Amazing Island แดนธรรมชาติมหัศจรรย์ เกาะคอเขา จ.พังงา

“โอ่โอ ปักษ์ใต้บ้านเรา มีน้ำภูเขา ทะเลกว้างไกล จะไปไหน ปักษ์ใต้บ้านเรา…” บทเพลงไพเราะแสนอมตะของวงดนตรี Hammer นี้ ยังคงก้องอยู่ในใจผมเสมอ ฟังทีไรทำให้นึกถึงภาพภูเขา ป่าไม้ และหาดทรายชายทะเล เกาะแก่งน้อยใหญ่ของภาคใต้ขึ้นมาทุกที และทริปนี้ก็เหมือนเคย เพราะผมได้มายืนอยู่บนหาดทรายสีทองเนื้อละเอียดยิบของ “เกาะคอเขา” อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา แล้วนะสิครับ

2

3

เกาะคอเขาเป็นเกาะขนาดใหญ่ แต่ยังคงความเป็นธรรมชาติอย่างสมบูรณ์แบบ เงียบสงบ เหมาะจะพาตัวและหัวใจมาพักผ่อนฟังเสียงกระซิบจากธรรมชาติ และเกลียวคลื่นอย่างแท้จริง เกาะนี้มีความยาวจากเหนือจรดใต้ถึง 28 กิโลเมตร มีถนนหนทางอย่างดีให้รถวิ่งได้ การท่องเที่ยวจึงสะดวกโยธินซะจริงๆ

26

4

 ความมหัศจรรย์อย่างหนึ่งของเกาะคอเขาก็คือ ในบางหาดจะมีปูเสฉวนนับพันๆ ตัว (โดยเฉพาะเวลากลางคืน) ขึ้นมาเดินต้วมเตี้ยมตามหาดทราย น่ารักน่าชังมาก มีทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ หลากสี บ่งบอกถึงธรรมชาติที่ยังบริสุทธิ์ ไม่ถูกรบกวนโดยนักท่องเที่ยวมากนัก

5

 เจ้าตัวนี้เป็นพี่ใหญ่ ตัว BIG มาก เลยต้องหาเปลือกหอยอันใหญ่มาเป็นบ้าน เชื่อหรือไม่ว่าพวกมันเปลี่ยนเปลือกหอยกันอยู่เสมอ คงเพราะตัวมันโตขึ้น เลยต้องหาเสื้อผ้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้นไปด้วยไงล่ะ

6

 จากท่าเรือบ้านน้ำเค็ม ลงเรือเล็กข้ามฝั่งไปเกาะคอเขา ใช้เวลาแค่ 5 นาทีเอง

7

8

 เกาะคอเขาเป็นสวรรค์ของคนรักธรรมชาติ ชอบดูนก ดูดาว เล่นน้ำทะเล และชอบศึกษานิเวศน์ธรรมชาติกับพรรณพืชแปลกๆ ใจกลางเกาะมีสภาพเป็นป่าพรุ (Peat Swamp Forest) คล้ายบนเกาะพระทอง ดินเป็นดินปนทรายสีขาว มีความเค็มสูง ในที่ลุ่มจะกลายเป็นห้วยหนองคลองบึงตื้นๆ กระจายกันอยู่ โดยมีต้นเสม็ดขาวและทุ่งหญ้างอกงามอยู่สลับกัน ส่วนชายน้ำก็จะมีไม้พุ่มและเฟินต่างๆ เพียบ แต่ที่เจ๋งมากคือในน้ำมีบัวบา เป็นบัวสีขาวดอกจิ๋วเดียวให้ชมกันด้วย ส่วนนักดูนกต้องชอบ เพราะเกาะคอเขามีนกมากถึง 300 ชนิด!

9

 ดูดูไป เกาะคอเขาของเราก็คล้ายป่าอะเมซอนเมืองไทยเหมือนกันนะ ฮาฮาฮา

10

 บริเวณชายน้ำมักมีพืชกินแมลงงอกงามอยู่ดาษดื่น โดยเฉพาะหม้อข้าวหม้อแกงลิง ชนิดหม้อใหญ่บ้าง เล็กบ้าง พวกมันเป็นพืชกินแมลงที่สามารถปรับตัวอยู่ในสภาพนิเวศน์แห้งแล้งขาดแคลนอาหารนี้ได้ โดยพัฒนาให้มีส่วนกระเปาะ (หม้อ) งอกยาวออกไปจากปลายใบ เพื่อใช้ดักจับแมลงมาย่อยกินเป็นอาหารอย่างน่าอัศจรรย์

11

12

 ในกระเปาะของหม้อข้าวหม้อแกงลิง (บางคนเรียกว่า น้ำเต้าฤาษี) จะมีเมือกลื่นๆ ให้แมลงลื่นตกลงไปในน้ำย่อยด้านล่าง เป็นกับดักธรรมชาติที่ได้ผลมานับล้านปีแล้ว!

13

 ชนิดนี้เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงจิ๋ว งอกอยู่กับพื้นดินทราย สูงไม่ถึง 3 นิ้ว และมีสีแดงต่างจากหม้อขาวหม้อแกงลิงสีเขียวขนาดใหญ่ที่ห้อยอยู่ตามต้นไม้ ในภาพจะเห็นดอกกระดุมเงินจุ๋มจิ๋มน่ารักอยู่เคียงคู่กันด้วย

14

 หยาดน้ำค้าง เป็นพืชกินแมลงจิ๋วอีกชนิดหนึ่ง ที่พบอยู่ทั่วไปบนพื้นดินใกล้ชายน้ำ ตุ่มน้ำขาวๆ ที่เห็นอยู่ตามปลายขนสีแดง แท้จริงเป็นเมือกเหนียวที่ใช้ดักแมลงต่างหากล่ะ!

15

 ใกล้ชายน้ำเป็นสังคมพืชที่น่าสนใจมาก โดยเฉพาะมีเฟินโบราณอายุเป็นล้านปีพวก สามร้อยยอด หรือไลโคโพเดียม งอกงามอยู่ดาษดื่น

16

17

 ดอกไม้ในวงศ์ถั่วสีม่วงน่ารัก เบ่งบานอยู่ริมถนน เราเลยจอดรถลงไปเก็บภาพมาฝากเพื่อนๆ

18

19

 ดอกบัวบา ถือเป็นดอกบัวชนิดที่เล็กที่สุดของไทย พบเห็นได้ทั่วไปตามแอ่งน้ำธรรมชาติบนเกาะคอเขาครับ

20

 ทุ่งดอกหญ้าสีทองบนเกาะคอเขา พัดพลิ้วไปตามกระแสลมอย่างน่ารักมาก

21

 นอกจากเรื่องธรรมชาติแล้ว บนเกาะคอเขายังมี “เมืองโบราณบ้านทุ่งตึก” ซึ่งคาดว่าน่าจะเก่าแก่นับพันปี มีการค้นพบซากเมืองโบราณ หมู่บ้าน บ่อน้ำ ซากเจดีย์เก่า ซากประภาคาร ซากเครื่องเคลือบจีน และเศษลูกปัดจำนวนมาก ซึ่งมีการมาสำรวจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 ในภาพเป็นหินที่ใช้รองฐานอาคาร มีหลุมสี่เหลี่ยมตรงกลางใช้ปักไม้ลงไป พบอยู่ทั่วไปในเขตเมืองโบราณทุ่งตึก

22

 เศษกระเบื้องดินเผา และเคลื่องเคลือบจีน ที่ขุดพบ

23

 ซากกระเบื้องดินขอโบราณ ซึ่งชาวทุ่งตึกเคยใช้มุงหลังคา

24

 ซากฐานพระเจดีย์โบราณ หรือเป็นส่วนของฐานประภาคาร ก็ยังไม่แน่ เพราะเลยไปนิดเดียวเป็นทะเลแล้ว คาดว่าสมัยก่อนเรือสำเภาจะเข้ามาเทียบท่าใกล้ๆ ตรงนี้เลย

25

 เที่ยวชมเมืองโบราณกันพอหอมปากหอมคอแล้ว ก็ตระเวนซึมซับบรรยากาศชายทะเลเงียบสงบใต้ทิวสนกันต่อ

27

28

 บนเกาะคอเขามีควายอยู่เยอะมาก แต่ชาวบ้านที่นี่เขาเลี้ยงแบบปล่อย เรียกกันว่า ควายทุ่ง หรือควายปละ โดยปล่อยให้มันเดินหากินเองตอนกลางวัน และก็น่าแปลก เพราะตกเย็นมันจำทางได้ เดินกลับมาเข้าคอกเองซะงั้น ถ้าโชคดีไปเที่ยวในวันที่แดดจ้า ฟ้าใส ควายมันร้อน ช่วงเย็นๆ ไปดักซุ่มดู จะเห็นฝูงควายลงอาบน้ำทะเลกันด้วยล่ะ! Amazing มากๆ

29

 อีกหนึ่งความ Amazing ของเกาะคอเขาก็คือ เราจะได้ชมปูเสฉวนนับพันตัว ปีนต้นไม้!

30

 ก่อนปีนต้นไม้ บางตัวจะหาเปลือกหอยเปลี่ยน เหมือนเปลี่ยนบ้านเพื่อไม่ให้คับกับตัวที่โตขึ้น จะได้อยู่สบายขึ้น เจ้าของรีสอร์ทชายทะเลบางแห่งเลยหาเปลือกหอยเปล่าๆ ไปวางเรียงไว้ให้ปูเสฉวนมาเลือกเปลี่ยน ยังกับเป็น Super Market เปลือกหอยยังไงยังงั้นเลย ฮาฮาฮา

31

 เจ้าตัวนี้คงมีความสุขมาก กับเปลือกหอยใหม่ที่ได้ เลยปีนต้นสนเล่นซะงั้น

32

 ส่วนเจ้าตัวนี้ตัวเล็ก เลยหาเปลือกหอยสีดำรูปกรวยอันเล็กๆ ให้เหมาะกับขนาดตัวมันเอง ถ้าเราเรียนรู้จากธรรมชาติ ก็จะเข้าใจสมดุลย์ และความพอดีที่ธรรมชาติดำเนินไป และทั้งหมดนี้คือบางส่วนเสี้ยวของความงาม และความมหัศจรรย์บนเกาะคอเขา จังหวัดพังงา ครับผม

1841

Special Thanks : ททท. ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดพังงา (โทร. 0-7648-1900-2) และ คุณนครพจน์ ปิ่นมิ่ง ททท. ฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ (โครงการต้นกล้าตากล้อง ท่องเที่ยวไทย) สนับสนุนการเดินทางทำสารคดีเรื่องนี้

Traveler’s Guide

Best season : ท่องเที่ยวได้ตลอดปี แต่ช่วงฟ้าใส คลื่นลมสงบสุด ต้องช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน

How to go : ข้ามไปเที่ยวเกาะคอเขา ต้องไปลงเรือหรือแพขนานยนต์ที่บ้านน้ำเค็ม ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า มี 2 เส้นทาง คือ เส้นทาง ภูเก็ต–ตะกั่วป่า โดยใช่ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ผ่าน ตำบลโคกกลอย–ตำบลท้ายเหมือง-ตำบลทุ่งมะพร้าว-บ้านทับละมุ–เขาหลัก ลงไปผ่านตลาดบางม่วง แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปในหมู่บ้านน้ำเค็ม  ถ้าหากต้องการเดินทางผ่านตัวเมืองพังงา และอำเภอกะปง ก็ให้มุ่งหน้าไปทางอำเภอตะกั่วป่า ผ่านตลาดย่านยาว และที่ว่าการอำเภอ แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปที่หมู่บ้านน้ำเค็มติดกับอาคารสำนักงานตำรวจทางหลวงอำเภอตะกั่วป่า เมื่อเลี้ยวเข้าสู่เส้นทางบ้านน้ำเค็ม ก็ตรงไปจนพบทางแยก เลี้ยวขวาเข้าไปยังท่าเทียบเรือบ้านน้ำเค็มตามป้าย ถ้าเอารถยนต์ลงแพขนานยนต์ คันละ 150 บาท มอเตอร์ไซค์ คันละ 20 บาท และค่าเรือข้ามฟาก คนละ 10 บาท เท่านั้นเอง

Where to stay : แนะนำ C&N Kho Khao Beach Resort เลขที่ 89 หมู่ 3 เกาะคอเขา อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา โทร. 08-6470-4789, 08-1797-0827  www.cnkhokhaobeachresort.com

More info : สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ อบต.เกาะคอเขา โทร.0-7641-7017 / ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดพังงา โทร. 0-7648-1900-2

Life @เมืองเก่าตะกั่วป่า จ.พังงา

ในขณะที่โลกกำลังหมุนไปอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ใครบางคนกำลังถูกความรีบเร่งและสังคมเมืองกลืนกินวิถีชีวิตอันแสนสงบเรียบง่าย ให้หายไปอย่างไม่มีวันกลับ เราได้มาพบกับเมืองน้อยน่ารักนามว่า “เมืองเก่าตะกั่วป่า” แห่งจังหวัดพังงา เมืองเก่าอายุเกิน 100 ปี ที่เติบโตขึ้นในยุคเดียวกับภูเก็ต ด้วยธุรกิจทำเหมืองแร่ดีบุก

2

อาก๋งท่านนี้ เคยเป็นช่างตีเหล็กที่เก่งที่สุดคนหนึ่งของเมืองตะกั่วป่า นั่งเรืออพยพมาจากเมืองจีนแท้ๆ ตั้งแต่วัยหนุ่ม ทว่าหลังจากธุรกิจเมืองแร่ดีบุกยุติลง และร่างกายก็ล่วงเข้าวัยชรา ทุกวันนี้อาก๋งจึงไม่ได้ตีเหล็กอีกแล้ว อาชีพนี้ก็สูญหายไปจากตะกั่วป่าอย่างไม่มีวันกลับ เหลือเพียงคำบอกเล่าจากปากของท่าน

3

เมืองเก่าตะกั่วป่า มีชื่อเดิมว่า “ตะโกลา” เป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญยิ่งของภาคใต้ ทำหน้าที่เป็นเมืองท่ามาตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 500 ค้าขายกับอินเดีย อาหรับ จีน และชาติต่างๆ ที่ล่องเรือนำสินค้ามาขึ้นยังฝั่งทะเลอันดามัน จากตะโกลาปัจจุบันชื่อเพี้ยนเปลี่ยนเสียงมาเป็น “ตะกั่วป่า” เมืองน่ารัก Slow Town ที่เราหลงรัก

4

 อดีตที่ผันผ่าน ยังคงตราตรึงอยู่ในควาทรงจำของผู้คนที่นี่ คนที่เกิด เติบโต และไม่เคยจากเมืองเก่าตะกั่วป่าไปไหนไกล

5

 ทุกซอกมุมคืออดีตที่บรรจุเรื่องราวไว้นับไม่ถ้วน อิฐเก่าบอกเล่าอดีตอย่างเงียบเชียบ รอคนที่เปิดใจมาสัมผัสรับฟัง

6

7

 สำหรับคนที่โหยหาอดีต ประตูหน้าต่างเก่าหน้าบ้านที่เห็น มิได้เป็นเพียงสถาปัตยกรรมอายุร้อยปี ทว่าเป็นประตูสู่วิถีชีวิตผู้คนแดนใต้ฝั่งอันดามัน ที่พร้อมบอกเล่าเรื่องราวไม่รู้จบ

8

 แม้สังขารจะถูกกาลเวลาพาให้ร่วงโรย แต่รอยยิ้มของอาก๋งนักตีเหล็กก็ยังเปื้อนหน้าทุกครั้ง ที่แหงนหน้าขึ้นดูรูปถ่ายขาวดำเก่าๆ ทั้งของตัวเอง เมีย ลูกๆ และหลานๆ วันวานยังหวานอยู่จริงๆ นะ

9

10

11

 ทำอาชีพที่ตนเองรัก มีความสุข อยู่อย่างพอเพียง คือปรัชญาชีวิตของคุณป้าท่านนี้ แม้ไม่ได้เกิดที่เมืองเก่าตะกั่วป่า แต่เมื่อได้มาใช้ชีวิตอยู่จริงๆ ก็หลงรัก และไม่อยากจากไปไหน

12

 ซื่อสัตย์กับอาชีพที่ตัวเองรัก นั่งปักผ้า เย็บผ้าทุกวัน ตามออร์เดอร์ลูกค้า ค่อยๆ ทำตามที่มีแรง ไม่เร่งไม่ร้อน

13

25

 เดินเล่นไปในเมืองเก่าตะกั่วป่า พบเห็นเส้นสายลายศิลป์บนผืนผ้านุ่งผ้าโสร่ง ที่มีแหล่งผลิตจากทั้งในเมืองไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ช่างงดงามน่ามอง เป็นเอกลักษณ์ เหมาะจะซื้อไปฝากคนที่รู้คุณค่าและได้สวมใส่ใช้งานจริง

14

 ตัดผ้ามาตั้งแต่หนุ่มๆ โดยไม่เคยจากเมืองเก่าตะกั่วป่าไปไหน เทิดทูนในหลวงไว้เหนือเกล้า ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

15

 ศิลปะแห่งแสงสี ฉาบทาอยู่ในทุกอณูเนื้อของอาคารเก่า ผนังกำแพงที่ใครหลายคนมองว่าไร้ค่า แต่สำหรับเรานี่คือพิพิธภัณฑ์ศิลปะอันมีชีวิต Living Museum / Art Museum ของแท้แน่นอน

16

 แม้จะเป็นเพียงมุมเล็กๆ ที่เก่าคร่ำคร่า ทว่าก็เปรียบเสมือน Installation Art เป็นศิลปะการจัดวางอย่างไม่ตั้งใจ แต่ก็งามเกินบรรยาย

17

18

 เมืองเก่าตะกั่วป่า มีศาลเจ้าจีนอยู่หลายแห่ง และจัดงานเทศกาลใหญ่ๆ รวมถึงงานถือศีลกินผักพร้อมๆ กับภูเก็ตด้วยเหมือนกัน

19

20

 ภาพขรึมขลังของบรรพบุรุษชาวจีนรุ่นแรกๆ ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ประกอบสัมมาอาชีพในเมืองเก่าตะกั่วป่า สืบทอดลูกหลานมาจนปัจจุบัน

21

22

 บ้านคุณป้าที่เห็นด้านหลัง เคยเป็นโรงตีเหล็ก แต่เมื่อเหมืองแร่ดีบุกหมดไป อาชีพนี้ก็สาบสูญ คุณป้าบอกว่า “เมืองกำลังจะหมดลมหายใจ!” เป็นประโยคสั้นๆ ที่กินใจเราเหลือเกิน!

23

 ร้านโกปี้ หรือร้านกาแฟแบบชาวใต้ เหมาะไปนั่งพักผ่อนสบายๆ ดูคนเมืองเก่าตะกั่วป่าเขาเปิดสภากาแฟ พูดคุยสรวนเสเฮฮากันในสยามเช้า

24

26

 อาคารโบราณอายุเกิน 100 ปีในเมืองเก่าตะกั่วป่า สร้างขึ้นในยุคเดียวกับเมืองเก่าภูเก็ต ด้วยสถาปัตยกรรมแบบ ชิโน-ยุโรเปียน (Chino-European) หรือจะเรียกว่า ตึกแบบจีนปนยุโรป ก็ไม่ผิด เขาบอกว่าถ้าอาคารหลังใดสร้างต่อกัน ด้วยแบบเหมือนกันหลายคูหา แสดงว่าเป็นญาติหรือครอบครัวเดียวกัน แต่ถ้าอาคารใดสร้างคนละแบบ หรือมีการเว้นช่องว่างไว้ ก็แสดงว่าไม่ใช่ญาติกันนั่นเอง

27

28

29

1841

 Special Thanks : ททท. ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดพังงา (โทร. 0-7648-1900-2) และ คุณนครพจน์ ปิ่นมิ่ง ททท. ฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ (โครงการต้นกล้าตากล้อง ท่องเที่ยวไทย) สนับสนุนการเดินทางทำสารคดีเรื่องนี้

ลอยกระทงสายไหลประทีป ๑,๐๐๐ ดวง จังหวัดตาก

 

Processed with VSCOcam with f2 preset

ลอยกระทงสาย 5

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานตาก จัดงานประเพณี “ลอยกระทงสายไหลประทีป ๑,๐๐๐ ดวง ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” เมื่อวันที่ ๑-๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ บริเวณริมสายธารลานกระทงสาย เชิงสะพานกรุงสมโภชน์รัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี

กระทงสายถือเป็นเอกลักษณ์และมรดกตกทอดทางภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สะท้อนถึงความเชื่อ ความเคารพและศรัทธาที่มีต่อสายน้ำ ถือเป็นประเพณีสำคัญที่ชาวจังหวัดตากภาคภูมิใจยิ่ง และจัดสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล

กระทงสาย ตัวกระทงทำจากกะลา ส่วนตัวไส้เทียนทำจากด้ายฟั่นเป็นรูปตีนกา การทำตีนกาเป็นความเชื่อที่สืบทอดกันมาว่า แสงไฟจากตีนกาจะเป็นการบูชาแม่กาเผือกของพระพุทธเจ้า 5 พระองค์   ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาถึงทุกวันนี้ การจุดไฟที่ด้ายและตีนกาถือเป็นความเชื่อของชาวบ้านที่ว่า แสงไฟจะสร้างความสว่างไสวให้กับชีวิตของตนเอง

กระทงสาย 1

กระทงกะลา ตัวไส้ทำจากด้ายฟั่นเป็นรูปตีนกา

คืนวันแรกของการจัดงานจะมีขบวนแห่กระทงของชาวบ้าน แต่ละคนจะแต่งกายประจำชุมชนและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ขบวนแห่ประกอบด้วย กระทงขนาดใหญ่ เรียกว่า กระทงนำ พร้อมด้วยกระทงกะลา และกระทงปิดท้าย ซึ่งตกแต่งได้อย่างยิ่งใหญ่ วิจิตรงดงาม นอกจากนั้นยังมีการจัดประกวดทั้งกระทงนำ กระทงกะลา และกระทงปิดท้ายอีกด้วย

ประกวดกระทง 4

กระทงปิดท้ายที่ส่งเข้าประกวด

ประกวดกระทง 3

ประกวดปิดท้ายที่ส่งเข้าประกวด

ประกวดกระทง 2

กระทงที่ส่งเข้าประกวด

ประกวดกระทง 1

กระทงกะลาที่ตกแต่งอย่างสวยงามจากแต่ละชุมชนเพื่อส่งเข้าประกวด

ประกวดกระทง 5

กระทงกะลาที่ตกแต่งอย่างสวยงามจากแต่ละชุมชนเพื่อส่งเข้าประกวด

ขบวนแห่ 4

ขบวนแห่กระทง

ขบวนแห่ 2

ขบวนแห่กระทง

ขบวนแห่ 1

ขบวนแห่กระทง

ขบวนแห่ 3

เด็กน้อยแต่งตัวชาวเขาในขบวนแห่กระทง

ขบวนแห่ 5

สาวสวยแต่งกายอย่างไทยร่วมขบวนแห่กระทง

งานวันแรก (๑ พ.ย.) จะมีพิธีเปิดงานฯ และอัญเชิญกระทงพระราชทาน ๑๐ พระองค์ลงลอยเป็นปฐมฤกษ์และเป็นสิริมงคลในการจัดงาน จากนั้นจะมีการลอยกระทงสายโชว์จำนวน ๑,๐๐๐ ดวง

ลอยกระทงสาย 3

ก่อนเริ่มลอยกระทงสาย (กระทงกะลา) จะต้องกระทงนำก่อน

วันที่สองไปถึงวันสุดท้าย (๒-๖ พ.ย.) จะมีการทอดผ้าป่าน้ำ ณ เวทีกลางน้ำ ต่อจากนั้นก็จะเป็นแข่งขันลอยกระทงสายฯ วันละ ๒ ทีม

การแข่งขันจะประกอบด้วยการประกวดการแสดงบนเวที และการประกวดลอยกระทงสายไหลประทีป ๑,๐๐๐ ดวง ให้ทันตามเวลาที่กำหนด

ก่อนเริ่มลอยกระทงสายจะต้องลอยกระทงนำก่อนพร้อมๆ กับการแสดงบนเวทีที่เริ่มขึ้น จากนั้นเริ่มลอยกระทงสาย พอครบ ๑,๐๐๐ ดวง ก็จะทำการลอยกระทงปิดท้าย เป็นอันเสร็จสิ้นการแข่งขัน และในวันสุดท้ายจะมีการประกาศผล ทีมที่ชนะเลิศจะได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานฯ ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช โปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้วยรางวัลสำหรับทีมชนะเลิศในการประกวดกระทงสาย ตั้งแต่ปี ๒๕๔๐ มาจนถึงปัจจุบัน

กระทงสาย 2

แข่งขันลอยกระทงสาย ๑,๐๐๐ ดวง

 

ลอยกระทงสาย 7

แข่งขันลอยกระทงสายไหลประทีป ๑,๐๐๐ ดวง และการประกวดการแสดงบนเวที

ลอยกระทงสาย 6

การแสดงบนเวที

ลอยกระทงสาย 8

ลอยกระทงปิดท้าย หลังจากลอยกระทงประทีปตรบ ๑,๐๐๐ ดวงแล้ว

ลอยกระทงสาย 4

กระทงปิดท้าย หลังจากลอยกระทงประทีปตรบ ๑,๐๐๐ ดวงแล้ว

นอกจากชาวจังหวัดตากและนักท่องเที่ยวจะได้ชมการแข่งขันลอยกระทงสายและร่วมลอยกระทงเพื่อขอขมาและสักการะต่อพระแม่คงคาแล้ว ยังจะได้ช้อปชิมอาหารพื้นเมืองและเลือกซื้อสินค้าต่างๆ ที่มาออกร้านมากมายบริเวณสวนคนเดินการกระทงสาย มีทั้งสินค้า OTOP สินค้าพื้นเมือง และอาหารท้องถิ่นที่หาทานที่ไหนไม่ได้ ชมกระทงสายจำลองแกะสลักจากหินแกรนิต บริเวณถนนเลียบแม่น้ำปิง โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดตาก นายสมชัยฐ์ หทยะตันย์ติ ได้พัฒนาถนนเลียบแม่น้ำนี้ให้กลายเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงาม สะอาดตา และสามรถรองรับนักท่องเที่ยวได้ทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ เด็ก คนท้อง และผู้พิการอีกด้วย

งานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป ๑,๐๐๐ ดวง ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยถึง ๒ ครั้งในปี ๒๕๕๔ และ ๒๕๕๖ ถือเป็ฯเครื่องเชิดชูเกียรติและเป็นที่ประจักษ์แก่สายตานักท่องเที่ยวทุกท่านที่เดินทางมายังจังหวัดตาก

ติดต่อสอบถามข้อมูลและเส้นทางท่องเที่ยวได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานตาก โทร. 0 5551 4341-3 อีเมล tattak@tat.or.th และ www.facebook.com/taktravel

 

ราตรีผ้าไหม สายใยข้าวหอมมะลิ 2557 จ.สุรินทร์

ผ้าไหม เป็นหนึ่งในหัตถกรรมสิ่งทอพื้นบ้านที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน แพรพรรณนี้มีความโดดเด่น ต่างจากเนื้อผ้าชนิดอื่นอย่างเห็นได้ชัด เพราะผ้าไหมมีเนื้ออันอ่อนนุ่ม มันวาวสะท้อนแสง เลอค่าน่าสวมใส่ จึงเป็นที่นิยมใช้กันทั้งในระดับราชสำนักชั้นสูง กระทั่งถึงระดับขุนนาง ข้าราชการ พ่อค้าวาณิชย์ และประชาชนทั่วไป ผ้าไหมจึงเป็นแพรพรรณอันทรงคุณค่าที่สะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นไทยได้ยอดเยี่ยม

ราตรีผ้าไหม 1

ราตรีผ้าไหม 2

แต่หากจะสืบสาวประวัติของผ้าไหมย้อนไปในอดีต ทำให้ทราบว่าผ้าไหมมีต้นกำเนิดขึ้นในอินเดีย และจีน จากนั้นจึงค่อยๆ แพร่เข้าสู่แผ่นดินสุวรรณภูมิผ่านทางการค้าขาย มีการค้นพบว่าตั้งแต่สมัยบ้านเชียง หรือประมาณ 3,000-5,000 ปีมาแล้ว ผู้คนบนผืนดินสุวรรณภูมิก็มีการใช้ผ้าไหมกันในชีวิตประจำวันแล้ว กระทั่งย่างเข้าสู่สมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา ผ้าไหมก็ยิ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายอย่างกว้างขวาง มีการพัฒนาลวดลายและเทคนิคการทอให้ซับซ้อนยิ่งขึ้น ตามการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับต่างชาตินั่นเอง กล่าวกันว่าผ้าไหมไทยมีวิวัฒนาการแบ่งเป็น 3 ยุค คือยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นช่วงรัชกาลที่ 1-3 (ซึ่งสยามยึดประเทศโดยรอบในแถบบอุษาคเนย์ไว้ได้เกือบทั้งหมด) ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และปัจจุบันเป็นยุคที่สาม ภายใต้พระบรมราชานุเคราะห์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชนินีนาถ ทรงจัดตั้งศูนย์ศิลปาชีพขึ้นเพื่ออนุรักษ์ผ้าไหมไทยมิให้สูญหาย สนับสนุนช่างทอให้มีงานทำมีรายได้ อีกทั้งยังเป็นการพัฒนารูปแบบลวดลายให้ร่วมสมัย น่าสวมใส่ จากไหมไทยบ้านๆ แบบเดิมๆ มาบัดนี้ก้าวไปสู่ต่างแดนได้อย่างสง่าผ่าเผย

ราตรีผ้าไหม 3

ราตรีผ้าไหม 4

 ดินแดนอีสานตอนล่างของสยามในบริเวณจังหวัดสุรินทร์ เป็นถิ่นที่มีผู้คนอพยพข้ามแดนมาตั้งรกราก จากฝั่งประเทศกัมพูชาเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ช่วงสมัยรัชกาลที่ 1-3 พวกเขาเหล่านี้ไม่ได้มาตัวเปล่า แต่นำความชำนิชำนาญการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้าไหมติดตัวมาด้วย ช่างทอฝีมือยอดเยี่ยมนับไม่ถ้วน ช่วยกันรังสรรค์ผืนผ้าล้ำค่าด้วยลวดลายวิจิตรพิสดารจนลือเลื่องไปทั่วแดน จนบัดนี้ นอกจากสุรินทร์จะเป็นถิ่นสุดยอดข้าวหอมมะลิไทยแล้ว ยังถือเป็นสุดยอดแห่งดินแดนผ้าไหมอีกด้วย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุรินทร์ ร่วมกับบัตรเครดิตกสิกรไทย จึงร่วมกันจัดงานกาล่าดินเนอร์สุดหรู “ราตรีผ้าไหม สายใยข้าวหอมมะลิ” เมื่อค่ำของวันที่ 12 กรกฎาคม 2557 ณ โรงแรมทองธารินทร์ อำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์ โดยมีแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก อาทิ นายสามพร มณีไมตรีจิต ผู้อำนวยการกองตลาดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, นายชูเกียรติ โพธิโต ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานสุรินทร์ และ อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย ผู้นำหมู่บ้านทอผ้าไหมยกทองจันทร์โสมา โดยท่านผู้นี้เป็นหนึ่งในกูรูผู้เชี่ยวชาญแนวหน้าเรื่องผ้าไหมไทย ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง เพราะท่านเคยทำงานรับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคบาทสมเด็จพระนางเจ้าฯ อย่างใกล้ชิดในเรื่องผ้าไหมของศูนย์ศิลปาชีพมาอย่างช้านานแล้ว

ราตรีผ้าไหม 5

 งานกาล่าดินเนอร์ ราตรีผ้าไหม สายใยข้าวหอมมะลิ เป็นการจัดงานเพื่อเชิดชูคุณค่าความสำคัญ ของผ้าไหมและข้าวหอมมะลิ อันเป็นสุดยอดสองผลผลิตท้องถิ่นของสุรินทร์ให้เป็นที่ประจักษ์อีกครั้งหนึ่ง ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ถือเป็นสินค้า OTOP ระดับพรีเมียม เพราะเติบโตขึ้นจากคุณค่าอุดมของดินภูเขาไฟ เป็นข้าวหอมมะลิที่อ่อนนุ่มน่าทาน กลิ่นหอม และมีวิตามินสูง ส่วนไหมสุรินทร์แบบดั้งเดิมของชาวเขมรนั้น นอกจากจะมีผ้าอัมปรมและหมี่โฮล ลักษณะเป็นผ้าไหมเนื้อบางนุ่มนิ่ม ทอเป็นลายตารางเล็กลายถี่ และใช้สีแดงสีส้มเป็นหลักแล้ว ปัจจุบันยังมีการพัฒนายกระดับขึ้นด้วยลวดลายโบราณ ยกดิ้นเงินดิ้นทอง ดังที่ปรากฏที่บ้านท่าสว่าง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์ ซึ่งส่วนใหญ่ทอผ้าเฉพาะที่สั่งพิเศษ เพื่อส่งเข้าไปใช้ในสำนักพระราชวัง งานกาล่าดินเนอร์คืนนี้จึงนำผ้าไหมบ้านท่าสว่างมาเป็นนางเอกกว่า 10 ชุด โดยใช้นางแบบนายแบบสุดสวยสุดหล่อ ซึ่งเป็นชุดเดียวกับที่เคยเดินแบบให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทอดพระเนตรมาแล้ว อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย แห่งบ้านท่าสว่าง จึงเข้ามาดูแลและให้ความรู้ด้วยตัวเอง

ราตรีผ้าไหม 6

 ก่อนโชว์ชุดผ้า มีการแสดงพื้นเมืองของสุรินทร์ให้ชมให้ฟังกันด้วย

ราตรีผ้าไหม 7

 วินาทีที่ทุกคนในงานรอคอยก็มาถึง เมื่อการโชว์นางแบบผ้าไหมไทยโบราณที่หาชมได้ยากยิ่งเริ่มขึ้น อาจารย์วีรธรรมค่อยๆ นำนางแบบพร้อมผู้ช่วยออกมาสาธิตวิธีการนุ่งห่มผ้าไหมไทย ตามอย่างแนวประเพณีโบราณให้เราได้ชมทีละขั้นทีละตอนอย่างละเอียด โดยอธิบายว่า แต่เดิมการนุ่งผ้าของชาวสยามเรียกว่า “การนุ่งห่ม” เนื่องจากในอดีตเรานิยมใช้ผ้าผืนที่ไม่มีการตัดเย็นเป็นชุด มาห่มคลุมร่างกายโดยตรง ท่อนบ่นใช้ผ้าห่มให้เข้ารูปแทนเสื้อ ส่วนท่อนล่างใช้ผ้าผืนนุ่งเป็นโจง (โจงกระเบน) ลักษณะเป็นผ้าสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว เนื้อผ้าและลวดลายต่างกันไปตามฐานะ บรรดาศักดิ์ และความชอบ ส่วนพระมหากษัตริย์และพระราชินีจะผ้าที่มีลวดลายเนื้อดีทอเป็นพิเศษ บางคนมองว่าการนุ่งห่มผ้าแบบไทยโบราณนั้นจะทำให้ใช้ชีวิตประจำวันไม่ค่อยสะดวก แต่จริงๆ แล้วไม่เป็นเช่นนั้น เพราะคนสยามมีวิธีนุ่งผ้าได้ในทุกโอกาส ทั้งเพื่อการทำงานที่ต้องการคล่องตัว นุ่งให้ทะมัดทะแมง นุ่งให้สวยงาม และการนุ่งผ้ามงคล

ราตรีผ้าไหม 8

ราตรีผ้าไหม 9

ราตรีผ้าไหม 10

การแต่งกายในสมัยรัตนโกสินทร์ช่วงรัชกาลที่ 1-3 สตรีนิยมนุ่งผ้าจีบและห่มสไบเฉียง ต่อมาช่วงรัชกาลที่ 4-5 นิยมนุ่งผ้าโจงกระเบนห่มสไบทับเสื้อแขนกระบอก สมัยรัชกาลที่ 6 นิยมนุ่งโจงกระเบนและนุ่งซิ่น แต่ในสมัยรัชกาลที่ 7 ผู้คนเริ่มนุ่งซิ่นกันอย่างแพร่หลาย และใส่เสื้อตัวยาว ไม่นิยมโจงกระเบนเท่าใดนัก ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 9 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงออกแบบเครื่องแต่งกายที่ประยุกต์มาจากโบราณ แต่ยังคงแสดงออกถึงความเป็นไทย และทรงพระราชทานนามว่า “ชุดไทยพระราชนิยม” ซึ่งปัจจุบันถือเป็นชุดไทยประจำชาติของสตรีด้วย

ราตรีผ้าไหม 12

ราตรีผ้าไหม 13

ราตรีผ้าไหม 14

 หน้างานกาล่าดินเนอร์ ราตรีผ้าไหม สายใยข้าวหอมมะลิ มีการออกร้าน และสาธิตทอผ้าไหมโบราณของสุรินทร์ อย่างผ้าหมักโคลนภูเขาไฟสีส้มอมน้ำตาล เนื้อนุ่มน่าใช้ สีติดทนนาน

ราตรีผ้าไหม 17

 ประวัติของชุดไทยพระราชนิยมนั้นน่าสนใจมาก คือในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเยือนยุโรปและสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ เมื่อปี พ.ศ. 2503 ทรงพระราชทานพระราชดำริว่า สมควรที่จะสรรค์สร้างการแต่งกายชุดไทยให้เป็นไปตามประเพณีที่ดีงาม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศึกษาค้นคว้าเครื่องแต่งกายสมัยต่างๆ จากพระฉายาลักษณ์ของเจ้านายฝ่ายใน และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางประวัติศาสตร์ ควบคู่กับการปรับปรุงพัฒนาให้เหมาะสมกับกาลสมัย ทรงเสนอรูปแบบที่หลากหลายและได้ฉลองพระองค์เป็นแบบอย่างด้วย ทั้งได้พระราชทานให้ผู้ใกล้ชิดแต่งและเผยแพร่ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น มี 8 ชุด คือ ชุดไทยเรือนต้น ชุดไทยจิตรลดา ชุดไทยอมรินทร์ ชุดไทยบรมพิมาน ชุดไทยจักรี ชุดไทยดุสิต ชุดไทยจักรพรรดิ์ และชุดไทยศิวาลัย ชุดไทยพระราชนิยมเหล่านี้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงใช้ในโอกาสและสถานที่ต่างๆ จนเป็นที่รู้จักแพร่หลายและชื่นชมไปทั่วทั้งในและต่างประเทศ

ราตรีผ้าไหม 18

ราตรีผ้าไหม 19

 คืนนี้เราได้ตื่นตาตื่นใจกับนางแบบโฉมงามในชุดไทยจักรพรรดิ์และชุดไทยศิวาลัย ที่มีเครื่องประดับสร้อยสังวาล ทับทรวง กำไล ต่างหู และเข็มขัดทองเหลืองอร่าม เนื้อผ้าไหมลายวิจิตรพิสดารสลับซับซ้อน หลากสี อวดลวดลายโบราณหลากหลาย เนื้อผ้าพลิ้วไหวไปตามจังหวะการเดินของนางแบบนายแบบ เมื่อผ้าต้องแสงไฟก็สะท้อนแวววาวอย่างน่ามอง นับเป็นความอัศจรรย์ของผ้าไหมไทยที่ไม่มีผ้าใดมาเทียบได้ เช่นเดียวกับผ้าสไบจีนผืนยาวที่ห่มพาดเฉวียงบ่าของนางแบบ ยามเดินเยื้องย่างไปอย่างแช่มช้า ก็พลิ้วไหวลู่ลมอย่างน่ามอง แต่ละชุดค่อยๆ เดินผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนออกมาโชว์อย่างจุใจ

ราตรีผ้าไหม 20

ราตรีผ้าไหม 21

Traveler’s Guide :

How to go : รถยนต์เดินทางจากกรุงเทพฯ-สุรินทร์ ไปได้ 2 เส้นทาง คือ ทางแรกใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) จนถึงสระบุรี เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ไปจนถึงนครราชสีมา แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 226 ผ่านบุรีรัมย์จนถึงสุรินทร์ รวมระยะทาง 434 กิโลเมตร หรืออีกเส้นทางหนึ่ง ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ไปจนถึงสระบุรี เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ไปจนถึงอำเภอสีคิ้ว แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 24 (โชคชัย-เดชอุดม) ผ่านอำเภอโชคชัย อำเภอนางรอง อำเภอประโคนชัย เลี้ยวซ้ายเข้าเส้นทางหมายเลข 214 ที่อำเภอปราสาท ไปจนถึงจังหวัดสุรินทร์ รวมระยะทาง 450 กิโลเมตร

Where to stay : โรงแรมทองธารินทร์ โทร. 0-4451-4281-8 เว็บไซต์ www.thongtarinhotel.com

More info : ททท. สำนักงานสุรินทร์ โทร. 0-4451-4447-8 เฟสบุ๊ค www.facebook.com/tatsurin

เที่ยวบ้านท่าสว่าง ถิ่นผ้าไหม 1,416 ตะกอ! จ.สุรินทร์

บ้านท่าสว่าง 1

“กลุ่มทอผ้ายกทอง จันทร์โสมา” แห่งบ้านท่าสว่าง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุรินทร์ เป็นหมู่อาคารเรือนไทยหลายหลังในสวนสวยแมกไม้ใหญ่ร่มรื่น ที่นี่มีทั้งส่วนอาคารพิพิธภัณฑ์ของสะสม ของท่านอาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย แกนนำกลุ่มจันทร์โสมา ที่มีจุดเด่นในการอนุรักษ์และฟื้นฟูผ้ายกทองชั้นสูงแบบราชสำนักไทยโบราณ โดยการนำใยไหมเส้นเล็กละเอียด (ไหมน้อย) มาย้อมสีธรรมชาติ ด้วยเทคนิคโบราณผสานกับการออกแบบลวดลายที่วิจิตรเหมือนในอดีต เช่น ลายเทพพนม ลายหิ่งห้อยชมสวน ลายก้านขดเต้นรำ ลายครุฑยุดนาค ฯลฯ ผสานกับลายผ้านุ่งที่คนสุรินทร์นิยมอยู่แล้ว คือ ลายอัมปรม ลายสาคู ลายสมอ ลายละเบิก ลายลูกแก้ว มีการใช้เส้นไหมกะไหล่ทองปั่นควบกับเส้นไหม ถักทอเป็นผ้าไหมยกทองอันวิจิตรงดงามอย่างเหลือเชื่อ ยิ่งกว่านั้นบ้านท่าสว่างยังได้รับการสนับสนุนจากสำนักพระราชวัง และมูลนิธิในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ จนได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ทอผ้าไหมมอบให้กับผู้นำเอเปค เมื่อปี พ.ศ. 2546 บ้านท่าสว่างจึงเป็นที่รู้จักนับแต่นั้น

บ้านท่าสว่าง 3

สาวน้อยแห่งบ้านท่าสว่าง วันนี้มาช่วยคุณป้าคุณน้าย้อมสีธรรมชาติสวยๆ ให้เราชมด้วย

บ้านท่าสว่าง 4

บ้านท่าสว่าง 5

 คุณยายใช้เส้นใยจากใบไม้มาเตรียมไว้มัดเส้นไหม เตรียมลงย้อมในหม้อสีที่ต้มไว้เดือดๆ โดยย้อมทีละมัดๆ อย่างประณีต

บ้านท่าสว่าง 6

บ้านท่าสว่าง 7

จากทางเข้าด้านหน้า เราค่อยๆ เดินชมนกชมไม้เข้ามาสู่โรงย้อมผ้าสีธรรมชาติ ที่มีชาวบ้านกำลังช่วยกันนำเส้นไหมลงย้อมในหม้อบนเตาฟืนควันฉุย หม้อสีครามให้สีน้ำเงินสดใส หม้อน้ำต้มครั่งได้สีแดงชาติเตะตา หม้อน้ำจากต้นเขให้สีเหลืองแจ่มกระจ่างตา สีส้มได้จากดอกคำแสด สีเขียวมะกอกได้จากแก่นขนุน สีดำได้จากผลมะเกลือ สีน้ำตาลได้จากต้นหมาก และสีม่วงได้จากต้นหว้า เป็นต้น เมื่อนำผืนผ้าสีธรรมชาติมาทอผสมผสานกับไหมยกทองโบราณ ด้วยลวดลายที่มีความพิเศษของ อาจารย์วีรธรรม แล้ว ก็ยิ่งทำให้ผ้าไหมบ้านท่าสว่างกลายเป็นแพรพรรณอันเล่อค่าจนไม่น่าเชื่อ

บ้านท่าสว่าง 8

 สีธรรมชาติจากพรรณไม้ต่างๆ นำมาจากมใบไม้, เปลือกไม้, แก่นไม้ แช่น้ำทิ้งไว้ค้างคืน แล้วนำมาเติมน้ำต้มให้เดือดควันฉุย จากนั้นนำมัดเส้นไหมหรือฝ้ายมาย้อมหลายครั้ง จนสีติดดี ได้สีเข้มตามต้องการ นี่คือเทคนิคการย้อมแบบร้อน

บ้านท่าสว่าง 9

 พอย้อมสีเส้นไหมเสร็จแล้ว ก็นำมาตากให้แห้งในที่ร่มลมโกรก

บ้านท่าสว่าง 10

บ้านท่าสว่าง 11

จากเรือนย้อมผ้า เราสาวเท้าเข้าไปที่เรือนทอผ้า และก็ต้องตื่นตาอีกครั้งกับกี่ทอผ้าขนาดยักษ์ของที่นี่ เพราะกี่ทอผ้าแต่ละอันของบ้านท่าสว่างนั้นมีความสูงกว่า 2-3 เมตร! สูงเท่าตึกเกือบสองชั้น! แต่ละกี่ต้องใช้คนช่วยกันทอ 4-5 คน! เพราะผ้าไหมบ้านท่าสว่างมีมากถึง 1,416 ตะกอ! จึงต้องอาศัยทักษะและทีมเวิร์กขั้นสูง เพราะต้องมีคนช่วยยกตะกอ 2-3 คน คนสอดไม้ 1 คน และคนทออีก 1คน เป็นความซับซ้อนทางด้านเทคนิคการทอ จนได้ผลงานเพียงวันละ 6-7 เซนติเมตรเท่านั้น! ช่างทอซึ่งเป็นคุณป้าคุณยายเล่าให้ฟังว่า ผ้าลายพิสดารที่อยู่บนกี่นี้ล้วนมีคนสั่งทอทั้งสิ้น ผืนหนึ่งยาว 3 เมตร ราคาก็ไม่ต่ำกว่า 1.5-2.5 แสนบาท! และต้องช่วยกันทุ่มเทแรงกายแรงใจทอนานหลายเดือนเลยทีเดียว เราสอบถามท่านว่ามีลูกหลานรุ่นใหม่มาร่ำเรียนสืบทอดวิชาทอผ้าบ้างหรือไม่? คุณป้ามองหน้ากันแล้วยิ้ม ตอบว่า “แทบไม่มีคนรุ่นใหม่มาสืบทอดวิชาทอผ้าเลย! สักวันมันคงสูญหายแน่นอน” เรื่องนี้จะจริงหรือไม่ เราไม่แน่ใจ แต่คงเป็นการบ้านที่ผู้รับผิดชอบต้องช่วยกันอนุรักษ์สืบสานมรดกของชาติแขนงนี้ไว้ให้ได้

บ้านท่าสว่าง 12

 กี่ทอผ้ายักษ์แห่งบ้านท่าสว่าง แต่ละอันสูงกว่า 3 เมตร! ไม่ต่างจากตึก 3 ชั้น ที่มีทั้งชั้นล่าง ชั้นกลาง ชั้นบน ใช้ช่างทอที่มีความชำนาญสูงช่วยกันกี่ละไม่ต่ำกว่า 4-5 คน นับเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านขนานแท้ ที่สร้างความซับซ้อนบนผืนผ้าขึ้นมาได้

บ้านท่าสว่าง 13

 เสน่ห์ของสีธรรมชาติ คือ Colour Variation เป็นความหลากหลาย ความต่างของสีที่ไม่เท่ากันเลยในการย้อมแต่ละครั้ง ได้สีเข้มอ่อนตามการย้อม การผสม และวัสดุธรรมชาติที่ก่อกำเนิดสี ยิ่งใช้ยิ่งสวย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาก

บ้านท่าสว่าง 14

 หม้อหมักคราม ต้องหมั่นดูแลเพื่อไม่ให้ครามเน่า ชาวบ้านเรียกว่าครามยังมีชีวิต ถ้าครามเน่าเสีย หรือครามตายแล้ว จะเรียกว่า ครามหนีไปแล้ว!

บ้านท่าสว่าง 16

บ้านท่าสว่าง 17

 ลวดลายอันสวยงาม สลับซับซ้อน และวิจิตรพิสดาร ของผ้าไหมยกดิ้นทองบ้านท่าสว่าง ส่วนใหญ่จะเป็นการทำตามออร์เดอร์ โดยเฉพาะส่งเข้าวัง

บ้านท่าสว่าง 18

 นี่คือความสลับซับซ้อนของกี่ทอผ้าบ้านท่าสว่าง จริงๆ ยังมีลึกลงไปใต้ดินอีก โดยมีช่างประจำอยู่ด้านล่าง ไม้ไผ่ซี่เล็กๆ ที่เห็นเรียกว่า “ตะกอ” ย่ิงมีจำนวนตะกอมาก ความซับซ้อนของลายก็ยิ่งสุดยอด!

บ้านท่าสว่าง 19

พอเดินชมสาธิตวิธีการทอผ้าไหมยกดิ้นทองในโรงทอแล้ว ก็ได้เวลาออกมาเดินช้อปปิ้งผ้าไหมบ้านท่าสว่าง อุดหนุนชาวบ้าน

สอบถามเพิ่มเติม ททท. สำนักงานจังหวัดสุรินทร์ โทร. 0-4451-4447-8

Traveler’s Guide :

การเดินทางสู่บ้านท่าสว่าง อยู่ในอำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์ โดยอยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือ 10 กิโลเมตร ใช้ถนนสายเกาะลอย-เมืองลิง (ทางหลวงชนบท สร.4026) จากตัวเมืองสุรินทร์ เป็นถนนลาดยางตลอด

เปิดให้เข้าชมเวลา 08.00-17.00 น. โทร. 08-9202-7009, 0-4455-8489-90 (อาจารย์วีระธรรม ตระกูลเงินไทย, คุณสุมาลี ติดใจดี)

บ้านคำปุน ร้อยใจสืบงานงานศิลป์ จ.อุบลราชธานี

บ้านคำปุน 6

บ้านคำปุน อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นแหล่งท่องเที่ยวด้านการอนุรักษ์ผ้าไหมไทยโบราณ ซึ่งมีความพิเศษสุดๆ เพราะจะเปิดให้คนทั่วไปได้เข้าชมเพียงปีละ 3 วันเท่านั้น ในช่วงวันเข้าพรรษา ใครที่เคยชมภาพยนตร์ยิ่งใหญ่ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรทุกภาค ผ้าไทยที่ใช้ในการถ่ายทำล้วนสั่งทอมาจากบ้านคำปุนทั้งสิ้น

บ้านคำปุน 1

บ้านคำปุน 7

บ้านคำปุนเป็นหมู่เรือนไทยในพื้นที่กว่า 6 ไร่ สร้างขึ้นโดยคุณมีชัย แต้สุริยา อดีตสจ๊วตการบินไทย ผู้มีความรักความชอบผ้าไทยเป็นทุนเดิมมาตั้แต่เด็กๆ แล้ว มาวันนี้เขาได้สร้างอาณาจักรผ้าไทยของตัวเองขึ้นมา โดยนำชาวบ้านที่มีฝีมือทอผ้าเข้าสู่โรงทอผ้าบ้านคำปุน ผลิตผ้าทอยกเส้นเงินเส้นทองลายโบราณ ทั้งเพื่อการสะสม ใช้งานจริง และใช้ในพระราชพิธีสำคัญ ในเรือนแต่ละหลังมีกิจกรรมย้อนยุคแบบไทยๆ ให้เราได้มีส่วนร่วมหรือชื่นชม ทั้งขั้นตอนการสาวไหม การทอผ้า การร้อยพวงมาลัย การจัดพุ่มบายศรี ฯลฯ แต่ที่ดูจะได้รับความสนใจมากที่สุด คือเสียงดนตรีจากวงกันตรึม พร้อมด้วยการฟ้อนประกอบอย่างน่ามอง

บ้านคำปุน 8

 ก่อนผ้าไหมจะกลายเป็นผืนสวยงามน่าสวมใส่ ก็ต้องเกิดจากจุดนี้ คือเริ่มสาวไหมออกจากรังไหม ไปม้วนไว้ในหลอดด้าย

บ้านคำปุน 9

 เส้นไหมที่ได้รับการร้อยเรียงอย่างดี มีทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน ตัดกันไปมาจากการทออันเชี่ยวชาญของช่างที่มีประสบการณ์ ซึ่งได้มารวมตัวกันอยู่ ณ บ้านคำปุนแห่งนี้

บ้านคำปุน 11

 ไหมในหลอดด้าย จากเส้นเดี่ยวๆ ค่อยๆ รวมตัวกลายเป็นผืนผ้าอันเลอค่า

บ้านคำปุน 12

บ้านคำปุน 13

หนอนไหมที่โตเต็มที่ แต่ยังกินใบหม่อนไม่หยุด เพื่อสะสมอาหารไว้ในระยะเข้าดักแด้ สร้างรังไหม แต่ละตัวตั้งหน้าตั้งตากินกันทั้งวันเลย

บ้านคำปุน 16

บ้านคำปุน 17

 บ้านคำปุนมีร้านขายผลิตภัณฑ์ผ้าไหมอยู่ในตัวเมืองอุบลราชธานีด้วย มีทั้งผ้าผืน และชุดตัดสำเร็จ สำหรับท่านหญิง และท่านชาย

บ้านคำปุน 2

 ในช่วงที่เปิด 3 วัน บ้านคำปุนจะนำการแสดงเด่นๆ จากหลายจังหวัดในภาคอีสานมาโชว์ให้ชมด้วย เพื่อเป็นการสืบสานงานศิลป์แขนงนี้ให้คงอยู่ต่อไป

บ้านคำปุน 3

 แม้แต่การฟ้อน และเล่นลาวกระทบไม้แบบสุรินทร์ ก็มีแสดงให้ชมที่นี่ด้วย

บ้านคำปุน 4

 ฟ้อนสุรินทร์ ณ บ้านคำปุน งามอ่อนช้อย น่าชม

บ้านคำปุน 5

 สอบถามเพิ่มเติม ที่ ททท. สำนักงานอุบลราชธานี โทร. 0-4524-3770, 0-4525-0714

Traveler’s Guide :

บ้านคำปุน เปิดให้เข้าชมปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเทศกาลแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ 3 วัน ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ถึงต้นเดือนสิงหาคม (แต่ละปีไม่แน่นอน) เวลา 09.00-17.00 น. โดยจำหน่ายบัตรเข้าชม คนละ 100 บาท เพื่อจัดหารายได้ในการบริจาค เพื่อสาธารณะกุศล สอบถามเพิ่มเติมที่ บ้านคำปุน โทร. 0-4532-3452 หรือที่ร้านคำปุน Fmi. โทร. 0-4525-4830

เที่ยวญี่ปุ่นได้ในวันเดียว! J-Park ชลบุรี

2

3

J-Park ศรีราชา เป็นช็อปปิ้งมอลล์แห่งใหม่ที่ให้บรรยากาศเหมือนอยู่ญี่ปุ่นมากๆ เพราะสิ่งก่อสร้างสถาปัตยกรรมต่างๆ ล้วนจำลองมาจากแดนปลาดิบแท้ๆ ตั้งแต่สไตล์ของอาคารร้านรวง ลำธารสีมรกตสายน้อย น้ำใสแจ๋ว ที่มีปลาคาร์พแหวกว่ายไปมา และที่เด็ดสุดคือร้านขายของกับร้านอาหารญี่ปุ่นนับสิบๆ ร้าน ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ของคนศรีราชาไปแล้ว รวมถึงชุมชนคนญี่ปุ่นที่อาศัยหรือทำงานอยู่แถบนี้ ก็มาเดินอุดหนุนกันอุ่นหนาฝาคั่ง ทำให้ J-Park มีชีวิตชีวา โดยเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ คนที่ชอบถ่ายรูปยิ่งไม่ควรพลาด เพราะเขามีมุม Photo Point นับไม่ถ้วน!

4

 ปราสาทคินคาคูจิจำลอง เหมือนที่เราเคยเห็นกันในการ์ตูนเรื่องอิ๊กคิวซัง เณรน้อยเจ้าปัญญา ถือเป็นหนึ่งใน Landmark สำคัญของ J-Park ศรีราชา ที่ถูกถ่ายรูปมากที่สุดล่ะ

5

6

 เห็นการจัดสวยเรียบๆ โล่งๆ แบบนี้ นึกว่าอยู่ในญี่ปุ่นจริงๆ ซะอีก!

7

8

9

10

11

 ร้านขายของสไตล์ญี่ปุ่นเปิดให้ช็อปกันทุกวัน เดินได้เพลิน โดยเฉพาะร้าน 100 เยน หรือร้าน Daiso ที่หลายคนคุ้นเคยกันดี

12

13

14

15

16

17

18

19

 เดินช็อปจนหอบหิ้วกันแทบไม่ไหวแล้ว ก็ได้เวลาหาอาหารญี่ปุ่นแนวสุขภาพเติมพลังสักหน่อย มื้อนี้ขอเน้นกินปลา จะได้เพิ่มโอเมก้า 3 และโปรตีนย่อยง่าย กินคู่กับสลัดผัก และมิโซะซุปสไตล์ญี่ปุ่น อิ่มแบบเบาๆ สบายท้องดีจัง

20

21

22

 แซลมอนซาชิมิ ดูความฉ่ำสดเอาเองละกัน!

23

 สองคำนี้ขอเลย ใครห้ามแย่ง เพราะเป็นของชอบที่สุด! ข้าวปั้นหน้าไข่แซลมอน ต้องกินทั้งคำ ค่อยๆ ให้ไข่แซลมอนแตกในปาก น้ำมันโอเมก้า 3 จะได้ค่อยๆ ไหลลงคอไปช้าๆ สุดยอด!

24

25

 

Traveler’s Guide

Address : J-Park ศรีราชา ตั้งอยู่ที่ ถนนอัสสัมชัญ – หนองค้อ ตำบลสุรศักดิ์ เทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230

How to go : รถยนต์

1. จากถนนสุขุมวิท (ทางหลวงหมายเลข 3) มาถึงอำเภอศรีราชา ตรงมาสังเกตด้านขวามือเป็นห้างโรบินสัน เลยไปอีกประมาณ 180 เมตรพบสี่แยก (แยกอัสสัมชัญ) เลี้ยวซ้ายเข้าถนนอัสสัมชัญ (ทางหลวงหมายเลข 3214) ไปทางโรงเรียนอัสสัมชัญ ตรงไปจนเจอแยกตัววาย (Y) ให้วิ่งเลาะด้านซ้ายมือตามกำแพงโรงเรียนไปเรื่อยๆ เข้าถนนสายศรีราชา-หนองค้อ ก่อนถึงทางหลวงพิเศษสาย 7 จะเห็น J-Park ศรีราชา อยู่ด้านขวา ดั้งนั้นต้องตรงไปขึ้นสะพานข้ามทางหลวงพิเศษสาย 7 พอลงสะพานจะเห็นทางกลับรถด้านขวามือ กลับรถเสร็จแล้ว วิ่งข้ามสะพานกลับมาอีกทีแล้วเลี้ยวซ้ายเข้า ช็อปปิ้งมอลล์ เจปาร์ค ศรีราชา

2. จากทางหลวงพิเศษสาย 7 กรุงเทพ-ชลบุรี ออกจากด่านเก็บเงินพานทอง ตรงไปประมาณ 26 กิโลเมตร ออกมาทางถนนเลียบหลวงพิเศษสาย 7 วิ่งไปจะสังเกตเห็นสะพานข้ามทางหลวงพิเศษสาย 7 ด้ายซ้ายมือมีป้าย เลี้ยวซ้ายไปห้างโรบินสันศรีราชา เลี้ยวซ้ายตามป้ายนี้ จากนั้นชิดขวากลับรถขึ้นสะพานข้ามทางหลวงพิเศษสาย 7 ลงสะพานจะเห็น J-Park ช็อปปิ้งมอลล์

More info : www.saha-jpark.com  Facebook : https://www.facebook.com/jpark.nihonmura

สวนน้ำ Cartoon Network ประเทศไทยแห่งแรกของโลก!!!

2

เปิดตัวแล้วอย่างยิ่งใหญ่ กับสวนน้ำธีม Cartoon Network แห่งแรกของโลกในประเทศไทย ที่จังหวัดชลบุรี  จุดเด่นที่ไม่เหมือนใครคือ เป็นสวนน้ำแบบอินเทอร์ แอคทีฟ ที่ต่างจากสวนน้ำอื่นๆ ทั่วโลก มีสุดยอดเครื่องเล่นและสไลเดอร์มากถึง 30 อย่าง รวมถึงการแสดงการ์ตูนเน็ทเวิร์ค มาสคอต ซึ่งเป็นเหล่าการ์ตูนเน็ทเวิร์คฮีโร่ อาทิ Powerpuff Girls, Ben 10, Adventure Time ที่เด็กๆ และคนทั่วโลกชื่นชอบ! สวนน้ำแห่งนี้มีพื้นที่กว้างขวางถึง 35 ไร่ ในลักษณะ Daycation (พักผ่อนวันเดียวเที่ยวสบาย) ที่มาสัมผัสกันได้ทั้งครอบครัว และในอนาคตจะมีการเปิดที่พักในบริเวณใกล้ๆ กันด้วย

3

ยืนรอสักพัก ถังน้ำด้านบนที่แกว่งไปแกว่งมา ก็จะมีน้ำเติมเต็มลงไปจนล้น แล้วหมุนเคว้งเทน้ำซ่าใหญ่ลงมาเบื้องล่าง!

4

 วินาทีแห่งความสนุกที่ SURFARENA กระดานโต้คลื่นจำลองอันแสนสนุก

5

 สาวน้อยน่ารัก กับการทรงตัวอย่างยอดเยี่ยมราวกับมืออาชีพ! บนกระดานโต้คลื่นจำลอง SURFARENA

6ครูฝึกกระดานโต้คลื่นจำลอง โชว์ลีลาลอยตัวกลางอากาศ เล่นเอาคนดูอึ้งไปตามๆ กัน!!!

7

 เห็นเครื่องเล่นของเขาแล้วบอกได้คำเดียวว่า สวนน้ำ Cartoon Network สร้างได้ยิ่งใหญ่อลังการกว่าสวนน้ำไหนๆ ที่เคยเห็นจริงๆ!

8

ทะเลจำลอง และคลื่นที่เหมือนกับทะเลจริงๆ มาก! สิ่งสำคัญคือต้องมีห่วงยางหรือเสื้อชูชีพติดตัวไว้ตลอด เพื่อความปลอดภัย
9

10

11

12

 RIPTIDE RAPIDS เครื่องเล่นสุดมันที่พุ่งทะลุผ่านปล่องคดเคี้ยวบนหอคอยสูงนับสิบเมตร ลงสู่สายน้ำฟู่เบื้องล่าง!

13

14

15

16

17

 

Traveler’s Guide

How to go : สวนน้ำ Cartoon Network ตั้งอยู่ที่ ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยอยู่ห่างจากตัวเมืองพัทยาเพียงแค่ 20 นาที และใช้เวลาเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิแค่ 90 นาที

Opening Time : เปิด 10.00-18.00 น. วันจันทร์-อาทิตย์

Contact : โทร. 0-3823-7 707 (ภาษาไทย / อังกฤษ), 09-3008-5690 (ภาษารัสเซีย) เว็บไซต์ http://cartoonnetworkamazone.com

บัตรผ่านประตู : สำหรับบัตรรายวัน ผู้ใหญ่ (คนไทย) 1,290 บาท/วัน, เด็ก (คนไทย) 890 บาท/วัน ราคานี้เล่นได้ตลอดวัน ทุกเครื่องเล่น ยกเว้นค่าอาหารที่ต้องเสียเพิ่มเอง ส่วนบัตรรายปี ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ราคาเริ่มต้นที่ 6,000 บาท

ข้าวหมูแดงนายดอกไม้ ต้นตำรับเจ้าแรกชลบุรี!

ข้าวหมูแดงนายดอกไม้ สูตรจีนแต้จิ๋วแท้ๆ ขายมานานกว่า 70 ปี ตั้งแต่สมัยรุ่นพ่อ จนมาถึงรุ่นลูกแล้ว อาเฮียเล่าว่าครั้งแรกเตี่ย (พ่อ) เป็นลูกมือเจ้าของร้านข้าวหมูแดงมาก่อน พอเจ้าของเดิมร่ำรวย ก็กลับเมืองจีน เลยให้สูตรทำข้าวหมูแดงนี้ไว้กับเตี่ย จนตกทอดมาถึงปัจจุบัน กลายเป็นต้นตำรับข้าวหมูแดงเจ้าแรกในตัวเมืองชลบุรี ที่ถามใครแถวนั้น ก็ต้องรู้จักทุกคน “ข้าวหมูแดงนายดอกไม้” ตรงข้ามศาลเจ้าอาเนี้ยว

_TRA8399

คุณลูกสาวน่ารัก ผู้สืบทอดสูตรข้าวหมูแดงรุ่นต่อไป

_TRA8373

 ร้านนายดอกไม้ จริงๆ แล้วเป็นแค่รถเข็นเล็กๆ จอดอยู่ในซอยตรงข้ามหน้าศาลเจ้าอาเนี้ยว มีโต๊ะนั่งไม่กี่โต๊ะ แต่ลูกค้าแน่นตลอด มีทั้งมานั่งกินและเข้าคิวรอซื้อกลับบ้านทั้งวัน อาเฮียเลยสับหมูมือเป็นระวิง!

_TRA8383

_TRA8388

 ข้าวหมูแดงนายดอกไม้อร่อยมีรสชาติเฉพาะไม่เหมือนใคร ข้าวนุ่ม หมูแดงหอมอร่อยไม่เหนียว หมูกรอบไม่มันมาก กรอบจริงๆ เคี้ยวได้หมดทั้งชิ้น ส่วนกุนเชียงก็เป็นกุนเชียงเนื้อแดง ย่างด้วยเตาถ่าน เนื้อจึงหอมอร่อย เคี้ยวแล้วได้กลิ่นถ่านไม้ สุดยอด! อันนี้เป็นวิธีการทำแบบโบราณจริงๆ หายากมากๆ ไข่ต้มก็ให้แบบจริงใจ จานละฟองเลย กินแกล้มกับแตงกวา, ผักบุ้งผัดน้ำมัน, น้ำจิ้มซีอิ๊วดำใส่พริกซอยละเอียด และที่ขาดไม่ได้คือ ซอสพริกศรีราชาคุณภาพเยี่ยม เข้ากั้นเข้ากัน!

_TRA8390

ถ้าไม่อยากกินข้าว จะสั่งเกาเหลาหมูแดงก็ได้ (เหมือนข้าวหมูแดงทุกอย่าง แต่ไม่ใส่ข้าวมานั่นเอง) สังเกตโต๊ะไม้ที่จานวางอยู่ให้ดี จะเห็นริ้วรอยของกาลเวลา ที่ร้านนายดอกไม้เขาใช้มานานหลายสิบปี เป็นเครื่องรับประกันความอร่อยจ้า

 

Eating Guide

Address : ร้านข้าวหมูแดงนายดอกไม้ อยู่หน้าศาลเจ้าอาเนี้ยว ถนนวชิรปราการ (หากมาจากเซ็นทรัลชุลบุรีให้ขับมาทางถนนสุขุมวินถึงแยกให้เลี้ยวซ้ายมาใกล้ๆ ร้านจะมีธนาคารกสิกรและธนาการกรุงไทย) ในตัวเมืองชลบุรี

Contact : โทร. 08-1782-7707 เปิดทุกวัน ตั้งแต่ 06.00-15.00 น. ปิดเฉพาะวันที่ศาลเจ้าอาเนี้ยวมีงาน

กลับคืนสู่ธรรมชาติที่ เขาเขียว Es Ta Te Resort & Safari จ.ชลบุรี

ไม่น่าเชื่อเลยว่า ใกล้กรุงเทพฯ แค่นิดเดียว ขับรถไม่ถึง 2 ชั่วโมงจากเมืองกรุงไปชลบุรี จะมีที่ป่าไม้และธรรมชาติเขียวๆ สดชื่น ให้ได้สัมผัสกันแล้ว ไม่ใช่อื่นไกล ก็ที่ เขาเขียว Es Ta Te Resort & Safari ซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกับสวนสัตว์เปิดเขาเขียวนั่นเอง ใครที่เคยใฝ่ฝันอยากไปเที่ยวทุ่งซาฟารีในแอฟริกา ดูสัตว์ตัวเป็นๆ เดินไปเดินมาอยู่รอบๆ ที่พักแบบใกล้ๆ ชนิดหายใจรดต้นคอกันเลย ลองมาที่นี่สิครับ

2

มาพักที่นี่ได้บรรยากาศเหมือนอยู่ป่าจริงๆ เพราะมีฝูงเนื้อทราย ซึ่งเป็นกวางขนาดเล็ก น่ารักๆ ชนิดหนึ่ง เดินไปเดินมา แทะเล็มหญ้าอยู่หน้าเต็นท์ที่พักเราเลย!

3

เนื้อทรายตัวผู้เขางาม คุ้นคนมาก แต่ก็พยายามรักษาระยะห่าง ไว้ลายจ่าฝูงกันนิดนึง

4

 นอกจากจะมีเนื้อทรายแล้ว ยังมีกวางดาวฝูงเล็กๆ อยู่ที่นี่ด้วย พวกมันเป็นมิตรไม่ทำร้ายใคร และเราก็ไม่ควรไปให้อาหารมันนะครับ เพราะมันหากินใบไม้ใบหญ้าได้ตามธรรมชาติอยู่แล้ว

5

ที่พักของ เขาเขียว Es Ta Te เป็นเต็นท์ขนาดใหญ่ นอนได้สองคน ข้างในมีทั้งแอร์และพัดลมให้เลือก แต่เราไปลองนอนมาแล้ว ตอนกลางคืนอากาศเย็นสบายมาก ไม่จำเป็นต้องพึ่งเครื่องปรับอากาศเลย แหม มาถึงป่าถึงเขาแล้ว ทำไมจะพลาดโอกาสสูดโอโซนสดชื่นๆ ล่ะ

6

 ในเต็นท์ไม่มีเตียง แต่มีฟูกหนานุ่ม พร้อมผ้าห่มอุ่นๆ ให้ จะได้หลับสบาย

7

 ห้องน้ำของ เขาเขียว Es Ta Te เป็นแบบ Open Air แยกหญิงชาย ต้องเดินจากเต็นท์มานิดนึง จำลองบรรยากาศการไปพักในทุ่งซาฟารีของแอฟริกามาได้อย่างเจ๋งมาก

08

8

9

10

11

 เขาบอกว่า เนื้อทรายเป็นกวางตาหวานที่สุด! จริงอ่ะป่าว? ต้องลองดูกันเองนะ

12

13

14

Address / Contact : เขาเขียว Es Ta Te รีสอร์ท แอนด์ ซาฟารี เลขที่ 235 หมู่ 7 ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20110 (อยู่ในสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี)
โทร  :  0-2353-6933, 08-2796-3262-4 เว็บไซต์ www.estateresort.com