สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสิงห์บุรี จัดอบรมท่องเที่ยวโดยชุมชน พัฒนาศักยภาพพร้อมรับอนาคต

เรื่องและภาพ โดย ชาธร โชคภัทระ / สำนักข่าวท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสิงห์บุรี ร่วมกับ สมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย (สธทท.) องค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน ชุมชนไทยพวนบางน้ำเชี่ยว และ สำนักข่าวท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม จัดสัมมนา เสริมศักยภาพคนท้องถิ่น พลิกฟื้นท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดสิงห์บุรี ในหัวข้อ “การพัฒนาศักยภาพท่องเที่ยวโดยชุมชน” โดยวิทยากรประสบการณ์สูง ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน จากสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย
นายสานนท์ เพ็ญแสง ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสิงห์บุรี กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานเปิดการสัมมนา “การพัฒนาศักยภาพ ท่องเที่ยวโดยชุมชน” พร้อมด้วย นายกันตพงษ์ ธนเนืองโรจน์ นายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย (สธทท.) คุณรพีพร คำสกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสิงห์บุรี กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา นายธรรมนูญ วิทยานนท์ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน นายไชยวัฒน์ สุคันธวิภัติ ประธานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนไทยพวนบางน้ำเชี่ยว นายมานิตย์ บุญฉิม ที่ปรึกษาฝ่ายการตลาด สมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย นายวิโรจน์ สิตประเสริฐนันท์ ที่ปรึกษาสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย คุณโสดารินท์ ธนเนืองโรจน์ ประธาน ฝ่ายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย และนายณัฐพงษ์ นิรมล เจ้าหน้าที่ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสิงห์บุรี
นายสานนท์ เพ็ญแสง ผู้อำนวยการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสิงห์บุรี กล่าวว่า “เรามาสอบถาม พูดคุย และเตรียมความพร้อม ในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในแต่ละพื้นที่ของจังหวัดสิงห์บุรี การที่สธทท.นำวิทยากรที่มีประสบการณ์มีองค์ความรู้จริงมาเปิดอบรมให้กับคนในชุมชน ทำให้คนในชุมชนได้รับความรู้อย่างถูกต้อง เกี่ยวกับการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ มีการเตรียมความพร้อมอย่างไร ก่อนที่เราจะสามารถรองรับนักท่องเที่ยวชั้นนำของประเทศได้จริง
และเราต้องการมารับรู้ความต้องการของคนในพื้นที่ว่ามีอะไรบ้าง นอกจากนี้เราต้องการสร้างเครือข่ายให้กับชุมชนต่างๆ จะได้มีเพื่อนร่วมทางทำการท่องเที่ยวโดยชุมชนไปด้วยกัน น่าจะให้ท่องเที่ยวโดยชุมชนจะมีความชัดเจนเข้มแข็งขึ้น อย่างไรก็ตามเราต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนที่ให้ความร่วมมือในการสัมมนาในครั้งนี้” “ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ มีการเตรียมความพร้อมอย่างไร ก่อนที่เราจะสามารถรองรับนักท่องเที่ยวชั้นนำของประเทศได้จริง และเราต้องการมารับรู้ความต้องการของคนในพื้นที่ว่ามีอะไรบ้าง นอกจากนี้เราต้องการสร้างเครือข่ายให้กับชุมชนต่างๆ จะได้มีเพื่อนร่วมทางทำการท่องเที่ยวโดยชุมชนไปด้วยกัน น่าจะให้ท่องเที่ยวโดยชุมชนจะมีความชัดเจนเข้มแข็งขึ้น อย่างไรก็ตามเราต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่ให้ความร่วมมือในการสัมมนาในครั้งนี้” นายกันตพงษ์ ธนเนืองโรจน์ นายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย กล่าวว่า “การสัมมนาการพัฒนาศักยภาพ ท่องเที่ยวโดยชุมชน ในครั้งนี้ เราเต็มใจที่จะมาช่วยชุมชนในจังหวัดสิงห์บุรีอย่างแท้จริง เพราะผมก็เป็นลูกหลานคนเมืองสิงห์คนหนึ่ง การที่จะทำการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้เดินหน้าต่อไปได้ และยั่งยืนด้วยนั้น เราต้องมีใจที่อยากจะทำก่อนเป็นอย่างแรก ถ้าถูกบังคับให้ทำก็จะไม่เกิดประโยชน์
 และต้องคำนึงถึงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ของคนในชุมชนด้วย ทำแล้วเงินในกระเป๋าจากแบงค์ยี่สิบต้องเปลี่ยนเป็นแบงค์พัน คนในชุมชนต้องมีความสามัคคี รับผลประโยชน์ร่วมกัน ผิดก็ต้องร่วมกับผิดชอบ ขยะในชุมชนต้องไม่เพิ่มขึ้น ความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง การท่องเที่ยวโดยชุมชนถึงจะยั่งยืน”
นายธรรมนูญ วิทยานนท์ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน “การสัมมนาในวันนี้เรื่อง การพัฒนาศักยภาพท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่เราตามหามานาน ทั้งที่เราก็มีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวอยู่มากมาย เราจัดงานมาแล้วถึง 13 ครั้ง แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ
 นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ ก็ยังไม่เข้ามาท่องเที่ยวในชุมชนของเรา แต่เราก็ต้องทำต่อไป อย่างน้อยก็ให้ลูกหลานของเราได้รับรู้ สืบสานเรื่องราวของคนลาวแง้วต่อไป ไม่ว่าจะเป็นด้าน วัฒนธรรม ประเพณี อาหาร และทำให้แนวทางการทำการท่องเที่ยวโดยชุมชนได้ชัดเจนขึ้น และรู้ว่าเราจะเดินต่อไปอย่างไร
นายไชยวัฒน์ สุคันธวิภัติ ประธานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนไทยพวนบางน้ำเชี่ยว กล่าวว่า “การสัมมนาครั้งนี้ที่บรรลุเป้าหมายของเราก็คือ เครือค่ายของเราได้รับความรู้ความเข้าใจมากขึ้น ในเรื่องการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน มีความกระจ่างเห็นแนวทางในการขับเคลื่อน และพัฒนาต่อไปให้เกิดความยั่งยืน อันนี้คือสิ่งที่เราได้รับ เพราะที่ผ่านมานั้นเรายังไม่เคยไดัรับการให้ความรู้ หรือได้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่มันตรงประเด็นเท่าไหร่
 ที่ผ่านมาหลายหน่วยงานที่เข้ามาอบรมเสร็จ แล้วก็ปล่อยเราให้เดินตามลำพัง มาครั้งนี้ ทกจ.สิงห์บุรี ร่วมกับ สธทท. เข้ามาช่วยพร้อมเป็นพี่เลี้ยงให้เราได้พัฒนาขึ้น ก็หวังว่าคงจะให้โอกาสพวกเรา การที่จะนำนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวจริง มาประเมินเพื่อให้ได้รู้ว่าศักยภาพของเราพร้อมหรือยัง ที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยวตัวจริง และมีอะไรบ้างที่ต้องปรับปรุงแก้ไขต่อไป”
 การสัมมนา “การเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน” ในครั้งนี้มีชุมชน และหน่วยงานที่เข้าร่วมอบรมดังนี้ ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนไทยพวนบางน้ำเชี่ยว ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนลาวแง้ว ชุมชนบางน้ำเชี่ยว ชุมชนทองเอน ชุมชนวัดกุฎีทอง ชุมชนชลอน ชุมชนหัวป่า และชุมชนบ้านพวน
นายมานิตย์ บุญฉิม ที่ปรึกษาฝ่ายการตลาด สมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย  บรรยายเรื่อง “การเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน”นายมานิตย์ บุญฉิม ให้ความรู้ด้าน การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT Capability Improvement) ผู้นำชุมชนท่องเที่ยวจังหวัดสิงห์บุรี รับฟังบรรยายจากวิทยากรด้วยความสนใจ และมีการซักถามแลกเปลี่ยนตลอดเวลา
นายวิโรจน์ สิตประเสริฐนันท์ ปรึกษาสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย นายวิโรจน์ สิตประเสริฐนันท์  บรรยายเรื่อง “พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2559” คุณโสดารินท์ ธนเนืองโรจน์ ประธาน​ฝ่ายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม​ สมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทยคุณโสดารินท์ ธนเนืองโรจน์  บรรยายเรื่อง “การจัดทำราคา ต้นทุน ประมาณราคา กิจกรรม อาหาร การแสดง และ Package ท่องเที่ยวโดยชุมชน” ทกจ.สิงห์บุรี ลงพื้นที่เสริมศักยภาพคนท้องถิ่น พลิกฟื้นท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดสิงห์บุรี จัดขึ้นในวันที่ 22  สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุม บ้านนาย100 โฮมสเตย์ ตำบลบางน้ำเชี่ยว อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และในวันที่ 23 สิงหาคม 2566 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี

นั่งรถไฟ KIHA 183 เที่ยวสุขใจแหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี

ภาพโดย สุเทพ ช่วยปัญญา สำนักข่าวท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม / The Way News.com
การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเพชรบุรี สมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย (สธทท.) เปิดประสบการณ์ใหม่จัดทริป นั่งรถไฟ KIHA 183 สืบสาน รักษา ต่อยอด @ แหลมผักเบี้ย เพชรบุรีพานักท่องเที่ยวกว่า 400 คน นั่งรถไฟดีเซลรางขบวนพิเศษของ JR Hokkaido ประเทศญี่ปุ่น ไปปล่อยลูกปูม้า ที่หาดทรายเม็ดแรก เยี่ยมชมระบบบำบัดน้ำเสียด้วยธรรมชาติ เดินเทรลศึกษาธรรมชาติป่าโกงกาง ที่โครงการศึกษาวิจัย และพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฟังการบรรยายการทำนาเกลือ ที่ฟาร์มทะเลตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และแวะช้อปซื้อของฝากที่ โรงานลุงเอนกขนมหวานเมืองเพ็ชร์ คุณศุภมาศ ปลื้มสกุล หัวหน้ากองโฆษณาและส่งเสริมการท่องเที่ยว ศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ต้อนรับคณะนักท่องเที่ยว นั่งรถไฟ KIHA 183 สืบสาน รักษา ต่อยอด @ แหลมผักเบี้ย เพชรบุรี พร้อมด้วย นางทนาดา วิจักขณะ รองผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเพชรบุรี (ททท.) นายนัทธพงศ์ วิบูลรังสรรค์ หัวหน้ากลุ่มงานกีฬา และนันทนาการ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเพชรบุรี และ นายกันตพงษ์ ธนเนืองโรจน์ นายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย(สธทท.) ร่วมกับนักท่องเที่ยวปล่อยลูกปูม้า ที่หาดชายเม็ดแรก แหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรีเมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2566คุณศุภมาศ ปลื้มสกุล หัวหน้ากองโฆษณาและส่งเสริมการท่องเที่ยว ศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า “โครงการท่องเที่ยวด้วย รถไฟขบวนรถเพิเศษ KIHA 183 นี้เป็นดำริของท่าน นิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ต้องการให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างองค์กรท่องเที่ยวต่างๆ กับรฟท. ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)  ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด (ทกจ.) สมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย (สธทท.) และท่องเที่ยวโดยชุมชนต่างๆ อยากเห็นการท่องเที่ยวลงสู่ชุมชนด้วย”“เราได้รับ รถไฟ KIHA 183 จากเกาะฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น มา 17 ตู้ 4 ขบวน มีเสียงออกมาว่าเอามาทำไม ซ่อมไม่คุ้ม แล้วก็ไม่รู้ว่าจะวิ่งได้หรือเปล่า ขนาดรางก็ไม่เท่ากัน แต่รฟท. ก็พิสูจน์ให้เห็นว่า รถไฟ KIHA 183 ยังสามารถใช้งานได้ ตอนนี้ซ่อมเสร็จแล้ว 1 ขบวน เราก็นำมาวิ่งเป็นรถขบวนพิเศษนำเที่ยว เฉพาะวันเสาร์ และอาทิตย์ แบบ One day trip ไปเช้าเย็นกลับ บางทริปก็เป็นแบบค้างคืน 1 คืน 2 วัน เฉพาะวันเสาร์ และอาทิตย์เช่นกัน โดยในแต่ละเดือนเราจะมี Concept ที่แตกต่างกันไป ในเดือนกรกฎาคมนี้ เราใช้ สืบสาน รักษา ต่อยอด ซึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่เราจะไปก็จะเป็น โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 หรือชุมชนที่เดินรอยตามศาสตร์พระราชา”“อย่างวันนี้เราใช้ชื่อทริปว่า นั่งรถไฟ KIHA 183 สืบสาน รักษา ต่อยอด @ แหลมผักเบี้ย เพชรบุรี  เริ่มตั้งแต่ช่วงเช้า นักท่องเที่ยวร่วมกันทำกิจกรรมปล่อยลูกปูม้า ที่หาดทรายเม็ดแรก เสร็จเยี่ยมชม ระบบบำบัดน้ำเสียด้วยธรรมชาติ เดินเทรลศึกษาป่าโกงกาง ที่โครงการศึกษาวิจัย และพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต่อด้วยฟังการบรรยายการทำนาเกลือ ที่ฟาร์มทะเลตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และแวะช้อปซื้อของฝากที่ โรงานลุงเอนกขนมหวานเมืองเพ็ชร์” รถไฟ KIHA 183 เริ่มออกเดินทางจากสถานีรถไฟหัวลำโพง เวลา 07.00 น. ถึงสถานีเพชรบุรีประมาณ 10.00 น.
นักท่องเที่ยวทยอยกันมาลงทะเบียนแต่เช้าตรู่ พร้อมการต้อนรับจากเจ้าหน้าที่อย่างอบอุ่นท่านกันตพงษ์ ธนเนืองโรจน์ นายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย (สธทท.) กล่าว่า “นักท่องเที่ยวมาลงทะเบียนวันนี้เต็ม 200 คน ทุกที่นั่ง แสดงให้เห็นถึงกระแสความนิยมการท่องเที่ยวโดยรถไฟ ขบวนพิเศษ KIHA 183 เพื่อไปทำกิจกรรม SCR สืบสาน รักษา ต่อยอด ในโครงการพระราชดำริของจังหวัดเพชรบุรี”รถไฟ KIHA 183 เดินทางถึงสถานีเพชรบุรี เวลาประมาณ 10.00 น. พร้อมอากาศแจ่มใส เหมาะกับการท่องเที่ยวคุณประมวลวิทย์ พฤศชนะ ผู้ช่วยท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเพชรบุรี (เสื้อสีดำ) รอให้การต้อนรับคณะนักท่องเที่ยวที่มากับรถไฟ KIHA 183 ณ สถานีรถไฟเพชรบุรีจากสถานีรถไฟเพชรบุรี ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที ด้วยรถบัสปรับอากาศอย่างดี สู่อำเภอบ้านแหลม บริเวณ “แหลมหลวง” ซึ่งถือเป็นหาดทรายหาดแรกของฝั่งอ่าวไทย จนได้ฉายาว่า “ต้นทางทราย ปลายทางเกลือ โคลนก้อนสุดท้าย ทรายเม็ดแรก” เพราะในส่วนถัดขึ้นไปทางทิศเหนือจะเป็นหาดโคลนทั้งหมด ลูกปูนับแสนๆ ตัว ถูกจัดเตรียมไว้ในถังพลาสติก ให้นักท่องเที่ยวนำไปปล่อย เติมเต็มความสมบูรณ์ให้ท้องทะเล แหลมหลวงในช่วงกลางวันน้ำทะเลจะลดระดับลง เผยให้เห็นหาดทรายสีน้ำตาลอ่อน เหมาะทำกิจกรรม CSR ปล่อยลูกปูลงทะเล อีกทั้งจุดนี้ยังอยู่ห่างจากธนาคารปูเพียง 1 กิโลเมตรเท่านั้นรอยยิ้มแห่งความสุขในการปล่อยลูกปู  สืบสาน รักษา ต่อยอด เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ท้องทะเลคุณประมวลวิทย์ พฤศชนะ ผู้ช่วยท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเพชรบุรี  ปล่อยลูกปูม้าที่บริเวณแหลมหลวง ร่วมกับนักท่องเที่ยวที่มากับขบวนรถไฟ KIHA 183ท่านกันตพงษ์ ธนเนืองโรจน์ นายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย (สธทท.) ร่วมกิจกรรมปล่อยลูกปูที่แหลมหลวง เมื่อปล่อยลูกปูเสร็จแล้ว คณะเดินทางต่อไปที่ “ธนาคารปูม้า” อ.บ้านแหลม แหลมผักเบี้ย ณ ร้านโอ้โหปูอร่อย ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของชุมชน เพื่ออนุรักษ์เพิ่มจำนวนปูม้า หลังจากเคยประสบภาวะเสื่อมโทรมลดจำนวนของสัตว์ทะเล ด้วยสาเหตุขาดการดูแลใส่ใจระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม ธนาคารปูม้าแหลมผักเบี้ย รับซื้อแม่ปูไข่นอกกระดอง นำลูกปูมาอนุบาลจนแข็งแรง แล้วค่อยปล่อยลงทะเล แม่ปูม้าไข่นอกกระดอง ต้นพันธุ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ แม่ปูม้าหนึ่งตัวสามารถมีไข่ได้ถึง 200,000 ถึง 1 ล้านฟอง ได้เวลาอาหารเที่ยง ก็ถึงเวลาล้ิมลองอาหารทะเลสดอร่อยของเพชรบุรี ณ ร้านโอ้โหปูอร่อย อาหารเที่ยงแบบพื้นบ้านแสนอร่อย ประกอบด้วย ผักชะครามลวก กินกับหัวกะทิและน้ำพริกแดง, ปูม้านึ่ง, ยำสาหร่ายพวงองุ่น, ปลากะพงทอดราดน้ำจิ้มรสเด็ด, หอยตลับผัดใบโหระพา, ต้มยำปลากะพง และไข่เจียวร้อนๆ อิ่มเอมเปรมปรีกับอาหารเที่ยงแล้ว เดินทางเลียบทะเลด้วยรถบัสอีกเพียง 10 นาที ก็ถึง “โครงการศึกษาและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ” เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.​ 2534 ในความดูแลของมูลนิธิชัยพัฒนา ตามแนวพระราชดำริของพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 ผู้ทรงมีสายพระเนตรยาวไกล จัดเป็นโครงการศึกษาวิจัยและบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการธรรมชาติ พร้อมให้ความรู้ด้านระบบนิเวศป่าชายเลน จนกลายเป็นแหล่งศึกษาดูงาน และพื้นที่ดูนกสำคัญ ซึ่งนักดูนกทั่วโลกรู้จักเป็นอย่างดี การเยี่ยมชมพื้นที่และกิจกรรมของ โครงการฯ แหลมผักเบี้ย ใช้รถพ่วงนั่งได้คันละ 35 คน แล่นไปตามจุดต่างๆ ใช้เวลารอบละ 25 นาที จุดแรกผ่านไฮไลท์คือ “บ่อบำบัดน้ำเสียด้วยสาหร่ายสีเขียวธรรมชาติ” โดยสูบน้ำเสียจากตัวเมืองเพชรบุรีมาบำบัด พร้อมสามารถเลี้ยงปลาได้เมื่อคุณภาพน้ำดีขึ้น และจับปลาขายได้ทุก 6 เดือน ส่วนน้ำสะอาดที่บำบัดแล้ว สามารถนำไปใช้ประโยชน์หรือปล่อยลงทะเลได้ โดยไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การใช้ต้นหญ้า 7 ชนิด บำบัดน้ำเสีย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จุดสุดท้ายเป็นเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ (Nature Trail) ระยะทางเดินไปกลับ 1800 เมตร เพื่อศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลน จนไปถึงศาลาริมทะเลเปิดโล่ง อากาศสดชื่น นักท่องเที่ยวรถไฟ KIHA 183 เดินชมธรรมชาติ ศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลน ซึ่งเป็นทั้งกำแพงธรรมชาติป้องกันคลื่นลมทะเล และยังอนุบาลสัตว์ทะเลวัยอ่อน เพื่อออกไปเติบโตในห่วงโซ่อาหารทะเลชายฝั่งด้วย ภาพแห่งความสุขอันน่าจดจำ ในการเดินทางสู่แหลมผักเบี้ยกับ รถไฟ KIHA 183 ใครที่ไม่ได้นั่งรถพ่วงไปชมพื้นที่โครงการฯ ก็สามารถเข้าห้องประชุมติดแอร์เย็นฉ่ำ ฟังบรรยายสรุปประวัติที่มาและกิจกรรมของโครงการฯ แหลมผักเบี้ย ถ่ายภาพร่วมกันเป็นที่ระลึกบริเวณด้านหน้าอาคารโครงการฯ แหลมผักเบี้ย ออกจากโครงการฯ แหลมผักเบี้ย ใช้ถนนเส้นเลียบทะเลอำเภอบ้านแหลมไปอีกไม่เกิน 15 นาที ด้านขวามือก็จะพบกับ “โครงการฟาร์มทะเลตัวอย่างแบบผสมผสานตามพระราชดำริ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” ต.บางแก้ว อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.​ 2551 โครงการฟาร์มทะเลตัวอย่างแบบผสมผสานตามพระราชดำริฯ จัดตั้งขึ้นด้วยสาเหตุที่ชาวประมงจับสัตว์ทะเลได้น้อยลง และต้องออกเรือไปไกลขึ้น พื้นที่แห่งนี้จึงศึกษาวิจัยและสาธิตเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จำเป็นทั้งเพื่อการเพาะเลี้ยงและจับสัตว์ทะเลให้มีประสิทธิภาพ และถูกสุขอนามัยมากขึ้นด้วย แต่ละปีจะมีผู้สนใจเข้าศึกษาดูงานนับหมื่นคน พื้นที่กว่า 82 ไร่ ของโครงการฯ เป็นนาเกลือร้างที่ได้รับการบริจาคมา จึงสามารถสื่อถึงเรื่องราว “การทำนาเกลือสมุทร” ด้วยวิธีดั้งเดิม เพราะอำเภอบ้านแหลม จ.เพชรบุรี มีพื้นที่นาเกลืออยู่มากที่สุดของประเทศไทย ไม่น้อยกว่า 33,000 ไร่เกลือทะเลคุณภาพสูงของอำเภอบ้านแหลม สามารถนำมาเพิ่มมูลค่าแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มากมาย โดยเฉพาะเกลือสปา แป้งร่ำเกลือจืด และอื่นๆต้นแม่พันธุ์สาหร่ายพวงองุ่น ชมการเพาะเลี้ยงและคัดแยกสาหร่ายพวงองุ่น นักท่องเที่ยว รถไฟ KIHA 183 ทดลองทำตะแกรงเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น โครงการฟาร์มทะเลตัวอย่างฯ มีบ่อเลี้ยงสัตว์ทะเลสวยงามนานาชนิดไว้ให้ชมอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็น หอยมือเสือ, ปลาดาว, กุ้งมังกร, ปลาการ์ตูน, หอยเป๋าฮื้อ, ปลาสิงโต, ปลาทู, ปลากะรัง, ปลิงทะเล และอีกมากมาย สาหร่ายทะเลสด สามารถเพาะเลี้ยง นำไปแปรรูปเป็นสาหร่ายอบกรอบ และอาหารอุดมคุณค่า

มาถึงฟาร์มทะเลตัวอย่างฯ​แล้ว ต้องไม่พลาดชิมเครื่องดื่มนวัตกรรมใหม่ “น้ำสาหร่ายผมนาง” ที่ดีต่อสุขภาพมาก น้ำรสชาตินุ่มนวล ดื่มง่าย และมีเนื้อสาหร่ายผมนางเนื้อนุ่มคล้ายเส้นเจลลี่ ผิวสัมผัสคล้ายเส้นบุกสุขภาพ แช่เย็นดื่มยิ่งอร่อย
หมุดหมายสุดท้ายของทริปนี้ คือการเดินทางกลับจากแหลมผักเบี้ยเข้าสู่อำเภอเมืองเพชรบุรี เพื่อช้อปปิ้งซื้อของฝากกลับบ้านที่ “ร้านลุงอเนก ขนมหวานเมืองเพ็ชร์” ซึ่งเป็นโรงงานผลิตขนมไทยที่มีมาตรฐานความสะอาดระดับ GHP/HACCP จากสถาบันมาตรฐาน ISO จึงมั่นใจได้เรื่องคุณภาพ ร้านลุงอเนกมีขนมพื้นบ้านไทยหลากหลายให้เลือกชิมเลือกซื้อ ทั้งทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมอาลัว ขนมหม้อแกง ขนมฝอยทองกรอบ ขนมฝอยทองรังนกน้อย กาละแม ฯลฯ ราคาไม่แพง เพราะเป็นแหล่งผลิตเอง ของใหม่สดทุกวัน ขนมหม้อแกงถ้วย เป็น Signature โด่งดังของร้านนี้  ยิ่งแช่เย็นนำมากินยิ่งอร่อย มี 6 รส คือ รสเผือก รสทุเรียน รสกล้วย รสเมล่อน รสฟักทอง และรสถั่ว ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี (คุณวันเพ็ญ มังศรี) มาต้อนรับคณะนักท่องเที่ยว รถไฟ KIHA 183 ด้วยตนเอง

คุณวันเพ็ญ มังศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี กล่าวว่า “จังหวัดเพชรบุรีพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกคน เพราะเรามีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลาย ทั้งธรรมชาติ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วัดวาอาราม สายมูสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และอาหารการกินที่อร่อย มีไม่ซ้ำกันทั้งสามมื้อ ต้องขอขอบคุณการรถไฟแห่งประเทศไทย และนักท่องเที่ยวหลายร้อยคนในครั้งนี้ ที่เดินทางมาพร้อมรถไฟ KIHA 183 ช่วยสร้างสีสัน สร้างความคึกคัก และช่วยกระจายรายได้ให้เพชรบุรีเป็นอย่างมาก

นั่งรถไฟ KIHA 183 สืบสาน รักษา ต่อยอด @ แหลมผักเบี้ย เพชรบุรี” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 1- 2 กรกฎาคม 2566

สนใจเดินทางในทริปถัดไป โทร.สอบถามได้ที่ 1690 (สายด่วนการรถไฟแห่งประเทศไทย) 

สธทท. ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565 ได้นายกันตพงษ์ ธนเนืองโรจน์ ต่อวาระนายกฯ

          สมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย (สธทท.) จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565 เลือกตั้งใหม่ได้ นายกันตพงษ์ ธนเนืองโรจน์ นายก สธทท. ทำงานต่ออีกวาระ พร้อมเชิญ นางสาวฐาปนียย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บรรยายเรื่องนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ นายจาตุรนต์ ภักดีวานิช อธิบดีกรมท่องเที่ยว บรรยายเรื่องภาระกิจของกรมการท่องเที่ยว นายอัครวิชย์ เทพาสิต ผู้อํานวยการภูมิภาคภาคตะวันออก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บรรยายเรื่อง การท่องเที่ยวของภาคตะวันออก นายชาญยุทธ เศวตสุวรรณ ผู้อํานวยการ ททท. สํานักงานกรุงเทพมหานคร บรรยายเรื่อง เส้นทางท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร              นางสาวฐาปนียย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “สมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย (สธทท.) เป็นอีกหนึ่งพันธมิตรของเรา ที่จะขับเคลื่อนการท่องเที่ยวไทยในปี 2566 และต่อเนื่อง ปี 2567 ซึ่งมีความท้าทายมาก ททท. ต้องตอบโจทย์รัฐบาล ที่มีเป้าหมายในปี 2570 ให้การท่องเที่ยวมีสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 30% ของ GDP และในปี 2567 จะต้องรายมีรายได้เท่ากับปี 2562 ก่อนเกิดโควิด คือ 3 ล้านล้านบาท แล้วเราต้องขยับสัดส่วนรายได้ นักท่องเที่ยวไทยกับนักท่องเที่ยวต่างจาก 30% กับ 70% เป็น 35% กับ 65% เพื่อลดอัตราเสี่ยงจากนักท่องเที่ยวต่างชาติลง 5% และเป็นการเพิ่มมูลค่าจากอุสาหกรรมท่องเที่ยวไทยให้เพิ่มมากขึ้น”
“Campaign ปีนี้ เป็นปีท่องเที่ยวไทย 2566 เรายังใช้ Amazing New Chapters” ส่วนตลาดในประเทศเราใช้ “เที่ยวเมืองไทยอเมดซิ่งยิ่งกว่าเดิม” และเรายังมีกิจกรรมส่งเสริมการตลาด สร้างภาพลักษณ์ต่างๆ จะมีการเปิดตัว Unseen New Chapters ได้สถานที่อันซีนใหม่อีก 25 แห่ง ที่จะประกาศให้เป็น Unseen New Chapters 2566 จากการคัดเลือกสถานที่ท่องเที่ยวทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ โดยจะให้ประชาชนคนไทยได้ร่วมโหวตถึง 18 มิถุนายน 2566 เป็นวันสุดท้าย และจะประกาศอย่างเป็นทางการในเดือน มิถุนายน 2566 นี้”
          “เราต้องมีพันธมิตร มีความหลากหลายของโปรดักส์สินค้า และการบริการมีการเตรียมพร้อม เราต้องยึดโยงกลยุทธ์ และความต่อเนื่อง วันนี้จึงมาพูดคุยว่าในปีนี้เราจะทำกิจกรรมอะไรบ้าง จะเน้นกลุ่มไหนบ้าง กลุ่มที่ ททท.ให้ความสำคัญ เช่น กลุ่มวัฒนธรรมย่อย หรือ Sub-Culture Movement คือกลุ่มการเคลื่อนที่มีความสนใจพิเศษ มีวัฒนธรรมย่อยเดียวกัน ถือว่าเป็นกลุ่มที่ทรงพลังมาก ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวสายศรัทธา สายมู สายดาราศาสตร์ สาย LCBTQ สายสุขภาพ Health & Wellness พวกนี้เป็นกลุ่มใหม่ที่ ททท. ให้ความสำคัญ เราจะนำพลังที่คิดในสิ่งเดียวกันนี้ มาเป็นมวลชนในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวในปีต่อไป และเราได้พันธมิตรคือ สธทท. มาครีเอทเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ๆ ไปด้วยกัน”
       นายกันตพงษ์ ธนเนืองโรจน์ นายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย  แสดงวิสัยทัศน์ นโยบายทำการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนภายใต้การบรูณาการ 8 ด้าน

     1. ด้านสิ่งแวดล้อม ทั่วโลกเขาเริ่มทำไปแล้วแต่ของเรายังไปไม่ถึงไหน ผู้ประกอบการท่องเที่ยวทั้ง 13 สาขาอาชีพก็ต้องรวมมือกัน
    2. ด้านวัฒนธรรม เราทำการท่องเที่ยวได้เงินตราจากต่างประเทศเข้ามา แต่เราต้องไม่ลืมรากเหง้าทางวัฒนธรรมของตัวเอง ได้เงินเข้ามา แต่วัฒนธรรมเราหาย มันก็ไม่คุ้ม
3. ด้านสุขอนามัยของแหล่งท่องเที่ยว ตอนนี้ห้องน้ำในสถานที่ท่องเที่ยวยังไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร มุ่งแต่ทำโครงสร้างพื้นฐานถนนหนทาง บางแหล่งท่องเที่ยวยังไม่มีห้องน้ำเสียด้วยซ้ำ หรือบางแห่งมีแต่ไม่มีคนดูแลรับผิดชอบ สกปรกนักท่องเที่ยวเข้าใช้ไม่ได้ ร้านบางแห่งมีห้องน้ำน้อย ไม่เหมาะกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าใช้บริการ ต้องไปใช้ห้องน้ำตามปั๊มแทน เรื่องสุขอนามัยของแหล่งท่องเที่ยว ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
4. ด้านสิทธิประโยชน์ของผู้ประกอบการขาดการควบคุม ร้านอาหารขายราคาเท่าเดิม แต่ได้ของลดลง เราต้องลงไปจัดการพูดคุยกับร้านค้าให้เข้าใจ ไม่อย่างนั้นลูกค้าของบริษัททัวร์จะหายหมด กว่าจะได้ลูกค้ามาแต่ละคนแสนลำบาก
 5. ด้านคุณภาพและบริการ อาหารที่นักท่องเที่ยวรับประทานแล้ว ต้องท้องไม่เสีย
  6. ด้านความปลอดภัย เช่น เสื้อชูชีพที่อยู่บนเรือต่างๆ ใส่แล้วต้องลอย ไม่ใช่ใส่แล้วจม
      7. ด้านการตลาด ต้องให้ความสำคัญ ว่าประชาสัมพันธ์ไปแล้วจะขายใคร เอาลูกค้ามาจากไหน
  8. ด้านประชาสัมพันธ์ ไม่ใช่เร่งทำประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว แล้วนักท่องเที่ยวมามากเกินขีดจำกัดรองรับ ตัวแหล่งไม่พร้อม ความเสียหายก็จะเกิดกับแหล่งท่องเที่ยวอย่างรวดเร็ว จะกลายเป็นแหล่งถูกเที่ยว ไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยว       “ส่วนเรื่องการ ครีเอท เส้นทางท่องเที่ยวใหม่ๆ เราจะทำร่วมกับ ททท. ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย นักท่องเที่ยวสายศรัทธา สายมู สายดาราศาสตร์ สาย LCBTQ สายสุขภาพ Health & Wellness เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศให้มีสัดส่วยเพิ่มขึ้นจาก 30% เป็น 35 % ตามเป้าหมายของ ททท. ที่ตั้งไว้ ”
      นายชาญยุทธ เศวตสุวรรณ ผู้อํานวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สํานักงานกรุงเทพมหานคร บรรยายเรื่อง เส้นทางท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร Walking Bangkok เส้นทางเยาวราช เส้นทางกุฎีจีน คลองโอ่งอ่าง พาหุรัด เส้นทางสนามไชย เสาชิงช้า สามยอด เส้นทางสาทร บางรัก สีลม เส้นทางตลาดน้อย เส้นทางอิสรภาพ วังหลัง เส้นทางนางเลิ้ง หลานหลวง เส้นทางสามเสน เทเวศร์ บางลำพู เส้นทางพระราม 1 สยาม ราชประสงค์
คุณมานิต บุญฉิม ที่ปรึกษาฝ่ายการตลาดท่องเที่ยวในประเทศ สธทท. บรรยายให้ความรู้ด้านการทำตลาดท่องเที่ยวด้วยระบบ Wholesale        นายอัครวิชย์ เทพาสิต ผู้อํานวยการภูมิภาคภาคตะวันออก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บรรยายเรื่อง เทศกาลแสงสีแสงสุดอลังการ @วิจิตรระยอง แสงแห่งขุมทรัพย์ตะวันออก และแหล่งท่องเที่ยวในภาคตะวันออก นายจาตุรนต์ ภักดีวานิช อธิบดีกรมการท่องเที่ยว กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา บรรยายเรื่อง ภารกิจและขอบข่ายการดำเนินการของกรมการท่องเที่ยว “กรมการท่องเที่ยว เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาด้าน Supply Site สินค้า บริการ และกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว มีทั้งหมด 5 ด้าน       1. ด้านพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งเราทำร่วมกับ อพท. ทำเสร็จก็ส่งต่อให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ไปทำเรื่อง Demand Site คือการประชาสัมพันธ์และการตลาด เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวเดินทางท่องเที่ยวทั่วประเทศ
  2. ด้านบริการท่องเที่ยว เราดูแลเรื่องอำนวยความสะดวก และแก้ปัญหาให้นักท่องเที่ยว เช่น เรื่องการทำประกันให้กับสกูตเตอร์ ที่ให้นักท่องเที่ยเช่า และเรื่องที่กำลังจะทำคือผลักดันให้มีป้ายทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์เช่าสำหรับนักท่องเที่ยว  และเก็บภาษีจากเรือยอร์ชที่เข้ามาจอดในประเทศไทย
  3. ด้านธุรกิจนำเที่ยว และมัคคุเทศก์  จดทะเบียนให้บริษัททัวร์ เปิดอบรมมัคคุเทศก์ รับเรื่องร้องเรียน และดำเนินคดีกับบริทัวร์ที่ทำผิดกฎหมาย
    4. ด้านบุคลากรด้านการท่องเที่ยว เปิดอบรมให้ความรู้ด้านการท่องเที่ยวกับบุคลากรด้านการท่องเที่ยว ในแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศ
  5. ด้านกิจการภาพยนต์ และวิดิทัศน์ต่าประเทศ ให้ใบอนุญาต อำนวยความสะดวก และเก็บภาษี กับกองถ่ายภาพยนต์ต่างประเทศ ที่เข้ามาถ่ายทำในเมืองไทย”    ท่านกันตพงษ์ ธนนเนืองโรจน์ ได้รับเลือกตั้งให้เป็น นายก สธทท. ทำงานต่ออีกสมัย ในวาระปี 2566-2567
คุณวรินทร ทองพูน ประธานที่ปรึกษา สมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดี

ท่านกันตพงษ์ ธนนเนืองโรจน์ นายก สธทท. ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน แสดงวิสัยทัศน์และแนวทางการทำงาน หลังจากได้รับเลือกตั้งให้ทำงานต่ออีกสมัย พร้อมสร้างสรรค์เส้นทางท่องเที่ยวใหม่ๆ และกระตุ้นการท่องเที่ยวไทยให้คึกคัก

สธทท. เลือกตั้งนายกสมาคมฯ ได้คุณกันตพงษ์ ธนเนืองโรจน์ ทำงานต่อวาระ

ขอแสดงความยินดีกับ ท่านกันตพงษ์ ธนนเนืองโรจน์ ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย (สธทท.) ต่อ ในวาระปี 2566-2567 จากการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565 เมื่อวันพุธที่ 14 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรม ดิ เอเมอรัลด์ กรุงเทพฯ ท่านกันตพงษ์ ธนนเนืองโรจน์ กล่าวถึงความสำเร็จอย่างงดงาม ของผลงานในวาระที่ผ่านมา (ปี 2564-2565) ซึ่งมีทั้งการท่องเที่ยวด้วยเครื่องบินไปลง ณ สนามบินเบตง สร้างความคึกคักให้การท่องเที่ยวเขตชายแดนใต้, การท่องเที่ยวด้วยรถไฟ, การท่องเที่ยวเชื่อมโยงด้วยพาหนะล้อ เรือ ราง บิน, หรอยแรงแหล่งใต้ และอื่นๆ อีกมากมาย ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ ด้วยโปรแกรมทัวร์ที่มีความพิเศษ นำนักท่องเที่ยวคุณภาพลงไปสัมผัสทุกภาคอย่างต่อเนื่อง ช่วยกระจายรายได้ให้ท้องถิ่นอย่างมหาศาล คุณวรินทร ทองพูน ประธานที่ปรึกษา สมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีคุณวรางคณา สุเมธวัน ประธานชมรมสื่อมวลชนส่งเสริมการท่องเที่ยว มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีกับ ท่านกันตพงษ์ ธนนเนืองโรจน์ นายกสมาคม สธทท. ท่านกันตพงษ์ ธนนเนืองโรจน์ ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนถึงวิสัยทัศน์และแนวทางการบริหารงาน สธทท. ในวาระปี 2566-2567 ว่า “เรายังเน้นการทำท่องเที่ยวเชิงคุณภาพเพื่อความยั่งยืน, ให้ความสำคัญกับสุขอนามัยในแหล่งท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย และยังเดินหน้าผลักดันการท่องเที่ยวเชื่อมโยงแบบล้อ เรือ ราง บิน ต่อไป”

“การทำงานให้ประสบความสำเร็จนั้น ไม่สามารถทำคนเดียวได้ ต้องอาศัยการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งเอกชนและรัฐบาล รวมถึงพันธมิตรของ สธทท. ทั้งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.), กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา, สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด และอื่นๆ เพื่อให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยเติบโตอย่างมีคุณภาพต่อไป” สมาชิก สธทท. ร่วมแสดงความยินดีกับการต่อวาระนายกสมาคมฯ ของ ท่านกันตพงษ์ ธนนเนืองโรจน์

ททท. ผนึกกำลังพันธมิตร เตรียมความพร้อมโครงการ Amazing Thailand Grand Sales 2023 กระตุ้นการช้อป กิน บิน เที่ยว ลดกระหน่ำทั่วประเทศ

บ่ายวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เป็นประธานในการประชุมเตรียมความพร้อมการจัดโครงการ Amazing Thailand Grand Sale 2023     

พร้อมด้วย นายอภิชัย ฉัตรเฉลิมกิจ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว ททท. หน่วยงานภาครัฐ สมาคม และพันธมิตรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกว่า 50 ราย ครอบคลุมห้างสรรพสินค้าชั้นนำจากทั่วประเทศ กลุ่มสายการบิน แพลตฟอร์มท่องเที่ยวออนไลน์ e-commerce และกลุ่ม Privilege Card ร่วมประชุมรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการกระตุ้นเศรษฐกิจท่องเที่ยว ภายใต้โครงการ Amazing Thailand Grand Sale 2023 ณ ห้องประชุมสุพรรณหงส์ อาคาร ททท. สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ ททท. กล่าวว่า โครงการ Amazing Thailand Grand Sale เป็นหนึ่งในโครงการกระตุ้นการท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ ททท. จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ซึ่งปีนี้พิเศษกว่าทุกปี เพื่อเฉลิมฉลองการกลับมาของการท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบ ททท. จึงได้เชิญชวนพันธมิตรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั่วประเทศโดยเฉพาะผู้ประกอบการในเมืองท่องเที่ยวหลัก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร-เชียงใหม่-ภูเก็ต-อุดรธานี-ชลบุรี (พัทยา)-สงขลา (หาดใหญ่) รวมทั้งสิ้นกว่า 1,000 ราย ร่วมมอบสิทธิพิเศษให้แก่นักท่องเที่ยว ตลอดระยะเวลา 2 เดือน ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน – 15 สิงหาคม 2566

เพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์ประเทศไทยให้เป็น 1 ใน 6 จุดหมายปลายทางของการช้อปปิง (Shopping Destination) ที่ทั่วโลกอยากมาเยือน โดยมุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการนำเสนอสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ มีความหลากหลาย และคุ้มค่า ควบคู่กับการส่งเสริม Soft Power และการสร้างมาตรฐานความยั่งยืน เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว และส่งมอบประสบการณ์การท่องเที่ยวเหนือระดับที่มีคุณค่าและความหมาย (Meaningful Travel)

โครงการ Amazing Thailand Grand Sale 2023 กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน – 15 สิงหาคม 2566 ภายใต้แนวคิด “Hunting Season” ให้นักท่องเที่ยวได้สนุกกับกิจกรรมล่าดีลเด็ดกว่า 10,000 รายการ จากผู้ประกอบการในเมืองท่องเที่ยวหลักทั้ง 6 จังหวัด เพื่อสร้างอิสระในการจับจ่ายในยุคหลังโควิด กระตุ้นค่าใช้จ่ายนักท่องเที่ยวและเป็นโอกาสในการเข้าถึงสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวในราคาพิเศษ โดยกิจกรรมส่งเสริมการขายแบ่งออกเป็น 2 ส่วน

ส่วนที่ 1 สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยททท. ร่วมกับ Vat Refund แจกของที่ระลึกจาก 5 ชุมชน เมื่อนักท่องเที่ยวซื้อสินค้าและบริการในร้านค้าที่รับ Vat Refund ณ ศูนย์การค้าที่เข้าร่วมโครงการฯ ทั้ง 6 จังหวัด ครบ 5,000 บาท โดยรับของที่ระลึกได้ที่เคาน์เตอร์ Vat Refund ณ ท่าอากาศยาน ทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ระยอง-พัทยา ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต และท่าอากาศยานหาดใหญ่ ส่วนที่ 2 สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย สามารถร่วมลุ้นรางวัลทุกสัปดาห์ เมื่อซื้อสินค้าและบริการ ณ ร้านค้าที่ร่วมโครงการฯ ครบ 500 บาทต่อ 1 สิทธิ์ มูลค่ารวมกว่า 2.5 ล้านบาท และสามารถรับกระเป๋า Shopping Bag เมื่อซื้อสินค้าและบริการในร้านค้าที่ร่วมโครงการฯ ครบ 3,000 บาท ณ ศูนย์การค้าที่เข้าร่วมโครงการฯ ทั้ง 6 จังหวัด

นอกจากนี้ ยังมี กิจกรรม PROMOTION CAMPAIGN พบส่วนลดสูงสุด 80% จากแบรนด์สินค้าไทย ในห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วประเทศ พันธมิตรสายการบิน ช้อปปิงแพลตฟอร์ม รวมทั้งมอบสิทธิประโยชน์ส่วนลด On Top แก่สมาชิก Privilege Card, VISA, The1, Mcard, Viz Card Union Pay หรือ NFT Community เป็นต้น และกิจกรรมส่งเสริมการขายร่วมกับพันธมิตรอื่นๆ เช่น กิจกรรม TikTok Creators Challenge กิจกรรม See Post Get Code ผู้ที่เห็นรีวิวสินค้าภายใต้โครงการฯ จะได้รับโค้ดส่วนลดทันที กิจกรรม LIVE Flash Sale ไลฟ์นำเสนอสินค้าในราคาส่วนลด 80% ขึ้นไป ในวัน Pay Day ผ่านแพลตฟอร์ม Shopee และ LAZADA และกิจกรรมแข่งช้อป หรือ Shop Challenge ททท. เชื่อมั่นว่า โครงการ Amazing Thailand Grand Sale 2023 จะเป็นโครงการทางการตลาดที่สำคัญในการกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยว เพิ่มค่าใช้จ่าย กระจายรายได้หมุนเวียนให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยไม่น้อยกว่า 75 ล้านบาท

ทั้งนี้ สามารถติดตามข้อมูลและโปรโมชันท่องเที่ยวดีๆ ได้ที่

Facebook : Amazing Thailand Grand Sale Official

หรือ LINE OA : Amazing Thailand Grand Sale

หรือศึกษารายละเอียดโครงการได้ที่ www.amazingthailandgrandsale.com หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

งานกลยุทธ์ส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว กองวางแผนลงทุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ฝ่ายส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ททท. โทร. 0 2250 5500 ต่อ 2940-2945

เปิดตัวยิ่งใหญ่ SME นครปฐม Festival ครั้งที่ 1 วันที่ 1-7 พฤษภาคม 2566

สมาพันธ์ SME ไทยจังหวัดนครปฐม จัดงาน “SME นครปฐมเฟสติวัล ครั้งที่ 1”  ชมขบวนแห่แฟนตาซีสุดอลังการของ 7  อำเภอ วงโย แตรวง มังกรทองนำขบวน ตามด้วยรถบุปผาชาติ กลองยาว สาวไทยทรงดำ สาวงามสามพราน สิงโตทอง สิงโตเงิน อเมริกันจากเท็กซัส ฟรีมินิคอนเสิร์ตของศิลปินชื่อดัง นวัตกรรมหุ่นยนต์แมงมุม จับสลาก เฮฮามหาสนุก เต็มอิ่มกับร้านค้า ร้านอาหารชื่อดังมากมาย ตั้งแต่วันที่ 1-7 พฤษภาคม 2566 ณ องค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม         นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เป็นประธานเปิดงาน SME นครปฐมเฟสติวัล ครั้งที่ 1 พร้อมด้วย นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์ SME ไทย, นายสมศักดิ์ ธีรภาพสุกลวงศ์ ประธานสมาพันธ์ SME ไทย จังหวัดนครปฐม และ นายปยุต มารยาทร์ ประธานสมาพันธ์ SME อำเภอเมืองนครปฐม ชาว SME  ทั้ง 7 อำเภอ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชน ร่วมเปิดงานคับคั่ง
นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม กล่าวว่า “ต้องขอแสดงความชื่นชมยินดีกับ สมาพันธ์ SME ไทยจังหวัดนครปฐม ที่ริเริ่มจัดงาน SME นครปฐมเฟสติวัล ครั้งที่ 1 ขึ้นมา เป็นความร่วมมือจากทุกหน่วยงานระหว่างเอกชนกับภาครัฐ มีการสนับสนุนแหล่งเงินทุน ให้องค์ความรู้ สร้างงาน สร้างอาชีพ การผลิต และนวัตกรรม ทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ เพื่อให้ SME ทั้ง 7 อำเภอ ได้มีพื้นที่นำผลิตภัณฑ์ของดีแต่ละอำเภอ ทั้งของกินของใช้มาจำหน่าย คนได้ชิม ชม ช้อป หน่วยงานราชก็มีหน้าที่สนับสนุนด้านนโยบาย ส่วนการขับเคลื่อนก็เป็นหน้าที่ของเอกชน”
นายสมศักดิ์ ธีรภาพสุกลวงศ์ ประธานสมาพันธ์ SME ไทย จังหวัดนครปฐม กล่าวว่า “การจัดงานครั้งนี้เป็นความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้ที่เข้าชมงานจะได้ ชมขบวนแห่แฟนตาซีสุดอลังการ 7 อำเภอ 7 วัน แบ่งออกเป็น 3 ภาค โดย ภาคอดีต มีมังกรทอง สิงโตทองสิงโตเงินนำขบวน ตามด้วยรถบุปผาชาติ มีภาพหลวงพ่อเต๋คงทอง และกลุ่มชาติพันธุ์ 4 กลุ่ม ไทยพื้นถิ่น ไทยทรงดำ ไทยจีน ลาวครั่ง นางไหฟ้อนแคน ขบวนฟ้อนรวมญาติชาติพันธุ์ดอนตูม และการแสดงวิถีชีวิตเกษตรกรดอนตูม
ภาคปัจจุบัน งามล้ำวัฒนธรรมไทยจีน ประกอบด้วยระบำนางฟ้า สาวงามถือโคมไฟ จำลองวิถีคนจีนจากโพ้นทะเลสู่สยามตามด้วยรถดนตรีจีน

ภาคอนาคต กลุ่ม SME ดอนตูมแต่งกายด้วยเสื้อสีประจำอำเภอคือสีเขียว ปิดท้ายด้วยขบวนนักศึกษามาชุดแฟชั่นทำจากขยะรีไซเคิล
นอกจากนี้ยังมีการชมฟรี มินิคอนเสิร์ตของศิลปินชื่อดัง นวัตกรรมหุ่นยนต์แมงมุม จับสลาก เฮฮามหาสนุก เต็มอิ่มกับร้านค้า ร้านอาหารชื่อดังมากมาย งานเริ่มตั้งแต่วันที่ 1-7 พฤษภาคม 2566 ณ บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม”

การออกบูธของ 7 อำเภอในจังหวัดนครปฐม อำเภอบางเลน ไม่น้อยหน้า มีไข่เป็ดและขนมเปี๊ยะรสเด็ดSME อำเภอพุทธมณฑล นำกระเป๋าและหมวกสานสุดเก๋มาจำหน่าย
SME อำเภอกำแพงแสน นำดอกไม้ดินปั้นประดิษฐ์อันงดงามมาโชว์และจำหน่าย บ้านคลองสวนโฮมสเตย์ อำเอสามพราน ที่พักบูติกสไตล์บ้านเรือนไทยย้อนยุคกว่า 200 ปี สนใจโทร. 08-1255-3121 SME ของดีของเด่นอำเภอนครชัยศรี เครื่องหนังแท้ตัดเย็บเป็นกระเป่าคุณภาพดี ใช้ได้ทนนาน ดีไซน์เก๋ไก๋ บูธ SME อำเภอดอนตูม ชูประเด็นด้านชาติพันธุ์น่าสนใจในพื้นที่นอกจากบูธของ 7 อำเอนครปฐมแล้ว ยังมีร้านค้านับร้อย มาออกร้านจำหน่ายอาหารที่ห้ามพลาดของนครปฐมให้ชิม เช่น เป็ดร้านโกแท้, หมี่คลุกดุ๊กดิ๊ก เต็กกอ, ข้าวมันไก่, ข้าวหมูแดงรสเลิศ ฯลฯ
ชาวอำเภอสามพราน มาร่วมงานกันอย่างคับคั่งอบอุ่นสาวงามนครปฐม นอกจากจะงดงามด้วยหน้าตาและการแต่งกายอันมีเอกลักษณ์แล้ว ยังสื่อถึงชาติพันธุ์อันหลากหลาย ทั้งไทยทรงดำ (ลาวโซ่ง) มอญ ลาว จีน และไทยแท้ ในเวลา 16.30 น. ขบวนแห่ 7 อำเภออันยิ่งใหญ่ ได้เคลื่อนไปรอบสี่ทิศขององค์พระปฐมเจดีย์ ปิดท้ายขบวนแห่แบบโดดเด่นไม่เหมือนใคร ด้วยขบวนคาวบอยและม้าจาก อำเภอนครชัยศรี ในช่วงเย็นมีการแสดงโขนกลางแปลง ฉากการสู้รบระหว่างพระรามและทศกัณฐ์1-7 พฤษภาคม 2566 นี้ อย่าลืมไปเที่ยวนครปฐมกันนะครับ นอกจากจะใกล้กรุงเทพฯ เดินทางสะดวกแล้ว ยังมีความหลากหลายในด้านวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ อาหารอร่อยเด็ด แถมยังเป็นเมืองหลวงของคาเฟ่ที่มีอยู่กว่า 300 แห่ง ให้สัมผัสอีกด้วย

สธทท. ประชุมสัญจร 2565 ผลักดันนครปฐม “เมืองหลวงแห่งคาเฟ่”

เมื่อวันที่ 5-6 ตุลาคม 2565 สมาคมส่งเสริมธุริกิจท่องเที่ยวไทย (สธทท.) หรือ TTPA ได้จัดประชุมสัญจร พร้อมสำรวจแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดนครปฐม เพื่อประชุมสรุปรายงานการทำงานในปีที่ผ่านมา พร้อมขับเคลื่อนนโยบายปีงบประมาณ 2566ให้สมาชิกพบปะผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยว โดยลงพื้นที่สำรวจสินค้าและบริการ นำองค์ความรู้ต่างๆ ไปแนะนำ ส่งเสริม พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ให้ผู้ประกอบการทำการท่องเที่ยวได้อย่างยั่งยืน และกระจายรายได้สู่จังหวัดนครปฐม ด้วยแนวคิดใหม่ “นครปฐมเมืองหลวงแห่งคาเฟ่” เพราะในจังหวัดนครปฐมมีคาเฟ่อยู่กว่า 300-400 แห่งในการประชุมสัญจรครั้งนี้ ณ ฟ้าใส รีสอร์ท จังหวัดนครปฐม มี คุณอิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย (สธทท.) เป็นประธาน พร้อมด้วย คุณกันตพงษ์ ธนเนืองโรจน์ นายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย, คุณปิยพัชร์ วงศ์โดยหวัง ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานราชบุรี, นายประสิทธิ์ ปิ่มบุญ ผู้อำนวยการสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดนครปฐม, คุณวรินทร ทองพูน ประธานที่ปรึกษาสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย, คุณศุภสินี ชื่นคำ ประธานชมรมคาเฟ่และร้านอาหารเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดนครปฐม ร่วมพบปะพูดคุยอย่างอบอุ่นด้วยระยะทางใกล้กรุงเทพฯ ประกอบกับมีถนนหนทางสะดวกต่อการเดินทางระยะสั้นๆ ทำให้นครปฐมเกิดมีคาเฟ่และร้านอาหารอยู่มากกว่า 300-400 แห่ง อย่างที่ DOD Cafe & Bistro อำเภอสามพราน เป็นคาเฟ่เก๋ไก๋ ที่เนรมิตขึ้นด้วยสถาปัตยกรรม Modern ผสานการจัดแต่งสวนอย่างเป็นธรรมชาติ คล้ายการเสิร์ฟวิวป่าฝนเขตร้อน เคล้ากาแฟและอาหารอร่อยๆ มากมายLandmark ซุ้มประตูสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ และบรรยากาศร้านกาแฟในป่าฝนเขตร้อนอันชุ่มฉ่ำเย็นตาเย็นใจของ DOD Cafe & Bistroกาแฟอร่อยๆ หอมกรุ่น คั่วหลายเกรดมีให้ดื่มด่ำกันที่ DOD Cafe & Bistroไก่อบโอ่งสูตรพิเศษเนื้อนุ่มหนังกรอบของ DOD Cafe & Bistroบรรยากาศน่านั่งพักผ่อนในวันสบายๆ บนชั้น 2 ของ DOD Cafe & Bistro
DOD Cafe & Bistro อำเภอสามพราน เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลาประมาณ 08.00-19.00 น. โทร. 08-7327-9983ร้าน Bubble in the Forest อำเภอสามพราน เป็นอีกหนึ่งคาเฟ่ยอดนิยมของจังหวัดนครปฐม เด่นด้วยการจัดแลนด์สเคปแบบซุ้มที่นั่งรอบทะเลสาบจำลองสีเขียวอมฟ้าเทอร์ควอยต์ คล้ายยกทะเลมันดีฟส์มาไว้ที่นี่Bubble in the Forest อำเภอสามพรานเครื่องดื่มหลากหลาย เสิร์ฟพร้อมวิวทะเลสาบสีเทอร์ควอยต์สวยๆ ที่ Bubble in the Forest
อาหารอร่อยหน้าตาดูดีที่ Bubble in the Forest

ร้าน Bubble in the Forest อำเภอสามพราน เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.00-21.00 น. โทร. 06-5727-6888 ร้าน Chill@Donwai อำเภอสามพราน ร้านค่าเฟ่บรรยากาศดีน่ารักน่านั่ง อยู่ติดแม่น้ำท่าจีน (แม่น้ำนครชัยศรี) เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9.00-20.00 น. โทร. 09-9296-2886
เครื่องดื่ม ขนม และอาหารหลากหลายที่ Chill@Donwai โดยเฉพาะปาท่องโก๋ทอดหน้าหมู (ภาพกลาง)
อาหาร Signature ของ ร้าน Chill@Donwai อย่างหนึ่งที่ห้ามพลาด คือ ยำเนื้อมะพร้าวอ่อน โดยนำมะพร้าวที่มีมากในท้องถิ่นมารังสรรค์เป็นเมนูแสนอร่อยร้าน Chill@Donwaiในการประชุมสัญจรครั้งนี้ ยังมีการเข้าร่วมกิจกรรม Table Top Sale ของชมรมคาเฟ่และร้านอาหารเพื่อการท่องเที่ยว จังหวัดนครปฐม ซึ่งเพิ่งจัดตั้งขึ้นเพียง 4 เดือนเท่านั้น ทว่ามีศักยภาพสูง ปัจจุบันมีสมาชิกเริ่มต้นประมาณ 30 ราย กิจกรรมนี้จัดขึ้นที่ฟ้าใส รีสอร์ท เพื่อให้ผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจนำเที่ยว และหน่วยงานด้านท่องเที่ยวต่างๆ พบปะแลกเปลี่ยนพูดคุย ผสานประโยชน์ความร่วมมือกัน มีกิจกรรม B2B ต่อยอดทั้งด้าน Demand Side และ Supply Side ภายใต้แนวคิด “นครปฐมเมืองหลวงแห่งคาเฟ่”
การประชุมสัญจร ณ ฟ้าใส รีสอร์ท ของสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย (สธทท.) ระหว่างวันที่ 5-6 ตุลาคม 2556 ในการประชุมครั้งนี้ คุณกันตพงษ์ ธนเนืองโรจน์ นายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจกท่องเที่ยวไทย กล่าวว่า “การมาประชุมสัญจร พร้อมสำรวจพื้นที่ท่องเที่ยว ณ ฟ้าใส รีสอร์ท จังหวัดนครปฐม เราได้มาสรุปผลงานที่ผ่านมาว่าเราทำอะไรไปบ้างแล้ว และจะทำอะไรต่อไปในปีหน้า ที่ดำเนินการไปแล้ว เช่น โครงการนำร่อง “หรอยแรง แหล่งใต้ บินตรงเบตง” กับสายการบินนกแอร์ นำนักท่องเที่ยวเข้าพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ กว่า 2,000 คน และจะทำโครงการดังกล่าวต่อไปร่วมกับสายการบินบางกอกแอร์เวย์ ส่วนกิจกรรมในภูมิภาคทั่วประเทศ ก็ได้มอบหมายให้รองประธานภูมิภาคทุกภาคนำไปขับเคลื่อน เช่น “โครงการเที่ยวไทย 5 ภาค กับ สธทท.” ภาคตะวันออกมีโครงการ “More Fun Feel Fin” นอกจากนี้ท่านเลขาธิการ สธทท. ยังได้ทำโครงการ “รถทัวร์เที่ยวไทย” พานักท่องเที่ยวเดินทางด้วยรถทัวร์ที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน และในปีงบประมาณ 2566 เราได้ของบประมาณไปทางรัฐบาล 98 ล้านบาท กับการนำนักท่องเที่ยวเดินทางทั่วประเทศ 100,000 คน”คุณอิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย  กล่าวเปิดการประชุมสัญจร ณ ฟ้าใส รีสอร์ท จังหวัดนครปฐม
คุณปิยพัชร์ วงศ์โดยหวัง ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานราชบุรี (ดูแลจังหวัดนครปฐม) กล่าว่า “ในปีงบประมาณ 2566 นี้ เรามีโครงการ 6 โครงการ เน้นสร้าง 4 พลังบวก คือ พลังบวกด้านสายศรัทธา เที่ยวัดกราบพระเจิอาจารย์ชื่อดัง, พลังบวกด้านสุขภาพกายและอาหาร เนื่องด้วยจังหวัดนครปฐมมีคาเฟ่อยู่กว่า 300-400 ร้าน, พลังบวกด้านชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ และสุดท้ายคือ พลังบวกด้านธรรมชาติ เช่น ที่อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี นอกจากนี้จะเน้นส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยคอนเซปต์ “ล้อรางเรือ” ในจังหวัดนครปฐม ซึ่งมีนักท่องเที่ยวเดินทางแบบไปกลับจำนวนมาก ส่วนใหญ่ขับรถยนต์มาเอง (ล้อ) เป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มตลาดบนที่มีคุณภาพ และผลักดันแนวคิด “นครปฐมเมืองหลวงแห่งคาเฟ่” ก็จะยิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ดียิ่งขึ้น ส่วนการเดินทางด้วยรถไฟ (ราง) ก็มีวิ่งมาทุกวัน วันละ 5-6 รอบ จะลงที่สถานีสุดปลายทางนครปฐม หรือลงที่สถานีงิ้วราย เพื่อลงเรือเที่ยวแม่น้ำนครชัยศรี (แม่น้ำท่าจีน) ต่อก็ได้ มีเส้นทางล่องเรือเที่ยวต่อไปตลาดดอนหวายในระยะทางไม่ไกล”คุณประสิทธิ์ ปิ่มบุญ ผู้อำนวยการสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดนครปฐม กล่าวว่า “ในปีหน้าสำนักงานฯ มีงบประมาณ 10 กว่าล้านบาท ที่จะพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนครปฐม โดยสิ่งที่เราทำอย่างหนึ่ง คือการพัฒนาบุคลากรด้านท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังจะสร้างมาตรฐานการท่องเที่ยว ยกระดับสินค้าและบริการ เราได้ดำเนินงานร่วมกับ ททท. ในหลายเรื่องของ SHA และ SHA Plus ด้วย เราจะเติมเต็มในด้าน Sport Tourism เพราะนครปฐมมีสนามกอล์ฟที่ได้มาตรฐานหลายแห่ง  และอีกเรื่องที่จะเน้นส่งเสริม คือการท่องเที่ยวชุมชน เพราะมีตลาดเก่าตลาดโบราณอยู่มากมาย”
ในการประชุมสัญจรครั้งนี้ที่ปรึกษาด้านต่างๆ ของสมาคม สธทท. ได้ผลัดกันขึ้นมาปาฐกฐาพิเศษ ให้ความรู้ด้านการท่องเที่ยวกันอย่างเต็มที่ อาทิ คุณมานิตย์ บุญฉิม ที่ปรึกษาด้านการตลาด นำเสนอ ทิศทางการท่องเที่ยวในประเทศหลังวิกฤตโควิต 2019, ดร.สุเทพ อารมณ์รักษ์ ประธานฝ่ายส่งเสริมการท่องเที่ยวภาคกลาง นำเสนอเรื่อง โครงการเที่ยวไทย 5 ภาคกับ สธทท., คุณพูลผล แพทอง ที่ปรึกษาด้านสื่อสารองค์กร นำเสนอ โครงการ More Fun Feel Fin ภาคตะวันออก 2565 และ คุณสิรินดา เอกเสถียร นำเสนอโครงการรถทัวร์เที่ยวไทย เป็นต้น นอกจากคาเฟ่ที่มีอยู่กว่า 300-400 แห่งแล้ว จังหวัดนครปฐมยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจให้สัมผัสอีกหลายแห่ง อาทิ The Salaya Leisure Park ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล รวบรวมที่พัก สปาเพื่อสุขภาพ พร้อมแหล่งเรียนรู้ แบ่งเป็น 4 โซน คือ วาริมันตราโซน (Vari Mantra), โซน Fresh Club สำหรับจัดงานอีเว้นท์ (Events by Fresh Club), โซนความบันเทิงยามค่ำคืน (Night Life) และโซนการเรียนรู้ (Education) เน้นความเป็นไทย ผสานความโมเดิร์นได้อย่างลงตัว
โซนการเรียนรู้ศิลปการทำหัวโขนของไทยที่ The Salaya Leisure Parkโซนความบันเทิงการแสดงแสงสีเสียง และนาฏลีลาร่วมสมัย The Salaya Leisure Park เรื่องรามเกียรติ์ ตอนหนุมานจับนางสุพรรณมัจฉานางสุพรรณมัจฉา The Salaya Leisure Park นครปฐมเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูง เพราะสามารถเดินทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงได้ในแบบ “ล้อรางเรือ” จากกรุงเทพฯ สามารถขับรถยนต์มาเอง หรือนั่งรถไฟมาลงที่สถานีรถไฟงิ้วราย เดินทางสู่ “วัดงิ้วราย” อำเภอนครชัยศรี เพื่อลงเรือล่องท่องเที่ยวแม่น้ำนครชัยศรี (แม่น้ำท่าจีน) ได้อย่างง่ายดาย สัมผัสวิวธรรมชาติสวยๆ สูดอากาศบริสุทธิ์ และเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนริมน้ำในแบบ Slow Life
จากท่าเรือวัดงิ้วราย ฝั่งตรงข้ามเป็นซุ้มประตูขนาดมหึมาของ โรงเจเปาเก็งเต็ก
รับฟังเรื่องราวย้อนอดีตของเรือโดยสารขึ้นล่องไปบางกอก จากท่าเรือวัดงิ้วราย ต้องใช้เวลาเดินทางถึงหนึ่งคืนเต็มๆสัมผัสบรรยากาศเย็นสบายวิวสวยๆ ของแม่น้ำนครชัยศรีเรือนไทยริมน้ำนครชัยศรีชุมชนเรือนไทยริมน้ำนครชัยศรีพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งของ เจษฎา เทคนิค มิวเซียม  ริมแม่น้ำนครชัยศรีเจษฎา เทคนิค มิวเซียม (JESADA Technic Museum) โฉมใหม่ริมแม่น้ำนครชัยศรี จัดแสดงรถและเครื่องบินโบราณย้อนยุค“สะพานเสาวภา” สะพานรถไฟสายใต้ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ข้ามแม่น้ำนครชัยศรี  ช่วงใกล้วัดสัมปทวน ปัจจุบันยังใช้งานได้ดีมองน้ำคาเฟ่  หนึ่งในคาเฟ่ริมน้ำน่านั่งบรรยากาศสุดชิลริมแม่น้ำนครชัยศรี ใครจะมากินอาหารร้านนี้ต้องจอดรถไว้ที่วัดสัมปทวน แล้วลงเรือรับส่งของทางร้านมาเท่านั้น
สถาปัตยกรรมย้อนยุคสวยงามน่ามอง  ของอาคารไม้ริมแม่น้ำนครชัยศรีเรือนไทยทรงคุณค่าบริเวณปากคลองมหาสวัสดิ์ บรรจบกับแม่น้ำนครชัยศรี  ลำคลองสายนี้เองที่สามารถล่องเรือต่อไปถึงสถานีรถไฟธนบุรีและบางกอกได้ศาลเจ้าจีนริมแม่น้ำนครชัยศรีใกล้ปากคลองมหาสวัสดิ์  เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งคนแถวนี้ให้ความเคารพสักการะมาหลายชั่วอายุคนสนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย (สธทท.) หรือ Thai Tourism Promotion Association (TTPA) โทร. 08-6397-8788

ททท ชวนเที่ยวตัวปลิว…ชิลอีสาน 2020

เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2563 ณ ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี นายสมชาย ชมภูน้อย ผู้อำนวยการภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เป็นประธานในพิธีเปิดตัวกิจกรรม  “เที่ยวตัวปลิว…ชิลอีสาน” ของ ททท. ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานพันธมิตรและภาคีเครือข่าย จัดขึ้นเพื่อกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวในภาคอีสาน ภายใต้แนวคิด “เที่ยวอีสาน ทำเรื่องยากให้ง่าย สะดวก สบาย และประทับใจกับนักท่องเที่ยว” โดยนักท่องเที่ยวสามารถสแกน QR Code
เพื่อรับข้อมูลเส้นทางท่องเที่ยวผ่านโทรศัพท์มือถือ ทั้งข้อมูลที่พัก ร้านอาหาร บริษัทรถเช่า
และบริษัทไปรษณีย์ส่งของ จากป้ายเจแฟก (J-Flag) ในสนามบินนานาชาติทั้ง 8 แห่งในภาคอีสาน
ส่งเสริมการท่องเที่ยวครอบคลุมพื้นที่ 20 จังหวัดภาคอีสาน ผ่านป้ายเด้ง (Wobbler) ซึ่งติดตั้งตามจุดให้บริการของพันธมิตรต่างๆ เป็น One Stop Service สร้างความสะดวกสบาย ให้แก่นักท่องเที่ยวได้

นายสมชาย ชมภูน้อย กล่าวว่า แคมเปญ “เที่ยวตัวปลิว…ชิลอีสาน” จัดขึ้นเป็นครั้งแรก นับเป็นก้าวใหม่ในโอกาสครบรอบ 60 ปี ททท. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการการทำงานของ ททท.
ภาคอีสานทุกสำนักงาน กับพันธมิตรภาคีเครือข่ายธุรกิจท่องเที่ยว อำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวภาคอีสาน ทำให้การท่องเที่ยวเป็นเรื่องง่ายๆ ผ่าน Online
และโทรศัพท์มือถือ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถจัดการเดินทางด้วยตนเองได้ เพียงแค่สแกน QR Code จากป้ายเจแฟกในบริเวณสนามบินและป้ายเด้งในจุดให้บริการของพันธมิตร เช่น แนะนำตัวอย่างเส้นทางท่องเที่ยว แหล่งช้อปปิ้ง บริษัทรถเช่า และไปรษณีย์ Kerry Express นอกจากนี้ ททท. ยังมีแผนจะขยายจุดติดตั้ง QR Code เพิ่มขึ้นด้วยTheme กิจกรรมท่องเที่ยวภาคอีสานในแต่ละเดือน ตลอดปี 2563
เดือนมกราคม               #เที่ยวอีสานโฉมใหม่ : Modern Isan
เดือนกุมภาพันธ์            #เที่ยวอีสานสวยทุกที่เท่ทุกสไตล์
เดือนมีนาคม               #เที่ยวอีสาน COOL อีหลี
เดือนเมษายน              #เที่ยวอีสานแบบ COOL คูล
เดือนพฤษภาคม            #อีสานเขียวเที่ยวหน้าฝน
เดือนมิถุนายน              #อีสานเขียวเที่ยวทะเลหมอกหน้าฝน
เดือนกรกฎาคม            #อีสานเขียวเที่ยวค้นหาความสุข
เดือนสิงหาคม              #อีสานเขียวเที่ยวเส้นทางสายไหม
เดือนกันยายน              #อีสานเขียวประชุมเที่ยวเรื่องเดียวกัน
เดือนตุลาคม                #เที่ยวอีสานปลายฝนต้นหนาว
เดือนพฤศจิกายน          #เที่ยวอีสานทะเลหมอกหน้าหนาว
เดือนธันวาคม              #เที่ยวอีสานทะเลดอกไม้หน้าหนาว

ททท. ภาคอีสาน จับมือกับพันธมิตรภาคีเครือข่ายธุรกิจท่องเที่ยว จัดทัวร์เส้นทางนำร่อง
และกิจกรรมกระตุ้นตลาดท่องเที่ยวหลายโครงการ พร้อมร่วม DMC – Destination Management Company และ ททท. สำนักงานจังหวัดต่างๆ ในภาคอีสาน นำเสนอโปรแกรมทัวร์ และให้คำปรึกษา
อำนวยความสะดวกจัดทัวร์อีสาน เพิ่มคุณค่าและมูลค่าเที่ยวอีสานจังหวัดติดชายแดนเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จังหวัดเลยเชื่อมโยงหลวงพระบาง (ลาว) เที่ยวอุดรธานี+หนองคายเชื่อมโยงเวียงจันทน์ (ลาว) เที่ยวนครพนมเชื่อมโยงเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน (ลาว) เที่ยวสกลนคร+มุกดารหารเชื่อมโยงสะหวันนะเขต (ลาว)+เวียดนาม เที่ยวอุบลราชธานีเชื่อมโยงจำปาศักดิ์ ลาวใต้+กัมพูชา เที่ยวสุรินทร์+ศรีสะเกษ+บุรีรัมย์เชื่อมโยงเสียมเรียบ (กัมพูชา) เป็นต้น

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงาน ททท. ภาคอีสาน ทุกจังหวัด

และ กองตลาดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ททท. โทร. 0-2250-5500 ต่อ 1365-73 

E-mail : nemdiv13@gmail.com

ตามรอยศาสตร์พระราชา มุ่งหน้าสู่อีสานใต้ จ.บุรีรัมย์

ทิพยประกันภัย ร่วมกับศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และมูลนิธิธรรมดี นำคณะครูจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศ เรียนรู้การเกษตรแบบยั่งยืนควบคู่การอนุรักษ์ธรรมชาติ ในกิจกรรม “ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา ท่องป่าไร่นาสวนผสมมหาชีวาลัยอีสาน สู่อุทยานการเรียนรู้” ณ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 9 เส้นทาง 81 แหล่งเรียนรู้มีชีวิตตามรอยพ่อ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการร่วมกันสานต่อพระราชปณิธาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา “ศาสตร์พระราชา” พร้อมร่วมกันสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้และปลูกฝังคุณธรรม 4 ประการ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา ให้กับเยาวชนต่อไป

กิจกรรมครั้งนี้พาคณะครูเดินทางสู่ “มหาชีวาลัยอีสาน” อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นสถาบันภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน ฟังการบรรยายจากปราชญ์ชาวบ้าน “แม่ฉวี ปรัชญพฤทธิ์” ผู้สานต่ออุดมการณ์ของครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ปราชญ์ชาวบ้านนักทดลองด้านการเกษตรแห่งอีสานใต้ ผู้นำศาสตร์พระราชามาปรับใช้ในการปลูกป่าแบบไร่นาสวนผสมบนพื้นที่ 400 ไร่ และส่งต่อความรู้สู่ชุมชนด้วยวิถีพอเพียงมายาวนานกว่า 40 ปี มหาชีวาลัยอีสานของครูบาสุทธินันท์นอกจากจะมีแปลงเกษตรประณีตแล้ว ยังมีแปลงสมุนไพร สวนป่ายูคาลิปตัส โรงเผาถ่าน บ่อเลี้ยงปลา โรงเรือนเลี้ยงวัว เลี้ยงนกกระจอกเทศ เลี้ยงไก่ ไปจนถึงเลี้ยงปลวก เพื่อต่อยอดไปสู่การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร

ก่อนออกไปชมพื้นที่จริง ก็ต้องมาฟังบรรยายสรุปประวัติและความเป็นมาของมหาชีวาลัยอีสานกันก่อน คณะครูจากทั่วประเทศที่ได้รับการคัดเลือกมากันอุ่นหนาฝาคั่ง อบอุ่นมากๆ
จากผืนดินที่เคยแห้งแล้งไร้พืชพรรณ ด้วยการสั่งสมภูปัญญาของครูบาสุทธินันท์ ในที่สุดสภาพป่าอันอุดสมบูรณ์ก็บังเกิดคณะครูยังได้รับประสบการณ์ใหม่จากการร่วมฐานกิจกรรม อย่างการเดินเล่นท่องป่าไร่นาสวนผสม เรียนรู้การแบ่งพื้นที่สำหรับปลูกป่า ปลูกพืชที่หลากหลาย ทั้งไม้ผล ไม้ติดแผ่นดิน ไม้เศรษฐกิจ เลี้ยงสัตว์ ทำนา รวมทั้งพื้นที่สำหรับบ่อปลา แหล่งน้ำ และพื้นที่สำหรับพักอาศัยอย่างเหมาะสม และทำน้ำมะสัง ซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นที่มีสรรพคุณหลายอย่าง เช่น บำรุงร่างกาย แก้ท้องเดิน ท้องอืดท้องเฟ้อ สมานแผล แก้ไข้ อีกทั้งนำมาใช้ได้หลายส่วนทั้งใบ ราก ผลอ่อน แก่น

นายแพทย์จักรธรรม ธรรมศักดิ์ ประธานกรรมการ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) กล่าวว่า “การเดินทางตามรอยพ่อ ศึกษาคุณธรรมศาสตร์พระราชา ณ แห่งเรียนรู้มีชีวิต จังหวัดบุรีรัมย์ ในครั้งนี้ เป็นการตามรอยพระราชา เรียนรู้พิพิธภัณฑ์มีชีวิต ณ มหาชีวาลัยอีสาน ศูนย์การเรียนรู้พ่อคำเดื่อง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นสองเส้นทางศึกษาการเรียนรู้ ในเส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างจากหนังสือโครงการตามรอยพระราชาที่คัดสรรเป็นจำนวน 9 เส้นทาง 81 แหล่งการเรียนรู้ เพื่อให้คณะครูอาจารย์ ลงพื้นที่เรียนรู้ศึกษาศาสตร์พระราชา พร้อมทำกิจกรรมเสริมทักษะเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาให้ทุกท่านได้สัมผัส เรียนรู้ เข้าใจ และเข้าถึงคุณธรรม 4.0 คือ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา นอกจากนั้นยังมีส่วนในการปลูกจิตสำนึกคนไทยให้มีความศรัทธา ความจงรักภักดี สำนึกรู้ในพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่พระองค์ท่านพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทยทุกคน จนก่อเกิดเป็น “ศาสตร์พระราชา” ที่ชาวบ้านนำมาปฏิบัติตามจนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และมีความสุขมากขึ้น”ที่มหาชีวาลัยอีสานมีเตาเผาถ่านขนาดใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน โดยนำเศษไม้หักพังล้มตายในป่ามาเผาถ่านด้วยอุณหภูมิสูงถึง 500 องศาเซลเซียส อยู่นานถึง 15 วัน จึงได้ถ่านไม้คุณภาพดี นำไปแจกจ่ายให้ผู้ที่ต้องการอย่างไม่คิดมูลค่าความอุดมของผืนดินและความชุ่มชื้นของผืนป่าที่มีพืชพรรณหลากหลาย เป็นทั้งแหล่งเรียนรู้ อาหาร และยารักษาโรคได้ฐานการเรียนรู้การผลิตไฟฟ้าด้วยแผงโซล่าเซลล์ในมหาชีวาลัยอีสาน เพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองได้อย่างแท้จริงมาเยี่ยมมหาชีวาลัยอีสานแล้ว ต้องชิมน้ำกระเจี๊ยบและน้ำมะสังจากธรรมชาติ เย็นชื่นใจแถมบำรุงสุขภาพด้วยคุณเอ๋ พรทิพย์ อัษฎาธร แห่งอุทยานดอกไม้ เพลา เพลิน พร้อมด้วยหมู่มิตรในจังหวัดบุรีรัมย์ มาร่วมกันพร้อมหน้า

จากนั้นผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ไปเยี่ยมชมและทำกิจกรรมที่ “ศูนย์การเรียนรู้บ้านพ่อคำเดื่อง” อำเภอแคนดง อาณาจักรสีเขียวพื้นที่ 200 ไร่ ที่พ่อคำเดื่อง ภาษี ปราชญ์ชาวบ้าน ได้นำศาสตร์พระราชามาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตและทำเกษตรกรรมอย่างได้ผล โดยยึดแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจนสามารถปลดหนี้ได้ และประสบความสำเร็จในวิถีเกษตรกรรมแบบธรรมชาติ ไม่ใช้ยาปราบศัตรูพืชหรือสารเคมีใดๆ อีกทั้งได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้กับเกษตรกรที่สนใจอย่างต่อเนื่องในแบบ “ชาวบ้านสอนชาวบ้าน”

พ่อคำเดื่องนำคณะเดินชมไร่นาสวนผสม ที่มีดอกผลให้เก็บกินตลอดปีอย่างพอเพียง ตามศาสตร์พระราชาอันชาญฉลาดลองเปรียบเทียบกันดู ระหว่างการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพียงชนิดเดียวอย่างยางพารา กับการปลูกป่าแบบผสมผสานที่มีพืชพรรณหลายชนิดหมุนเวียนกันออกดอกออกผลให้เก็บกินตลอดปี เหมือนซุปเปอร์มาเก็ตข้างบ้าน แบบไหนจะดีกว่า?

นี่ไม่ใช่การปลูกป่า 3 อย่าง ให้ประโยชน์ 4 อย่าง แต่พ่อคำเดื่องบอกว่าเป็นการให้ประโยชน์ทุกอย่างกับชีวิตเลยก็ว่าได้ จากนั้นคณะเดินทางสู่ อุทยานดอกไม้ เพ ลา เพลิน อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ ร่วมในพิธีเปิดงาน ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชาท่องป่าไร่นาสวนผสมมหาชีวาลัยอีสาน  สู่อุทยานการเรียนรู้ผู้มีเกียรติจากหน่วยงานภาคีเข้าร่วมในพิธีเปิดอย่างพร้อมเพรียง ร่วมกันยืนตรงร้องเพลงสรรญเสริญพระบารมี แด่พ่อหลวงรัชกาลที่ 9 ผู้ทรงพระราชทานศาสตร์พระราชาไว้ให้ปวงชนชาวไทย ด้วยทรงห่วงใยในสุขทุกข์ของทวยราษฎร์อย่างแท้จริงเสมอมา ตลอด 70 แห่งการทรงครองราชย์

นางวิชชุดา ไตรธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ทิพยประกันภัยมีความมุ่งมั่นในการสืบสานศาสตร์พระราชาผ่านการจัดกิจกรรม ‘ตามรอยพระราชา’ อย่างต่อเนื่องในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 6 ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนตลอด 70 ปีที่ทรงครองราชย์ และสอดคล้องกับปณิธานของบริษัทฯ ในการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม ควบคู่ไปกับการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการส่งเสริมความเจริญอย่างยั่งยืนของสังคมไทยในทุกมิติ ที่สำคัญ ในเดือนตุลาคม ยังเป็นเดือนที่เราจะได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ของพระมหากษัตริย์ไทยอีก 2 พระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวเดียวกันด้วย”

บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้มอบของที่ระลึกและอุปกรณ์กีฬาให้กับโรงเรียนต่างๆ ในจังหวัดบุรีรัมย์ด้วย คณะได้ร่วมกันพับดอกบัวเพื่อนำไปถวายความจงรักภักดีและถวายความรำลึกถึงพระมหากษัตริย์ 3 รัชกาล ที่ทรงห่วงใยอาณาประชาราษฎร์ และปกครองแผ่นดินโดยธรรม ทำให้สยามเป็นแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองมาจนทุกวันนี้ สำหรับภาคค่ำ เรายังไม่ปล่อยคณะครูให้ไปพักผ่อนกันง่ายๆ แต่ยังมีกิจกรรมสนุกๆ เพื่อถอดบทเรียนจากการไปศึกษาดูงานใน 2 แหล่งเรียนรู้ของภาคกลางวัน เกมส์เหล่านี้มิได้ให้เพียงความสนุกเท่านั้น ทว่ายังประเทืองปัญญา และนำไปสู่การสะท้อนสังคมที่มีคุณธรรมได้ในอนาคตดร.พีระ รัตนวิจิตร รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวเปิดกิจกรรมถอดบทเรียนสำหรับคณะครู โดยท่านได้กล่าวสรุปให้เห็นถึงภาพรวมในความสำคัญของศาสตร์พระราชา, ระบบการศึกษาไทยที่ต้องปรับปรุง และความสำคัญของคุณธรรม จริยธรรม วินัย และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในสังคมไทย

กิจกรรมถอดบทเรียน นำโดย นายอดุลย์ ดาราธรรม วิทยากรจิตอาสาจากสมาคมนักเรียนเก่าเอเอฟเอส (TRAFS) ผ่านเกมกระดานสื่อการเรียนรู้ 3 แบบ ได้แก่ “Game of Our Nation” ที่สอดแทรกคุณธรรม 4 ประการ คือ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา “The Medici Effect 9” ถอดบทเรียนและต่อยอดสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมจากกิจกรรมตามรอยพระราชา และ “The King’s Journey Learn English an Example of an Invention” เรียนรู้ภาษาอังกฤษจากหนังสือชุด King Bhumibol Adulyadej of Thailand

ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ประธานมูลนิธิธรรมดี กล่าวว่า “ผู้ร่วมกิจกรรมตามรอยพระราชาทุกคนจะได้รับชุดหนังสือภาษาอังกฤษ “King Bhumibol Adulyadej of Thailand” จำนวน 3 เล่ม ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระราชประวัติ พระราชจริยวัตร และพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นำไปถ่ายทอดแก่นักเรียนผ่านหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ให้เยาวชนรุ่นหลังได้รู้จักพระองค์ท่านและสามารถสื่อสารให้ชาวต่างชาติฟังได้ว่า ทำไมคนไทยถึงรักในหลวงรัชกาลที่ 9 ทั้งยังให้ข้อคิดในการใช้ชีวิตเพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เต็มเปี่ยมด้วยคุณธรรม”

องค์กรภาคีในการจัดโครงการเดินทางตามรอยพระราชา มีความปีติเป็นอย่างยิ่งที่คณะครูอาจารย์ทั่วประเทศไทย ให้การตอบรับเข้าร่วมตามรอยพ่ออย่างต่อเนื่องตลอด 6 ครั้งที่ได้จัดโครงการ เริ่มตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2561 จวบจนปัจจุบัน และตั้งใจจะสานต่อโครงการนี้ต่อเนื่องในปีถัดไป เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสานต่อปณิธานตามรอยในหลวง รัชกาลที่ 9 อันเป็นความรู้ที่ไม่มีวันล้าสมัยสู่สังคมต่อไป

ก่อนกลับบ้านเราไม่ลืมเดินชม อุทยานดอกไม้ เพลา เพลิน ให้ทั่ว เพื่อชื่นชมมวลพฤกษามาลีดอกไม้นับร้อยชนิดที่กำลังเบ่งบานอวดความงาม เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับพันธุ์พฤกษชาติที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสานเลยล่ะโรงเรือนเฟินและไดโนเสาร์ ให้บรรยากาศย้อนยุคเมื่อหลายสิบล้านปีก่อนในยุคจูราสสิกแปลงดอกกุหลาบและอาคารห้องสมุด ที่ออกแบบได้สุด Modern จนได้รับรางวัลการออกแบบดีเด่น ปัจจุบันใช้เป็นที่ทำกิจกรรมต่างๆ สำหรับผู้เข้าชมสวน อาคารเทิดพระเกียรติพ่อหลวง ที่สถิตอยู่เหนือเศียรเกล้าของเราชาวไทยทุกผู้ทุกนามอุทยานดอกไม้ เพลา เพลิน จะมีดอกไม้ชนิดต่างๆ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันให้ชมตลอดปี โดยเฉพาะฤดูหนาวที่มีไฮไลท์เป็นดอกทิวลิปและลิลี่สีสดใส กลิ่นหอมฟุ้งชื่นใจมาก

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด

คุณดิศรณ์ เสนามนตรี โทร. 0-2610-2392, 09-1997-9459 / คุณอาทิตยา  สุจิรสกุล โทร. 0-2610-2372, 08-7675-2365

เพ ลา เพลิน อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ โทร. 0-4463-4736-8, 08-7798-1039 / www.playlaploen.com

มหาชีวาลัยอีสาน (สถาบันภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน) บ้านปากช่อง ต.สนามชัย อ.สตึก โทร. 08-1760-1337 

ศูนย์การเรียนรู้พ่อคำเดื่อง บ้านโนนขวา ต.หัวฝาย อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์ โทร. 08-1876-5906

โครงการสานรักของเ อไอเอส ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีของครอบครัว

ภายใต้ โครงการสานรัก สนับสนุนสถาบันครอบครัว ด้วยความเชื่อมั่นว่า “ครอบครัว” เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาไปสู่สังคมที่ดี เพราะหากครอบครัวไทยแข็งแรง ย่อมส่งผลให้ประเทศชาติแข็งแรงไปด้วย

เอไอเอส ได้ริเริ่มโครงการ “สานรัก” ขึ้น https://www.facebook.com/sarnrak.ais/ ซึ่งนับเป็นนโยบายหลักของบริษัทฯ ในด้านกิจกรรมเพื่อสังคม ด้วยเล็งเห็นว่าสถาบันครอบครัวเป็นลักษณะเด่นของสังคมไทยมาแต่โบราณกาล และครอบครัวเป็นสถานบันแห่งแรกที่เป็นรากฐานของการสร้างคนเป็นคนดี

ปัจจุบันสถาบันครอบครัวไทยค่อนข้างอ่อนแอ ความใกล้ชิดและความอบอุ่นในครอบครัวลดน้อยลงอันเนื่อง มาจากวิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะเศรษฐกิจ สังคมไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันสูงขึ้น พ่อแม่จำนวนมากต้องทุ่มเทเวลาให้กับงานจนไม่มีเวลาให้คู่สมรสและลูก เป็นเหตุให้ครอบครัวตึงเครียด ขาดความเข้าใจกัน และนำไปสู่ความแตกแยกในที่สุด เมื่อสภาพครอบครัวไม่แข็งแรงจึงส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมตามมา

ด้วยความปรารถนาดีต่อสังคมไทย เอไอเอส มีความเข้าใจและห่วงใยในความเข้มแข็งของสังคมไทยที่เติบโตด้วยความรัก ความอาทร ความเกื้อกูล และความเข้าใจภายในครอบครัว

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ในฐานะผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ชั้นนำของประเทศ จึงมุ่งหวังที่จะส่งเสริม และสนับสนุนครอบครัวของคนไทยให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น และพร้อมที่จะเป็นรากฐานที่ดีของสังคมไทย

โครงการ “สานรัก” จึงกำเนิดขึ้น โดย เอไอเอส มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางสร้างให้คนไทยทุกคนตระหนักในความสำคัญของครอบครัว และร่วมใจกันสานสายใยแห่งความรัก ความผูกพันของครอบครัวให้มีความแน่นแฟ้นตลอดไป

เอไอเอสเพื่อสังคม สานรัก สนับสนุนสถาบันครอบครัว สานรัก คนเก่งหัวใจแกร่ง สานรัก สานสังคมไทย สานรัก หัวใจอาสา