Life @เมืองเก่าตะกั่วป่า จ.พังงา

ในขณะที่โลกกำลังหมุนไปอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ใครบางคนกำลังถูกความรีบเร่งและสังคมเมืองกลืนกินวิถีชีวิตอันแสนสงบเรียบง่าย ให้หายไปอย่างไม่มีวันกลับ เราได้มาพบกับเมืองน้อยน่ารักนามว่า “เมืองเก่าตะกั่วป่า” แห่งจังหวัดพังงา เมืองเก่าอายุเกิน 100 ปี ที่เติบโตขึ้นในยุคเดียวกับภูเก็ต ด้วยธุรกิจทำเหมืองแร่ดีบุก

2

อาก๋งท่านนี้ เคยเป็นช่างตีเหล็กที่เก่งที่สุดคนหนึ่งของเมืองตะกั่วป่า นั่งเรืออพยพมาจากเมืองจีนแท้ๆ ตั้งแต่วัยหนุ่ม ทว่าหลังจากธุรกิจเมืองแร่ดีบุกยุติลง และร่างกายก็ล่วงเข้าวัยชรา ทุกวันนี้อาก๋งจึงไม่ได้ตีเหล็กอีกแล้ว อาชีพนี้ก็สูญหายไปจากตะกั่วป่าอย่างไม่มีวันกลับ เหลือเพียงคำบอกเล่าจากปากของท่าน

3

เมืองเก่าตะกั่วป่า มีชื่อเดิมว่า “ตะโกลา” เป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญยิ่งของภาคใต้ ทำหน้าที่เป็นเมืองท่ามาตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 500 ค้าขายกับอินเดีย อาหรับ จีน และชาติต่างๆ ที่ล่องเรือนำสินค้ามาขึ้นยังฝั่งทะเลอันดามัน จากตะโกลาปัจจุบันชื่อเพี้ยนเปลี่ยนเสียงมาเป็น “ตะกั่วป่า” เมืองน่ารัก Slow Town ที่เราหลงรัก

4

 อดีตที่ผันผ่าน ยังคงตราตรึงอยู่ในควาทรงจำของผู้คนที่นี่ คนที่เกิด เติบโต และไม่เคยจากเมืองเก่าตะกั่วป่าไปไหนไกล

5

 ทุกซอกมุมคืออดีตที่บรรจุเรื่องราวไว้นับไม่ถ้วน อิฐเก่าบอกเล่าอดีตอย่างเงียบเชียบ รอคนที่เปิดใจมาสัมผัสรับฟัง

6

7

 สำหรับคนที่โหยหาอดีต ประตูหน้าต่างเก่าหน้าบ้านที่เห็น มิได้เป็นเพียงสถาปัตยกรรมอายุร้อยปี ทว่าเป็นประตูสู่วิถีชีวิตผู้คนแดนใต้ฝั่งอันดามัน ที่พร้อมบอกเล่าเรื่องราวไม่รู้จบ

8

 แม้สังขารจะถูกกาลเวลาพาให้ร่วงโรย แต่รอยยิ้มของอาก๋งนักตีเหล็กก็ยังเปื้อนหน้าทุกครั้ง ที่แหงนหน้าขึ้นดูรูปถ่ายขาวดำเก่าๆ ทั้งของตัวเอง เมีย ลูกๆ และหลานๆ วันวานยังหวานอยู่จริงๆ นะ

9

10

11

 ทำอาชีพที่ตนเองรัก มีความสุข อยู่อย่างพอเพียง คือปรัชญาชีวิตของคุณป้าท่านนี้ แม้ไม่ได้เกิดที่เมืองเก่าตะกั่วป่า แต่เมื่อได้มาใช้ชีวิตอยู่จริงๆ ก็หลงรัก และไม่อยากจากไปไหน

12

 ซื่อสัตย์กับอาชีพที่ตัวเองรัก นั่งปักผ้า เย็บผ้าทุกวัน ตามออร์เดอร์ลูกค้า ค่อยๆ ทำตามที่มีแรง ไม่เร่งไม่ร้อน

13

25

 เดินเล่นไปในเมืองเก่าตะกั่วป่า พบเห็นเส้นสายลายศิลป์บนผืนผ้านุ่งผ้าโสร่ง ที่มีแหล่งผลิตจากทั้งในเมืองไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ช่างงดงามน่ามอง เป็นเอกลักษณ์ เหมาะจะซื้อไปฝากคนที่รู้คุณค่าและได้สวมใส่ใช้งานจริง

14

 ตัดผ้ามาตั้งแต่หนุ่มๆ โดยไม่เคยจากเมืองเก่าตะกั่วป่าไปไหน เทิดทูนในหลวงไว้เหนือเกล้า ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

15

 ศิลปะแห่งแสงสี ฉาบทาอยู่ในทุกอณูเนื้อของอาคารเก่า ผนังกำแพงที่ใครหลายคนมองว่าไร้ค่า แต่สำหรับเรานี่คือพิพิธภัณฑ์ศิลปะอันมีชีวิต Living Museum / Art Museum ของแท้แน่นอน

16

 แม้จะเป็นเพียงมุมเล็กๆ ที่เก่าคร่ำคร่า ทว่าก็เปรียบเสมือน Installation Art เป็นศิลปะการจัดวางอย่างไม่ตั้งใจ แต่ก็งามเกินบรรยาย

17

18

 เมืองเก่าตะกั่วป่า มีศาลเจ้าจีนอยู่หลายแห่ง และจัดงานเทศกาลใหญ่ๆ รวมถึงงานถือศีลกินผักพร้อมๆ กับภูเก็ตด้วยเหมือนกัน

19

20

 ภาพขรึมขลังของบรรพบุรุษชาวจีนรุ่นแรกๆ ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ประกอบสัมมาอาชีพในเมืองเก่าตะกั่วป่า สืบทอดลูกหลานมาจนปัจจุบัน

21

22

 บ้านคุณป้าที่เห็นด้านหลัง เคยเป็นโรงตีเหล็ก แต่เมื่อเหมืองแร่ดีบุกหมดไป อาชีพนี้ก็สาบสูญ คุณป้าบอกว่า “เมืองกำลังจะหมดลมหายใจ!” เป็นประโยคสั้นๆ ที่กินใจเราเหลือเกิน!

23

 ร้านโกปี้ หรือร้านกาแฟแบบชาวใต้ เหมาะไปนั่งพักผ่อนสบายๆ ดูคนเมืองเก่าตะกั่วป่าเขาเปิดสภากาแฟ พูดคุยสรวนเสเฮฮากันในสยามเช้า

24

26

 อาคารโบราณอายุเกิน 100 ปีในเมืองเก่าตะกั่วป่า สร้างขึ้นในยุคเดียวกับเมืองเก่าภูเก็ต ด้วยสถาปัตยกรรมแบบ ชิโน-ยุโรเปียน (Chino-European) หรือจะเรียกว่า ตึกแบบจีนปนยุโรป ก็ไม่ผิด เขาบอกว่าถ้าอาคารหลังใดสร้างต่อกัน ด้วยแบบเหมือนกันหลายคูหา แสดงว่าเป็นญาติหรือครอบครัวเดียวกัน แต่ถ้าอาคารใดสร้างคนละแบบ หรือมีการเว้นช่องว่างไว้ ก็แสดงว่าไม่ใช่ญาติกันนั่นเอง

27

28

29

1841

 Special Thanks : ททท. ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดพังงา (โทร. 0-7648-1900-2) และ คุณนครพจน์ ปิ่นมิ่ง ททท. ฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ (โครงการต้นกล้าตากล้อง ท่องเที่ยวไทย) สนับสนุนการเดินทางทำสารคดีเรื่องนี้

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *