ภาคตะวันออก

TEATA BCG Mini Caravan สบ๊าย สบาย สไตล์ราย็องฮิ

เมื่อพูดถึง “การท่องเที่ยว” และ “การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม” หลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่แท้จริงแล้วทั้ง 2 เรื่องนี้อยู่ใกล้ตัวเรามาก หากเราท่องเที่ยวเดินทางอย่างห่วงใยใส่ใจสิ่งแวดล้อม ก็จะได้รับทั้งความสนุกและสุขใจอย่างครบรส ยิ่งปัจจุบันแนวคิด Low Carbon Tourism (การท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ) และแนวคิด BCG หรือโมเดลเศรษฐกิจสีเขียว ที่เน้นการหมุนเวียนนำทรัพยากรมาต่อยอดใช้อย่างคุ้มค่า ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นวาระแห่งชาติ เราจึงควรเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยกันสร้างสรรค์กิจกรรมดีๆ
สมาคมไทยท่องเที่ยวเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (TEATA) จับมือร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ สมาคมการค้าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอีสาน จัดมินิคาราวาน ขับรถยนต์ไฟฟ้า EV เที่ยวภาคตะวันออก “BCG Mini Caravan สบ๊าย สบาย สไตล์ราย็องฮิ” เดินทางจากกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ-ระยอง ระหว่างวันที่ 22-24 กันยายน 2556 นำสมาชิกร่วมเดินทางสัมผัสเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวสีเขียว และทำกิจกรรมรักษ์โลก โดยปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral Tourism) มีการวัดผล และซื้อคาร์บอนเครดิตชดเชยให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม
คุณวสุมน เนตรกิจเจริญ (เสื้อสีดำยืนกลางภาพ) นายกสมาคม TEATA และ คุณศิรินุช สุทธิรัตน์ ผู้อำนวยการกองตลาดภาคตะวันออก ททท. (เสื้อสีเขียวยืนกลางภาพ) และพันธมิตรเพื่อนพ้องน้องพี่จากภาคอีสาน ร่วมกันปล่อยตัวคาราวานรถยนต์ไฟฟ้า EV ที่หน้าตึกสำนักงานใหญ่ ททท. ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ คุณศิรินุช สุทธิรัตน์ ผู้อำนวยการกองตลาดภาคตะวันออก ททท.โบกธงปล่อยตัวคาราวานรถยนต์ไฟฟ้า EV เที่ยวแบบ Low Carbon Tourism รถยนต์ EV หรือ Electronic Vehicle ที่ใช้ในครั้งนี้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า 100 เปอร์เซนต์ ไม่ปล่อยควันพิษออกสู่ชั้นบรรยากาศเลยแม้แต่นิดเดียว (Zero Emission) ตลอดการเดินทางจึงต้องมีการวางแผนในด้านเส้นทาง (Routing) ระยะทางที่จะไปในแต่ละวัน (Distance) และจุดช๊าตไฟฟ้าเพิ่ม (Electric Chatrging Station) นับเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม (Responsible Tourism)สถานที่แรกในการท่องเที่ยวแบบ Low Carbon ในทริปนี้ คือ “สถานตากอากาศบางปู” จังหวัดสมุทรปราการ  ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนชายทะเลแห่งแรกๆ ของไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2480  นับถึงปัจจุบันก็เกือบ 80 ปี แล้ว จุดเด่นของบางปูคือเป็นแนวชายฝั่งที่มีป่าชายเลนทอดยาว และจะมีฝูงนกนางนวลนับหมื่นตัวบินอพยพมาหากินในช่วงฤดูหนาว อากาศปลอดโปร่งสดชื่น และโรแมนติกมากๆบริเวณทางเข้าสะพานสุขตา  มีรถตุ๊กตุ๊กไว้บริการด้วยเผื่อใครเดินไม่ไหวสะพานสุขตา และศาลาสุขใจ คือจุดท่องเที่ยวหลักสำหรับผู้มาเยือนบางปู โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวจะคลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวและนกนางนวลอพยพศาลาสุขใจ ตั้งอยู่ที่ปลายสะพานสุขตา เป็นร้านอาหารวิวดี ที่มีลานเต้นลีลาศย้อนยุคในวันเสาร์อาทิตย์ด้วยในช่วงฤดูหนาวบางปูจะมีทั้ง นกนางนวลธรรมดา (Brown-headed Gull) นกนางนวลขอบปีขาว (Common Black-headed Gull) นกนางนวลแกลบธรรมดา (Common Tern) นกนางนวลแกลบเคราขาว (Whiskered  Tern) นกนางนวลปากเรียว (Slender-billed Gull) และ นกนางนวลหลังดำพันธุ์รัสเซีย (Heuglin’s Gull) บินอพยพจากตอนเหนือที่เป็นเขตหนาวของโลก มาหากินอยู่ร่วมกันนับหมื่นตัว โดยนกบางกลุ่มบินมาไกลกว่า 3,000 ไมล์ เลยทีเดียวความน่ารักของนกนางนวลที่บางปู  ซึ่งเราสามารถสัมผัสได้อย่างใกล้ชิด
รถตุ๊กตุ๊กบริการฟรี  ที่สะพานสุขตาสะพานสุขตา ศาลาสุขใจ ไฮไลท์ของการท่องเที่ยวแบบสบายๆ ที่บางปูพอชมวิวสวยๆ และทักทายนกนางนวลกันเต็มอิ่มแล้ว ก็ได้เวลาเข้าไปหาความรู้ด้านธรรมชาติและระบบนิเวศชายฝั่งกันที่ “ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบกบางปู” (Bangpu Nature Education Center)สมาชิก BCG Mini Caravan รับฟังข้อมูลเกี่ยวกับความสำคัญของป่าชายเลนระบบนิเวศชายฝั่งบางปู และเล่นเกมส์สนุกๆ ที่ได้ความรู้ เช่น นกชนิดใดมีมากที่สุดในบางปู? ต้นไม้ชนิดใดมีมากที่สุดในป่าชายเลนบางปู? ปลาตีนมีกี่ชนิด? ปูอะไรมีนิกเนมว่าปูผู้แทน? นับว่าทั้งสนุกและได้ความรู้ดีๆ ไปพร้อมๆ กันเกมส์สร้างความสามัคคี  และได้ความรู้เรื่องระบบนิเวศป่าชายเลนบางปูในเวลาเดียวกันหลังจากนั้นก็ได้เวลาออกมาเดินศึกษาธรรมชาติชองจริง ในเส้นทางเดินที่ลัดเลาะเข้าไปในป่าชายเลนของบางปู (Mangrove Forest Trail) โดยในช่วงแรกจะเห็นเลยว่ามีขยะทะเลจำนวนมากลอยเข้ามาติดอยู่ เพราะรากของต้นโกงกางทำหน้าที่ดักจับขยะเหล่านี้ไว้ มิให้ลอยออกสู่ทะเลเปิด ป้องกันไม่ให้สัตว์ทะเลกินขยะเข้าไปจนเกิดอันตรายได้
ต้นโกงกางของบางปู มีทั้งโกงกางใบใหญ่ และโกงกางใบเล็ก แต่ทั้งสองชนิดมีระบบรากคำ้ยันเหมือนกัน ให้ลำต้นสามารถยืนอยู่บนดินเลนนิ่มๆ ได้ และทนต่อวงจรน้ำขึ้นน้ำลงประจำวัน นอกจากนี้ยังเป็นที่หลบภัยอาศัยหากินของสัตว์นับไม่ถ้วน ทั้งกุ้งหอยปูปลา โดยเฉพาะเมื่อน้ำลง เราจะเห็นทั้งปลาตีน ปูก้ามดาบ กุ้งดีดขัน และหอยต่างๆ มากมายปูก้ามดาบ (Fiddler Crab) ตัวผู้  ขึ้นจากรูมาเดินหากินเศษอินทรีย์วัตถุบนหน้าดินเลนเวลาน้ำลด ปูก้ามดาบตัวผู้จะมีก้ามข้างหนึ่งใหญ่มากเพื่อใช้แสดงอำนาจประกาศอาณาเขต ใช้ดึงดูดความสนใจตัวเมีย และใช้ต่อสู้กันเมื่อต้องแย่งตัวเมียในฤดูผสมพันธุ์โพธิ์ทะเล (Indian Tulip Tree หรือ Pacific Rosewood) เป็นพืชเด่นชนิดหนึ่งในป่าชายเลน ใบคล้ายใบโพธิ์ เด่นตรงดอกมีสองสีในต้นเดียว คือดอกอ่อนสีเหลืองสดใส และดอกแก่สีแดงเข้ม ชาวบ้านนำไปใช้ประโยชน์หลายอย่าง อาทิ เปลือกใช้ทำเชือก และใบใช้ทำยารักษาแผลได้ เป็นต้นในเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติบางปู เราจะได้ใช้ประสาทสัมผัสทุกส่วนในการเรียนรู้ธรรมชาติ ทั้งตา หู จมูก ลิ้น และผิวกายสัมผัส อย่างเช่น เราจะได้ชิม ใบชะครามสด ซึ่งใบอ่อนสีเขียวสามารถนำมายำกินได้ให้รสเค็มอ่อนๆ แต่ถ้าใบแก่ที่เป็นสีแดงอมม่วงจะเค็มจัดเกินไป ไม่นิยมกินกัน นอกจากนี้พืชอีกหลายชนิดในป่าชายเลนยังมีใบที่ให้รสเค็ม เพราะหลังใบมีต่อมขับเกลือออกมาเดินมาจนถึง “เรือนสกุณา” เป็นหอซุ่มดูนกที่สร้างกลมกลืนกับธรรมชาติ ข้างในมีกล้องส่องนกแบบเลนส์เดี่ยว (Telescpoe) ไว้ให้ด้วยป่าชายเลนรอบเรือนสกุณามี ปลาตีน (Blue-spotted Mudskipper) หรือปลาจุมพรวด  ตัวใหญ่ยาวกว่า 20 เซนติเมตร ออกมาอวดโฉม ลายบนลำตัวของมันสามารถบ่งบอกอารมณ์ได้ เพราะถ้าเห็นลายจุดสีบนตัวชัดแสดงว่ามันอารมณ์ดี แต่ถ้าลายจุดสีจางลงแสดงว่ามันกำลังอารมณ์ไม่ดีแล้วล่ะจากเรือนสกุณาสามารถมองเห็นนกน้ำหลายชนิดลงหากินในป่าชายเลน อย่างในภาพนี้คือ ฝูงนกกาบบัว (Painted Stork) ซุ่มส่องดูนกน้ำจากระยะไกลด้วยกล้อง Telescope ที่มีกำลังขยายสูง เป็นกิจกรรม Eco-Tourism ที่ไม่รบกวนธรรมชาตินอกจากต้นโกงกางใบใหญ่และโกงกางใบเล็กแล้ว ป่าชายเลนบางปูยังมี ต้นแสมทะเล (Avicennia marina) เป็นพืชเด่นอีกด้วย ในภาพนี้จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่าบนพื้นดินเลนรอบต้นแสมจะมีรากอากาศเป็นแท่งแหลมๆ นับไม่ถ้วนผุดขึ้นมา เพื่อให้ต้นไม้ใช้หายใจ ดึงออกซิเจนเข้าสู่กระบวนการสังเคราะห์แสง พวกมันจึงทนน้ำท่วมและน้ำขึ้นน้ำลงทุกวันได้อย่างน่าอัศจรรย์ได้เวลาทำกิจกรรมรักษ์โลก ร่วมกันปลูกต้นลำพูทะเลเสริมสร้างแนวป่าชายเลนบางปูให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น แม้จะต้องเดินอย่างยากลำบากในดินเลน แต่สมาชิกของเราก็สนุกและมีความสุขถ้วนหน้าเหล่าสมาชิก BCG Mini Caravan สบ๊าย สบาย สไตล์ราย็องฮิ  ร่วมกันปลูกต้นลำพูด้วยความชื่นมื่นสุขใจ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมรักษ์โลก ปลูกต้นลำพูเสริมสร้างระบบนิเวศป่าชายเลนบางปูให้สมบูรณ์แข็งแรงยิ่งขึ้น เพราะป่าชายเลนทำหน้าที่เป็นเสมือนกำแพงธรรมชาติสีเขียวป้องกันคลื่นลมแรง ดักขยะทะเล ช่วยดักตะกอนอินทรีย์ให้กลายเป็นแผ่นดินใหม่งอกออกไปในทะเลได้ในอนาคต แถมยังเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ เพิ่มความอุดมให้ห่วงโซ่อาหารของอ่าว ก ไก่ (อ่าวไทยตอนบน) ได้เป็นอย่างดี

ที่สำคัญคือ ป่าชายเลนสามารถดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้มากกว่าป่าบกถึง 3 เท่าคุณวสุมน เนตรกิจเจริญ นายกสมาคม TEATA และ คุณศิรินุช สุทธิรัตน์ ผู้อำนวยการกองตลาดภาคตะวันออก ททท. ร่วมกันปลูกต้นลำพูในป่าชายเลนบางปูผลงานน่าภาคภูมิใจของเหล่าสมาชิก BCG Mini Caravan สบ๊าย สบาย สไตล์ราย็องฮิหลังจากปลูกต้นลำพูเสร็จก็เที่ยงพอดี เราจึงทานอาหารเที่ยงกันที่บางปู โดยมีการจัดเป็นอาหารจานเดียวที่ประหยัดและลดการใช้ทรัพยากรต่างๆ ลงได้มาก เพื่อให้เป็นการท่องเที่ยวที่สมดุล และปลดปล่อยคาร์บอนน้อยที่สุด ตามหลักบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism) 3ล  คือ ลดทรัพยากร (ต้นน้ำ) ลดพลังงาน (กลางน้ำ) และลดขยะ (ปลายน้ำ) ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งแนวคิดนี้ทั้งตัวนักท่องเที่ยว (Demand Side) และผู้ประกอบการ (Supply Side) สามารถปฏิบัติได้จริงเย็นวันแรกเราเดินทางมาถึงจังหวัดระยองก่อนพระอาทิตย์ตก แวะชมชุมชนประมงปากน้ำระยอง และกินอาหารมื้อเย็นกันที่ ร้านแหลมเจริญซีฟู้ด มีเมนูขึ้นชื่อคือ “ปลากะพงทอดราดน้ำปลา” ต้นตำรับ ที่ใช้น้ำปลาแท้อย่างดีของระยอง ราดบนปลากะพงทอดกรอบนอกนุ่มใน กินกับข้าวสวยร้อนๆ นั่งรับลมทะเลไปด้วย นับเป็นอาหารท้องถิ่นที่ไม่ต้องขนส่งทางไกล เข้าหลัก Low Carbon Menu อีกต่างหากปลากะพงทอดราดน้ำปลา ร้านแหลมเจริญซีฟู้ดวันที่สองของทริป ขบวนรถยนต์ไฟฟ้า EV ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ เคลื่อนขบวนออกจากโรงแรม Kameo Grand ระยอง มุ่งหน้าสู่จุดหมายต่อไปจุดหมายแรกของวันที่สอง คือ “ศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนพระเจดีย์กลางน้ำ” ที่เดินทางได้ง่ายมาก เพราะอยู่ในเขตเมืองระยองนั่นเอง ในอดีตจุดนี้เป็นเกาะในแม่น้ำระยอง เข้าถึงได้ด้วยเรือเท่านั้น ทว่าภายหลังมีการสร้างสะพานเชื่อมเข้าไป ทำให้ขับรถยนต์ไปถึงได้เลย มีการพัฒนาให้เป็นสวนสาธารณะเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ (Recreation Garden) และมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนอย่างดี (Mangrove Trail) พร้อมอาคารนิทรรศการให้ความรู้ (Learning Center) ระบบนิเวศและความสำคัญของป่าชายเลนในแม่น้ำระยอง เรียกว่ามาจุดเดียวครบเลย
คุณวัชรพล สารสอน ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานระยอง ให้การต้อนรับคณะอย่างอบอุ่นด้านข้างอาคารนิทรรศการมีป่าชายเลนผืนใหญ่ และพื้นที่สำหรับกิจกรรมปล่อยปูคืนสู่ธรรมชาติปูดำ หรือ ปูทะเล (Serrated Mud Crab) ตัวเขื่อง ที่ทางศูนย์ฯ รับซื้อมาจากชาวบ้าน เพื่อนำมาปล่อยคืนสู่ธรรมชาติในวันนี้ เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันปล่อยปูดำคืนสู่ป่าชายเลนพระเจดีย์กลางน้ำระยอง ตอกย้ำแนวคิดการท่องเที่ยวแบบ Low Carbon Tourism และ BCG Modelท่านนายกสมาคม TEATA, ท่าน ผอ. ททท. สำนักงานระยอง และท่าน ผอ. กองตลาดภาคตะวันออก ททท. ร่วมกันปล่อยปูดำคืนสู่ป่าชายเลนพระเจดีย์กลางน้ำระยองในบริเวณเดียวกันนั้นเองเมื่อเดินมานิดเดียวก็จะพบกับ แม่น้ำระยอง และสะพานงาช้าง ที่ต่อเนื่องไปยังเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติยาวที่สุดเส้นหนึ่งในเมืองไทย คือเมื่อสร้างเสร็จจะยาวกว่า 7 กิโลเมตร สามารถเดินต่อเนื่องเข้าไปชมระบบนิเวศป่าชายเลน มีหอดูนก เส้นทางเดินริมน้ำ และป้ายสื่อความหมายธรรมชาติต่างๆ ให้ความรู้ในแนว Eco-Tourism และ Green-Tourism เพื่อให้ผู้คนเห็นความสำคัญของป่าชายเลน คอนโดปูแบบดั้งเดิมของชาวระยอง คือการนำเศษไม้ต่างๆ มากองสุมกันไว้แบบง่ายๆ เพื่อให้ปูดำเข้ามาหลบภัยอาศัยหากิน ออกลูกออกหลานให้จับกินจับขายได้อย่างไม่หมดสิ้น นับเป็นการใช้สอยธรรมชาติอย่างเข้าใจ ควบคู่กับการอนุรักษ์ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ลุ่มลึกและน่าชื่นชมเส้นทางเดินขึ้นสู่สะพานงาช้าง จัดทำไว้อย่างดี พื้นทางเดินเรียบ และมีราวกันตกสองข้างด้านบนของสะพานงาช้าง เป็นจุดชมวิวมุมสูงที่ห้ามพลาดจากด้านบนของสะพานงาช้าง  มองลงมาเห็นเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนเลียบแม่น้ำระยองสถานที่สำคัญที่สุดจุดหนึ่งของบริเวณนี้คือ “พระเจดีย์กลางน้ำ”  ซึ่งมีรูปลักษณ์คล้ายคู่แฝดของพระสมุทรเจดีย์เมืองสมุทรปราการ สร้างขึ้นมานานหลายชั่วอายุคนแล้ว เพื่อใช้เป็น Landmark ให้คนเรือได้สักการระ และสังเกตว่าแล่นเรือมาถึงเมืองระยองแล้ว เดิมทีพระเจดีย์องค์นี้ตั้งอยู่บนเกาะกลางแม่น้ำระยอง เข้าถึงได้เฉพาะทางเรือเท่านั้น แต่ภายหลังได้มีการสร้างสะพานเชื่อมเข้ามาทำให้ขับรถยนต์เข้าถึงได้ ปัจจุบันด้านหน้าพระเจดีย์กลางน้ำ มีท่าเรือเล็กๆ ให้นักท่องเที่ยวได้เหมาเรือท้องแบนล่องเที่ยวแม่น้ำระยอง ค่าบริการลำละ 300 บาท/1 ชั่วโมงวันนี้เรามีโอกาสชิมขนมพื้นบ้านหายากของชาวระยองคือ “ขนมนิ่มนวล”  ให้รสสัมผัสนิ่มนวลสมชื่อ ชิ้นก็พอดีคำ ทำจากข้าวเหนียวคั่วจนสุก นำมาโม่เป็นแป้ง นวดกับน้ำเชื่อมที่เคี่ยวจนเข้มข้นจนแป้งนิ่ม สอดไส้ด้วยมะพร้าว เพิ่มความหอมละมุนด้วยกลิ่นดอกมะลิสด ลักษณะคล้ายขนมถั่วแปบ กินคู่กับเครื่องดื่มเย็นๆ ใส่ในภาชนะพื้นบ้านเรียกว่า “ติหมา” ทำด้วยกาบหมาก หรือใบจาก นับเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ

ติหมา ภาชนะใส่น้ำแบบพื้นบ้านดั้งเดิมของชาวระยองเดินทางต่อไปถึงจุดหมายที่สองของวันนี้คือ “อุทยานการเรียนรู้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” วัดลุ่มมหาชัยชุมพล (พระอารามหลวง) หรือเรียกสั้นๆ ว่า “วัดลุ่ม”วัดลุ่มเคยเป็นที่ตั้งประทับแรมของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อครั้งเป็นพระยาตาก  ทรงนำทหารกล้า 500 คน ตีฝ่าวงล้อมพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยา มุ่งสู่หัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออก โดยผ่านเส้นทางจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จนมาถึงเมืองระยอง ตั้งค่ายชุมพลบริเวณวัดลุ่ม ซึ่งบริเวณนี้มี “ต้นสะตือใหญ่ อายุ 300 ปี” ที่ใช้ผูกช้างศึกประจำพระองค์ ชื่อ “พังคีรีบัญชร” พระองค์ยังได้ประทับนั่งใต้ต้นสะตือนี้ เรียกประชุมคณะกรรมการเมืองและราษฎรชาวระยอง ประกาศเจตจำนงในการกอบกู้เอกราชคืนจากพม่า ต้นสะดือวัดลุ่มจึงเป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย และของเมืองระยองด้วยภายในวัดลุ่มมี “ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน” สร้างเป็นศาลาทรงจัตุรมุข ด้านในมีพระบรมรูปหล่อขนาดเท่าองค์จริง นั่งประทับและยืนถือดาบ จากศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินวัดลุ่ม เดินออกมาทางประตูหลังวัดก็ถึง “อุทยานการเรียนรู้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” หรือ TKF Park เป็นอาคารสองชั้นด้านในติดแอร์เย็นฉ่ำ“อุทยานการเรียนรู้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช”  เป็นอาคารจัดแสดงพระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อครั้งทรงตั้งกองทัพที่จังหวัดระยอง เพื่อหมายกอบกู้เอกราชของชาติไทย หลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ให้พม่า (พ.ศ. 2310) ท่ีนี่เราจะได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระปรีชาสามารถของพระองค์ โดยมีห้องนิทรรศการ 6 โซน คือ โซน 1 โหมโรงเจ้าตากสิน, โซน 2 อวสานสิ้นอโยธยา, โซน 3 มุ่งบูรพาสรรหาไพร่พล, โซน 4 ประกาศตนองค์ราชันย์, โซน 5 สร้างเขตขันธ์กรุงธนบุรี และโซน 6 ถิ่นคนดีเมืองระยอง “อุทยานการเรียนรู้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช”  เปิดให้เข้าชมทุกวันอังคาร-วันอาทิตย์  วันละ 4 รอบ ตั้งแต่เวลา 09.00 -16:00 น. หยุดทุกวันจันทร์  เข้าชมได้ฟรี  ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในการเข้าชมแต่ละรอบจะมีวิทยากรนำชม ให้ความรู้เกี่ยวกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชอย่างละเอียด รวมเวลาชมครบทุกห้องประมาณ 45 นาที ที่ไม่น่าเบื่อเลยแม่แต่น้อยรูปหล่อเท่าพระองค์จริง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชห้องฉายภาพยนตร์สั้นเหตุการณ์ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา ชาวระยองได้ยินข่าวการมาถึงของพระยาตากผู้มากความสามารถ และหมายรวบรวมไพร่พลกลับไปกอบกู้กรุงศรีอยุธยาห้องฉายภาพยนตร์เหตุการณ์ที่ชาวระยองเข้าสวามิภักดิ์กับพระยาตาก และพระองค์สถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ เพื่อกอบกู้เอกราชและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนสืบไป ขอบอกว่าห้องนี้มีพื้นที่นั่งสั่นได้และมีลมพ่นเข้าใส่ผู้ชม ทำให้เรารู้สึกฮึกเหิมเหมือนอยู่ในเหตุการณ์จริง อีกทั้งอาวุธจำลองที่จัดแสดงไว้ ก็เป็นการนำอาวุธจริงในสมัยนั้นมาจำลองด้วยแบบและขนาดเท่าของจริงด้วยห้องสุดท้ายจำลองท้องพระโรงสมัยกรุงธนบุรี ให้เราได้หมอบกราบเข้าเฝ้าพระองค์ท่าน บรรยากาศดูขรึมหลังสุดๆ ใกล้เที่ยงแล้วคณะ BCG Mini Carava สบ๊าย สบาย สไตล์ราย็องฮิ  ด้วยรถยนต์ไฟฟ้า EV เดินทางต่อไปที่ “วิสาหกิจชุมชนเกาะกก” ถนนกรอกยายชา ตำบนเนินพระ อำเภอเมืองระยอง เพื่อสัมผัสการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT หรือ Community-based Tourism) ที่ประสบความสำเร็จในระดับประเทศ จนได้เป็นต้นแบบศึกษาเรียนรู้ดูงานในนาม “เกาะกก Model” เกาะกกวันนี้ชูประเด็นการท่องเที่ยว “สวน นา ป่า เล” เพราะสภาพภูมิศาสตร์ของชุมชนมีความหลากหลาย ทั้ง “สวนผลไม้” โดยเฉพาะสวนมะม่วงอกร่องปลูกบนพื้นทราย ผลผลิตออกในเดือนมีนาคม ถัดมาคือ “นาข้าวออร์แกนิก” ที่ไม่ใช้สารเคมี และคัดเลือกพันธุ์ข้าวพิเศษที่อุดมคุณค่าทางอาหารเพื่อผู้บริโภค ส่วนป่าก็คือ “ป่ากลางเมือง” ที่มีการอนุรักษ์ป่าชุมชนเต็มไปด้วยไม้ใหญ่และพืชสมุนไพรเพื่อการเรียนรู้ อีกทั้งสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ และสุดท้าย “ทะเล” คือพื้นที่เกาะกกมีบางส่วนติดต่อกับทะเล ชายหาด ป่าชายเลน และชุมชนประมงพื้นบ้าน ที่ทำประมงในระยะไม่เกิน 3 กิโลเมตรจากชายฝั่ง เกิดการท่องเที่ยวเชื่อมโยงเติมเต็มความหลากหลายของ Tourism Eco System ตอบสนองการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG ได้อย่างครบวงจรป่ากลางเมือง แหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยงของวิสาหกิจชุมชนเกาะกก ที่เป็นทั้งแหล่งอนุรักษ์พันธุ์ไม้ท้องถิ่น และแหล่งปลูกพืชสมุนไพรนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนวิถีสวน นา ป่า เล ของชาวเกาะกก จึงนำเราสู่ร้านอาหารกลางทุ่งนาวิวหลักล้าน “ก๋วยเตี๋ยวเรือชาวนา ณ ระยอง”  ที่เปิดดำเนินการโดยคนเกาะกกแท้ๆ อาหารเที่ยงมื้อนี้จึงหลากหลาย และสะท้อนความเป็นพื้นบ้านระยองอย่างแท้จริง ไม่ต้องขนส่งทางไกลในคอนเซปต์ Low Carbon Menu ทั้งต้มไก่กระวาน น้ำพริกกะปิแท้ หมูผัดใบชะมวง ปลาช่อนผัดพริกขิง รวมถึงมีกุ้ง ปูม้า และหมึกย่าง จิ้มน้ำจิ้มซีฟู้ดอร่อยสุดฟินอิ่มท้องกันแล้ว ก็ได้เวลารับฟังข้อมูลการดำเนินงานและการแปรรูปผลิตภัณฑ์มากมายของ วิสาหกิจชุมชนเกาะกก ซึ่งแท้จริงแล้วคือการนำ แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพ่อหลวงรัชกาลที่ 9  มาปฏิบัติใช้จริงอย่างเป็นรูปธรรม จนทำให้มีชื่อเสียงระดับประเทศ คว้ารางวัลมากมาย รวมถึงนำพาชุมชนผ่านวิกฤตโควิต-19 ได้อย่างปลอดภัย และอีกหัวใจสำคัญ คือการจับมือกับพันธมิตรหน่วยง่านต่างๆ เข้ามาช่วยพัฒนาสินค้าชุมชน นำวัตถุดิบที่มี ทั้งข้าวออร์แกนิกและพืชสมุนไพร สร้างสรรค์เป็นสินค้าแปลกใหม่ ที่มี Packaging สวยงาม ดูทันสมัย เข้ากับวิถีคนรุ่นใหม่ได้ดีเยี่ยม
Rice Me หรือ Snack Bar คือสินค้าโด่งดังที่สุดและขายดีที่สุดอย่างหนึ่งของวิสาหกิจชุมชนเกาะกก พัฒนาขึ้นจากกระยาสารทพื้นบ้านให้มีรูปแบบทันสมัย รวมถึงปรับสูตรใส่ข้าวไรซ์เบอร์รี่ น้ำผึ้ง ถั่ว และธัญพืชที่อุดมคุณค่าทางอาหารมากมายลงไป กวนให้เข้ากันตอนร้อนๆ แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง ตัดเป็นแท่งบรรจุห่ออย่างสะอาด ทั้งให้พลังงานสูงและมีคุณค่าทางอาหารมากมายเข้าชมการสาธิตทำ Rice Me Snack Bar ของชาวเกาะกกRice Me Snack Bar มีส่วนผสมอุดมคุณค่าทางอาหารหลายอย่าง หลักๆ ใช้ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ผสมกับน้ำผึ้ง แอปปริคอต ข้าวโอ๊ต และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ เป็นขนมกินเล่นที่หนักท้องอิ่มนาน ปัจจุบันสายวิ่งนิยมกินกันมาก หรือจะกินแบบราดนม หรือ topping ต่างๆ ก็ยิ่งดี
ไอศครีมข้าวไรซ์เบอร์รี่ของเกาะกก รสหวานนุ่มนวล อุดมคุณค่าทางอาหาร เวลารับประทานสามารถโรยหน้าด้วยข้าวไรซ์เบอร์รี่คั่วได้ด้วยนอกจาก Rice Me Snack Bar แล้ว เกาะกกยังมีผลิตภัณฑ์ชุมชนอีกมากมายที่ขายดิบขายดี  ทั้งคุกกี้ข้าวไรซ์เบอร์รี่, หมอนสมุนไพร HORM HERB, ข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่, ข้าวกล้องหอมนิล, ข้าวกล้องสังข์หยด, ข้าวหอมมะลิ และลูกประคบสมุนไพรสด ซึ่งอย่างสุดท้ายนี้นักท่องเที่ยวสามารถ DIY ทดลองทำเอง เพื่อนำกลับบ้านได้เลยช้อปป้ิงช่วยกระจายรายได้ให้ชุมชนเกาะกก
จากชุมชนเกาะกกที่มีทั้ง สวน นา และป่า ได้เวลาขับรถ EV ต่อไปชมทะเลที่อยู่ใกล้แค่นิดเดียว คือ “กลุ่มประมงพื้นบ้าน บ้านตากวน” ตำบลเนินพระ อำเภอเมืองระยอง ซึ่งถือเป็นกลุ่มประมงชายฝั่ง ที่ทำประมงด้วยเรือเล็ก  ในระยะไม่เกิน 3 กิโลเมตรจากชายฝั่ง อาหารทะเลที่ได้จึงสดใหม่ทุกวัน ไม่ต้องแช่น้ำยารักษาความสด ปลอดภัยต่อทั้งชาวประมงและผู้บริโภค นับเป็นการสนับสนุนวิถีประมงพื้นบ้านให้คงอยู่
ที่กลุ่มประมงพื้นบ้าน บ้านตากวน มีชายฝั่งทะเลเงียบสงบเป็นธรรมชาติ เหมาะมาพักผ่อนและขับรถยนต์เลียบชายหาด แวะนั่งกินอาหารทะเลสดอร่อยในร้านริมหาด โดยจากตลาดประมงพื้นบ้าน บ้านตากวน เราสามารถขับรถต่อไปยัง หาดแสงจันทร์ หาดสุชาดา ที่สวยงามไม่แพ้กันวิถีการซ่อมเรือประมงตามแบบพื้นบ้าน ณ บ้านตากวนตลาดอาหารทะเลสดบ้านตากวน  จะซื้อใส่ลังน้ำแข็งกลับบ้าน หรือโทรให้เขาส่งถึงบ้านเลยก็ได้ มีกุ้ง หอย ปู ปลา หมึก และของทะเลสดๆ หลากหลายขายกันทุกวัน ขับรถ EV จากชุมชนประมงพื้นบ้าน บ้านตากวน ผ่านหาดแสงจันทร์และหาดสุชาดา ไม่นานเราก็มาถึง “เส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน เทศบาลตำบลเนินพระ” เป็นการอนุรักษ์ป่าชายเลนผืนสุดท้ายในบริเวณนี้เอาไว้ สภาพป่าด้านในจัดว่ารกชัฏและดิบทึบ ร่มครึ้ม ให้ความรู้สึกลึกลับ สัมผัสได้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ โดยเฉพาะต้นโกงกางยักษ์ที่นี้มีความใหญ่โตสูงนับสิบเมตร มีอายุนับร้อยปี ถือเป็นป่าต้นโกงกางที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดระยอง มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร นำเราเข้าไปยังหอชมวิว สูงประมาณ 16 เมตร ซึ่งด้านบนสุดจะมองเห็นภูมิทัศน์ผืนป่าชายเลนและท้องทะเลระยอง
ระบบนิเวศป่าชายเลนที่ยังบริสุทธิ์และอุดมสมบูรณ์  จะมีพรรณไม้หลายชั้นเจริญเติบโตทับซ้อนกันไป ทั้งไม้พื้นล่าง ไม้ชั้นกลาง และไม้ขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่เป็นหลังคาของป่า ซึ่งการสังเคราะห์แสงของพืชเหล่านี้จะต้องดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ต้นพืช (เหมือนการดูดซับก๊าซเรือนกระจก) และผลที่ได้อย่างหนึ่งคือการปล่อยก๊าซออกซิเจนออกมาให้สิ่งมีชีวิตหายใจอีกด้วย หอชมวิวสูง 16 เมตร ใหม่เอี่ยมยังไม่เปิดอย่างเป็นทางการจากด้านบนสุดของหอชมวิวมองลงมาเห็นเรือนยอดของต้นโกงกางยักษ์ และเส้นทางเดินเป็น Platform ไม้ยกระดับอย่างดีความงามแปลกตาของผืนป่าโกงกางเมื่อมองจากมุมสูงเย็นย่ำของวันที่สอง หลังจากตระเวนเที่ยวทำกิจกรรมรักษ์โลกมากมายในระยอง เราก็ได้เวลาพักผ่อนทานอาหารเย็นกันที่ “ร้าน Wooden Spoon” เป็นร้านเปิดใหม่เสิร์ฟอาหารสไตล์ฟิวชั่นในบรรยากาศโมเดิร์นน่านั่ง โดยการ renovate บ้านสไตล์วินเทจให้กลายเป็นร้านอาหารสวยหรูริมแม่น้ำระยอง มีทั้งโซน Indoor และ Outdoor ให้เลือกนั่งได้ตามใจชอบเลย ฟิวชั่นเมนูน่าชิมของที่นี่มีให้เลือกเพียบ อาทิ สลัดผลไม้, สลัดเต้าหู้นิ่ม, ข้าวผัดกิมจิ, ซี่โครงย่าง, Fruit Cake และอื่นๆ อีกมากมายวันที่สามของการเดินทางในแนวรักษ์โลก ขบวน Mini Caravan สบ๊าย สบาย สไตล์ราย็องฮิ ยังคงมุ่งหน้าสู่จุดหมายปลายทางที่เข้มข้นด้วยแนวคิด Low Carbon Tourism นั่นคือ “สวนพฤกษศาสตร์ระยอง” (Rayong Botanic Garden) ตำบลชากพง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

(ขอบคุณภาพจาก ททท. สำนักงานระยอง)
สวนพฤกษศาสตร์ระยองอยู่ในความดูแลขององค์การสวนพฤกษศาสตร์  ซึ่งมีอยู่หลายแห่งในเมืองไทย สภาพภูมิประเทศของที่นี่เป็น พื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetland) มีความสำคัญในระดับประเทศ และอยู่ภายใต้การดูแลของสนธิสัญญาพื้นที่ชุ่มน้ำโลก (Ramsar Convention) ที่ไทยได้เซ็นต์สัญญาเข้าร่วม ทำให้บึงน้ำธรรมชาติขนาด 3,800 ไร่ แห่งนี้ ซึ่งเดิมทีชาวบ้านเรียกว่า “บึงสำนักใหญ่” ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดี จนสามารถทำหน้าที่เป็นแหล่งเก็บกักน้ำธรรมชาติ ใช้ในการประมง เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Eco-Tourism) และที่สำคัญคือเก็บรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ท้องถิ่นเอาไว้ได้อย่างยอดเยี่ยม

(ขอบคุณภาพจาก ททท. สำนักงานระยอง)ไฮไลท์ที่ห้ามพลาดชมของสวนพฤกษศาสตร์ระยอง คือบริเวณที่เป็นป่าเสม็ดขาวยืนต้นอยู่กลางบึงน้ำ ให้ความรู้สึกลึกลับจนได้ฉายาว่า “ป่าอะเมซอนแห่งภาคตะวันออก”

(ขอบคุณภาพจาก ททท. สำนักงานระยอง)กิจกรรมท่องเที่ยวที่นี่มีมากมาย ตั้งแต่การล่องเรือยนต์เที่ยวศึกษาธรรมชาติ, พายเรือคายัค พายซับบอร์ดชมธรรมชาติ, ปั่นจักรยานและเดินในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ (Nature Trail) ซึ่งมีทั้งการดูนกและศึกษาพรรณไม้ แถมยังจัดว่ามีจุดถ่ายภาพสวยๆ แสนโรแมนติก ให้คู่รักมาเก็บภาพประทับใจร่วมกันด้วย

(ขอบคุณภาพจาก ททท. สำนักงานระยอง)นกปากห่าง (Openbill Stork) เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ที่พบเห็นได้ไม่ยากในสวนพฤกษศาสตร์ระยอง อาหารหลักของมันคือหอยชนิดต่างๆ นกปากห่างจึงช่วยควบคุมประชากรหอยในธรรมชาติ ไม่ให้มีมากเกินไป

(ขอบคุณภาพจาก ททท. สำนักงานระยอง)มาถึงสวนพฤกษศาสตร์ระยองแล้วก็ต้องนั่งฟังข้อมูลความน่าสนใจของที่นี่กันหน่อยทดลองชิม “สมูทตี้ใบชะมวง” ซึ่งชาวบ้านในแถบนี้คิดพัฒนาขึ้นมาเสิร์ฟนักท่องเที่ยว ใครที่เคยกินแกงหมูใบชะมวงลองเปลี่ยนมาดื่มสมูทตี้ใบชะมวงดูบ้าง แปลกดี แต่มีคำเตือนว่าถ้าดื่มน้อยๆ พอดีๆ จะเป็นยาระบาย แต่ถ้าดื่มมากเกินไป จะกลายเป็นยาถ่ายท้อง!จากสวนพฤกษศาสตร์ระยอง เราขับรถ EV เที่ยวต่อเนื่องไปยัง 4 ชุมชนที่อยู่รอบๆ ซึ่งได้อาศัยความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติในบึงสำนักใหญ่ หากินกันมาหลายชั่วอายุคน อย่างเช่นที่ “กลุ่มจักสานกระจูดบ้านกวี” บ้านมาบเหลาชะโอน ตำบลชากพง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เป็นหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว (OTOP Village Champion – OVC) สืบสานวิถีการทอกระจูดมากว่า 200 ปี โดยนำวัตถุดิบเป็นต้นกระจูดที่ขึ้นอยู่ดาษดื่นในบึงน้ำแถบนี้ มาสานเป็นเสื่อ กระบุง ตะกร้า กระเป๋า ฯลฯ ด้วยภูมิปัญญาที่สืบสานส่งต่อกันมา
เที่ยงแล้ว ขบวนคาราวานของเราเดินทางมาถึง “กลุ่มเกษตรผลิตไม้กฤษณา” (สวนหอมมีสุข) ตำบลกระเฉด อำเภอเมืองระยอง เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agro-Tourism) ที่โด่งดัง เพราะโดดเด่นด้วยสวนไม้กฤษณา (Agarwood) นับหมื่นต้น ที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม ได้กว่า 40 ชนิด ส่งขายไปทั้งในและต่างประเทศ ทำรายได้มหาศาล อย่างน้ำมันกฤษณาสกัดบริสุทธิ์ก็ขายได้ถึงราคากิโลกรัมละ 500,000 บาทแต่ก่อนจะไปชมกิจการของสวนหอมมีสุข เราก็ต้องไปชิมอาหารอร่อยๆ ในมื้อเที่ยงเพื่อเติมพลังกันก่อน ร้านอาหารของเขาตั้งอยู่ในสวนร่มรื่นอยู่ติดกับบึงน้ำใหญ่ ให้ความรู้สึกโปร่งโล่งสบายดีแท้ ชุดอาหาร Low Carbon ของท้องถิ่น มียำผักกูดเป็นพระเอก ตามมาด้วยปลาทะเลต้มเค็มหวาน ตบท้ายด้วยข้าวเหนียวสังขยาอร่อยๆน้องหมาพันธุ์ซามอยด์ (Samoyed) ของสวนหอมมีสุข ที่แสนเป็นมิตรและสุดน่ารัก ออกมารับแขกที่กำลังช้อปปิ้งสินค้าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไม้กฤษณาผลิตภัณฑ์แปรรูปกว่า 40 ชนิด จากไม้กฤษณา เน้นไปในด้านสุขภาพและความงาม มีตั้งแต่โฟมล้างหน้า, เซรั่มบำรุงผิวหน้า, น้ำมันกฤษณาเข้มข้น, น้ำมันนวดแก้ปวดเมื่อย, สบู่กฤษณา, ครีมบำรุงผิวกฤษณา, ยาหม่องกฤษณา ฯลฯ นับเป็นการใช้ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ มาต่อยอดสร้างมูลค่าได้มหาศาล ตามหลัก BCG Bio-Circular Economyบ่ายวันสุดท้ายของการเดินทาง ก่อนกลับบ้านเราแวะเข้าไปช๊าตไฟฟ้าเพิ่มให้รถยนต์ EV กันที่ “สถานีอัดประจุไฟฟ้า Elex by EGAT” ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่ด้านหน้าโรงพยาบาลกรุงเทพ สาขาพัทยา เพื่อตอกย้ำและสนับสนุนการเติบโตของการใช้รถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงความพยายามในการเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) ในอนาคต ซึ่งเป้าหมายที่แท้จริงคือการเดินไปให้ถึงวิถีการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Carbon Neutral นั่นเอง สิ่งนี้ไม่ไกลเกินฝันถ้าเราช่วยกันอย่างจริงจัง ในทริปนี้แม้จะเป็นการเดินทางสั้นๆ เพียง 3 วัน 2 คืน แต่เราก็ได้เรียนรู้สิ่งใหม่มากมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะ “หลัก 4จ” หรือ 4 จุดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีผลต่อภาวะโลกรวน คือ การเดินทาง, ที่พัก, อาหาร และขยะ เพราะในการเดินทางแต่ละครั้ง 4 ปัจจัยหลักนี้เองที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ถ้าตัวนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการมีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม ปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการท่องเที่ยว วิธีการกิน และลดปริมาณขยะตั้งแต่ต้นทาง สังคม Low Carbon ก็จะเกิดขึ้นได้จริง และโลกเราก็จะน่าอยู่ขึ้นกว่านี้มาก เพราะการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของทุกคนสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (สทอ.) หรือ TEATA โทร. 08-3250-9394 และ www.teata.or.th

จังหวัดสระแก้วหลากสไตล์ มุมมองใหม่ 2022

“ชายแดนเบื้องบูรพา ป่างามน้ำตกสวย มากด้วยรอยอารยธรรมโบราณ ย่านการค้าไทย-เขมร” นี่คือคำขวัญของ จังหวัดสระแก้ว เมืองชายแดนภาคตะวันออกที่อุดมสมบูรณ์ และหลากหลายด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วิถีชีวิตผู้คน กิจกรรม และอาหารการกิน ผสมผสานกลายเป็นเสน่ห์ให้ไปเยือน ในฐานะเมืองรองที่มีศักยภาพสูงสามารถพัฒนาได้อีกมากในอนาคต
เชื่อหรือไม่ว่า จังหวัดสระแก้ว เป็นจังหวัดซึ่งมีเนื้อที่มากที่สุดในภาคตะวันออก (ประมาณ 7,195.43 ตารางกิโลเมตร) มีชาติพันธุ์อาศัยอยู่ร่วมกันเหมือนพี่น้องไม่น้อยกว่า 6 เชื้อชาติ ทั้ง ญ้อ ลาว ญวน เขมร จีน และไทย
แถมยังเป็นเมืองหน้าด่าน ที่เหมือน HUB มาตั้งแต่ยุคอดีต คือเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางตะวันตก-ตะวันออก (ระหว่างเมืองชายฝั่งทะเลอ่าวไทย-กัมพูชา) และเหนือ-ใต้ (ระหว่างเมืองในลุ่มน้ำโขง ชี มูล กับเมืองชายฝั่งทางจันทบุรี) จังหวัดสระแก้ว จึงกลายเป็นเบ้าหลอมทางอารยธรรมไปโดยปริยายทริปนี้เราร่วมเดินทางไปกับ สำนักงานท่องเท่ียวและกีฬา จังหวัดสระแก้ว สำรวจแหล่งท่องเที่ยวใน 8 อำเภอ (จากทั้งหมด 9 อำเภอ คือ อำเภอเมืองสระแก้ว, อำเภอคลองหาด, อำเภอตาพระยา, อำเภอวังน้ำเย็น, อำเภอวัฒนานคร, อำเภออรัญประเทศ, อำเภอเขาฉกรรจ์, อำเภอโคกสูง และอำเภอวังสมบูรณ์) ค้นหามุมมองใหม่อันน่าประทับใจ นำร่องเพื่อผู้รักการเดินทางทุกท่านเริ่มต้นทักทายจังหวัดสระแก้วกันด้วยธรรมชาติสวยๆ สดชื่น ถ่ายภาพได้น่าตื่นตา กับ “อุทยานแห่งชาติปางสีดา” อำเภอเมืองสระแก้ว เป็นผืนป่าอนุรักษ์ขนาดใหญ่ เนื้อที่กว่า 527,500 ไร่ ให้กำเนิดต้นน้ำลำธาร และมีชื่อเสียงเรื่องการดูผีเสื้อที่มีอยู่ถึง 500 ชนิด ทั้งผีเสื้อกลางวัน (Butterfly) และผีเสื้อกลางคืน (Moth) จัดว่าพบง่าย มากมาย และหลากหลาย โดยเฉพาะช่วงเดือนพฤษภาคม-สิงหาคมทุกปี ที่นี่ยังมีเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ ศึกษาพรรณไม้ และมีน้ำตกปางสีดา ที่แสนติดตาตรึงใจ
ปางสีดายังเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกทางธรรมชาติของ UNESCO เพราะอยู่ในกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ประกอบด้วย ป่าเขาใหญ่, ป่าตาพระยา, ป่าทับลาน, ป่าดงใหญ่ และป่าปางสีดา ประกาศเป็นมรดกโลกเมื่อ พ.ศ. 2548
น้ำตกปางสีดา เป็นน้ำตกเล็กๆ ที่สวยงามลงตัว สายน้ำทิ้งตัวลดหลั่นลงมาเป็นขั้นบันไดตามหน้าผาหิน สูงประมาณ 8 เมตร สายน้ำชุ่มฉ่ำเย็นตลอดปี แวดล้อมด้วยผืนป่าเขียวครึ้ม ร่มรื่น เหมาะไปลงเล่นน้ำหรือนั่งพักผ่อนไฮไลท์ของการมาเยือนอุทยานแห่งชาติปางสีดา ในช่วงฤดูฝนเดือนสิงหาคมเช่นนี้ คือการดูผีเสื้อในงานเทศกาลดูผีเสื้อปางสีดา ปี 2565 แม้จะมีเวลาไม่มากแต่เราก็ได้พบเห็นผีเสื้อหลายสิบชนิดออกมาบินต้อนรับ พวกมันมักมารวมตัวกันอยู่ในที่ที่มีดอกไม้ป่าให้ดูดน้ำหวาน หรือจะไปลงเกาะอยู่ตามโป่งดิน โป่งน้ำ ซึ่งมีแร่ธาตุเจือปนอยู่ โดยเฉพาะวันที่มีแดดออก จะพบเห็นผีเสื้อได้มากเป็นพิเศษผีเสื้อปางสีดา กำลังเพลิดเพลินกับน้ำหวานจากดอกพนมสวรรค์ การถ่ายภาพผีเสื้อ โดยให้รบกวนผีเสื้อน้อยที่สุด เป็นการเคารพธรรมชาติ นักถ่ายภาพควรมี Lens Macro 105 mm. หรือใช้ Lens 70-200 mm. ก็ได้ แต่สำคัญที่สุดคือต้องรู้ว่าจะมีผีเสื้อลงบริเวณใดและเมื่อไหร่? ข้อนี้ให้ถามเจ้าหน้าที่ของอุทยานฯ ได้ครับ
ฝูงผีเสื้อสะพายฟ้า ลงมารวมตัวกันที่โป่งใกล้ลำธารอย่าดูผีเสื้อกันจนเพลิน ที่อุทยานแห่งชาติปางสีดายังมีพรรณไม้น่าสนใจมากมาย อาทิ เห็ดถ้วยแชมเปญ ที่มักงอกขึ้นจากขอนไม้ชื้นๆ ผุๆ ในฤดูฝนงานเทศกาลดูผีเสื้อปางสีดา สิงหาคม 2565 จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 17 แล้ว ตัวกิจกรรมหลักคือการดูผีเสื้อจะอยู่ที่ผืนป่าอุทยานแห่งชาติปางสีดา ส่วนในอำเภอเมืองสระแก้ว ก็มีกิจกรรมบนเวทีเปิดตัวงานอย่างยิ่งใหญ่
ความงามของแสงสีในงานผีเสื้อราตรี
อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว (เทศกาลดูผีเสื้อปางสีดา สิงหาคม 2565)
เดินทางต่อไปสู่แหล่งท่องเที่ยวมหัศจรรย์ธรรมชาติของจังหวัดสระแก้ว ละลุ อำเภอตาพระยาจริงๆ แล้วละลุมีพื้นที่กว้างขวางถึง 2,000 ไร่ บางส่วนอยู่ในพื้นที่สาธารณะ บางส่วนอยู่ในที่ของชาวบ้าน การเที่ยวชมให้เหนื่อยน้อยสุดจึงต้องนั่งรถอีแต๋นเข้าไป ชาวบ้านเจ้าของพื้นที่ก็จะได้แบ่งส่วนรายได้ด้วย ทำให้เกิดความรักความหวงแหนทรัพยากรท่องเที่ยวของท้องถิ่น ละลุในฤดูฝนสวยเป็นพิเศษ ​เพราะแลเห็นทุ่งนาเขียวๆ ของชาวบ้านอยู่ใกล้ๆ มีจุดชมวิวมุมสูงให้ปีนขึ้นไปดูภูมิทัศน์มหัศจรรย์จากด้านบนด้วย
ละลุ เกิดจากการกัดกร่อนพังทลายของชั้นดินต่างๆ ที่มีความแข็งไม่เท่ากัน ตัวกระทำหลักคือ น้ำฝน ลม และแสงแดด ลักษณะเป็นดินลูกรังสีส้มอมแดงเข้มที่มีแร่เหล็กเจือปนอยู่มาก ทุกปีรูปลักษณ์ของละลุจะเปลี่ยนไป เพราะเกิดการผุกร่อนพังทลายลงเรื่อยๆ เราจึงเห็นเม็ดกรวดทรายเล็กๆ ผุกร่อนลงมากองอยู่บนพื้น เหลือไว้เพียงรูปร่างของแท่งดินที่ชวนให้พิศวง จนได้ฉายาว่า “สโตนเฮนจ์เมืองไทย” ละลุ จังหวัดสระแก้ว มีกระบวนการเกิดขึ้นคล้ายๆ กับแพะเมืองผี จังหวัดแพร่ และเสาดินนาน้อย-คอกเสือ จังหวัดน่านการถ่ายภาพละลุให้ได้สวยสุดคงหนีไม่พ้นตอนเย็นย่ำ พระอาทิตย์คล้อยตำ่แสงอาทิตย์กลายเป็นสีส้ม ยิ่งทำให้สีของละลุดูเข้มข้นขึ้นไปอีกใครสนใจไปเที่ยวละลุ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มละลุโฮมสเตย์ โทร. 0-3724-9708-9, 08-9098-0772อีกหนึ่งความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติของจังหวัดสระแก้ว ที่รอการเข้าไปสัมผัส โดยซุ่มซ่อนตัวเองอยู่อย่างเงียบเชียบลึกลงไปใต้พื้นพิภพ คือ “เขาศิวะ” อำเภอคลองหาด (หรือ เขาพระศิวะ, ถ้ำศิวะ, ถ้ำน้ำเขาศิวะ) ลักษณะเป็นเทือกเขาหินปูนขนาดใหญ่ ซึ่งมีส่วนหนึ่งเป็นแท่งหินขนาดยักษ์ยืนเด่นอยู่ แลคล้ายศิวะลึงค์ ใต้ภูเขานี้มีถ้ำน้ำที่ลึกถึง 500 เมตร เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่ชอบผจญภัยในแนว Adventure หรือ Eco-Tourismการผจญภัยเข้าสู่ถ้ำน้ำเขาศิวะ เหมาะในฤดูร้อนและฤดูหนาว ส่วนฤดูฝนปริมาณน้ำในถ้ำอาจมากเกินไปจนเป็นอันตรายได้ การเข้าไปท่องเที่ยวต้องติดต่อชาวบ้านให้นำทางเข้าไป โดยมีไฟฉาย ถุงกันน้ำ (Dry Bag สำหรับใส่กล้องกันเปียกน้ำ) และสวมเสื้อชูชีพเข้าไปด้วย เพราะระดับน้ำลึกประมาณ 10-220 เซนติเมตร บางช่วงสามารถเดินลุยน้ำ แต่บางช่วงก็ต้องว่ายน้ำเข้าไป ภายในถ้ำมีหินงอก หินย้อย ม่านหินปูน (Flow Stone) และโพรงลึกที่มีขั้นบันไดหินปูนลดหลั่นสวยงามมาก นับเป็นแหล่งท่องเที่ยว Unseen ที่ท้าทายสุดๆ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ ททท. สำนักงานสระแก้ว-นครนายก-ปราจีนบุรี โทร. 0-3731-2284 เขาฉกรรจ์ อำเภอเขาฉกรรจ์  เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสระแก้ว เพราะเป็นเทือกเขาหินปูนขนาดใหญ่ที่สวยงามแปลกตา 3 ลูกเรียงต่อกัน โดยมีเขาฉกรรจ์เป็นเขาลูกใหญ่สุดตั้งอยู่ตรงกลาง เขามิ่งอยู่ด้านซ้าย และเขาฝาละมีอยู่ด้านขวา มีถ้ำที่สำรวจพบแล้วมากถึง 72 แห่ง อาทิ ถ้ำเขาทะลุ ซึ่งเป็นช่องเขาสองด้านทะลุถึงกัน รอบๆ เขาฉกรรจ์ปัจจุบันยังมีผืนป่าร่มรื่น รวมถึงสวนสาธารณะ และร้านกาแฟวิวหลักล้าน น่าไปนั่งจิบเครื่องดื่ม พร้อมกับชมสวนดอกไม้กับคนรู้ใจ ไฮไลท์อย่างหนึ่งของการมาเที่ยวเขาฉกรรจ์ คือการได้ดูฝูงค้างคาวนับล้านตัวบินออกจากถ้ำไปหากิน โดยพวกมันจะพากันบินออกมาเป็นสายต่อเนื่องนานนับชั่วโมง และจะบินกลับเข้าถ้ำในตอนใกล้เช้าของวันใหม่ จุดชมค้างคาวแบบเจ๋งๆ คือที่ร้านกาแฟรอบๆ เขาฉกรรจ์ ซึ่งได้สร้างหอชมค้างคาวไว้ให้โดยเฉพาะ รวมถึงที่วัดเขาฉกรรจ์ด้วยค้างคาวเขาฉกรรจ์เป็นจำพวกที่ตัวไม่ค่อยใหญ่นัก มองจากระยะไกลคล้ายฝูงนก
เปลี่ยนบรรยากาศไปล่องแพชมธรรมชาติเพลินๆ พร้อมกับกินปลาเขื่อนกันที่ “เขื่อนพระปรง” อำเภอวัฒนานคร  เขาบอกว่าทุกเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม จะมี นกอ้ายงั่ว อันแสนหายากมาหากินอยู่ที่นี่ด้วยเขื่อนพระปรง  เป็นพื้นที่กักเก็บน้ำทางชลประทานที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดสระแก้ว  ความจุมากถึง 97 ล้านลูกบาศ์กเมตร มีพระราชดำริให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2521 โดยพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ในการชลประทานหล่อเลี้ยงการเพาะปลูกของชาวบ้าน ตัวเขื่อนสร้างกั้นลำห้วยพระปรงที่ไหลลงมาจากป่าปางสีดา ตัวอ่างเก็บน้ำทั้งหมดจึงเป็นผืนป่าในอุทยานแห่งชาติปางสีดาที่ถูกน้ำท่วม เหมาะไปล่องแพชมธรรมชาติเพลินๆในระยะเวลา 1-2 ชั่วโมง พร้อมกับสั่งอาหารเมนูปลามานั่งกินบนแพอย่างมีความสุข หรือจะล่องเรือตกปลาก็ได้นะริมเขื่อนพระปรงมีที่จอดรถกว้างขวาง พร้อมกับซุ้มนั่งกินอาหารในแบบลูกทุ่ง
ล่องแพชมธรรมชาติอย่างมีความสุขที่เขื่อนพระปรงอาหารเมนูปลาที่เขื่อนพระปรงเปลี่ยนบรรยากาศมาเที่ยวในแบบวิถีชุมชนกันบ้างที่ “ชุมชนมิตรสัมพันธ์” อำเภออรัญประเทศ เป็นชุมชนชาวญวน หรือชาวเวียดนาม ที่อพยพเข้าสู่ประเทศไทยผ่านทางด่านชายแดนปอยเปต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 เพราะต้องหนีภัยสงครามเวียดนาม เมื่อสงครามสงบลง พวกเขาจึงตั้งถิ่นฐานถาวรอยู่ในอำเภออรัญประเทศ ทุกวันนี้ในชุมชนมิตรสัมพันธ์เราจึงเห็นสถาปัตยกรรมการก่อสร้างที่มีกลิ่นอายจีนและเวียดนาม เข้ามาผสานผสมอย่างกลมกลืน โดยเฉพาะที่ วัดมิตรสัมพันธ์ที่วัดมิตรสัมพันธ์ ภายในชุมชน มีพระอุโบสถไสตล์จีน รวมถึงหอระฆังสถาปัยกรรมจีน และหอไตรเสาเดี่ยวกลางน้ำ ที่แปลกตาหาชมยากลูกหลานของชุมชนมิตรสัมพันธ์ในวันนี้ ยังไม่ลืมรากเหง้าถิ่นกำเนิดเดิมของตนเองในประเทศเวียดนาม ยังคงมีการสวมชุดอ๋าวหญ่าย หมวกทรงแหลม และในโรงเรียนยังอนุรักษ์การแสดงแบบเวียดนามด้วยความน่ารักของน้องๆ เชื้อสายญวนในชุมชนมิตรสัมพันธ์ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้วมาถึงชุมชนชาวญวนแท้ๆ ทั้งทีก็ต้องขอลองชิมอาหารเวียดนามอร่อยๆ กันที่ “ร้านยายต๊าม” เป็นร้านอาหารเวียดนามเจ้าแรกของอำเภออรัญประเทศ  เปิดมานานกว่า 60 ปี เมนูน่าลิ้มลองมีเพียบ เช่น แหนมเนือง, จ้างหล่อง, บั๋นหอย (หมี่หน้าหมู), ยำหมูยอ, ส้มตำเวียดนาม, หว๋อนก๊วน (เปาะเปี๊ยะสด), ข้าวต้มญวน (ข้าวต้มเลือดหมู), ก๊าจ๋า, จ๋าเจียง, ขนมเบื้องญวน, ข้าวเกรีบบปากหม้อ, กุ้งพันอ้อย และอีกมากมาย
(ร้านยายต๊าม ชุมชนมิตรสัมพันธ์ อำเภออรัญประเทศ โทร. 08-1559-8664, 0-3723-1794)
ข้าวต้มเลือดหมูสไตล์ญวน ว่ากันว่าหาชิมได้เฉพาะที่อำเภออรัญประเทศเท่านั้น เช้าๆ มีขายในตลาดแค่ไม่กี่เจ้า
ไปท่องเที่ยวกันต่อที่ “หมู่บ้านทับทิมสยาม 05” อำเภอคลองหาด
เป็นหมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2536 บนพื้นที่ค่ายอพยพเดิม (ศูนย์อพยพที่ 8) ชายแดนไทย-กัมพูชา โดยมีลำคลองน้ำใสกั้นพรมแดนเอาไว้ ภัยสงครามทำให้ผู้อพยพหลั่งไหลเข้ามา และเมื่อเหตุการณ์สงบลง จึงมีการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านทับทิมสยาม 05 พร้อมด้วยการนำโครงการพระราชดำริเข้ามา ทั้งเกษตรกรรมและเลี้ยงโคนม ปัจจุบันหมู่บ้านมีเนื้อที่กว่า 9,960 ไร่ รวม 150 หลังคาเรือน และมีคนอาศัยอยู่เกือบ 800 คน นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขับรถเที่ยวชม จะเห็นแบบแปลนบ้านที่เหมือนกันทุกหลัง เพราะสร้างขึ้นโดยทุนบริจาคโครงการความร่วมมือไทย-เยอรมนีบังเกอร์หลบระเบิดในอดีต หมู่บ้านทับทิมสยาม 05
ภายในหมู่บ้านทับทิมสยาม 05 มีจุดชมวิวที่ได้นิกเนมว่า “สวิตเซอร์แลนด์เมืองไทย” เพราะมีเทือกเขาล้อมรอบตัวเราทั้ง 360 องศา
พร้อมด้วยร้านกาแฟเปิดใหม่ชื่อ “ร้าน Marugo Park” (โทร. 09-3321-2977) มีทุ่งดอกทานตะวันและแปลงกุหลาบหลากสี ให้ถ่ายภาพอย่างเพลิดเพลิน แถมยังมีลานกางเต็นท์นอนค้างคืนรับลมธรรมชาติด้วย
สวนกุหลาบ ที่ร้านกาแฟ Marugo Park หมู่บ้านทับทิมสยาม 05
ร้านกาแฟ Marugo Park หมู่บ้านทับทิมสยาม 05แปลงดอกไม้ ที่ร้านกาแฟ Marugo Park ค่าเข้าชมครั้งละ 30 บาท/คน
(ขอบคุณภาพจาก : คุณสุเทพ ช่วยปัญญา เว็บไซต์ The Way News)
ไหนๆ เที่ยวเชิงเกษตร Argo-Tourism กันแล้ว ก็เที่ยวต่อเนื่องที่ “สวนวังน้ำฟ้า” อำเภอวังสมบูรณ์ (โทร. 06-2398-9922, 08-1864-7629) เลยดีกว่า เพราะที่นี่มีอินทผาลัมสดอร่อยให้ชิมสวนไม้ดอกไม้ใบร่มรื่นสวยงาม เข้าชมได้ตลอดปี ที่สวนวังน้ำฟ้า
ความเขียวสดชื่น ของบรรยากาศธรรมชาติในสวนวังน้ำฟ้า
สวนอินทผาลัม สวนวังน้ำฟ้า เริ่มปลูกเมื่อ พ.ศ. 2555  ประมาณ 1,000 ต้น กระทั่งปัจจุบันมีพันธุ์ที่โดดเด่นคือ พันธุ์บาร์ฮี (Barhi) และพันธุ์อาเหม็ด ดาฮาน (Ahmed Dahan) โดยซื้อต้นพันธุ์เข้ามาจากประเทศ UAE แล้วนำมาเพาะเนื้อเยื่อต่อ จึงให้ผลดกดีมาก สวนนี้ขายเฉพาะผลสด ใครอยากชิมต้องมาที่สวนเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีส้มเวียดนาม ส้มโอ และส้มเขียวหวานให้ชิมด้วยอินทผาลัมพันธุ์อาเหม็ด ดาฮาน ของสวนวังน้ำฟ้า ใกล้สุกได้ที่อินทผาลัมพันธุ์อาเหม็ด ดาฮาล  กินผลสดเนื้อหวานกรอบกำลังดีนอกจากอินทผาลัมสดแล้ว ที่สวนวังน้ำฟ้ายังมีน้ำอินทผาลัมให้ชิมด้วย เขาบอกว่าน้ำตาลในน้ำอินทผาลัมเป็น น้ำตาลฟรุกโตส (Fructose) ที่ดีต่อสุขภาพ  แต่ก็ไม่ควรบริโภคในปริมาณมากเกินควรแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร Agro-tourism ที่สำคัญมากอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสระแก้วคือ “โรงเรียนกาสรกสิวิทย์” (หรือโรงเรียนสอนควาย) อำเภอเมืองสระแก้ว โรงเรียนกาสรกสิวิทย์ เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ.​ 2552โดยพระราชดำริของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  เพื่อสืบสานความผูกพันระหว่างควาย (กระบือ) และชาวนาไทย โดยเน้นการสอนควายให้ไถนาเป็น สอนชาวนาให้ทำนาอย่างถูกวิธี อีกทั้งเป็นศูนย์ศึกษาวิจัยสุขภาพควาย พืชอาหารควาย มีแปลงปลูกข้าวนาโยน และห้องวิจัยทางวิทยาศาสตร์ด้วยแปลงปลูกข้าวนาโยน ที่โรงเรียนกาสรกสิวิทย์เกวียนแบบโบราณ อนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานดูที่โรงเรียนกาสรกสิวิทย์
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ทรงตั้งชื่อให้ร้านกาแฟในโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ว่า “ร้านควายคะนอง Coffee & Restaurant” เป็นชื่อเก๋ไก๋ มีกาแฟ Signature หลายตัวต้องชิม เช่น กาแฟควายเผือก หรือลาเต้เย็นเรียนรู้การไถนาร่วมกันระหว่างควายและคน
ควายด่อน หรือควายเผือก ตัวอ้วนพี ที่โรงเรียนกาสรกสิวิทย์มุมนั่งพักผ่อนชมธรรมชาติทุ่งนาสุดชิลที่ โรงเรียนกาสรกสิวิทย์สำหรับใครที่ชื่นชอบขนมพื้นบ้านของจังหวัดสระแก้ว ขอแนะนำให้ไปที่ชุมชนบ้านพร้าว ชิม “ข้าวหลามบ้านพร้าว” อำเภอวัฒนานคร  ของกินของฝากขึ้นชื่อ ที่มีมานานกว่า 50 ปีแล้วข้าวหลามบ้านพร้าวเจ้าแรกที่เป็นต้นตำรับคือ “ข้าวหลามป้าบาง”  ทำมาตั้งแต่ป้าบางอายุแค่ 19 ปี เริ่มจากการหาบขาย เผาด้วยไม้ฟืนแบบดั้งเดิม จนปัจจุบันทำข้าวหลามขายกันทั้งชุมชน ความพิเศษของข้าวหลามบ้านพร้าวคือ เป็นข้าวหลามไส้สังขยาตั้งแต่หัวจรดท้ายลำ มีทั้งข้าวเหนียวขาว ข้าวเหนียวดำ และหน้าสังขยา รสหวานมัน ชุ่มด้วยน้ำกะทิ ใครอยากดูขั้นตอนการเผาต้องตื่นเช้า เพราะชาวบ้านจะเผาข้าวหลามตั้งแต่ตีสามตี่สี่แล้ว  (ข้าวหลามป้าบาง ชุมชนบ้านพร้าว โทร. 08-4782-3377)มาถึงจังหวัดสระแก้วแล้ว ถ้าไม่ได้สัมผัสร่องรอยอารยธรรมขอมบนแผ่นดินสุวรรณภูมิก็ดูจะกะไรอยู่ ห้ามพลาด “ปราสาทสด๊กก๊อกธม” อำเภอโคกสูง เป็นปราสาทขอมขนาดใหญ่และสำคัญที่สุดของจังหวัดสระแก้ว และยังจัดเป็น ปราสาทหินขอมขนาดใหญ่ที่สุดของภาคตะวันออก สร้างขึ้นสมัยพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 ถึงปัจจุบันก็อายุพันกว่าปีแล้ว โดยทำหน้าที่เป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู ก่อนที่อาณาจักรขอมโบราณจะเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธในภายหลัง
(ขอบคุณภาพจาก : คุณสุเทพ ช่วยปัญญา เว็บไซต์ The Way News)ปราสาทสด๊กก๊อกธม สร้างด้วยหินทรายและศิลาแลงตามศิลปะคลัง-บาปวน มีการค้นพบหลักศิลาจารึกสด๊กก๊อกธม (หลักที่ 2) จดบันทึกเรื่องราวของชนชาติขอมโบราณ ช่วงระยะเวลานานถึง 200 ปี อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในจำนวนปราสาทนับร้อยแห่งที่สร้างไว้บน “เส้นทางราชมรรคา” หรือ The Royal Roads เชื่อมโยงภาคอีสานของไทย เข้าสู่เมืองพระนครศูนย์กลางอาณาจักรขอมโบราณ
นอกจากนี้ ปราสาทสด๊กก๊อกธมยังเป็นปราสาทหินขอมแห่งแรกในเมืองไทย ที่ได้รับการบูรณะด้วย วิธีอนัสติโลซิส (Anastylosis) เป็นเทคนิคทางโบราณคดีของประเทศฝรั่งเศส คือถอดซากหินที่ปรักหักพัง ใส่หมายเลขกำกับ จากนั้นประกอบขึ้นใหม่ให้เหมือนเดิม ซึ่งวิธีนี้จะใช้ได้กับปราสาทหินเท่านั้น เพราะปราสาทที่สร้างขึ้นด้วยอิฐหากรื้อแล้วประกอบใหม่ อิฐก็จะหักพังหมด
(ขอบคุณภาพจาก : คุณสุเทพ ช่วยปัญญา เว็บไซต์ The Way News) ก่อนเข้าชมตัวปราสาทสด๊กก๊อกธม จะพบกับ “พิพิธภัณฑ์ปราสาทสด๊กก๊อกธม” (ศูนย์บริการข้อมูล) ที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่เอี่ยม รับผิดชอบดูแลโดยกรมศิลปากรภายในศูนย์บริการข้อมูลปราสาทสด๊กก๊อกธรม ให้เข้าชมแบบเดินทางเดียว (เวียนขวา) ห้องแรกเป็น Mini Theater หรือโรงภาพยนตร์ขนาดย่อม ฉายประวัติความเป็นมาอย่างย่อของปราสาทสด๊กก๊อกธม ให้เข้าใจได้อย่างกระชับรวดเร็วโมเดลจำลองเรื่องราวการก่อสร้างปราสาทสด๊กก๊อกธม ย้อนไปเมื่อกว่าพันปีก่อนห้องนิทรรศการให้ความรู้เรื่องปราสาทหินในประเทศไทย
ห้องจัดแสดงเศษซากหินปรักหักพังจาก ปราสาทสด๊กก๊อกธม โมเดลจำลองปราสาทสด๊กก๊อกธม เราตามรอยประวัติศาสตร์อารยธรรมขอมบนแผ่นดินจังหวัดสระแก้วมาที่ “ลานหินตัด” อำเภอตาพระยา หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “สระเพลง” เพราะในคืนวันพระมักได้ยินเสียงเพลงดนตรีไทยแว่วออกมาจากป่า อันเป็นจุดที่ตั้งของแหล่งหินตัดอายุนับพันปีนี้ลานหินตัดตาพระยา (สระเพลง) เป็นแหล่งหินทรายธรรมชาติที่มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2523 โดยชาวบ้านที่อยู่ในแถบเทือกเขาพนมดงรัก (ชายแดนไทย-กัมพูชา) ปัจจุบันการเข้าไปชมต้องนั่งรถกระบะขับเคลื่อนสี่ล้อ จากหน่วยพิทักษ์อุทยานตาพระยา 1 เข้าไปประมาณ 10 นาที จากนั้นต้องเดินเท้าผ่านป่าไผ่และป่าเบญจพรรณรกทึบขึ้นลงเนิน เข้าไปประมาณ 500 เมตร ก็จะพบกับแนวหน้าผาหินสูง 4-5 เมตร ที่มีร่องรอยการตัดหินเป็นแนวตรงลึกลงในเนื้อหินประมาณ 5 นิ้ว แสดงถึงการใช้เครื่องมือโบราณตัดหินได้อย่างชาญฉลาดและละเอียด นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า เมื่อช่างตัดหินเป็นก้อนๆ เสร็จแล้ว ก็จะใช้ช้างชักลาก หรือล่องหินไปตามลำน้ำ สู่แหล่งสร้างปราสาทหินในเขมร
การท่องเที่ยวที่ลานหินตัดตาพระยา ปัจจุบันยังต้องใช้เจ้าหน้าที่นำทาง และเหมาะสำหรับคนที่มีสุขภาพแข็งแรง สามารถเดินป่าได้จังหวัดสระแก้วมีการท่องเที่ยวเชิงศาสนาด้วย หากใครสนใจกราบขอพรพระเกจิชื่อดัง เชิญที่ “วัดป่าใต้พัฒนาราม” อำเภอวัฒนานคร  กราบ “หลวงปู่บุดดา ปัญญาธโร” พระอริยสงฆ์ผู้มีอายุมากถึง 112 ปี แล้วพระอุโบสถวัดป่าใต้พัฒนาราม สร้างด้วยศิลปกรรมร่วมสมัย มีลวดลายปูนปั้นวิจิตรพิสดารหลวงปู่บุดดา เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2454 เป็นพระอริยสงฆ์ผู้มีเมตรบารมีธรรมสูงส่ง ใบหน้าของท่านจึงมีรอยยิ้มอยู่เสมอ ท่านดำรงตนเรียบง่าย ฉันอาหารพื้นบ้านธรรมดา และยังออกบิณฑบาตรโปรดสัตว์ ลงทำวัตรตามกิจของสงฆ์อย่างเคร่งครัด สิ่งที่ทำให้ท่านโด่งดังอีกอย่างคือ พระเครื่องอันมีฤทธิ์เข้มขลังจากการปลุกเสก แต่นั่นก็เป็นสิ่งที่หลวงปู่บุดดามิได้เน้น เพราะท่านย้ำเสมอให้เชื่อในการทำดี ยึดถือศีล สมาธิ ปัญญา เป็นหลักสำหรับสายมูสายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ต้องไปต่อกันที่ “สำนักสงฆ์แม่ย่าซอม” อำเภอคลองหาดประวัติเล่าสืบต่อกันมาว่า แม่ย่าซอมเป็นชาวเขมรที่อาศัยอยู่ในอำเภอคลองหาดเมื่อครั้งอดีต กาลล่วงถึงปัจจุบันก็ยังมีชาวบ้านเห็นแม่ย่าซอมในชุดนุ่งขาวห่มขาวปรากฏกายเป็นประจำ ต่อมามีพระธุดงค์รูปหนึ่งมาปักกลดในที่นาชาวบ้าน กลางคืนฝันว่าแม่ย่าซอมประสงคฆ์ให้ท่านช่วยสร้างวัดไว้ตรงนี้ ตื่นเช้ามาก็มีชาวบ้านนำเงินมาถวาย และบริจาคที่ดินให้สร้างสำนักสงฆ์ขึ้นได้จริงๆ อย่างน่าอัศจรรย์
สำนักสงฆ์แม่ย่าซอม มีงานศิลป์สิ่งศักดิ์ให้สักการะมากมาย ทั้งปู่พญานาค, พระพิฆเนศวร, พระราหู และอื่นๆ อีกมากมายปิดท้ายทริปสำรวจแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดสระแก้ว อย่างมีความสุข ที่ร้านอาหารเวียดนามแสนอร่อย “ร้านยายเต็ม” อำเภอเมืองสระแก้ว (โทร. 08-0880-0090) 
ร้านยายเต็ม เป็นร้านอาหารเวียดนามที่ตกแต่งแปลกตาสวยงาม เน้นสไตล์ Vintage นำของสะสมเก่าๆ ชวนให้นึกถึงอดีต มาประดับตกแต่งได้อย่างลงตัว อาหารเวียดนาม และอาหารอีสานแสนอร่อยที่ ร้านยายเต็ม อำเภอเมืองสระแก้ว
สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดสระแก้ว

โทร. 037-425031 หรือ https://sakaeo.mots.go.th

ดำน้ำตามหาปลาการ์ตูน ปลาน่ารักแห่งเกาะผี จ.ตราด

ดำน้ำเกาะผี 1

ทะเลเป็นของปลา ฟ้าเป็นของนก แต่ทริปนี้เราจะพาคนชื่อ “หมอนก” ไปดำน้ำดูปลาการ์ตูนในทะเลกันที่เกาะผี ฮาฮาฮาเกาะผี 1

เกาะผี เป็นเกาะเล็กๆ คล้ายกองหินโผล่พ้นน้ำ รอบเกาะไม่มีหาดทราย มีแต่โขดหินขรุขระที่มีหอยนางรมเกาะอยู่นับไม่ถ้วน มองเผินๆ เหมือนจะไม่มีอะไร แต่โลกใต้น้ำรอบเกาะผีนั้นสุดยอดจริงๆอ่าวพระ 2ทริปดำน้ำเที่ยวเกาะผีในวันนี้ จริงๆ แล้วเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการ Castaway @Low Carbon Island 2016 ของ อพท. หรือ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) เพื่อนำเรามาลั้นลาสัมผัสเกาะหมาก และหมู่เกาะใกล้เคียง ให้เห็นทั้งในด้านความงาม ความอุดมสมบูรณ์ และวิถีชีวิตคนบนเกาะ ที่ยังคงผูกพันกับทะเล กินอยู่เรียบง่าย ภายใต้แนวคิด “ปลดปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศโลกให้น้อยที่สุด”

อ่าวพระ 3

การจะไปดำน้ำที่เกาะผี ใกล้สุดต้องลงเรือที่อ่าวพระ ทางชายฝั่งด้านทิศเหนือของเกาะหมาก

คนบนเกาะหมากเล่าให้ฟังว่า สำหรับนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ เวลามาเที่ยวเกาะหมากแล้วซื้อแพ็กเกจดำน้ำแบบ One Day Trip ก็จะได้ไปแค่หมู่เกาะรัง ไม่ค่อยมีใครได้มาเกาะผี คนที่มีโอกาสไปเที่ยวเกาะผี จึงเป็นเพื่อนสนิทของคนบนเกาะหมากเท่านั้น วันนี้เราจึงโชคดีมากๆ
นั่งเรือไปเกาะผี 2

เรือมุ่งหน้าออกจากอ่าวพระ ตรงดิ่งสู่เกาะผี คุณลุงหมายคนขับเรือบอกว่าไม่เกิน 20 นาที เดี๋ยวก็ถึง
นั่งเรือไปเกาะผี 4

หลังจากดำน้ำดูปะการังกันที่อ่าวผ่องของเกาะหมาก ในช่วงเช้าแล้ว บ่ายวันนี้คุณไมเคิล ซึ่งมีรีสอร์ทเล็กๆ อยู่ที่อ่าวผ่อง ก็มาร่วมแจมทริปด้วย ทำให้ Project Castaway สำรวจเกาะผีในบ่ายนี้ของเรา น่าสนุกยิ่งขึ้นนั่งเรือไปเกาะผี 5

ก่อนถึงเกาะผี มองไปทางซ้ายมือคือ อ่าวลอม หนึ่งในอ่าวอันเงียบสงบของเกาะหมาก ทว่าไม่มีทางรถยนต์เข้าถึง ต้องใช้เรือเท่านั้น โลกใต้น้ำของอ่าวลอมจึงยังสมบูรณ์มากอ่าวลอม 2

อ่าวลอม มีหาดทรายขาวทอดยาวเคียงคู่ทิวมะพร้าวโอนเอน เป็นธรรมชาติสุดๆ เพราะไม่มีที่พักหรือรีสอร์ทอะไรเลย แถมใต้น้ำยังมีปะการังแข็งอยู่ดาษดื่นเกาะผี 2

เรือวิ่งเลยอ่าวลอมมานิดเดียว ก็ถึง เกาะผี เกาะเล็กๆ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกองหินขนาดใหญ่โผล่ขึ้นเหนือน้ำ บางส่วนของเกาะเป็นกองหินยอดแหลมๆ ที่มีหอยนางรมเกาะอยู่นับไม่ถ้วน สมัยก่อนคนที่เกาะหมากจะล่องเรือออกมาเกาะผี พร้อมกับเตรียมเหล็กปลายแหลมเรียกว่า สับปะนก มาเพื่อแงะหอยนางรมกินกันสดๆ แกล้มกับยอดกฐินอ่อน และมะนาว แหม.. เขาว่าแซ่บหลายเด้อ!
ดำน้ำเกาะผี 3

ถึงเกาะผีแล้วจะรีรออยู่ใย วันนี้อากาศดี แดดไม่ร้อน คลื่นลมสงบ น้ำใส ทัศนวิสัยการมองเห็นได้น้ำกว้างไกล หมอนกสาวสวยโดดลงน้ำเป็นคนแรกดำน้ำเกาะผี 4

น้ำรอบเกาะผีไม่ลึก ตื้นแค่ 3-5 เมตร ทำให้ดำน้ำดูปะการังง่ายมาก ส่วนใหญ่เป็นปะการังแข็งหลากชนิดหลากสี ราวกับป่าใต้น้ำอันลึกลับ เป็นที่อยู่อาศัย หลบภัย หากิน แพร่พันธุ์ ของสิ่งมีชีวิตนับไม่ถ้วนดำน้ำเกาะผี 5

คุณไมเคิล เอากล้องถ่ายภาพใต้น้ำตัวใหญ่คู่ใจ ดำดิ่งลงไปช่วยเก็บภาพโลกใต้น้ำของเกาะผี มาให้เราชมกันปลาผีเสื้อปากยาว

แค่โดดลงน้ำไปไม่นาน ก็มี ปลาผีเสื้อปากยาว (Beak Butterflyfish) หลายตัว ว่ายน้ำมาทักทายเราแล้ว น่ารักมากๆปะการังโขด 1

โลกใต้น้ำของเกาะผี เต็มไปด้วยความหลากหลายของปะการังแข็งหลากชนิด โดยเฉพาะปะการังโขด (Mountain Coral หรือ Finger Coral) นับว่าโดดเด่นมีจำนวนมากที่สุด พวกมันดึงแคลเซียมคาร์บอเนตมาจากทะเล เพื่อสร้างโครงสร้างแข็งให้ตัวเองอยู่รอด บ้างเป็นสีเหลือง สีน้ำตาล และสีชมพูอ่อน ราวกับเขาวงกตใต้น้ำอย่างไรอย่างนั้น!ปะการังโขด 2

ในปะการังโขดบางกอ มีหอยสองฝาไปแอบฝังตัวอยู่อาศัยร่วมกันด้วยหอยมือเสือ 1

โลกใต้น้ำของเกาะผียังอุดมสมบูรณ์มาก สังเกตได้จาก หอยมือเสือ (Giant Clam) ที่มีอยู่มากมาย นอกจากพวกมันจะสวยงามแล้ว ยังมีคุณค่าต่อระบบนิเวศน์แนวปะการังมาก เพราะหอยมือเสือช่วยฟอกน้ำให้สะอาด แถมในเนื้อของมัน ยังมีสาหร่ายซูแซนเทลลีเข้าไปอาศัยอยู่ด้วย มันจึงช่วยสังเคราะห์แสง สร้างออกซิเจนเพิ่มให้น้ำทะเลหอยมือเสือ 2

หอยมือเสือฝังตัวลงไปในกอปะการังรังผึ้งจนแทบจะเป็นเนื้อเดียวกัน!ปะการังโขด 3

โลกใต้น้ำอันน่าตื่นตาของเกาะผี แม้จะมีหอยเม่นหนามยาวอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ก็ไม่ได้เป็นอันตราย เพราะเราสามารถว่ายน้ำหลบหลีกไปได้ เพื่อชื่นชมปะการังแข็งรูปทรงและสีแปลกๆปะการังโขด 4

ปะการังแข็งสีเหลืองกับหนอนท่อ อาศัยอยู่ร่วมกัน ช่วยต่อเติมห่วงโซ่อาหารแห่งแนวปะการังให้สมดุลย์ปะการังโขด 8

ใต้น้ำของเกาะผีมี หอยเม่นหนามดำ (Sea Urchin : ชื่อวิทยาศาสตร์ Diadema setosum) อยู่อย่างหนาแน่น การดำน้ำเที่ยวชมปะการังจึงต้องระมัดระวังด้วย พยายามลอยตัวในแนวราบขนานกับผิวน้ำไว้ตลอด อย่าเข้าไปใกล้พวกมัน และอย่าให้ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายไปสัมผัสโดนเด็ดขาด เพราะหนามของมันจะหักติดอยู่ในเนื้อเรา ปวดมาก!!!!ปะการังโขด 11

ปะการังโขดกอใหญ่ เติบโตแผ่ขยายอาณาเขตออกไปใต้น้ำ เพื่อให้สิ่งมีชีวิตต่างๆ ได้มาพึ่งพิง
ปะการังดอกเห็ด 1ต้น้ำรอบเกาะผี มี ปะการังดอกเห็ด (Mushroom Coral) อันสวยงาม กระจายอยู่ทั่วไป ริ้วลายเส้นสายของปะการังชนิดนี้ ชวนให้พิศวงในความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ ที่สร้างสรรค์สรรพชีวิตนับไม่ถ้วนขึ้นปะดับท้องทะเลปะการังดอกเห็ด 3

ปะการังดอกเห็นบางอัน ก็มีรูปทรงแทบจะกลมดิกเลยล่ะปะการังดอกเห็ด 4

ปะการับดอกเห็ด เติบโตขึ้นบนกอปะการังโขดอันอุดมสมบูรณ์ปะการังดอกเห็ด 5ปะการังดอกเห็ด เกาะผีฟองน้ำครก 1

ฟองน้ำครกขนาดใหญ่มาก แลคล้ายปากปล่องภูเขาไฟใต้น้ำ! ฮาฮาฮาหนอนดอกไม้ 3

เห็นเป็นพุ่มพลิ้วไหวไปมาตามกระแสน้ำ แถมสีสวยขนาดนี้ อย่านึกเชียวนะว่าเป็นดอกไม้ทะเล จริงๆ เขาคือ หนอนท่อ (Tube Worm) ชื่อวิทยาศาสตร์ Sabellastarte sp. เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง อาศัยอยู่ในท่อหรือโพรงหินปูนและปะการัง เวลามีภัยมันจะผลุบเข้าไปในโพรงทั้งตัวจนไม่เห็นเลย แต่เมื่อเวลาหาอาหาร มันก็จะโผล่ออกมาสยายกิ่งก้านลักษณะคล้ายซี่กรองอาหารและแพลงก์ตอนเล็กๆ กินจากน้ำทะเลหนอนดอกไม้ 5

หนอนท่อ (Tube Worm) ที่เกาะผีมีหลากสีหลายชนิด กระจายอยู่ในเขตน้ำตื้นใสสะอาด คอยกรองกินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร แต่น่าแปลกที่ในบริเวณนี้ไม่พบหนอนฉัตร (Christmas-tree Worm) เลยปลาการ์ตูน ดอกไม้ทะเล 1

ดำน้ำวนเวียนดูปะการังแข็งอยู่พักใหญ่ ในที่สุดเราก็มาพบกับสิ่งที่ตามหา นั่นคือเจ้าปลาแสนน่ารักแห่งท้องทะเลไทย ปลาการ์ตูนอินเดียนแดง (Pink Anemonefish) ชื่อวิทยาศาสตร์ Amphiprion perideraion เป็นปลาการ์ตูนที่พบเห็นได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ตัวมันยาวแค่ 3-5 เซนติเมตรเท่านั้น ดีใจนะ ที่ได้พบกันวันนี้ปลาการ์ตูน ดอกไม้ทะเล 2

ด้วยระดับน้ำที่ลึกแค่ 3-5 เมตร รอบๆ เกาะผี อีกทั้งคลื่นลมไม่ค่อยแรง และน้ำค่อนข้างใส ทำให้ ดอกไม้ทะเล (Sea Anemone) เติบโตได้ดี เชื่อหรือไม่ว่าจริงๆ แล้วดอกไม้ทะเลที่แลพลิ้วไหวอ่อนนุ่ม จริงๆ แล้วเป็นสัตว์อยู่ในตระกูลเดียวกับปะการังแข็ง เพียงแต่ดอกไม้ทะเลไม่สร้างโครงหินปูนขึ้นห่อหุ้มลำตัวเท่านั้นเองปลาการ์ตูน ดอกไม้ทะเล 4

ดอกไม้ทะเลและปลาการ์ตูนอาศัยอยู่ร่วมกัน แบบพึ่งพากัน โดยปลาการ์ตูนใช้กอดอกไม้ทะเลเป็นบ้าน เป็นที่อาศัยหลบภัย เพราะดอกไม้ทะเลมีเข็มพิษไว้ป้องกันตัว แต่ปลาการ์ตูนไม่เป็นอันตราย เพราะตัวมันมีเมือกพิเศษใช้ป้องกันเข็มพิษดอกไม้ทะเลได้ ส่วนดอกไม้ทะเลได้ประโยชน์จากปลาการ์ตูนคือ ดอกไม้ทะเลให้ปลาการ์ตูนเป็นเหยื่อล่อปลาอื่นปลาการ์ตูน ดอกไม้ทะเล 5

ดอกไม้ทะเลพลิ้วไหวไปมาตามกระแสคลื่นใต้น้ำ งดงามราวกับทุ่งหญ้าต้องลมปลาการ์ตูน ดอกไม้ทะเล 6

ปลาการ์ตูนมีนิสัยอยู่เป็นที่เป็นทาง (ประจำถิ่น) ไม่ย้ายบ้านไปไหน เมื่อมันตัดสินใจอยู่ที่ดอกไม้ทะเลกอใด มันก็จะอยู่ไปตลอดชีวิต จับคู่ ผสมพันธุ์ เลี้ยงลูก กันอยู่ตรงนี้ เราจึงต้องช่วยกันปกป้องอาณาจักรปลาการ์ตูนแห่งเกาะผีไว้ดีๆปลาการ์ตูน ดอกไม้ทะเล 7

พอดำน้ำลงไปดูใกล้ๆ เจ้าปลาการ์ตูนอินเดียนแดงตกใจ รีบมุดเข้าไปแอบในกอดอกไม้ทะเล ไม่ต้องกลัวหรอกจ้า แค่มาทักทายกันเฉยๆ นะดำน้ำเกาะผี 6

สิ่งมีชีวิตโดดเด่นอีกอย่างที่เกาะผี คือ ฟองน้ำครก (Marine Sponges) จริงๆ แล้วมันเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังโบราณ ที่ถือกำเนิดขึ้นเมื่อกว่า 600 ล้านปีก่อน เคยครอบครองความเป็นใหญ่ในอาณาจักรใต้ทะเลยุคเปอร์เมียน หรือเมื่อ 290-248 ล้านปีก่อน ทว่าหลังจากนั้นปะการังก็เพิ่มจำนวนขึ้นแทน
ดำน้ำเกาะผี 8

น้ำใสแจ๋ว แถมไม่ลึกมาก ปะการังจึงอยู่ใกล้เราแค่นิดเดียว แต่อย่าไปจับล่ะ เพราะมันอาจมีพิษระคายเคืองผิวหนังได้!ปะการังโต๊ะ

ปะการังโต๊ะ (Table Coral) ขนาดใหญ่ คือแหล่งอาศัยหลบภัยอย่างดีของสิ่งมีชีวิตนานาชนิด
ปะการังแผ่น 1

ปะการังแผ่นขนาดใหญ่ งอกงามอยู่บนกอปะการังโขด โดยมีหนอนท่อขอไปพักพิงอิงอาศัย เหมือนอาณาจักรเล็กๆ ใต้น้ำ บางครั้งก็มี ปลาเขียวพระอินทร์ (Moon Wrasse) ว่ายผ่านไปผ่านมา เติมเต็มความอุดมสมบูรณ์ปะการังรังผึ้ง

ปะการังรังผึ้ง (Honey Comb Coral) ขึ้นปะปนอยู่กับปะการังแข็งชนิดอื่นฟองน้ำครก 2

คนเรือที่เกาะหมากเคยเล่าให้ฟังสนุกๆ ว่า ที่เกาะผีมีปล่องภูเขาไฟอยู่ด้วยนะ! เราก็เชื่อสนิท ตื่นเต้นใหญ่ พอดำน้ำลงไปดูจริงๆ มันก็คือฟองน้ำครกขนาดใหญ่ ที่มีทรงอ้วนๆ ตรงกลางกลวงคล้ายปากปล่องภูเขาไฟ! แต่ไม่ใช่ เพราะฟองน้ำแท้จริงคือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่อาศัยอยู่ใต้น้ำนั่นเองฟองน้ำครก 4

ปากปล่องฟองน้ำครก น้ำทะเลจะไหลเข้าทางนี้ เพื่อกรองกินสารอินทรีย์และแพลงก์ตอนเป็นอาหารหนอนดอกไม้ 1

หนอนท่ออันสวยงาม ยามไม่ถูกรบกวน มันจะโผล่ขึ้นมาจากโพรงหินปูน แล้วสยายกิ่งก้านดักจับ กรองอาหารกินจากน้ำทะเลรอบๆ ตัวหนอนดอกไม้ 4

หนอนท่อสีสันแปลกตา เพิ่มชีวิตชีวากับแนวปะการังเกาะผีหนอนดอกไม้ 6

หนอนท่อสีขาวหนอนดอกไม้ 7

หนอนท่อสีน้ำตาลอ่อนหนอนดอกไม้ 8

หนอนท่อกับปะการังแผ่น อยู่ร่วมกันได้เหมือนเพื่อนเนอะดำน้ำเกาะผี 7
วันนั้น แม้จะใช้เวลาดำน้ำเล่นกันอยู่ที่เกาะผีแค่ 2-3 ชั่วโมง แต่ก็ประทับใจมาก เพราะได้ตื่นตากับความหลากหลายของปะการังแข็ง ฝูงปลา และอาณาจักรปลาการ์ตูนอินเดียนแดง ที่ยังคงสามารถใช้ชีวิตหากินอยู่อย่างเสรี และปลอดภัย ต้องขอบคุณคนเกาะหมาก และหมู่เกาะโดยรอบแห่งทะเลตะวันออก ที่เห็นคุณค่าของทรัพยากรทางทะเลนี้ แล้วช่วยกันปกป้องไว้ไม่ให้สูญหาย

เพราะสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ถ้าเสื่อมสูญไปวันใด ก็ยากจะสร้างทดแทนกลับคืน! ในฐานะคนไทยคนหนึ่ง เราสามารถร่วมแรงร่วมใจกันคนละไม้คนละมือ ไปเที่ยวชม ศึกษาเรียนรู้ให้ซึ้งถึงคุณค่า แล้วนำภาพอันงดงามนั้นมาบอกต่อ เพื่อสร้างการท่องเที่ยวแนวใหม่ที่ยั่งยืน ปลดปล่อยคาร์บอนต่ำ

เพื่อให้ท้องทะเลตะวันออก ยังคงเป็นสวรรค์ของพวกเราตลอดไป นะจ๊ะlogo รวมขอขอบคุณ : อพท. หรือ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) และพี่น้องชาวเกาะหมากที่น่ารักทุกท่าน ที่ร่วมมือ ร่วแรงร่วมใจสร้างสรรค์กิจกรรมดีๆ นี้ขึ้น สอบถามโทร. 0-2357-3580-402Nikon logo 1Special Thanks : บริษัท Nikon Sales (Thailand) Co., Ltd. สนับสนุนกล้องถ่ายภาพระดับมืออาชีพ D4 และกล้องถ่ายภาพใต้น้ำ AW130 เพื่อการเก็บภาพสวยๆ เหล่านี้มาฝากเพื่อนๆ ทุกคน สนใจสอบถาม โทร. 0-2633-5100

https://goo.gl/GeqdbB

#LowcarbonAtkohmak #CastawayAtkohmak #ติดเกาะโลว์คาร์บอน

ปีนผาหามุมมองใหม่ แหลมตุ๊กตา

logo-castawayแหลมตุ๊กตา 2

การติดเกาะไม่ใช่เรื่องน่ากลัวเสมอไป! เพราะถ้าเราได้ติดเกาะกับเพื่อนรู้ใจ ที่ชอบลุย ชอบผจญภัยในแนวเดียวกัน การติดเกาะก็คงสนุก มีสีสัน และได้รสชาติของชีวิตสุดๆ

เกิดมาไม่เคยติดเกาะสักที แต่คราวนี้ทาง อพท. หรือ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ในโครงการ Castaway @Low Carbon Island 2016 เขาชวนมาติดเกาะหมาก จังหวัดตราด ทำกิจกรรมผจญภัย ทั้งพายเรือคายัค ดำน้ำดูปะการัง เดินป่าขึ้นเขา แถมยังมีภารกิจพิเศษให้ไปปีนผาหามุมมองใหม่ซะอีก ผมเลยต้องสืบเสาะดูว่า บนเกาะหมากแห่งนี้ยังมีซอกมุมไหนนะ ที่เป็น Unseen จริงๆ อยู่บ้าง!?
แหลมตุ๊กตา 3 แหลมตุ๊กตา 4

แหลมตุ๊กตา เป็นแหลมหินขนาดใหญ่ตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะหมาก จะว่าไปแล้วเป็นจุดที่อยู่ค่อนข้างโดดเดี่ยว ห่างไกลจากศูนย์กลางความเจริญของเกาะพอสมควร แหลมตุ๊กตาจึงเป็นบริเวณที่เงียบสงบ มีเพียงบังกะโลเล็กๆ ไม่กี่หลังตั้งเรียงรายอยู่ใต้ทิวมะพร้าวสูงลิ่ว
แหลมตุ๊กตา 5

ตรงส่วนด้านตะวันตกสุดของแหลมตุ๊กตา มีลักษณะเป็นหน้าผาหินขนาดใหญ่ ที่ดูๆ ไปก็สามารถปีนป่ายสำรวจหามุมมองใหม่ได้ คนซุกซนอย่างพวกเรา เลยชวนกันไปดูซิว่าจะมีอะไรซุ่มซ่อนอยู่บ้าง นอกจากวิวสวยๆ ที่สามารถมองออกไปเห็นเกาะระยั้งใน ระยั้งนอก ได้แล้วแหลมตุ๊กตา 6

จากบังกะโลที่พัก เราชวนกันเดินเลียบชายหาดเงียบสงบ เวิ้งว้าง ไปจนถึงแนวหน้าผาหิน หมอนกสาวนักเดินทางขาลุย เพื่อนร่วมทีมของเรา เป็นผู้นำการสำรวจในเช้าวันนี้ หน้าผาหินแหลมตุ๊กตาแม้จะลาดชัน แต่ก็มีซอกหลืบและแง่งหิน ให้ยึดจับสำหรับปีนป่ายได้ไม่ยาก เพียงแต่รองเท้าที่ใช้ต้องเป็นแบบหุ้มข้อ พื้นดอกยางใหญ่ และแต่งตัวให้ทะมัดทะแมง เหมาะสำหรับการปีนป่ายโดยไม่มีอะไรเกะกะ
แหลมตุ๊กตา 7

เห็นลีลาการปีนหน้าผาหินของหมอนกแล้วช่วยให้รู้สึกมั่นใจ ปีนตามไปได้อย่างไม่รู้สึกกลัวล่ะ จากด้านหน้าที่ติดทะเล เราค่อยๆ วางมือเท้าอย่างระวัง วกไปทางด้านขวา ผ่านดงต้นเตยทะเล เลาะไปจนเข้าสู่บริเวณที่เป็นร่องหลืบ ขนาบด้วยหน้าผาใหญ่สูงชันสองด้าน โดยมีร่องลึกคั่นกลาง ถ้าจะข้ามไปก็ต้องโดด หรือใครขายาวหน่อยก็อาจจะก้าวพ้น!
แหลมตุ๊กตา 8

พอปีนไต่มาสุดร่องหลืบผา เราก็ต้องตะลึง! เมื่อได้เห็นแท่งหินรูปหอคอยแหลมขนาดมหึมาตั้งตระหง่านอยู่ในทะเลตรงหน้า! มันคือประติมากรรมธรรมชาติ ที่ต้องใช้เวลานานไม่รู้เท่าไหร่ สลักเสลาด้วยคลื่นลม และแดดร้อนแรง จนผาหินสึกกร่อน ผุพัง เปลี่ยนรูปลักษณ์จนน่าอัศจรรย์ได้ขนาดนี้!
แหลมตุ๊กตา 9

เราค่อยๆ ปีนไต่ผาหินสูงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ได้มุมถ่ายภาพที่กว้างและอลังการยิ่งขึ้น โดยใช้หอคอยหินยักษ์เป็นพระเอกแล้วใช้น้ำทะเลใสกับฟ้าสีครามเข้มในวันนี้ช่วยแต่งเติมองค์ประกอบให้ภาพดูมีเสน่ห์ ยามนี้เสียงน้ำทะเลที่สาดซัดเข้ามากระทบโขดหินดังซ่าๆ แล้วแตกเป็นฟองขาว ช่างมีพลัง! ทำให้มนุษย์ตัวเล็กๆ อย่างเราต้องยอมสยบ เพราะธรรมชาติมีพลังยิ่งใหญ่เสมอ และมีเรื่องราวให้ค้นหาไม่จบสิ้นจริงๆ
แหลมตุ๊กตา 10

การปีนไต่สูงขึ้นเรื่อยๆ ตรงจุดนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนตอนแรก! เพราะผาหินไม่ได้มั่นคงดังที่คิด หินที่เราจับหรือวางเท้าพร้อมจะแตกหรือร่วงหล่นออกมาได้ตลอดเวลา!!! เราจึงต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูง เนื่องจากวันนี้เป็นการปีนสำรวจด้วยมือเปล่า ไม่มีอุปกรณ์พิเศษใดๆ ช่วยเลย! โดยเฉพาะก้อนหินที่จะใช้วางมือวางเท้านั้น เริ่มจะมีพื้นที่แคบลงทุกทีๆ!
แหลมตุ๊กตา 11

และแล้ว เมื่อเหงื่อพอซึมหลัง เราก็ปีนไต่ขึ้นมาจนถึงส่วนบนสุดของแหลมหินกลางทะเล ณ แหลมตุ๊กตา มองกลับไปทางด้านทิศตะวันออก เห็นแนวชายฝั่งเขียวครึ้มทอดยาวออกไป แต่ถ้ามองไปทิศอื่น ก็จะเห็นทะเล เกาะแก่ง และความงามของท้องทะเลสีคราม รวมถึงความเงียบสงบ ปราศจากสิ่งรบกวนของอารยธรรมยุคใหม่ ช่างเป็นมุมที่ให้ความรู้สึก โดดเดี่ยว เวิ้งว้าง แปลกแยก โบราณ และงดงามอย่างลึกลับ!แหลมตุ๊กตา 12

แต่ทันใดนั้น! เมื่อเราปีนต่อขึ้นไปอีกนิดเดียว บนส่วนยอดสุดของผาหินก็พบกับช่องทะลุ หรือโพรงถ้ำเล็กๆ ที่มองลอดผ่านได้สองด้าน มองออกไปเห็นเกาะระยั้งในตั้งอยู่ใกล้แค่เอื้อม นี่ถ้ามีเวลาพอ ได้กลับมาช่วงเย็นย่ำอัสดง ก็อาจจะได้เห็นพระอาทิตย์ตกลงในช่องนี้ก็เป็นได้แหลมตุ๊กตา 13 แหลมตุ๊กตา 14

หลังจากผ่านการปีนป่ายที่ค่อนข้างหวาดเสียวกันมาแล้ว ก็ได้เวลาพักผ่อน นั่งชมวิวสวยๆ แล้วแอบอิจฉาตัวเอง ที่ได้มาอยู่ในมุม Unseen แบบนี้ จะมีสักกี่คนนะที่ได้มาพบประติมากรรมธรรมชาติอันยิ่งใหญ่เหมือนเราตอนนี้?
แหลมตุ๊กตา 15

ค่อยๆ ปีนกลับลงมาจากผาหินสูง เพื่อเดินสำรวจตรงโขดหินของแหลมตุ๊กตา เราพบว่าที่นี่คืออาณาจักรใหญ่ของหอยนางรมธรรมชาติ นับหมื่นๆ ตัว เกาะฝังตัวติดอยู่กับโขดหินในระดับน้ำขึ้นน้ำลงท่วมถึง คนเกาะหมากเล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนเวลาเขามาแงะหอยนางรมกิน ก็จะมีเหล็กแหลมหัวงอๆ อันหนึ่งเรียกว่า “สับปะนก” ใช้ทุบเปลือกหอย แล้วแงะเนื้อมันออกมากินสดๆ พร้อมกับยอดกฐินอ่อน บีบมะนาวลงไปนิด เขาว่าหวานอร่อย เนื้อหอยละลายในปาก ฮาฮาฮาแหลมตุ๊กตา 16 แหลมตุ๊กตา 17 แหลมตุ๊กตา 18

ในบริเวณเดียวกัน เรายังพบหอยนมสาว และหอยตาวัว เป็นจำนวนมาก เกาะอยู่กับโขดหิน ตัวใหญ่บ้างเล็กบ้าง แลน่ารักดี บ่งบอกว่าธรรมชาติของแหลมตุ๊กตายังอุดมสมบูรณ์ไม่ใช่น้อย
แหลมตุ๊กตา 19

เพลิดเพลินกับการปีนป่ายผจญภัยผาหินอยู่เกือบชั่วโมง แดดก็เริ่มร้อนจัด คงได้เวลากลับที่พักก่อนเนอะ หมอนกเลยนำเราปีนข้ามร่องน้ำ กลับเข้าไปยังแผ่นดินใหญ่ของเกาะหมากอีกครั้ง แต่อย่างที่บอกไว้แต่แรก คือต้องปีนอย่างช้าๆ ระมัดระวังมาก เพราะตอนนี้ดูเหมือนพื้นรองเท้าเราจะลื่นด้วยแหละ
แหลมตุ๊กตา 20

หมอนก สาวนักผจญภัยที่แม้หนุ่มๆ หลายคนยังต้องอายแหลมตุ๊กตา 21

ลาก่อนแหลมตุ๊กตา ความงามของเธอช่างมีเสน่ห์ตรึงใจเหลือเกิน ขอให้คนที่มาเยือนแหล่งธรรมชาติแสนบริสุทธิ์นี้ ช่วยกันปกปักรักษาสภาพดั้งเดิมไว้

“เราจะไม่ทิ้งอะไรไว้นอกจากรอยเท้า เราจะไม่เก็บอะไรไปนอกจากความทรงจำดีๆ และภาพถ่ายสวยๆ” 

บ้ายบาย…logo รวมขอขอบคุณ : อพท. หรือ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) และพี่น้องชาวเกาะหมากที่น่ารักทุกท่าน ที่ร่วมมือ ร่วแรงร่วมใจสร้างสรรค์กิจกรรมดีๆ นี้ขึ้น สอบถามโทร. 0-2357-3580-402Nikon logo 1Special Thanks : บริษัท Nikon Sales (Thailand) Co., Ltd. สนับสนุนกล้องถ่ายภาพระดับมืออาชีพ D4 และกล้องถ่ายภาพใต้น้ำ AW130 เพื่อการเก็บภาพสวยๆ เหล่านี้มาฝากเพื่อนๆ ทุกคน สนใจสอบถาม โทร. 0-2633-5100

https://goo.gl/GeqdbB

#LowcarbonAtkohmak #CastawayAtkohmak #ติดเกาะโลว์คาร์บอน

พิชิตเขาแผนที่ จุดสูงสุดเกาะหมาก!

เกาะหมาก 2เขาแผนที่ 2

คุณเชื่อหรือไม่ว่า จริงๆ แล้วธรรมชาตินั้นอยู่รอบๆ ตัวเรา ทว่าบางครั้งเรากลับไม่ได้สังเกต เพราะเรามัวแต่ไปสนใจกับสิ่งอื่นอยู่ และหลายครั้งที่เราทำตัวเหินห่างจากธรรมชาติเหลือเกิน จนถูกเทคโนโลยีความทันสมัย บดบังสายตา คล้ายกับว่าเราอยู่แยกออกจากธรรมชาติโดยสิ้นเชิง!

ผมเป็นคนหนึ่งที่เกิด โต และทำงานอยู่ในเมือง แต่โชคดีที่ได้ท่องเที่ยวพบเห็นธรรมชาติอยู่บ่อยครั้ง หากไม่ได้ไปสัมผัสธรรมชาติเลย ก็จะรู้สึกว่าชีวิตเหี่ยวเฉา ไม่มีสีสันเสียนี่กระไร!
เขาแผนที่ 3.1

โชคดี ได้มาเที่ยว “เกาะหมาก” จังหวัดตราด กับ อพท. หรือ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ในโครงการ Castaway @Low Carbon Island 2016 นี่คือโอกาสสำคัญ ที่ผมจะได้สัมผัสเกาะหมากในแง่มุมที่คนทั่วไปไม่ค่อยได้รับรู้!

เพราะผมกำลังจะได้เดินป่าขึ้นไป พิชิตยอดเขาสูงสุดของเกาะหมาก ณ “เขาแผนที่” นั่นเอง
เขาแผนที่ 3

แต่ภารกิจเดินป่าพิชิตเขาแผนที่ (หรือที่ชาวบ้านเรียกกันอีกชื่อว่า เขาบ้านแหลม) ของผม จริงๆ แล้วเป็นมากกว่าการเดินป่าธรรมดา! เพราะคราวนี้เราจะเพิ่มคุณค่าให้กับการท่องธรรมชาติ โดยทีมของเราจะเดินขึ้นภูเขาไปช่วยกันทำแผนที่เส้นทางศึกษาธรรมชาติอย่างคร่าวๆ เพื่อให้นักท่องไพรคนอื่นได้มาเดินตามรอย

ทริปนี้ไม่เปลี่ยวเหงาแน่นอน เพราะได้ คุณหมอนก นักเดินป่าขาลุย ผู้ไม่เคยกลัวความยากลำบาก จากเว็บไซต์เพื่อนนักสะพายเป้ มาเป็นเพื่อนร่วมทีม แถมยังมีน้องพริกผู้ช่วยประสานงาน และหนุ่มแบงค์ไกด์ในพื้นที่ มาช่วยนำทางด้วย ชักจะสนุกแล้วสิเขาแผนที่ 4

จุดเริ่มต้นเดินป่าขึ้นเขาแผนที่ อยู่ใกล้กับแหลมตุ๊กตา ทางด้านปลายตะวันตกสุดของเกาะหมาก จริงๆ แล้วจุดนี้ถือเป็นป่าบริสุทธิ์แบบดั้งเดิม หรือ Virgin Forest ผืนสุดท้ายของเกาะหมาก (เนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ จากเนื้อที่เกาะหมากทั้งหมด 9,000 ไร่) บริเวณเชิงเขาเป็นป่าดิบแล้งร่มครึ้ม ปกคลุมด้วยไม้พุ่มและพืชคลุมดินหลายชนิด อย่างดอกโคลงเคลงสีชมพู ซึ่งออกดอกให้ชมกันตลอดปี
เขาแผนที่ 5.1

ทางเดินช่วงแรกของเขาแผนที่ค่อนข้างชัน พื้นทางเป็นหินก้อนใหญ่ๆ คล้ายเราเดินย้อนขึ้นไปตามร่องน้ำ จุดนี้จึงร่มครึ้มและมีความชื้นสูง เราพบ เฟินสามร้อยยอด (Lycopodium) ขึ้นอยู่เป็นดงใหญ่ พวกมันเป็นเฟินโบราณ ที่มีรูปร่างหน้าตาเปลี่ยนแปลงไปน้อยมากนับแต่อดีต และช่วยดูดซับความชุ่มชื้นไว้ให้ผืนป่าได้เป็นอย่างดี
เขาแผนที่ 5.2

ในบริเวณเดียวกับที่พบเฟินสามร้อยยอด เรายังจ๊ะเอ๋กับ เฟินก้างปลา ซึ่งมีแผ่นใบสวยงาม แตกออกเป็นหยักถี่ๆ เสมอกัน ไล่เรียงตั้งแต่ปลายไปจนถึงโคนใบอย่างมีระเบียบ นี่ก็เป็นพืชคลุมดินที่ช่วยเก็บความชื้นได้ยอดเยี่ยมเช่นกัน
เขาแผนที่ 5

ตรงตีนเขาแผนที่ในฤดูฝน จะมี ดอกพุดป่าสีขาว เป็นพุ่มบานอยู่จำนวนมาก ช่วยเพิ่มชีวิตชีวาให้ผืนป่า แม้จะเป็นดอกไม้ที่ไม่มีกลิ่นหอม แต่ก็เป็นหนึ่งในความหลากหลายของพรรณพืชที่ธรรมชาติมอบให้คนเกาะหมากเป็นของขวัญเขาแผนที่ 6.1

จากเชิงเขา เดินเลาะร่องน้ำขึ้นมาไม่นาน เราก็เลี้ยวซ้ายผ่านป่าร่มครึ้ม จนไต่สูงขึ้นทีละน้อยๆ สภาพป่าจึงโปร่งขึ้นต้นไม้มีขนาดเล็กลง และกระจายห่างกัน แสดงให้รู้ว่าชั้นดินบริเวณนี้ค่อนข้างตื้น มีธาตุอาหารน้อยลง และเริ่มมีหินโผล่บนผิวดินมากขึ้น เผยถึงลักษณะของป่าบนเกาะ ที่มักต้องทนร้อน แล้ง และลมแรงจากทะเล

พืชที่น่าสนใจชนิดแรกที่เราจัดให้เป็น จุดศึกษาธรรมชาติที่ 1 ก็คือ ต้นจิก (Barringtonia sp.) เขาแผนที่ 6.2

เดินถัดจากจุดแรกมาไม่ไกล ก็ถึง จุดศึกษาธรรมชาติที่ 2 คือ ต้นยมหิน (Chukrasia tabularis) พืชที่มักพบตามภูเขาหิน หรือป่าเกาะที่ค่อนข้างแห้งแล้ง
เขาแผนที่ 6.3

พืชที่น่าสนใจอีกชนิดในป่าตีนเขาก็คือ เฟินกระแตไต่ไม้ (Drynaria quercifolia) หรือ Oak-leaf Fern จัดเป็นเฟินอิงอาศัยขนาดใหญ่ ที่สามารถขึ้นอยู่บนต้นไม้หรือบนหินก็ได้ พวกมันมีชีวิตทรหดอดทน มีเหง้าหรือหัวกลมๆ พร้อมรากยึดเกาะตัวเองเข้ากับเจ้าบ้าน อาหารก็มีใบสังเคราะห์แสง รวมทั้งดูดซับไนโตรเจนจากอากาศ และดูดกินธาตุอาหารบางส่วนจากพืชเจ้าบ้าน เฟินกระแตไต่ไม้จะค่อยๆ เติบโตขยายขนาด และเพิ่มจำนวน คืบคลานขึ้นไปอย่างช้าๆ จนได้ฉายาว่า “กระแตไต่ไม้” ในที่สุด
เขาแผนที่ 6

เดินมาได้ยังไม่ถึงครึ่งชั่วโมง เราก็ถึง หน้าผาชมวิวแรกบนเขาแผนที่ เป็นหน้าผาหินโล่งๆ ขนาดใหญ่ หันหน้าออกไปทางทิศตะวันตก ขอบอกว่าตอนกลางวันจะร้อนจัด ถ้าให้ดีควรขึ้นมาเที่ยวตอนเช้าหรือบ่ายๆ แดดร่มลมตก จะดีที่สุด

เราขอนั่งพักชื่นชมวิวสวยๆ จากมุมสูงกันตรงนี้สักระยะ หายใจหายคอพอให้หายเหนื่อย มองออกไปเห็นเกาะระยั้งใน เกาะระยั้งนอก และแหลมตุ๊กตา ทอดตัวอยู่อย่างนิ่งสงบ ทำให้รู้สึกว่า ณ บัดนี้ มีตัวเรากับธรรมชาติเพียงลำพัง ความเจริญแบบเมืองๆ อื่นใด ไม่สามารถเข้ามากร้ำกรายเราได้อีกแล้ว ช่างหามุมสงบแบบนี้ยากจริงๆ
เขาแผนที่ 7

เขาแผนที่ช่างงามเหลือเกิน!เขาแผนที่ 8

ตรงหน้าผาชมวิวแรกบนเขาแผนที่ มีศาลศักดิ์สิทธิ์ตั้งอยู่ด้วย ชาวบ้านในบริเวณนี้ รวมถึงคนเรือที่ออกทะเล ก็มักจะส่งใจขึ้นมาสักการะท่าน ขอให้เดินทางโดยปลอดภัย เราก็เช่นกัน วันนี้ได้ขึ้นมากราบไหว้ขอพรท่าน ให้ช่วยคุ้มครอง และให้งานทุกอย่างของเราสำเร็จด้วยดี ด้วยเถิด เจ้าประคุณ…
เขาแผนที่ 9

เนื่องจากวันนี้เราเดินขึ้นเขากันแต่เช้า จึงมีเวลาสำรวจพรรณไม้ค่อนข้างเยอะ บริเวณหน้าผาชมวิวแรก เราพบ ดอกช้างน้าว (Ochna integerrima) สีเหลืองสดใส เป็นพืชทนแล้งชนิดหนึ่งที่ต้องเข้าป่าเท่านั้นจึงจะได้เห็น เราจึงจัดให้ช้างน้าว เป็น จุดศึกษาธรรมชาติที่ 3เขาแผนที่ 10

ส่วน จุดศึกษาธรรมชาติท่ี 4 อยู่ตรงข้ามกับต้นช้างน้าวเลย กำลังผลิดอกสะพรั่งจำนวนมาก มันคือ ดอกเข็มป่าสีขาว (Ixora sp.) ซึ่งเรายังไม่ทราบชนิดแน่นอน คงต้องรอนักพฤกษศาสตร์ตัวจริงมาช่วยจำแนกชนิดต่อไป
เขาแผนที่ 11

นอกจากการ Plot จุดศึกษาธรรมชาติ จากเชิงเขาขึ้นสู่ยอดเขาของทีมเราแล้ว สิ่งที่เราตั้งใจทำอีกอย่างคือ การวัดระยะรวมของเส้นทางเดิน ว่ารวมแล้วยาวกี่เมตร? รวมถึงระยะห่างระหว่างจุดศึกษาธรรมชาติแต่ละจุดด้วย เพื่อจะได้ใช้ทำหนังสือคู่มือ แผ่นป้าย หรือโบรชัวร์ แจกคนที่สนใจศึกษาเส้นทางสายนี้ต่อไปในอนาคตครับ
เขาแผนที่ 12พักตรงหน้าผาชมวิวที่ 1 กันจนเรี่ยวแรงกลับมาอีกครั้ง ก็เริ่มเดินศึกษาธรรมชาติต่อ หนทางช่วงถัดไปยังชันอยู่ แต่น้อยกว่าช่วงแรก พื้นทางยังเป็นหินสลับกับดินขรุขระ เดินต้องคอยระวังสะดุดล้มอยู่ตลอดเวลา ป่าสองฝั่งค่อนข้างโปร่ง มีแต่ต้นไม้เตี้ย แคระแกรน บ่งบอกถึงสภาพอากาศร้อนแรงและธาตุอาหารในดินที่ไม่ค่อยบริบูรณ์นัก

จุดศึกษาธรรมชาติที่ 5 คือ กล้วยไม้อิงอาศัย (Epiphytic Orchid) หรือเรียกให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ กล้วยไม้ที่เกาะอยู่ตามต้นไม้นั่นล่ะครับ เจ้าพวกนี้ถือว่าเป็นพืชที่มีความอดทนสูง เพราะต้องดูดไนโตรเจนจากอากาศมาเป็นอาหาร ความชื้นก็ได้จากน้ำค้างหรือตามเปลือกไม้ แถมยังต้องสร้างรากยึดเกาะอันเหนียวแน่น รวมถึงใช้ความพยายามเลื้อยพันตัวเองเข้ากับลำต้นไม้ด้วย แต่ที่ยากกว่า คือกว่ามันจะเติบโตขึ้นได้ เมล็ดกล้วยไม้พวกนี้ต้องปลิวมาตามลม มาตกลงยังจุดที่มีปัจจัยเติบโตทุกอย่างลงตัว เหมาะเหม็งจริงๆ ไม่งั้นเมล็ดก็จะเหี่ยวเฉาตายไป
เขาแผนที่ 13

จุดศึกษาธรรมชาติที่ 6 เราพบพืชประหลาดที่เรียกว่า จุกโรหินี หรือโกฐพุงปลา (Dischidia major) ชื่อสามัญภาษาอังกฤษคือ Milkweed เพราะมันจะมีน้ำยางขาวอยู่ภายในนั่นเอง บางคนคิดว่าจุกโรหินีคือกล้วยไม้ที่เหี่ยวเฉาตายแล้ว ทว่านั่นคือความเข้าใจผิด เพราะจริงๆ แล้วจุกโรหินีคือพืชใกล้ชิดกับ Hoya (นมตำเลีย)

จุกโรหินี เป็นไม้เลื้อยอิงอาศัย มีน้ำยางขาวคล้ายน้ำนม ยาพื้นบ้านใช้ ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดท้อง เนื่องจากโรคกระเพาะอาหารอักเสบ รากแก้ท้องเสีย แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง แก้หอบหืดได้เขาแผนที่ 14

เดินขึ้นมาใกล้ถึงยอดเขาเต็มที ป่าโปร่งขึ้นเรื่อยๆ แดดก็ร้อนจัด แต่ทีมเราไม่หวั่น ยังคงมุ่งมั่นเดินหน้าต่อไป จุดศึกษาธรรมชาติที่ 7 คือ หัวร้อยรู (Hydnophytum formicarium) เป็นพืชอิงอาศัยที่ขึ้นอยู่บนคาคบไม้สูง เกาะอยู่บนต้นไม้อื่น เมื่อโตเต็มที่มันจะมีขนาดเท่าลูกมะพร้าวใหญ่ๆ เลยทีเดียว โดยเราจะพบมันได้ในป่าที่ค่อนข้างแห้งแล้งเขาแผนที่ 15

หัวร้อยรู จัดเป็นพืชที่อยู่ร่วมกับมด (Myrmecophyte) ชนิดหนึ่ง ถ้าผ่าออกดู มักมีมดดำอาศัยอยู่เต็มหัว โดยเนื้อภายในจะนิ่มๆ เป็นสีน้ำตาลไหม้ เมื่อจะนำมาใช้ทำยาสมุนไพร ต้องแช่น้ำทิ้งไว้จนกว่ามดจะออกไปหมดก่อน ความสัมพันธ์ของมดและหัวร้อยรู ที่อยู่ด้วยกันแบบพึ่งพา มีศัพท์เทคนิคทางวิชาการเรียกว่า Symbiosis หรือ Mutualism นั่นเองเขาแผนที่ 16

ในตำรายาไทย หัวร้อยรูอยู่ใน “พิกัดมหากาฬทั้ง 5” ใช้ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้พิษอักเสบ ช้ำบวม แก้พิษไข้ ไข้กาฬ ประดงผื่นคัน น้ำเหลืองเสีย ส่วนหัวของหัวร้อยรูเองมีฤทธิ์บำรุงหัวใจ ขับพยาธิ แก้พิษในข้อในกระดูก แก้พิษประดง แก้ข้อเข่าข้อเท้าบวม เขาแผนที่ 17

ระหว่างทางพบดอกไม้ป่าชนิดหนึ่งกำลังบานพอดี แต่เสียดายไม่รู้จักชื่อ คงจะต้องเก็บไว้เป็นการบ้านที่เราต้องค้นหาคำตอบต่อไป นี่ล่ะคือเสน่ห์อย่างหนึ่งของการล่องไพร มันจะตั้งคำถามใหม่ๆ ให้เราหาคำตอบอยู่ตลอดเวลา จึงสอนให้เราเป็นคนกระตือรือล้น ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคเล็กหรือใหญ่ที่ขวางอยู่เขาแผนที่ 18

จุดศึกษาธรรมชาติที่ 8 คือ มอสและไลเคน (Moss and Lichen) จุดนี้สอนเราให้รู้จักความสำคัญของพืชจิ๋วที่อยู่รอบข้าง เพื่อให้เราหยุด แล้วก้มมองลงไปยังก้อนหิน หรือเปลือกไม้รอบๆ ตัวบ้าง เพราะสิ่งที่อยู่ระหว่างการเดินทาง ย่อมน่าสนใจไม่แพ้จุดหมายปลายทางสุดท้ายนะครับ

ความสำคัญของพืชจิ๋วพวกมอสและไลเคน นอกจากจะเป็นพืชเล็กๆ ที่ช่วยดูดซับน้ำไว้สร้างความชุ่มชื้นให้ป่าแล้ว พวกมันยังเป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพอากาศได้ด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้าเราพบมอสเขียวๆ ขึ้นปกคลุมก้อนหิน ก็แสดงว่าบริเวณนั้นชุ่มชื้นเย็นฉ่ำดี และถ้าบริเวณใดพบไลเคนมากๆ โดยเฉพาะไลเคนแบบใบและเส้น ก็แสดงว่าอากาศบริสุทธิ์มากเขาแผนที่ 19

ในบริเวณนี้ เรายังพบพืชชั้นต่ำที่ไม่มีท่อลำเลียงจำพวกหนึ่ง ขึ้นปะปนอยู่กับมอสและไลเคนด้วย คือ ลิเวอร์เวิร์ตแผ่นแบน (Thallose Liverwort) พืชพวกลิเวอร์เวิร์ตนี้ จริงๆ แล้วคือพืชจำพวกแรกๆ ของโลก ที่ปรับตัวขึ้นจากน้ำทะเลมาอยู่บนบกเมื่อประมาณ 400 ล้านปีก่อน โดยมันมีบรรพบุรุษร่วมกับสาหร่ายนั่นเองเขาแผนที่ 20

ไลเคนแบบแผ่น (หรือแบบด่างดวง) ขึ้นปกคลุมเปลือกไม้บนเขาแผนที่ จริงๆ แล้วไลเคน (Lichen) คือพืชมหัศจรรย์! มันคือการรวมตัวของสาหร่ายและเชื้อรา ที่มาอยู่ร่วมกัน โดยสาหร่ายช่วยสังเคราะห์แสงสร้างอาหาร ส่วนเชื้อราสามารถขยายตัวเพิ่มจำนวนได้รวดเร็ว นับเป็นการพึ่งพิงพึ่งพาได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่ายที่น่าเอาตัวอย่างจริงๆ นะครับเขาแผนที่ 21

คุณหมอนก เก็บภาพไลเคนบนเปลือกต้นไม้อย่างตั้งอกตั้งใจ
เขาแผนที่ 22

เมื่อเพ่งพินิจดูใกล้ๆ มอสที่เคยดูเหี่ยวเฉาในฤดูแล้ง เมื่อได้รับน้ำฝนก็จะกลับฟูขึ้น และดูสดใสเขียวสดอีกครั้ง เพราะจริงๆ แล้วมอสสามารถกักเก็บน้ำได้มากว่าน้ำหนักตัวเองหลายเท่า ถือเป็นพืชพื้นฐานที่ช่วยดูดซับน้ำไว้ให้ป่า แล้วสามารถทยอยปล่อยออกมารวมตัวกันเป็นห้วยธารได้อย่างน่าอัศจรรย์!
เขาแผนที่ 23ในบริเวณ จุดศึกษาธรรมชาติที่ 9 เส้นทางจะค่อนข้างคดโค้งจนใกล้ไปถึงยอดเขา ผ่านป่าร่มครึ้มอีกหย่อมหนึ่ง มันคือ “ป่ากะพ้อ” หรือ “ป่าต้นพ้อเขา” (Licuala sp.) พืชพวกนี้จัดอยู่ในตระกูลปาล์มจีบ แผ่นใบมีขนาดใหญ่ ปลายใบแตกเป็นแฉกซี่ย่อยๆ เรียงตัวกันเหมือนพัดกลมๆ โดยก้านใบของมันจะแตกขึ้นมาตั้งแต่โคนต้น และก้านใบมักมีความคมมากด้วย ต้องระวังอย่าไปจับต้องโดยไม่จำเป็น แถมบางชนิดก้านใบยังมีหนามแหลมอีกต่างหาก!
เขาแผนที่ 24

ใบของต้นพ้อเขา หรือกะพ้อเขาเขาแผนที่ 25.1

ในเมื่อใกล้จะถึงยอดเขาเต็มทน และอากาศยามบ่ายก็ร้อนสุดๆ เราเลยถือโอกาสพักเอาแรง ขนมและน้ำที่เตรียมมาช่วยเพิ่มน้ำตาลในกระแสเลือดอีกครั้ง ทั้งหมอนก, น้องพริก, นายแบงค์กับน้องสาวตัวน้อย ที่ขึ้นมาช่วยเรา ต่างก็มีความสุขแบบเรียบง่าย ยามใช้ชีวิตอยู่ติดดินกับธรรมชาติบนเขาแผนที่เขาแผนที่ 25

พ้นจากดงกะพ้อออกมา ทางเดินจะผ่านจอมปลวกใหญ่ อย่าไปทำร้ายเขานะ ให้เราเดินหลบไป เคารพธรรมชาติด้วย เพราะแท้จริงแล้ว จอมปลวกคือคอนโดมิเนียมขนาดยักษ์ใต้ดิน ของแมลงที่ช่วยย่อยสลายเศษซากอินทรีย์วัตถุในป่า ให้ธาตุอาหารกลับคืนสู่ระบบนิเวศน์อีกครั้งเขาแผนที่ 26

จุดศึกษาธรรมชาติที่ 10 ซึ่งถือเป็นจุดสุดท้ายของ Nature Trail เขาแผนที่ ที่ทีมของเราช่วยกันทำก็คือ “กล้วยไม้บนหิน” (Lithophytic Orchid) ลองมาเรียนรู้วิถีชีวิตของก้อนหินก้อนหนึ่ง ที่ถูกกล้วยไม้หลายชนิดขึ้นปกคลุมหนาแน่น ราวกับสวนหินแสนสวย นี่ถ้าได้มาพบตอนมันกำลังออกดอก คงวิเศษมากเลยนะเขาแผนที่ 27

กล้วยไม้บนหิน จริงๆ แล้วถือเป็นกล้วยไม้อิงอาศัยจำพวกหนึ่ง มันต้องปรับตัวเอาชีวิตรอดอยู่ในสภาพแวดล้อมอันขาดแคลน คือแทบจะไม่มีพื้นดิน ในภาพนี้จะเห็นว่ามันอาศัยอยู่บนกอของมอสที่พอกักเก็บความชื้นไว้ได้บ้าง แถมยังมีรากยึดเกาะเหนียวแน่น มีรากอากาศดูดไนโตรเจนจากอากาศ และต้องทนแล้ง ทนร้อน ทนไอเค็มจากทะเล และทนทานต่ออุณหภูมิของกลางวัน กลางคืน ที่ต่างกันหลายองศาเซลเซียส ทุกวันๆ ช่างน่าอัศจรรย์เหลือเกิน!
เขาแผนที่ 28.1ภารกิจเดินป่าทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติของทีมเรา เสร็จสิ้นลงในยามบ่ายแก่ แต่ช่วงฤดูนี้แดดยังร้อนแรง เราเลยแยกย้ายกันนอนพักเอาแรง มุมใครมุมมัน ชีวิตติดดินแบบนี้ มีความสุขจริงๆ เลย เอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม ฮาฮาฮา
เขาแผนที่ 28.2

หมดสภาพเมื่อเจออากาศร้อน! ขอพักนิดนึง เดี๋ยวตอนเย็นค่อยออกไปหามุมสวยๆ บนยอดเขาเก็บภาพพระอาทิตย์ตก
เขาแผนที่ 28

นี่ล่ะครับ หน้าตาของยอดเขาแผนที่ (เขาบ้านแหลม) เกาะหมาก จังหวัดตราด นี่คือจุดสูงที่สุดของเกาะหมาก ความสูงประมาณ 110 เมตร จากระดับน้ำทะเลเบื้องล่าง บนเขามีแต่ไม้พุ่มกับไม้ยืนต้นเตี้ยๆ พื้นเป็นหินระเกะระกะ

เขาแผนที่ 29.1

ทั้งอุปกรณ์ถ่ายภาพ อาหาร น้ำ และเครื่องนอน แบกขนกันขึ้นมาสำหรับค่ำคืนอันแสนพิเศษบนเขาแผนที่ คุณหมอนกเตรียมตัวถ่ายภาพแล้ว เอ… จะมีนกบินมาให้รัวชัตเตอร์บ้างไหมนะ?
เขาแผนที่ 29

หมอนกคนสวยสาวอึด เริ่มเก็บภาพธรรมชาติบนยอดเขาแผนที่เขาแผนที่ 30

มองจากไกลๆ นึกว่านกอินทรีย์หรือเหยี่ยว แต่พอใช้เลนส์ 600 มิลลิเมตรส่องดู มันก็คืออีกาดีๆ นี่เองครับเขาแผนที่ 32

จากยอดเขาแผนที่ มองลงมาเบื้องล่างจะเห็นเรือสปีตโบ๊ท และเรือประมงของชาวบ้าน แล่นผ่านไปมาเกือบตลอดวัน
เขาแผนที่ 33

เย็นย่ำใกล้ค่ำลงทุกที แสงอาทิตย์ที่เคยร้อนรุ่มมาตลอดวัน บัดนี้เริ่มอ่อนแรงลงทุกขณะ เปลี่ยนอุณหภูมิสีแสงให้กลายเป็นเฉดสีเหลือง ส้ม ชมพู และม่วง อย่างน่าประทับใจ ถือเป็นช่วงเวลาทองของช่างภาพ มุมใครมุมมันล่ะครับ!เขาแผนที่ 34 เขาแผนที่ 35 เขาแผนที่ 36 เขาแผนที่ 37 เขาแผนที่ 38

แสงสุดท้ายบนยอดเขาแผนที่ เราจะไม่มีวันลืมเลย
เขาแผนที่ 39

แคมป์แบบง่ายๆ ของเรา 3 คน ปูผ้าใบรองพื้น มีฟลายชีทขึงกันน้ำค้าง กินกันตรงนี้ นั่งคุยกันตรงนี้ และนอนกันตรงนี้ ใครหุงข้าวด้วยหม้อสนามเป็นมั่ง ยกมือด่วน!!!เขาแผนที่ 40

มื้อนี้กินกันแบบง่ายๆ เนอะเรา อาหารแบบป่าๆ กินเพื่ออยู่ ไม่ได้อยู่เพื่อกินเนอะ ฮาฮาฮา
เขาแผนที่ 41 เขาแผนที่ 42

น้องพริก ขอแสดงฝีมือหุงข้าว ผลออกมาคืออร่อยจริงๆ ด้วย นุ่มหอมกำลังดี ไม่มีแฉะ ไม่มีไหม้เลย เก่งสุดๆ น้องพี่เขาแผนที่ 43

มืดแล้ว เสียงหรีดเรไรดังระงม ผสานกับเสียงนกตบยุง (Nightjar) ที่ร้องเป็นจังหวะดัง “จุ้ง จุ้ง จุ้ง…” อยู่ไม่ห่างแคมป์ของเรานี่เอง บรรยากาศคลาสสิกสุดๆ ยากจะบรรยายเป็นตัวอักษรได้!
เขาแผนที่ 44

ท้องร้องจ๊อกๆ หิวๆๆๆ เหนื่อยกันมาทั้งวัน ได้เวลาหม่ำข้าวเติมแรง ไข่ต้ม กุนเชียงทอด น้ำพริกเผา และหอยลายผัดเผ็ด กินกับข้าวสวยร้อนๆ ใครจะลืมอาหารมื้อนี้ลงล่ะจ๊ะ!เขาแผนที่ 45

อิ่มแล้วเอนกายนอนพักผ่อนกายา ชีวิตกลางป่ายามค่ำคืนดูเผินๆ อาจเหงา แต่ไม่ใช่ เพราะเรามีมิตรภาพของเพื่อนที่นอนอยู่เคียงข้าง มีเสียงแมลงและยุงร้องขับกล่อมเหมือนเพลงไพเราะ ผสานกับเสียงลมทะเลที่พัดตึงตอนหัวค่ำ จนผ้าใบตีผึบผับ ถ้ายังไม่หลับ แสงไฟดวงน้อยจะช่วยให้อุ่นใจ นอนพูดคุยกันไปอย่างสนุกเฮฮา
เขาแผนที่ 46

ดึกสงัด ลมนิ่งสนิท อากาศบนเขาเริ่มร้อนอบอ้าว ตามมาด้วยเสียงยุงร้องวี้ๆ อยู่รอบตัว! แถมยังมีค้างคาวแม่ไก่ตัวเบ้อเริ่ม บินผ่านไปมาอยู่เหนือหัว ชวนให้ขนลุกตลอดคืน

หนึ่งราตรีบนเขาแผนที่ท่ามกลางคืนพระจันทร์เต็มดวง เป็นค่ำคืนแห่งความพิเศษในหมู่มิตร ที่เราจะไม่มีวันลืมไปตลอดชีวิต ขอขอบคุณธรรมชาติ หรืออะไรก็ตามท่ีนำเรามาพบกัน
เขาแผนที่ 47 เขาแผนที่ 48

นี่คือแผนที่เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติเขาแผนที่ ระยะทาง 340 เมตร มีจุดแวะศึกษาธรรมชาติ รวม 10 จุด ซึ่งเราขอท้าให้คุณมาสัมผัสด้วยตัวเอง นี่คือหนึ่งในตัวแทนความอุดมของเกาะหมาก จังหวัดตราด เกาะเงียบสงบแสนงาม ที่ผมเดินทางมาเพื่อจะ “หลงรัก” และหวังว่าคุณก็จะหลงรักด้วยเช่นกัน
logo รวมขอขอบคุณ : อพท. หรือ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) และพี่น้องชาวเกาะหมากที่น่ารักทุกท่าน ที่ร่วมมือ ร่วแรงร่วมใจสร้างสรรค์กิจกรรมดีๆ นี้ขึ้น สอบถามโทร. 0-2357-3580-402
Nikon logo 1Special Thanks : บริษัท Nikon Sales (Thailand) Co., Ltd. สนับสนุนกล้องถ่ายภาพระดับมืออาชีพ D4 และกล้องถ่ายภาพใต้น้ำ AW130 เพื่อการเก็บภาพสวยๆ เหล่านี้มาฝากเพื่อนๆ ทุกคน สนใจสอบถาม โทร. 0-2633-5100

https://goo.gl/GeqdbB

#LowcarbonAtkohmak #CastawayAtkohmak #ติดเกาะโลว์คาร์บอน

ภารกิจตามหาหญ้าทะเล ฮาเฮ เกาะหมาก จ.ตราด

logo-castawayอ่าวผ่อง 2

เคยมีคนกล่าวไว้ว่า ตราดคือเมืองเกาะครึ่งร้อย และเป็นสวรรค์แห่งทะเลตะวันออก ที่อาบอิ่มด้วยคลื่นลมเห่กล่อม ผสานน้ำทะเลสีครามสดใส เคียงคู่หาดทรายขาวสะอาดตา วันนี้เราจะพาตัวเองล่องเรือโล้คลื่นสู่ เกาะหมาก หนึ่งในเกาะแสนงามแห่งเมืองตราด เพื่อดำดิ่งลงไปยังโลกใต้ทะเลอันสวยงาม น่าพิศวง และมีเรื่องราวให้ค้นหาไม่รู้จบ

ทริปนี้พิเศษกว่าทุกครั้ง เพราะ Go Travel Photo ได้รับเกียรติจาก อพท. หรือ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ให้เข้าร่วมในโครงการ Castaway @Low Carbon Island 2016 ทำหน้าที่อาสารักษ์โลก สัมผัสธรรมชาติสงบงาม และวิถีชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมบนเกาะหมากแห่งนี้

อ่าวผ่อง 3

มาเที่ยวเกาะหมากคราวนี้ เรามีภารกิจพิเศษพกติดตัวมาด้วย เพราะเราได้ยินมาว่า ที่ “อ่าวผ่อง” ทางด้านทิศใต้ของเกาะหมาก ซึ่งอยู่ติดกับท่าเรืออ่าวนิด เป็นจุดดำน้ำตื้นชมปะการังที่น่างดงามมาก แถมยังมีแนวหญ้าทะเลอยู่ด้วย! โห ถ้าจริงก็ดีนะสิ เพราะหญ้าทะเลเหลืออยู่ไม่มากแล้วในเมืองไทย หวังว่าจะได้เห็นกับตาตัวเองสักครั้ง
อ่าวผ่อง 4

อ่าวผ่อง ที่เราเห็นในแว๊บแรก ทำให้หลงรักในทันที เพราะถึงแม้จะเป็นเวิ้งอ่าวเล็กๆ ยาวไม่กี่ร้อยเมตร ทว่าจุดเด่นคือความสงบ หาดทรายเป็นสีทอง เนื้อละเอียดเนียน เดินนุ่มเท้า วันนี้ฟ้าใสเป็นใจกับการดำน้ำตามหาหญ้าทะเลจริงๆ เลย
อ่าวผ่อง 5

พวกเราเป็นคนชอบกิจกรรมมันส์ๆ จะทำอะไรทีก็ต้องไม่ธรรมดา เลยขอเพิ่มดีกรีความสนุกก่อนจะไปดำน้ำที่อ่าวผ่อง ด้วยการพายเรือคายัคระยะทางสักครึ่งกิโลเมตร เริ่มต้นจากทะเล ไทม์ รีสอร์ท ไปอ่าวผ่อง โดยครั้งนี้ได้สาวสวยขาลุย “คุณหมอนก” จากเว็บไซต์เพื่อนนักสะพายเป้ มาเป็นเพื่อนร่วมทาง ก่อนพายเรือก็ต้องเตรียมความพร้อมกันหน่อยล่ะ
อ่าวผ่อง 6

แม้จะเป็นการพายเรือคายัคระยะทางสั้นๆ แต่มากางแผนที่ดูเส้นทาง และจุดหมาย กันไว้ก่อน ก็ดีเหมือนกัน
อ่าวผ่อง 7

น่าจะใช้เวลาพายเรือไม่เกิน 30 นาที ถ้าคลื่นลมไม่แรงเกินไป พร้อมแล้วก็ลุยกันเลยยยยยอ่าวผ่อง 8

การพายเรือคายัค เป็นหนึ่งในกิจกรรมการท่องเที่ยวทางน้ำที่ถือว่า “เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” เพราะไม่ได้ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อะไรเลยสู่ชั้นบรรยากาศโลก เสียงก็เงียบ พายเรือไปอย่างอิสระเสรี จะหยุดแวะชมธรรมชาติตรงไหนก็ได้ตามใจชอบ นับว่าเหมาะสุดๆ แล้ว สำหรับเกาะคาร์บอนต่ำอย่างเกาะหมากครับ

แต่วันนี้ดูเหมือนคลื่นลมจะค่อนข้างแรง เรือคายัคของผมกับหมอนกเลยโดนคลื่นซัดไปคนละทางสองทาง ฮาฮาฮา สุดท้ายก็ต้องใช้วิธีผูกเชือกโยงเรือเข้าไว้ด้วยกัน แล้วพายไปพร้อมๆ กันดีกว่าเนอะอ่าวผ่อง 9

ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ตามที่กะไว้ ในที่สุดเรือคายัคลำน้อยสองลำก็มาจอดเกยหาดอยู่ที่อ่าวผ่อง อย่างปลอดภัย โดยมี คุณไมเคิล ซึ่งเป็นชาวยุโรปที่มาทำธุรกิจรีสอร์ทเล็กๆ อยู่ที่อ่าวผ่อง แถมยังเป็นนักถ่ายภาพใต้น้ำฝีมือฉกาจ รวมทั้ง คุณเนม เจ้าของทะเล ไทม์ รีสอร์ท (อ่าวทองหลาง) ที่อยู่ติดกัน มายืนรอรับอยู่ด้วยความเป็นห่วง

ก่อนจะเปลี่ยนชุดลงไปดำน้ำ เราได้พูดคุยกันถึงความสมบูรณ์ของพื้นที่ คุณไมเคิลเล่าว่า แนวปะการังหน้าอ่าวผ่องเคยถูกภาวะปะการังฟอกขาว หรือ Coral Bleching จากน้ำทะเลที่ร้อนขึ้น (ผลจากภาวะโลกร้อน) ส่วนหนึ่งจึงตายไป แต่โชคดีที่ปัจจุบันบางส่วนเริ่มฟื้นตัวแล้ว จึงมีปลาเล็กปลาน้อย และปะการังเกิดใหม่ ค่อยๆ เติบโตขึ้น
อ่าวผ่อง 10.1

บริเวณหัวหาดด้านหนึ่งของอ่าวผ่อง ยามน้ำลดจะเห็น แนวหินภูเขาไฟ (Volcanic Rock) จำนวนมากผุดขึ้นมา ลักษณะเป็นหินสีน้ำตาลเกือบดำ เนื้อเป็นรูพรุนจำนวนมาก เพราะหินลาวานี้มีฟองอากาศอยู่ภายใน และเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว นี่เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า เมื่อ 200 กว่าล้านปีก่อน บริเวณนี้เป็นแหล่งธรณีภูเขาไฟที่ดุเดือดไม่ใช่เล่น คงอย่างนี้นี่เอง ในบริเวณจังหวัดตราดและจันทบุรี จึงมีหินอัญมณีมีค่าและหินภูเขาไฟหลงเหลืออยู่มากมาย อย่างที่เกาะขามที่อยู่ใกล้เกาะหมากก็มีเหมือนกันครับอ่าวผ่อง 10.2

แนวหินภูเขาไฟผุดยามน้ำลง ที่อ่าวผ่องอ่าวผ่อง 10

เอาล่ะ ตอนนี้ได้เวลาดำน้ำตามหาหญ้าทะเลกันแล้ว ตื่นเต้นจัง! หมอนกคนสวยของเรา โดดน้ำตามคุณไมเคิลลงไปก่อนเลย วันนี้ถ้าภารกิจไม่สำเร็จ เราสัญญากับตัวเองไว้แล้วว่าจะไม่หยุดแน่นอน!อ่าวผ่อง 11

แม้วันนี้บนผิวน้ำคลื่นจะค่อนข้างแรง น้ำไม่ใสเคลียแบบ 100 เปอร์เซนต์ แต่ก็ยังพอมองเห็นป่าใต้น้ำได้บ้าง ไม่ห่างจากฝั่งมากนัก ในบริเวณน้ำลึกไม่เกิน 1.50 เมตร สิ่งแรกที่เตะตานักดำน้ำมือสมัครเล่นอย่างผมก็คือ “สาหร่ายทุ่น” (Sargassum) เป็นสาหร่ายสีน้ำตาล ที่มีลำต้นยาวตั้งตรง พลิ้วไหวโอนเอนไปมาตามกระแสคลื่น ทำให้จุดนี้เราต้องว่ายน้ำซิกแซกไปมาหลบพวกมัน น่าสนุกดีครับ เหมือนผจญภัยในป่าใต้น้ำไม่มีผิดเลย!อ่าวผ่อง 12

ในบริเวณเดียวกับที่พบสาหร่ายทุ่น เรายังพบ สาหร่ายเห็ดหูหนู (Lobophora) งอกงามอยู่เป็นจำนวนมาก ลักษณะของมันเนื้อจะนิ่มๆ เหมือนวุ้น มีแผ่นใบกลมๆ เหมือนหูหนูขนาดใหญ่ การที่เราพบสาหร่ายในน้ำตื้นทั้งสองชนิดนี้ ถือว่าดี เพราะนอกจากมันจะช่วยสังเคราะห์แสงเพิ่มออกซิเจนให้ทะเลแล้ว ยังเป็นตัวดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย เพราะในกระบวนการสังเคราะห์แสงของมัน ต้องใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากอ่าวผ่อง 13

ดำน้ำตีขาสู้คลื่นห่างจากฝั่งออกมาประมาณ 30-40 เมตร ช่วงแรกนี้ปะการังที่พบส่วนใหญ่เป็นปะการังแข็ง (Hard Coral) หลากชนิด อย่างในภาพนี้คือ ปะการังรังผึ้ง (Honey Comb Coral) รูปแบบหนึ่งอ่าวผ่อง 14

ปะการังรังผึ้งรูปแบบหนึ่ง กำลังเติบโตขึ้นบนโขดปะการังเดิมที่ตายลงเพราะภาวะน้ำทะเลร้อนในอดีตอ่าวผ่อง 15

รูปแบบชีวิตอันหลากหลายใต้ท้องทะเลที่อ่าวผ่อง ปะการังรังผึ้ง แบบนี้แม้กอจะไม่ใหญ่ แต่ถ้าสังเกตให้ดี จะพบว่ามีสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ไปพึ่งพิงอิงอาศัยอยู่มากมาย แนวปะการังจึงเป็นสังคมสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ ที่มีห่วงโซ่อาหารซับซ้อนมากอ่าวผ่อง 16

ปะการังดาวสีทอง (Golden Star Coral) สีส้มสดใส ที่เห็นนี้จริงๆ แล้วปะการังไม่ใช่พืช แต่เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่ดูดหรือกรอกกินสารอาหารและแพลงก์ตอนจากน้ำทะเล ปะการังบางชนิดอาศัยอยู่ในโครงสร้างหินปูนแข็ง รูปร่างคล้ายต้นไม้ ใบไม้ จึงทำให้หลายคนเข้าใจผิด คิดว่าปะการังเป็นพืช แต่จริงๆ แล้วพวกมันเป็นสัตว์จำพวกหนึ่งนะจ๊ะ อิอิอ่าวผ่อง 17

ปะการังรังผึ้งรูปแบบหนึ่ง ที่อ่าวผ่อง รูปร่างสวยงามแปลกตาเหลือเกินอ่าวผ่อง 18

ในบริเวณน้ำตื้นของอ่าวผ่อง ช่วงที่น้ำลึกไม่เกิน 1.50 เมตร เราพบ ปลิงทะเล (Lolly Sea Cucumber) อยู่บ้างพอสมควร จริงๆ แล้วปลิงทะเลเป็นญาติใกล้ชิดกับดาวทะเลและหอยเม่น มันเคลื่อนที่ด้วยการยืดหดกล้ามเนื้อ ทำนองคืบคลานไปมา เพราะมันไม่มีกระดูกสันหลัง โดยมันจะใช้หนวดที่ปากคุ้ยเขี่ยซากอินทรีย์และอาหารบนพื้นทราย เลน กิน การพบปลิงทะเลในบริเวณใดมากๆ จึงเท่ากับว่า มีเทศบาลคอยช่วยทำความสะอาดพื้นทะเลให้นั่นเองอ่าวผ่อง 19ปะการังรังผึ้ง (Honey Comb Coral) ก้อนกลมเกือบเท่าลูกฟุตบอล ลายสวยน่ารัก เป็นปะการังแข็งชนิดหนึ่งที่พบได้มากมายบริเวณอ่าวผ่อง กว่าจะขยายขนาดขึ้นเป็นกอใหญ่ๆ ได้ มันต้องใช้เวลาหลายสิบปีทีเดียว

อ่าวผ่อง 20

เพลิดเพลินกับการดำน้ำตื้นไปเรื่อยๆ ก็ไปจ๊ะเอ๋ เข้ากับกอ ปะการังสมองร่องลึก (Large Brain Coral) ที่ทำให้ขนลุกได้เหมือนกัน คงเพราะรูปร่างของมันเหมือนกับสมองของคนเราไม่ผิดเลยนะสิ! แต่จริงๆ แล้วไม่มีอันตรายหรอกนะ แค่เราคิดไปเอง ไม่น่ากลัวอะไร เราจะเห็นหนอนสีดำขนาดเล็กอาศัยอยู่ในร่องของปะการังสมองด้วยอ่าวผ่อง 21

ปะการังสมองร่องลึก (Large Brain Coral) ขนาดเท่าหัวผักกะหล่ำใหญ่ๆ
อ่าวผ่อง 22

การดำน้ำตามหาหญ้าทะเลในวันนี้ที่อ่าวผ่อง เรามีคุณไมเคิลเป็น Dive Leader หรือผู้นำดำน้ำ เพราะเขาอาศัยอยู่ที่นี่ จึงมีความเชี่ยวชาญ รู้ว่าตรงไหนมีอะไร แต่ที่สำคัญคือ คุณไมเคิลได้ช่วยเราเก็บภาพ VDO ใต้น้ำด้วย ดีใจมากๆ ครับอ่าวผ่อง 23

ในจุดดำน้ำหลักจุดแรก ซึ่งเป็นเหมือนดงปะการังแข็งพื้นที่กว้าง เราพบ หอยมือเสือ (Giant Clam) ซึ่งเป็นหอยทะเลขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่ง กระจายอยู่มากมาย แม้มันจะยังโตไม่เต็มที่ จนถึงขนาด 100-120 เซนติเมตร แต่ก็ถือเป็นหอยมือเสือวัยรุ่น ที่บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของอ่าวผ่องได้เป็นอย่างดี และจะช่วยให้ท้องทะเลบริเวณนี้ในอนาคตมีความอุดม มีคุณค่า มีห่วงโซ่อาหารที่ไม่ขาดตอนอ่าวผ่อง 24

ว่ากันว่า พบหอยมือเสือที่ใด น้ำในบริเวณนั้นถือว่าสะอาด เพราะหอยมือเสือจะมีชีวิตอยู่ได้ในบริเวณที่น้ำค่อนข้างคื้น ใสสะอาด ตะกอนน้อย เนื่องจากตัวของมันเองแม้จะเป็นสัตว์ แต่ช่างน่าอัศจรรย์ กลับมีสาหร่ายชนิดหนึ่งไปอาศัยอยู่ในเนื้อของมันด้วย หอยมือเสือจึงต้องเปิดปากออกมา ให้สาหร่ายสังเคราะห์แสงสร้างอาหาร เป็นการอาศัยแบบพึ่งพากัน ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย (Symbiosis) คือสาหร่ายได้ที่อยู่อาศัย และหอยมือเสือได้อาหารจากสาหร่าย
อ่าวผ่อง 25

การสังเคราะห์แสงของสาหร่ายที่อยู่ในเนื้อหอยมือเสือ ถือว่ามีประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ทางทะเลอย่างมาก เพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มออกซิเจนให้น้ำทะเลแล้ว ยังช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาเก็บไว้ด้วย หรือที่ในทางนิเวศน์วิทยาเรียกว่า Carbon Sink นั่นเอง หอยมือเสือจึงไม่ได้มีไว้กินอย่างเดียวตามที่หลายคนเข้าใจผิด

“ทุกสิ่งทุกอย่างในธรรมชาติล้วนมีหน้าที่ และเชื่อมโยงกันเป็นวงจร ห่วงโซ่อันเปราะบาง”
อ่าวผ่อง 26

ถ้าสังเกตให้ดี นอกจากหอยมือเสือแล้ว เรายังพบ หอยมือแมว (Crocus Giant Clam) ด้วย ถ้าไม่รู้จักมองผ่านๆ ก็อาจนึกว่าเป็นชนิดเดียวกับหอยมือเสือ (Giant Clam) วิธีสังเกตง่ายๆ ในความต่าง คือ หอยมือแมวขนาดจะเล็กกว่า ยาวเพียง 10-15 เซนติเมตร (ไม่เกิน 20 เซนติเมตร) และมักฝังตัวอยู่ในกอหรือโขดปะการังแข็ง ไม่ได้เห็นเป็นตัวเด่นขึ้นมาเหมือนหอยมือเสือ อ่าวผ่อง 27

หอยมือแมว (Crocus Giant Clam) อยู่ในตระกูลเดียวกับหอยมือเสือ แต่ตัวเล็กกว่า ทว่ามันสามารถช่วยสังเคราะห์แสง ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เช่นกัน
อ่าวผ่อง 28

ปะการังสีทอง ที่อ่าวผ่อง ชนิดนี้ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเป็นสีทองตามธรรมชาติ หรือเกิดจากภาวนะน้ำทะเลร้อนขึ้น???อ่าวผ่อง 29

ปะการังโขด (Hump Coral) สีม่วงอมชมพูสวยงาม พบกระจายอยู่ทั่วไปที่อ่าวผ่อง
อ่าวผ่อง 30

ปะการังโขด (Hump Coral) สีชมพูอ่อนที่อ่าวผ่อง บางจุดพบว่ามีขนาดใหญ่ แผ่ออกไปหลายสิบตารางเมตรเลยทีเดียว จะเห็นว่า นอกจากมีลูกปลาเล็กๆ แอบไปใช้เป็นที่หลบภัยแล้ว ยังมีหอยไปฝังตัวอยู่ในเนื้อของปะการังโขดด้วยอ่าวผ่อง 31

เมื่อดำน้ำห่างจากฝั่งออกมาเรื่อยๆ จนถึงระยะน้ำลึกราวๆ 3 เมตร ก็พบ ปะการังโขด (Hump Coral / Mountain Coral) ขนาดใหญ่และกินพื้นที่กว้างขึ้น ปะการังโขดบางกอมีสีส้ม ชมพู ม่วง ผสานกันไปมา สวยงามมากอ่าวผ่อง 32

ฝูงปลาเล็กปลาน้อย ว่ายวนหากินอยู่ในแนวปะการังแข็งของอ่าวผ่อง
อ่าวผ่อง 33

ปะการังดอกเห็ด (Mushroom Coral) แม้พบได้ทั่วไป เป็นปะการังที่หาง่าย แต่ก็มีรูปร่างสวยงามเตะตา ดึงดูดความสนใจเราให้ว่ายน้ำเข้าไปดูใกล้ๆ ได้ทุกครั้ง พวกมันเป็นปะการังที่เติบโตขึ้นเป็นกอเดี่ยวๆ เส้นผ่าศูนย์กลาง 20-30 เซนติเมตร แต่ถ้าโตอยู่ใกล้กันหลายๆ อัน บางครั้งมันก็รวมตัวเป็นกอใหญ่ก็มี จัดเป็นปะการังน้ำตื้นที่โดดเด่นมากชนิดหนึ่งของอ่าวผ่องครับ
อ่าวผ่อง 34ปะการังเขากวาง (Staghorn Coral) ในลักษณะการเติบโตขึ้นเป็นพุ่ม (Table) รูปร่างคล้ายโต๊ะขนาดใหญ่ การที่พบเห็นมันเป็นสีเหลืองทองขนาดนี้ เป็นดัชนีบ่งชี้ได้ชัดเจนว่าน้ำทะเลของภาคตะวันออกร้อนขึ้น อันเป็นผลมาจากปี 2016 เป็นปีที่โลกต้องประสบภาวะโลกร้อน และปะการังฟอกขาว รุนแรงที่สุดปีหนึ่ง!!!

อ่าวผ่อง 35

กว่าปะการังเขากวางแต่ละกิ่งจะงอกงามขึ้นได้ขนาดนี้ มันต้องใช้เวลาหลายสิบปี เพราะแต่ละปีมันงอกยาวได้แค่ไม่กี่มิลลิเมตรเท่านั้น! ดังนั้นเวลาไปดำน้ำดู เราต้องระวังไม่จับต้อง และระวังไม่ให้ตีนกบดำน้ำของเราไปโดนมันจนหัก!
อ่าวผ่อง 36

ในบริเวณปะการังใต้น้ำกลุ่มที่ 2 ซึ่งคุณไมเคิลนำเราดำน้ำดู โชคดีไปพบกับ กอปะการังโขดรูปหัวใจ!!! ที่มีปะการังรังผึ้งกลมสวยคล้ายลูกบอลอยู่ตรงกลางพอดิบพอดี ช่างน่าพิศวงในประติมากรรมธรรมชาติใต้น้ำชิ้นนี้ เปรียบไป ก็คล้ายกับหัวใจแห่งมหาสมุทรที่ไข่มุกแสนงามประดับอยู่ตรงกลาง นี่คือของขวัญล้ำค่าสำหรับมนุษย์ตัวเล็กๆ อย่างเรา

ผมถือว่า นี่คือ Unssen ของอ่าวผ่อง และเกาะหมาก อย่างหนึ่งเลยล่ะ!
อ่าวผ่อง 37

ปะการังรังผึ้งที่อ่าวผ่อง
อ่าวผ่อง 38

ปะการังโขดขนาดเล็ก กำลังเริ่มก่อตัวขึ้นอย่างช้าๆ อ่าวผ่อง 39

ปะการังแผ่น เติบโตขึ้นเคียงคู่กับปะการังโขด ปะการังรังผึ้ง และชุมชนหอยเม่นหนามยาว ทำหน้าที่คล้ายชุมชนใต้น้ำ ให้หมู่กุ้ง หอย ปู ปลา เข้ามาหลบอาศัย หากิน และขยายพันธุ์ต่อไปอ่าวผ่อง 40

ปะการังสมอง (Brain Coral) เป็นหนึ่งในชนิดปะการังโดดเด่นที่สุดบริเวณอ่าวผ่อง รวมถึงรอบๆ เกาะหมาก และท้องทะเลภาคตะวันออกของไทย รูปร่างอันชวนพิศวงของมัน คงทำให้หลายคนรู้สึกขนลุกได้ไม่น้อย!
อ่าวผ่อง 41

ในที่สุด หลังจากดำน้ำกันมาชั่วโมงกว่า ผ่านกลุ่มปะการังเด่นๆ มา 2 กลุ่ม คุณไมเคิลก็นำเราว่ายน้ำกลับเข้าสู่บริเวณน้ำลึกไม่เกิน 2 เมตร ณ จุดนี้คือ แหล่งหญ้าทะเลที่เราตามหา! มันคือผืนพรมสีเขียวใต้น้ำใส แผ่กว้างออกไปหลายสิบตารางเมตร จนยากจะวัดให้ชัดเจนได้ว่ามีพื้นที่เท่าใดแน่ แต่นั่นคงไม่สำคัญเท่ากับ การได้เห็นหญ้าทะเลของจริงกับตาตัวเองสักครั้งในระยะใกล้ชิดแบบเผาขนขนาดนี้ คือสิ่งพิสูจน์ว่า เกาะหมากยังเป็นสวรรค์ของคนรักทะเลอย่างแท้จริงอ่าวผ่อง 42

หญ้าทะเลที่อ่าวผ่องขึ้นเบียดเสียดกันอย่างหนาแน่น สมบูรณ์มาก และแทบไม่มีร่องรอยความเสียหายเลย ดีใจจัง! โดยตามธรรมชาติแล้ว หญ้าทะเล หรือ Sea Grass คืออาหารของ เต่าทะเล (Sea Turtle) และ พะยูน (Dugong) รวมทั้งยังเป็นแหล่งอาศัย หลบภัย หากิน สืบพันธุ์ ของกุ้ง หอย ปู ปลา รวมถึงม้าน้ำตัวจิ๋วด้วย นอกจากนี้ หญ้าทะเลยังช่วยสังเคราะห์แสง เพิ่มออกซิเจนให้ท้องทะเล เป็นการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากักเก็บไว้ในตัวและผืนดินข้างใต้ ได้อย่างน่าอัศจรรย์อ่าวผ่อง 43

หญ้าทะเลที่อ่าวผ่อง มีชื่อชนิดว่า หญ้าชะเงาใบฟันเลื่อย ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cymodocea serrulata เป็นหญ้าทะเล 1 ใน 12 ชนิด ที่พบในเมืองไทยของเรา แหล่งหญ้าทะเลอันมีคุณค่านี้ล่ะ คือพืชที่ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ในปริมาณมหาศาล มหาสมุทรจึงเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนใหญ่ที่สุดอีกแห่ง อย่างที่เรามิอาจมองข้าม!
อ่าวผ่อง 44

ไม่น่าเชื่อเลยว่า กลางกอหญ้าทะเล เราจะพบสังคมการอยู่ร่วมกัน ของหญ้าทะเล สาหร่ายทะเล ปะการังเขากวาง และโขดปะการังแข็ง อย่างกลมกลืน ราวกับมีใครไปแอบจัดสวนไว้ใต้ทะเล ยังไงยังงั้นเลย ฮาฮาฮา

อ่าวผ่อง 45

ตรงบริเวณชายขอบของแหล่งหญ้าทะเลอ่าวผ่อง เราสามารถพบ หอยจอบ หรือหอยซองพลู (Comb Pen Shell) ฝังตัวอยู่ในพื้นทรายเป็นจำนวนมาก โดยมันจะฝังปลายด้านหนึ่งที่เป็นทรงแหลม ลึกลงไปในพื้นทราย ปล่อยไว้เพียงปากอีกด้านหนึ่งที่มนกว่าโผล่พ้นพื้นขึ้นมา ขอเตือนว่า เปลือกนี้ค่อนข้างคม ถ้าเดินลุยน้ำไปเหยียบเข้า ก็อาจเกิดแผลได้!

ตามปกติแล้ว หอยจอบจะกรองกินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร ซึ่งแพลงก์ตอนบางชนิดมีพิษด้วย การเอาเนื้อหรือเอ็นหอยจอบมากิน จึงอาจท้องเสียได้ ขอแนะนำให้ตัดปัญหา ไม่กินมันเลยจะดีกว่านะครับ
อ่าวผ่อง 46

จากจุดที่พบหญ้าทะเล ถ้าว่ายน้ำหันหัวออกทะเล ไปจนถึงระดับความลึกราวๆ 3 เมตร จะพบไฮไลท์อีกอย่างหนึ่งของอ่าวผ่อง นั่นคือ “ซากเรือจม” เป็นเรือประมงขนาดกลาง ชื่อ Thaitanic ซึ่งมาอับปางลงตรงนี้เมื่อหลายปีที่แล้ว ทว่าซากเรือที่พบไม่ได้มีลักษณะเป็นเรือเต็มลำชัดเจน เพราะถูกคลื่นลมถาโถมพัดไปมาจนพัง แตกออกเป็นชิ้นๆ กระจัดกระจาย นับเป็นจุดดำน้ำที่น่าตื่นเต้น ให้อารมณ์ของการผจญภัยเล็กๆ และเป็นจุดสิ้นสุดเส้นทางดำน้ำของเราในวันนี้ด้วย
อ่าวผ่อง 47ผลจากการดำน้ำตื้นที่อ่าวผ่องในวันนี้ ทำให้ทีมของเราช่วยกันสรุปวาดแผนที่ เส้นทางศึกษาธรรมชาติใต้น้ำ หรือ Underwater Trail แบบคร่าวๆ ได้ แม้จะไม่ละเอียดนัก (เพราะเราไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล) แต่เราก็ภูมิใจ ที่ได้ดำดิ่งลงไปพิสูจน์ให้เห็นสรรพชีวิตใต้ทะเลกับตาตัวเอง โดยเฉพาะหญ้าทะเลที่ดูได้อย่างใกล้ชิด

เราหวังว่า สมบัติทางธรรมชาติอันล้ำค่านี้จะคงอยู่คู่คนเกาะหมาก คนตราด และคนไทย ไปอีกนานแสนนานเลยนะจ๊ะ
logo รวม

ขอขอบคุณ : อพท. หรือ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) และพี่น้องชาวเกาะหมากที่น่ารักทุกท่าน ที่ร่วมมือ ร่วแรงร่วมใจสร้างสรรค์กิจกรรมดีๆ นี้ขึ้น สอบถามโทร. 0-2357-3580-402
Nikon logo 1Special Thanks : บริษัท Nikon Sales (Thailand) Co., Ltd. สนับสนุนกล้องถ่ายภาพระดับมืออาชีพ D4 และกล้องถ่ายภาพใต้น้ำ AW130 เพื่อการเก็บภาพสวยๆ เหล่านี้มาฝากเพื่อนๆ ทุกคน สนใจสอบถาม โทร. 0-2633-5100

https://goo.gl/GeqdbB

#LowcarbonAtkohmak #CastawayAtkohmak #ติดเกาะโลว์คาร์บอน

เกาะหมาก สวรรค์วันพักผ่อนแห่งทะเลบูรพา

เกาะหมาก 2

ก่อนที่ Go Travel Photo จะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพาบล็อกเกอร์ไปปล่อยเกาะ ที่เกาะหมาก จังหวัดตราด ของ อพท. (องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน องค์การมหาชน) ระหว่างวันที่ 19-22 เมษายน 2559 เราจึงอยากพาแฟนๆ ไป Say Hello กับเกาะอันแสนน่ารักแห่งนี้ก่อนเลย
เกาะหมาก 3 เกาะหมาก 4

ขอต้อนรับสู่เกาะหมาก เกาะเงียบสงบที่ไม่ต่างจากโอเอซิส หรือสรวงสวรรค์แห่งน่านน้ำทะเลตะวันออก เพราะวันนี้ขณะที่หลายเกาะพัฒนาไปจนสูญเสียความเป็นธรรมชาติ ทว่าเกาะหมากยังคงสงบงามตามวิถี แถมยังเป็นต้นแบบการท่องเที่ยวแบบ Low Carbon หรือปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ น่าชื่นชมจริงๆ
เกาะหมาก 5

วิถีชีวิตดั้งเดิมบนเกาะหมาก ล้วนผูกพันอยู่กับสวนมะพร้าวและสวนหมาก ทว่าด้วยเวลาที่เปลี่ยนไป หลังจากมีการนำยางพาราเข้าปลูกบนเกาะ ป่าหมากก็หายไป เหลือแต่ป่ามะพร้าวต้นสูงลิ่วใบลู่ลม ที่ยังคงพอสะท้อนวิถีชีวิตแบบเดิมๆ ของคนบนเกาะหมากให้เราได้เห็น
เกาะหมาก 6

อ่าวขาว เป็นหนึ่งอ่าวที่สวยและสงบที่สุดทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะหมาก น้ำทะเลเป็นสีฟ้าครามสดใส ลงเล่นน้ำได้สบายใจ มีรีสอร์ทเล็กๆ อยู่ด้วย เหมาะสำหรับการหลบความวุ่นวายไปพักผ่อนจริงๆ
เกาะหมาก 7

อ่าวขาวในวันฟ้าใส แทบไม่มีคนไทย แต่เป็นสวรรค์ของนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย
เกาะหมาก 8

เสน่ห์ของทิวมะพร้าวโอนเอนลงทักทายผืนทะเลที่ อ่าวขาว
เกาะหมาก 9

อ่าวแดง อยู่ติดกับอ่าวขาว บริเวณนี้เต็มไปด้วยก้อนหินสีส้มอมแดง ไม่มีหาดทราย ถัดเข้ามาเป็นป่ามะพร้าวเก่า ยังไม่มีรีสอร์ทมาสร้างอยู่ เหมาะเป็นเส้นทางปั่นจักรยานหรือเก็บภาพมุม Unseen สวยๆเกาะหมาก 10

อาทิตย์อัสดงลงจุมพิตผืนทะเล ที่ Banana Sunset Resort หนึ่งในจุดชมวิวแสงสุดท้ายของวัน ที่สวยที่สุดบนเกาะหมาก
เกาะหมาก 11

เกาะหมากเป็นสวรรค์ของช่างภาพ ทั้งมือใหม่และมือโปร ที่ Banana Sunset Resort ชมอาทิตย์อัสดงได้งดงามมากเกาะหมาก 12

Sunset แสนประทับใจที่ Banana Sunset Resort
เกาะหมาก 13

ที่ Banana Sunset Resort มีสะพานไม้เล็กๆ ยื่นลงไปในทะเล เหมาะจะชวนคนรักไปนั่งทำโรแมนติกกันชะมัด
เกาะหมาก 14

แสงสุดท้ายอันน่าประทับใจที่ Banana Sunset Resortเกาะหมาก 15

ความงามของแสงสีบนฟากฟ้าที่ Maka Thani Resort
เกาะหมาก 16

พระอาทิตย์ตื่นนอน ค่อยๆ ลอยอ้อยอิ่งขึ้นทักทายพวกเรา ที่ Maka Thani Resort
เกาะหมาก 17

แสงยามเช้าอันอ่อนโยนที่ Maka Thani Resort
เกาะหมาก 18

อรุณเบิกฟ้าที่สะพานเรือด้านหน้า Maka Thani Resort
เกาะหมาก 19

นกแอ่นบ้านตัวน้อยน่ารัก ตื่นแต่เช้ามารับลมทะเลแสนสดชื่นของเกาะหมาก
เกาะหมาก 20

หอยนมสาว ถูกคลื่นพัดขึ้นมาเกยหาดที่ พลับพลา Resortเกาะหมาก 21

อ่าวผ่อง อยู่ติดกับท่าเรืออ่าวนิด มองเห็นไกลๆที่สุดเส้นขอบฟ้าตรงนั้น ก็คือแหลมดุ่น (แหลมกะดุ่น)
เกาะหมาก 22

หาดทรายสีทองของอ่าวผ่องเกาะหมาก 23

อ่าวผ่องวันนี้ยังเงียบสงบ เป็นมุมส่วนตัวที่จะไปนั่งๆ นอนๆ เอกเขนกได้สบายโดยไม่มีใครกวนเกาะหมาก 24

อ่าวผ่องไม่ได้สวยน่าหลงใหลเฉพาะบนบกนะจ๊ะ แต่โลกใต้ทะเลยังมีชีวิตชีวา เต็มไปด้วยหมู่ปลา ปะการัง เหมาะไปดำน้ำทักทายโลกแห่งสรรพชีวิตที่ไม่ค่อยมีใครได้พบเห็นเกาะหมาก 25

ปะการังเขากวางที่อ่าวผ่องหอยมือแมว 2

ใต้น้ำหน้าอ่าวผ่อง เต็มไปด้วยหอยมือเสือ และหอยมือแมว ซึ่งปัจจุบันที่อื่นหายากแล้ว ทว่าที่นี่ยังได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดี พวกมันจึงค่อยๆ ขยายพันธุ์ รอให้เราเข้าไปเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความรักความเข้าใจในธรรมชาติมากขึ้นเกาะหมาก 26

ไม่น่าเชื่อเลยว่า ที่อ่าวผ่องจะมีแนวหญ้าทะเลขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น และอุดมสมบูรณ์มาก จึงมั่นใจได้เลยว่า ในอดีตน่าจะเคยมีทั้งเต่าทะเลและพยูน (คนภาคตะวันออกเรียก หมูดุด) แวะเวียนหากินอยู่แถวนี้ด้วย
เกาะหมาก 27

หญ้าทะเลในน้ำใสแจ๋วไร้ตะกอนรบกวน ที่อ่าวผ่อง
เกาะหมาก 28

แม้จะได้รับการพัฒนาไปมาก แต่ชายหาดบางแห่งของเกาะหมากก็ยังมีป่าชายเลนหลงเหลืออยู่เหมือนกัน อย่างที่อ่าวทองหลาง ยังมีแนวป่าต้นโกงกางใบเล็กขึ้นอยู่ ให้เป็นที่กำบังคลื่นลม และอนุบาลสัตว์ทะเลวัยอ่อน ตัวเล็กๆ น่ารัก
เกาะหมาก 29

แหลมตุ๊กตา ทางปลายสุดด้านตะวันตกของเกาะหมาก มองออกไปในทะเล เห็นเกาะระยั้งในและเกาะระยั้งนอก อยู่ไม่ไกลแล้วล่ะจ้า น่าพายเรือคายัคออกไปเที่ยวจริงๆ เลย
เกาะหมาก 30

แหลมตุ๊กตา เป็นชายหาดเวิ้งว้าง ธรรมชาติบริสุทธิ์ อยู่ทางปลายสุดด้านตะวันตกของเกาะหมากเกาะหมาก 31

อ่าวทองหลาง อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะหมาก เป็นอ่าวที่คลื่นลมสงบ ชาวเกาะจึงนำเรือเข้ามาจอดหลบคลื่นลมเกาะหมาก 32

มุมส่วนตัวที่อ่าวทองหลาง เอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม 5555555เกาะหมาก 33

แหลมสน ตั้งอยู่ทางปลายสุดตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะหมาก สงบเงียบ ไม่มีใครไปรบกวน จากแหลมสนมองออกไปเห็นเกาะกระดาดตั้งอยู่ตรงเส้นขอบฟ้า ต้องหาเวลานั่งเรือไปเที่ยวซะแล้ว
เกาะหมาก 34

อ่าวตาโล่ง เป็นชายหาดยาวเหยียดหลายกิโลเมตรทางด้านทิศเหนือสุดของเกาะหมาก เป็นชุมชนประมงดั้งเดิม ที่ปัจจุบันยังมีวิถีประมงพื้นบ้านให้สัมผัส โดยชาวบ้านส่วนหนึ่งหารายได้เสริม ทำสวนยางพารา จึงมีโรงยางให้ชมด้วยเกาะหมาก 35

ทิวมะพร้าวต้นสูงลิ่วล้อลมทะเล ที่อ่าวตาโล่งเกาะหมาก 36

อ่าวตาโล่ง เป็นเส้นทางปั่นจักรยาน Off Road รอบเกาะหมาก ที่นักท่องเที่ยวต่างชาติชอบมาก
เกาะหมาก 37

เส้นทางปั้นจักรยานเที่ยว ผ่านอ่าวตาโล่ง และผ่านโรงทำน้ำมันมะพร้าวเก่าของเกาะหมาก ซึ่งปัจจุบันเลิกกิจการไปแล้วเกาะหมาก 38.1

จักรยาน คือพาหนะยอดฮิตของคนบนเกาะหมาก รวมถึงนักท่องเที่ยวที่มาเยือนด้วย เพราะนอกจากจะเงียบ ไม่ปลดปล่อยมลพิษแล้ว ยังทำให้เราได้ออกกำลังกาย ปั่นช้าๆ เนิบๆ ชมธรรมชาติ แวะตรงโน้นตรงนี้ พูดคุยกับชาวบ้านเปี่ยมรอยยิ้มเกาะหมาก 38

นอกจากจะมีแหล่งท่องเที่ยวแบบชิลชิลแล้ว เกาะหมากยังมีจุดท่องเที่ยวสไตล์ผจญภัยเล็กๆ Soft Adventure ด้วยล่ะ แอบกระซิบดังๆ เลยว่า อยู่ตรง “เขาแผนที่” (ชาวบ้านเรียก เขาบ้านแหลม) แม้ทางเดินขึ้นจะค่อนข้างชัน แต่ระยะทางไม่ไกล เดินไม่เกิน 1 ชั่วโมง ถึงยอดเขาแล้วครับเกาะหมาก 39

บนเขาแผนที่ ส่วนหนึ่งปกคลุมด้วยป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) เต็มไปด้วยต้นพ้อเขา ซึ่งเป็นปาล์มชนิดหนึ่ง มีใบแตกเป็นแฉกกลมคล้ายพัด สวยงามมาก ให้บรรยากาศแปลกดีแฮะ
เกาะหมาก 40

ใบของต้นพ้อเขา (กะพ้อเขา) ที่พบระหว่างทางเดินขึ้นเขาแผนที่เกาะหมาก 41

เดินขึ้นเขาแผนที่มาครึ่งทาง ก็พบกับหน้าผาชมวิวจุดแรก ว้าว! โล่ง กว้าง มองได้ไกลสุดสายตา เห็นเกาะระยั้งใน และเกาะระยั้งนอก ด้วยนะ ตรงนี้มีลักษณะเป็นหน้าผาหินโล่งๆ ตอนกลางวันร้อนฉ่าเลยทีเดียวล่ะ 55555เกาะหมาก 42

เมื่อขึ้นไปถึงยอดเขาแผนที่แล้ว แนวป่ารกก็หายไป กลายเป็นลานหินกับไม้พุ่มค่อนข้างโล่ง เหมาะเป็นจุดชมสุดยอดพระอาทิตย์ตก เพราะเขาแผนที่คือยอดเขาสูงสุดบนเกาะหมากนั่นเองจ้าเกาะหมาก 43

หนึ่งมุม Unseen บนเกาะหมาก ณ แหลมดุ่น (แหลมกะดุ่น)เกาะหมาก 44

หาดหินแดงแหลมดุ่นเกาะหมาก 45

หาดหินแดงแหลมดุ่น มีมุมให้ไปสำรวจผจญภัยเพียบ!
เกาะหมาก 46

หาดหินแดงแหลมดุ่น
เกาะหมาก 47

บรรยากาศแสนโรแมนติก ยามอัสดงที่แหลมดุ่นเกาะหมาก 48

เวลาแห่งความสุขมีให้แบ่งปันกันไม่รู้จบ ณ แหลมดุ่น
เกาะหมาก 49

หน้าร้อนนี้ ถ้ายังคิดไม่ออก ไม่รู้จะไปพักผ่อนนอนเล่นหลบร้อนที่ไหน “เกาะหมาก” อาจเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ช่วยเติมเต็มพลังชีวิตของคุณให้เต็มเปี่ยม สุขล้น ไปกับธรรมชาติและความสงบของทะเลตะวันออก ที่งามราวต้องมนต์เลยล่ะ

https://goo.gl/GeqdbB

#LowcarbonAtkohmak #CastawayAtkohmak #ติดเกาะโลว์คาร์บอน

เที่ยวญี่ปุ่นได้ในวันเดียว! J-Park ชลบุรี

2

3

J-Park ศรีราชา เป็นช็อปปิ้งมอลล์แห่งใหม่ที่ให้บรรยากาศเหมือนอยู่ญี่ปุ่นมากๆ เพราะสิ่งก่อสร้างสถาปัตยกรรมต่างๆ ล้วนจำลองมาจากแดนปลาดิบแท้ๆ ตั้งแต่สไตล์ของอาคารร้านรวง ลำธารสีมรกตสายน้อย น้ำใสแจ๋ว ที่มีปลาคาร์พแหวกว่ายไปมา และที่เด็ดสุดคือร้านขายของกับร้านอาหารญี่ปุ่นนับสิบๆ ร้าน ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ของคนศรีราชาไปแล้ว รวมถึงชุมชนคนญี่ปุ่นที่อาศัยหรือทำงานอยู่แถบนี้ ก็มาเดินอุดหนุนกันอุ่นหนาฝาคั่ง ทำให้ J-Park มีชีวิตชีวา โดยเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ คนที่ชอบถ่ายรูปยิ่งไม่ควรพลาด เพราะเขามีมุม Photo Point นับไม่ถ้วน!

4

 ปราสาทคินคาคูจิจำลอง เหมือนที่เราเคยเห็นกันในการ์ตูนเรื่องอิ๊กคิวซัง เณรน้อยเจ้าปัญญา ถือเป็นหนึ่งใน Landmark สำคัญของ J-Park ศรีราชา ที่ถูกถ่ายรูปมากที่สุดล่ะ

5

6

 เห็นการจัดสวยเรียบๆ โล่งๆ แบบนี้ นึกว่าอยู่ในญี่ปุ่นจริงๆ ซะอีก!

7

8

9

10

11

 ร้านขายของสไตล์ญี่ปุ่นเปิดให้ช็อปกันทุกวัน เดินได้เพลิน โดยเฉพาะร้าน 100 เยน หรือร้าน Daiso ที่หลายคนคุ้นเคยกันดี

12

13

14

15

16

17

18

19

 เดินช็อปจนหอบหิ้วกันแทบไม่ไหวแล้ว ก็ได้เวลาหาอาหารญี่ปุ่นแนวสุขภาพเติมพลังสักหน่อย มื้อนี้ขอเน้นกินปลา จะได้เพิ่มโอเมก้า 3 และโปรตีนย่อยง่าย กินคู่กับสลัดผัก และมิโซะซุปสไตล์ญี่ปุ่น อิ่มแบบเบาๆ สบายท้องดีจัง

20

21

22

 แซลมอนซาชิมิ ดูความฉ่ำสดเอาเองละกัน!

23

 สองคำนี้ขอเลย ใครห้ามแย่ง เพราะเป็นของชอบที่สุด! ข้าวปั้นหน้าไข่แซลมอน ต้องกินทั้งคำ ค่อยๆ ให้ไข่แซลมอนแตกในปาก น้ำมันโอเมก้า 3 จะได้ค่อยๆ ไหลลงคอไปช้าๆ สุดยอด!

24

25

 

Traveler’s Guide

Address : J-Park ศรีราชา ตั้งอยู่ที่ ถนนอัสสัมชัญ – หนองค้อ ตำบลสุรศักดิ์ เทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230

How to go : รถยนต์

1. จากถนนสุขุมวิท (ทางหลวงหมายเลข 3) มาถึงอำเภอศรีราชา ตรงมาสังเกตด้านขวามือเป็นห้างโรบินสัน เลยไปอีกประมาณ 180 เมตรพบสี่แยก (แยกอัสสัมชัญ) เลี้ยวซ้ายเข้าถนนอัสสัมชัญ (ทางหลวงหมายเลข 3214) ไปทางโรงเรียนอัสสัมชัญ ตรงไปจนเจอแยกตัววาย (Y) ให้วิ่งเลาะด้านซ้ายมือตามกำแพงโรงเรียนไปเรื่อยๆ เข้าถนนสายศรีราชา-หนองค้อ ก่อนถึงทางหลวงพิเศษสาย 7 จะเห็น J-Park ศรีราชา อยู่ด้านขวา ดั้งนั้นต้องตรงไปขึ้นสะพานข้ามทางหลวงพิเศษสาย 7 พอลงสะพานจะเห็นทางกลับรถด้านขวามือ กลับรถเสร็จแล้ว วิ่งข้ามสะพานกลับมาอีกทีแล้วเลี้ยวซ้ายเข้า ช็อปปิ้งมอลล์ เจปาร์ค ศรีราชา

2. จากทางหลวงพิเศษสาย 7 กรุงเทพ-ชลบุรี ออกจากด่านเก็บเงินพานทอง ตรงไปประมาณ 26 กิโลเมตร ออกมาทางถนนเลียบหลวงพิเศษสาย 7 วิ่งไปจะสังเกตเห็นสะพานข้ามทางหลวงพิเศษสาย 7 ด้ายซ้ายมือมีป้าย เลี้ยวซ้ายไปห้างโรบินสันศรีราชา เลี้ยวซ้ายตามป้ายนี้ จากนั้นชิดขวากลับรถขึ้นสะพานข้ามทางหลวงพิเศษสาย 7 ลงสะพานจะเห็น J-Park ช็อปปิ้งมอลล์

More info : www.saha-jpark.com  Facebook : https://www.facebook.com/jpark.nihonmura

สวนน้ำ Cartoon Network ประเทศไทยแห่งแรกของโลก!!!

2

เปิดตัวแล้วอย่างยิ่งใหญ่ กับสวนน้ำธีม Cartoon Network แห่งแรกของโลกในประเทศไทย ที่จังหวัดชลบุรี  จุดเด่นที่ไม่เหมือนใครคือ เป็นสวนน้ำแบบอินเทอร์ แอคทีฟ ที่ต่างจากสวนน้ำอื่นๆ ทั่วโลก มีสุดยอดเครื่องเล่นและสไลเดอร์มากถึง 30 อย่าง รวมถึงการแสดงการ์ตูนเน็ทเวิร์ค มาสคอต ซึ่งเป็นเหล่าการ์ตูนเน็ทเวิร์คฮีโร่ อาทิ Powerpuff Girls, Ben 10, Adventure Time ที่เด็กๆ และคนทั่วโลกชื่นชอบ! สวนน้ำแห่งนี้มีพื้นที่กว้างขวางถึง 35 ไร่ ในลักษณะ Daycation (พักผ่อนวันเดียวเที่ยวสบาย) ที่มาสัมผัสกันได้ทั้งครอบครัว และในอนาคตจะมีการเปิดที่พักในบริเวณใกล้ๆ กันด้วย

3

ยืนรอสักพัก ถังน้ำด้านบนที่แกว่งไปแกว่งมา ก็จะมีน้ำเติมเต็มลงไปจนล้น แล้วหมุนเคว้งเทน้ำซ่าใหญ่ลงมาเบื้องล่าง!

4

 วินาทีแห่งความสนุกที่ SURFARENA กระดานโต้คลื่นจำลองอันแสนสนุก

5

 สาวน้อยน่ารัก กับการทรงตัวอย่างยอดเยี่ยมราวกับมืออาชีพ! บนกระดานโต้คลื่นจำลอง SURFARENA

6ครูฝึกกระดานโต้คลื่นจำลอง โชว์ลีลาลอยตัวกลางอากาศ เล่นเอาคนดูอึ้งไปตามๆ กัน!!!

7

 เห็นเครื่องเล่นของเขาแล้วบอกได้คำเดียวว่า สวนน้ำ Cartoon Network สร้างได้ยิ่งใหญ่อลังการกว่าสวนน้ำไหนๆ ที่เคยเห็นจริงๆ!

8

ทะเลจำลอง และคลื่นที่เหมือนกับทะเลจริงๆ มาก! สิ่งสำคัญคือต้องมีห่วงยางหรือเสื้อชูชีพติดตัวไว้ตลอด เพื่อความปลอดภัย
9

10

11

12

 RIPTIDE RAPIDS เครื่องเล่นสุดมันที่พุ่งทะลุผ่านปล่องคดเคี้ยวบนหอคอยสูงนับสิบเมตร ลงสู่สายน้ำฟู่เบื้องล่าง!

13

14

15

16

17

 

Traveler’s Guide

How to go : สวนน้ำ Cartoon Network ตั้งอยู่ที่ ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยอยู่ห่างจากตัวเมืองพัทยาเพียงแค่ 20 นาที และใช้เวลาเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิแค่ 90 นาที

Opening Time : เปิด 10.00-18.00 น. วันจันทร์-อาทิตย์

Contact : โทร. 0-3823-7 707 (ภาษาไทย / อังกฤษ), 09-3008-5690 (ภาษารัสเซีย) เว็บไซต์ http://cartoonnetworkamazone.com

บัตรผ่านประตู : สำหรับบัตรรายวัน ผู้ใหญ่ (คนไทย) 1,290 บาท/วัน, เด็ก (คนไทย) 890 บาท/วัน ราคานี้เล่นได้ตลอดวัน ทุกเครื่องเล่น ยกเว้นค่าอาหารที่ต้องเสียเพิ่มเอง ส่วนบัตรรายปี ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ราคาเริ่มต้นที่ 6,000 บาท

เกาะกูด เกาะสุดท้ายปลายทางบูรพา จ.ตราด

เกาะกูด “เกาะสุดท้ายปลายทางตะวันออกของน่านน้ำไทย” เป็นเกาะใหญ่อันดับ 4 ของทะเลไทยที่อุดมด้วยความพิสุทธิ์แห่งธรรมชาติ สงบงาม และปกคลุมด้วยไม้ร่มครึ้ม นี่คือดินแดนที่นักท่องเที่ยวเรียกว่า สวรรค์แห่งทะเลตะวันออก ได้อย่างเต็มปาก

2

ดูความใสของน้ำทะเลมุมนี้แล้ว เกาะกูดของเราก็ไม่แพ้หมู่เกาะมัลดีฟส์เหมือนกันนะ ฮาฮาฮา

3

 ชายหาดบริเวณอ่าวพร้าว เป็นบริเวณที่เงียบสงบ เหมาะจะมานอนพักผ่อนฟังเสียงทะเลสีครามกระซิบแผ่วเบากับท้องฟ้าสีน้ำเงิน แถมยังมีทิวมะพร้าวโอนเอน ได้บรรยากาศของการอยู่ทะเลอยู่เกาะจริงๆ เลยนะเนี่ยะ

4

เกาะกูดมีภูมิประเทศคล้ายเกาะช้าง คือชายฝั่งด้านตะวันออกต้องปะทะกับลมมรสุม จึงมีแต่หาดหินขรุขระ   ผิดกับชายฝั่งตะวันตกที่คลื่นลมสงบกว่า และมีแนวหาดทรายอยู่หลายแห่ง หาดทรายขาวเหล่านี้ถูกสลับด้วยป่าชายเลนและลำคลองคดเคี้ยวเข้าสู่ภายในเกาะ หากมีโอกาสพายเรือคายักเข้าไปก็จะพบกับบรรยากาศคล้ายป่าอะเมซอนในทวีปอเมริกาใต้ ณ ที่นั่นเราจะสัมผัสได้ถึงมุมอันบริสุทธิ์ ลึกลับ ดิบเถื่อน และงดงามของโลก

5

 แน่นอนว่า เกาะกูดก็เป็นอีกหนึ่งเกาะในทะเลตะวันออก ที่นักท่องเที่ยวชาวรัสเซียชื่นชอบเป็นพิเศษ

6

ส่วนด้านทิศเหนือของเกาะกูดบริเวณคลองยายกี๋ เป็นที่ตั้งของรีสอร์ตน่ารักๆ ชื่อ กัปตันฮุ๊ก รีสอร์ท ซึ่งสร้างได้อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ แถมมีมุมส่วนตัวให้นั่งๆ นอนๆ อ่านหนังสือเล่มโปรดโดยไม่มีใครมารบกวน หน้ารีสอร์ตเป็นเวิ้งอ่าวยายกี๋ หาดทรายกว้าง ทิวมะพร้าว โขดหิน และลำคลองที่นำเข้าไปสู่ป่าชายเลนและน้ำตกคลองเจ้า ทว่าที่พิเศษสุดคือ ในคืนเดือนมืดจะมีกิจกรรมพาเข้าไปชมฝูงหิ่งห้อยนับพันๆ ตัวที่พากันออกมากระพริบแสงเป็นจังหวะพร้อมกันเพื่อหาคู่ เป็นภาพอันแสนมหัศจรรย์ที่นับวันจะหาชมได้ยากขึ้นเรื่อยๆ หรือถ้าเป็นคนตื่นเช้าก็ต้องไปที่อ่าวกล้วย ชมพระอาทิตย์ขึ้นได้งดงามจับใจไม่รู้ลืม

7

8

9

 นอกจากจะได้เล่นน้ำทะเลใสแจ๋วแล้ว บนเกาะกูดยังมีเส้นทางเดินป่าด้วย ระหว่างทางมีพรรณพืช และโป่งผีเสื้อสวยๆ ให้ชื่นชมมากมาย แต่ขอบอกก่อนว่า รีสอร์ทบนเกาะกูดจะปิดไม่รับนักท่องเที่ยวในฤดูมรสุม คือประมาณเดือนมิถุนายน-ตุลาคม เนื่องจากคลื่นลมจะแรงเกินไป การเดินทางด้วยเรือ หรือกิจกรรมดำน้ำชมปะการังจึงไม่ปลอดภัย และไม่สวยเท่าที่ควร

10

ในป่าดงดิบบนเกาะกูด มีกล้วยไม้หายากชนิดหนึ่งอยู่ นั่นคือ หวายเหลืองจันทบูร จะพบได้เฉพาะในป่าดงดิบและหมู่เกาะของภาคตะวันออกเท่านั้น

11

 ผีตากผ้าอ้อมริมหาดบนเกาะกูด เปลี่ยนผืนฟ้าให้กลายเป็นสีเหลืองทองอย่างน่าตื่นตาจนเราต้องตะลึง!

12

 พอแสงอาทิตย์ลาลับไป บางรีสอร์ทก็เริ่มมี show ควงลูกตุ้มไฟให้นักท่องเที่ยวชม ลีลาแบบนี้บอกได้คำเดียวว่า มืออาชีพจริงๆ!

13

 แสงสุดท้ายที่เกาะกูด เป็นช่วงเวลาแสนโรแมนติกสำหรับคู่รัก

14

Traveler’s Guide 

Best season : เหมาะสมที่สุด คือ เดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคม หลังจากนั้นเป็นฤดูมรสุม ทะเลมีคลื่นลมแรง รีสอร์ทต่างๆ มักจะปิดไม่รับนักท่องเที่ยว

How to Go : การเดินทางไปเกาะกูด มีทั้งแบบเรือโดยสารสาธารณะ และเรือของรีสอร์ทต่างๆ ที่เราซื้อแพ็กเกจไว้

– เรือไม้ เที่ยวไป เรือออกจากท่าเรือด่านเก่า เวลา 10.00 น. ถึงเกาะกูด ท่าเรือสะพานน้ำลึก เวลา 14.00 น. เที่ยวกลับ เรือออกจากเกาะกูดไปท่าเรือด่านเก่า เวลา 10.00 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 08-9069-1031, 08-9096-9005

– เรือเร็ว เที่ยวไป มีเรือออกจากท่าเรือแหลมศอกไปเกาะกูด (เรือจอดที่ท่าเรือบางเบ้า) ทุกวัน วันละ 1 เที่ยว เวลา 13.00 น. เที่ยวกลับ เรือออกจากเกาะกูดไปท่าเรือแหลมศอก เวลา 10.00 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 08-6126-7860

-เรือเฟอร์รี่ เที่ยวไป มีเรือออกจากท่าเรือด่านเก่า (ท่าโชคสาคร) วันละ 1 เที่ยว เวลา 8.00-10.30 น. เที่ยวไป มีเรือออกจากเกาะกูก เวลา 11.00 น.  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 08-6126-7860

หรือใช้บริการเรือโดยสารของ บริษัท เกาะกูด ซีทรานส์ จำกัด โทร. 0-3959-7646, 08-1444-9259 ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาที มีเรือออกจากท่าเรือแหลมงอบ (ท่าเทียบเรือกระโจมไฟ) วันอังคาร วันศุกร์และวันเสาร์ เวลา 09.00 น. ถึงเกาะกูดเวลา 11.30 น.

ท่าเรือไปเกาะกูด :

-ท่าเรือด่านเก่า 

ท่าเรือด่านเก่าเป็นท่าเทียบเรือของกูดคาบาน่า รีสอร์ท ห่างจากตัวเมืองตราด 5 กิโลเมตร ถ้าซื้อแพ็คเกจของกูดคาบาน่า จะมีรถรับส่งจากตัวเมืองตราดไปยังท่าเรือด้วยเรือสปีดโบ๊ท ใช้เวลา 1 ชั่วโมง  นอกจากนี้ยังเป็นท่าเรือของใบกูด แซบาล่า และ เกาะกูด อ่าวพร้าว ติดต่อ โทร. 0-2164-1001-6

-ท่าเรือแหลมศอก

ท่าเรือของปีเตอร์แพน รีสอร์ทและกัปตัน ฮุ๊ก รีสอร์ท ห่างจากตัวเมืองตราด 24 กิโลเมตร  ปลายสุดถนนบ้านแหลมศอก ปีเตอร์แพน รีสอร์ทและ กัปตัน ฮุ๊ก รีสอร์ท โทร. 0-2164-1001-6

-ท่าเรืออ่าวช่อ

ท่าเรือเกาะกูดลากูน่า รีสอร์ท  อยู่ห่างจากตัวเมืองตราดไปตามเส้นทางแหลมศอกประมาณ 20 กิโลเมตร เรือเร็วใช้เวลาประมาณ 50 นาที ท่านที่ขับรถยนตร์ ส่วนตัวมาเรามีบริการที่จอดรถค้างคืนที่สะดวกและปลอดภัย โดยคิดค่าบริการ 50 บาทต่อคันต่อคืน เกาะกูดลากูน่า รีสอร์ท โทร. 0-2164-1001-6

-ท่าเรือแหลมงอบ

ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2.30-3 ชั่วโมง เรือออกจากท่าเรือแหลมงอบทุกวันศุกร์และวันเสาร์เวลา 09.00น. และเที่ยวกลับออกจากท่าเรือหินดำ อ่าวตะเภา ทุกวันศุกร์และวันอาทิตย์ เวลา12.30น. ติดต่อ บริษัท เกาะกูดซีทรานส์ 0-3959-7646

Where to Stay : บนเกาะกูดมีที่พักให้เลือกมากมาย ค้นหาได้จาก www.koh-kood.com และ www.เกาะกูด.net

Special Tips : เที่ยวทะเลให้สนุกต้องเตรียมตัวให้พร้อม อย่าลืมแว่นกันแดด หมวก ครีมกันแดดที่มีค่า spf สูงๆ เสื้อผ้าใยสังเคราะห์ที่เปียกน้ำแล้วแห้งเร็ว รองเท้าแตะ ถุงกันน้ำ (Dry Bag) เอาไว้ใส่ของมีค่าเวลาลงเรือ

More info : ททท. จังหวัดตราด โทร. 0-3959-7259-60