เที่ยวในประเทศ

เที่ยวสนุกถิ่นอีสานใต้ ในบุรีรัมย์

ได้มาเที่ยว บุรีรัมย์ ก็หลายครั้ง ส่วนใหญ่จะได้ดูแต่สนามฟุตบอลกับสนามแข่งรถระดับโลก แต่จริงๆ เขาน่าจะมีที่เที่ยวเจ๋งๆ อื่นอีกแน่นอน

ทริปนี้โชคดีได้เดินทางไปกับ ททท. สำนักงานบุรีรัมย์ พาไปชมความน่าสนใจของสัตว์โลกในธรรมชาติเมืองไทยที่แสนหายากอย่าง ‘นกกระเรียนพันธุ์ไทย’ หรือ Sarus Crane นั่นเอง

แหล่งเรียนรู้นี้ชื่อเต็มว่า ‘ศูนย์อนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำและนกกระเรียนพันธุ์ไทย จังหวัดบุรีรัมย์’ ต.สะแกโพรง อ.เมืองบุรีรัมย์ (ทางเข้าเดียวกับอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก) เป็นแหล่งเรียนรู้ใหม่เอี่ยมที่เพิ่งเปิดตัวได้แค่ 1 เดือน แต่ก็มีการออกแบบตัวอาคารไว้อย่างสวยงาม ดู Modern และที่สำคัญคือโปร่งโล่งสบาย อากาศถ่ายเทดี จึงประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้เยอะสมความตั้งใจของสถาปนิกครับทำไมเราต้องมาดูนกกระเรียนพันธุ์ไทยกันที่นี่ด้วย? คำตอบง่ายๆ คือ นกกระเรียนพันธุ์ไทยในธรรมชาติได้สูญพันธุ์ไปกว่า 50-70 ปีแล้ว เนื่องจากมันเป็นนกขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มฉ่ำน้ำและนาข้าว จึงตกเป็นเป้าล่าของชาวบ้าน ที่ล่าทั้งกินเนื้อและไข่ของมัน อีกทั้งที่อยู่อาศัยคือนาข้าวได้แปรสภาพไปเป็นบ้านจัดสรรหรือสิ่งก่อสร้างอื่น นกกระเรียนพันธุ์ไทยจึงสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติอย่างน่าเศร้า!

โชคดีที่มีการนำนกกระเรียนพันธุ์ไทยจากสวนสัตว์โคราช มาเพาะเลี้ยง แล้วปล่อยคืนสู่ธรมชาติของจังหวัดบุรีรัมย์ อันเป็นพื้นที่ดั้งเดิมที่เคยมีนกกระเรียนพันธุ์ไทยอาศัยอยู่ เพราะเป็นทุ่งราบฉ่ำน้ำและนาข้าว Organic หลังจากปล่อยนกกระเรียนคืนสู่ธรรมชาติไปแล้ว มันก็ค่อยๆ เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ยังถือว่ามีน้อย เพราะปีนึงจะออกไข่แค่ไม่กี่ฟองเองครับ
หลักฐานหนึ่งที่ยืนยันได้ดีที่สุดว่าบุรีรัมย์เคยมีนกกระเรียนพันธุ์ไทยอาศัยอยู่ ก็คือรูปถ่ายจากยุคโบราณของครอบครัวหนึ่งที่เลี้ยงนกกระเรียนไว้เป็นเพื่อนด้านในของศูนย์ฯ มีความโปร่งโล่งสบาย ประกอบด้วยห้องบรรยายและห้องนิทรรศการ รวมถึงทางเดินไปยังหอคอยชมวิว และมีกรงเลี้ยงนกกระเรียนพันธุ์ไทยไว้คู่หนึ่ง เพื่อศึกษาและให้ได้ชมกัน โดยนกคู่นี้เลี้ยงไว้ตั้งแต่ยังเล็ก จึงไม่สามารถปล่อยคืนสู่ธรรมชาติได้ เพราะมันจะหาอาหารกินเองไม่ได้ครับ
หอคอยชมวิวและส่องดูนก มองออกไปจากหอนี้จะเห็นทุ่งนาของชาวบ้านกว้างไกลสุดลูกหูลูกตา กรงเลี้ยงนกกระเรียนพันธุ์ไทยไว้ให้เราได้ชมนกกระเรียนพันธุ์ไทยเป็นนกขนาดใหญ่ที่สง่างามมาก จุดเด่นคือบนหัวและคอมีแผ่นหนังสีแดง พร้อมด้วยจุดสีขาวที่ข้างหัว ปากยาวใช้จิกกินกุ้งหอยปูปลาสัตว์เล็กในทุ่งหรือในน้ำ ตัวผู้และตัวเมียมีขนาดใกล้เคียงกันจนยากจะแยกเพศได้ในช่วงเวลาปกติ แต่เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะเข้าเกี้ยวพาราสีตัวเมีย โดยกางปีกเต้นรำไปรอบๆ และใช้ลำคอเกี่ยวกระหวัดกันไปมาอย่างน่ารักมาก โดยมันเป็นนกผัวเดียวเมียเดียวตลอดชีวิต เมื่อจับคู่กันแล้วก็จะไม่เปลี่ยนคู่อีก จนกว่าจะตายจากกันไป น่าสรรเสริญจริงๆ ครับ!ปัจจุบันนกกระเรียนพันธุ์ไทยของศูนย์ฯ ที่ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติของบุรีรัมย์แล้ว มีเหลือรอดชีวิตประมาณ 70 ตัว อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าฉ่ำน้ำ แนวชายป่า และนาข้าว Organic ของชาวบ้าน ปีไหนฝนตกดีอากาศไม่ร้อนจัด มันก็จะผสมพันธุ์กันเยอะหน่อย นาข้าวผืนใดมีนกไปทำรังวางไข่แล้วมาแจ้งศูนย์ฯ ก็จะมีเงินอุดหนุนช่วยดูแลให้เจ้าของนาด้วย นกกระเรียนที่ปล่อยคืนสู่ธรรมชาตินั้นหากินอยู่ในระยะไกลในนาข้าวของชาวบ้าน จึงต้องใช้กล้อง Tele Scope กำลังขยายสูงๆ ส่องดูครับ
จุดที่ห้ามพลาดชมของศูนย์ฯ นี้ คือ ห้องนิทรรศการ ซึ่งบอกเล่าชีวิตและนิเวศวิทยาของนกกระเรียนพันธุ์ไทยไว้อย่างละเอียดมาก ทางรอดหนึ่งของนกกระเรียนพันธุ์ไทย คือการคืนพื้นที่อาศัยอันสงบ ปลอดภัย และมีอาหารอุดมสมบูรณ์ให้นก จึงเกิดโครงการแปลงนาข้าวอินทรีย์กับวิถีอนุรักษ์นกกระเรียนพันธุ์ไทยขึ้นที่บุรีรัมย์ ปัจจุบันมีเครือข่ายเกษตรกรผลิตข้าวอินทรีย์ แล้วปล่อยให้นกเข้ามาอาศัยได้เหมือนเพื่อนปัจจุบันเกิดเครือข่ายเกษตรอินทรีย์กับการอนุรักษ์นกกระเรียนพันธุ์ไทย คือ กลุ่มข้าวอินทรีย์บ้านสวายสอ ต.สะแกโพรง อ.เมืองบุรีรัมย์, กลุ่มข้าวอินทรีย์บ้านเกียรติเจริญ ต.โคกม้า อ.ประโคนชัย และกลุ่มโครงการระบบส่งสเริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ต.สะแกซำ อ.เมืองบุรีรัมย์ ร่วมกันผลิตข้าวแบรนด์ ‘SARUS RICE’ หรือ ‘ข้าวสารัช’ ข้าวหอมนกกระเรียน ซึ่งเป็นข้าว Organic แท้ๆ
หลังจากช่วงกลางวันเราได้ไปเที่ยวศูนย์อนุรักษ์นกกระเรียนพันธุ์ไทยสุดน่ารักกันมาแล้ว ยามค่ำวันเสาร์-อาทิตย์ในตัวเมืองบุรีรัมย์ อย่าพลาดเดินช้อปปิ้งกันที่ ‘ถนนคนเดินเซาะกราว’ เป็นถนนคนเดินยาวเหยียดกว่า 1 กิโลเมตร กลางเมือง ที่รวมเอาของกินอร่อยๆ ผักสดผลไม้ ของใช้ และผ้าทอพื้นเมืองสวยๆ มาไว้ในที่เดียว แค่เตรียมตัวกับเงินไปพอ ฮาฮาฮา อีกหนึ่ง Signature ของบุรีรัมย์ ซึ่งเรายังไม่เห็นว่ามีที่ไหนเหมือนก็คือ ‘ลูกชิ้นยืนกิน’ หน้าสถานีรถไฟบุรีรัมย์

ลูกชิ้นยืนกินมีขายตั้งแต่เช้าจดเย็น เป็นรถเข็นหลายสิบเจ้ามาจอดเรียงต่อกันตรงถนนทางเข้าหน้าสถานีรถไฟบุรีรัมย์ แต่ละเจ้ามีลูกชิ้นนานาชนิดละลานตาต่างกันไป รวมถึงผักสดไว้กินแกล้มด้วย ความเจ๋งคืนน้ำจิ้มแต่ละร้านมีสูตรเรียกลูกค้าต่างกัน เวลากินก็ไปหยิบมาจิ้มน้ำจิ้ม ยืนกินหน้าร้านเลยจนกว่าจะอิ่ม พอจะจ่ายตังค์ก็นับไม้ (ไม้ละ 3 บาท) สุดยอดไปเลย! หรือถ้าจะซื้อกลับบ้านก็ได้ไม่ว่ากันครับ แนะนำอีกร้านก่อนกลับบ้านคือ ‘เป็ดย่างคูเมือง’ อาหารขึ้นชื่อที่แขกไปใครมาก็นิยมแวะชิม ลักษณะเป็นเป็ดย่างตัวเล็กพอดีๆ ย่างมาเนื้อแห้งกรอบนอกนุ่มใน กินคู่กับน้ำจิ้มรสเผ็ดอมเปรี้ยวซอสมะขาม

แซ่บอีหลีเด้อ! เป็ดย่างคูเมืองส้มตำรสเด็ด สั่งได้ตามชอบสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ททท. สำนักงานบุรีรัมย์ โทร. 0-4463-4722-3

https://www.facebook.com/TATBuriram8/

https://i-san.tourismthailand.org

เที่ยวสุรินทร์ ถิ่นข้าว Organic ไทย

ไปเที่ยวสุรินทร์มาก็หลายครั้ง เพราะหลงใหลในชื่อเสียงของ ‘ข้าวหอมมะลิสุรินทร์’ ซึ่งทุกวันนี้มีปลูกไม่น้อยกว่า 3 ล้านไร่ที่นี่ อีกทั้งยังเป็นจังหวัดผู้บุกเบิกการปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ด้วย จึงมีคุณภาพดีเด่นระดับโลก ส่งออกแบบเทน้ำเทท่า ความเจ๋งของเขาคือข้าวหุงขึ้นหม้อ เมล็ดสวย และมีกลิ่นหอมหวนชวนรับประทานสมชื่อจริงๆ คงเพราะดินของสุรินทร์เป็นดินภูเขาไฟ อันเป็นส่วนหนึ่งของทุ่งกุลาร้องไห้ จึงอุดมด้วยแร่ธาตุต่างๆ เพียบเรามาเที่ยวสุรินทร์รอบนี้ กับ ททท. ได้เปิดมุมมองใหม่กันที่ ‘หอมมะลิ Factory’ ร้านกาแฟออร์แกนิคที่ต่อยอดมากจากโรงสีข้าว ตกแต่งสไตล์ Factory มีบริการเครื่องดื่มร้อน-เย็น อาหาร และเบเกอร์รี่ต่างๆ

หอมมะลิ Factory เลขที่ 84 หมู่ 6 ถนนปัทมานนท์ ต.จอมพระ อ.จอมพระ จ.สุรินทร์ / เปิดเวลา 7.30-18.00 น. / โทร. 08-7255-5657, 08-8884-5252
ภายในจัดเป็นบรรยากาศแบบ Chill Out Factory ที่น่านั่งชิลกันนานๆ รับรองถูกใจวัยรุ่นครับ
มีมุมช้อปปิ้งสินค้าข้าวหอมมะลิตราช้างชูรวงข้าว ในรูปแบบแพ็กเกจเก๋ๆ ต่างกันมากมาย กินข้าว Organic แล้วสบายใจ ปลอดภัยต่อสุขภาพครับ อีกหนึ่งไฮไลท์ของ หอมมะลิ Factory คือ ‘กาแฟข้าวหอมมะลิ’ คอกาแฟทุกคนห้ามพลาด เพราะกลิ่นหอมหวนจริงๆ รสชาติก็ไม่เข้มเกินไป ถือว่ามีความละมุนเป็นเลิศ อีกหนึ่งสถานที่เที่ยว ซึ่งสะท้อนวิถีชีวิตการกินอยู่ และความผูกพันกับเกษตรกรรมของคนสุรินทร์ ก็คือ ‘ตลาดเขียว’ ซึ่งมีเฉพาะช่วงเช้าวันเสาร์-อาทิตย์ ในตัวเมืองสุรินทร์เท่านั้นครับ
จุดเด่นของตลาดเขียว คือการนำสินค้าเกษตรพวกพืชผักผลไม้พื้นบ้านนานาชนิด มาจำหน่ายกันสดๆ ในราคาไม่แพง นอกจากนี้ยังมีของกินพื้นบ้าน ข้าวหอมมะลิ ของใช้และผ้าไหมสุรินทร์ให้เลือกกันอย่างจุใจ

ใครขยันตื่นเช้าก็จะได้สัมผัสความคึกคักแบบนี้ล่ะจ้า หนึ่งในเมนูอาหารท้องถิ่นห้ามพลาดของสุรินทร์ก็คือ ‘อังแก๊บบ๊อบ’ แม้ชื่อจะคล้ายอาหารฝรั่ง แต่แท้จริงแล้วมันคือเนื้อกบสับคลุกเคล้าสมุนไพรและเครื่องแกง บรรจงยัดใส่ไว้ในตัวกบอีกทีหนึ่ง แล้วนำไปย่างไฟให้หอมหวนชวนรับประทาน ถือเป็น Signature ของสุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่เขาล่ะ!!!

เราลองกินไปคำนึง ขอบอกเลยว่า อังแก๊บบ๊อบรสชาติเหมือนไส้อั่วเชียงใหม่เปี๊ยบ!ข้าวจี่ตลาดเขียว
ไก่ย่างตลาดเขียวรอยยิ้มและเสียงพิณอันไพเราะของพ่อใหญ่ในตลาดเขียวยามเช้า ผ้าไหมทอมือทอเครื่องหลายเนื้อหลายราคา มีให้เลือกกันละลานตาในตลาดเขียวครับ

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ททท สำนักงานสุรินทร์ โทร. 0-4451-4447-8 

https://www.facebook.com/tatsurin

https://i-san.tourismthailand.org

บ้านท่าสว่าง วิจิตรศิลป์แพรพรรณแห่งสยาม จ.สุรินทร์

“กลุ่มทอผ้ายกทอง จันทร์โสมา” แห่งบ้านท่าสว่าง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุรินทร์ เป็นหมู่อาคารเรือนไทยหลายหลังในสวนสวยแมกไม้ใหญ่ร่มรื่น ที่นี่มีทั้งส่วนอาคารพิพิธภัณฑ์ของสะสม ของท่านอาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย แกนนำกลุ่มจันทร์โสมา ที่มีจุดเด่นในการอนุรักษ์และฟื้นฟูผ้ายกทองชั้นสูงแบบราชสำนักไทยโบราณ โดยการนำใยไหมเส้นเล็กละเอียด (ไหมน้อย) มาย้อมสีธรรมชาติ ด้วยเทคนิคโบราณผสานกับการออกแบบลวดลายที่วิจิตรเหมือนในอดีต เช่น ลายเทพพนม ลายหิ่งห้อยชมสวน ลายก้านขดเต้นรำ ลายครุฑยุดนาค ฯลฯ ผสานกับลายผ้านุ่งที่คนสุรินทร์นิยมอยู่แล้ว คือ ลายอัมปรม ลายสาคู ลายสมอ ลายละเบิก ลายลูกแก้ว มีการใช้เส้นไหมกะไหล่ทองปั่นควบกับเส้นไหม ถักทอเป็นผ้าไหมยกทองอันวิจิตรงดงามอย่างเหลือเชื่อ

ยิ่งกว่านั้นบ้านท่าสว่างยังได้รับการสนับสนุนจากสำนักพระราชวัง และมูลนิธิในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระพันปีหลวง จนได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ทอผ้าไหมมอบให้กับผู้นำเอเปค เมื่อปี พ.ศ. 2546 บ้านท่าสว่างจึงเป็นที่รู้จักนับแต่นั้น แม่เฒ่าใช้เส้นใยจากใบไม้มาเตรียมไว้มัดเส้นไหม เตรียมลงย้อมในหม้อสีที่ต้มไว้เดือดๆ โดยย้อมทีละมัดๆ อย่างประณีต สีธรรมชาติจากพรรณไม้ต่างๆ นำมาจากมใบไม้, เปลือกไม้, แก่นไม้ แช่น้ำทิ้งไว้ค้างคืน แล้วนำมาเติมน้ำต้มให้เดือดควันฉุย จากนั้นนำมัดเส้นไหมหรือฝ้ายมาย้อมหลายครั้ง จนสีติดดี ได้สีเข้มตามต้องการ นี่คือเทคนิคการย้อมแบบร้อน จากทางเข้าด้านหน้า เราค่อยๆ เดินชมนกชมไม้เข้ามาสู่โรงย้อมผ้าสีธรรมชาติ ที่มีชาวบ้านกำลังช่วยกันนำเส้นไหมลงย้อมในหม้อบนเตาฟืนควันฉุย หม้อสีครามให้สีน้ำเงินสดใส หม้อน้ำต้มครั่งได้สีแดงชาติเตะตา หม้อน้ำจากต้นเขให้สีเหลืองแจ่มกระจ่างตา สีส้มได้จากดอกคำแสด สีเขียวมะกอกได้จากแก่นขนุน สีดำได้จากผลมะเกลือ สีน้ำตาลได้จากต้นหมาก และสีม่วงได้จากต้นหว้า เป็นต้น เมื่อนำผืนผ้าสีธรรมชาติมาทอผสมผสานกับไหมยกทองโบราณ ด้วยลวดลายที่มีความพิเศษของ อาจารย์วีรธรรม แล้ว ก็ยิ่งทำให้ผ้าไหมบ้านท่าสว่างกลายเป็นแพรพรรณอันเล่อค่าจนไม่น่าเชื่อ พอย้อมสีเส้นไหมเสร็จแล้ว ก็นำมาตากให้แห้งในที่ร่มลมโกรก หม้อหมักคราม ต้องหมั่นดูแลเพื่อไม่ให้ครามเน่า ชาวบ้านเรียกว่าครามยังมีชีวิต ถ้าครามเน่าเสีย หรือครามตายแล้ว จะเรียกว่า ครามหนีไปแล้ว! เสน่ห์ของสีธรรมชาติ คือ Colour Variation เป็นความหลากหลาย ความต่างของสีที่ไม่เท่ากันเลยในการย้อมแต่ละครั้ง ได้สีเข้มอ่อนตามการย้อม การผสม และวัสดุธรรมชาติที่ก่อกำเนิดสี ยิ่งใช้ยิ่งสวย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาก จากเรือนย้อมผ้า เราสาวเท้าเข้าไปที่เรือนทอผ้า และก็ต้องตื่นตาอีกครั้งกับกี่ทอผ้าขนาดยักษ์ของที่นี่ เพราะกี่ทอผ้าแต่ละอันของบ้านท่าสว่างนั้นมีความสูงกว่า 2-3 เมตร แต่ละกี่ต้องใช้คนช่วยกันทอ 4-5 คน เพราะผ้าไหมบ้านท่าสว่างมีมากถึง 1,416 ตะกอ จึงต้องอาศัยทักษะและทีมเวิร์กขั้นสูง เพราะต้องมีคนช่วยยกตะกอ 2-3 คน คนสอดไม้ 1 คน และคนทออีก 1คน เป็นความซับซ้อนทางด้านเทคนิคการทอ จนได้ผลงานเพียงวันละ 6-7 เซนติเมตรเท่านั้น ช่างทอซึ่งเป็นคุณป้าคุณยายเล่าให้ฟังว่า ผ้าลายพิสดารที่อยู่บนกี่นี้ล้วนมีคนสั่งทอทั้งสิ้น ผืนหนึ่งยาว 3 เมตร ราคาก็ไม่ต่ำกว่า 1.5-2.5 แสนบาท และต้องช่วยกันทุ่มเทแรงกายแรงใจทอนานหลายเดือนเลยทีเดียว เราสอบถามท่านว่ามีลูกหลานรุ่นใหม่มาร่ำเรียนสืบทอดวิชาทอผ้าบ้างหรือไม่? คุณป้ามองหน้ากันแล้วยิ้ม ตอบว่า “แทบไม่มีคนรุ่นใหม่มาสืบทอดวิชาทอผ้าเลย! สักวันมันคงสูญหายแน่นอน” เรื่องนี้จะจริงหรือไม่ เราไม่แน่ใจ แต่คงเป็นการบ้านที่ผู้รับผิดชอบต้องช่วยกันอนุรักษ์สืบสานมรดกของชาติแขนงนี้ไว้ให้ได้ กี่ทอผ้ายักษ์แห่งบ้านท่าสว่าง แต่ละอันสูงกว่า 3 เมตร ไม่ต่างจากตึก 3 ชั้น ที่มีทั้งชั้นล่าง ชั้นกลาง ชั้นบน ใช้ช่างทอที่มีความชำนาญสูงช่วยกันกี่ละไม่ต่ำกว่า 4-5 คน นับเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านขนานแท้ ที่สร้างความซับซ้อนบนผืนผ้าขึ้นมาได้ ลวดลายอันสวยงาม สลับซับซ้อน และวิจิตรพิสดาร ของผ้าไหมยกดิ้นทองบ้านท่าสว่าง ส่วนใหญ่จะเป็นการทำตามออร์เดอร์ โดยเฉพาะส่งเข้าวัง พอเดินชมสาธิตวิธีการทอผ้าไหมยกดิ้นทองในโรงทอแล้ว ก็ได้เวลาออกมาเดินช้อปปิ้งผ้าไหมบ้านท่าสว่าง อุดหนุนชาวบ้าน

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ททท สำนักงานสุรินทร์ โทร. 0-4451-4447-8 

https://www.facebook.com/tatsurin

https://i-san.tourismthailand.org

กลุ่มทอผ้ายกทองจันทร์โสมา บ้านท่าสว่าง โทร. 0-4414-0015 / บ้านท่าสว่าง อยู่ในอำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์ โดยอยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางเหนือ 10 กม. ใช้ถนนสายเกาะลอย-เมืองลิง (ทางหลวงชนบท สร.4026) จากตัวเมืองสุรินทร์ เป็นถนนลาดยางตลอด

ดื่มด่ำวิถีอีสานใต้ ภูมิปัญญาทอผ้าไหมบ้านสวาย จ.สุรินทร์

ถ้าเปรียบสุรินทร์เป็นถิ่นผ้าไหมงาม “บ้านสวาย” ก็เป็นหนึ่งในชุมชนที่สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมการทอผ้ามายาวนานหลายร้อยปี

บ้านสวายมีชื่อเสียงด้านการผลิตผ้าไหมที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของสุรินทร์ จุดเด่นอยู่ที่กรรมวิธีการทอที่สลับซับซ้อนมีความยาก ต้องใช้ความสามารถ และอาศัยทักษะความชำนาญในการทอ โดยเฉพาะการทอผ้าไหมมัดหมี่ยกดอก ซึ่งทำให้ผ้ามีเนื้อแน่นใส่ได้ทนทาน ทว่ายังความนุ่มพลิ้วไหวและระบายอากาศได้ดีเยี่ยม กว่า 70 เปอร์เซนต์ ของคนในชุมชนนี้ ยังคงสืบสานวัฒนธรรมการทอผ้า และรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มหัตถกรรมสตรีทอผ้าไหมบ้านสวาย เพื่อพัฒนางานแขนงนี้มิให้สูญหาย
ท่านผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานสุรินทร์ ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกคู่กับนางสาวสุรินทร์ ปี 2562 ที่บ้านสวายตอนพาเราไปเที่ยว ปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่า มีลายผ้าไหมหลายร้อยลายเกิดขึ้นในตำบลสวายทั้ง 14 หมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นลายต่างๆ ที่บรรพบุรุษคิดค้นขึ้น หรือลายที่ชาวบ้านคิดใหม่จนกลายเป็นเอกลักษณ์ในวันนี้ อาทิ ลายช้าง, ลายนกยูง, ลายนาคี, ทำให้ชุมชนบ้านสวายโด่งดังเป็นที่รู้จัก มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมตลอดปีการเที่ยวชมวิถีภูมิปัญญาผ้าไหมบ้านสวาย เขาจะมีการแบ่งเป็นฐานๆ ไว้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การปลูกต้นหม่อน เลี้ยงหนอนไหม ต้มไหมสาวเส้นไหม และทอผ้าไหม รวมไปถึงการช้อปปิ้งปิดท้าย หรือจะอยู่กินอาหารพื้นบ้านในชุมชนก็ดีไม่น้อย เพราะจะได้สัมผัสวิถีคนบ้านสวายอย่างลึกซึ้งจุดเริ่มต้นของวงจรคือหนอนไหม ที่กำลังพยายามถักทอเส้นใยสีเหลืองอร่ามห่มคลุมตัวเองไว้ เพื่อเข้าระยะดักแด้หนอนไหมที่ฟักออกจากดักแด้กลายเป็นผีเสื้อไหม ตัวผู้และตัวเมียก็จะมาผสมพันธุ์กันด้วยความรัก แล้วเกิดไข่สีขาวฟองเล็กๆ มากมาย เพื่อเพาะเป็นหนอนไหมรุ่นต่อไปไม่รู้จบรังไหมที่มีตัวหนอนไหมหรือดักแด้ไหมอยู่ภายใน ก่อนนำลงต้มน้ำร้อนเพื่อสาวเส้นไหมออกมา ใช้ถักทอเป็นผ้าไหมต่อไปการสาวเส้นไหมจากรังไหมในน้ำเดือด ชาวบ้านจะทำกันเฉพาะวันที่ไม่ใช่วันพระเท่านั้นนักท่องเที่ยวกำลังเรียนรู้วิธีการสาวเส้นไหมจากรังไหมต้มในน้ำเดือดเมื่อสาวเส้นไหมไปหมดแล้ว สิ่งที่เหลืออยู่ในรังไหมก็คือดักแด้หรือหนอนไหมไร้ชีวิต ซึ่งกลายเป็นอาหารโปรตีนสูงบำรุงสุขภาพแบบฉบับพื้นบ้านมาช้านาน เราทดลองชิมแล้ว รสชาติเหมือนกินข้าวโพดต้มเลยล่ะปั่นเส้นไหมสีทองอร่ามตามธรรมชาติที่ตากแห้งแล้วไว้เป็นม้วน เพื่อเตรียมปั่นลงกระสวยไว้ให้ช่างทอผ้าต่อไปชาวบ้านสวายช่วยกันเก็บรังไหมที่มีตัวดักแด้อยู่ภายใน เตรียมนำไปต้มเพื่อสาวเส้นไหมออกมาหนูน้อยน่ารักมาช่วยเป็นกำลังใจให้คุณยายในการทอผ้าไหมเส้นไหมดิบตากแห้งที่ผ่านการต้มและสาวไหมแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการปั่นแยกเส้นไม่ให้พันกันเพื่อเตรียมลงกระสวยของจริงของแท้ เกิดจากวิถีพ่อแม่พาทำ เรียนรู้วิธีการทอผ้าไหมมาหลายชั่วอายุคนที่บ้านสวาย จ.สุรินทร์
เอกลักษณ์ของผ้าไหมสุรินทร์ คือเนื้อผ้าไหมบางเบา อ่อนนุ่ม พลิ้วไหว ระบายอากาศดี ใส่แล้วไม่ระคายตัว ด้วยว่าอากาศในแถบอีสานใต้ค่อนข้างร้อนจัด ผ้าไหมสุรินทร์จึงใส่สบาย เข้ากับภูมิอากาศภูมิประเทศได้ยอดเยี่ยม
เส้นไหมมัดหมี่ คือเทคนิคการทออันลือชื่อของบ้านสวายชมขั้นตอนการทอผ้าไหมจนครบวงจรแล้ว สุดท้ายก็ต้องไปช้อปปิ้งกันที่ ‘ตลาดใต้ถุนเรือน’ ของบ้านสวาย ตื่นตาตื่นใจกับผ้าไหมแพรพรรณที่ละเอียดประณีตอันเกิดจากความอุตสาหะและความรักของชาวบ้านที่นี่ล่ะ ผ้าไหมที่นี่มีขายตั้งแต่ราคาหลักพันไปจนถึงหลักหมื่นหลักแสน ขอร้องว่ากรุณาอย่าต่อราคานะครับ เพราะได้เห็นกันมาแล้วว่า กว่าจะได้แต่ละผืนต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจใช้เวลานานแค่ไหน!หนึ่งในสุดยอดผ้าสุรินทร์ลายโบราณของบ้านสวาย คือ ผ้าโฮล และผ้าอัมปรม ซึ่งมีการผลิตน้อย ต้องรีบจอง ใครได้ไปครอบครองขอให้ภูมิใจ เพราะสีและลวดลายเป็นแบบสุรินทร์ดั้งเดิม ใส่แล้วไม่อายใครแน่นอน
กิจกรรมสนุกๆ ของนักท่องเที่ยวที่ได้มาเยือนบ้านสวาย ก็คือ การทำผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติด้วยฝีมือเราเองขั้นแรกก็ต้องเอาหนังสติ๊กมามัดเป็นปมบนผ้าไหมสีขาวล้วนก่อน มัดปมต่างกันก็จะได้ลายต่างกัน แล้วแต่จินตนาการ จากนั้นก็นำผ้าไปชุบน้ำเปล่า บิดพอหมาดๆ แล้วนำลงจุ่มสีธรรมชาติที่เตรียมไว้ จุ่มได้หลายครั้ง ยิ่งจุ่มเยอะสียิ่งเข้ม

ท่าน ผอ. ททท. สำนักงานจังหวัดสุรินทร์ กับนางสาวสุรินทร์ ปี 2562 ช่วยกันต้มผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติบนเตา เพื่อให้สีติดดีขึ้น
จากนั้นก็แกะหนังสติ๊กออกจากผ้ามัดย้อม นำไปตากให้แห้ง ก็จะได้ผลงานผ้าชิ้นเดียวในโลกฝีมือเราเองไงล่ะ ฮาฮาฮา
ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติฝีมือเราเอง เป็นของที่ระลึกจากบ้านสวายที่จะไม่มีวันลืมมื้อเที่ยงวันนั้นที่บ้านสวาย เราได้ชิมอาหารพื้นบ้านแบบง่ายๆ แต่รสชาติเกินตัว มีทั้งแกงกล้วย ลาบหมู น้ำพริกปลาทู ต้มส้มปลา และไข่เจียวยัดไส้

ขอบอกว่ามาเที่ยวที่นี่แค่วันเดียวก็ประทับใจแล้ว

บ้ายบาย บ้านสวาย I LOVE YOU

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ททท สำนักงานสุรินทร์ โทร. 0-4451-4447-8 

https://www.facebook.com/tatsurin

https://i-san.tourismthailand.org

ศูนย์การเรียนรู้ไหมย้อมสีธรรมชาติ โดยครูผ้าแม่สำเนียง โทร. 044546656 / กลุ่มทอผ้าอุตมะไหมไทย โทร. 08-4959-9747 / ท่องเที่ยวชุมชน อบต. บ้านสวาย โทร. 0-4445-46595, 08-6249-5683

แซตอม Organic Farm สุรินทร์ กินเที่ยวลดเลี้ยวในธรรมชาติ

แซตอม ออร์แกนิค ฟาร์ม ตั้งอยู่ที่บ้านเมืองลีง อ.จอมพระ จ.สุรินทร์ ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ ที่ได้มาตรฐาน คำว่า “แซตอม” เป็นภาษาของชนพื้นเมืองชาว กวย หรือ กูย ในจังหวัดสุรินทร์ แปลว่า นาที่ตั้งอยู่ริมห้วย บริเวณทุ่งแซตอมเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำลำชี อุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับการเพาะปลูก จึงมีหลักฐานการเข้ามาอยู่อาศัยของมนุษย์ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ชุมชน ชาวแซตอม ในอดีตมีอาชีพเกษตรกรรมที่อยู่บนพื้นฐานของ การเกษตรอินทรีย์ จนมาระยะหนึ่งมีการนำปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้าและยาฆ่าแมลงมาใช้ในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ปัจจุบันพบว่าวิธีการดังกล่าวสร้าผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อทั้ง กษตรกรและผู้บริโภค “แซตอม ออร์แกนิค ฟาร์ม” จึงเริ่มรื้อฟื้นวิธีการผลิตแบบอินทรีย์ดั้งเดิมขึ้นมา ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2557 จนปัจจุบัน แซตอม ออร์แกนิค ฟาร์ม ได้พัฒนาการก่อตั้ง จนกลายเป็น วิสาหกิจชุมชน และมีการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ โดยเน้นไปที่ข้าวพื้นบ้านและข้าวเพื่อสุขภาพ เป็นหลัก กิจกรรมในการท่องเที่ยวสัมผัสแซตอม ออร์แกนิค ฟาร์ม นั้นมีหลากหลาย แต่เราขอเริ่มด้วยกิจกรรมผจญภัยในลำชี ที่ยังคงมีความเป็นธรรมชาติมาก คือ การพายเรือคายัค ระยะทางตั้งแต่ 1.5-3 กิโลเมตร แล้วแต่ใครมีเวลามากน้อย ก่อนลงพายเรือจริง ก็ต้องมีการซักซ้อม และใส่เสื้อชูชีพ พร้อมหมวกกันน็อกเพื่อความปลอดภัยครับ
เริ่มหันหัวเรือคายัคออกสู่ลำน้ำชี ก็ต้องร้องว้าว เพราะเบื้องหน้ามีแต่ฟ้าใสกับแมกไม้สีเขียว ที่เรือของเราค่อยๆ ล่องไปตามกระแสน้ำ จึงไม่ต้องออกแรงพายกันมาก ชิลสุดๆ ไปเลยนิสองฟากฝั่งลำชีแทบไม่มีบ้านเรือนผู้คน มีแต่แมกไม้น้อยใหญ่เขียวครึ้มแน่นทึบราวกับปราการธรรมชาติ เจ้าบ้านเล่าให้ฟังว่า เหตุที่ไม่มีบ้านเรือนอยู่ริมน้ำเลย เพราะในฤดูน้ำหลากน้ำจะเอ่อท่วมขึ้นสูง ผู้คนจึงต้องไปปลูกบ้านให้อยู่ไกลจากตลิ่งพอสมควร ต้นยางนาขนาดยักษ์สูงหลายสิบเมตรยืนตระหง่านอยู่ริมลำชี ให้เราได้ชื่นชมในวันฟ้าใส การพายเรือคายัคจริงๆ แล้วคือการออกกำลังกายชั้นเยี่ยม แถมยังเป็นพาหนะรักษ์โลกด้วย เพราะเดินทางได้อย่างเงียบเชียบ ไม่รบกวนธรรมชาติเลย ระหว่างพายเรือคายัคจะมีจุดแวะพักให้ขึ้นไปเดินเที่ยวเดินชมหลายจุด ที่เราประทับใจสุดคือ ป่าชุมชน เนื้อที่หลายร้อยไร่ ซึ่งเคยมีสภาพเป็นเพียงผืนดินโล่งๆ ไร้พืชพรรณเมื่อหลายสิบปีก่อน ทว่าเมื่อมีการดูแลใส่ใจนำพันธุ์ไม่ต่างๆ เข้ามาปลูก ไม่นานนักสภาพป่าก็เริ่มกลับมา นกกาและสัตว์เล็กสัตว์น้อยก็เริ่มหวนคืน โดยเฉพาะชาวบ้านที่ได้เข้ามาเก็บเห็ดเก็บหน่อไม้และฟืนต่างๆ ไปใช้งาน เกิดความผูกพันระหว่างธรรมชาติและคนอย่างยั่งยืนตราบที่เราดูแลกันและกัน เห็ดป่างอกงามขึ้นในยามฤดูฝน ชนิดนี้จะกินได้ไม่ได้ ต้องไปถามชาวบ้านดูก่อน ผลไม้ป่าแสนอร่อยรสเปรี้ยวอมหวาน มีให้ชิมกันตามธรรมชาติ ไม่ต้องเสียเงินซื้อเที่ยงแล้ว หลังจากพายเรือคายัคเสร็จ เราก็นั่งรถกลับมายังศูนย์การเรียนรู้ที่แซตอม ออร์แกนิค ฟาร์ม มื้อนี้ต้องจัดหนักเพราะเราใช้แรงพายเรือไปเยอะ วันนี้ได้ลิ้มรสอาหารพื้นบ้านง่ายๆ แต่อร่อยเหลือล้น นั่งกินไปเหม่อมองดูทุ่งนาออร์แกนิคไปด้วย แหม ช่างมีความสุขเหลือเกินชุดอาหารเที่ยงง่ายๆ แต่ดูดีที่บ้านแซตอม เสิร์ฟมาในกระด้งใบน้อย ประกอบด้วยข้าวหอมมะลินิลสุรินทร์หุงมาร้อนๆ กินคู่กับไข่เจียว ปลาทูทอด น้ำพริกกะปิ ลาบหมู และปิดท้ายด้วยขนมดอกลำเจียกแสนอร่อย อิ่มท้องกันแล้ว ก็ได้เวลามาเติมอาหารสมองกับพี่แทน ประธานกลุ่มแซตอมที่อธิบายให้เราฟังถึงพันธุ์ข้าวท้องถิ่นต่างๆ ของแซตอม อาทิ ข้าวผกาอำปึล (ข้าวดอกมะขาม), ข้าวกล้องมะลินิลสุรินทร์, ข้าวมะลิโกเมนสุรินทร์ และ ข้าวไตรจัสมิน เป็นต้น ข้าวพันธุ์พื้นบ้านที่ปลูกแบบออร์แกนิคเหล่านี้ นอกจากจะกินอร่อยหุงขึ้นหม้อแล้ว ยังอิ่มนานเพราะมันจะค่อยๆ ย่อยสลายในกระเพาะเรา จึงช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้ดี มีสารต้านอนุมูลอิสระทำให้ใบหน้าอ่อนเยาว์ และข้าวบางชนิดกินแล้วยังช่วยให้อารมณ์ดีด้วย มหัศจรรย์มากๆ ข้าวผกาอำปึล หรือ ข้าวดอกมะขาม เป็นสายพันธุ์ท้องถิ่นดั้งเดิมของจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งทุกวันนี้มีปลูกไม่มาก ผลผลิตน้อย ลูกค้าสั่งจองแย่งกันจนไม่พอขายอย่าลืมซื้อข้าวออร์แกนิคเพื่อสุขภาพของแซตอม ไปฝากคนที่เรารักด้วยล่ะ
จากนั้นก็ได้เวลาเดินชมทุ่งข้าวออร์แกนิคเขียวสดเย็นตา ลัดเลาะผ่านคันนาร่มรื่นที่มีแนวไม้ให้บังแดด สู่กระท่อมกลางนาอันเป็นฐานเรียนรู้เกี่ยวกับการทำ RiceWine ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นคนสุรินทร์มาเนิ่นนาน ข้าวผกาอำปึล กำลังชูช่อออกดอก อีกไม่นานในเดือนพฤศจิกายนก็คงเก็บเกี่ยวได้ใครไม่เคยเห็นดอกข้าวสีขาวน้อยๆ น่ารัก มาชมกันได้ที่นี่เลยจ้า
นอกจากข้าวออร์แกนิคแท้ๆ ที่ดีต่อสุขภาพแล้ว ที่แซตอมยังมีการผลิต RiceWine หลายแบบ ซึ่งมีตั้งแต่รสชาติอ่อนๆ ไปจนถึงดีกรีเข้มข้นแล้วแต่ชอบ บางชนิดมีรสและกลิ่นอ่อนๆ คล้ายน้ำข้าวหมาก ส่วนที่มีแอลกอฮอล์เข้มขึ้นอีกนิดรสชาติก็จะคล้ายเหล้าสาเกญี่ปุ่น แต่ของที่แซตอมมีสมุนไพรหลายสิบชนิดผสมอยู่ด้วย จึงช่วยให้เลือดลมในร่างกายไหลเวียนดี ถ้าอยากลองชิมต้องมาที่นี่เท่านั้น ยังไม่มีส่งไปขายที่อื่นครับสมุนไพรนานาชนิดที่ใช้ในการบ่มหมัก RiceWine ล้วนเป็นพืชพรรณที่หาได้จากธรรมชาติของท้องถิ่นทั้งนั้นชิมไวน์ข้าวกันพอหอมปากหอมคอแล้ว ก็ได้เวลานั่งฟังเพลงจากวงกันตรึมแท้ๆ แหม เข้าถึงจิตวิญญาณคนสุรินทร์ได้ดีเหลือเกิน

เวลาช่างรวดเร็ว ทำให้เราต้องกลับบ้านแล้ว แต่ความประทับใจ รอยยิ้ม และน้ำใจไมตรีของคนที่ แซตอม ยังตราตรึงอยู่ในใจเราตลอดไป
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ททท สำนักงานสุรินทร์ โทร. 0-4451-4447-8 

https://www.facebook.com/tatsurin

https://i-san.tourismthailand.org

www.satomfarm.com

เที่ยวสุขใจ ซาลามัตชายแดนใต้ @ปัตตานี

สามจังหวัดชายแดนใต้ ดินแดนแห่งความสดใหม่ไร้การปรุงแต่ง ดินแดนแห่งรอยยิ้มและมิตรไมตรี ดุจคำกล่าวต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกคนว่า ‘ซาลามัตชายแดนใต้’ วันนี้เราได้ไปเที่ยว จังหวัดปัตตานี ดินแดนพหุวัฒนธรรมที่มีทั้งพี่น้องชาวมุสลิม จีน และไทย อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์มาช้านาน เหมาะไปเที่ยวชมกันได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะวัย Silver Age ที่แม้จะมีอายุมาก แต่ก็เที่ยวปัตตานีได้สบาย 1. มัสยิดกลางปัตตานี อ.เมืองปัตตานี ‘สถาปัตยกรรมงดงามตามแบบทัชมาฮาล’

 ถือเป็นมัสยิดสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของไทย และเป็นหนึ่งในมัสยิดสำคัญที่สุดของภาคใต้ เป็นศูนย์รวมใจของพี่น้องชาวมุสลิมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 ที่เริ่มเปิดใช้งาน ความโดดเด่นอยู่ที่สถาปัตยกรรมการก่อสร้าง เลียนแบบทัชมาฮาลในอินเดีย ตรงกลางมีโดมขนาดใหญ่ ล้อมรอบด้วยหอขาน (หออะซาน) 4 หอ ด้านหน้ามีสระน้ำใหญ่ ยามค่ำคืนเปิดไฟหลากสีประดับประดาอย่างงดงาม นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมได้อย่างใกล้ชิด แต่ต้องแต่งกายสุภาพ ไม่ส่งเสียงดังโวยวาย และต้องเคารพผู้ที่มาประกอบพิธีกรรมทางศาสนาด้วย
2. มัสยิดกรือเซะ อ.เมืองปัตตานี ‘300 ปี แห่งศูนย์รวมใจพี่น้องชาวมุสลิม’

หรือ มัสยิดสุลต่านมูซัฟฟาร์ชาห์ เป็นมัสยิดเก่าแก่กว่า 300 ปี ซึ่งในอดีตเข้าใจผิดกันว่าเพราะต้องคำสาปจึงสร้างไม่เคยเสร็จ ทว่าปัจจุบันได้มีการพิสูจน์โดยนักโบราณคดีแล้วว่า โครงสร้างที่เหลือในปัจจุบัน คือร่องรอยของตัวมัสยิดที่เคยงดงามสมบูรณ์ในอดีต สันนิษฐานกันว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ด้วยการผสมผสานศิลปกรรมตะวันออกกลางและยุโรปเข้าด้วยกัน แม้รูปลักษณ์ภายนอกจะมิได้ฉาบปูนทาสี แต่มัสยิดกรือเซะก็ยังทำหน้าที่เป็นโบราณสถานและศูนย์รวมใจพี่น้องชาวมุสลิมอย่างเหนียวแน่น ด้านหน้ามีแท่นปืนใหญ่โบราณ (จำลอง) ตั้งอยู่ สำรวจพบว่าเป็นที่หล่อปืนใหญ่หลายกระบอกด้วยวิทยาการล้ำสมัย
3. ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว อ.เมืองปัตตานี ‘ศาลศักดิ์สิทธิ์ ตำนานเจ้าแม่แห่งศรัทธา’

หรือศาลเจ้าเล่งจูเกียง เป็นที่ประดิษฐานรูปแกะสลักของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว พระหมอเจ้าแม่ทับทิม และองค์พระอีกหลายองค์ เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวเป็นที่เลื่อมใสของชาวไทยเชื้อสายจีน ทั้งในท้องถิ่น และจากจีน มาเลเซีย สิงคโปร์ เปิดให้เข้าสักการะได้ทุกวัน เมื่อย่างเข้าไปภายในจะสัมผัสได้ถึงกลิ่นอายความศรัทธา และเรื่องราวของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ซึ่งท่านลงเรือจากเมืองจีนมาสู่ปัตตานี เพื่อติดตามพี่ชาย คือ ลิ้มโต๊ะเคี่ยม ให้กลับบ้านเกิด แต่ไม่สำเร็จ เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวจึงตัดสินใจปลิดชีวิตตนเอง ตามสัญญาที่มีกับแม่ ว่าถ้าตามพี่ชายกลับไปไม่ได้ ก็จะไม่กลับบ้านอีก ทุกปีจะมีงานสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ทุกเดือนกุมภาพันธ์
4. พิพิธภัณฑ์เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว อ.เมืองปัตตานี ‘แหล่งความรู้คู่เมืองปัตตานี’

ตั้งอยู่ติดกับศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เพิ่งจัดสร้างขึ้นใหม่ ภายในติดแอร์เย็นฉ่ำ บอกเล่าเรื่องราวประวัติความเป็นมาของเมืองปัตตานีในอดีต ที่มีลักษณะเป็นเมืองท่าขนาดใหญ่ รวมทั้งมีเรื่องราวของพระหมอ, เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว และอื่นๆ อีกมากมาย ใครที่สนใจด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มาเยี่ยมชมไม่ผิดหวังแน่นอนจ้า
5. สุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว อ.เมืองปัตตานี ‘รำลึกตำนานเจ้าแม่’

ตั้งอยู่ใกล้มัสยิดกรือเซะ เป็นที่ฝังศพของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ซึ่งในอดีตท่านได้ลงเรือจากเมืองจีน มาตามพี่ชาย คือ ลิ้มโต๊ะเคี่ยม ให้กลับบ้านเกิด ทว่าลิ้มโต๊ะเคี่ยมได้มีครอบครัวแต่งงานและเปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลามแล้ว เมื่อตามพี่ชายกลับบ้านเกิดไม่สำเร็จ เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวจึงตัดสินใจปลิดชีวิตตนเอง ด้วยสัญญาไว้กับแม่ว่า หากตามพี่ชายกลับไม่ได้ ก็จะไม่ไปให้เห็นหน้าอีก ปัจจุบันสถานที่นี้มีลักษณะเป็นเนินดินใหญ่ ที่มีหญ้าเขียวขึ้นปกคลุม และมีประชาชนผู้ศรัทธามาสักการะกันทุกวัน
6. CHINA TOWN ปัตตานี อ.เมืองปัตตานี ‘กือดาจีนอ เมืองเก่าเล่าเรื่องอดีต’

กือดาจีนอ ชื่อนี้อาจฟังไม่คุ้นหู แต่ถ้าบอกว่า ‘ย่านตลาดจีนเก่าของเมืองปัตตานี’ ก็คงพอมีคนรู้จัก แม้ว่าจะซบเซาไปนาน แต่บัดนี้ได้ฟื้นคืนชีวิตขึ้นใหม่ ด้วยการร่วมแรงร่วมใจของหลายฝ่าย จนกลายเป็นถนนวัฒนธรรมน่าเที่ยว เดินเล่นถ่ายภาพ เรียนรู้เรื่องราวอดีตกันได้ในทุกย่างก้าว กือดาจีนอ หรือตลาดจีนเก่า นี้ แท้จริงแล้วคือถนนปัตตานีภิรมณ์เลียบแม่น้ำปัตตานี ไปจนถึงศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว สองฟากฝั่งเต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่องโบราณ ในลักษณะบ้านคนจีน โรงเตี๊ยม และร้านค้า มีการจัดมุมถ่ายภาพน่ารักๆ พร้อมด้วยเติมภาพวาด Street Art สวยๆ เข้าไปตามฝาผนัง ทำให้กือดาจีนอมีชีวิตชีวาเป็นอย่างยิ่ง
7. Sky Walk ปัตตานี ต.รูสะลิแล อ.เมืองปัตตานี ‘Landmarkใหม่ใกล้ชิดธรรมชาติ’

น่าตื่นตาตื่นใจสุดๆ กับ Skywalk แห่งแรกของปัตตานี ตั้งอยู่ในสวนสมเด็จเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มีความยาวถึง 400 เมตร สูง 12 เมตร เชื่อมต่อจากเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน โดยโครงสร้างเป็นเหล็กรับน้ำหนักได้ราวๆ 400 กิโลกรัม/ตารางเมตร มีบันไดขึ้นลง 2 ทาง พร้อมศาลาพักผ่อน 5 จุด ความน่าตื่นเต้นอยู่ตรงที่พื้นสะพานเหล็กของ Skywalk คล้ายตาข่ายเหล็กโปร่ง มองทะลุลงไปเห็นพื้นและป่าชายเลนเบื้องล่างได้แจ่มชัด น่าตื่นเต้นสุดๆ คนนิยมมาเที่ยวกันตอนเย็นๆ เพราะมองออกไปเห็นพระอาทิตย์ตกที่แหลมตาชี ได้อย่างน่าประทับใจ
8. บ้านบางปู อ.ยะหริ่ง ‘อุโมงค์โกงกางมหัศจรรย์แห่งธรรมชาติ’

นี่คือชุมชนชาวมุสลิม ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนยะหริ่งของอ่าวปัตตานีมากว่า 100 ปี อันเป็นแหล่งที่มีปูดำอย่างชุกชุม ด้วยสภาพธรรมชาติป่าชายเลนอันอุดมสมบูรณ์อย่างยิ่ง นอกจากวิถีประมงพื้นบ้านที่ยังเห็นได้ทุกเมื่อเชื่อวันแล้ว เขายังมีกิจกรรมล่องเรือหางยางเข้าไปเที่ยวชมระบบนิเวศป่าชายเลน หรือ Mangrove Forest โดยเฉพาะบริเวณ ‘อุโมงค์โกงกาง’ ยาว 700 เมตร ซึ่งมีต้นโกงกางสองฝั่งโอนเอนเข้าหากัน คล้ายอุโมงค์ขนาดใหญ่ร่มรื่นเย็นสบาย ให้เรือลอดเข้าไปช้าๆ ระหว่างทางเราจะได้เห็นนกนานาชนิด พร้อมด้วยกิจกรรมเก็บหอยในป่าชายเลนมาทำกับข้าวกินกัน (สนใจติดต่อ นายคมกริช เจะเซ็ง บ้านบางปู โทร. 08-8389-4508) 9. วัดช้างให้ อ.โคกโพธิ์ ‘ตำนานหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด’

เป็นวัดสำคัญและมีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้ ด้วยบารมีของ ‘หลวงพ่อทอด’ ซึ่งคนไทยและคนในประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง ให้ความเคารพศรัทธาอย่างสูง ตามตำนานเล่าว่า พระยาแก้มดำเจ้าเมืองไทรบุรี ต้องการหาชัยภูมิสร้างเมืองใหม่ให้น้องสาว จึงเสี่ยงสัตย์อธิษฐานปล่อยช้างและไพร่พลเดินตามไปเมื่อถึงป่าแห่งหนึ่ง (วัดช้างให้ปัจจุบัน) ช้างก็เดินวนเวียนและร้อง 3 ครั้ง พระยาแก้มดำจึงถือว่าเป็นนิมิตที่ดีที่จะสร้างเมือง แต่น้องสาวไม่พอใจ จึงไปสร้างเมืองปัตตานีที่ริมชายทะเลแทนเมื่อหลวงพ่อทวดมรณภาพที่เมืองไทรบุรี ศิษย์ได้นำศพท่านกลับมาที่วัดช้างให้ แต่ต้องพักแรมระหว่างทางหลายวันกว่าจะถึงวัดช้างให้ เมื่อตั้งศพอยู่ที่ใด ก็จะเอาไม้ปักหมายไว้ทุกแห่ง จนกระทั่งถึงวัดช้างให้ สถานที่ตั้งศพพักระหว่างทางนี้กลายเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนมาถึงปัจจุบัน บางแห่งก่อเป็นเจดีย์หรือสถูปไว้ โดยถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ดังเช่นที่อัฐิของหลวงปู่ทวดได้บรรจุไว้ในเจดีย์ของวัดนี้ ให้คนได้สักการะกัน 10. วัดมุจลินทวาปีวิหาร (วัดหลวงพ่อดำ) อ.หนองจิก ‘ตามรอยเสด็จพระพุทธเจ้าหลวง’

เป็นพระอารามหลวงที่พระยาวิเชียรสงคราม (เกลี้ยง) เจ้าเมืองหนองจิก สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2388 ภายในวัดมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เจดีย์บรรจุพระอัฐิของพระอรหันต์ และวิหารต่างๆ นอกจากนี้ยังถือเป็นแหล่งกำเนิดการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรมของมณฑลปัตตานีในอดีตด้วย เพราะมีการเปิดสอนหนังสือตามหลักสูตรประถมศึกษาครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2444 อีกทั้งเมื่อปี พ.ศ. 2433 พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ได้เคยเสด็จวัดนี้ และใช้น้ำในบ่อไปประกอบพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาด้วย
11. พิพิธภัณฑ์เครื่องถมทองและเครื่องจักสาน โรงแรมซีเอสปัตตานี อ.เมืองปัตตานี ‘พิพิธภัณธ์แห่งความภักดี’

โรงแรมซีเอส ปัตตานี เป็นโรงแรมระดับมาตรฐาน ที่ใช้ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองของปัตตานีได้อย่างไม่อายใคร เพราะทั้งห้องพัก บริการ และอาหาร ก็ล้วนน่าประทับใจไปทุกสิ่งอย่าง นอกจากนี้บนชั้น 2 ของโรงแรม ยังมีการจัดเป็นห้องพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ไว้ถึง 2 ห้อง อันเกี่ยวเนื่องกับพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระพันปีหลวง และในหลวงรัชกาลที่ 9 ของเรา โดยห้องแรกจัดแสดงเครื่องจักสาน และห้องที่สองจัดแสดงเครื่องถมทองตามแบบภาคใต้ ที่มีความละเอียดประณีตงดงามอย่างยิ่ง สนใจขอเข้าชมได้ทุกวัน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (ติดต่อ โทร. 0-7333-5093)
สิ่งที่ห้ามพลาดชมด้วยประการทั้งปวง คือ ชุดเครื่องถมทองเป็นชุดเครื่องเขียนที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานให้กับประธานาธิบดี ชาร์ล เดอโกล ของฝรั่งเสศในอดีต จากนั้นเจ้าของโรงแรมซีเอส ปัตตานี ได้ไปพบในร้านขายของเก่าแห่งหนึ่งในต่างประเทศโดยบังเอิญ จึงซื้อกลับมาแสดงไว้ให้คนไทยได้ชื่นชม12. หอนาฬิกาเมืองปัตตานี ‘Landmark สำคัญกลางใจเมือง’

มีชื่อเล่นว่า ‘หอนาฬิกา 3 วัฒนธรรม’ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2554-2555 เปิดใช้เป็นทางการปี พ.ศ. 2556 สร้างขึ้นด้วยการผสมผสานศิลปกรรมของ 3 วัฒนธรรม คือ มุสลิม จีน และไทย สะท้อนถึงความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม ที่มีชนหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์มาเนิ่นนาน
13. ร้านอาหารบ้าน เดอ นารา อ.เมืองปัตตานี ‘ต้นตำรับอาหารปัตตานีที่น่าลิ้มลอง’

เที่ยวปัตตานีกันมาเกือบทั่วแล้ว ชักจะหมดแรง ได้เวลาไปเติมพลังกันที่ ‘ร้านบ้าน เดอ นารา’ (17/239 ซอย 21 ถ.เจริญประดิษฐ์ ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000 โทร. 0-7333-7031) อิ่มอร่อยกับอาหารปักษ์ใต้ต้นตำรับ พร้อมด้วยอาหารไทยนานาชนิด ในบรรยากาศบ้านโบราณอันสวยงาม สั่งได้เลยทุกเมนู ไม่ว่าจะเป็นปลาทอดขมิ้น, กุ้งทอดตะไคร้, ทอดมันเดอนารา, แกงเหลืองกะทิ, แกงมัสมั่นไก่, พริกหยวกสอดไส้, บูดูทรงเครื่อง และอีกมากมาย แค่คิดก็น้ำลายสอแล้วสิ

SPECIAL THANKS โครการ ‘ซาลามัตชายแดนใต้’ จ.นราธิวาส-ยะลา-ปัตตานี

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ททท สำนักงานนราธิวาส-ยะลา-ปัตตานี โทร. 0-7352-2411 , 0-7354-2345

เที่ยวสุขใจ ซาลามัตชายแดนใต้ @นราธิวาส

สามจังหวัดชายแดนใต้ ดินแดนแห่งความสดใหม่ไร้การปรุงแต่ง ดินแดนแห่งรอยยิ้มและมิตรไมตรี ดุจคำกล่าวต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกคนว่า ‘ซาลามัตชายแดนใต้’ วันนี้เราได้ไปเที่ยว จังหวัดนราธิวาส สัมผัสวิถีและความงามในหลากแง่มุม ทั้งชีวิต วัฒนธรรม อาหารการกิน ธรรมชาติ และการช้อปปิ้ง ที่เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะวัย Silver Age ที่แม้จะมีอายุมาก แต่ก็เที่ยวนราธิวาสได้สบาย ไปกับ 30 จุดท่องเที่ยว ที่เราคัดสรรคมาอย่างดีสำหรับคุณ

(1) ‘เกาะกลางน้ำบางนราแสนน่ารัก’ ชุมชนกาแลตาแป อ.เมืองนราธิวาส 

เป็นชุมชนเก่าแก่บนเกาะกลางน้ำเล็กๆ อันสุขสงบกลางแม่น้ำบางนรา ผู้คนทำอาชีพประมงเป็นหลัก นำปลาที่ได้มาขาย หรือแปรรูปเป็น ‘กรือโป๊ะ’ ข้าวเกรียบปลาทะเลแสนอร่อย ใครอยากเห็นเรือกอและ ซึ่งเป็นเรือประมงพื้นบ้านของปักษ์ใต้อย่างใกล้ชิด มาเที่ยวชมชุมชนนี้ไม่ผิดหวัง แต่ต้องให้ความเคารพในวิถีพี่น้องชาวมุสลิมที่นี่ด้วยนะจ๊ะ (2) หาดนราทัศน์ อ.เมืองนราธิวาส ‘หาดแห่งการพักผ่อน ที่ซึ่งเสียงคลื่นและเสียงกิ่งสนล้อลมแสนไพเราะ’ 

เป็นหาดรับแขกของเมืองนราธิวาสเลยก็ว่าได้ เพราะว่ากันว่าเป็นชายหาดสวยที่สุดของจังหวัดนี้ ทอดตัวยาวกว่า 4-5 กิโลเมตร สุดลูกหูลูกตา งามอย่างละมุนละไมด้วยเม็ดทรายละเอียดสีน้ำตาลอ่อนค่อนไปทางขาว ริมหาดมีแนวต้นสนทะเลขนาดใหญ่เรียงรายร่มรื่น เหมาะไปนั่งพักผ่อนหรือลงเล่นน้ำชิลชิล หรือจะไปนั่งฟังเสียงสนล้อลม ชมความงามของเกลียวคลื่นที่ทยอยกันสาดซัดเข้าหาฝั่ง นี่คือความสุขสงบในมุมเล็กๆ ของ ‘นราเมืองน่ารัก’
(3) หาดบ้านทอน ต.โคกเคียน อ.เมืองนราธิวาส ‘หาดแห่งเรือกอและ’

หาดบ้านทอน เป็นหาดทรายสีเหลืองนวลเนื้อนุ่ม ทอดตรงยาวหลายกิโลเมตร เคียงขนานไปกับอ่าวไทยสีฟ้าอ่อน ไอแดดเจิดจ้า ชายหาดมีเรือกอและของชาวประมงพื้นบ้านจอดเรียงราย มักจะแล่นออกทะเลหาปลากันตลอดคืน แล้วกลับเข้าฝั่งในยามเช้า หมู่บ้านทอนนี้มีการผลิตเรือกอและจำลองขายให้นักท่องเที่ยวด้วย เราจึงสามารถไปชมวิวทะเล เล่นน้ำ นั่งปิกนิก สัมผัสวิถีชุมชน ดูอู่ต่อเรือกอและ อันเป็นเสมือนจิตวิญญาณของพี่น้องชาวมุสลิมท้องถิ่นแห่งนราธิวาส

(4) อ่าวมะนาว ต.กะลุวอเหนือ อ.เมืองนราธิวาส ‘หาดสงบงาม ณ ที่ท้องฟ้าจุมพิตผืนน้ำ’ 

ได้ยินชื่ออ่าวมะนาว อย่าสับสนกับอ่าวมะนาวที่ประจวบคีรีขันธ์เด็ดขาด เพราะอ่าวมะนาวนราธิวาสนั้น สวยบริสุทธิ์ เงียบสงบ มีเสน่ห์ในแบบของตัวเอง อ่าวมะนาวทอดตัวอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติอ่าวมะนาว-เขาตันหยง หาดนี้ยาวกว่า 4 กิโลเมตร สลับกับโขดหินเป็นช่วงๆ โดยด้านหนึ่งติดกับเขาตันหยงและพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ด้วย ริมหาดมีแนวต้นสนและป่าชายหาด (Beach Forest) ร่มรื่น เหมาะนั่งปิกนิก แต่ชายหาดน้ำลึกและคลื่นแรง ลงเล่นต้องดูความปลอดภัยดีๆ
(5) วัดชลธาราสิงเห (วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย) หมู่ 3 ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ‘หมุดหลักปักเขตแดนสยาม ความงามแห่งพุทธศิลป์ริมน้ำตากใบ’ 

เป็นหนึ่งในวัดสำคัญ เพราะเกี่ยวข้องกับการปักปันเขตแดนระหว่างไทย-มาเลเซีย ในยุคอาณานิคมอังกฤษ รัฐบาลไทยใช้วัดนี้ รวมถึงพุทธศาสนา และพุทธศิลป์ เป็นเครื่องต่อรอง อังกฤษจึงไม่ยึดผืนดินส่วนนี้ไป วัดชลธาราสิงเหตั้งอยู่ริมแม่น้ำตากใบ มองไปทางขวาจะเห็นสะพานคอยร้อยปีที่ทอดเข้าสู่เกาะยาวได้ชัดเจน ภายในวัดมีศาลาไม้ลวดลายสีสันงดงาม เป็นพิพิธภัณฑ์เก็บรักษาสมบัติโบราณล้ำค่าของท้องถิ่น และมีพระอุโบสถหลังเก่าสมัยรัชกาลที่ 5 งดงามด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือพระภิกษุชาวสงขลา ประดิษฐานพระประธานปิดทองอร่าม จนแลไม่เห็นพระโอษฐ์สีแดง และพระเกศาสีดำ วัดนี้บรรยากาศเงียบสงบดีมาก ไปนั่งเล่นที่ศาลาไม้ริมแม่น้ำตากใบ ชื่นชมธรรมชาติได้ชิลๆ
(6) สะพานคอยร้อยปี อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ‘สะพานแห่งความโรแมนติก เชื่อมวิถีสองฝั่งลำน้ำตากใบ’ 

สะพานคอยร้อยปี ทอดเข้าสู่ชุมชนบนเกาะยาว เกาะที่ด้านหนึ่งติดแม่น้ำตากใบ อีกด้านติดทะเล มีหาดทรายขาวนวลน่าเที่ยว แต่กว่าจะมีการสร้างสะพานให้คนสัญจรสะดวก จากเกาะยาวข้ามมาฝั่งที่ทำการอำเภอตากใบ ก็ต้องรอกันนานถึง 100 ปี จึงเป็นที่มาของชื่อสะพานนี้ ขอบกว่าบรรยากาศบนสะพานสวยมาก อากาศสดชื่น เห็นแม่น้ำตากใบไหลเอื่อยๆ เย็นชื่นใจ ปัจจุบันสะพานไม้เก่า ยาว 345 เมตร เคียงคู่ด้วยสะพานปูนใหม่เอี่ยม เชื่อมโยงธรรมชาติและวิถีชีวิตสองฝากฝั่งเข้าด้วยกันอย่างสนิทแนบ
(7) ปลากุเลาเค็ม อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ‘สุดยอดอาหารถิ่น ที่ใครมากินก็ต้องติดใจ’ 

ปลากุเลา เป็นปลาทะเลชั้นดีมีราคา ที่คนนราธิวาสนิยมนำมาทำเป็นปลากุเลาเค็มแดดเดียว ทอดกินกับข้าว บีบมะนาวนิด ซอยหอมแดง โรยหน้าด้วยพริกขี้หนูลงไปหน่อย แหม แค่คิดก็น้ำลายสอแล้ว กินกับข้าวสวยร้อนๆ นะ เรียกว่าต้องเติมข้าวจานสองจานสามโดยไม่รู้ตัวเชียว มีชื่อเสียงที่สุดคือ ปลากุเลาเค็มอำเภอตากใบ เราสามารถซื้อขึ้นเครื่องบินกลับบ้านได้ เพราะเขามีกรรมวิธีแพ็กห่อพลาสติกและใส่กล่องเก็บกลิ่นอย่างดี มีหลายร้านให้เลือก เช่น ร้านอ้อยูงทองปลากุเลา โทร. 0-7358-1044, 09-2996-5641 และ ร้านปลากุเลาเค็ม คุณประสิทธิ์ ชัยกิจวัฒนะ โทร. 08-1766-3455 เป็นต้น
(8) สวนอาหารนัดพบยูงทอง อ.ตากใบ จ.นราธิวาส

เป็นร้านอาหารขึ้นชื่อ คล้ายร้านรับแขกบ้านแขกเมืองของอำเภอตากใบ เปิดมานานหลายสิบปี มีเมนูท้องถิ่นเด็ดๆ ให้ชิมเพียบ เช่น ปลากุเลาเค็มตากใบทอด, ยำมะม่วงเบา, ยอดใบเหลียงผัดไข่, ปลาเนื้ออ่อนทอดกระเทียม, แกงส้มปลากะพงยอดมะพร้าว, กุ้งต้มกะทิ, น้ำบูดูกุ้ง และอื่นๆ อีกเพียบ ปิดท้ายด้วยขนมหวานท้องถิ่นหาชิมยาก อย่างตะโก้มัน และขนมชั้นรูปดอกไม้หลากสี (โทร. 0-7358-1141, 08-7290-0558 เปิดเวลา 11.00-19.00 น.)
(9) ตลาดน้ำยะกัง ริมคลองยะกัง อ.เมืองนราธิวาส ‘เกี่ยวก้อยกันไปนั่งชิลในตลาดน้ำสุดเก๋’ 

ตลาดน้ำเปิดใหม่เก๋ไก๋ในตัวเมืองนราธิวาส เปิดเฉพาะวันศุกร์และเสาร์ ตั้งแต่เวลา 12.00-21.00 น. ในชุมชนยะกัง ซึ่งเป็นชุมชนโบราณคู่เมืองนรา มาวันนี้คนในชุมชนร่วมใจปรับโฉมแหล่งท่องเที่ยวใหม่ โดดเด่นด้วยร้านขายตามทางเดินเลาะริมน้ำยาวกว่า 700 เมตร ซึ่งมีอาหารและขนมโบราณกว่า 100 ชนิดให้ชิม เพื่อเป็นการสืบสานตำนานขนมโบราณเมืองนราไม่ให้สูญหาย ส่วนที่นั่งชิลของนักท่องเที่ยวก็เก๋ยิ่งกว่า เพราะสร้างเป็นสะพานไม้และที่นั่งยืนลงไปในน้ำ ส่วนยามค่ำคืนจะมีการแสดงพื้นบ้านหลากหลายให้ชม (10) ขนมอาเก๊าะ บ้านยะกัง อำเภอเมืองนราธิวาส ‘ขนมไข่ไส้หม้อแกง กินอร่อย อิ่มนาน’

อาเก๊าะ เป็นขนมพื้นบ้านแท้ๆ ของ 3 จังหวัดชายแดนใต้ สันนิษฐานกันว่า คำว่า ‘อาเก๊าะ’ อาจเพี้ยนมาจากคำว่า ‘อาเก๊ะ’ ที่แปลว่า ‘ยกขึ้น’ จากกรรมวิธีการผลิตขนมที่ต้องยกไฟด้านบนลงมาทุกครั้งเมื่อขนมสุกแล้ว ขนมชนิดนี้นิยมทำกันมากในช่วงเทศกาลถือศีลอดของพี่น้องชาวมุสลิม เพราะเป็นขนมกินอิ่มที่ให้พลังงานสูง รูปร่างคล้ายขนมไข่ ด้านนอกค่อนข้างกรอบ แต่เมื่อบิไส้ด้านในดูจะนิ่มหยุ่มคล้ายขนมหม้อแกง ส่วนผสมมีไข่ แป้ง ตะไคร้ (ดับกลิ่นคาวของไข่) นำ้ตาลมะพร้าว และน้ำกะทิคั้นสด ทั้งหมดคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน หยอดลงในเบ้าโลหะที่วางอยู่เหนือเตาไฟ ซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่เพียงเจ้าเดียวที่ยังใช้กาบมะพร้าวเป็นเชื้อเพลิง ทำให้ขนมอาเก๊าะหอมน่าทาน ผู้สืบทอดขนมอาเก๊าะโบราณเจ้าสุดท้าย คือ นายฟิตรี เจะมะ (โทร. 09-3675-1332) (11) กลุ่มผลิตภัณฑ์กระจูด บ้านทอนอามาน ต.โคกเคียน อ.เมืองนราธิวาส  ‘ด้วยสองมือและหัวใจ ถักทอจากเส้นสายสู่งานศิลป์’ 

กระจูด เป็นพรรณไม้จำพวกกกที่ขึ้นอยู่มากในป่าพรุแถบภาคใต้ ชาวบ้านนิยมนำมาทอเป็นเสื่อ กระบุง ตะกร้า ใช้กันในครัวเรือนมาเนิ่นนาน เช่นเดียวกับชาวบ้านทอนอามาน ที่ตั้งกลุ่มทำผลิตภัณฑ์กระจูดสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นขึ้นเมื่อ พ.ศ.2543 โดยใช้เวลาว่างหลังจากทำประมง มาช่วยกันทำผลิตภัณฑ์กระจูดที่มีทั้งรูปแบบดั้งเดิมและแบบที่พัฒนาขึ้นใหม่ให้ทันสมัย จนกลายเป็น OTOP นราธิวาส ซึ่ง คุณพัชรินทร์ บินเจ๊ะมิง นอกจากจะเป็นผู้นำกลุ่มแล้ว ยังเป็นครูสอนในโครงการศิลปาชีพของสมเด็จพระราชินีด้วย สนใจเปิดให้เข้าชมและช้อปปิ้งทุกวัน โทร. 08-6289-6671, 0-7356-5070 (12) ผ้าซาโลมาบาติกลายโบราณ อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ‘อาภรณ์เลอค่าที่เต็มไปด้วยเรื่องราว’

ผ้าบาติกและผ้าปาเต๊ะ เป็นผ้านุ่งพื้นบ้านที่พี่น้องชาวมุสลิมสวมใส่กันในชีวิตประจำวัน ซึ่งร้านซาโลมาบาติกที่เปิดมากว่า 50 ปี ได้มีการพัฒนารูปแบบลวดลายให้ทันสมัยขึ้น โดยคิดใหม่ทำใหม่ นำลวดลายโบราณจากการประดับตกแต่งมัสยิดของท้องถิ่น มาดัดแปลงพิมพ์เพนท์ลงบนผืนผ้า ทุกวันนี้นิยมใช้กันทั้งในท้องถิ่นและส่งออกต่างประเทศด้วย ไปถึงนราธิวาสแล้วห้ามพลาด ต้องมีไว้ในครอบครองสักผืน สนใจติดต่อ www.facebook.com/saloma.patek.9 หรือ โทร. 09-4609-2411
(13) ผ้ายาดาบาติก ‘สีสันสดใส จากใจรักสู่ผืนผ้าสวย’ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส

Yada Batik เป็นร้านขายผ้าบาติกที่มีชื่อเสียงในนราธิวาส ด้วยรูปแบบที่แปลกใหม่ถูกใจวัยรุ่น สีสันสดใส และมีผลิตภัณฑ์หลากหลายให้เลือกใช้ได้ในหลายโอากาส จุดเด่นของผ้าบาติกร้านนี้คือ ใช้เนื้อผ้าฝ้ายผสมไหม ใส่แล้วเย็นสบาย ระบายอากาศดี เหมาะกับเมืองร้อนอย่างบ้านเรา อีกอย่างคือสีที่ใช้จะไม่ซีดจางง่าย และที่สำคัญสุดๆ คือ เป็นงานทำมือทุกชิ้น เราสามารถขอเข้าชมการผลิตได้ โดยเขาจะใช้แม่พิมพ์โลหะและแม่พิมพ์ไม้ สนใจติดต่อ www.facebook.com/YadaBatikNarathiwat/ หรือ โทร. 08-1898-7035
(14) พิพิธภัณฑ์เมืองนราธิวาส อ.เมืองนราธิวาส  ‘ศูนย์รวมเรื่องเล่าความเป็นมา จากเมืองบางนราสู่นราธิวาส’ 

ตั้งอยู่ที่ถนนพิชิตบำรุง ต.บางนาค ในเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส โดยใช้อาคารศาลากลางจังหวัดหลังเก่า มาพัฒนาจัดแต่งใหม่เป็นพิพิธภัณฑ์บอกเล่าประวัติความเป็นมา ศาสนา ชาติพันธุ์ ชนเผ่า งานศิลปหัตถกรรม เรือกอและ กีฬาปักษ์ใต้ อาหารถิ่น ฯลฯ รวมถึงวิถีชีวิตของชาวนราธิวาสในทุกแง่มุมอย่างละเอียด อาคารมี 2 ชั้น ชั้นล่างแบ่งเป็น 6 ห้อง ส่วนชั้นบนแบ่งเป็น 8 ห้อง นอกจากนี้ยังมีห้องเฉลิมพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงพระราชทานงานศิลปาชีพสู่นราธิวาสด้วย (พิพิธภัณฑ์ฯ เปิดวันพุธ-อาทิตย์ เวลา 10.00-16.00 น. โทร. 0-7351-2207) (15) พิพิธภัณฑ์คัมภีร์อัล-กุรอาน อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส ‘สมบัติล้ำค่าแห่งแผ่นดิน ชมอัล-กุรอานสวยที่สุดในโลก!’ 

อัล-กุรอาน มาจากรากศัพท์ภาษาอาหรับแปลว่า ‘การอ่าน หรือ การรวบรวม’ เป็นคัมภีร์สุดท้ายที่อัลลอฮ์ได้ประทานแก่นบีมุอัมมัด ซึ่งชาวมุสลิมถือว่าเป็นนบีคนสุดท้าย และการจะเป็นชาวมุสลิมที่ดีได้ก็ต้องศรัทธาในพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์นี้ ปัจจุบันที่ โรงเรียนสมานมิตรวิทยา (ปอเนาะศาลาลูกไก่) ได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ชั่วคราว เก็บรักษาคัมภีร์อัล-กุรอานโบราณ อายุ 150-1,100 ปี ไว้มากถึง 78 เล่ม (กำลังมีการสร้างพิพิธภัณฑ์ใหม่ในบริเวณใกล้ๆ กัน คาดว่าจะเสร็จภายใน พ.ศ. 2561) ทั้งหมดเป็นปกหนังสัตว์ เนื้อกระดาษโบราณและเปลือกไม้ เขียนตัวอักษรด้วยหมึกสีดำเป็นภาษายาวีและภาษาอาหรับโบราณ บางเล่มใช้สี 5 สี ประดับทองคำเปลว งดงามมาก โดยมีอยู่เล่มหนึ่งได้รับคัดเลือกให้เป็น ‘คัมภีร์อัล-กุรอานสวยที่สุดในโลกมุสลิม ตั้งแต่ปี 2016’ จากสถาบันหอสมุดสุไลมานียะห์ นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี เพราะมีการประดับทองคำเปลว และประดับลวดลายถึง 30 ลาย เขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2256 โดยรูสะมีแล จังหวัดปัตตานี (สนใจเข้าชม โทร. 08-4973-5772, 09-5202-4342)
(16) มัสยิด 300 ปี บ้านตะโละมาเนาะ ต.ลุโบะสาวอ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ‘สุดยอดงานสถาปัตย์แห่งศรัทธา งามข้ามกาลเวลาไม่เคยเสื่อมคลาย’ 

ชาวบ้านแถบนั้นเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ‘มัสยิดวาดีลฮูเซ็น หรือมัสยิดตะโละมาเนาะ’ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2167 โดยนายวันฮูเซ็น ฮัส-ซานาวี ผู้อพยพมาจากบ้านสะนอยานนา จังหวัดปัตตานี เดิมทีใช้ใบลานมุงหลังคา ต่อมาใช้กระเบื้องว่าว ตัวมัสยิดสร้างด้วยสถาปัตยกรรมจีนประยุกต์ผสมมลายู โดยสร้างด้วยไม้ตะเคียนทั้งหลัง จุดเด่นที่ไม่เหมือนใครคือ สร้างเป็นอาคารสองหลังเชื่อมถึงกัน, มีฐานรองรับหลังคาหน้าจั่ว และหอขาน หรือหออาซาน สร้างด้วยศิลปะจีนประยุกต์งามแปลกตา นักท่องเที่ยวอย่างเราๆ ชมได้แค่ภายนอก แต่ถ้าอยากชมด้านในต้องขออนุญาตโต๊ะอิหม่ามประจำหมู่บ้านก่อน เพราะถือเป็นโบราณสถานที่สำคัญยิ่งของจังหวัดนราธิวาส
(17) พุทธอุทยานเขากง ต.ลำภู อ.เมืองนราธิวาส  ‘นมัสการพระพุทธรูปกลางแจ้ง งดงามและใหญ่ที่สุดในแดนใต้’ 

นราธิวาสเป็นเมืองสงบ เป็นดินแดนแห่งความเชื่อและศรัทธาของหลายศาสนา ที่มาอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ทั้งอิสลาม พุทธ จีน และอื่นๆ ใครไปสัมผัสก็ต้องประทับใจ อย่างที่ ‘วัดเขากง’ อันเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธทักษิณมิ่งมงคล องค์พระพุทธรูปกลางแจ้งที่ถือว่าสวยงามและมีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคใต้ องค์พระสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กประดับกระเบื้องโมเสกสีทองอร่าม ศิลปะสกุลช่างอินเดียใต้ หน้าตักกว้าง 17 เมตร สูงถึง 24 เมตร ประดิษฐานอยู่บนเนินเขาลูกย่อมๆ แลโดดเด่นน่าศรัทธาอย่างยิ่ง
(18) พระพิฆเนศเมืองนรา ต.บางนาค อ.เมืองนราธิวาส  ‘ตื่นตาพระพิฆเนศงามที่สุดในภาคใต้’ 

สร้างขึ้นด้วยความศรัทธาเปี่ยมล้นของ คุณอินดาร์แซล บุศรี เจ้าของกิจการห้างดีวรรณพาณิชย์ในเมืองนราธิวาส เพราะตัวท่านเลื่อมใสศรัทธาในองค์พระพิฆเนศ ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปะ ความเมตาและความสำเร็จ อีกทั้งท่านต้องการตอบแทนบุญคุณแผ่นดินไทยที่ได้อาศัยมากว่า 60 ปี เพื่อให้องค์พระพิฆเนศเป็นที่สักการะบูชาสำหรับผู้ที่นับถือ จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมแห่งหนึ่งมาจนถึงปัจจุบัน องค์พระพิฆเนศนี้มีขนาดหน้าตักกว้าง 7 เมตร สูงถึง 16 เมตร ประทับนั่งในท่าลลิตาสนะ สวมศิลาภรณ์มงกุฎประดับโมเสคแก้วหลากสี งวงเยื้องไปทางขวาแล้วเวียนกลับมาทางซ้ายขององค์ เหนือพระนาคีมีสายธุรำเป็นงูแผ่พังพานใต้พระถันด้านซ้าย ส่วนงาข้างซ้ายนั้นหักเพื่อให้นำสิ่งไม่ดีออกไป ขณะที่พระหัตถ์ขวาบนถือดอกบัวเป็นสัญลักษณ์แทนสติปัญญา พระหัตถ์ขวาล่างถือประคำแสดงท่าประทานพรให้ความสำเร็จ พระหัตถ์ซ้ายบนถือปรศุและขอช้างรวมกันเป็นสัญลักษณ์ของการฟันฝ่าอุปสรรค ให้ความคุ้มครองและเดินไปสู่ความรู้โดยปราศจากมายา พระหัตถ์ซ้ายล่างถือชามขนมโมทกะเป็นสัญลักษณ์รางวัลแห่งความเจริญรุ่งเรือง
(19) ศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ บ้านโต๊ะโมะ ต.ภูเขาทอง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส ‘ต้นทางแห่งศรัทธาของลูกมังกร ใกล้เหมืองโต๊ะโม๊ะ’ 

ที่นี่คือ ศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ (เจ้าแม่ทับทิม) ดั้งเดิม ซึ่งชาวจีนที่อพยพเข้ามาร่อนทองจากมาเลเซีย ช่วยกันก่อสร้างขึ้น ในยุคที่ฝรั่งเศสได้สัมปทานทำเหมืองทอง นายช่างหัวหน้าเหมืองชื่อ ‘กัปตันคิว’ ไม่เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ หลายครั้งร่างทรงเจ้าแม่ทำนายไม่ให้ขุด ก็ยังดื้อรั้น จึงเกิดดินถล่มทับคนงานตายนับร้อย กัปตันคิวจึงเดินทางไปเมืองจีนเพื่อนำองค์จำลองเจ้าแม่กลับมาประดิษฐานไว้ที่ศาลในอำเภอสุคิริน ต่อมาเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เหมืองทองต้องปิดตัวลง ผู้คนแตกกระสานซ่านเซ็น เจ้าแม่จึงได้ไปเข้าฝันนายสรรกุล กับเถ้าแก่กังร้านบึงจีบฮวด พ่อค้าในอำเภอสุไหงโก-ลก ให้ช่วยกันเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหาที่ดินและเรี่ยรายทรัพย์สร้างศาลเจ้าแม่ขึ้นใหม่ที่อำเภอสุไหงโก-ลก ทุกวันนี้ชาวบ้านในพื้นที่ รวมถึงชาวจีนฝั่งมาเลเซียก็ยังเคารพศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้แม่มาก จนเรียกขานว่า ‘เจ้าแม่โต๊ะโมะ’ ตามที่ตั้งของศาลนั่นเอง
(20) ศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ‘สืบสานตำนานเจ้าแม่ จากสุคิรินถึงถิ่นสุไหงโก-ลก กลิ่นอายแห่งศรัทธาไม่เคยจาง’ 

เป็นศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะแห่งที่สอง ซึ่งย้ายมาจากอำเภอสุคิริน (ใกล้เหมืองทองโต๊ะโมะ) หลังจากที่ฝรั่งเศสหยุดทำเหมืองทอง และเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ตัวศาลตั้งอยู่ใจกลางเมืองในย่านเศรษฐกิจของอำเภอสุไหงโก-ลก มีชาวไทยและจีนจากฝั่งมาเลเซียเข้ามาสักการะจำนวนมากทุกวัน โดยเฉพาะในวันที่ 23 เดือน 3 ของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันเกิดของเจ้าแม่ จะมีพิธีฉลองใหญ่ ผู้คนเข้าร่วมนับหมื่น (21) เหมืองทองโต๊ะโมะ ต.ภูเขาทอง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส ‘เดินป่าผจญไพร ค้นหาหุบเขาทองคำที่ยังมีลมหายใจ’ 

ไม่น่าเชื่อเลยว่าในป่าดงดิบรกชัฏลึกเร้นของอำเภอสุคิริน บนเทือกเขาโต๊ะโมะและเขาลิโซ ห่างจากชายแดนไทย-มาเลเซีย เพียง 800 เมตร จะเป็นที่ตั้งของเหมืองทองคำเก่าอันมีชื่อเสียงลือลั่นไปทั้งประเทศ ในนาม ‘เหมืองโต๊ะโมะ’ ประวัติเล่าว่าเร่ิมต้นในอดีตมีชาวจีนคนหนึ่งชื่อ นายฮิว ซิ้นจิ๋ว นำคน 50 คน จากชายแดนมาเลเซีย เดินทางร่อนทองขึ้นมาตามลำห้วยลิโซ ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำสายบุรี พวกเขาร่อนทองได้มากมายเมื่อเข้าใกล้ต้นน้ำ จึงเกิดยุคตื่นทอง ผู้คนนับพันเข้ามาตั้งหมู่บ้าน รัฐบาลไทยจึงตั้ง นายอาฟัด ลูกชายของนายฮิว แซ่จิ๋ว เก็บภาษีทองคำ แล้วให้ดำรงตำแหน่ง หลวงวิเศษสุวรรณภูมิ ต่อมาในยุคหลังฝรั่งเศสได้มาขอสัมปทานทำเหมือง ได้ทองคำเนื้อดีไปมากมาย และเมื่อล่วงถึงยุคโจรจีนผู้ก่อการร้ายมลายา เหมืองทองโต๊ะโมะก็ปิดตัวลงอย่างถาวร มีเพียงชาวบ้านละแวกนั้นเข้าไปร่อนทองหาค่ากับข้าวนิดๆ หน่อยๆ ส่วนอุโมงค์ลำเลียงยาว 1 กิโลเมตร ซึ่งเคยทะลุจากไทย-มาเลเซียได้ ก็ถูกปิดลงเช่นกัน ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ประวัติเหมืองทองคำที่เคยยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคใต้ของเรา (22) น้ำตกปาโจ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส  ‘สายน้ำใส ธรรมชาติยิ่งใหญ่ พงไพรเขียวพิสุทธิ์’ 

น้ำตกปาโจเป็นน้ำตกใหญ่กลางป่าดิบอันชุ่มชื้นและอุดมสมบูรณ์ ของอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี น้ำตกชั้นที่ 1 ถือว่าสวยสุด เพราะเป็นผาหินลาดชันลงมากว่า 60 เมตร มีน้ำหลากไหลให้ชมและให้ลงแช่เล่นตลอดปี ยิ่งใหญ่มาก ที่สำคัญบริเวณผืนป่าข้างน้ำตกยังมี ‘ใบไม้สีทอง’ หรือ ‘ย่านดาโอ๊ะ’ เลื้อยพันอยู่อย่างสวยงาม นับเป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่นที่ค้นพบครั้งแรกของโลกที่นี่ เมื่อ พ.ศ. 2531 สร้างความงามแปลกตา คุณค่า และชื่อเสียงให้แก่ป่าดิบชื้นผืนนี้อย่างมาก (23) ต้นกะพง (สมพง) ยักษ์ 30 คนโอบ อายุกว่า 100 ปี ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา ต.ภูเขาทอง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส ‘อลังการไม้ยักษ์กลางพงไพร ไม่ไปไม่รู้’ 

ชวนกันไปเดินป่าระยะสั้นๆ แค่ไม่กี่ร้อยเมตร ข้ามลำห้วยใสๆ และป่าดิบชื้นสวยๆ เข้าไปชมต้นสมพงยักษ์ ยืนต้นตระหง่านกว่า 30 เมตร ทะลุเรือนยอดไม้อื่นขึ้นไปอย่างโดดเด่น โดยมีพูพอนขนาดใหญ่ตรงโคนต้นแผ่กว้างคล้ายปีก ค้ำยันลำต้นสูงลิบนี้เอาไว้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ฯ ทรงเคยเสด็จมาทอดพระเนตรแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2543
(24) ป่าพรุโต๊ะแดง (ศูนย์ศึกษาและวิจัยธรรมชาติป่าพรุสิรินธร) อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ‘ป่าพรุผืนใหญ่สุดแดนสยาม สุดยอดอาณาจักรลึกเร้น แหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพ’ 

ป่าพรุ (Swamp Forest) คือระบบนิเวศน์พิเศษแสนเปราะบางที่พบไม่มากในเมืองไทย ป่าพรุโต๊ะแดงเนื้อที่กว่า 120,000 ไร่แห่งนี้ล่ะ คือป่าพรุผืนใหญ่ที่สุดของสยาม เก็บรักษาพืชพรรณและสัตว์ป่านานาชนิดเอาไว้ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาธรรมชาติ เขาจัดทำเส้นทางเดินป่าเป็นสะพานไม้ยกระดับอย่างดี พร้อมด้วยป้ายสื่อความหมายธรรมชาติ และจุดพัก ตลอดทางเราจะได้สัมผัสป่าพรุที่ยังมีชีวิต เป็นป่าที่มีน้ำขัง ทับถมด้วยเศษใบไม้ซากพืชซากสัตว์ จนน้ำและดินมีความเป็นกรดสูง ทว่าน้ำไม่เคยเน่าเสีย เพราะมีการไหลเวียนตลอด จึงมีปลาอาศัยอยู่ได้ โดยเฉพาะปลากะแมะ เสือปลา นาก ฯลฯ ส่วนพืชเด่นๆ เช่น หมากแดง กะพ้อ ระกำ หลุมพี หวาย หลาวชะโอน ฯลฯ ดูๆ ไปคล้ายป่าอะเมซอนเมืองไทยไม่มีผิดเลยนะ (25) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.กะลุวอเหนือ อ.เมืองนราธิวาส ‘ต้นแบบวิถีพอเพียง ทรงพระราชทานศาสตร์พระราชา เพื่อความสุขแห่งปวงประชาอย่างยั่งยืน’ 

เป็นศูนย์การพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 1 ใน 6 ศูนย์ฯ ของไทย ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงจัดตั้งขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาที่ราษฎร์เผชิญอยู่ อย่างที่ศูนย์ฯ พิกุลทอง นี้ พระองค์ทรงต้องการแก้ปัญหาเรื่อง ดินเปรี้ยวจัด เพื่อให้ราษฎร์ธสามารถใช้พื้นที่ปลูกข้าวได้ จึงทรงทดลอง ‘แกล้งดิน’ ใช้น้ำสลับกับปูนขาวแก้ปัญหาดินเปรี้ยวได้สำเร็จ ด้วยพระอัจฉริยภาพอย่างสูง ปัจจุบันศุนย์ฯ พิกุลทองเป็นสถานที่ฝึกอบรมดูงานครบวงจรตามแนวพระราชดำริ ของพระองค์ท่าน ทั้งโครงการแกล้งดิน, หญ้าแฝก, การจัดการน้ำ, เลี้ยงปลา, ปศุสัตว์, ปลูกข้าว, ปลูกไม้ผลนานาชนิด, ไบโอดีเซล, งานป่าไม้ ฯลฯ ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ราษฎร์ที่สนใจนำไปปฏิบัติโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ส่วนนักท่องเที่ยวก็เข้าเยี่ยมชมได้ทุกวัน แต่ถ้ามาเป็นหมู่คณะ ควรติดต่อล่วงหน้านะจ๊ะ โทร. 0-7363-1038 เขามีรถพ่วงพร้อมวิทยากรพานำชมฟรีจ้า (26) พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ต.กะลุวอเหนือ อ.เมืองนราธิวาส ‘บ้านของพระราชา-พระราชินี สถานที่ฝึกอาชีพแด่ราษฎร’ 

เป็นพระตำหนักทรงงาน ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2516 บนเขาตันหยงมัส เพื่อใช้เป็นที่ประทับทรงงานและแปรพระราชฐานของพระองค์ รวมถึงสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ โดยรอบพระตำหนักประดับด้วยพรรณไม้ดอกไม้ใบงดงามตลอดปี อีกทั้งยังมีส่วนอาคารฝึกศิลปาชีพให้ราษฎรด้วย โดยเฉพาะเครื่องปั้นดินเผา เครื่องจักสาน และเซรามิค นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมบริเวณภายนอก หรือติดต่อเป็นหมู่คณะเพื่อเข้าชมงานศิลปาชีพได้ (27) อาหารเช้าเมืองนราธิวาส

ด้วยความที่นราธิวาสเป็นเมือง ‘พหุวัฒนธรรม’ คือมีชนหลายเชื้อชาติศาสนาอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสงบสันติมาเนิ่นาน ทั้งมุสลิม จีน และไทย สะท้อนออกมาในอาหารที่หลากหลายด้วย โดยเฉพาะอาหารเช้าที่ช่วยให้การท่องเที่ยวและการเริ่มต้นวันใหม่สดใสมีพลัง นอกจากอาหารไทยพวกข้าวแกงปักษ์ใต้ต่างๆ แล้ว ที่โดดเด่นคืออาหารมุสลิม ที่มีทั้งโรตีจิ้มน้ำแกงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำแกงถั่ว แกงเนื้อ แกงไก่ แกงปลา หรือจะกินข้าวหุงกับมะพร้าว เรียกว่า ‘นาซิดาแฆ’ กินกับแกงไก่ แกงเนื้อ แกงปลา แกงแพะ ล้วนเป็นอาหารอิ่มอร่อยเปี่ยมคุณค่า แต่ถ้าตื่นเช้าก็อาจจะอดนะจ๊ะ ฮาฮาฮา
(28) ร้านแอโรตี อำเภอเมืองนราธิวาส ‘นั่งสังสรรกันในร้านโรตีสุดชิลยามค่ำ’

เป็นร้านโรตีขึ้นชื่อที่เปิดในยามค่ำเท่านั้น ไปจนถึงสี่ห้าทุ่มบางทีก็ขายหมดแล้วเพราะลูกค้าแน่นมาก ร้านนี้ร่อยจริงจังมีเมนูให้เลือกหลากหลาย ทั้งโรตีน้ำแกง โรตีนมสด โรตีไข่ โรตีมะตะบะ โรตีกล้วย โรตีโอวัลติน ฯลฯ กินกับเครื่องดื่มร้อนเย็นพวกชากาแฟต่างๆ ใครที่ไม่กินหวานต้องสั่งให้ชัดเจนด้วย เพราะถ้าไม่สั่งให้ดีอาจได้หวานเจี๊ยบ ฮาฮาฮา ยามค่ำถ้ายังไม่ง่วงไม่รู้จะไปไหน ก็ชวนเพื่อนออกมานั่งพูดคุยสรวนเสเฮฮากันที่ร้านแอโรตีนะจ๊ะ (29) ร้านฮงฮวด อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ‘อาหารเช้าสไตล์จีน-มุสลิม แสนอร่อย’

เป็นร้านอาหารยามเช้าที่น่าลิ้มลองอีกแห่งหนึ่งในตัวเมืองสุไหงโกลก เพราะมีทั้งอาหารเช้าสไตล์จีนและมุสลิมให้ชิมเพียบ ไม่ว่าจะเป็นซาลาเปาไส้ต่างๆ และน้ำชากาแฟตามแต่ชอบใจ แถมยังมีข้าวกินกับแกงต่างๆ สไตล์มุสลิมด้วย เรียกว่าถ้าขยันตื่นเช้า มานั่งร้านนี้เป็นได้อิ่มแปล้แน่ๆ เชียว นอกจากนี้ฝั่งตรงข้ามยังมีสาขาใหม่ เป็น ‘ร้านฮงฮวด เบเกอร์รี่’ ด้วย (โทร. 07-361-1290) เปิดตั้งแต่ 7.00-12.00 น.
(30) ร้านอ้วนบะกุ๊ดเต๊ อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ‘อาหารเช้าสุขภาพสไตล์จีนรสเด็ด’

ร้านมีชื่อเสียงที่เปิดขายบะกุ๊ดเต๊มาหลายสิบปี ความอร่อยของเขาอยู่ที่น้ำซุปเครื่องยาจีนที่เข้มข้นกำลังดี ซดคล่องคอ รสไม่จัดเกินไป เนื้อหมูนุ่ม และใส่ผักมาให้กำลังดีเลย กินกับปาท่องโก๋หรือข้าวสวยร้อนๆ สั่งชุดเล็กราคา 100 บาท ก็อิ่มแล้ว แถมเป็นอาหารบำรุงสุขภาพด้วย เริ่มต้นยามเช้าด้วยบักกุ๊ดเต๊ร้านนี้ เจ๋ง! โทร. 08-1698-9234 ร้านเปิดวันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 7.00-12.00 น.

SPECIAL THANKS โครการ ‘ซาลามัตชายแดนใต้’ จ.นราธิวาส-ยะลา-ปัตตานี

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ททท สำนักงานนราธิวาส-ยะลา-ปัตตานี โทร. 0-7352-2411 , 0-7354-2345

เกาะจำ Ocean Beach Resort กระบี่ ความทรงจำดีๆ ที่น่าจดจำ

‘เกาะจำ’ เกาะที่ใครหลายคนหลงรักเมื่อได้สัมผัส และจากไปพร้อมกับ ‘ความทรงจำดีๆ’ ที่มีต่อธรรมชาติ หาดทราย ท้องทะเล และรอยยิ้มของผู้คน ด้วยว่าเกาะจำคือดินแดนอันพิสุทธิ์ เป็นส่วนตัว ยังคงความอุดมของธรรมชาติทั้งบนบกและในท้องทะเล

กว่า 500 ปีมาแล้ว ที่ชาวเลอูรักลาโว้ยกลุ่มแรกได้เดินทางโดยเรือลำน้อย มาตั้งรกรากอยู่บริเวณหัวเกาะจำ พวกเขาใช้ชีวิตเรียบง่าย ผูกพันอยู่กับเกลียวคลื่น หมู่ปลา และการขึ้นลงของกระแสน้ำในแถบนี้ ในเวลาต่อมาชุมชนค่อยๆ ขยายตัวไปสู่บ้านติงไหร และบ้านเกาะปูที่อยู่ไกลออกไป ทำให้เกาะจำคึกคักมีชีวิตชีวายิ่งขึ้น กระทั่งต่อมา ชาวมาเลเซียและชาวจีนที่โล้สำเภาเข้ามาค้าขาย ก็ได้ตั้งรกรากลงบนเกาะจำเช่นกัน เกิดเป็นความหลากหลายของชาติพันธุ์ อันเป็นเสน่ห์ของเกาะจำมาจวบทุกวันนี้

แม้ว่าเกาะจำจะมิใช่หมุดหมายหลักของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนจังหวัดกระบี่ ทว่านี่คือข้อดี ที่ช่วยเก็บรักษาความเป็นธรรมชาติ และวิถีชีวิตดั้งเดิมของผู้คนบนเกาะจำไว้ได้อย่างงดงาม ทุกวันนี้เรายังสามารถเข้าไปสัมผัสหาดทรายอันเงียบสงบ ปราศจากความวุ่นวาย ไร้ความอึกทึก เกาะจำจึงกลายเป็นหมุดหมายแห่งการมาพักผ่อน และช๊าตพลังชีวิตของเราอย่างแท้จริง ไม่ต่างจาก

สวรรค์ส่วนตัวที่แอบซ่อนอยู่ในหมู่เกาะทะเลกระบี่

การเดินทางสู่เกาะจำนั้นแสนง่ายดาย ถ้าไม่ซื้อแพ็กเกจทัวร์ของรีสอร์ทต่างๆ ก็สามารถเดินทางเอง

คือเมื่อลงเครื่องบินที่สนามบินนานาชาติกระบี่แล้ว สามารถต่อรถแท็กซี่จากสนามบิน ระยะทาง 25 กิโลเมตร สู่ท่าเรือแหลมกรวด อ.เหนือคลอง เพื่อลงเรือเมล์โดยสารที่มีบริการเกือบตลอดวัน (ค่าโดยสาร คนไทย 50 บาท / ชาวต่างชาติ 100 บาท) สู่เกาะจำที่ท่าเรือมูตู จากนั้นสามารถเหมารถสองแถวที่ท่าเรือไปยัง
หนึ่งในรีสอร์ทสวยที่สุดและกลมกลืนกับธรรมชาติที่สุดบนเกาะจำ ตั้งอยู่บนหาดติงไหร ‘เกาะจำ โอเชี่ยน บีช รีสอร์ท’ (Koh Jum Ocean Beach Resort) รีสอร์ทสวยที่สร้างกลมกลืนอยู่กับธรรมชาติ สายลม แสงแดด เกลียวคลื่น และความสงบงามของเกาะจำ ที่ยังคงบริสุทธิ์เหลือเกินบ้านพักของ Koh Jum Ocean Beach Resort มี 5 แบบ แต่ละแบบสร้างกลมกลืนกับแมกไม้ชายเขาและหาดทราย โดยเฉพาะบ้านเรือ (Boat House) 2 หลัง ที่เหมาะจะไปฮันนีมูนกันสุดๆต้นไทรใหญ่อายุกว่า 300 ปี ที่แผ่กิ่งก้านอยู่ภายในรีสอร์ท ถือเป็น Landmark สำคัญ และเป็นเหมือนจิตวิญญาณแห่งธรรมชาติ ที่ช่วยปกปักรักษาผู้คนที่นี่ให้อยู่รอดปลอดภัย

บ้านพัก 5 แบบ ของที่นี่ ประกอบด้วย Ocean View Superior Cottage,  Ocean View Deluxe Cottage, Ocean View Honeymoon Villa, Beach Front Boat House และ Beach Front Family 

ภายในบ้านพักแต่ละหลัง ใช้โทนสีอบอุ่นเป็นหลัก เพิ่มบรรยากาศให้น่าพัก อีกทั้งใช้วัสดุที่แลกลมกลืนกับธรรมชาติโดยรอบ ห้องฮันนีมูน ก็ต้องมีอะไรเก๋ๆ หวานๆ แบบนี้ประดับตกแต่งเมื่ออาทิตย์ลาลับ ราตรีค่อยๆ คืบคลานเช้ามา Koh Jum Ocean Beach Resort ก็สว่างไสวสวยงามด้วยแสงไฟมลังเมลือง เพิ่มเติมชีวิตชีวาให้กับผู้เข้าพักนอกจากทะเลจริงที่เราสามารถไปดำผุดดำว่ายได้แล้ว ที่นี่ยังมี สระว่ายน้ำขนาดใหญ่ ให้ได้สนุกกันทั้งครอบครัวด้วยนั่งเล่นปล่อยอารมณ์พร้อมเครื่องดื่มเย็นๆ สักแก้ว ที่สระว่ายน้ำของ Koh Jum Ocean Beach Resortนั่งเล่นบนชิงช้าหน้าหาด คือความสุขเล็กๆ อย่างหนึ่งที่ค้นพบ ณ Koh Jum Ocean Beach ResortOcean Spa พักผ่อนนอนนวดไทย ได้ฟังเสียงคลื่นไปด้วย น่าอิจฉาจริงๆ หาดติงไหร ด้านหน้า Koh Jum Ocean Beach Resort คือหนึ่งในจุดชมพระอาทิตย์ตกสวยที่สุดบนเกาะจำ มาพักที่ Koh Jum Ocean Beach Resort ไม่มีคำว่าน่าเบื่อแน่นอน เพราะตอนกลางวันมีกิจกรรมให้ทำมากมาย ทั้งการพายเรือคายัค, แพดเดิล บอร์ด, เดินป่าขึ้นจุดชมวิวบนยอดเขา, นั่งเรือสปีตโบ๊ทออกไปดำน้ำตื้นกันที่เกาะไผ่ เกาะยูง และหมู่เกาะพีพี แบบ One Day หรือ Half Day Trip เกาะไผ่ เป็นจุดดำน้ำที่ยังมีปะการังและฝูงปลานานาชนิดให้ชม
เที่ยวเกาะพีพีดอน
แวะไปจอดเรือชมอ่าวมาหยาจากด้านหน้าลิบๆ เพราะตอนนี้ยังปิดให้ธรรมชาติฟื้นตัว แบบไม่มีกำหนดหลังจากออกไปดำน้ำเล่นเที่ยวเกาะกันมาท้ังวัน ยามเย็นก็กลับสู่ Koh Jum Ocean Beach Resort อีกครั้ง นั่งชิลริมหาด พร้อมเครื่องดื่มที่โปรดปราน Dinner พร้อมเพื่อนๆ และคนรู้ใจ อิ่มอร่อยกับ Seafood จัดเต็ม ทั้งกั้ง กุ้ง ปูม้า หมึก ปลา และหอยชักตีน ที่ถือเป็น Signature Cuisine ของจังหวัดกระบี่กั้งตัวใหญ่ๆ จับกันมาสดๆ โดยชาวประมงพื้นบ้านที่รอบๆ เกาะจำนี่เองปูม้าตัวเขื่อง เนื้อแน่นอย่าบอกใครหอยชักตีนตัวใหญ่มาก เกาะจำยังมีให้ชิมเพียบเกาะจำเป็นแหล่งที่ยังคงพบกุ้งมังกรได้เสมอ เพราะท้องทะเลที่นี่อุดมสมบูรณ์ มีเพียงการประมงขนาดเล็ก ของชาวประมงชายฝั่งที่จับขายแบบพอเพียงเกาะจำถือเป็นบ้านของกั้งทะเลหลายชนิด ทั้งกั้งกระดาน, กั้งตั๊กแตน, กั้งนางฟ้า, กั้งลายเสือ ฯลฯ แต่อาจจะไม่ได้จับกันทุกวัน ถ้าอยากกินต้องสั่งชาวบ้านล่วงหน้าวิถีชีวิตของชาวบ้านบนเกาะจำ ยังกินอยู่อย่างเรียบง่ายพอเพียงจริงๆ และอิงอยู่กับทรัพยากรทางทะเลเป็นหลัก เกาะจำเป็นสังคมแบบพหุวัฒนธรรม คือมีคนหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสงบมาหลายชั่วอายุคน ทั้งชาวเล ชาวไทยจีน ชาวไทยมุสลิม แลชาวไทยพุทธ ป่าชายเลนของเกาะจำยังอุดมสมบูรณ์มาก จึงกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ และอนุบาลสัตว์ทะเลตามธรรมชาติ ซึ่งจะเติบโตไปเป็นกุ้งหอยปูปลาให้จับขายจับกินได้ไม่มีวันหมด ศาลเจ้าพ่อโต๊ะบุหรง เป็นศูนย์รวมจิตใจผู้คนบนเกาะจำมาเนิ่นนาน เพราะเป็นเสมือนผู้ปกปักรักษาผู้คนให้สงบสุขคิดจะเที่ยวกระบี่ครั้งต่อไป ถ้าไม่อยากไปแออัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวเดิมๆ ต้องไม่ลืมนึกถึง ‘เกาะจำ’ ความทรงจำดีๆ ที่มีให้เราเสมอสนใจติดต่อ Koh Jum Ocean Beach Resort เกาะจำ จ.กระบี่ โทร. 06-3079-0944 / www.kohjumoceanbeachresort.com / 

info@kohjumoceanbeachresort.com

12 ที่เที่ยวผจญภัย มุมมองใหม่ใน ‘สตูล’

1. ถ้ำเลสเตโกดอน อ.ทุ่งหว้า ‘ถ้ำลอดทะเลยาวที่สุดในเมืองไทย’ ความภูมิใจของ Geo Park สตูล

แหล่งท่องเที่ยวสุดตื่นเต้น กับการพายเรือคายัคในถ้ำลอดทะเลยาวที่สุดในเมืองไทย กว่า 4 กิโลเมตร ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง ถ้ำนี้เดิมชื่อถ้ำวังกล้วย มีการค้นพบฟันกรามของช้างสเตโกดอนโบราณ อายุกว่า 1.8 ล้านปี รวมถึงกระดูกบรรพบุรุษแรดและหมึกโบราณด้วย ภายในถ้ำเป็นปล่องให้เราพายเรือคายัคเข้าไปชมหินงอก หินย้อย เสาหิน บางจุดเป็นม่านหินย้อย (Flow Stone) ที่มีเกล็ดผลึกแร่แคลไซต์และซิลิก้า สะท้อนแสงไฟฉายของเราเป็นประกายระยิบระยับ ภายในถ้ำนี้ไม่ร้อนและไม่อับชื้น เพราะมีลมอ่อนๆ พัดผ่านอยู่เกือบตลอดเวลา (สนใจ ติดต่อล่วงหน้า โทร. 08-4858-5100 เพราะรับนักท่องเที่ยวแค่ 200 คน/วัน) 
2. ปราสาทหินพันยอด เกาะเขาใหญ่ อำเภอละงู ‘เวิ้ง Lagoon หินปูนมหัศจรรย์ในท้องทะเล’

เกาะเขาใหญ่ เป็นเกาะหินปูนกลางทะเลในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา นั่งเรือสปีตโบ๊ท ออกไปจากท่าเรือปากบาราเพียง 40 นาที เป็นที่ตั้งของ ‘ปราสาทหินพันยอด’ ซึ่งเป็นเกาะหินปูนสีเทายอดแหลมตะปุ่มตะป่ำเหมือนฟันเลื่อยอยู่กลางทะเล ส่วนฐานมีโพรงหินให้เราพายเรือคายัคลอดเข้าไปสู่ลากูนด้านใน จากนั้นสามารถเท่ียวต่อ โดยนั่งเรือหางยาวอ้อมไปอีกด้านของเกาะเขาใหญ่ สู่ ‘อ่าวฟอสซิล’ ซึ่งจะพบทั้งซากฟอสซิลนอร์ติลอยด์ (หมึกทะเลโบราณ) และไทรโลไบต์ (แมงดาทะเลโบราณ) ปรากฏอยู่บนหน้าผาหินอย่างชัดเจน แถมยังมีช่องหินรูปหัวใจให้เราถ่ายภาพคู่ด้วยอย่างเก๋ไก๋
3. สะพานข้ามกาลเวลา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา อำเภอละงู ‘ร่องรอยบนภูผาหิน และสุดยอดจุดชม Sunset’

บริเวณเขาโต๊ะหงายใกล้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา มีแหล่งท่องเที่ยวใหม่ในเชิงธรณีให้ชม คือ ‘สะพานข้ามกาลเวลา’ ที่มีกิมมิกเก๋ไก๋ สร้างเป็นสะพานเดินเลียบทะเลยาวเหยียด ไปชมหน้าผาหินสองสี ของสองช่วงเวลาทางธรณีของโลก คือมีหินทรายสีแดงในยุคแคมเบรียน (อายุ 542-488 ล้านปี) แทรกสลับอยู่กับหินปูนสีเทายุคออร์โดวิเชียน (อายุ 488-444 ล้านปี) ชี้ให้เห็นถึงการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก (สอบถามเพิ่มเติม อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา โทร. 0-7474-0272)

4. ถ้ำภูผาเพชร อำเภอมะนัง ‘ถ้ำใหญ่อันดับ 4 ของโลก’

หนึ่งในถ้ำใหญ่และสวยงามที่สุดของไทย ปากทางเข้าอยู่ที่หมู่ 9 บ้านควนดินดำ ตำบลปาล์มพัฒนา ถ้ำนี้มีเนื้อที่ถึง 50 ไร่ แบ่งเป็นห้องใหญ่ๆ กว่า 20 ห้อง แค่มุดปากถ้ำเข้าไปเห็นโถงแรกถึงกับตะลึง เพราะเพดานถ้ำสูงกว่า 100 เมตร อลังการด้วยเสาหินปูนยักษ์ และหินงอกหินย้อยนับไม่ถ้วน ประวัติเล่าว่าค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2517 กระทั่งปี พ.ศ. 2541 มีการสำรวจพบกระดูกมนุษย์โบราณ และเศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ จึงสันนิษฐานกันว่า ถ้ำภูผาเพชรเคยเป็นที่อยู่ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว

            ไฮไลท์ในถ้ำภูผาเพชรมีอยู่เพียบ เช่น ‘ห้องโดมศิลาเพชร’ ที่ต้องหยุดยืนมองราวต้องมนต์สะกด เพราะหินงอกหินย้อยเมื่อต้องแสงไฟจะทอประกายระยิบจับตาจับใจ ถัดมาคือ ‘ห้องปะการัง’ มีหินงอกหินย้อยรูปทรงคล้ายปะการังใต้ทะเล ส่วน ‘ห้องผ้าม่าน’ ก็มีแผ่นหินแผ่เป็นริ้วคล้ายม่านผืนใหญ่ นอกจากนี้ยังมี ‘ห้องลานเพลิน’ เป็นลานหินกว้างคล้ายเวทีการแสดง และ ‘ห้องมรกต’ ก็มีโพรงขนาดยักษ์ เปิดทางให้เห็นป่าดิบภายนอก จนแสงแดดส่องเข้ามาสะท้อนกับตะไคร่และมอสจนกลายเป็นสีเขียวมรกตทั้งถ้ำ
5. ถ้ำเจ็ดคต อำเภอมะนัง ‘ความงามใต้พิภพ 400 ล้านปี’

เป็นถ้ำน้ำทะลุให้พายเรือคายัคลอดไปได้อย่างสนุกตื่นเต้น เริ่มต้นจากปากทางเข้าที่ตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง ไปทะลุงที่ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู ระยะทางประมาณ 700 เมตร ใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง ถ้ำเจ็ดคตกว้าง 70-80 เมตร แบ่งเป็น 7 คูหา บางช่วงเพดานถ้ำสูงถึง 100-200 เมตร ลำคลองที่ไหลผ่านในถ้ำคือ คลองมะนัง มีน้ำไหลตลอดปี แต่ฤดูแล้งน้ำจะตื้นหน่อย แต่ก็ยังใสเย็นอยู่

6. ล่องแก่งวังสายทอง (คลองลำโลน) อำเภอละงู ‘ล่องแก่งผจญไพรในป่าดิบ’

คลองลำโลน หรือคลองวังสายทอง สามารถล่องแก่งได้ทั้งปี เป็นแก่งที่ไม่อันตราย เพราะกระแสน้ำแรงเพียงระดับ 1-3 เท่านั้น จึงล่องได้สนุกทั้งครอบครัว สองฟากฝั่งเป็นป่าดิบ มีแมกไม้พงไพรพืชพรรณนานาชนิดให้ชม  บางจุดมีหาดทรายเล็กๆ เป็นโป่งผีเสื้อด้วย น่ารักมากๆ การล่องแก่งนี้ระยะทาง 7 กิโลเมตร ใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง นับว่าคุ้มค่ากับการไปเยือนจริงๆ

7. หมู่บ้านชาวเซียมัง อำเภอละงู ‘ชนเผ่าแห่งพงไพรในคาบสมุทรภาคใต้’

ชาว ‘เซียมัง’ เป็นคนละเผ่ากับ ‘ซาไก’ เพราะชาวซาไกเป็นกลุ่มที่อาศัยอยู่ในแหลมมลายูตอนล่างของมาเลเซีย (พบในรัฐเประ ปะหัง และสลังงอร์) มีผิวสีดำแดงคล้ำหรือเหลือง ตัวค่อนข้างสูง ผมขดไปมาเป็นลอนไม่หยิก ส่วนคนป่าเซียมัง มีถิ่นเดิมอยู่ในแอฟริกา ผิวดำเข้ม ตัวเตี้ย ริมฝีปากหนา ผมหยิกหย็องหรือขมวดกลมเป็นก้นหอย ปัจจุบันพบชาวเซียมังในไทยประมาณ 300 คน อาศัยหากินอยู่กลางป่าลึกในจังหวัดตรัง และสตูล การเข้าชมต้องให้ไกด์ท้องถิ่นในอำเภอละงูพาไปครับ 8. พิพิธภัณฑ์ Geo Park  อำเภอทุ่งหว้า ‘ย้อนรอยอดีตสัตว์โลกล้านปีในสตูล’

หลังจากจังหวัดสตูล ได้รับการประกาศให้เป็น ‘อุทยานธรณีโลก’ หรือ Geo Park โดยองค์การ UNESCO เมื่อปี พ.ศ. 2559 ครอบคลุม 4 อำเภอ คือ เมือง, ทุ่งหว้า, มะนัง, ละงู ก็ได้มีการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์อุทยานธรณี อ.ทุ่งหว้า ขึ้น เพื่อให้ผู้สนใจได้รับทราบข้อมูลเชิงลึก ว่าในอดีตเมื่อหลายล้านปีก่อน สตูลมีสัตว์ทะเลและสัตว์โลกโบราณอะไรอยู่บ้าง (สนใจ ติดต่อ สำนักงานอุทยานธรณีสตูล อ.ทุ่งหว้า โทร. 06-3465-4924 www.satun-geopark.com) 9. ปันหยาบาติก อำเภอละงู ‘แรงบันดาลใจหัตถศิลป์จากธรรมชาติ’

หลังจากผจญภัยเที่ยวธรรมชาติ ย้อนอดีตหลายล้านปีในสตูลกันจนจุใจแล้ว ก็ได้เวลาช้อปปิ้งก่อนกลับบ้าน ที่ร้าน ‘ปันหยาบาติก‘ ซึ่งเขาใช้สีธรรมชาติ และคิดค้นลายสัตว์ทะเลโบราณมาพิมพ์ลงบนผ้า ให้เข้ากับคอนเซปต์การท่องเที่ยว Geo Park สตูล ได้อย่างลงตัว พร้อมด้วยกิจกรรม DIY ให้นักท่องเท่ียวได้ทดลองมัดย้อมผ้าด้วยตัวเองด้วย เก๋มากๆ (สนใจ โทร. 08-1093-4222, 08-6790-0993) 10. มุกอันดามัน อำเภอท่าแพ ‘เลอค่าไข่มุกแห่งทะเลใต้’

ทะเลสตูลเป็นน่านน้ำที่มีแร่ธาตุและแพลงก์ตอนอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งน้ำก็ยังสะอาด จึงเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงหอยมุกพันธุ์ดี ซึ่งวันนี้ได้ยกระดับทั้งคุณภาพ ดีไซน์ และความสวยงาม ลองแวะชม และครอบครองเป็นเจ้าของกันได้ โดยเฉพาะคุณสาวๆ มีหลายแบบหลายราคาให้เลือกครับ (สนใจ โทร. 08-9735-0707, 08-3657-2165 )
11. ฉิม Melon อำเภอทุ่งหว้า ‘ความอร่อยที่ไม่กล้าปฏิเสธ’

สตูลวันนี้มีคนทำเกษตรแนวก้าวหน้า เชิง Agro-Tourism นำเมล่อนพันธุ์ดีจากญี่ปุ่นเข้ามาปลูก ขายทั้งผลสดเนื้อหวานฉ่ำ อีกทั้งมีแปรรูปเป็นแยม น้ำเมล่อน และไวน์เมล่อนเจ้าแรกในเมืองไทย สนใจแวะเที่ยวแวะชิม หรือซื้อกลับบ้านได้เลยจ้า หรือจะเข้ามาดูงานเป็นหมู่คณะก็ได้ (สนใจ โทร. 08-1839-8022) 12. ร้านวิสาหกิจชุมชนปากน้ำ ซีแอนด์ฟิชชิ่งทัวร์ อ่าวนุ่น อำเภอละงู ‘ชิมเนูระดับประเทศ ในคอนเซป์ Geo Park’

ชิมเมนูของหวานที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ เพื่อตอบรับคอนเซปต์การท่องเที่ยวอุทยานธรณีสตูล (Satun Geo Park) คือ ‘ดาวล้อมเดือนสะเทือนไตรโลไบรท์’ ลักษณะคล้ายบัวลอยลูกใหญ่ เนื้อแป้งนุ่มเหนียว ไส้ในเป็นไข่แมงดาทะเลกรุบกรอบ หวานๆ ไม่เหม็นคาวแม้แต่น้อย ส่วนน้ำกะทิก็หอมชื่นใจ กินได้กินดี (สนใจ โทร. 08-1738-3219)

ขอบคุณ ททท. สำนักงานจังหวัดสตูล สอบถามเพิ่มเติม โทร. 06-2595-7748

สัมผัสวัดเขาอ้อ สำนักตักศิลาแห่งไสยเวทย์ปักษ์ใต้ จ.พัทลุง

‘พัทลุง’ นามนี้คือดินแดนแสนสงบ แม้จะถูกจัดฐานะเป็นเมืองรองทางการท่องเที่ยว ทว่าคนที่เคยได้สัมผัส ‘พัทลุง’ อย่างลึกซึ้งแล้วจะรู้ว่า เมืองนี้มีเสน่ห์ น่ารัก น่าหลงใหล เป็นเมืองสงบเนิบช้า งดงามด้วยธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม และน้ำใจไมตรีของผู้คน อีกทั้งเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ ในน้ำมีปลาในนามีข้าว อยู่ติดกับทะเลน้อยและทะเลหลวง ซึ่งเป็นส่วนทิศเหนือของทะเลสาบสงขลา ห้วงน้ำใหญ่ที่ต่อเติมระบบนิเวศให้ยั่งยืนเมื่อกล่าวถึงแหล่งท่องเที่ยวทางศาสนาในพัทลุงแล้ว ชื่อ ‘วัดเขาอ้อ’ ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน ย่อมต้องโดดเด่นขึ้นมาเป็นที่หนึ่งอย่างแน่นอน ด้วยเหตุผลว่าวัดเขาอ้อคือศูนย์รวมของสรรพวิทยาการหลากหลายแขนงมานานหลายร้อยปีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นไสยเวทย์ คาถาอาคม ยาสมุนไพรนานาชนิด ฯลฯ ก็ล้วนได้รับการคิดค้นสืบสานส่งต่อกันมาจากบูรพาจารย์วัดเขาอ้อในอดีต จนวัดแห่งนี้ได้รับการขนานนามให้เป็น ‘สำนักเขาอ้อ’ หรือ ‘สำนักตักศิลามหาเวทย์แห่งปักษ์ใต้’ เนื่องจากลูกศิษย์ลูกหาหลายท่านของวัดเขาอ้อ ล้วนเป็นผู้มีมนต์คาถาเข้มขลัง คงกระพันชาตรี มีวีรกรรมสำคัญจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะ ‘ขุนพันธ์’ (ท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช) มือปราบหนังเหนียวแห่งปักษ์ใต้ ก็ได้เคยมาร่ำเรียนวิชาคาอาคม และอาบน้ำว่านในรางยาที่วัดเขาอ้อถึง 7 ครั้ง ครั้งละ 7 วัน ถือเป็นผู้เดียวในประวัติศาสตร์ที่ลงแช่ว่านอาบยาได้นานที่สุด ทำให้ขุนพัธ์กลายเป็นมือปราบหนังเหนียว และได้ออกปราบโจรผู้ร้าย เป็นที่ครั่นคร้ามไปทั่ว รอยพระพุทธบาทจำลอง บนเขาอ้อ จ.พัทลุงสำหรับผู้ที่มีความศรัทธาเป็นลูกศิษย์ลูกหาของวัดเขาอ้อ หรือนักท่องเที่ยวที่ชอบตระเวนไหว้พระ การมาเยือนวัดเขาอ้อสักครั้งในทริปพัทลุงถือว่าคุ้มสุดๆ เพราะจะได้พาตัวและหัวใจมาสัมผัสถึงถิ่นถึงที่ สำนักตักศิลาแห่งไสยเวทย์ที่เข้มขลังที่สุดของภาคใต้ ได้เดินขึ้นภูเขาไปกราบพระ นมัสการรอยพระพุทธบาทจำลอง และเดินเข้าไปภายในถ้ำฉัททันต์บรรพต ซึ่งเคยเป็นถ้ำที่เหล่าฤาษีและพราหมณ์ใช้บำเพ็ญพรตในอดีต ถือเป็นถ้ำศักดิ์สิทธิ์และบรรยากาศลึกลับมาก ภายในมีพระพุทธรูปปูนปั้นเรียงรายอยู่ตามผนัง และมีรางยาแช่ว่าน (จำลอง) ของท่านขุนพันธ์ ให้ชมด้วย ซึ่งของจริงในอดีตนั้นใช้เรือไม้ที่นอนได้ 2 คน นำเข้ามาตั้งไว้ในถ้ำ แล้วต้มน้ำว่านยา 108 ชนิดที่ปลุกเสกแล้ว มาเทลงในเรือไม้ให้นอนแช่ จนครบเวลาที่กำหนดตามพิธี
ปากทางเข้าถ้ำฉัททันต์บรรพต ซึ่งเคยใช้เป็นสถานที่บำเพ็ญพรตของฤาษีและพราหมณ์เมื่อหลายร้อยปีก่อนจริงๆ แล้วตามประวัติเล่ากันว่า สำนักเขาอ้อได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 800 โดยพราหมณ์กลุ่มหนึ่งที่อพยพมาจากอินเดีย เนื่องจากในยุคนั้นศาสนาพุทธในชมพูทวีปกำลังรุ่งเรือง ศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) ที่เริ่มลดอิทธิพลลง จึงเคลื่อนออกจากชมพูทวีปมาหาฐานที่มั่นใหม่ เป็นยุคที่เรียกว่า ‘ดราวิเดียนยาตรา’ (ชาวดราวิเดียน คือชนพื้นเมืองดั้งเดิมของอินเดีย) โดยพราหมณ์เหล่านั้นได้ใช้ถ้ำที่เขาอ้อ เป็นศูนย์กลางถ่ายทอดสรรพวิชาวิทยาคมให้กับชนชั้นสูง ขุนนาง และลูกของกษัตริย์ จนกระทั่งถึงยุคที่ศาสนาพุทธได้เข้ามาตั้งมั่นที่เมืองนครศรีธรรมราชอย่างมั่นคงแล้ว และแผ่ลงมาถึงสำนักเขาอ้อด้วย เหล่าพราหมณ์จึงมอบวิชาพระเวทย์และวิทยาคมทั้งหมดไว้ให้กับ ‘พระอาจารย์ทอง’ วัดน้ำเลี้ยว และได้สืบทอดกันมาหลายร้อยปีจนถึงปัจจุบัน ทำให้วัดเขาอ้อมีความผสานผสมกลมกลืนของพุทธศาสนาและความเชื่อพิธีกรรมของพราหมณ์ อย่างเห็นได้ชัดเจนมากบรรยากาศภายในโถงถ้ำใหญ่ตรงกลาง ของถ้ำฉัททันต์บรรพต วัดเขาอ้อ จ.พัทลุงรางยาแช่ว่าน (จำลอง) ของขุนพันธ์ ภายในถ้ำฉัททันต์บรรพต วัดเขาอ้อ จ.พัทลุงบูรพาจารย์ผู้มีวิชาเข้มขลังของสำนักวัดเขาอ้อ ที่สืบสานสรรพวิชาอาคมมาถึงปัจจุบัน มีอยู่หลายท่านด้วยกัน ได้แก่ พราหมณ์ฤาษีพระอาจารย์ทอง, สมเด็จเจ้าจอมทอง, พระอาจารย์ไชยทอง, พระอาจารย์พรหมทอง, พระอาจารย์ทองในถ้ำ, พระอาจารย์ทองหน้าถ้ำ, พระอาจารย์ทองหูยาน, พระอาจารย์ทองเฒ่า และพระอาจารย์ปาล ซึ่งล้วนเป็นปรมาจารย์ของสำนักเขาอ้อทั้งสิ้น นอกจากความเชื่อเรื่องไสยเวทย์ สรรพวิทยาคม และเครื่องลางของขลังอันศักดิ์สิทธิ์ที่วัดเขาอ้อแล้ว ในแง่ของการท่องเที่ยว เราสามารถเข้าไปเที่ยวชมหรือกราบพระกันได้ตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงเดือน 5 และเดือน 10 ของทุกปี ที่จะมีการจัด ‘พิธีไหว้ครูบูรพาจารย์เขาอ้อ’ มีการจัดพิธีสำคัญๆ ขึ้นมากมาย ตั้งแต่การแช่ว่านอาบยา (ปัจจุบันรับได้เพียงปีละ 6-12 คน) พิธีสะเดาะห์เคราะห์ต่อชะตา พิธีหุงข้าวเหนียวดำ และพิธีกินเหนียวกินมัน จะมีลูกศิษย์ลูกหาและผู้ศรัทธาจากทั่วประเทศหลั่งไหลเข้าร่วมงานดังกล่าว ตลอด 3 วัน 3 คืน จำนวนหลายพันคน นับว่าน่าตื่นตาตื่นใจและน่าตื่นเต้นมาก ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมหาดูได้ยาก และศักดิ์สิทธิ์เช่นนี้ ถือว่ามีหนึ่งเดียวในภาคใต้และในเมืองไทยจริงๆ ในช่วงการจัดงานไหว้ครูบูรพาจารย์วัดเขาอ้อ จะมีพิธีแช่ว่านอาบยา โดยย้ายจุดจัดพิธีจากในถ้ำฉัททันต์บรรพต มาเป็นบริเวณเชิงเขาอ้อ ที่ต้องเดินขึ้นบันไดไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้นปรัมพิธีแช่ว่านอาบยา เดือนกุมภาพันธ์ 2562 ณ เชิงเขาอ้อ ปัจจุบันรางยาได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นบ่อที่ลงไปอาบแช่พร้อมกันได้ 6 คน (ปีนี้รับได้ 12 คน) โดยใช้เวลาแช่ 3 วัน 3 คืน พักทุก 2-3 ชั่วโมง การลงนอนอาบแช่ว่านยา 108 ชนิด ต้องลงไปนอนทำสมาธิ สวดภาวนาบริกรรมคาถาให้ใจสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน เพื่อให้ได้ผลเข้มขลังคงกระพันชาตรีดีที่สุดตัวยาที่ใช้ในการแช่ว่านอาบยาวัดเขาอ้อ มีถึง 108 ชนิด โดยตัวยาหลักคือ บอระเพ็ด, ชิงช้าชาลี, ว่านหนามบ่อ, ว่านปลาไหลเผือก ฯลฯ นำมาต้มแล้วเทลงไปขณะร้อนๆ ในรางยา โดยอาจารย์เปลี่ยน หัทยานนท์ จะทำการบริกรรมคาถากำกับไว้ด้วย นอกจากนี้ยังห้ามไม่ให้สตรีเข้ามาในปรัมพิธีเด็ดขาด เพราะพิธีจะเสื่อมการนอนอาบน้ำว่านแช่ยาวัดเขาอ้อ ตลอด 3 วัน 3 คืน ผู้เข้าร่วมต้องนอนภาวนาบริกรรมคาถาอย่างมีสมาธิ และหลังจากเสร็จพิธีแล้ว ต้องอยู่ในศีลในธรรม รักษาศีล 5 อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะศีลข้อ 3 ห้ามละเมิดเด็ดขาด ถ้าพลาดพลั้งน้ำมันและยาต่างๆ จะออกจากตัวจนหมด ต้องกลับมาทำพิธีเกิดใหม่ให้บริสุทธิ์ แล้วแช่ว่านอาบยาลงคาถาใหม่อีกครั้ง อาจารย์เปลี่ยน หัทยานนท์ เจ้าพิธีแช่ว่านอาบยาฝ่ายฆราวาส โดยท่านเป็นศิษย์ก้นกุฎิคนสุดท้ายของพระอาจารย์ปาลวัดเขาอ้อ ท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาสำคัญๆ มาครบถ้วน ทั้งวิชาหุงข้าวเหนียวดำ วิชาเสกน้ำมันงาให้แข็ง และวิชาแช่ว่านอาบยา เป็นต้น อาจารย์เปลี่ยนเล่าว่า ปัจจุบันตัวยาที่จะใช้ในพิธีกรรมนี้หายากขึ้นเรื่อยๆ เพราะป่าไม้ลดน้อยลง การเก็บว่านยา 108 ชนิด ต้องเดินทางไปไกลถึงจังหวัดสตูล ตรัง และนครศรีธรรมราช มีความยากลำบากมากในการบุกป่าฝ่าดงเข้าไป แต่ท่านก็ยังคงสืบทอดพิธีต่อไปมิให้สูญหาย เพื่อชนรุ่นหลังนอกจากผู้ศรัทธาจำนวน 12 คน ที่ได้เข้าพิธีนอนแช่น้ำว่านอาบยานั้น ในบริเวณวัดก็ยังมีการนำว่าน 108 ชนิด เช่นเดียวกับที่ใช้ในการอาบแช่ในรางยา มาต้มในกระทะใบบัวใหญ่ แจกจ่ายให้ผู้ศรัทธาที่มาเข้าร่วมงาน ถือว่าเป็นน้ำว่านศักดิ์สิทธิ์ ที่ช่วยให้สุขภาพดี ป้องกันสิ่งชั่วร้าย และมีพุทธคุณลึกล้ำเกินกว่าจะบรรยายได้หมด
ในบริเวณวัด มีการนวดพื้นบ้านเพื่อรักษาโรค และคลายปวดเมื่อยกันด้วย พ่อหมอทำงานไม่หยุดหย่อน เพราะมีคนมารอคิวกันตลอดวันเลยทีเดียวในช่วงเย็นของวันแรก วัดเขาอ้อได้จัด ‘พิธีสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา’ ให้กับญาติโยมและลูกศิษย์ลูกหาที่มาเข้าร่วมพิธีไหว้ครูบูรพาจารย์วัดเขาอ้อในปี 2562 เพื่อทำให้เราบริสุทธิ์ทั้งกายใจเหมือนคนที่เกิดใหม่ จะได้ไปเข้าร่วมพิธีหุงข้าวเหนียวดำ และพิธีกินเหนียวกินมัน ในวันต่อๆ ไป พิธีสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา วัดเขาอ้อ เดือนกุมภาพันธ์ 2562วันถัดมามีพิธีศักดิ์สิทธิ์จัดภายในพระอุโบสถวัดเขาอ้อ คือ ‘พิธีหุงข้าวเหนียวดำ’ ด้วยน้ำว่าน 108 ชนิด พร้อมกับลงคาถากำกับเอาไว้ (พิธีนี้ห้ามสตรีเข้ามาภายในพระอุโบสถ) นับเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ที่หาดูได้ยากมาก
ข้าวเหนียวดำที่ผ่านพิธีหุงด้วยน้ำว่านยา 108 ชนิด และเสกคาถากำกับมาตลอด 1 วันเต็ม บัดนี้สุกดีแล้ว จากนั้นต้องทิ้งไว้ให้เย็นตัว 1 คืน ก่อนนำมาปั้นเป็นก้อนกลมเล็กๆ ในวันต่อไปวันที่สาม วันสุดท้ายของพิธีในปี 2562 คือ ‘พิธีกินเหนียวกินมัน’ ซึ่งจัดขึ้นภายในพระอุโบสถวัดเขาอ้อ ให้ผู้ที่นอนแช่ว่านอาบยามาตลอด 3 วัน 3 คืน ได้มาลงคาถามะ อะ อุ กำกับที่ตัวไว้อีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับกินเหนียว (ข้าวเหนียวดำ) และกินมัน (น้ำมันงา) ที่ผ่านการปลุกเสกแล้ว ปีนี้มีผู้เข้าร่วมพิธีกว่า 400 คน ล้วนเป็นชายที่เชื่อมั่นศรัทธาในความเข้มขลังของวิทยาคมวัดเขาอ้อทั้งสิ้นเหล่าชายชาตรีทยอยเข้าร่วมพิธีกินเหนียวกินมัน ตามลำดับที่ได้รับ ทุกคนต้องถอดเสื้อและใส่กางเกงขาสั้น (หรือถกขากางเกงขึ้น) เพราะพิธีกรรมนี้ ต้องนำข้าวเหนียวดำปลุกเสกป้ายมือ ทาไปทั่วตัว โดยลูบขึ้น 3 ครั้ง ให้คาถาและความเข้มขลังต่างๆ แทรกซึมเข้าสู่ภายในร่างกาย ในขณะที่พระอาจารย์บริกรรมคาถากำกับ และใช้นิ้วโป้งกดไว้ที่สะดือผู้เข้าร่วมพิธีด้วยอาจารย์เปลี่ยน หัทยานนนท์ ทำการป้อนข้าวเหนียวดำ 3 คำ ให้ผู้เข้าร่วมพิธีแต่ละคน โดยแต่ละคำต้องท่องคาถา มะ อะ อุ กำกับลงไป ผู้เข้าร่วมพิธีต้องนั่งชันเข่า วางเท้าทั้งสองลงบนหนังเสือที่มีเหล็กกล้าวางอยู่ และมีหนังหมีวางไว้บนศรีษะ หลังจากเสร็จพิธีแล้วผู้เข้าร่วมพิธีต้องยึดมั่นในพระรัตนตรัย อยู่ในศีลในธรรม ยึดมั่นศีล 5 อย่างเคร่งครัด วิชาอาคมความขลังต่างๆ ของพิธีกรรมตลอด 3 วัน จึงจะอยู่กับกายสำหรับเหล่าลูกศิษย์ลูกหาและผู้ศรัทธาที่เป็นสตรี ไม่สามารถเข้าร่วมพิธีกินเหนียวกินมัน ในพระอุโบสถวัดเขาอ้อได้ ต่างก็มารอคอยกันเนืองแน่นที่หน้าต่างด้านนอก โดยถือบัตรคิวมารอรับกันอย่างเป็นระเบียบ เพื่อนำข้าวเหนียวดำที่ผ่านพิธีกรรมปลุกเสกอันศักดิ์สิทธิ์นี้ไปกิน ไปบูชา หรือนำไปให้ญาติสนิทมิตรสหายของตนศรัทธาวัดเขาอ้อไม่เคยเปลี่ยน ความเข้มขลังแห่งไสยเวทย์สำนักตักศิลาเขาอ้อไม่เคยตาย ทุกปีเรายังคงเดินทางมาสัมผัสพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์หนึ่งเดียวไม่เหมือนใครนี้ได้ ณ วัดเขาอ้อ ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน ดินแดนที่อวลด้วยประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ และศรัทธา ผสมกลมกลืนกันอย่างสง่างามสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ททท. สำนักงานพัทลุง – นครศรีธรรมราช โทร. 0-7534-6515-6

Special Thanks : ขอบคุณภาพถ่ายพิธีสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา และภาพพิธีกินเหนียวกินมัน จากคุณสุเทพ ช่วยปัญญา เว็บไซต์ The Way News