ปั่นท่องเที่ยว CSR ตามหาพลับพลึงธาร จ.ชุมพร-ระนอง

พลับพลึงธาร 2

พลับพลึงธาร หลายคนคงเคยได้ยินชื่อนี้มาบ้างแล้ว แต่อาจเป็นชื่อใหม่สำหรับใครหลายคน พลับพลึงธารได้รับฉายาว่าเป็น “ราชินีแห่งไม้น้ำในป่าปักษ์ใต้” เพราะเธอคือพรรณไม้สุดพิเศษ ตามธรรมชาติดั้งเดิมพบเพียงแห่งเดียวในโลกที่ คลองนาคา จังหวัดระนอง เท่านั้น

เธอจึงเป็นพรรณไม้อันแสนเปราะบาง ขึ้นอยู่ในลำธารน้ำใสกลางป่าดิบ ที่ปราศจากการรบกวนของมนุษย์ โดยลำธารที่เธอชอบขึ้นอยู่นั้น มักจะเป็นพื้นทรายปนกรวด น้ำไหลตลอด และคุณภาพน้ำใสสะอาดดีเยี่ยม
พลับพลึงธาร 3

ทว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ผลกระทบจากการรุกล้ำของมนุษย์ ทำให้พลับพลึงธารตามธรรมชาติลดลงอย่างน่าใจหาย จนเป็นที่หวั่นเกรงกันว่ามันจะสูญพันธุ์ไปจากเมืองไทย และจากโลก!

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานชุมพร ระนอง จึงจับมือร่วมกับภาครัฐและเอกชน ที่เห็นความสำคัญของพรรณไม้หายากของโลกอย่างพลับพลึงธาร ร่วมกันจัดงานสำคัญ “ปั่นท่องเที่ยวและ CSR ตามหา…พลับพลึงธาร” ขึ้นเมื่อวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2559 นำนักปั่นที่มีจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อม สู่เส้นทางสีเขียวชุมพร-ระนองพลับพลึงธาร 4 พลับพลึงธาร 5 พลับพลึงธาร 6

งาน CSR สุดเจ๋งในครั้งนี้ มีพิธีปล่อยตัวจักรยานตามหาพลับพลึงธารกันที่ ด้านหน้าที่ว่าการอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร โดยมี ท่านเลิศพรไชย ไชยฤทธิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงาน ปล่อยตัวจักรยานกว่า 300 คันออกไปตามเส้นทาง สู่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา จังหวัดระนอง ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้ไปนอนแค้มปิ้งกลางป่ากัน 1 คืน ก่อนจะได้ร่วมกันปลูกพลับพลึงธารกันในวันรุ่งขึ้นพลับพลึงธาร 7

พันธมิตรที่ร่วมกันจัดงานยิ่งใหญ่ขึ้นในครั้งนี้ ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานชุมพร ระนอง, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา, อำเภอพะโต๊ะ, สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดระนอง, ศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดระนอง, สายการบินนกแอร์ (สถานีชุมพรและระนอง) และธนาคารกรุงเทพ จำกัดพลับพลึงธาร 8

เพื่อนนักปั่นน่องเหล็ก มาตั้งแถวรอปล่อยตัว บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอพะโต๊ะ
พลับพลึงธาร 9

รอยยิ้มแห่งความสุขที่ได้ทำความดีร่วมกัน ปั่นจักรยานไปปลูกพลับพลึงธาร ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา แต่ละคนมาในชุดจัดเต็มทั้งนั้นเลยนะ

พลับพลึงธาร 10

พร้อมค่ะ งานดีๆ แบบนี้นานๆ จะเกิดขึ้นสักครั้ง จะพลาดได้ไงนะพลับพลึงธาร 11 พลับพลึงธาร 12 พลับพลึงธาร 13 พลับพลึงธาร 14

ได้เวลาปล่อยตัว จักรยาน CSR ตามหา…พลับพลึงธาร โดยท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรพลับพลึงธาร 15.1

ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ร่วมถ่ายภาพกับคณะเยาวชนนักปั่น รวมถึงท่านผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานชุมพร ระนอง, ตัวแทนจากนกแอร์, ธนาคารกรุงเทพ และมิตรสหายใจดีจากจังหวัดระนอง ชุมพร ที่ช่วยกันสร้างสรรค์ให้งาน CSR อันมีคุณค่านี้เป็นจริง
พลับพลึงธาร 15

ได้เวลาที่รอคอย ปั่นจักรยานไปตามหาพลับพลึงธาร ราชินีแห่งไม้น้ำ กันดีกว่านะพวกเราพลับพลึงธาร 16.1 พลับพลึงธาร 16

เส้นทางปั่นจักรยานจากจังหวัดชุมพร-ระนอง เป็นทางคดเคี้ยวขึ้นลงเขา ผ่านป่าดิบอันอุดมสมบูรณ์ สวยงาม อากาศบริสุทธิ์สดชื่น ไหล่ทางกว้าง ปริมาณรถน้อย จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพ และตามหาพลับพลึงธารในครั้งนี้พลับพลึงธาร 17 พลับพลึงธาร 18 พลับพลึงธาร 19 พลับพลึงธาร 20

จุดแรกที่นักปั่น CSR ตามหา…พลับพลึงธาร ได้หยุดพัก คือ บ้านดิน กลุ่มโฮมสเตย์เศรษฐกิจพอเพียงตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร (โทร. 08-7287-2745, 09-1854-0074)พลับพลึงธาร 21

หมู่บ้านดินแห่งนี้ไม่ธรรมดา เพราะเป็นรีสอร์ทเล็กๆ แนวเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์เรียนรู้ครบวงจร จึงมีนักท่องเที่ยว (โดยเฉพาะชาวต่างชาติ) มาพักแบบ Long Stay เป็นจำนวนมากตลอดปี ที่นี่เขามีกิจกรรมเดินป่า, ล่องแพ, ศึกษาพรรณไม้, ปลูกผักกินเอง, กินอาหารพื้นบ้าน, เรียนรู้เรื่องสมุนไพร, เรียนรู้วิถีพอเพียง Sustainable Living และที่ขาดไม่ได้คือ มี Workshop สอนทำบ้านดินด้วย
พลับพลึงธาร 22.1 พลับพลึงธาร 22

ท่านผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานชุมพร ระนอง พร้อมตัวแทนจากหน่วยงานพันธมิตร มอบของที่ระลึกให้แก่บ้านดิน ที่นักปั่น CSR ตามหา…พลับพลึงธาร เข้าเยี่ยมชม เรียนรู้กิจกรรมวิถีพอเพียงพลับพลึงธาร 23 พลับพลึงธาร 24

เข้าเยี่ยมชมบ้านดิน และถือเป็นการพักเหนื่อยจากการปั่นจักรยานช่วงแรกด้วยพลับพลึงธาร 25

เจ้าของบ้านดิน รับเงินสมทบจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม CSR ตามหา…พลับพลึงธาร
พลับพลึงธาร 26

งานนี้สู้ตายค่ะ
พลับพลึงธาร 27

ในวันที่ 2 ของกิจกรรม หลังจากเมื่อคืนวาน นักปั่นกว่า 300 ชีวิต ได้ร่วมกันค้างแรมที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคาแล้ว ก็ได้เวลาเดินป่าเข้าไปยังลำธารกลางป่า เพื่อปลูกพลับพลึงธาร กลับคืนสู่ถิ่นเดิมตามธรรมชาติ
พลับพลึงธาร 28

แต่เดิมการปลูกพลับพลึงธารคือสิ่งที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย! เพราะเธอเป็นพรรณไม้น้ำที่บอบบางมาก จนกระทั่งมีการคิดค้นเทคนิควิธีการปลูกพลับพลึงธารให้รอดได้สำเร็จ คือการนำหัวพลับพลึงธาร ซึ่งมีรูปทรงคล้ายหัวหอมนน้ำขนาดใหญ่ ไปเพาะเลี้ยงในตระกร้าหรือชะลอมสานใบเล็กๆ เมื่อโตได้ที่ ก็นำไปขุดหลุมตื้นๆ วางไว้ในลำธารน้ำใสกลางป่าพลับพลึงธาร 29

ปีนี้ถือเป็นกิจกรรมปลูกพลับพลึงธารอย่างเป็นทางการ ครั้งแรกของโลก! โดยมีการปลูกจำนวน 200 ตะกร้า ตะกร้าละ 3-4 หัว และจะมีการดูแลประเมินผลหลังจากวันปลูกอย่างใกล้ชิดพลับพลึงธาร 30

ร่วมแรงร่วมใจ ฟื้นฟูพลับพลึงธารกลับคืนสู่คลองนาคา ให้เธอยิ่งใหญ่เป็นราชนินีแห่งไม้น้ำในป่าดิบปักษ์ใต้เหมือนเดิมนะจ๊ะพลับพลึงธาร 31ช่วยกันคนะลไม้คนละมือ มีรอยยิ้มเปื้อนหน้า เพราะวันนี้เราได้มาร่วมกันทำสิ่งดีๆ
พลับพลึงธาร 32 พลับพลึงธาร 33

เมื่อวางตะกร้าพลับพลึงธารลงในหลุมกลางลำธารแล้ว ก็ต้องโกยหินกรวดเข้ามาล้อมไว้ให้แน่น เพื่อไม่ให้น้ำซัดตะกร้าหลุดลอยเสียหาย
พลับพลึงธาร 34น้องๆ เยาวชนนักปั่นจักรยาน ไม่กลัวความลำบากแม้แต่น้อย เดินป่าเข้ามาปลูกพลับพลึงธารกันถึงที่เลย
พลับพลึงธาร 35 พลับพลึงธาร 36

หวังว่าอีกไม่นาน ราชินีแห่งไม้น้ำ “พลับพลึงธาร” จะกลับมาเบ่งบานทั่วคลองนาคาอีกครั้ง เพื่อต่อเติมระบบนิเวศน์ป่าให้สมบูรณ์ เพื่อเติมเต็มความมั่งคั่งของความหลากหลายทางชีวภาพเมืองไทย จนกลายเป็นสมบัติล้ำค่าของลูกหลานพวกเรา ไปอีกนานแสนนานlogo123-300x300

Special Thanks : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคใต้ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานชุมพร ระนอง โทร. 0-7750-2775-6,  0-7750-1831 สนับสนุนการเดินทางเป็นอย่างดี

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *