9. วัดช้างให้ อ.โคกโพธิ์ ‘ตำนานหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด’

เป็นวัดสำคัญและมีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้ ด้วยบารมีของ ‘หลวงพ่อทอด’ ซึ่งคนไทยและคนในประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง ให้ความเคารพศรัทธาอย่างสูง ตามตำนานเล่าว่า พระยาแก้มดำเจ้าเมืองไทรบุรี ต้องการหาชัยภูมิสร้างเมืองใหม่ให้น้องสาว จึงเสี่ยงสัตย์อธิษฐานปล่อยช้างและไพร่พลเดินตามไปเมื่อถึงป่าแห่งหนึ่ง (วัดช้างให้ปัจจุบัน) ช้างก็เดินวนเวียนและร้อง 3 ครั้ง พระยาแก้มดำจึงถือว่าเป็นนิมิตที่ดีที่จะสร้างเมือง แต่น้องสาวไม่พอใจ จึงไปสร้างเมืองปัตตานีที่ริมชายทะเลแทนเมื่อหลวงพ่อทวดมรณภาพที่เมืองไทรบุรี ศิษย์ได้นำศพท่านกลับมาที่วัดช้างให้ แต่ต้องพักแรมระหว่างทางหลายวันกว่าจะถึงวัดช้างให้ เมื่อตั้งศพอยู่ที่ใด ก็จะเอาไม้ปักหมายไว้ทุกแห่ง จนกระทั่งถึงวัดช้างให้ สถานที่ตั้งศพพักระหว่างทางนี้กลายเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนมาถึงปัจจุบัน บางแห่งก่อเป็นเจดีย์หรือสถูปไว้ โดยถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ดังเช่นที่อัฐิของหลวงปู่ทวดได้บรรจุไว้ในเจดีย์ของวัดนี้ ให้คนได้สักการะกัน 10. วัดมุจลินทวาปีวิหาร (วัดหลวงพ่อดำ) อ.หนองจิก ‘ตามรอยเสด็จพระพุทธเจ้าหลวง’

เป็นพระอารามหลวงที่พระยาวิเชียรสงคราม (เกลี้ยง) เจ้าเมืองหนองจิก สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2388 ภายในวัดมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เจดีย์บรรจุพระอัฐิของพระอรหันต์ และวิหารต่างๆ นอกจากนี้ยังถือเป็นแหล่งกำเนิดการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรมของมณฑลปัตตานีในอดีตด้วย เพราะมีการเปิดสอนหนังสือตามหลักสูตรประถมศึกษาครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2444 อีกทั้งเมื่อปี พ.ศ. 2433 พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ได้เคยเสด็จวัดนี้ และใช้น้ำในบ่อไปประกอบพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาด้วย
11. พิพิธภัณฑ์เครื่องถมทองและเครื่องจักสาน โรงแรมซีเอสปัตตานี อ.เมืองปัตตานี ‘พิพิธภัณธ์แห่งความภักดี’

โรงแรมซีเอส ปัตตานี เป็นโรงแรมระดับมาตรฐาน ที่ใช้ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองของปัตตานีได้อย่างไม่อายใคร เพราะทั้งห้องพัก บริการ และอาหาร ก็ล้วนน่าประทับใจไปทุกสิ่งอย่าง นอกจากนี้บนชั้น 2 ของโรงแรม ยังมีการจัดเป็นห้องพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ไว้ถึง 2 ห้อง อันเกี่ยวเนื่องกับพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระพันปีหลวง และในหลวงรัชกาลที่ 9 ของเรา โดยห้องแรกจัดแสดงเครื่องจักสาน และห้องที่สองจัดแสดงเครื่องถมทองตามแบบภาคใต้ ที่มีความละเอียดประณีตงดงามอย่างยิ่ง สนใจขอเข้าชมได้ทุกวัน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (ติดต่อ โทร. 0-7333-5093)
สิ่งที่ห้ามพลาดชมด้วยประการทั้งปวง คือ ชุดเครื่องถมทองเป็นชุดเครื่องเขียนที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานให้กับประธานาธิบดี ชาร์ล เดอโกล ของฝรั่งเสศในอดีต จากนั้นเจ้าของโรงแรมซีเอส ปัตตานี ได้ไปพบในร้านขายของเก่าแห่งหนึ่งในต่างประเทศโดยบังเอิญ จึงซื้อกลับมาแสดงไว้ให้คนไทยได้ชื่นชม12. หอนาฬิกาเมืองปัตตานี ‘Landmark สำคัญกลางใจเมือง’

มีชื่อเล่นว่า ‘หอนาฬิกา 3 วัฒนธรรม’ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2554-2555 เปิดใช้เป็นทางการปี พ.ศ. 2556 สร้างขึ้นด้วยการผสมผสานศิลปกรรมของ 3 วัฒนธรรม คือ มุสลิม จีน และไทย สะท้อนถึงความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม ที่มีชนหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์มาเนิ่นนาน
13. ร้านอาหารบ้าน เดอ นารา อ.เมืองปัตตานี ‘ต้นตำรับอาหารปัตตานีที่น่าลิ้มลอง’

เที่ยวปัตตานีกันมาเกือบทั่วแล้ว ชักจะหมดแรง ได้เวลาไปเติมพลังกันที่ ‘ร้านบ้าน เดอ นารา’ (17/239 ซอย 21 ถ.เจริญประดิษฐ์ ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000 โทร. 0-7333-7031) อิ่มอร่อยกับอาหารปักษ์ใต้ต้นตำรับ พร้อมด้วยอาหารไทยนานาชนิด ในบรรยากาศบ้านโบราณอันสวยงาม สั่งได้เลยทุกเมนู ไม่ว่าจะเป็นปลาทอดขมิ้น, กุ้งทอดตะไคร้, ทอดมันเดอนารา, แกงเหลืองกะทิ, แกงมัสมั่นไก่, พริกหยวกสอดไส้, บูดูทรงเครื่อง และอีกมากมาย แค่คิดก็น้ำลายสอแล้วสิ

SPECIAL THANKS โครการ ‘ซาลามัตชายแดนใต้’ จ.นราธิวาส-ยะลา-ปัตตานี

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ททท สำนักงานนราธิวาส-ยะลา-ปัตตานี โทร. 0-7352-2411 , 0-7354-2345

เที่ยวสุขใจ ซาลามัตชายแดนใต้ @นราธิวาส

สามจังหวัดชายแดนใต้ ดินแดนแห่งความสดใหม่ไร้การปรุงแต่ง ดินแดนแห่งรอยยิ้มและมิตรไมตรี ดุจคำกล่าวต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกคนว่า ‘ซาลามัตชายแดนใต้’ วันนี้เราได้ไปเที่ยว จังหวัดนราธิวาส สัมผัสวิถีและความงามในหลากแง่มุม ทั้งชีวิต วัฒนธรรม อาหารการกิน ธรรมชาติ และการช้อปปิ้ง ที่เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะวัย Silver Age ที่แม้จะมีอายุมาก แต่ก็เที่ยวนราธิวาสได้สบาย ไปกับ 30 จุดท่องเที่ยว ที่เราคัดสรรคมาอย่างดีสำหรับคุณ

(1) ‘เกาะกลางน้ำบางนราแสนน่ารัก’ ชุมชนกาแลตาแป อ.เมืองนราธิวาส 

เป็นชุมชนเก่าแก่บนเกาะกลางน้ำเล็กๆ อันสุขสงบกลางแม่น้ำบางนรา ผู้คนทำอาชีพประมงเป็นหลัก นำปลาที่ได้มาขาย หรือแปรรูปเป็น ‘กรือโป๊ะ’ ข้าวเกรียบปลาทะเลแสนอร่อย ใครอยากเห็นเรือกอและ ซึ่งเป็นเรือประมงพื้นบ้านของปักษ์ใต้อย่างใกล้ชิด มาเที่ยวชมชุมชนนี้ไม่ผิดหวัง แต่ต้องให้ความเคารพในวิถีพี่น้องชาวมุสลิมที่นี่ด้วยนะจ๊ะ (2) หาดนราทัศน์ อ.เมืองนราธิวาส ‘หาดแห่งการพักผ่อน ที่ซึ่งเสียงคลื่นและเสียงกิ่งสนล้อลมแสนไพเราะ’ 

เป็นหาดรับแขกของเมืองนราธิวาสเลยก็ว่าได้ เพราะว่ากันว่าเป็นชายหาดสวยที่สุดของจังหวัดนี้ ทอดตัวยาวกว่า 4-5 กิโลเมตร สุดลูกหูลูกตา งามอย่างละมุนละไมด้วยเม็ดทรายละเอียดสีน้ำตาลอ่อนค่อนไปทางขาว ริมหาดมีแนวต้นสนทะเลขนาดใหญ่เรียงรายร่มรื่น เหมาะไปนั่งพักผ่อนหรือลงเล่นน้ำชิลชิล หรือจะไปนั่งฟังเสียงสนล้อลม ชมความงามของเกลียวคลื่นที่ทยอยกันสาดซัดเข้าหาฝั่ง นี่คือความสุขสงบในมุมเล็กๆ ของ ‘นราเมืองน่ารัก’
(3) หาดบ้านทอน ต.โคกเคียน อ.เมืองนราธิวาส ‘หาดแห่งเรือกอและ’

หาดบ้านทอน เป็นหาดทรายสีเหลืองนวลเนื้อนุ่ม ทอดตรงยาวหลายกิโลเมตร เคียงขนานไปกับอ่าวไทยสีฟ้าอ่อน ไอแดดเจิดจ้า ชายหาดมีเรือกอและของชาวประมงพื้นบ้านจอดเรียงราย มักจะแล่นออกทะเลหาปลากันตลอดคืน แล้วกลับเข้าฝั่งในยามเช้า หมู่บ้านทอนนี้มีการผลิตเรือกอและจำลองขายให้นักท่องเที่ยวด้วย เราจึงสามารถไปชมวิวทะเล เล่นน้ำ นั่งปิกนิก สัมผัสวิถีชุมชน ดูอู่ต่อเรือกอและ อันเป็นเสมือนจิตวิญญาณของพี่น้องชาวมุสลิมท้องถิ่นแห่งนราธิวาส

(4) อ่าวมะนาว ต.กะลุวอเหนือ อ.เมืองนราธิวาส ‘หาดสงบงาม ณ ที่ท้องฟ้าจุมพิตผืนน้ำ’ 

ได้ยินชื่ออ่าวมะนาว อย่าสับสนกับอ่าวมะนาวที่ประจวบคีรีขันธ์เด็ดขาด เพราะอ่าวมะนาวนราธิวาสนั้น สวยบริสุทธิ์ เงียบสงบ มีเสน่ห์ในแบบของตัวเอง อ่าวมะนาวทอดตัวอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติอ่าวมะนาว-เขาตันหยง หาดนี้ยาวกว่า 4 กิโลเมตร สลับกับโขดหินเป็นช่วงๆ โดยด้านหนึ่งติดกับเขาตันหยงและพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ด้วย ริมหาดมีแนวต้นสนและป่าชายหาด (Beach Forest) ร่มรื่น เหมาะนั่งปิกนิก แต่ชายหาดน้ำลึกและคลื่นแรง ลงเล่นต้องดูความปลอดภัยดีๆ
(5) วัดชลธาราสิงเห (วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย) หมู่ 3 ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ‘หมุดหลักปักเขตแดนสยาม ความงามแห่งพุทธศิลป์ริมน้ำตากใบ’ 

เป็นหนึ่งในวัดสำคัญ เพราะเกี่ยวข้องกับการปักปันเขตแดนระหว่างไทย-มาเลเซีย ในยุคอาณานิคมอังกฤษ รัฐบาลไทยใช้วัดนี้ รวมถึงพุทธศาสนา และพุทธศิลป์ เป็นเครื่องต่อรอง อังกฤษจึงไม่ยึดผืนดินส่วนนี้ไป วัดชลธาราสิงเหตั้งอยู่ริมแม่น้ำตากใบ มองไปทางขวาจะเห็นสะพานคอยร้อยปีที่ทอดเข้าสู่เกาะยาวได้ชัดเจน ภายในวัดมีศาลาไม้ลวดลายสีสันงดงาม เป็นพิพิธภัณฑ์เก็บรักษาสมบัติโบราณล้ำค่าของท้องถิ่น และมีพระอุโบสถหลังเก่าสมัยรัชกาลที่ 5 งดงามด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือพระภิกษุชาวสงขลา ประดิษฐานพระประธานปิดทองอร่าม จนแลไม่เห็นพระโอษฐ์สีแดง และพระเกศาสีดำ วัดนี้บรรยากาศเงียบสงบดีมาก ไปนั่งเล่นที่ศาลาไม้ริมแม่น้ำตากใบ ชื่นชมธรรมชาติได้ชิลๆ
(6) สะพานคอยร้อยปี อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ‘สะพานแห่งความโรแมนติก เชื่อมวิถีสองฝั่งลำน้ำตากใบ’ 

สะพานคอยร้อยปี ทอดเข้าสู่ชุมชนบนเกาะยาว เกาะที่ด้านหนึ่งติดแม่น้ำตากใบ อีกด้านติดทะเล มีหาดทรายขาวนวลน่าเที่ยว แต่กว่าจะมีการสร้างสะพานให้คนสัญจรสะดวก จากเกาะยาวข้ามมาฝั่งที่ทำการอำเภอตากใบ ก็ต้องรอกันนานถึง 100 ปี จึงเป็นที่มาของชื่อสะพานนี้ ขอบกว่าบรรยากาศบนสะพานสวยมาก อากาศสดชื่น เห็นแม่น้ำตากใบไหลเอื่อยๆ เย็นชื่นใจ ปัจจุบันสะพานไม้เก่า ยาว 345 เมตร เคียงคู่ด้วยสะพานปูนใหม่เอี่ยม เชื่อมโยงธรรมชาติและวิถีชีวิตสองฝากฝั่งเข้าด้วยกันอย่างสนิทแนบ
(7) ปลากุเลาเค็ม อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ‘สุดยอดอาหารถิ่น ที่ใครมากินก็ต้องติดใจ’ 

ปลากุเลา เป็นปลาทะเลชั้นดีมีราคา ที่คนนราธิวาสนิยมนำมาทำเป็นปลากุเลาเค็มแดดเดียว ทอดกินกับข้าว บีบมะนาวนิด ซอยหอมแดง โรยหน้าด้วยพริกขี้หนูลงไปหน่อย แหม แค่คิดก็น้ำลายสอแล้ว กินกับข้าวสวยร้อนๆ นะ เรียกว่าต้องเติมข้าวจานสองจานสามโดยไม่รู้ตัวเชียว มีชื่อเสียงที่สุดคือ ปลากุเลาเค็มอำเภอตากใบ เราสามารถซื้อขึ้นเครื่องบินกลับบ้านได้ เพราะเขามีกรรมวิธีแพ็กห่อพลาสติกและใส่กล่องเก็บกลิ่นอย่างดี มีหลายร้านให้เลือก เช่น ร้านอ้อยูงทองปลากุเลา โทร. 0-7358-1044, 09-2996-5641 และ ร้านปลากุเลาเค็ม คุณประสิทธิ์ ชัยกิจวัฒนะ โทร. 08-1766-3455 เป็นต้น
(8) สวนอาหารนัดพบยูงทอง อ.ตากใบ จ.นราธิวาส

เป็นร้านอาหารขึ้นชื่อ คล้ายร้านรับแขกบ้านแขกเมืองของอำเภอตากใบ เปิดมานานหลายสิบปี มีเมนูท้องถิ่นเด็ดๆ ให้ชิมเพียบ เช่น ปลากุเลาเค็มตากใบทอด, ยำมะม่วงเบา, ยอดใบเหลียงผัดไข่, ปลาเนื้ออ่อนทอดกระเทียม, แกงส้มปลากะพงยอดมะพร้าว, กุ้งต้มกะทิ, น้ำบูดูกุ้ง และอื่นๆ อีกเพียบ ปิดท้ายด้วยขนมหวานท้องถิ่นหาชิมยาก อย่างตะโก้มัน และขนมชั้นรูปดอกไม้หลากสี (โทร. 0-7358-1141, 08-7290-0558 เปิดเวลา 11.00-19.00 น.)
(9) ตลาดน้ำยะกัง ริมคลองยะกัง อ.เมืองนราธิวาส ‘เกี่ยวก้อยกันไปนั่งชิลในตลาดน้ำสุดเก๋’ 

ตลาดน้ำเปิดใหม่เก๋ไก๋ในตัวเมืองนราธิวาส เปิดเฉพาะวันศุกร์และเสาร์ ตั้งแต่เวลา 12.00-21.00 น. ในชุมชนยะกัง ซึ่งเป็นชุมชนโบราณคู่เมืองนรา มาวันนี้คนในชุมชนร่วมใจปรับโฉมแหล่งท่องเที่ยวใหม่ โดดเด่นด้วยร้านขายตามทางเดินเลาะริมน้ำยาวกว่า 700 เมตร ซึ่งมีอาหารและขนมโบราณกว่า 100 ชนิดให้ชิม เพื่อเป็นการสืบสานตำนานขนมโบราณเมืองนราไม่ให้สูญหาย ส่วนที่นั่งชิลของนักท่องเที่ยวก็เก๋ยิ่งกว่า เพราะสร้างเป็นสะพานไม้และที่นั่งยืนลงไปในน้ำ ส่วนยามค่ำคืนจะมีการแสดงพื้นบ้านหลากหลายให้ชม (10) ขนมอาเก๊าะ บ้านยะกัง อำเภอเมืองนราธิวาส ‘ขนมไข่ไส้หม้อแกง กินอร่อย อิ่มนาน’

อาเก๊าะ เป็นขนมพื้นบ้านแท้ๆ ของ 3 จังหวัดชายแดนใต้ สันนิษฐานกันว่า คำว่า ‘อาเก๊าะ’ อาจเพี้ยนมาจากคำว่า ‘อาเก๊ะ’ ที่แปลว่า ‘ยกขึ้น’ จากกรรมวิธีการผลิตขนมที่ต้องยกไฟด้านบนลงมาทุกครั้งเมื่อขนมสุกแล้ว ขนมชนิดนี้นิยมทำกันมากในช่วงเทศกาลถือศีลอดของพี่น้องชาวมุสลิม เพราะเป็นขนมกินอิ่มที่ให้พลังงานสูง รูปร่างคล้ายขนมไข่ ด้านนอกค่อนข้างกรอบ แต่เมื่อบิไส้ด้านในดูจะนิ่มหยุ่มคล้ายขนมหม้อแกง ส่วนผสมมีไข่ แป้ง ตะไคร้ (ดับกลิ่นคาวของไข่) นำ้ตาลมะพร้าว และน้ำกะทิคั้นสด ทั้งหมดคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน หยอดลงในเบ้าโลหะที่วางอยู่เหนือเตาไฟ ซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่เพียงเจ้าเดียวที่ยังใช้กาบมะพร้าวเป็นเชื้อเพลิง ทำให้ขนมอาเก๊าะหอมน่าทาน ผู้สืบทอดขนมอาเก๊าะโบราณเจ้าสุดท้าย คือ นายฟิตรี เจะมะ (โทร. 09-3675-1332) (11) กลุ่มผลิตภัณฑ์กระจูด บ้านทอนอามาน ต.โคกเคียน อ.เมืองนราธิวาส  ‘ด้วยสองมือและหัวใจ ถักทอจากเส้นสายสู่งานศิลป์’ 

กระจูด เป็นพรรณไม้จำพวกกกที่ขึ้นอยู่มากในป่าพรุแถบภาคใต้ ชาวบ้านนิยมนำมาทอเป็นเสื่อ กระบุง ตะกร้า ใช้กันในครัวเรือนมาเนิ่นนาน เช่นเดียวกับชาวบ้านทอนอามาน ที่ตั้งกลุ่มทำผลิตภัณฑ์กระจูดสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นขึ้นเมื่อ พ.ศ.2543 โดยใช้เวลาว่างหลังจากทำประมง มาช่วยกันทำผลิตภัณฑ์กระจูดที่มีทั้งรูปแบบดั้งเดิมและแบบที่พัฒนาขึ้นใหม่ให้ทันสมัย จนกลายเป็น OTOP นราธิวาส ซึ่ง คุณพัชรินทร์ บินเจ๊ะมิง นอกจากจะเป็นผู้นำกลุ่มแล้ว ยังเป็นครูสอนในโครงการศิลปาชีพของสมเด็จพระราชินีด้วย สนใจเปิดให้เข้าชมและช้อปปิ้งทุกวัน โทร. 08-6289-6671, 0-7356-5070 (12) ผ้าซาโลมาบาติกลายโบราณ อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ‘อาภรณ์เลอค่าที่เต็มไปด้วยเรื่องราว’

ผ้าบาติกและผ้าปาเต๊ะ เป็นผ้านุ่งพื้นบ้านที่พี่น้องชาวมุสลิมสวมใส่กันในชีวิตประจำวัน ซึ่งร้านซาโลมาบาติกที่เปิดมากว่า 50 ปี ได้มีการพัฒนารูปแบบลวดลายให้ทันสมัยขึ้น โดยคิดใหม่ทำใหม่ นำลวดลายโบราณจากการประดับตกแต่งมัสยิดของท้องถิ่น มาดัดแปลงพิมพ์เพนท์ลงบนผืนผ้า ทุกวันนี้นิยมใช้กันทั้งในท้องถิ่นและส่งออกต่างประเทศด้วย ไปถึงนราธิวาสแล้วห้ามพลาด ต้องมีไว้ในครอบครองสักผืน สนใจติดต่อ www.facebook.com/saloma.patek.9 หรือ โทร. 09-4609-2411
(13) ผ้ายาดาบาติก ‘สีสันสดใส จากใจรักสู่ผืนผ้าสวย’ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส

Yada Batik เป็นร้านขายผ้าบาติกที่มีชื่อเสียงในนราธิวาส ด้วยรูปแบบที่แปลกใหม่ถูกใจวัยรุ่น สีสันสดใส และมีผลิตภัณฑ์หลากหลายให้เลือกใช้ได้ในหลายโอากาส จุดเด่นของผ้าบาติกร้านนี้คือ ใช้เนื้อผ้าฝ้ายผสมไหม ใส่แล้วเย็นสบาย ระบายอากาศดี เหมาะกับเมืองร้อนอย่างบ้านเรา อีกอย่างคือสีที่ใช้จะไม่ซีดจางง่าย และที่สำคัญสุดๆ คือ เป็นงานทำมือทุกชิ้น เราสามารถขอเข้าชมการผลิตได้ โดยเขาจะใช้แม่พิมพ์โลหะและแม่พิมพ์ไม้ สนใจติดต่อ www.facebook.com/YadaBatikNarathiwat/ หรือ โทร. 08-1898-7035
(14) พิพิธภัณฑ์เมืองนราธิวาส อ.เมืองนราธิวาส  ‘ศูนย์รวมเรื่องเล่าความเป็นมา จากเมืองบางนราสู่นราธิวาส’ 

ตั้งอยู่ที่ถนนพิชิตบำรุง ต.บางนาค ในเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส โดยใช้อาคารศาลากลางจังหวัดหลังเก่า มาพัฒนาจัดแต่งใหม่เป็นพิพิธภัณฑ์บอกเล่าประวัติความเป็นมา ศาสนา ชาติพันธุ์ ชนเผ่า งานศิลปหัตถกรรม เรือกอและ กีฬาปักษ์ใต้ อาหารถิ่น ฯลฯ รวมถึงวิถีชีวิตของชาวนราธิวาสในทุกแง่มุมอย่างละเอียด อาคารมี 2 ชั้น ชั้นล่างแบ่งเป็น 6 ห้อง ส่วนชั้นบนแบ่งเป็น 8 ห้อง นอกจากนี้ยังมีห้องเฉลิมพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงพระราชทานงานศิลปาชีพสู่นราธิวาสด้วย (พิพิธภัณฑ์ฯ เปิดวันพุธ-อาทิตย์ เวลา 10.00-16.00 น. โทร. 0-7351-2207) (15) พิพิธภัณฑ์คัมภีร์อัล-กุรอาน อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส ‘สมบัติล้ำค่าแห่งแผ่นดิน ชมอัล-กุรอานสวยที่สุดในโลก!’ 

อัล-กุรอาน มาจากรากศัพท์ภาษาอาหรับแปลว่า ‘การอ่าน หรือ การรวบรวม’ เป็นคัมภีร์สุดท้ายที่อัลลอฮ์ได้ประทานแก่นบีมุอัมมัด ซึ่งชาวมุสลิมถือว่าเป็นนบีคนสุดท้าย และการจะเป็นชาวมุสลิมที่ดีได้ก็ต้องศรัทธาในพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์นี้ ปัจจุบันที่ โรงเรียนสมานมิตรวิทยา (ปอเนาะศาลาลูกไก่) ได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ชั่วคราว เก็บรักษาคัมภีร์อัล-กุรอานโบราณ อายุ 150-1,100 ปี ไว้มากถึง 78 เล่ม (กำลังมีการสร้างพิพิธภัณฑ์ใหม่ในบริเวณใกล้ๆ กัน คาดว่าจะเสร็จภายใน พ.ศ. 2561) ทั้งหมดเป็นปกหนังสัตว์ เนื้อกระดาษโบราณและเปลือกไม้ เขียนตัวอักษรด้วยหมึกสีดำเป็นภาษายาวีและภาษาอาหรับโบราณ บางเล่มใช้สี 5 สี ประดับทองคำเปลว งดงามมาก โดยมีอยู่เล่มหนึ่งได้รับคัดเลือกให้เป็น ‘คัมภีร์อัล-กุรอานสวยที่สุดในโลกมุสลิม ตั้งแต่ปี 2016’ จากสถาบันหอสมุดสุไลมานียะห์ นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี เพราะมีการประดับทองคำเปลว และประดับลวดลายถึง 30 ลาย เขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2256 โดยรูสะมีแล จังหวัดปัตตานี (สนใจเข้าชม โทร. 08-4973-5772, 09-5202-4342)
(16) มัสยิด 300 ปี บ้านตะโละมาเนาะ ต.ลุโบะสาวอ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ‘สุดยอดงานสถาปัตย์แห่งศรัทธา งามข้ามกาลเวลาไม่เคยเสื่อมคลาย’ 

ชาวบ้านแถบนั้นเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ‘มัสยิดวาดีลฮูเซ็น หรือมัสยิดตะโละมาเนาะ’ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2167 โดยนายวันฮูเซ็น ฮัส-ซานาวี ผู้อพยพมาจากบ้านสะนอยานนา จังหวัดปัตตานี เดิมทีใช้ใบลานมุงหลังคา ต่อมาใช้กระเบื้องว่าว ตัวมัสยิดสร้างด้วยสถาปัตยกรรมจีนประยุกต์ผสมมลายู โดยสร้างด้วยไม้ตะเคียนทั้งหลัง จุดเด่นที่ไม่เหมือนใครคือ สร้างเป็นอาคารสองหลังเชื่อมถึงกัน, มีฐานรองรับหลังคาหน้าจั่ว และหอขาน หรือหออาซาน สร้างด้วยศิลปะจีนประยุกต์งามแปลกตา นักท่องเที่ยวอย่างเราๆ ชมได้แค่ภายนอก แต่ถ้าอยากชมด้านในต้องขออนุญาตโต๊ะอิหม่ามประจำหมู่บ้านก่อน เพราะถือเป็นโบราณสถานที่สำคัญยิ่งของจังหวัดนราธิวาส
(17) พุทธอุทยานเขากง ต.ลำภู อ.เมืองนราธิวาส  ‘นมัสการพระพุทธรูปกลางแจ้ง งดงามและใหญ่ที่สุดในแดนใต้’ 

นราธิวาสเป็นเมืองสงบ เป็นดินแดนแห่งความเชื่อและศรัทธาของหลายศาสนา ที่มาอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ทั้งอิสลาม พุทธ จีน และอื่นๆ ใครไปสัมผัสก็ต้องประทับใจ อย่างที่ ‘วัดเขากง’ อันเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธทักษิณมิ่งมงคล องค์พระพุทธรูปกลางแจ้งที่ถือว่าสวยงามและมีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคใต้ องค์พระสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กประดับกระเบื้องโมเสกสีทองอร่าม ศิลปะสกุลช่างอินเดียใต้ หน้าตักกว้าง 17 เมตร สูงถึง 24 เมตร ประดิษฐานอยู่บนเนินเขาลูกย่อมๆ แลโดดเด่นน่าศรัทธาอย่างยิ่ง
(18) พระพิฆเนศเมืองนรา ต.บางนาค อ.เมืองนราธิวาส  ‘ตื่นตาพระพิฆเนศงามที่สุดในภาคใต้’ 

สร้างขึ้นด้วยความศรัทธาเปี่ยมล้นของ คุณอินดาร์แซล บุศรี เจ้าของกิจการห้างดีวรรณพาณิชย์ในเมืองนราธิวาส เพราะตัวท่านเลื่อมใสศรัทธาในองค์พระพิฆเนศ ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปะ ความเมตาและความสำเร็จ อีกทั้งท่านต้องการตอบแทนบุญคุณแผ่นดินไทยที่ได้อาศัยมากว่า 60 ปี เพื่อให้องค์พระพิฆเนศเป็นที่สักการะบูชาสำหรับผู้ที่นับถือ จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมแห่งหนึ่งมาจนถึงปัจจุบัน องค์พระพิฆเนศนี้มีขนาดหน้าตักกว้าง 7 เมตร สูงถึง 16 เมตร ประทับนั่งในท่าลลิตาสนะ สวมศิลาภรณ์มงกุฎประดับโมเสคแก้วหลากสี งวงเยื้องไปทางขวาแล้วเวียนกลับมาทางซ้ายขององค์ เหนือพระนาคีมีสายธุรำเป็นงูแผ่พังพานใต้พระถันด้านซ้าย ส่วนงาข้างซ้ายนั้นหักเพื่อให้นำสิ่งไม่ดีออกไป ขณะที่พระหัตถ์ขวาบนถือดอกบัวเป็นสัญลักษณ์แทนสติปัญญา พระหัตถ์ขวาล่างถือประคำแสดงท่าประทานพรให้ความสำเร็จ พระหัตถ์ซ้ายบนถือปรศุและขอช้างรวมกันเป็นสัญลักษณ์ของการฟันฝ่าอุปสรรค ให้ความคุ้มครองและเดินไปสู่ความรู้โดยปราศจากมายา พระหัตถ์ซ้ายล่างถือชามขนมโมทกะเป็นสัญลักษณ์รางวัลแห่งความเจริญรุ่งเรือง
(19) ศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ บ้านโต๊ะโมะ ต.ภูเขาทอง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส ‘ต้นทางแห่งศรัทธาของลูกมังกร ใกล้เหมืองโต๊ะโม๊ะ’ 

ที่นี่คือ ศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ (เจ้าแม่ทับทิม) ดั้งเดิม ซึ่งชาวจีนที่อพยพเข้ามาร่อนทองจากมาเลเซีย ช่วยกันก่อสร้างขึ้น ในยุคที่ฝรั่งเศสได้สัมปทานทำเหมืองทอง นายช่างหัวหน้าเหมืองชื่อ ‘กัปตันคิว’ ไม่เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ หลายครั้งร่างทรงเจ้าแม่ทำนายไม่ให้ขุด ก็ยังดื้อรั้น จึงเกิดดินถล่มทับคนงานตายนับร้อย กัปตันคิวจึงเดินทางไปเมืองจีนเพื่อนำองค์จำลองเจ้าแม่กลับมาประดิษฐานไว้ที่ศาลในอำเภอสุคิริน ต่อมาเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เหมืองทองต้องปิดตัวลง ผู้คนแตกกระสานซ่านเซ็น เจ้าแม่จึงได้ไปเข้าฝันนายสรรกุล กับเถ้าแก่กังร้านบึงจีบฮวด พ่อค้าในอำเภอสุไหงโก-ลก ให้ช่วยกันเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหาที่ดินและเรี่ยรายทรัพย์สร้างศาลเจ้าแม่ขึ้นใหม่ที่อำเภอสุไหงโก-ลก ทุกวันนี้ชาวบ้านในพื้นที่ รวมถึงชาวจีนฝั่งมาเลเซียก็ยังเคารพศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้แม่มาก จนเรียกขานว่า ‘เจ้าแม่โต๊ะโมะ’ ตามที่ตั้งของศาลนั่นเอง
(20) ศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ‘สืบสานตำนานเจ้าแม่ จากสุคิรินถึงถิ่นสุไหงโก-ลก กลิ่นอายแห่งศรัทธาไม่เคยจาง’ 

เป็นศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะแห่งที่สอง ซึ่งย้ายมาจากอำเภอสุคิริน (ใกล้เหมืองทองโต๊ะโมะ) หลังจากที่ฝรั่งเศสหยุดทำเหมืองทอง และเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ตัวศาลตั้งอยู่ใจกลางเมืองในย่านเศรษฐกิจของอำเภอสุไหงโก-ลก มีชาวไทยและจีนจากฝั่งมาเลเซียเข้ามาสักการะจำนวนมากทุกวัน โดยเฉพาะในวันที่ 23 เดือน 3 ของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันเกิดของเจ้าแม่ จะมีพิธีฉลองใหญ่ ผู้คนเข้าร่วมนับหมื่น (21) เหมืองทองโต๊ะโมะ ต.ภูเขาทอง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส ‘เดินป่าผจญไพร ค้นหาหุบเขาทองคำที่ยังมีลมหายใจ’ 

ไม่น่าเชื่อเลยว่าในป่าดงดิบรกชัฏลึกเร้นของอำเภอสุคิริน บนเทือกเขาโต๊ะโมะและเขาลิโซ ห่างจากชายแดนไทย-มาเลเซีย เพียง 800 เมตร จะเป็นที่ตั้งของเหมืองทองคำเก่าอันมีชื่อเสียงลือลั่นไปทั้งประเทศ ในนาม ‘เหมืองโต๊ะโมะ’ ประวัติเล่าว่าเร่ิมต้นในอดีตมีชาวจีนคนหนึ่งชื่อ นายฮิว ซิ้นจิ๋ว นำคน 50 คน จากชายแดนมาเลเซีย เดินทางร่อนทองขึ้นมาตามลำห้วยลิโซ ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำสายบุรี พวกเขาร่อนทองได้มากมายเมื่อเข้าใกล้ต้นน้ำ จึงเกิดยุคตื่นทอง ผู้คนนับพันเข้ามาตั้งหมู่บ้าน รัฐบาลไทยจึงตั้ง นายอาฟัด ลูกชายของนายฮิว แซ่จิ๋ว เก็บภาษีทองคำ แล้วให้ดำรงตำแหน่ง หลวงวิเศษสุวรรณภูมิ ต่อมาในยุคหลังฝรั่งเศสได้มาขอสัมปทานทำเหมือง ได้ทองคำเนื้อดีไปมากมาย และเมื่อล่วงถึงยุคโจรจีนผู้ก่อการร้ายมลายา เหมืองทองโต๊ะโมะก็ปิดตัวลงอย่างถาวร มีเพียงชาวบ้านละแวกนั้นเข้าไปร่อนทองหาค่ากับข้าวนิดๆ หน่อยๆ ส่วนอุโมงค์ลำเลียงยาว 1 กิโลเมตร ซึ่งเคยทะลุจากไทย-มาเลเซียได้ ก็ถูกปิดลงเช่นกัน ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ประวัติเหมืองทองคำที่เคยยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคใต้ของเรา (22) น้ำตกปาโจ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส  ‘สายน้ำใส ธรรมชาติยิ่งใหญ่ พงไพรเขียวพิสุทธิ์’ 

น้ำตกปาโจเป็นน้ำตกใหญ่กลางป่าดิบอันชุ่มชื้นและอุดมสมบูรณ์ ของอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี น้ำตกชั้นที่ 1 ถือว่าสวยสุด เพราะเป็นผาหินลาดชันลงมากว่า 60 เมตร มีน้ำหลากไหลให้ชมและให้ลงแช่เล่นตลอดปี ยิ่งใหญ่มาก ที่สำคัญบริเวณผืนป่าข้างน้ำตกยังมี ‘ใบไม้สีทอง’ หรือ ‘ย่านดาโอ๊ะ’ เลื้อยพันอยู่อย่างสวยงาม นับเป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่นที่ค้นพบครั้งแรกของโลกที่นี่ เมื่อ พ.ศ. 2531 สร้างความงามแปลกตา คุณค่า และชื่อเสียงให้แก่ป่าดิบชื้นผืนนี้อย่างมาก (23) ต้นกะพง (สมพง) ยักษ์ 30 คนโอบ อายุกว่า 100 ปี ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา ต.ภูเขาทอง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส ‘อลังการไม้ยักษ์กลางพงไพร ไม่ไปไม่รู้’ 

ชวนกันไปเดินป่าระยะสั้นๆ แค่ไม่กี่ร้อยเมตร ข้ามลำห้วยใสๆ และป่าดิบชื้นสวยๆ เข้าไปชมต้นสมพงยักษ์ ยืนต้นตระหง่านกว่า 30 เมตร ทะลุเรือนยอดไม้อื่นขึ้นไปอย่างโดดเด่น โดยมีพูพอนขนาดใหญ่ตรงโคนต้นแผ่กว้างคล้ายปีก ค้ำยันลำต้นสูงลิบนี้เอาไว้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ฯ ทรงเคยเสด็จมาทอดพระเนตรแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2543
(24) ป่าพรุโต๊ะแดง (ศูนย์ศึกษาและวิจัยธรรมชาติป่าพรุสิรินธร) อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ‘ป่าพรุผืนใหญ่สุดแดนสยาม สุดยอดอาณาจักรลึกเร้น แหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพ’ 

ป่าพรุ (Swamp Forest) คือระบบนิเวศน์พิเศษแสนเปราะบางที่พบไม่มากในเมืองไทย ป่าพรุโต๊ะแดงเนื้อที่กว่า 120,000 ไร่แห่งนี้ล่ะ คือป่าพรุผืนใหญ่ที่สุดของสยาม เก็บรักษาพืชพรรณและสัตว์ป่านานาชนิดเอาไว้ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาธรรมชาติ เขาจัดทำเส้นทางเดินป่าเป็นสะพานไม้ยกระดับอย่างดี พร้อมด้วยป้ายสื่อความหมายธรรมชาติ และจุดพัก ตลอดทางเราจะได้สัมผัสป่าพรุที่ยังมีชีวิต เป็นป่าที่มีน้ำขัง ทับถมด้วยเศษใบไม้ซากพืชซากสัตว์ จนน้ำและดินมีความเป็นกรดสูง ทว่าน้ำไม่เคยเน่าเสีย เพราะมีการไหลเวียนตลอด จึงมีปลาอาศัยอยู่ได้ โดยเฉพาะปลากะแมะ เสือปลา นาก ฯลฯ ส่วนพืชเด่นๆ เช่น หมากแดง กะพ้อ ระกำ หลุมพี หวาย หลาวชะโอน ฯลฯ ดูๆ ไปคล้ายป่าอะเมซอนเมืองไทยไม่มีผิดเลยนะ (25) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.กะลุวอเหนือ อ.เมืองนราธิวาส ‘ต้นแบบวิถีพอเพียง ทรงพระราชทานศาสตร์พระราชา เพื่อความสุขแห่งปวงประชาอย่างยั่งยืน’ 

เป็นศูนย์การพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 1 ใน 6 ศูนย์ฯ ของไทย ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงจัดตั้งขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาที่ราษฎร์เผชิญอยู่ อย่างที่ศูนย์ฯ พิกุลทอง นี้ พระองค์ทรงต้องการแก้ปัญหาเรื่อง ดินเปรี้ยวจัด เพื่อให้ราษฎร์ธสามารถใช้พื้นที่ปลูกข้าวได้ จึงทรงทดลอง ‘แกล้งดิน’ ใช้น้ำสลับกับปูนขาวแก้ปัญหาดินเปรี้ยวได้สำเร็จ ด้วยพระอัจฉริยภาพอย่างสูง ปัจจุบันศุนย์ฯ พิกุลทองเป็นสถานที่ฝึกอบรมดูงานครบวงจรตามแนวพระราชดำริ ของพระองค์ท่าน ทั้งโครงการแกล้งดิน, หญ้าแฝก, การจัดการน้ำ, เลี้ยงปลา, ปศุสัตว์, ปลูกข้าว, ปลูกไม้ผลนานาชนิด, ไบโอดีเซล, งานป่าไม้ ฯลฯ ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ราษฎร์ที่สนใจนำไปปฏิบัติโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ส่วนนักท่องเที่ยวก็เข้าเยี่ยมชมได้ทุกวัน แต่ถ้ามาเป็นหมู่คณะ ควรติดต่อล่วงหน้านะจ๊ะ โทร. 0-7363-1038 เขามีรถพ่วงพร้อมวิทยากรพานำชมฟรีจ้า (26) พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ต.กะลุวอเหนือ อ.เมืองนราธิวาส ‘บ้านของพระราชา-พระราชินี สถานที่ฝึกอาชีพแด่ราษฎร’ 

เป็นพระตำหนักทรงงาน ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2516 บนเขาตันหยงมัส เพื่อใช้เป็นที่ประทับทรงงานและแปรพระราชฐานของพระองค์ รวมถึงสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ โดยรอบพระตำหนักประดับด้วยพรรณไม้ดอกไม้ใบงดงามตลอดปี อีกทั้งยังมีส่วนอาคารฝึกศิลปาชีพให้ราษฎรด้วย โดยเฉพาะเครื่องปั้นดินเผา เครื่องจักสาน และเซรามิค นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมบริเวณภายนอก หรือติดต่อเป็นหมู่คณะเพื่อเข้าชมงานศิลปาชีพได้ (27) อาหารเช้าเมืองนราธิวาส

ด้วยความที่นราธิวาสเป็นเมือง ‘พหุวัฒนธรรม’ คือมีชนหลายเชื้อชาติศาสนาอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสงบสันติมาเนิ่นาน ทั้งมุสลิม จีน และไทย สะท้อนออกมาในอาหารที่หลากหลายด้วย โดยเฉพาะอาหารเช้าที่ช่วยให้การท่องเที่ยวและการเริ่มต้นวันใหม่สดใสมีพลัง นอกจากอาหารไทยพวกข้าวแกงปักษ์ใต้ต่างๆ แล้ว ที่โดดเด่นคืออาหารมุสลิม ที่มีทั้งโรตีจิ้มน้ำแกงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำแกงถั่ว แกงเนื้อ แกงไก่ แกงปลา หรือจะกินข้าวหุงกับมะพร้าว เรียกว่า ‘นาซิดาแฆ’ กินกับแกงไก่ แกงเนื้อ แกงปลา แกงแพะ ล้วนเป็นอาหารอิ่มอร่อยเปี่ยมคุณค่า แต่ถ้าตื่นเช้าก็อาจจะอดนะจ๊ะ ฮาฮาฮา
(28) ร้านแอโรตี อำเภอเมืองนราธิวาส ‘นั่งสังสรรกันในร้านโรตีสุดชิลยามค่ำ’

เป็นร้านโรตีขึ้นชื่อที่เปิดในยามค่ำเท่านั้น ไปจนถึงสี่ห้าทุ่มบางทีก็ขายหมดแล้วเพราะลูกค้าแน่นมาก ร้านนี้ร่อยจริงจังมีเมนูให้เลือกหลากหลาย ทั้งโรตีน้ำแกง โรตีนมสด โรตีไข่ โรตีมะตะบะ โรตีกล้วย โรตีโอวัลติน ฯลฯ กินกับเครื่องดื่มร้อนเย็นพวกชากาแฟต่างๆ ใครที่ไม่กินหวานต้องสั่งให้ชัดเจนด้วย เพราะถ้าไม่สั่งให้ดีอาจได้หวานเจี๊ยบ ฮาฮาฮา ยามค่ำถ้ายังไม่ง่วงไม่รู้จะไปไหน ก็ชวนเพื่อนออกมานั่งพูดคุยสรวนเสเฮฮากันที่ร้านแอโรตีนะจ๊ะ (29) ร้านฮงฮวด อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ‘อาหารเช้าสไตล์จีน-มุสลิม แสนอร่อย’

เป็นร้านอาหารยามเช้าที่น่าลิ้มลองอีกแห่งหนึ่งในตัวเมืองสุไหงโกลก เพราะมีทั้งอาหารเช้าสไตล์จีนและมุสลิมให้ชิมเพียบ ไม่ว่าจะเป็นซาลาเปาไส้ต่างๆ และน้ำชากาแฟตามแต่ชอบใจ แถมยังมีข้าวกินกับแกงต่างๆ สไตล์มุสลิมด้วย เรียกว่าถ้าขยันตื่นเช้า มานั่งร้านนี้เป็นได้อิ่มแปล้แน่ๆ เชียว นอกจากนี้ฝั่งตรงข้ามยังมีสาขาใหม่ เป็น ‘ร้านฮงฮวด เบเกอร์รี่’ ด้วย (โทร. 07-361-1290) เปิดตั้งแต่ 7.00-12.00 น.
(30) ร้านอ้วนบะกุ๊ดเต๊ อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ‘อาหารเช้าสุขภาพสไตล์จีนรสเด็ด’

ร้านมีชื่อเสียงที่เปิดขายบะกุ๊ดเต๊มาหลายสิบปี ความอร่อยของเขาอยู่ที่น้ำซุปเครื่องยาจีนที่เข้มข้นกำลังดี ซดคล่องคอ รสไม่จัดเกินไป เนื้อหมูนุ่ม และใส่ผักมาให้กำลังดีเลย กินกับปาท่องโก๋หรือข้าวสวยร้อนๆ สั่งชุดเล็กราคา 100 บาท ก็อิ่มแล้ว แถมเป็นอาหารบำรุงสุขภาพด้วย เริ่มต้นยามเช้าด้วยบักกุ๊ดเต๊ร้านนี้ เจ๋ง! โทร. 08-1698-9234 ร้านเปิดวันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 7.00-12.00 น.

SPECIAL THANKS โครการ ‘ซาลามัตชายแดนใต้’ จ.นราธิวาส-ยะลา-ปัตตานี

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ททท สำนักงานนราธิวาส-ยะลา-ปัตตานี โทร. 0-7352-2411 , 0-7354-2345

เกาะจำ Ocean Beach Resort กระบี่ ความทรงจำดีๆ ที่น่าจดจำ

‘เกาะจำ’ เกาะที่ใครหลายคนหลงรักเมื่อได้สัมผัส และจากไปพร้อมกับ ‘ความทรงจำดีๆ’ ที่มีต่อธรรมชาติ หาดทราย ท้องทะเล และรอยยิ้มของผู้คน ด้วยว่าเกาะจำคือดินแดนอันพิสุทธิ์ เป็นส่วนตัว ยังคงความอุดมของธรรมชาติทั้งบนบกและในท้องทะเล

กว่า 500 ปีมาแล้ว ที่ชาวเลอูรักลาโว้ยกลุ่มแรกได้เดินทางโดยเรือลำน้อย มาตั้งรกรากอยู่บริเวณหัวเกาะจำ พวกเขาใช้ชีวิตเรียบง่าย ผูกพันอยู่กับเกลียวคลื่น หมู่ปลา และการขึ้นลงของกระแสน้ำในแถบนี้ ในเวลาต่อมาชุมชนค่อยๆ ขยายตัวไปสู่บ้านติงไหร และบ้านเกาะปูที่อยู่ไกลออกไป ทำให้เกาะจำคึกคักมีชีวิตชีวายิ่งขึ้น กระทั่งต่อมา ชาวมาเลเซียและชาวจีนที่โล้สำเภาเข้ามาค้าขาย ก็ได้ตั้งรกรากลงบนเกาะจำเช่นกัน เกิดเป็นความหลากหลายของชาติพันธุ์ อันเป็นเสน่ห์ของเกาะจำมาจวบทุกวันนี้

แม้ว่าเกาะจำจะมิใช่หมุดหมายหลักของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนจังหวัดกระบี่ ทว่านี่คือข้อดี ที่ช่วยเก็บรักษาความเป็นธรรมชาติ และวิถีชีวิตดั้งเดิมของผู้คนบนเกาะจำไว้ได้อย่างงดงาม ทุกวันนี้เรายังสามารถเข้าไปสัมผัสหาดทรายอันเงียบสงบ ปราศจากความวุ่นวาย ไร้ความอึกทึก เกาะจำจึงกลายเป็นหมุดหมายแห่งการมาพักผ่อน และช๊าตพลังชีวิตของเราอย่างแท้จริง ไม่ต่างจาก

สวรรค์ส่วนตัวที่แอบซ่อนอยู่ในหมู่เกาะทะเลกระบี่

การเดินทางสู่เกาะจำนั้นแสนง่ายดาย ถ้าไม่ซื้อแพ็กเกจทัวร์ของรีสอร์ทต่างๆ ก็สามารถเดินทางเอง

คือเมื่อลงเครื่องบินที่สนามบินนานาชาติกระบี่แล้ว สามารถต่อรถแท็กซี่จากสนามบิน ระยะทาง 25 กิโลเมตร สู่ท่าเรือแหลมกรวด อ.เหนือคลอง เพื่อลงเรือเมล์โดยสารที่มีบริการเกือบตลอดวัน (ค่าโดยสาร คนไทย 50 บาท / ชาวต่างชาติ 100 บาท) สู่เกาะจำที่ท่าเรือมูตู จากนั้นสามารถเหมารถสองแถวที่ท่าเรือไปยัง
หนึ่งในรีสอร์ทสวยที่สุดและกลมกลืนกับธรรมชาติที่สุดบนเกาะจำ ตั้งอยู่บนหาดติงไหร ‘เกาะจำ โอเชี่ยน บีช รีสอร์ท’ (Koh Jum Ocean Beach Resort) รีสอร์ทสวยที่สร้างกลมกลืนอยู่กับธรรมชาติ สายลม แสงแดด เกลียวคลื่น และความสงบงามของเกาะจำ ที่ยังคงบริสุทธิ์เหลือเกินบ้านพักของ Koh Jum Ocean Beach Resort มี 5 แบบ แต่ละแบบสร้างกลมกลืนกับแมกไม้ชายเขาและหาดทราย โดยเฉพาะบ้านเรือ (Boat House) 2 หลัง ที่เหมาะจะไปฮันนีมูนกันสุดๆต้นไทรใหญ่อายุกว่า 300 ปี ที่แผ่กิ่งก้านอยู่ภายในรีสอร์ท ถือเป็น Landmark สำคัญ และเป็นเหมือนจิตวิญญาณแห่งธรรมชาติ ที่ช่วยปกปักรักษาผู้คนที่นี่ให้อยู่รอดปลอดภัย

บ้านพัก 5 แบบ ของที่นี่ ประกอบด้วย Ocean View Superior Cottage,  Ocean View Deluxe Cottage, Ocean View Honeymoon Villa, Beach Front Boat House และ Beach Front Family 

ภายในบ้านพักแต่ละหลัง ใช้โทนสีอบอุ่นเป็นหลัก เพิ่มบรรยากาศให้น่าพัก อีกทั้งใช้วัสดุที่แลกลมกลืนกับธรรมชาติโดยรอบ ห้องฮันนีมูน ก็ต้องมีอะไรเก๋ๆ หวานๆ แบบนี้ประดับตกแต่งเมื่ออาทิตย์ลาลับ ราตรีค่อยๆ คืบคลานเช้ามา Koh Jum Ocean Beach Resort ก็สว่างไสวสวยงามด้วยแสงไฟมลังเมลือง เพิ่มเติมชีวิตชีวาให้กับผู้เข้าพักนอกจากทะเลจริงที่เราสามารถไปดำผุดดำว่ายได้แล้ว ที่นี่ยังมี สระว่ายน้ำขนาดใหญ่ ให้ได้สนุกกันทั้งครอบครัวด้วยนั่งเล่นปล่อยอารมณ์พร้อมเครื่องดื่มเย็นๆ สักแก้ว ที่สระว่ายน้ำของ Koh Jum Ocean Beach Resortนั่งเล่นบนชิงช้าหน้าหาด คือความสุขเล็กๆ อย่างหนึ่งที่ค้นพบ ณ Koh Jum Ocean Beach ResortOcean Spa พักผ่อนนอนนวดไทย ได้ฟังเสียงคลื่นไปด้วย น่าอิจฉาจริงๆ หาดติงไหร ด้านหน้า Koh Jum Ocean Beach Resort คือหนึ่งในจุดชมพระอาทิตย์ตกสวยที่สุดบนเกาะจำ มาพักที่ Koh Jum Ocean Beach Resort ไม่มีคำว่าน่าเบื่อแน่นอน เพราะตอนกลางวันมีกิจกรรมให้ทำมากมาย ทั้งการพายเรือคายัค, แพดเดิล บอร์ด, เดินป่าขึ้นจุดชมวิวบนยอดเขา, นั่งเรือสปีตโบ๊ทออกไปดำน้ำตื้นกันที่เกาะไผ่ เกาะยูง และหมู่เกาะพีพี แบบ One Day หรือ Half Day Trip เกาะไผ่ เป็นจุดดำน้ำที่ยังมีปะการังและฝูงปลานานาชนิดให้ชม
เที่ยวเกาะพีพีดอน
แวะไปจอดเรือชมอ่าวมาหยาจากด้านหน้าลิบๆ เพราะตอนนี้ยังปิดให้ธรรมชาติฟื้นตัว แบบไม่มีกำหนดหลังจากออกไปดำน้ำเล่นเที่ยวเกาะกันมาท้ังวัน ยามเย็นก็กลับสู่ Koh Jum Ocean Beach Resort อีกครั้ง นั่งชิลริมหาด พร้อมเครื่องดื่มที่โปรดปราน Dinner พร้อมเพื่อนๆ และคนรู้ใจ อิ่มอร่อยกับ Seafood จัดเต็ม ทั้งกั้ง กุ้ง ปูม้า หมึก ปลา และหอยชักตีน ที่ถือเป็น Signature Cuisine ของจังหวัดกระบี่กั้งตัวใหญ่ๆ จับกันมาสดๆ โดยชาวประมงพื้นบ้านที่รอบๆ เกาะจำนี่เองปูม้าตัวเขื่อง เนื้อแน่นอย่าบอกใครหอยชักตีนตัวใหญ่มาก เกาะจำยังมีให้ชิมเพียบเกาะจำเป็นแหล่งที่ยังคงพบกุ้งมังกรได้เสมอ เพราะท้องทะเลที่นี่อุดมสมบูรณ์ มีเพียงการประมงขนาดเล็ก ของชาวประมงชายฝั่งที่จับขายแบบพอเพียงเกาะจำถือเป็นบ้านของกั้งทะเลหลายชนิด ทั้งกั้งกระดาน, กั้งตั๊กแตน, กั้งนางฟ้า, กั้งลายเสือ ฯลฯ แต่อาจจะไม่ได้จับกันทุกวัน ถ้าอยากกินต้องสั่งชาวบ้านล่วงหน้าวิถีชีวิตของชาวบ้านบนเกาะจำ ยังกินอยู่อย่างเรียบง่ายพอเพียงจริงๆ และอิงอยู่กับทรัพยากรทางทะเลเป็นหลัก เกาะจำเป็นสังคมแบบพหุวัฒนธรรม คือมีคนหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสงบมาหลายชั่วอายุคน ทั้งชาวเล ชาวไทยจีน ชาวไทยมุสลิม แลชาวไทยพุทธ ป่าชายเลนของเกาะจำยังอุดมสมบูรณ์มาก จึงกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ และอนุบาลสัตว์ทะเลตามธรรมชาติ ซึ่งจะเติบโตไปเป็นกุ้งหอยปูปลาให้จับขายจับกินได้ไม่มีวันหมด ศาลเจ้าพ่อโต๊ะบุหรง เป็นศูนย์รวมจิตใจผู้คนบนเกาะจำมาเนิ่นนาน เพราะเป็นเสมือนผู้ปกปักรักษาผู้คนให้สงบสุขคิดจะเที่ยวกระบี่ครั้งต่อไป ถ้าไม่อยากไปแออัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวเดิมๆ ต้องไม่ลืมนึกถึง ‘เกาะจำ’ ความทรงจำดีๆ ที่มีให้เราเสมอสนใจติดต่อ Koh Jum Ocean Beach Resort เกาะจำ จ.กระบี่ โทร. 06-3079-0944 / www.kohjumoceanbeachresort.com / 

info@kohjumoceanbeachresort.com

12 ที่เที่ยวผจญภัย มุมมองใหม่ใน ‘สตูล’

1. ถ้ำเลสเตโกดอน อ.ทุ่งหว้า ‘ถ้ำลอดทะเลยาวที่สุดในเมืองไทย’ ความภูมิใจของ Geo Park สตูล

แหล่งท่องเที่ยวสุดตื่นเต้น กับการพายเรือคายัคในถ้ำลอดทะเลยาวที่สุดในเมืองไทย กว่า 4 กิโลเมตร ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง ถ้ำนี้เดิมชื่อถ้ำวังกล้วย มีการค้นพบฟันกรามของช้างสเตโกดอนโบราณ อายุกว่า 1.8 ล้านปี รวมถึงกระดูกบรรพบุรุษแรดและหมึกโบราณด้วย ภายในถ้ำเป็นปล่องให้เราพายเรือคายัคเข้าไปชมหินงอก หินย้อย เสาหิน บางจุดเป็นม่านหินย้อย (Flow Stone) ที่มีเกล็ดผลึกแร่แคลไซต์และซิลิก้า สะท้อนแสงไฟฉายของเราเป็นประกายระยิบระยับ ภายในถ้ำนี้ไม่ร้อนและไม่อับชื้น เพราะมีลมอ่อนๆ พัดผ่านอยู่เกือบตลอดเวลา (สนใจ ติดต่อล่วงหน้า โทร. 08-4858-5100 เพราะรับนักท่องเที่ยวแค่ 200 คน/วัน) 
2. ปราสาทหินพันยอด เกาะเขาใหญ่ อำเภอละงู ‘เวิ้ง Lagoon หินปูนมหัศจรรย์ในท้องทะเล’

เกาะเขาใหญ่ เป็นเกาะหินปูนกลางทะเลในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา นั่งเรือสปีตโบ๊ท ออกไปจากท่าเรือปากบาราเพียง 40 นาที เป็นที่ตั้งของ ‘ปราสาทหินพันยอด’ ซึ่งเป็นเกาะหินปูนสีเทายอดแหลมตะปุ่มตะป่ำเหมือนฟันเลื่อยอยู่กลางทะเล ส่วนฐานมีโพรงหินให้เราพายเรือคายัคลอดเข้าไปสู่ลากูนด้านใน จากนั้นสามารถเท่ียวต่อ โดยนั่งเรือหางยาวอ้อมไปอีกด้านของเกาะเขาใหญ่ สู่ ‘อ่าวฟอสซิล’ ซึ่งจะพบทั้งซากฟอสซิลนอร์ติลอยด์ (หมึกทะเลโบราณ) และไทรโลไบต์ (แมงดาทะเลโบราณ) ปรากฏอยู่บนหน้าผาหินอย่างชัดเจน แถมยังมีช่องหินรูปหัวใจให้เราถ่ายภาพคู่ด้วยอย่างเก๋ไก๋
3. สะพานข้ามกาลเวลา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา อำเภอละงู ‘ร่องรอยบนภูผาหิน และสุดยอดจุดชม Sunset’

บริเวณเขาโต๊ะหงายใกล้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา มีแหล่งท่องเที่ยวใหม่ในเชิงธรณีให้ชม คือ ‘สะพานข้ามกาลเวลา’ ที่มีกิมมิกเก๋ไก๋ สร้างเป็นสะพานเดินเลียบทะเลยาวเหยียด ไปชมหน้าผาหินสองสี ของสองช่วงเวลาทางธรณีของโลก คือมีหินทรายสีแดงในยุคแคมเบรียน (อายุ 542-488 ล้านปี) แทรกสลับอยู่กับหินปูนสีเทายุคออร์โดวิเชียน (อายุ 488-444 ล้านปี) ชี้ให้เห็นถึงการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก (สอบถามเพิ่มเติม อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา โทร. 0-7474-0272)

4. ถ้ำภูผาเพชร อำเภอมะนัง ‘ถ้ำใหญ่อันดับ 4 ของโลก’

หนึ่งในถ้ำใหญ่และสวยงามที่สุดของไทย ปากทางเข้าอยู่ที่หมู่ 9 บ้านควนดินดำ ตำบลปาล์มพัฒนา ถ้ำนี้มีเนื้อที่ถึง 50 ไร่ แบ่งเป็นห้องใหญ่ๆ กว่า 20 ห้อง แค่มุดปากถ้ำเข้าไปเห็นโถงแรกถึงกับตะลึง เพราะเพดานถ้ำสูงกว่า 100 เมตร อลังการด้วยเสาหินปูนยักษ์ และหินงอกหินย้อยนับไม่ถ้วน ประวัติเล่าว่าค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2517 กระทั่งปี พ.ศ. 2541 มีการสำรวจพบกระดูกมนุษย์โบราณ และเศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ จึงสันนิษฐานกันว่า ถ้ำภูผาเพชรเคยเป็นที่อยู่ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว

            ไฮไลท์ในถ้ำภูผาเพชรมีอยู่เพียบ เช่น ‘ห้องโดมศิลาเพชร’ ที่ต้องหยุดยืนมองราวต้องมนต์สะกด เพราะหินงอกหินย้อยเมื่อต้องแสงไฟจะทอประกายระยิบจับตาจับใจ ถัดมาคือ ‘ห้องปะการัง’ มีหินงอกหินย้อยรูปทรงคล้ายปะการังใต้ทะเล ส่วน ‘ห้องผ้าม่าน’ ก็มีแผ่นหินแผ่เป็นริ้วคล้ายม่านผืนใหญ่ นอกจากนี้ยังมี ‘ห้องลานเพลิน’ เป็นลานหินกว้างคล้ายเวทีการแสดง และ ‘ห้องมรกต’ ก็มีโพรงขนาดยักษ์ เปิดทางให้เห็นป่าดิบภายนอก จนแสงแดดส่องเข้ามาสะท้อนกับตะไคร่และมอสจนกลายเป็นสีเขียวมรกตทั้งถ้ำ
5. ถ้ำเจ็ดคต อำเภอมะนัง ‘ความงามใต้พิภพ 400 ล้านปี’

เป็นถ้ำน้ำทะลุให้พายเรือคายัคลอดไปได้อย่างสนุกตื่นเต้น เริ่มต้นจากปากทางเข้าที่ตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง ไปทะลุงที่ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู ระยะทางประมาณ 700 เมตร ใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง ถ้ำเจ็ดคตกว้าง 70-80 เมตร แบ่งเป็น 7 คูหา บางช่วงเพดานถ้ำสูงถึง 100-200 เมตร ลำคลองที่ไหลผ่านในถ้ำคือ คลองมะนัง มีน้ำไหลตลอดปี แต่ฤดูแล้งน้ำจะตื้นหน่อย แต่ก็ยังใสเย็นอยู่

6. ล่องแก่งวังสายทอง (คลองลำโลน) อำเภอละงู ‘ล่องแก่งผจญไพรในป่าดิบ’

คลองลำโลน หรือคลองวังสายทอง สามารถล่องแก่งได้ทั้งปี เป็นแก่งที่ไม่อันตราย เพราะกระแสน้ำแรงเพียงระดับ 1-3 เท่านั้น จึงล่องได้สนุกทั้งครอบครัว สองฟากฝั่งเป็นป่าดิบ มีแมกไม้พงไพรพืชพรรณนานาชนิดให้ชม  บางจุดมีหาดทรายเล็กๆ เป็นโป่งผีเสื้อด้วย น่ารักมากๆ การล่องแก่งนี้ระยะทาง 7 กิโลเมตร ใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง นับว่าคุ้มค่ากับการไปเยือนจริงๆ

7. หมู่บ้านชาวเซียมัง อำเภอละงู ‘ชนเผ่าแห่งพงไพรในคาบสมุทรภาคใต้’

ชาว ‘เซียมัง’ เป็นคนละเผ่ากับ ‘ซาไก’ เพราะชาวซาไกเป็นกลุ่มที่อาศัยอยู่ในแหลมมลายูตอนล่างของมาเลเซีย (พบในรัฐเประ ปะหัง และสลังงอร์) มีผิวสีดำแดงคล้ำหรือเหลือง ตัวค่อนข้างสูง ผมขดไปมาเป็นลอนไม่หยิก ส่วนคนป่าเซียมัง มีถิ่นเดิมอยู่ในแอฟริกา ผิวดำเข้ม ตัวเตี้ย ริมฝีปากหนา ผมหยิกหย็องหรือขมวดกลมเป็นก้นหอย ปัจจุบันพบชาวเซียมังในไทยประมาณ 300 คน อาศัยหากินอยู่กลางป่าลึกในจังหวัดตรัง และสตูล การเข้าชมต้องให้ไกด์ท้องถิ่นในอำเภอละงูพาไปครับ 8. พิพิธภัณฑ์ Geo Park  อำเภอทุ่งหว้า ‘ย้อนรอยอดีตสัตว์โลกล้านปีในสตูล’

หลังจากจังหวัดสตูล ได้รับการประกาศให้เป็น ‘อุทยานธรณีโลก’ หรือ Geo Park โดยองค์การ UNESCO เมื่อปี พ.ศ. 2559 ครอบคลุม 4 อำเภอ คือ เมือง, ทุ่งหว้า, มะนัง, ละงู ก็ได้มีการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์อุทยานธรณี อ.ทุ่งหว้า ขึ้น เพื่อให้ผู้สนใจได้รับทราบข้อมูลเชิงลึก ว่าในอดีตเมื่อหลายล้านปีก่อน สตูลมีสัตว์ทะเลและสัตว์โลกโบราณอะไรอยู่บ้าง (สนใจ ติดต่อ สำนักงานอุทยานธรณีสตูล อ.ทุ่งหว้า โทร. 06-3465-4924 www.satun-geopark.com) 9. ปันหยาบาติก อำเภอละงู ‘แรงบันดาลใจหัตถศิลป์จากธรรมชาติ’

หลังจากผจญภัยเที่ยวธรรมชาติ ย้อนอดีตหลายล้านปีในสตูลกันจนจุใจแล้ว ก็ได้เวลาช้อปปิ้งก่อนกลับบ้าน ที่ร้าน ‘ปันหยาบาติก‘ ซึ่งเขาใช้สีธรรมชาติ และคิดค้นลายสัตว์ทะเลโบราณมาพิมพ์ลงบนผ้า ให้เข้ากับคอนเซปต์การท่องเที่ยว Geo Park สตูล ได้อย่างลงตัว พร้อมด้วยกิจกรรม DIY ให้นักท่องเท่ียวได้ทดลองมัดย้อมผ้าด้วยตัวเองด้วย เก๋มากๆ (สนใจ โทร. 08-1093-4222, 08-6790-0993) 10. มุกอันดามัน อำเภอท่าแพ ‘เลอค่าไข่มุกแห่งทะเลใต้’

ทะเลสตูลเป็นน่านน้ำที่มีแร่ธาตุและแพลงก์ตอนอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งน้ำก็ยังสะอาด จึงเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงหอยมุกพันธุ์ดี ซึ่งวันนี้ได้ยกระดับทั้งคุณภาพ ดีไซน์ และความสวยงาม ลองแวะชม และครอบครองเป็นเจ้าของกันได้ โดยเฉพาะคุณสาวๆ มีหลายแบบหลายราคาให้เลือกครับ (สนใจ โทร. 08-9735-0707, 08-3657-2165 )
11. ฉิม Melon อำเภอทุ่งหว้า ‘ความอร่อยที่ไม่กล้าปฏิเสธ’

สตูลวันนี้มีคนทำเกษตรแนวก้าวหน้า เชิง Agro-Tourism นำเมล่อนพันธุ์ดีจากญี่ปุ่นเข้ามาปลูก ขายทั้งผลสดเนื้อหวานฉ่ำ อีกทั้งมีแปรรูปเป็นแยม น้ำเมล่อน และไวน์เมล่อนเจ้าแรกในเมืองไทย สนใจแวะเที่ยวแวะชิม หรือซื้อกลับบ้านได้เลยจ้า หรือจะเข้ามาดูงานเป็นหมู่คณะก็ได้ (สนใจ โทร. 08-1839-8022) 12. ร้านวิสาหกิจชุมชนปากน้ำ ซีแอนด์ฟิชชิ่งทัวร์ อ่าวนุ่น อำเภอละงู ‘ชิมเนูระดับประเทศ ในคอนเซป์ Geo Park’

ชิมเมนูของหวานที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ เพื่อตอบรับคอนเซปต์การท่องเที่ยวอุทยานธรณีสตูล (Satun Geo Park) คือ ‘ดาวล้อมเดือนสะเทือนไตรโลไบรท์’ ลักษณะคล้ายบัวลอยลูกใหญ่ เนื้อแป้งนุ่มเหนียว ไส้ในเป็นไข่แมงดาทะเลกรุบกรอบ หวานๆ ไม่เหม็นคาวแม้แต่น้อย ส่วนน้ำกะทิก็หอมชื่นใจ กินได้กินดี (สนใจ โทร. 08-1738-3219)

ขอบคุณ ททท. สำนักงานจังหวัดสตูล สอบถามเพิ่มเติม โทร. 06-2595-7748

สัมผัสวัดเขาอ้อ สำนักตักศิลาแห่งไสยเวทย์ปักษ์ใต้ จ.พัทลุง

‘พัทลุง’ นามนี้คือดินแดนแสนสงบ แม้จะถูกจัดฐานะเป็นเมืองรองทางการท่องเที่ยว ทว่าคนที่เคยได้สัมผัส ‘พัทลุง’ อย่างลึกซึ้งแล้วจะรู้ว่า เมืองนี้มีเสน่ห์ น่ารัก น่าหลงใหล เป็นเมืองสงบเนิบช้า งดงามด้วยธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม และน้ำใจไมตรีของผู้คน อีกทั้งเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ ในน้ำมีปลาในนามีข้าว อยู่ติดกับทะเลน้อยและทะเลหลวง ซึ่งเป็นส่วนทิศเหนือของทะเลสาบสงขลา ห้วงน้ำใหญ่ที่ต่อเติมระบบนิเวศให้ยั่งยืนเมื่อกล่าวถึงแหล่งท่องเที่ยวทางศาสนาในพัทลุงแล้ว ชื่อ ‘วัดเขาอ้อ’ ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน ย่อมต้องโดดเด่นขึ้นมาเป็นที่หนึ่งอย่างแน่นอน ด้วยเหตุผลว่าวัดเขาอ้อคือศูนย์รวมของสรรพวิทยาการหลากหลายแขนงมานานหลายร้อยปีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นไสยเวทย์ คาถาอาคม ยาสมุนไพรนานาชนิด ฯลฯ ก็ล้วนได้รับการคิดค้นสืบสานส่งต่อกันมาจากบูรพาจารย์วัดเขาอ้อในอดีต จนวัดแห่งนี้ได้รับการขนานนามให้เป็น ‘สำนักเขาอ้อ’ หรือ ‘สำนักตักศิลามหาเวทย์แห่งปักษ์ใต้’ เนื่องจากลูกศิษย์ลูกหาหลายท่านของวัดเขาอ้อ ล้วนเป็นผู้มีมนต์คาถาเข้มขลัง คงกระพันชาตรี มีวีรกรรมสำคัญจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะ ‘ขุนพันธ์’ (ท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช) มือปราบหนังเหนียวแห่งปักษ์ใต้ ก็ได้เคยมาร่ำเรียนวิชาคาอาคม และอาบน้ำว่านในรางยาที่วัดเขาอ้อถึง 7 ครั้ง ครั้งละ 7 วัน ถือเป็นผู้เดียวในประวัติศาสตร์ที่ลงแช่ว่านอาบยาได้นานที่สุด ทำให้ขุนพัธ์กลายเป็นมือปราบหนังเหนียว และได้ออกปราบโจรผู้ร้าย เป็นที่ครั่นคร้ามไปทั่ว รอยพระพุทธบาทจำลอง บนเขาอ้อ จ.พัทลุงสำหรับผู้ที่มีความศรัทธาเป็นลูกศิษย์ลูกหาของวัดเขาอ้อ หรือนักท่องเที่ยวที่ชอบตระเวนไหว้พระ การมาเยือนวัดเขาอ้อสักครั้งในทริปพัทลุงถือว่าคุ้มสุดๆ เพราะจะได้พาตัวและหัวใจมาสัมผัสถึงถิ่นถึงที่ สำนักตักศิลาแห่งไสยเวทย์ที่เข้มขลังที่สุดของภาคใต้ ได้เดินขึ้นภูเขาไปกราบพระ นมัสการรอยพระพุทธบาทจำลอง และเดินเข้าไปภายในถ้ำฉัททันต์บรรพต ซึ่งเคยเป็นถ้ำที่เหล่าฤาษีและพราหมณ์ใช้บำเพ็ญพรตในอดีต ถือเป็นถ้ำศักดิ์สิทธิ์และบรรยากาศลึกลับมาก ภายในมีพระพุทธรูปปูนปั้นเรียงรายอยู่ตามผนัง และมีรางยาแช่ว่าน (จำลอง) ของท่านขุนพันธ์ ให้ชมด้วย ซึ่งของจริงในอดีตนั้นใช้เรือไม้ที่นอนได้ 2 คน นำเข้ามาตั้งไว้ในถ้ำ แล้วต้มน้ำว่านยา 108 ชนิดที่ปลุกเสกแล้ว มาเทลงในเรือไม้ให้นอนแช่ จนครบเวลาที่กำหนดตามพิธี
ปากทางเข้าถ้ำฉัททันต์บรรพต ซึ่งเคยใช้เป็นสถานที่บำเพ็ญพรตของฤาษีและพราหมณ์เมื่อหลายร้อยปีก่อนจริงๆ แล้วตามประวัติเล่ากันว่า สำนักเขาอ้อได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 800 โดยพราหมณ์กลุ่มหนึ่งที่อพยพมาจากอินเดีย เนื่องจากในยุคนั้นศาสนาพุทธในชมพูทวีปกำลังรุ่งเรือง ศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) ที่เริ่มลดอิทธิพลลง จึงเคลื่อนออกจากชมพูทวีปมาหาฐานที่มั่นใหม่ เป็นยุคที่เรียกว่า ‘ดราวิเดียนยาตรา’ (ชาวดราวิเดียน คือชนพื้นเมืองดั้งเดิมของอินเดีย) โดยพราหมณ์เหล่านั้นได้ใช้ถ้ำที่เขาอ้อ เป็นศูนย์กลางถ่ายทอดสรรพวิชาวิทยาคมให้กับชนชั้นสูง ขุนนาง และลูกของกษัตริย์ จนกระทั่งถึงยุคที่ศาสนาพุทธได้เข้ามาตั้งมั่นที่เมืองนครศรีธรรมราชอย่างมั่นคงแล้ว และแผ่ลงมาถึงสำนักเขาอ้อด้วย เหล่าพราหมณ์จึงมอบวิชาพระเวทย์และวิทยาคมทั้งหมดไว้ให้กับ ‘พระอาจารย์ทอง’ วัดน้ำเลี้ยว และได้สืบทอดกันมาหลายร้อยปีจนถึงปัจจุบัน ทำให้วัดเขาอ้อมีความผสานผสมกลมกลืนของพุทธศาสนาและความเชื่อพิธีกรรมของพราหมณ์ อย่างเห็นได้ชัดเจนมากบรรยากาศภายในโถงถ้ำใหญ่ตรงกลาง ของถ้ำฉัททันต์บรรพต วัดเขาอ้อ จ.พัทลุงรางยาแช่ว่าน (จำลอง) ของขุนพันธ์ ภายในถ้ำฉัททันต์บรรพต วัดเขาอ้อ จ.พัทลุงบูรพาจารย์ผู้มีวิชาเข้มขลังของสำนักวัดเขาอ้อ ที่สืบสานสรรพวิชาอาคมมาถึงปัจจุบัน มีอยู่หลายท่านด้วยกัน ได้แก่ พราหมณ์ฤาษีพระอาจารย์ทอง, สมเด็จเจ้าจอมทอง, พระอาจารย์ไชยทอง, พระอาจารย์พรหมทอง, พระอาจารย์ทองในถ้ำ, พระอาจารย์ทองหน้าถ้ำ, พระอาจารย์ทองหูยาน, พระอาจารย์ทองเฒ่า และพระอาจารย์ปาล ซึ่งล้วนเป็นปรมาจารย์ของสำนักเขาอ้อทั้งสิ้น นอกจากความเชื่อเรื่องไสยเวทย์ สรรพวิทยาคม และเครื่องลางของขลังอันศักดิ์สิทธิ์ที่วัดเขาอ้อแล้ว ในแง่ของการท่องเที่ยว เราสามารถเข้าไปเที่ยวชมหรือกราบพระกันได้ตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงเดือน 5 และเดือน 10 ของทุกปี ที่จะมีการจัด ‘พิธีไหว้ครูบูรพาจารย์เขาอ้อ’ มีการจัดพิธีสำคัญๆ ขึ้นมากมาย ตั้งแต่การแช่ว่านอาบยา (ปัจจุบันรับได้เพียงปีละ 6-12 คน) พิธีสะเดาะห์เคราะห์ต่อชะตา พิธีหุงข้าวเหนียวดำ และพิธีกินเหนียวกินมัน จะมีลูกศิษย์ลูกหาและผู้ศรัทธาจากทั่วประเทศหลั่งไหลเข้าร่วมงานดังกล่าว ตลอด 3 วัน 3 คืน จำนวนหลายพันคน นับว่าน่าตื่นตาตื่นใจและน่าตื่นเต้นมาก ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมหาดูได้ยาก และศักดิ์สิทธิ์เช่นนี้ ถือว่ามีหนึ่งเดียวในภาคใต้และในเมืองไทยจริงๆ ในช่วงการจัดงานไหว้ครูบูรพาจารย์วัดเขาอ้อ จะมีพิธีแช่ว่านอาบยา โดยย้ายจุดจัดพิธีจากในถ้ำฉัททันต์บรรพต มาเป็นบริเวณเชิงเขาอ้อ ที่ต้องเดินขึ้นบันไดไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้นปรัมพิธีแช่ว่านอาบยา เดือนกุมภาพันธ์ 2562 ณ เชิงเขาอ้อ ปัจจุบันรางยาได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นบ่อที่ลงไปอาบแช่พร้อมกันได้ 6 คน (ปีนี้รับได้ 12 คน) โดยใช้เวลาแช่ 3 วัน 3 คืน พักทุก 2-3 ชั่วโมง การลงนอนอาบแช่ว่านยา 108 ชนิด ต้องลงไปนอนทำสมาธิ สวดภาวนาบริกรรมคาถาให้ใจสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน เพื่อให้ได้ผลเข้มขลังคงกระพันชาตรีดีที่สุดตัวยาที่ใช้ในการแช่ว่านอาบยาวัดเขาอ้อ มีถึง 108 ชนิด โดยตัวยาหลักคือ บอระเพ็ด, ชิงช้าชาลี, ว่านหนามบ่อ, ว่านปลาไหลเผือก ฯลฯ นำมาต้มแล้วเทลงไปขณะร้อนๆ ในรางยา โดยอาจารย์เปลี่ยน หัทยานนท์ จะทำการบริกรรมคาถากำกับไว้ด้วย นอกจากนี้ยังห้ามไม่ให้สตรีเข้ามาในปรัมพิธีเด็ดขาด เพราะพิธีจะเสื่อมการนอนอาบน้ำว่านแช่ยาวัดเขาอ้อ ตลอด 3 วัน 3 คืน ผู้เข้าร่วมต้องนอนภาวนาบริกรรมคาถาอย่างมีสมาธิ และหลังจากเสร็จพิธีแล้ว ต้องอยู่ในศีลในธรรม รักษาศีล 5 อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะศีลข้อ 3 ห้ามละเมิดเด็ดขาด ถ้าพลาดพลั้งน้ำมันและยาต่างๆ จะออกจากตัวจนหมด ต้องกลับมาทำพิธีเกิดใหม่ให้บริสุทธิ์ แล้วแช่ว่านอาบยาลงคาถาใหม่อีกครั้ง อาจารย์เปลี่ยน หัทยานนท์ เจ้าพิธีแช่ว่านอาบยาฝ่ายฆราวาส โดยท่านเป็นศิษย์ก้นกุฎิคนสุดท้ายของพระอาจารย์ปาลวัดเขาอ้อ ท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาสำคัญๆ มาครบถ้วน ทั้งวิชาหุงข้าวเหนียวดำ วิชาเสกน้ำมันงาให้แข็ง และวิชาแช่ว่านอาบยา เป็นต้น อาจารย์เปลี่ยนเล่าว่า ปัจจุบันตัวยาที่จะใช้ในพิธีกรรมนี้หายากขึ้นเรื่อยๆ เพราะป่าไม้ลดน้อยลง การเก็บว่านยา 108 ชนิด ต้องเดินทางไปไกลถึงจังหวัดสตูล ตรัง และนครศรีธรรมราช มีความยากลำบากมากในการบุกป่าฝ่าดงเข้าไป แต่ท่านก็ยังคงสืบทอดพิธีต่อไปมิให้สูญหาย เพื่อชนรุ่นหลังนอกจากผู้ศรัทธาจำนวน 12 คน ที่ได้เข้าพิธีนอนแช่น้ำว่านอาบยานั้น ในบริเวณวัดก็ยังมีการนำว่าน 108 ชนิด เช่นเดียวกับที่ใช้ในการอาบแช่ในรางยา มาต้มในกระทะใบบัวใหญ่ แจกจ่ายให้ผู้ศรัทธาที่มาเข้าร่วมงาน ถือว่าเป็นน้ำว่านศักดิ์สิทธิ์ ที่ช่วยให้สุขภาพดี ป้องกันสิ่งชั่วร้าย และมีพุทธคุณลึกล้ำเกินกว่าจะบรรยายได้หมด
ในบริเวณวัด มีการนวดพื้นบ้านเพื่อรักษาโรค และคลายปวดเมื่อยกันด้วย พ่อหมอทำงานไม่หยุดหย่อน เพราะมีคนมารอคิวกันตลอดวันเลยทีเดียวในช่วงเย็นของวันแรก วัดเขาอ้อได้จัด ‘พิธีสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา’ ให้กับญาติโยมและลูกศิษย์ลูกหาที่มาเข้าร่วมพิธีไหว้ครูบูรพาจารย์วัดเขาอ้อในปี 2562 เพื่อทำให้เราบริสุทธิ์ทั้งกายใจเหมือนคนที่เกิดใหม่ จะได้ไปเข้าร่วมพิธีหุงข้าวเหนียวดำ และพิธีกินเหนียวกินมัน ในวันต่อๆ ไป พิธีสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา วัดเขาอ้อ เดือนกุมภาพันธ์ 2562วันถัดมามีพิธีศักดิ์สิทธิ์จัดภายในพระอุโบสถวัดเขาอ้อ คือ ‘พิธีหุงข้าวเหนียวดำ’ ด้วยน้ำว่าน 108 ชนิด พร้อมกับลงคาถากำกับเอาไว้ (พิธีนี้ห้ามสตรีเข้ามาภายในพระอุโบสถ) นับเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ที่หาดูได้ยากมาก
ข้าวเหนียวดำที่ผ่านพิธีหุงด้วยน้ำว่านยา 108 ชนิด และเสกคาถากำกับมาตลอด 1 วันเต็ม บัดนี้สุกดีแล้ว จากนั้นต้องทิ้งไว้ให้เย็นตัว 1 คืน ก่อนนำมาปั้นเป็นก้อนกลมเล็กๆ ในวันต่อไปวันที่สาม วันสุดท้ายของพิธีในปี 2562 คือ ‘พิธีกินเหนียวกินมัน’ ซึ่งจัดขึ้นภายในพระอุโบสถวัดเขาอ้อ ให้ผู้ที่นอนแช่ว่านอาบยามาตลอด 3 วัน 3 คืน ได้มาลงคาถามะ อะ อุ กำกับที่ตัวไว้อีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับกินเหนียว (ข้าวเหนียวดำ) และกินมัน (น้ำมันงา) ที่ผ่านการปลุกเสกแล้ว ปีนี้มีผู้เข้าร่วมพิธีกว่า 400 คน ล้วนเป็นชายที่เชื่อมั่นศรัทธาในความเข้มขลังของวิทยาคมวัดเขาอ้อทั้งสิ้นเหล่าชายชาตรีทยอยเข้าร่วมพิธีกินเหนียวกินมัน ตามลำดับที่ได้รับ ทุกคนต้องถอดเสื้อและใส่กางเกงขาสั้น (หรือถกขากางเกงขึ้น) เพราะพิธีกรรมนี้ ต้องนำข้าวเหนียวดำปลุกเสกป้ายมือ ทาไปทั่วตัว โดยลูบขึ้น 3 ครั้ง ให้คาถาและความเข้มขลังต่างๆ แทรกซึมเข้าสู่ภายในร่างกาย ในขณะที่พระอาจารย์บริกรรมคาถากำกับ และใช้นิ้วโป้งกดไว้ที่สะดือผู้เข้าร่วมพิธีด้วยอาจารย์เปลี่ยน หัทยานนนท์ ทำการป้อนข้าวเหนียวดำ 3 คำ ให้ผู้เข้าร่วมพิธีแต่ละคน โดยแต่ละคำต้องท่องคาถา มะ อะ อุ กำกับลงไป ผู้เข้าร่วมพิธีต้องนั่งชันเข่า วางเท้าทั้งสองลงบนหนังเสือที่มีเหล็กกล้าวางอยู่ และมีหนังหมีวางไว้บนศรีษะ หลังจากเสร็จพิธีแล้วผู้เข้าร่วมพิธีต้องยึดมั่นในพระรัตนตรัย อยู่ในศีลในธรรม ยึดมั่นศีล 5 อย่างเคร่งครัด วิชาอาคมความขลังต่างๆ ของพิธีกรรมตลอด 3 วัน จึงจะอยู่กับกายสำหรับเหล่าลูกศิษย์ลูกหาและผู้ศรัทธาที่เป็นสตรี ไม่สามารถเข้าร่วมพิธีกินเหนียวกินมัน ในพระอุโบสถวัดเขาอ้อได้ ต่างก็มารอคอยกันเนืองแน่นที่หน้าต่างด้านนอก โดยถือบัตรคิวมารอรับกันอย่างเป็นระเบียบ เพื่อนำข้าวเหนียวดำที่ผ่านพิธีกรรมปลุกเสกอันศักดิ์สิทธิ์นี้ไปกิน ไปบูชา หรือนำไปให้ญาติสนิทมิตรสหายของตนศรัทธาวัดเขาอ้อไม่เคยเปลี่ยน ความเข้มขลังแห่งไสยเวทย์สำนักตักศิลาเขาอ้อไม่เคยตาย ทุกปีเรายังคงเดินทางมาสัมผัสพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์หนึ่งเดียวไม่เหมือนใครนี้ได้ ณ วัดเขาอ้อ ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน ดินแดนที่อวลด้วยประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ และศรัทธา ผสมกลมกลืนกันอย่างสง่างามสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ททท. สำนักงานพัทลุง – นครศรีธรรมราช โทร. 0-7534-6515-6

Special Thanks : ขอบคุณภาพถ่ายพิธีสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา และภาพพิธีกินเหนียวกินมัน จากคุณสุเทพ ช่วยปัญญา เว็บไซต์ The Way News