เที่ยวในประเทศ

ปราสาทรวงข้าว ปราสาทแห่งศรัทธากาฬสินธุ์

ปราสาทรวงข้าว 2“หลงรักอีสาน” นี่คือความรู้สึกของฉันเมื่อได้ไปเยือนแผ่นดินอันมีเสน่ห์นี้ เพราะอีสานเป็นดินแดนแห่งรอยยิ้ม ความโอบอ้อมอารี และวัฒนธรรมอันรุ่มรวย หยั่งรากลึกสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน แม้วันนี้โลกจะเปลี่ยนไป วัฒนธรรมเก่าแก่หลายอย่างเริ่มเลือนหาย ทว่าคนอีสานก็ยังรักบ้านเกิด พากันสืบสานภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ

เช่นเดียวกับเมื่อสายลมหนาวมาเยือนต่อกับต้นฤดูร้อน ผืนนาอีสานถึงกาลเก็บเกี่ยวเสร็จเรียบร้อย ลอมฟางถูกกองทับสูงส่งกลิ่นหอม วัวควายได้เวลาพักจากการหว่านไถ ทว่าชาวบ้านต้อน ตำบลเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ กลับยังไม่ได้พักผ่อน ต่างมารวมตัวกันที่วัดเศวตวันวนาราม ร่วมแรงร่วมใจกันจัดงาน “บุญบายศรีสู่ขวัญข้าวคูนลาน” เพื่อรำลึกบุญคุณพระแม่โพสพผู้ให้ชีวิต อีกทั้งยังเป็นโอกาสที่พวกเขาร่วมแรงร่วมมือกันจัดสร้าง “ปราสาทรวงข้าว” ขึ้นเป็นตัวแทนแห่งศรัทธา ปรากฏเป็นสิ่งมหัศจรรย์แห่งขวัญข้าว เพียงแห่งเดียวบนผืนดินสยาม!ปราสาทรวงข้าว 3

ปราสาทรวงข้าว คืองานศิลป์แห่งวิถีศรัทธาสามัคคีของชาวบ้านกาฬสินธุ์ ในการประกอบพิธีบุญบายศรีสู่ขวัญข้าวคูนลาน หรือบุญคูนลานตามวิถีฮีตสิบสองของชาวอีสาน ซึ่งจะประกอบพิธีหลังฤดูเก็บเกี่ยว เพื่อระลึกถึงคุณพระแม่โพสพ อีกทั้งยังเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูต่อแผ่นดินที่ให้ผลผลิตเพื่อการยังชีพ ให้เกิดสิริมงคลแก่ชีวิต และการเพาะปลูก ตลอดจนเพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบไปปราสาทรวงข้าว 4

ด้วยรวงข้าวน้อยที่งอกงามขึ้นจากผืนดินอีสานกาฬสินธุ์ คือตัวแทนแห่งความอุดมของธรรมชาติ ที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คน บัดนี้ได้รับการนำมาเนรมิตเป็นงานศิลป์ประจำท้องถิ่นในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี เพื่อสร้างเป็น ปราสาทรวงข้าว
ปราสาทรวงข้าว 5

ชาวบ้านและพระสงฆ์จะช่วยกันนำรวงข้าวมามัดเป็นกำๆ แล้วนำไปผูกติดกับโครงไม้ไผ่ที่ขึ้นรูปไว้เป็นปราสาทรวงข้าวปราสาทรวงข้าว 6

ปราสาทรวงข้าว ในประเพณีบุญบายศรีสู่ขวัญข้าวคูนลาน มีจุดเริ่มต้นสร้างครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2537 โดยในขณะนั้น เมื่อถึงช่วงเวลาประกอบพิธีบุญคูนลาน แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังนวดข้าวไม่เสร็จ จึงนำมัดข้าวที่ยังไม่ได้แยกเมล็ดข้าวออกจากฟางมาถวายวัด จนเกิดแนวคิดการนำมามัดรวมสร้างเป็นปราสาทรวงข้าวขึ้น จนมีการพัฒนารูปแบบให้งดงาม น่าศรัทธา ดังเช่นปัจจุบัน โดยระยะเวลาในการสร้างปราสาทรวงข้าวแต่ละครั้ง ใช้เวลาถึง 2 เดือนทีเดียว
ปราสาทรวงข้าว 7

สวยสง่า เปี่ยมด้วยพลังแห่งศรัทธาในทุกอณู สะท้อนถึงความผูกพันของผู้คน ธรรมชาติ และพระพุทธศาสนาปราสาทรวงข้าว 8 ปราสาทรวงข้าว 9 ปราสาทรวงข้าว 10 ปราสาทรวงข้าว 11 ปราสาทรวงข้าว 12.1 ปราสาทรวงข้าว 12

ชาวบ้านในละแวกวัดเศวตวันวนาราม นำกับข้าวมาเตรียมตักบาตรในยามเช้าตรู่ปราสาทรวงข้าว 13

ตามปกติแล้ว งานบุญบายศรีสู่ขวัญข้าวคูนลาน จะจัดกันไม่ต่ำกว่า 4 วัน โดยวันแรก ชาวบ้านจะนำข้าวเปลือกมากองรวมกันที่วัดในปราสาทรวงข้าว แล้วรับบริจาคจตุปัจจัยตลอดวัน มีพิธีทำบุญตักบาตร 108 และบูชาข้าวเปลือกมงคลคูนลาน พร้อมด้วยขบวนแห่พานบายศรี แห่ปราสาทรวงข้าวจำลอง และแห่เครื่องบูชาพระแม่โพสพ ปิดท้ายด้วยการแสดงบวงสรวงบูชาพระแม่โพสพสมโภชกันอย่างสนุกสนานชื่นบาน

ปราสาทรวงข้าว 14

ในวันถัดไป ก็จะมีการทำบุญตักบาตร, บายศรีสู่ขวัญข้าวคูนลาน รวมถึงการแข่งเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ บริเวณหนองสาหร่าย ซึ่งอยู่ติดกับวัดเศวตวันวนาราม นั่นเอง
ปราสาทรวงข้าว 15

หนุ่มสาวหน้าใสในชุดพื้นเมืองโบราณกาฬสินธุ์ มาร่วมทำบุญตักบาตรกันอย่างชื่นบานปราสาทรวงข้าว 16 ปราสาทรวงข้าว 17

ร่วมทำบุญตักบาตรสืบสานพลังแห่งศรัทธา ณ วัดเศวตวันวนาราม ในงานบุญคูนลาน ปราสาทรวงข้าว 18 ปราสาทรวงข้าว 19 ปราสาทรวงข้าว 20

ตักบาตรเสร็จแล้ว ก็ได้เวลาฟังเทศน์ฟังธรรม รับศีลรับพร ให้ชีวิตมีแต่มงคลตลอดไปนะจ๊ะปราสาทรวงข้าว 21.1 ปราสาทรวงข้าว 21

จากนั้นก็ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ หน้าตาอาหารพื้นบ้านแท้ๆ เห็นแล้วน่าทานไปซะทุกสิ่งอย่าง อุดมด้วยพืชผักพื้นบ้านที่ส่วนใหญ่ปลอดสารพิษทั้งนั้นเลยล่ะปราสาทรวงข้าว 22 ปราสาทรวงข้าว 23 ปราสาทรวงข้าว 24

สาวงามหนุ่มหล่อ ก็ต้องมาถ่ายภาพคู่กับปราสาทรวงข้าวไว้เป็นที่ระลึก
ปราสาทรวงข้าว 25

การได้มาร่วมงานบุญคูนลาน และเห็นปราสาทรวงข้าวอันงดงามตั้งอยู่ตรงหน้า ทำให้เราสำนึกในทันทีว่า แท้จริงแล้วข้าวมิใช่เป็นเพียงแค่อาหาร หรือเป็นข้าวในกระสอบที่ใช้เงินทองแลกเปลี่ยนซื้อขายกันเท่านั้น! ข้าวคือแม่ คือผลผลิตแห่งพระแม่ธรณีที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิตผองเราชาวไทยมาหลายชั่วอายุคน และปราสาทรวงข้าว ก็คือตัวแทนแห่งความนอบน้อม ความขอบคุณ ต่อพระคุณของเมล็ดข้าว แม้เพียงเมล็ดเดียวก็สูงค่ายิ่งแล้ว
ปราสาทรวงข้าว 26

คำว่า “หลงรักอีสาน” คือคำที่จะตรึงอยู่ในใจฉันไปอีกนาน เพราะวันนี้ ฉันมีความสุขเหลือเกินที่ได้มาเยือน ปราสาทรวงข้าว แห่งกาฬสินธุ์ ถิ่นคนงามน้ำใจดี บ้ายบาย.logo123-300x300Special Thanks : ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคอีสาน และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานขอนแก่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม สนับสนุนการเดินทางเป็นอย่างดี สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0-4322-7714-5

ผ้าไหมแพรวา ราชินีแห่งแพรพรรณไทย

ผ้าแพรวา 1

เมื่อพูดถึงเรื่องการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อไปชื่นชมความงามของผืนผ้าแพรพรรณในเมืองไทยเรา ก็ต้องยอมรับว่าเป็นสวรรค์ของคนรักผ้า รักงานศิลป์อย่างแท้จริง เพราะในแทบทุกจังหวัด แทบทุกภูมิภาค ล้วนมีผ้าทอเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของตนเองด้วยกันทั้งนั้น โดยเฉพาะในดินแดนภาคอีสาน ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว มิใช่ดินแดนแห้งแล้งอย่างที่หลายคนเข้าใจ ทว่าอีสานคือดินแดนอันรุ่มรวยด้วยวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตผู้คนหลายเผ่าหลากพันธุ์

ในทริปนี้ เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับ “ราชินีแห่งผ้าไหมไทย ผ้าไหมแพรวา” แห่งอำเพอบ้านโพน จังหวัดกาฬนสินธุ์ผ้าแพรวา 2

ผ้าไหมแพรวา ได้รับการยกย่องให้เป็นราชินีแห่งไหมไทย! เพราะเป็นผ้าไหมที่มีลวดลายวิจิตพิสดาร ประณีต สวยงาม อย่างที่ใครเห็นก็ไม่กล้าปฏิเสธ! ทั้งในส่วนของสีสันอันเตะตา ซึ่งแต่เดิมใช้สีหลักเป็นสีแดงจากตัวครั่ง รวมถึงลวดลายทรงเรขาคณิตแบ่งจังหวะลวดลายบนผืนผ้าอย่างลงตัว ผืนผ้ามีความแวววาว สูงค่าน่าสวมใส่ ทำให้ผ้าไหมแพรวาเป็นที่ต้องการของทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ อย่างที่ผลิตกันแทบไม่ทันในปัจจุบัน!ผ้าแพรวา 3

แต่ก่อนจะไปลงลึกถึงเรื่องผ้าแพรวากันมากกว่านี้ เราคงต้องมาทำความรู้จักกับ “ชาวผู้ไทย” หรือ “ภูไท” กันสักเล็กน้อยก่อน เพราะว่าชาวผู้ไทยนี้เอง คือเจ้าของผ้าไหมแพรวาอันเลื่องชื่อ โดยแต่เดิมในอดีตนั้น ชาวผู้ไทยอาศัยอยู่ในแคว้นสิบสองจุไทย (ดินแดนตอนเหนือของลาวและเวียดนาม ซึ่งต่อกับจีนตอนใต้) จากนั้นในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ถูกภัยสงคราม กวาดต้อนเข้ามาสู่แผ่นดินสยามหลายระลอก โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งชาวผู้ไทยได้ถูกกวาดต้อนเข้ามาสู่แถบจังหวัดกาฬสินธุ์ สกลนคร และนครพนม (เทือกเขาภูพาน) มากที่สุด ทว่าชาวผู้ไทยในแต่ละจังหวัดก็แต่งกายต่างกัน อย่างเช่นผู้ไทย อำเภอบ้านโพน กาฬสินธุ์ก็จะแต่งกายด้วยผ้าพื้นสีดำเป็นหลัก ส่วนผู้ไทยอำเภอเรณูนคร นครพนม ก็จะแต่งกายด้วยสีฟ้าครามเป็นหลัก เป็นต้น

ชาวผู้ไทยจากลาวที่เข้ามาตั้งรกรากใหม่อยู่บนผืนดินอีสาน จริงๆ แล้วถือเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนมากที่สุด รองจากคนลาวเลยก็ว่าได้ ลักษณะของชาวผู้ไทยคือเป็นชนเผ่าที่มีอารยธรรมค่อนข้างสูง นิสัยรักสงบ ยิ้มแย้ม หน้าตาดี ผิวพรรณดี โอบอ้อมอารี และมีฝีมือทางด้านงานถักทอผ้าแพรวา นำติดตัวเข้ามาสืบสานจนถึงปัจจุบันผ้าแพรวา 4

ผ้าไหมแพรวาของชาวผู้ไทยจะใช้เทคนิคการจกและขิดผสมกัน โดยแต่เดิมผืนผ้านั้นมีความยาวเพียง 1 วา หรือ 1 ช่วงแขน ใช้สำหรับคลุมไหล่หรือห่มสไบเฉียง เรียกว่า “ผ้าเบี่ยง” ใช้พาดบ่าไปวัดไปวาในโอกาสงานเทศกาลบุญประเพณี หรือเทศกาลงานสำคัญ กระทั่งถึงปี พ.ศ. 2520 ครั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยี่ยมราษฎรผู้ไทย บ้านโพน กาฬสินธุ์ ทรงเห็นสาวชาวบ้านห่มผ้าเบี่ยงมารอรับเสด็จ จึงทรงสนพระทัยมาก จากนั้นจึงมีการส่งเสริมให้มีการทอเพิ่มหน้ากว้างและเพิ่มความยาวของผ้าแพรวา เพื่อนำไปตัดชุด ทำประโยชน์ได้หลากหลายมากขึ้น ให้สอดรับวิถีชีวิตและการใช้งานยุคปัจจุบัน ผ้าแพรวาจึงได้ประกาศความยิ่งใหญ่ในวงการผ้าไทย มาถึงทุกวันนี้
ผ้าแพรวา 5

ลายหลักของผ้าไหมแพรวา เป็นทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน สลับด้วยลายคั่นเป็นเส้นทางยาว ไล่ไปจนถึงลายเชิงหรือปลายสุดของผ้าผ้าแพรวา 6

ลวดลายบนผืนผ้าแพรวา เกิดจากการใช้เทคนิคการจกและขิด ในอดีตใช้สีธรรมชาติ แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนมาใช้สีเคมีบ้างตามความนิยมของยุคสมัย จากที่เคยนิยมทอแต่สีแดง เหลือง ขาว ดำ ทุกวันนี้มีให้เลือกทุกสีแล้วล่ะผ้าแพรวา 7.1

กลุ่มสตรีทอผ้าไหมแพรวาบ้านโพน สหกรณ์ศูนย์ศิลปาชีพทอผ้า ผ้าไหมแพรวาบ้านโพน ตั้งอยู่เลขที่ 173 หมู่ 5 ตำบลบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ โทร. 0-4385-6204, 08-3338-3956ผ้าแพรวา 7

กลุ่มทอผ้าไหมแพรวาบ้านโพน เขาผลิตกันเองในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ปลูกต้นหม่อน เลี้ยงไหม สาวไหม ไปจนถึงการทอ และทำการตลาดขายกันอย่างเป็นระบบ นักท่องเที่ยวสามารถเข้าเยี่ยมชมขั้นตอนเหล่านี้ได้ตลอดปีเลยจ้าผ้าแพรวา 8

เส้นไหมดิบจะมีสีเหลืองทองอร่ามอย่างนี้เอง ว้าว!
ผ้าแพรวา 9

ตัวหนอนไหม กำลังกินใบหม่อนอย่างเอร็ดอร่อย เพื่อสะสมพลังงานและสารอาหารไว้ ก่อนที่มันจะเข้าสู่ระยะดักแด้ ที่มีการสร้างรังไหมสีทองห่อหุ้มตัวไว้ โดยในระยะนั้นนั่นล่ะ ที่เราจะได้เส้นไหมจากรังดักแด้ของมัน นำมาทอผ้า
ผ้าแพรวา 10

นำรังไหมมาต้ม แล้วสาวไหมออกมาทีละเส้น ปั่นรวมกันเป็นเส้นไหม พร้อมใช้ทอผ้าต่อไปผ้าแพรวา 11 ผ้าแพรวา 12.1

ต้มรังไหมให้ร้อนได้ที่ ค่อยๆ สาวเส้นไหมออกไปปั่นรวมกัน
ผ้าแพรวา 12

ปั่นเส้นไหมเข้ากระสวย เตรียมนำไปใช้งานผ้าแพรวา 13 ผ้าแพรวา 14

บางครั้งก็ต้องมีการย้อมสีเส้นไหม หรือเส้นฝ้าย ก่อนนำไปทอเป็นผืน เพื่อให้เกิดความหลากหลายของสีสันมากขึ้น
ผ้าแพรวา 15 ผ้าแพรวา 16

เส้นไหมที่ผ่านกระบวนการย้อมมาเรียบร้อยแล้ว มีหลายสิบสี อีกไม่นานเมื่อผ่านมือช่างทอผ้าแพรวาผู้ชำนาญการ ก็จะกลายมาเป็นผืนผ้าอันสูงค่า มีราคาตั้งแต่หลักพันบาท ไปจนถึงหมื่นบาท และแสนบาท! ตามความยากของการทอ โดยลวดลายในปัจจุบัน ยังมีการอนุรักษ์ลายโบราณไว้นับร้อยลายผ้าแพรวา 17 ผ้าแพรวา 18

หนึ่งในเสน่ห์การทอผ้าแพรวาที่ไม่มีใครเหมือน ก็คือการใช้ปลายนิ้วก้อยเกี่ยวเส้นยืนของเส้นไหมบนกี่ขึ้นมา แล้วสอดเส้นไหมอีกแนวหนึ่งเข้าไป ผูกให้เกิดลายตามต้องการ โดยลายเหล่านี้จริงๆ แล้วแต่ละครอบครัว แต่ละคน ก็มีลายเฉพาะของตนเอง ที่แม่จะสอนต่อให้ลูกสาวสืบกันมาเป็นรุ่นๆ ในภาษาอีสานเรียกว่า “พ่อแม่พาทำ”ผ้าแพรวา 19

การผูกลายอันสลับซับซ้อนของผ้าแพรวา ต้องใช้เวลาเรียนรู้กันนานหลายปี จึงต้องใช้ช่างทอที่มีใจรักในงานศิลป์อย่างแท้จริง โชคดีที่มีโครงการศิลปาชีพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เข้ามาโอบอุ้ม ทำให้ผ้าแพรวาไม่สูญหายไปจากผืนดินสยาม
ผ้าแพรวา 20 ผ้าแพรวา 21 ผ้าแพรวา 22

ผ้าไหมแพรวาลายจกผ้าแพรวา 23

ผ้าไหมแพรวาลายจกผ้าแพรวา 24

ผ้าไหมแพรวาลายจกผ้าแพรวา 25

เมื่อทอเสร็จแล้ว ก็จะได้ผ้าไหมแพรวาอันเลอค่า นิยมสวมใส่กันตั้งแต่ประชาชนทั่วไป จนถึงเจ้านายในวังหลวง รวมถึงสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ก็ทรงโปรดผ้าไหมแพรวาอย่างมาก
ผ้าแพรวา 26

สาวผู้ไทยบ้านโพน ในชุดการแต่งกายแบบดั้งเดิม เสื้อทรงกระบอกสีดำเข้ารูป และมีผ้าแพรวาหน้าแคบพาดบ่า พร้อมกับยิ้มอันจริงใจ คอยต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกคนผ้าแพรวา 27

ที่บ้านโพนมีผ้าไหมแพรวาให้เลือกชมเลือกซื้อกันอย่างจุใจ ราคาอาจจะสูงหน่อย แต่ขอร้องว่าอย่าต่อเลยนะ เพราะกว่าจะได้มาสักผืน ต้องใช้ความอุตสาหะอย่างมาก นับเป็นงานศิลป์ที่ควรค่าแก่การซื้อมาใช้และสะสมไว้ประดับตัวผ้าแพรวา 28

เห็นแล้วก็น้ำลายไหล อยากซื้อทุกผืนเลย!!!ผ้าแพรวา 29

ผ้าไหมแพรวา เคยประกาศศักดาความงามในงานกาล่าดินเนอร์ที่จังหวัดกาฬสินธุ์จัดขึ้น เป็นการนำผ้าแพรวามาดีไซน์ใหม่ให้ดู Modern จนต้องตะลึง!!!
ผ้าแพรวา 30 ผ้าแพรวา 31 ผ้าแพรวา 32 ผ้าแพรวา 33 ผ้าแพรวา 34 ผ้าแพรวา 35 ผ้าแพรวา 36 ผ้าแพรวา 37

ในตัวอำเภอบ้านโพน มีร้านจำหน่ายผ้าแพรวาอยู่หลายร้าน เมื่อเยี่ยมชมศูนย์การผลิตของชาวบ้านแล้ว ก็ลองแวะเลือกชมเลือกซื้อกันได้ตามอัธยาศัยนะครับ
ผ้าแพรวา 38 ผ้าแพรวา 39 ผ้าแพรวา 40 ผ้าแพรวา 41 ผ้าแพรวา 42logo123-300x300Special Thanks : ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคอีสาน และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานขอนแก่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม สนับสนุนการเดินทางเป็นอย่างดี สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0-4322-7714-5

Let’s Go to ปาย

ปาย 2

เมื่อสายลมหนาวมาเยือน ก็ได้เวลางัดเสื้อกันหนาวและผ้าพันคอสวยๆ ออกมาใส่ซะที หลังจากต้องเก็บอยู่ในตู้มาเกือบปีแล้ว ทริปนี้ขอแต่งตัวสวยๆ นั่งเครื่องบินและนั่งรถต่อขึ้นเหนือสู่ อำเภอปาย เมืองน้อยในหุบเขาใหญ่ทางตอนเหนือของแม่ฮ่องสอน เป็นเมืองติดชายแดนพม่าที่โอบกอดด้วยธรรมชาติ ม่านหมอกขาวอันหนาวเย็น และมีสายน้ำลำธารใสไหลหล่อเลี้ยงผู้คน และวิถีวัฒนธรรมแห่งปายให้คงอยู่มาหลายชั่วอายุคน

แม้ในรอบหลายปีที่ผ่านมา หลายคนจะบ่นว่าปายบอบช้ำจากธุรกิจคนเมือง ที่นำวิถีอันวุ่นวายเข้าไปทำให้ปายเปลี่ยนไป แต่เชื่อเถอะว่า จิตวิญญาณที่แท้จริงของปายยังคงอยู่ รอยยิ้มของผู้คนที่นี่ยังน่ารัก เปี่ยมสุขเหมือนเคย และที่สำคัญคือ ธรรมชาติของปายช่างบริสุทธิ์จริงๆ โดยเฉพาะในฤดูหนาวอย่างนี้ เหมาะจะชวนก๊วนเพื่อน หรือเกี่ยวก้อยพาคนพิเศษของเราไปรับลมหนาว ตื่นเช้าๆ ไปสูดโอโซนให้โล่งปอดแถวริมแม่น้ำปาย
ปาย 3 ปาย 4

มุมถ่ายรูปน่ารักๆ สำหรับคู่รักหวานแหว๋ว ที่จุดชมวิว ทะเลหมอกหยุนไหลปาย 5

แสงสุดท้ายยามเย็น มองเห็นตัวเมืองปาย จากยอดเขาวัดพระธาตุแม่เย็นปาย 6 ปาย 7

ยามเช้าอันเงียบสงบ อากาศเย็นสดชื่น หายใจได้โล่งปอด ณ ริมลำน้ำปายอันแสนอ่อนโยนปาย 8

ปายในช่วงฤดูหนาว รวงข้าวเปลี่ยนเป็นสีทองพร้อมเก็บเกี่ยวแล้วปาย 9

วิถีการเกี่ยวข้าวด้วยมือแบบคนรุ่นเก่าก่อน ยังพบเห็นได้ที่ สะพานซูตองเป้ปาย 10

สะพานซูตองเป้ จุดถ่ายภาพใหม่ที่ให้ความรู้สึกแบบไทยใหญ่ ผสาผสานกับพม่า และล้านนา
ปาย 11

เณรน้อยที่สะพานซูตองเป้ปาย 12

ห่างจากตัวเมืองปายออกมาประมาณ 9 กิโลเมตรเศษๆ คือที่ตั้งของ สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย เป็นสะพานเหล็กสีเขียวขนาดใหญ่ ทอดข้ามลำน้ำปาย โดยทหารญี่ปุ่นได้มาสร้างไว้ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อลำเลียงทัพขึ้นไปตีพม่า (แต่ไม่สำเร็จ) คล้ายกับสะพานข้ามแม่น้ำแควที่จังหวัดกาญจนบุรีนั่นล่ะ ปัจจุบันสะพานนี้ยังแข็งแรงมั่นคงมาก เราสามารถลงไปเดินชม และถ่ายภาพเก็บไว้เป็นที่ระลึก แต่ขอเตือนนิดนึงว่า พื้นไม้ที่ใช้ปูทางเดินบนสะพานบางช่วงผุพังไปตามกาลเวลา เดินชมต้องระวังด้วย สมัยก่อนชาวปายเขาใช้สะพานนี้สัญจรไปมาทั้งคนทั้งรถ ทว่าปัจจุบันทางการได้สร้างสะพานคอนกรีตใหม่ อยู่ข้างๆ ให้ใช้แทน สะพานประวัติศาสตร์ก็เลยกลายเป็นจุดท่องเที่ยวไปโดยปริยาย ปาย 13

ในหุบเมืองปายมีวัดที่ควรไปชม คือ วัดน้ำฮู ซึ่งมีบ่อน้ำธรรมชาติผุดขึ้นมาไม่เคยเหือดแห้ง ปัจจุบันทางวัดได้ก่ออิฐล้อมบ่อน้ำไว้ แต่ที่สำคัญคือวัดนี้เป็นที่ประดิษฐานพระเจดีย์องค์ใหญ่ อยู่ด้านหลังโบสถ์ เป็นเจดีย์บรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยา (พี่สาว) ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยพระนางได้ถูกจับไปเป็นองค์ประกันที่เมืองหงสาวดีของพม่า และถูกสังหารในภายหลัง จึงมีผู้แอบนำพระอัฐิ และเส้นพระเกศากลับคืนสู่ผืนดินสยามที่ท่านรักและหวงแหน ปาย 14

ข้าวซอยไก่ปาย อาหารพื้นเมืองยอดฮิต ที่เราต้องลิ้มลอง แนะนำ ร้านน้องเบียร์ (อยู่ใกล้ถนนคนเดิน) โทร. 0-5369-9103 ขอบอกว่าข้าวซอยสูตรนี้น้ำเข้มข้น เครื่องปรุงครบ ใส่น้ำพริกเผาลงไปนิดนึง บีบมะนาวหน่อย คนให้เข้ากัน น้ำซุปจะยิ่งอร่อยถึงใจเลยล่ะ
ปาย 15

ปายเป็นเมืองที่มีอาหารอร่อยให้ชิมเยอะ อาหารเลื่องชื่อคือ “ขาหมู-หมั่นโถว” สูตรจีนยูนนาน ขาหมูแบบนี้ต่างจากที่เรากินกันทั่วไปในลักษณะน้ำซุปสีดำข้นแตกมัน รสออกหวาน แต่ของปายเป็นขาหมูท่อนเล็กๆ ตุ๋นเปื่อยนุ่มกำลังดี น้ำซุปตุ๋นเครื่องยาจีน น้ำใสๆ สีออกแดงๆ กลิ่นหอมชื่นใจ รสชาติไม่หวานจัด หนังหมูละลายในปาก ส่วนเนื้อแดงก็นุ่มนิ่ม กินกับน้ำจิ้มพริกเปรี้ยวๆ แต่ถ้าจะให้ครบสูตรต้องสั่งหมั่นโถว (เหมือนซาลาเปา แต่ลูกยาวรี ไม่มีไส้) มากินคู่กัน

หลายคนบอกว่าไม่อยากกินขาหมู เพราะกลัวอ้วนหรือกลัวคลอเรสเตอร์รอลพุ่งปรี๊ดใสเส้นเลือด ขอบอกว่าไม่ต้องกลัว เพราะคนจีนยูนนานเขาฉลาด รู้จักนำธรรมชาติมาสร้างสมดุลย์ให้อาหาร คือหลังจากกินขาหมู-หมั่นโถวแล้ว ต้องจิบชาอู่หลงตามเพื่อล้างปาก และช่วยลดไขมันในเส้นเลือดได้! ยิ่งช่วงนี้อากาศหนาวๆ ได้ซดน้ำชาร้อนๆ ดูวิวสวยๆ ของปายไปด้วย เอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม แนะนำขาหมู-หมั่นโถว ร้านมิตรภาพปาย บ้านสันติชล โทร. 08-0129-9165, 08-1993-2129
ปาย 16

มาเที่ยวปายให้เพอร์เฟ็กต์ ต้องหาเวลาไปเยือน หมู่บ้านจีนสันติชล ซึ่งเป็นชาวจีนตอนใต้ จากมณฑลยูนนานที่อพยพเข้ามาอยู่ในปายเนิ่นนานแล้ว ชวนกันเข้าไปเดินเที่ยวหรือขี่ม้าเล่นในศูนย์วัฒธรรมจีนยูนนาน สร้างเป็นหมู่บ้านจีน มีกำแพงเมืองจีนจำลอง ให้ปีนป่ายขึ้นไปถ่ายรูปชมวิวสุดเก๋ ที่นี่มีร้านน้ำชา ร้านอาหาร ร้านขายของ Souvenirs และร้านถ่ายรูป ให้เราลองใส่ชุดจีนเป็นฮ่องเต้ มเหสีแบบจีน แอ็กท่าถ่ายภาพร่วมกับก๊วนเพื่อนๆ แบบขำๆ สุดยอดไปเลย!

ปาย 17 ปาย 18 ปาย 19

ชิมชาอู่หลงบำรุงสุขภาพ ที่หมู่บ้านจีนสันติชลปาย 20 ปาย 21

เสน่ห์ที่ทำให้ปายมีชื่อเสียง ดึงดูดผู้คนจากทั่วสารทิศมาสัมผัส ไม่ใช่มีแค่ถนนคนเดินเก๋ๆ แต่ปายมีเรื่องราวแง่มุมอื่นให้ค้นหามากกว่านั้น เพราะเมืองปายเป็นเมืองเก่าแก่ก่อนประวัติศาสตร์ล้านนา สังเกตได้จากวัดวาอารามโบราณหลายแห่ง ซึ่งเก่าจนหาบันทึกช่วงเวลาสร้างแน่ชัดไม่ได้เลยทีเดียว

            พระธาตุแม่เย็น ตั้งอยู่บนยอดเขาสูง มองลงไปจะเห็นหุบเขาเมืองปายและแม่น้ำไหลผ่าน เมื่อมองเลยไปอีกจะเห็นแนวเทือกเขาใหญ่ ที่ตั้งของหมู่บ้านจีนสันติชล ทางขึ้นไปชมทะเลหมอกหยุนไหลนั่นเอง พระธาตุแม่เย็นเก่าแก่มาก ไม่มีบันทึกแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อใด เป็นพระธาตุเล็กๆ 3 องค์อยู่ด้วยกัน ผู้คนนิยมมานมัสการกราบไหว้ขอพร แล้วชวนกันเดินขึ้นบันไดต่อไปยังส่วนสูงสุดของยอดเขานี้ เป็นที่ประดิษฐานองค์พระพุทธรูปสีขาวขนาดยักษ์ในท่าปางสมาธิ จากจุดนี้มองไปทางทิศตะวันตก จะเห็นเมืองปายอยู่เบื้องล่างอย่างเต็มตา โดยเฉพาะช่วงเย็นจะเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่งามสุดๆ เลย

ปาย 22 ปาย 23

หนึ่งในไฮไลท์ของการไปเที่ยวปายก็คือ การได้มีโอกาสไปเดินชิลเที่ยวชม ถนนคนเดินปาย ซึ่งจัดกันประจำทุกวัน ตั้งแต่หกโมงเย็นถึงเที่ยงคืน โดยปิดถนนชัยสงคราม เริ่มจากที่ว่าการอำเภอปาย ลงไปจนถึงลำน้ำปายเลยล่ะ บริเวณที่ว่าถือเป็นย่าน Down Town ของปายอย่างแท้จริง เพราะเต็มไปด้วยร้านขายของที่ระลึกหลากหลายละลานตา มีร้านอาหาร บาร์ และเกสต์เฮาส์ให้เลือกเพียบ

ปาย 24 ปาย 25

 ถนนคนเดินปายมีบ้านเรือนสองฟากฝั่งเป็นเรือนไม้สวยงาม ชวนให้นึกถึงวันเก่าๆ เรือนไม้เหล่านี้ได้รับการแต่งแต้มโดยศิลปะร่วมสมัย มีการทาสี ประดับโคมไฟ วาดรูปลวดลายเก๋ๆ น่ารักๆ จนกลายเป็นมุมถ่ายภาพน่าหลงใหล คือหลังจากตระเวนเที่ยวปายกันมาตลอดวันแล้ว พอพระอาทิตย์เริ่มอัสดง ก็เวลาออกมาเดินช็อปปิ้งกัน เต็มไปด้วยเสื้อยืด, โปสการ์ด, ผ้าชาวเขา, ผ้าพันคอกันหนาว, งานศิลปหัตถกรรมทำมือ ตุ๊กตา หมวก รองเท้า ถุงย่าม พวงกุญแจ ฯลฯ ป้ำลวดลายคำว่าปายไว้เป็นที่ระลึก ปาย 26 ปาย 27

Tourist’s Guide

เวลาน่าเที่ยว : เที่ยวได้ตลอดปี แต่อากาศเย็นสบาย ฟ้าใสสุด ต้องเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์

การเดินทาง : บินกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จากนั้นมีหลายทางเลือก เช่น นั่งรถบัสเชียงใหม่-ปาย, นั่งรถตู้เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน-ปาย หรือถ้าเช่ารถยนต์ขับชมวิวไปเองจากเชียงใหม่ ต้องใช้ทางหลวงหมายเลข 108 จากเชียงใหม่ผ่านอำเภอหางดง สันป่าตอง จอมทอง ฮอด แม่สะเรียง แม่ลาน้อย และขุนยวม ถึงอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน รวม 349 กิโลเมตร เป็นทางตัดขึ้นเขาสูง วิวสวยงามแต่คดเคี้ยวถึง 1,846 โค้ง! แล้วขับรถต่อจากอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน-ปาย อีก 111 กิโลเมตร แต่ถ้าทนนั่งรถนานขนาดนั้นไม่ไหว แนะนำให้นั่งเครื่องบินจากเชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน โดย Kan Air โทร. 0-2551-6111 www.kanairlines.com แล้วค่อยนั่งรถต่อไปปาย ยังทุ่นระยะทางได้ครึ่งหนึ่ง

หลับสบาย : แนะนำที่พักหรูมีระดับแนวบูติก แถมวิวสวยเป็นธรรมชาติสุดๆ ที่ปาย คือ Belle Villa โทร. 0-5369-8226-7, 0-2693-3952-3 www.bellevillaresort.com/pai/

More info : www.อําเภอปาย.com / ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอน โทร. 0-5361-2982-3

Tips : ขอแนะนำ วิธีแก้เมารถ เพราะทริปนี้ต้องนั่งรถผ่านเขาสูงคดเคี้ยว อย่างแรกคือไม่ควรนั่งเบาะหลัง, ควรมองออกไปไกล ไม่เพ่งสายตาอยู่กับวิวใกล้รถ, ไม่หันซ้ายหันขวาบ่อย, ควรกินยาแก้เมารถ 1 เม็ด ล่วงหน้า 30 นาทีก่อนรถออก และวิธีสุดท้ายที่แปลกดี คือให้เอาแผ่นพลาสเตอร์ หรือกอเอี๊ยะปิดสะดือ! จริงไม่จริงให้ลองไปทำกันดูนะ ไม่อันตราย มีหลายคนบอก work!

ตามรอยพิพัฒน์ อัศจรรย์แห่งขุนเขา ชวนแอ่วดอย ตามรอยพ่อหลวง

สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ 2

เชียงใหม่ ในช่วงฤดูหนาวเป็นช่วงที่อากาศเย็นสบาย สดชื่น ดอกไม้ผลิบานทั่วไปหมด โดยเฉพาะบนดอยสูงและโครงการหลวง พืชผักผลไม้ดกงาม รสชาติก็อร่อย ยิ่งเพิ่มเสน่ห์ชวนให้ผู้คนเดินทางมาเยือนเชียงใหม่อย่างล้นหลาม

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงใหม่ จึงจัดแคมเปญส่งเสริมการท่องเที่ยวโครงการหลวง ในมิติของการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ ทั้งด้านวิถีเกษตร การรักษาสิ่งแวดล้อม และวิถีชุมชน โดยเฉพาะโครงการหลวง (Royal Project) ที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานให้ชาวไทยในภาคเหนือได้มีอาชีพมั่นคง มีรายได้ และสามารถเลี้ยงตนเองได้
สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ 3 สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ 4.1

คุณวิสูตร บัวชุม ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานเชียงใหม่ กล่าวว่า เชียงใหม่นอกจากจะมีภูมิอากาศ ภูมิประเทศเหมาะสมต่อการทำเกษตรแล้ว ยังมีธรรมชาติสวยงาม สามารถท่องเที่ยวได้ทั้งสามฤดู โดยในส่วนของโครงการหลวงนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 มีหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้รับสนองพระราชโองการ ในตำแหน่งผู้อำนวยการ
สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ 4

ทุกวันนี้โครงหลวงในพระราชดำริของเชียงใหม่ และพื้นที่ใกล้เคียง มีอยู่กว่า 20 แห่ง มีบทบาทช่วยเหลือส่งเสริมด้านอาชีพแก่ผู้คนบนดอยสูง ให้หยุดถางป่าทำไร่เลื่อนลอย หรือปลูกฝิ่น หันมาปลูกพืชผักผลไม้และดอกไม้เมืองหนาว ส่งขาย สร้างรายได้อย่างยั่งยืนกว่า ททท. จึงได้จัดเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงโครงการหลวงหลายแห่งเข้าด้วยกัน ในชื่อ “ตามรอยพิพัฒน์ อัศจรรย์แห่งขุนเขา” นำคนมาเที่ยวในมุมมองใหม่ ให้เกิดการเรียนรู้ และความประทับใจไปพร้อมกัน สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ 5

เส้นทางท่องเที่ยว ตามรอยพิพัฒน์ อัศจรรย์แห่งขุนเขา มี 6 เส้นทางให้เลือก คือ

  1. เส้นทางชวนแอ่วดอย ตามรอยพ่อหลวง “เส้นทางอ่างขาง-เชียงดาว-ห้วยลึก” (สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง-ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยลึก)
  2. เส้นทางชวนกันแอ่วดอย ตามรอยพ่อหลวง “เส้นทางจอมทอง-อินทนนท์-แม่แจ่ม” (สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์-ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง)
  3. ขวนกันแอ่วดอย ตามรอยพ่อหลวง “เส้นทางแม่โถ-ห้วยต้ม” (ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถ)
  4. ชวนกันแอ่วดอย ตามรอยพ่อหลวง “เส้นทางแม่ริม-สะเมิง” (ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย-สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์-สถานีเกษตรหลวงปางดะ-อุทยานหลวงราชพฤกษ์)
  5. ชวนกันแอ่วดอย ตามรอยพ่อหลวง “เส้นทางวัดจันทร์-กัลยาณิวัฒนา” (ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์-อำเภอกัลยาณิวัฒนา)
  6. ชวนกันแอ่วดอย ตามรอยพ่อหลวง “เส้นทางห้วยฮ่องไคร้-ตีนตก” (โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ-ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก-ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงป่าเมี่ยง-โครงการพระราชดำริบ้านทุ่งจี้)

สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ 6 สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ 7 สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ 8 สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ 9

สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2522 เน้นการศึกษาวิจัยและขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาว มีโรงเรือนและสวนสวยให้นักท่องเที่ยวชื่นชมตลอดปี โดยเฉพาะช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ จะมีดอกไม้ผลิบานงดงามที่สุด

สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ 10 สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ 11

ดอกกุหลาบพันปี (Rhododendron spp.) ที่สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ 12

White Rhododendron หรือคำขาว ที่สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์
สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ 13

ดอกลิลลี่ ที่สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ 14 สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ 15

กล้วยไม้รองเท้านารีปีกแมลงปอที่ใกล้สูญพันธุ์ ก็มีให้ชมที่สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์
สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ 16

สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ 17 สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ 18

บนดอยอินทนนท์มีงานวิจัยประมงบนที่สูง นำพันธุ์ปลาน้ำจืดจากเมืองหนาวมาเพาะเลี้ยง เพื่อส่งเสริมอาชีพ และปรุงเป็นเมนูอาหารรสเลิศในราคาไม่ธรรมดาสถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ 19

บ่อเลี้ยงปลา Rainbow Trout และปลา Russian Sturgeon บนดอยอินทนนท์สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ 20

ดูกันชัดๆ หน้าตาปลา Rainbow Trout จากเมืองนอกมันเป็นอย่างนี้เอง พวกมันชอบอยู่ในน้ำเย็นอุณภูมิไม่เกิน 20 องศาเซลเซียส และต้องเป็นน้ำสะอาดที่ไหลถ่ายเทตลอดเวลาซะด้วย จริงๆ แล้วปลาชนิดนี้เป็นตระกูลเดียวกับปลาแซลมอน ตามธรรมชาติจึงต้องออกไปอาศัยหากินอยู่ในทะเล แล้วว่ายน้ำกลับเข้ามาวางไข่ในแหล่งน้ำจืดที่มันถือกำเนิดขึ้นมา  พบได้ทั่วไปในมหาสมุทรแปซิฟิกในทวีปเอเชีย และทวีปอเมริกาเหนือ สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ 21

ปลา Russian Sturgeon เมื่อโตเต็มที่มีความยาวได้ถึง 2.3 เมตร ตัวผู้และตัวเมียดูภายนอกเหมือนกันเปี๊ยบ ถ้าจะแยกเพศต้องจับไปทำอัลตร้าซาวด์ดู ตามธรรมชาติเราสามารถพบปลาชนิดนี้ได้ที่ทะเลสาบแคสเปียน, ประเทศอาเซอร์ไบจาน, บัลแกเรีย, จอร์เจีย, อิหร่าน, โรมาเนีย, คาซักสถาน, รัสเซีย, ตุรกี, ยูเครน และเติร์กเมนิสสถานสถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ 22

ไข่คาร์เวีย หรือไข่ปลาสเตอร์เจียน ขวดแค่นี้ราคาถึง 5,000 บาท ถ้า 1 กิโลกรัม ราคาแพงถึง 50,000 บาท!สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ 23

ฮาฮาฮา ปลา Rainbow Trout ที่เราเพิ่งไปดูที่บ่อเลี้ยงในตอนเช้า พอมื้อเที่ยงก็ถูกทอดกระเทียมมาเสิร์ฟในจานแล้ว
สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ 24

นี่ก็เสต็กปลา Russian Sturgeon เนื้อนุ่ม แต่แน่นสู้ปาก รสชาติคล้ายเนื้อปลาแซลมอนมากๆ
สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ 25

ปิดท้ายมื้อเที่ยงที่สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ด้วยเมนูสรอว์เบอร์รี่แสนอร่อยโครงการหลวง ขุนวาง 1

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง อยู่ที่ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงฤดูหนาวดอกไม้เบ่งบานหลากสีหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะนางพญาเสือโคร่ง หรือซากุระเมืองไทย สาวๆ แอบแต่งตัวด้วยชุดยูกาตะแบบญี่ปุ่นไปถ่ายภาพกับนางพญาเสือโคร่ง ถ้าไม่บอกนึกว่านี่คือญี่ปุ่นแท้ๆ เลยนะเนี่ยะ!
โครงการหลวง ขุนวาง 2โครงการหลวง ขุนวาง 3

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง เปิดดำเนินการปี พ.ศ. 2528 เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเขาเผ่าม้งและปกากะญอ ปัจจุบันมีชื่อเสียงมากเกี่ยวกับพืชผักเมืองหนาว และป่าซากุระช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์
โครงการหลวง ขุนวาง 4โครงการหลวง ขุนวาง 5โครงการหลวง ขุนวาง 6โครงการหลวง ขุนวาง 7โครงการหลวง ขุนวาง 8

ซากุระขุนวางโครงการหลวง ขุนวาง 9โครงการหลวง ขุนวาง 10

แอ่วเมืองเหนือ เหมือนได้ไปเมืองนอก กับดอกซากุระโครงการหลวงขุนวางนั่นเองเจ้า
โครงการหลวง ขุนวาง 11โครงการหลวง หนองหอย 1

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย ตำบลแม่ริม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 มีชื่อเสียงในเรื่องการผลิตพืชผักผลไม้เมืองหนาว ส่งขายทั้งในตัวเมืองเชียงใหม่และกรุงเทพฯ โดยเฉพาะผักปลอดสารพิษ และผักปลอดภัยต่างๆโครงการหลวง หนองหอย 2โครงการหลวง หนองหอย 3

ท่านผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย นำชมแปลงปลูกผักไร้ดินโครงการหลวง หนองหอย 4

ผักไร้ดินใบดกงอกงามดีเหลือเกินโครงการหลวง หนองหอย 5โครงการหลวง หนองหอย 6.1

มะเขือเทศปลอดสารพิษพวงใหญ่เบ้อเริ่ม น่าหม่ำมากๆ ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอยโครงการหลวง หนองหอย 6

แหล่งท่องเที่ยวสุดฮิตอย่าง “ม่อนแจ่ม” จริงๆ แล้วก็อยู่ในพื้นที่ส่วนหนึ่งของโครงการหลวงหนองหอย ดอยม่อนแจ่มมีลักษณะเป็นจุดชมวิวสันเขา สามารถมองเห็นได้รอบด้านแบบ 360 องศา ทั้งทะเลหมอก พระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ตก มีสวนดอกไม้ละลานตา พร้อมด้วยร้านอาหารให้นั่งจิบกาแฟ และชาสมุนไพร 7 ชนิดโครงการหลวง หนองหอย 7โครงการหลวง หนองหอย 8

เทือกเขาสลับซับซ้อน มองจากจุดชมวิวดอยม่อนแจ่มโครงการหลวง หนองหอย 9

ดอกไม้เมืองหนาวสะพรั่งบานละลานตา ที่ม่อนแจ่ม ในฤดูหนาว
โครงการหลวง หนองหอย 10

จุดชมวิวดอยม่อนแจ่ม
โครงการหลวง หนองหอย 11

ผักเมืองหนาว ดอยม่อนแจ่มโครงการหลวง หนองหอย 12

ทุ่งดอกไม้ ดอยม่อนแจ่มโครงการหลวง หนองหอย 13

ศาลาชมวิววันฟ้าใสในฤดูหนาว ที่ดอยม่อนแจ่มโครงการหลวง หนองหอย 15

ดอกป๊อปปี้สีแดงชาติ ที่สวนดอกไม้ม่อนแจ่มโครงการหลวง หนองหอย 16โครงการหลวง หนองหอย 17โครงการหลวง หนองหอย 18

ความงาม ณ มุมเล็กๆ มุมหนึ่งของธรรมชาติสวนดอกไม้ ดอยม่อนแจ่มโครงการหลวง หนองหอย 19

แปลงพืชผัก ดอยม่อนแจ่มโครงการหลวง หนองหอย 20

แปลงผักขั้นบันได ดอยม่อนแจ่มโครงการหลวง หนองหอย 21

หนาวแล้ว ชวนเพื่อนๆ มาเที่ยวม่อนแจ่มกันเถอะเราโครงการหลวง หนองหอย 22

กิจกรรมสุดฮิตของดอยม่อนแจ่มก็คือ การขี่รถฟอร์มูล่าม้ง! เป็นรถไม้ทำเอง ที่ชาวม้งประดิษฐ์ขึ้นมา รถนี้ไม่มีพวงมาลัย เวลาจะเลี้ยวต้องใช้ขาขวาหรือซ้ายดันคานล้อหน้าเอาเอง ส่วนการเบรคหยุดรถ หรือจะให้มัมวิ่งเร็ว ช้า แค่ไหน เขาใช้คานไม้โยกที่อยู่ตรงกลางนั่นล่ะ ถ้าผลักไปข้างหน้าแสดงว่าวิ่งเร็วจี๋ แต่ถ้าดึงคันบังคับเข้าหาตัว แสดงว่าต้องการให้รถเบรคจ้า
โครงการหลวง หนองหอย 23

เจ้าตัวน้อย ลูกหลานชาวม้ง มารอรับนักท่องเที่ยวอยู่ที่ลานจอดรถฟอร์มูล่าม้งโครงการหลวง หนองหอย 24

ยำสรอว์เบอร์รี่ อาหารเมนูยอดฮิตที่ดอยม่อนแจ่มโครงการหลวง หนองหอย 25

ไม่ไกลจากดอยม่อนแจ่ม และโครงการหลวงหนองหอย มีไร่สตรอว์เบอร์รี่ของเอกชนให้เราเข้าไปชม ชิม ช้อป หลายแห่ง แต่แนะนำว่าไม่ควรเก็บกินจากต้น เพราะส่วนใหญ่ฉีดยาฆ่าแมลงไว้จ้า ต้องเอามาแช่น้ำล้างให้สะอาดก่อนนะโครงการหลวง หนองหอย 26โครงการหลวง หนองหอย 27โครงการหลวง หนองหอย 28

สตรอว์เบอร์รี่หวานฉ่ำ กลิ่นหอมฉุย ที่หนองหอยโครงการหลวง หนองหอย 29โครงการหลวง หนองหอย 30โครงการหลวง ปางดะ 1สถานีเกษตรหลวงปางดะ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เดิมเคยเป็นสถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาว ปัจจุบันโดดเด่นด้านการวิจัย ปรับปรุงพันธุ์ และผลิตพืชผลเมืองหนาวส่งขายทั่วประเทศ อาทิ กีวี่, มะเดื่อฝรั่ง, องุ่นไร้เมล็ด, เสาวรส, ราสพ์เบอร์รี่, มัลเบอร์รี่, อาโวกาโด้, ลิ้นจี่, มะเฟือง, เชอร์รี่สเปน ฯลฯ แถมยังมีบ้านพักให้ไปนอนค้างคืน สัมผัสธรรมชาติวิถีเกษตร Agro-tourism กันอย่างเต็มอิ่มเลยจ้า
โครงการหลวง ปางดะ 2โครงการหลวง ปางดะ 3โครงการหลวง ปางดะ 4

ปัจจุบันนี้ ท่านหัวหน้าสถานีเกษตรหลวงปางดะ ได้สั่งดอกกุหลาบกว่า 20-30 ชนิด เข้ามาจากประเทศเนเธอร์แลนด์โดยตรง เพื่อนำมาเพาะเลี้ยง ทั้งเพื่อประโยชน์ในการตัดดอก และนำมาทำเป็นอาหารเมนูดอกกุหลาบปลอดสารพิษอย่างแท้จริง
โครงการหลวง ปางดะ 5โครงการหลวง ปางดะ 6

กุหลาบเนเธอร์แลนด์สีหวานซึ้ง ที่โครงการหลวงปางดะโครงการหลวง ปางดะ 7โครงการหลวง ปางดะ 8โครงการหลวง ปางดะ 9โครงการหลวง ปางดะ 10โครงการหลวง ปางดะ 11โครงการหลวง ปางดะ 12
logo123-300x300Special Thanks : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง สนับสนุนการเดินทางเป็นอย่างดี สนใจสอบถามเพิ่มเติม โทร. 0-5324-8604-5 ทุกวัน ในเวลา 08.30-16.30 น.

ตื่นตาตื่นใจ ไปเดินบนยอดไม้ Canopy Walk เชียงใหม่

canopy เชียงใหม่ 2

นับตั้งแต่เปิดตัวมาเมื่อปี พ.ศ. 2536 สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ หรือ Queen Sirikit Botanic Garden อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ก็กลายเป็นแหล่งศึกษาวิจัย แหล่งเรียนรู้ และแหล่งท่องเที่ยวของคนรักธรรมชาติ ไปได้อย่างรวดเร็ว ยิ่งกว่านั้น เมื่อเดือนธันวาคม 2558 ที่ผ่านมา ทางสวนได้มีการเปิดเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติบนเรือนยอดไม้แห่งใหม่ล่าสุดของไทย ในชื่อ Canopy Walks Flying Draco Trail โดยนำชื่อของเจ้ากิ้งก่าบินชนิดหนึ่งที่พบในผืนป่าบริเวณนี้ มาเป็นกิมมิคน่ารักๆ ด้วย

ทริปนี้ Go Travel Photo ได้รับเกียรติจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงใหม่ และ ททท. ภูมิภาคภาคเหนือ ร่วมกันเดินทางไปสัมผัสเส้นทางเดินชมป่าบนเรือนยอดสูงลิบ คงน่าตื่นเต้นไม่เบาเลย
canopy เชียงใหม่ 3 canopy เชียงใหม่ 4

หน้าหนาวฟ้าใสปิ๊ง เป็นฤกษ์ดีที่เราจะไปเดินบนเส้นทาง Canopy Walks ที่ยาวที่สุดในเมืองไทยกันล่ะ เขาบอกว่ายาวกว่า 400 เมตรทีเดียว เป็นสะพานเหล็กปลอดสนิมอย่างแข็งแรง อยู่สูงจากพื้นกว่า 20-30 เมตรเลย! ว้าว!canopy เชียงใหม่ 5

จากอาคารจุดเริ่มต้นเดินเข้าสู่ Canopy Walks แค่เห็นครั้งแรกก็ตื่นเต้นแล้ว เพราะวิวแบบพาโนรามาบนยอดไม้นี้ ช่างกว้างไกล เห็นเรือนยอดป่าทอดตัวออกไปราวกับผืนพรมสีเขียว โดยมียอดเขาสูงอยู่ด้านหลังcanopy เชียงใหม่ 6

เดินเที่ยวบน Canopy Walks ขอบอกว่าไม่ต้องรีบ เดินไปช้าๆ ไม่ต้องกลัว เพราะโครงเหล็กแข็งแรงมาก ไม่มีอาการสั่นเลย หยุดชมนกชมไม้ ศึกษาพืชพรรณกันไปเรื่อยๆ เพื่อเข้าใจธรรมชาติให้มากขึ้น แต่ก็มีกฎอยู่นิดนึงคือ ห้ามอยู่ในจุดเดียวกันเกิน 5 คน เพราะเขาต้องกระจายน้ำหนักให้ดีนั่นเองcanopy เชียงใหม่ 7

สุดยอดความเจ๋งอีกอย่างของเส้นทาง Flying Draco trail ก็คือ ในบางจุดจะมีระเบียงแก้วใสยื่นออกไปจากตัวสะพานเหล็ก ให้เราชมวิวได้ตื่นเต้นสุดๆ แต่ก็มีข้อควรระวังคือ ห้ามเข้าไปยืนบนกระจกใสนี้พร้อมกันหลายคน และไม่ควรไปยืนในช่วงที่ฝนตก เพราะกระจกจะลื่นนั่นเองcanopy เชียงใหม่ 8 canopy เชียงใหม่ 9 canopy เชียงใหม่ 10

ช่วงแรกของเส้นทางเดินบนยอดไม้ นอกจากจะเห็นป่าเบญจพรรณผลัดใบที่ภูเขาด้านหลังแล้ว ใกล้ๆ กับเส้นทาง ยังมีพรรณไม้ให้ชื่นชมหลากชนิด อาทิ เสี้ยวเครือ เป็นพรรณไม้จำพวก Bauhinia (สกุลชงโค) ที่ทอดเลื้อยไปบนเรือนยอดต้นไม้ใหญ่ และจะออกดอกสีขาวสะอาดหมดจด เฉพาะในช่วงฤดูหนาวเท่านั้น
canopy เชียงใหม่ 11

ดอกเสี้ยวเครือcanopy เชียงใหม่ 12

ดอกแคป่า ที่พบบนเส้นทาง Canopy Walkscanopy เชียงใหม่ 13

เมื่อลมหนาวมาเยือน ป่าเบญจพรรณใกล้ๆ กับเส้นทาง Canopy Walks ก็เริ่มผลัดใบเป็นสีส้ม สีเหลือง สีแดง แซมสลับกับยอดไม้สีเขียวสดอย่างน่าตื่นตาcanopy เชียงใหม่ 14

เส้นทางนี้เหมาะอย่างมากสำหรับการมาใช้เวลาร่วมกับธรรมชาติ โดยเฉพาะยามเช้าจะมีนกป่าหลายชนิด
canopy เชียงใหม่ 15
canopy เชียงใหม่ 16

ในอดีตป่าเบื้องล่าง Canopy Walks เป็นป่าเสื่อมโทรมที่เคยถูกชาวบ้านถาง แต่เมื่อได้รับการฟื้นฟู สังคมป่าเบญจพรรณ ที่มักผลัดใบในฤดูแล้ง ก็จะเริ่มกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งcanopy เชียงใหม่ 17

นี่คือป้ายให้ความรู้เกี่ยวกับกิ้งก่าบิน เจ้าของฉายาเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติบนยอดไม้สายนี้canopy เชียงใหม่ 18

ทั้งตื่นเต้น ทั้งสนุก นี่คือประสบการณ์ในชีวิตที่เด็กๆ จะไม่มีวันลืมcanopy เชียงใหม่ 19

ในช่วงสุดท้ายของเส้นทางเดินบนยอดไม้ เมื่อมองกลับไป จะเห็นสะพานเหล็กในช่วงแรกที่เราเดินผ่านมาแล้ว เพิ่งรู้ว่าที่แท้มันสูงจากพื้นไม่ใช่เล่นเลยนะเนี่ยะ! เสียว แต่ก็สนุกตื่นเต้นดี
canopy เชียงใหม่ 20

จากสะพานเดินศึกษาธรรมชาติบนยอดไม้ เดินเล่น หรือนั่งรถต่อไปอีกแค่ 300 เมตร ก็จะถึงบริเวณหมู่อาคารเรือนกระจก และสวนไม้ดอกไม้ประดับสวยๆ ของสวนสมเด็จฯ ใครใคร่เก็บภาพประทับใจไว้อย่างเดียวเราก็ไม่ว่ากัน แต่ใครที่มุ่งมาศึกษาหาความรู้เรื่องพฤกษศาสตร์โดยตรง ก็คงต้องใช้เวลาเป็นวันๆ เพราะเขามีทั้งโรงเรือนป่าดิบชื้น, สวนขิงข่า, โรงเรือนไม้กินแมลง, โรงเรือนพืชทะเลทราย, โรงเรือนบัว, โรงเรือนกล้วยไม้, โรงเรือนเฟิน ฯลฯ สนุกแน่canopy เชียงใหม่ 21 canopy เชียงใหม่ 22 canopy เชียงใหม่ 23 canopy เชียงใหม่ 24 canopy เชียงใหม่ 25 canopy เชียงใหม่ 26 canopy เชียงใหม่ 27 canopy เชียงใหม่ 28 canopy เชียงใหม่ 29 canopy เชียงใหม่ 30 canopy เชียงใหม่ 31

สอบถามเพิ่มเติมที่ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โทร. 0-5384-1234 www.qsbg.org/Garden_n.htm
logo123-300x300Special Thanks : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงใหม่ สนับสนุนการเดินทางเป็นอย่างดี สนใจสอบถามโทร. 0-5324-8604-5

อินทนนท์ ป่าเมฆสูงสุดแดนสยาม ความงาม 3 ฤดู

อินทนนท์ 2

ถ้ามีคนมาถามผมว่า 1 ใน 5 สุดยอดแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติของเมืองไทย จะมีที่ไหนบ้าง? แน่นอนว่า 1 ในคำตอบของผมจะต้องมี “อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์” อยู่ด้วยแน่นอน ทำไมน่ะหรือ? ก็เพราะมหาคีรีแห่งนี้ คือยอดดอยสูงสุดของไทย ครองความสูงถึง 2,565 เมตรเหนือน้ำทะเล อาบอิ่มด้วยไอหมอกหนาวชั่วนาตาปี ปกคลุมด้วยป่าดิบเขา หรือ Hill-evergreen Forest ที่สมบูรณ์ที่สุดบนผืนดินไทย แถมยังมีพืชพรรณ ดอกไม้ นก และสัตว์มากมายให้ชื่นชมอินทนนท์ 3

ป่าดิบเขา (Hill-evergreen Forest) บนยอดดอยอินทนนท์ คือสังคมพืชที่ชอบความหนาวเย็นบนภูผาสูงอินทนนท์ 4

ณ ยอดดอยอันสูงเด่น ทำหน้าที่เป็นห้องเรียนธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ ให้คนที่คลั่งไคล้ไหลหลงธรรมชาติ ได้เข้าไปสัมผัสอย่างไม่รู้จบ โดยเฉพาะเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติอ่างกา และกิ่วแม่ปาน เป็นความงาม 3 ฤดู ที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป ท่ามกลางคุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพพงไพร
อินทนนท์ 5

แสงแรกของตะวันค่อยๆ เบิกฟ้า ปลุกสรรพชีวิตแห่งดอยอินทนนท์ให้ตื่นขึ้นจากหลับไหล ด้วยรังสีแสงอันอบอุ่น
อินทนนท์ 6

เมื่ออรุณเบิกฟ้า เหล่านักท่องเที่ยวจากทั่วสารทิศก็หลั่งไหลขึ้นสู่ยอดดอย เพื่อชื่นชมความงามของตะวันรับอรุณอินทนนท์ 7

จากจุดชมวิวตรงปากทางเข้าเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน มองเห็นทะเลภูเขาทอดตัวสลับซับซ้อนอินทนนท์ 8

ในช่วงฤดูหนาว ประมาณเดือนธันวาคม-มกราคม ดอกกุหลาบพันปี หรือ Rhododendron ทั้งสีแดงและสีขาว จะเบ่งบานประดับยอดดอยให้งามราวแดนสวรรค์ กุหลาบพันปีเป็นพืชของเขตอบอุ่นแถบเทือกเขาหิมาลัย ที่กระจายพันธุ์ลงมาถึงดอยอินทนนท์ ทำให้เราประจักษ์ว่า แท้จริงแล้วอินทนนท์คือปลายเทือกด้านตะวันออกสุดของหิมาลัยนั่นเอง
อินทนนท์ 9

บนยอดดอยอินทนนท์ นอกจากจะมีสถานีเรดาห์ของกองทัพอากาศตั้งอยู่แล้ว ยังเป็นที่ประดิษฐาน พระธาตุนภเมทนีดล และพระธาตุนภพลภูมิสิริ ซึ่งกองทัพอากาศสร้างถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ โดยในช่วงฤดูหนาวจะมีการปลูกไม้ดอกไม้ประดับสีสันสดใส เห็นแล้วสดชื่นสุดๆ เลยล่ะ
อินทนนท์ 10

ความอุดมของป่าเมฆสูงสุดแดนสยาม ที่ยังคงมีผืนป่าต้นน้ำพรั่งพร้อม ก่อเกิดเป็นน้ำตกใหญ่หลายแห่งบนเทือกดอยอินทนนท์ อย่าง น้ำตกสิริภูมิ ที่มองเห็นได้จากระยะไกล และมีดอกนางพญาเสือโคร่งเบ่งบานเคียงคู่กันอินทนนท์ 11

น้ำตกแม่ยะ เป็นหนึ่งในสุดยอดน้ำตกเมืองไทย เพราะมีผาน้ำตกแผ่กว้างถึง 100 เมตร ตัวน้ำตกไหลลดหลั่นลงมาเป็นเชิงชั้นราวขั้นบันไดสายธาร กว่า 30 ชั้น สูง 260 เมตร ราวกับของขวัญจากธรรมชาติที่อินทนนท์มอบให้เรา
อินทนนท์ 12

น้ำตกวชิรธาร เป็นน้ำตกที่กำเนิดขึ้นบนเทือกดอยอินทนนท์ แม้เป็นน้ำตกที่มีแค่ชั้นเดียว แต่ก็ไหลทิ้งตัวลงจากหน้าผาสูงตั้งชันถึง 70 เมตร ยิ่งใหญ่อลังการไม่เบาอินทนนท์ 13.1

น้ำตกห้วยทรายเหลือง เป็นน้ำตกที่ต้องเดินป่าระยะสั้นเข้าไป เพื่อชื่นชมความงามของสายธารที่ไหลลดหลั่นลงมาเป็นชั้นๆ อย่างเหมาะเจาะลงตัว ในช่วงกลางวันที่แดดส่องลงมาผ่านทะลุสายน้ำใสสู่ท้องธาร จะเห็นเม็ดทรายสีเหลือง อันเป็นที่มาของชื่อน้ำตกห้วยทรายเหลืองได้อย่างชัดเจนอินทนนท์ 13

คนที่ชอบศึกษาเรื่องพรรณไม้ ดอกไม้ และนกหายาก ต้องไม่พลาดเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติบนยอดดอย โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ป่าดิบเขาผืนนี้จะชุ่มฉ่ำ อาบอิ่มไอหมอก เขียวสดชื่น ถ่ายภาพมามุมไหนก็สวยไปซะทุกแห่งอินทนนท์ 14 อินทนนท์ 15

บนยอดดอยอินทนนท์ คือที่ประดิษฐาน สถูปบรรจุพระบรมอัฐิ พระเจ้าอินทรวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์ทิพย์จัก ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าประเทศราชองค์สุดท้าย ที่ทรงครองพระราชอำนาจเหนือล้านนาอย่างแท้จริง และยังทรงเป็นพระบิดาในเจ้าดารารัศมี พระราชชายาของพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ด้วย
อินทนนท์ 16

ป่ายอดดอยในช่วงฤดูฝนอินทนนท์ 17

ป่าเมฆอันร่มครึ้ม ห่มคลุมด้วยไอหมอกหนาวชั่วนาตาปี ณ ยอดดอยอินทนนท์
อินทนนท์ 18

ต้นก่อขนาดใหญ่บนยอดดอยอินทนนท์ ถูกปกคลุมด้วยมอส เฟิน ไลเคน และกล้วยไม้ อย่างหนาแน่น จนแลคล้ายต้นไม้ใส่เสื้อ ส่วนกิ่งก้านที่หงิกงอเกิดจากต้องปะทะลมแรงอยู่ตลอดเวลาอินทนนท์ 19อินทนนท์ 20

ป่ายอดดอยอินทนทท์ในช่วงฤดูฝน ฉ่ำชื้นเขียวสดเย็นตา เป็นที่มาของ ดอกเทียนคำ หรือดอกเทียนหางสีเหลือง จัดเป็นพืชคลุมดินชนิดหนึ่งที่มีดอกสวยงามน่าชมมากอินทนนท์ 21

ดอกบัวทอง เบ่งบานเคียงคู่ยอดดอยอินทนนท์ ในช่วงฤดูฝนเช่นกันอินทนนท์ 22อินทนนท์ 23

ดอกเทียนคำ
อินทนนท์ 24

ดอกเทียนคำอินทนนท์ 25

ดอกเทียนจิ๋ว บานรับฤดูฝนอั่นชุ่มฉ่ำเย็นชื้น
อินทนนท์ 26

ดอกเทียนน้ำ พบได้ทั่วไปตามพื้นป่าในฤดูฝนอินทนนท์ 27

สำหรับคนที่ชอบศึกษาธรรมชาติ ลองเพ่งมองลงไปที่แง่มุมเล็กๆ บนเปลือกไม้ ก็จะพบโลกเล็กๆ อีกโลกหนึ่ง ของสังคมพืชจิ๋ว มีทั้งมอส ไลเคน เชื้อรา รวมถึงลิเวอร์เวิร์ด และฮอร์นเวิร์ด ขึ้นอยู่รวมกันอย่างน่าอัศจรรย์! พืชจิ๋วเหล่านี้ทำหน้าที่คล้ายฟองน้ำธรรมชาติ ดูดซับน้ำไว้ได้นับร้อยเท่าของตัวมัน!อินทนนท์ 28อินทนนท์ 29อินทนนท์ 30อินทนนท์ 31

ร้านกาแฟแก้หนาวบนยอดดอย บรรยากาศชิลมากๆอินทนนท์ 32

หนึ่งในความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติบนยอดดอยอินทนนท์ ซึ่งจะปรากฏขึ้นเฉพาะฤดูหนาวเท่านั้น ก็คือ “แม่คะนิ้ง” หรือ “เหมยขาบ” ซึ่งแท้จริงแล้วก็คือ “น้ำค้างแข็ง” นั่นเอง ไม่ใช่หิมะ จริงๆ แล้วมันคือ Froze เกิดจากน้ำค้างที่จับตัวอยู่บนยอดหญ้าในยามราตรี ถูกความเย็นจัดจนทำให้กลายเป็นเกล็ดหรือผลึกน้ำแข็ง จะพบได้เฉพาะช่วงเช้าตรู่บนยอดดอย แต่เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น มันก็จะละลายหายไปหมด ราวกับไม่เคยมีอยู่ตรงนั้นเลย!อินทนนท์ 33อินทนนท์ 34อินทนนท์ 35อินทนนท์ 36อินทนนท์ 37อินทนนท์ 38อินทนนท์ 39

ในช่วงกลางฤดูหนาว ที่คลื่นความเย็นจัดพัดมาห่อหุ้มดอยอินทนนท์ไว้จนมิดชิด ขณะที่แม่คะนิ้งเผยความงามอันแสนสั้นออกอวดสายตา ดอกกุหลาบพันปีสีแดงสายพันธุ์อินทนนท์ที่หายาก (ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “คำแดง”) ก็สะพรั่งบานอวดความงามเช่นกัน ถ้าโชคดี อาจพบนกกินปลีหางยาวเขียว ชนิดย่อยดอยอ่างกา นกเฉพาะถิ่น (Endemic Species) ของอินทนนท์ บินมาดูดกินน้ำหวานจากกุหลาบพันปีก็เป็นได้อินทนนท์ 40อินทนนท์ 41

กระดิ่งภู พรรณไม้ที่พบได้เฉพาะบนดอยสูงอากาศหนาวเย็นเท่านั้นอินทนนท์ 42

กุหลาบพันปีสีขาว (ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “คำขาว”) เบ่งบานประดับยอดดอย ในช่วงเดียวกับที่คำแดงบานอินทนนท์ 43

เอื้องเทียนขาว บานรับลมหนาวบนยอดดอยอินทนนท์อินทนนท์ 44อินทนนท์ 45

ความงามอันทรงคุณค่าของดอยอินทนนท์ คือสมบัติล้ำค่าทางธรรมชาติที่เราคนไทยทุกคนต้องช่วยกันปกปักรักษาไว้ เพราะไม่มียอดดอยใดในสยาม จะยิ่งใหญ่เทียบเท่าอินทนนท์อีกแล้ว!logo123-300x300

Special Thanks : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงใหม่ สนับสนุนการเดินทางเป็นอย่างดี ภายใต้แคมเปญ “ตามรอยพิพัฒน์ อัศจรรย์แห่งขุนเขา ชวนแอ่วดอย ตามรอยพ่อหลวง” สอบถาม โทร. 0-5324-8604-5

ดูซากุระภูลมโล อลังการหุบเขาสีชมพู

ภูลมโล 2

กลับมาอีกครั้ง สำหรับฤดูกาลเที่ยวชมป่าซากุระบานที่ ภูลมโล ตำบลกกสะทอน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย แม้ว่าปีนี้ลมหนาวจะมาช้า แต่เมื่อความหนาวมาเยือนจริงๆ ก็สะท้านจนรีบหยิบเสื้อกันหนาวออกจากตู้แทบไม่ทัน เช่นเดียวกับดอกนางพญาเสือโคร่ง (ซากุระเมืองไทย) ที่ชอบความหนาว พากันผลิดอกสะพรั่งไปทั่วทั้งหุบเขา นับเป็นภาพงดงามอลังการ ที่เรา Go Travel Photo อยากชวนแฟนๆ ไปเห็นกับตาให้ได้สักครั้งภูลมโล 3

ในอดีต พื้นที่ป่าซากุระภูลมโลปัจจุบัน เคยเป็นป่าเสื่อมโทรมที่ถูกชาวบ้านบุกรุกแผ้วถางจนโล่งเตียน มักเกิดไฟป่าทุกปี ต่อมาอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จึงร่วมมือกับชาวบ้านเข้ามาฟื้นฟูสภาพพื้นที่ นำต้นนางพญาเสือโคร่งมาปลูก ประมาณ 5,000 ต้น ในบริเวณ 1,200 ไร่ จนกระทั่งปัจจุบันหลายปีผ่านไป มีต้นนางพญาเสือโคร่งเพิ่มเป็น 100,000 ต้น! ยามเบ่งบานจึงยิ่งใหญ่อลังการที่สุดในเมืองไทย ไม่มีใครกล้าปฏิเสธ!ภูลมโล 4 ภูลมโล 5 ภูลมโล 6 ภูลมโล 7

ภาพป่าซากุระภูลมโลในปีแรกที่เปิดให้ท่องเที่ยว งดงามบริสุทธิ์มาก ทว่าดอกซากุระยังมีขนาดเล็กอยู่ภูลมโล 8

ดอกนางพญาเสือโคร่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์ Prunus ceracoides) หรือ Yunnan Cherry แท้จริงแล้วเป็นพรรณไม้ในวงศ์กุหลาบ (Rosaceae) นางพญาเสือโคร่งจัดอยู่ในสกุล Prunus เช่นเดียวกับต้นเชอร์รี่, แอปปริคอต, ท้อ, สาลี่, พลัม และแอปเปิล โดยจะพบนางพญาเสือโคร่งได้บนความสูงเกิน 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป ภูลมโลจึงเป็นพื้นที่เหมาะมากสำหรับราชินีแห่งดอกไม้ชนิดนี้ เพราะภูลมโลสูงถึง 1,680 เมตรจากระดับน้ำทะเลภูลมโล 9 ภูลมโล 10 ภูลมโล 11

ตื่นตั้งแต่ก่อนสว่าง เพื่อนั่งรถกระบะฝ่าความหนาวเหน็บขึ้นไปบนภูลมโล แล้วเดินป่าขึ้นสู่ยอดภูลมโล ก็จะได้ยลภาพพระอาทิตย์ขึ้น บนป่ารอยต่อ 3 จังหวัด เลย เพรชบูรณ์ พิษณูโลก อย่างนี้ล่ะ คุ้มค่าจริงๆ
ภูลมโล 12

จากจุดชมวิวที่จอดรถ เดินป่าขึ้นยอดภูลมโล ใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที ก็จะได้เห็นภาพวิวพาโนรามา ของป่ารอยต่อ 3 จังหวัดแล้ว (จ.เลย เพชรบูรณ์ พิษณุโลก)
ภูลมโล 13

บนยอดภูลมโล มีหน้าผาหิน หรือแง่งหิน ยื่นออกไปเป็นจุดชมวิวถ่ายภาพได้สวยงาม น่าตื่นเต้น 2-3 แห่ง
ภูลมโล 14

บนยอดภูลมโลมีสภาพเป็นป่าดิบเขาย่อส่วน ต้นไม้ใหญ่มีพืชพวกมอส เฟิน กล้วยไม้ ไลเคน ปกคลุมหนาแน่น บ่งบอกว่าสภาพอากาศยังสะอาดสมบูรณ์ บางช่วงของปีจะมีกล้วยไม้สกุลหวายสีขาวเบ่งบานให้ชมด้วย แต่ขอเตือนว่า ดูแต่ตา มืออย่าต้อง ของจะเสีย!ภูลมโล 15

ระหว่างนั่งรถขับเคลื่อนสี่ล้อ 4WD ระยะทาง 16 กิโลเมตร มองเห็นยอดภูลมโลตั้งเด่นอยู่ลิบๆ ไม่ไกลแล้วล่ะภูลมโล 16

บนภูลมโลมีแท่งหินแกรนิตรูปทรงประหลาดๆ ซึ่งผ่านการสึกกร่อนของกาลเวลา สายลม สายน้ำ มาเนิ่นนานเป็นล้านปี ถ้าใครเคยไปเที่ยวที่ภูหินร่องกล้า (ซึ่งอยู่ใกล้กับภูลมโล) บริเวณนั้นจะมีลานหินปุ่ม ลานหินแตก ผาชูธง และหินรูปเกล็ดงู Sun Crack อยู่ด้วย เหล่านี้ล้วนอยู่ในแนวหินเดียวกัน สึกกร่อนโดยกระบวนการลมและน้ำคล้ายๆ กันภูลมโล 17

ความงามอันเร้นลับ ของป่าซากุระภูลมโลในยามเช้าตรู่ ซึ่งมีหมอกขาวห่มคลุม ทว่าแสงอาทิตย์เริ่มสาดส่องลงมาสร้างความอบอุ่นแก่ผืนโลกอีกครั้งภูลมโล 18

ป่าซากุระภูลมโลในม่านหมอกยามเช้าตรู่ภูลมโล 19

ความงามราวของป่าซากุระ ไม่ต่างจากภาพศิลปะในธรรมชาติเลยแม้แต่น้อยภูลมโล 20

รถที่เหมาะสมจะขึ้นไปเที่ยวบนภูลมโลที่สุด คือรถกระบะ หรือรถขับเคลื่อนสี่ล้อ เพราะตลอดหนทาง 16 กิโลเมตร จากบ้านกกสะทอนขึ้นถึงจุดชมวิวภูลมโลนั้น เป็นเส้นทางดินลำลอง ขรุขระ สูงชันและคดเคี้ยว เข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ถ้าขับรถเก๋งขึ้นไปเอง รับรองหนาวแน่!

แนะนำว่า ควรจอดรถส่วนตัวไว้ แล้วเหมารถของ อบต. กกสะทอน ขึ้นไปเที่ยวบนภูลมโลจะคุ้มกว่า ค่าเช่ารถ 1 คัน นั่งได้ 6 คน ราคา 1,500 บาท แต่ถ้านั่งเกิน 6 คน ราคา 2,000 บาท (สอบถาม คุณนิยม โทร. 08-4490-3169)ภูลมโล 21

สนุกสนานเฮฮากับป่าหินรูปทรงแปลกตา บนภูลมโลภูลมโล 22

ก่อนจะลงไปชมป่าซากุระบานอลังการสุดสายตา ก็มาถ่ายภาพกับป้ายภูลมโลไว้เป็นที่ระลึกก่อนนะจ๊ะภูลมโล 23ภูลมโล 24

ลานหินทรงประหลาดบนภูลมโลภูลมโล 25

จากจุดชมวิวและลานหินบนภูลมโล เราค่อยๆ นั่งรถขับเคลื่อนสี่ล้อลงดอยคดเคี้ยวสูงชันมาอย่างช้าๆ จนในที่สุดก็ได้เห็นป่าซากุระในหุบเขาสีชมพู พร้อมกับม่านหมอกขาวถูกลมตีตวัดขึ้นมาจากร่องผา งามราวกับสวรรค์!ภูลมโล 26

นี่ล่ะ หุบเขาสีชมพูแห่งซากุระเมืองเลยที่เรากำลังตามหา ได้มาเห็นกับตาแล้ว ดีใจๆ เดี๋ยวต้องบอกให้พี่พลขับพาลงไปชมความงามใกล้ๆภูลมโล 27ภูลมโล 28

เมื่อดอกนางพญาเสือโคร่ง หรือซากุระเมืองไทย เบ่งบาน ใครๆ ก็อยากไปเชยชมใกล้ๆ แต่ขอให้เราเก็บมาเฉพาะภาพถ่ายกับความทรงจำ และทิ้งไว้เพียงรอยเท้าเท่านั้น ความงามนี้จะได้อยู่คู่เมืองเลยและเมืองไทย ไปอีกนานๆภูลมโล 29

ป่าซากุระที่ภูลมโลมีอยู่หลายแปลง โดยแต่ละแปลงจะบานไม่พร้อมกันในแต่ละปี ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศว่าจะหนาวนาน หนาวคงที่ ไม่มีฝนรึเปล่า เราจึงต้องหมั่นโทรสอบถามไปที่ อบต. กกสะทอน เพื่อจะได้ไปเห็นป่าซากุระสุดอลังการที่ภูลมโล ได้ถูกที่ ถูกเวลา จ้าภูลมโล 30ภูลมโล 31

ปี 2016 แม้ว่าอากาศเมืองไทยจะผันผวน แต่เมื่อถึงเวลาลมหนาวมาเยือน ก็หนาวจัดไม่ใช่เล่น ซากุระที่ภูลมโลจึงสะพรั่งบานน่าชม ดอกใหญ่ สีชมพูเข้มจัด นี่คือภาพความงามอันอ่อนหวาน ซาบซึ้งตรึงใจ อย่างที่ใครหลายคนฝันอยากเห็น บางคนลงทุนบินไปดูซากุระที่ญี่ปุ่น แต่ถ้ามาเที่ยวถูกที่ ถูกเวลา ที่จังหวัดเลยก็มีให้ชมเหมือนกันจ้าภูลมโล 32ภูลมโล 33

ซากุระภูลมโล จะบานมากที่สุดตั้งแต่เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ภูลมโล 34ภูลมโล 35ภูลมโล 36ภูลมโล 37 ภูลมโล 38ภูลมโล 39

ในยามเช้าตรู่ ขณะที่ม่านหมอกหนาวยังไม่จางคลาย ป่าซากุระภูลมโลก็ยังคงซุกซ่อนความงามที่แท้จริง ไว้ภายใต้ม่านหมอกขาวนั้นเอง

ภูลมโล 40

ป่าซากุระ สายหมอก และสาวๆ ดูจะเป็นของคู่กันอย่างลงตัวซะจริงๆ ฮาฮาฮาภูลมโล 41

ไปดูซากุระภูลมโล สิ่งที่ขาดไม่ได้เลย คือ เสื้อกันหนาวหนาๆ กล้องถ่ายรูปดีๆ และหัวใจที่พร้อมเปิดรับสรรพเสียงจากธรรมชาติจ้า
ภูลมโล 43

ในยามสาย ขณะที่แดดเริ่มแรงขึ้น สีชมพูเข้มของดอกซากุระก็ยิ่งปรากฏออกมาให้เห็นอย่างเต็มตาภูลมโล 44ภูลมโล 45ภูลมโล 46

ดูกันใกล้ๆ ชมกันเต็มตา ดอกนางพญาเสือโคร่ง หรือ Yunnan Cherry ราชินีแห่งดอกไม้เมืองหนาวอันแสนอ่อนหวาน งามไม้แพ้ดอกซากุระที่แดนอาทิตย์อุทัยเลยแม้แต่น้อยภูลมโล 47

ว้าว! สวยจัง เที่ยวเมืองไทยเหมือนไปเมืองนอกแท้ๆ เมืองไทยก็มีซากุระนะจ๊ะ
ภูลมโล 48

ราชินีแห่งพรรณไม้เมืองหนาวอันหวานซึ้ง ซากุระภูลมโลภูลมโล 49ภูลมโล 50ภูลมโล 51

ความงามหวานซึ้งของซากุระภูลมโล ยิ่งเพ่งพินิจใกล้ๆ ก็ยิ่งหลงรักภูลมโล 52ภูลมโล 53

ภูลมโล Guide

ปัจจุบันเส้นทางขึ้นไปชมซากุระภูลมโล มี 2 เส้นทาง เลือกกันได้ตามสะดวกจ้า

เส้นทางที่ 1 จากที่ทำการตำบลกกสะทอน ผ่านบ้านตูบค้อ-ยอดภูลมโล ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร (ค่าเช่ารถกระบะพาขึ้นไปชมซากุระ 1,500-2,000 บาท)

เส้นทางที่ 2 จากบ้านใหม่ ภูหินร่องกล้า-ยอดภูลมโล ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร (ค่าเช่ารถกระบะพาขึ้นไปชมซากุระ 800-1,200 บาท)

สอบถามเพิ่มเติมที่ อบต. กกสะทอน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย โทร. 0-4203-9867 www.koksathon.go.thlogo123-300x300

Special Thanks : ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคอีสาน และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานจังหวัดเลย สนับสนุนการเดินทางเป็นอย่างดี สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0-4281-2812,  0-4281-1405equinox logo Png ong phulomloSpecial Thanks : บริษัท Outdoor Innovation Co., Ltd. สนับสนุนเสื้อกันหนาวและเสื้อผ้าสำหรับชีวิตแบบ Outdoor

แอ่วลำพูนม๋วนใจ๋ ในเมือง Slow Town

ลำพูน 2

ในขณะที่โลกเราทุกวันนี้หมุนไปอย่างรวดเร็ว จนบางครั้งเราเองก็ตามไม่ทัน เคยไหมที่อยากหาสถานที่ใดสักแห่งเพื่อพักผ่อนกายใจ เป็นสถานที่เงียบสงบ น่ารัก ได้ไปเยือนแล้วทำให้ใจเย็น เย็นใจ คล้ายได้ช๊าตแบตเตอร์รี่ชีวิต

คำตอบมีอยู่จริง ณ ดินแดนล้านนาภาคเหนือของสยามที่เรียกขานกันว่า “ลำพูน” หรือ “เมืองหริภุญไชย” นั่นเอง ลำพูนเป็นเมืองเก่าแก่ที่สุดของภาคเหนือ มีอายุกว่า 1,300 ปี ลือเลื่องในเรื่องพระรอด 1 ในเบญจภาคีอันล้ำค่า อีกทั้งยังเป็นดินแดนต้นกำเนิดลำไยรสชาติดีที่สุดของสยาม โดยมีพื้นที่ปลูกลำไยอยู่กว่า 600,000 ไร่! จนมีคำพูดติดตลกกันเล่นๆ ว่า “ลำพูนคือลำไย ลำไยคือลำพูน” ฮาฮาฮา

ลำพูน 3

มาถึงลำพูนแล้ว สถานที่แรกซึ่งควรไปกราบสักการะ คือ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ตั้งอยู่กลางใจเมือง ห่างจากศาลากลางแค่ไม่กี่ร้อยเมตร เป็นพระบรมธาตุเก่าแก่ สร้างมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 17 โดยสร้างเป็นทรงปราสาทสีทองอร่าม ภายในบรรจุธาตุกระหม่อม ธาตุกระดูกอก ธาตุกระดูกนิ้วมือ และธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง
ลำพูน 4

ภายในวิหารหลวง ด้านข้างองค์พระบรมธาตุ ประดิษฐานพระพุทธปฏิมาขนาดใหญ่ 3 องค์ ก่ออิฐถือปูนปิดทองเหลืองอร่าม พุทธลักษณะผุดผ่อง เปี่ยมเมตตา น่าเคารพสักการะอย่างยิ่ง
ลำพูน 5.1 ลำพูน 5

หากใครมาเที่ยวลำพูน แล้วไม่มีรถยนต์ส่วนตัว หรือไม่รู้จะเที่ยวยังไงไม่ให้พลาดสถานที่สำคัญ เราแนะนำให้ไปนั่งรถพ่วงเที่ยว เขาจอดอยู่ที่วัดพระธาตุหริภุญชัยฯ นั่นเอง โดยมีบริการเป็นรอบๆ เสียค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย พร้อมด้วยไกด์สาวสวยเสียงหวาน คอยบรรยายให้ความรู้ต่างๆ อย่างน่ารักเชียว
ลำพูน 6 ลำพูน 7

สถานที่แรก ซึ่งรถพ่วงจะหยุดแวะให้เราเที่ยวชม คือ “อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี” องค์ปฐมกษัตรีแห่งนครหริภุญไชยโดยมีประวัติเล่าว่า เมื่อ พ.ศ. 1200 ครั้นฤาษีวาสุเทพได้เกณฑ์พวกเมงคบุตรเชื้อสายมอญ มาสร้างเมืองใหม่ระหว่างแม่น้ำปิงและแม่น้ำกวง เสร็จแล้ว ก็ได้ไปอัญเชิญพระธิดากษัตริย์กรุงละโว้ (ลพบุรีในปัจจุบัน) คือ พระนางจามเทวี มาปกครองเมือง ด้วยว่าพระนางมีพระปรีชาสามารถ และมีพระสิริโฉมงดงามยิ่ง

การได้มากราบสักการะท่านสักครั้ง จึงเป็นมงคลแก่ชีวิตเราแล้วลำพูน 8

จุดที่สอง ซึ่งรถพ่วงนำเที่ยวจะแวะ คือ “วัดจามเทวี” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า “วัดกู่กุด” เป็นหนึ่งในสถานที่ห้ามพลาดเมื่อมาเยือนลำพูน เพราะมีพระเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม บรรจุพระอัฐิของพระนางจามเทวี ปฐมบรมกษัตรีแห่งนครหริภุญไชย สร้างขึ้นโดยพระราชโอรสของพระนาง เมื่อปี พ.ศ. 1298
ลำพูน 9

ความโดดเด่นไม่เหมือนใครของกู่กุดก็คือ โดยรอบทั้งสี่ทิศมีพระพุทธรูปปูนปั้นหลายสิบองค์ประดิษฐานอยู่ ศิลปะที่ใช้ปั้นนั้นก็เป็นสกุลช่างลำพูนแท้ๆ สังเกตได้จากพระพักตร์ คือ คิ้วต่อกันเหมือนคันศร, ตาโปน, พระพักตร์เหลี่ยม และขอบปากทั้งสองข้าง จะมีเส้นโค้งงอนขึ้นคล้ายหนวดลำพูน 10 ลำพูน 11 ลำพูน 12วัดจามเทวี มิใช่สถานที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระนางจามเทวีเพียงอย่างเดียว ทว่ายังเป็นสถานท่ีบรรจุอัฐิธาตุของตนบุญแห่งล้านนา “ครูบาศรีวิชัย” พระอริยสงฆ์องค์สำคัญที่สุดแห่งล้านนาในอดีตด้วย จริงๆ แล้วท่านเกิดที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และก็ได้กลับมามรณภาพที่บ้านเกิดของท่าน เมื่อปี พ.ศ. 2481 นั่นเอง
ลำพูน 13 ลำพูน 14

จุดที่สาม ซึ่งรถพ่วงนำเที่ยวจอดแวะก็คือ “วัดมหาวัน” ต้นกำเนิดพระรอด 1 ในเบญจภาคีแห่งสยาม โดยพระรอดหลวง (พระรอดลำพูน) องค์ดั้งเดิมนี้มีอายุมากถึง 1,400 ปี สร้างมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวีครองนครหริภุญไชย จึงได้รับการนำไปเป็นแบบพิมพ์พระเครื่องเลื่องชื่อในนาม “พระรอดมหาวัน” ที่นักเลงพระอยากครอบครองลำพูน 15 ลำพูน 16

พระรอดหลวงลำพูนลำพูน 17

จุดที่สี่ ซึ่งรถพ่วงแวะชม คือ “กู่ช้าง กู่ม้า” เป็นโบราณสถานในชุมชนวัดไก่แก้ว ห่างจากใจกลางเมืองลำพูนประมาณ 1 กิโลเมตร กู่ช้างจริงๆ แล้วก็คือสถูปที่ใช้บรรจุอัฐิของช้างทรงคู่บารมีของพระนางจามเทวี ที่ใช้ทรงออกศึก ชื่อว่า “ภูก่ำงาเขียว” เป็นช้างคชลักษณะพิเศษผิวสีคล้ำ งาสีเขียว ทำให้มีพลัง อานุภาพ และอิทธิฤทธิ์มากในสงครามลำพูน 18

กู่ม้า เป็นสถูปองค์ระฆังคว่ำ เชื่อว่าเป็นสุสานม้าทรงของพระโอรสพระนางจามเทวีลำพูน 19

อนุสาวรีย์ภูก่ำงาเขียว
ลำพูน 20

จุดที่ห้า ของการนั่งรถพ่วงเที่ยวก็คือ “วัดพระยืน” ที่บ้านพระยืน ตำบลเวียงยอง เป็นวัดเก่าแก่และสำคัญมาก เพราะเป็นวัดประจำ 1 ใน 4 ทิศของลำพูนมาแต่อดีต สร้างโดยพระเจ้าธรรมมิกราช กษัตริย์หริภุญไชย เมื่อ พ.ศ.1606-1611ลำพูน 21 ลำพูน 22

จุดเด่นของวัดพระยืน คือพระเจดีย์ทรงมณฑป ที่มองครั้งแรกก็ชวนให้นึกถึงเจดีย์ที่เมืองพุกาม ประเทศเมียนมาร์ ซะจริงๆ และยิ่งได้ไปค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมก็พบว่า ผู้สร้างตั้งใจให้มีความคล้ายคลึงกับอานันเจดีย์เมืองพุกามจริงๆ และยังมีอีกแห่งที่สร้างคล้ายกัน คือพระเจดีย์วัดป่าสัก จังหวัดเชียงราย

ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงมณฑป มีพระพุทธรูปยืนสีทองอร่ามประจำทั้งสี่ทิศ ส่วนบนเป็นเจดีย์ห้ายอด โดยมีเจดีย์ทรงระฆังและเจดีย์ทรงกลมขนาดเล็กเป็นประธาน
ลำพูน 23

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง พระนางจามเทวีเสด็จวัดพระยืนลำพูน 24

จุดที่หก เป็นจุดสุดท้ายของการนั่งรถพ่วงแอ่วลำพูนแบบชิลชิลในวันนี้ คือ “สถาบันผ้าทอมือหริภุญชัย” อำเภอเมืองฯ เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ของคนรักผ้าแพรพรรณโบราณ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมสวมใส่กันอย่างมากในปัจจุบัน เหมือนการปลุกผ้าทอพื้นเมืองอันทรงคุณค่าให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง โดยเฉพาะ “ผ้าไหมยกดอกลำพูน” 

ลำพูน 25

คุณนิชาดา สุริยะเจริญ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน หญิงเก่งผู้มากความสามารถ ได้เล่าประวัติผ้ายกดอกลำพูนให้เราฟังว่า จริงๆ แล้วคำว่า “ยกดอก” เป็นเทคนิคการทอผ้าแบบหนึ่ง ต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศอินเดีย แล้วค่อยๆ ถ่ายทอดมาสู่มลายู จนกระทั่งเจ้าดารารัศมีแห่งเชียงใหม่ ได้ไปเป็นพระชายาของพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 ขณะอยู่ในวังที่บางกอก เจ้าดารารัศมีได้ทรงเรียนรู้เทคนิคการทอผ้ายกดอก แล้วกลับมาถ่ายทอดให้กับช่างทอผ้าของล้านนาในเวลาต่อมา ทว่าผ้ายกดอกลำพูน ได้พัฒนาเทคนิคลวดลายใหม่ๆ เพิ่มขึ้น จนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ลำพูน 26

ผ้าไหมยกดอกลำพูน ปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก มีตั้งแต่ราคาหลักพันบาทไปจนถึงแสนบาท ใช้เวลาทอนานแรมเดือน ขายหมดเกลี้ยง ทุกวันนี้แทบไม่มีสต็อกผ้าเลย นับเป็นกระแสความนิยมผ้าไทยอันมีลวดลายวิจิตรมหัศจรรย์ สร้างรายได้ให้แม่บ้านในจังหวัดลำพูนอย่างน่าชื่นใจลำพูน 27 ลำพูน 28

ร้านจำหน่ายผ้าไหมยกดอกอันล้ำค่าน่าสวมใส่ ที่สถาบันผ้าทอมือหริภุญชัย
ลำพูน 29

สวมใส่แล้วงามอย่างกับนางฟ้าแต้ๆ ล่ะเจ้าลำพูน 30 ลำพูน 32 ลำพูน 33

ลวดลายผ้าทอยกดอกลำพูน มีมากกว่า 80 ลาย นิยมสวมใส่กันตั้งแต่คนธรรมดา ดารา นักร้อง นักแสดง ไปจนถึงเจ้านายในรั้วในวัง อาทิ ลายปักษาสวรรค์, ลายลีลาวดี, ลายพิกุลก้านแหย่ง, ลายกุหลาบพันปี, ลายดอกพวงแก้วโบราณ, ลายบัวสวรรค์, ลายโคมโพธิ์แก้ว และลายมงกุฎเพชร เป็นต้นลำพูน 34.1 ลำพูน 34

นอกเหนือจากลวดลายผ้าทอยกดอกลำพูนที่ถือเป็นหนึ่งในสุดยอดผ้าพื้นเมืองสยามแล้ว ผ้ายกดอกลำพูนยังได้สร้างมิติใหม่ให้วงการทอผ้าอีกด้วย คือการได้รับมาตรฐาน GI หรือ Geographical Indications โดยใช้ผ้านี้เป็นเครื่องบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ว่าผ้ายกดอกลำพูน เป็นของเมืองลำพูนแห่งสยามเท่านั้น ปัจจุบันมีการไปจดลิขสิทธิ์ไว้ในหลายประเทศแล้ว อาทิ อินโดนีเซีย อินเดีย และฝรั่งเศส เพื่อมิให้เกิดการลอกเลียนแบบได้
ลำพูน 35.1

ยิ่งกว่านั้น ผ้าทอยกดอกลำพูนทุกผืนยังมีเครื่องหมาย QR Code ที่เราสามารถใช้โทรศัพท์มือถือไป Scan ก็จะมีข้อมูลรายละเอียดของผ้าผืนนั้นขึ้นมาให้อ่านอย่างละเอียด ตั้งแต่วัสดุที่ใช้ทอ, สี, ชื่อช่างทอ, วันที่ทอ ฯลฯ นับเป็นมาตรฐานการตรวจสอบย้อนหลัง ทำให้ผู้ซื้อมีความมั่นใจในผืนผ้า ว่าเป็นผ้ายกดอกลำพูนแท้ๆ ทุกวันนี้จึงมีออร์เดอร์สั่งเข้ามาอย่างมากมาย จนทอกันแทบไม่ทัน!ลำพูน 35 ลำพูน 36 ลำพูน 37 ลำพูน 38 ลำพูน 39 ลำพูน 40

ผ้ายกดอกลำพูน ช่างทอต้องนั่งต่อไหมทีละเส้น นับเป็นพันๆ หมื่นๆ เส้น! ดังนั้นถ้าราคาแพงก็ไม่ควรต่อ เพราะแต่ละผืนต้องใช้ความประณี ฝีมือ ความอุตสาหะ และความรักในงานนี้จริงๆลำพูน 41 ลำพูน 42

ภาพสาวชาวลำพูน นุ่งซิ่นในอดีต ท่อนบนสวมเสื้อออกแนวไทยใหญ่ลำพูน 43

นอกจากส่วนสาธิตการทอ และร้านจำหน่ายผ้ายกดอกลำพูนแล้ว สถาบันผ้าทอมือหริภุญชัย ยังมีพิพิธภัณฑ์เล็กๆ จัดแสดงวิถีคนกับผืนผ้าล้านนา ให้เราเข้าใจพอสังเขปลำพูน 44 ลำพูน 45

มาเที่ยวลำพูนคราวนี้ได้พบเห็นมุมมองใหม่แปลกออกไป ทำให้รู้ว่าลำพูนไม่ได้มีแต่ลำไย ทว่าลำพูนวันนี้ได้ก้าวเข้าสู่โลกของการท่องเที่ยวยุคใหม่แล้วจริงๆ ในตอนต่อไป เราจะไปเยี่ยมเยือนแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ของลำพูนกันบ้าง โปรดติดตาม ตอน 2 ของ Go Travel Photo แอ่วลำพูนนะเจ้าlogo123-300x300Special Thanks : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง สนับสนุนการเดินทางเป็นอย่างดี สนใจสอบถามเพิ่มเติม โทร. 0-5324-8604-5

ททท. พาเที่ยว น่าน สนุกสนาน เมืองต้องห้ามพลาด PLUS แพร่

แพร่ 1

เป็นที่ทราบกันดีว่า หลังจากแคมเปญ 12 เมืองต้องห้ามพลาด ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมในปี 2558 ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวของคนไทยภายในประเทศได้เป็นอย่างมาก มาวันนี้ ททท. เขามีแคมเปญใหม่เอี่ยมสำหรับปี 2559 ที่กำลังจะมาถึง 12 เมืองต้องห้ามพลาด PLUS ขยายขอบเขตการท่องเที่ยว ขอบเขตแห่งความสุขเพิ่มออกไปเป็น 24 เมืองต้องห้ามพลาดแล้ว!

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานแพร่ ได้จัดงานแถลงข่าว “น่านเมืองต้องห้าม…พลาด PLUS แพร่” ณ คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ อำเภอเมืองฯ จังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 โดยมีการจัด Mini Caravan ร่วมกับบริษัท Win Win Smile เยือนดินแดนล้านนาตะวันออก น่าน-แพร่-อุตรดิตถ์ ขับรถแอ๋วเหนือม่วนใจ๋ พร้อมด้วยสื่อมวลชนจากหลายสำนัก ร่วมเดินทางสัมผัสเสน่ห์เมืองเหนือในครั้งนี้แพร่ 2

Mini Caravan ของเราเร่ิมปล่อยตัวกันที่หน้าสถานที่สำคัญของน่าน คือ วัดภูมินทร์ สุดยอดวิหารศิลปะไทลื้อ ซึ่งมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสุดคลาสสิก ปู่ม่าน ย่าม่าน อยู่ภายในด้วย โดย Mini Caravan ครั้งนี้จะเที่ยวในเส้นทาง น่าน-แพร่-อุตรดิตถ์ ท่ามกลางฟ้าใส และอากาศที่แสนเย็นสบายในต้นฤดูหนาวแพร่ 3

จุดแรกที่เราได้ไปเยือน คือ ดอยเสมอดาว ในเขตอุทยานแห่งชาติศรีน่าน จุดชมทะเลหมอกยามเช้าสุดเจ๋ง ซึ่งสามารถมองลงไปเห็นลำน้ำน่านไหลลดคดโค้งอยู่เบื้องล่าง ท่ามกลางป่าเขียวสดแพร่ 4

ตอนนี้ที่ดอยเสมอดาว มีเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติศรีน่านมากางไว้รอรับนักท่องเที่ยวสำหรับฤดูหนาวนี้ อย่างเป็นระเบียบ แต่ด้วยเนื้อที่บนเขาอันจำกัด ใครไปช้าอาจจะอดนะจ๊ะ
แพร่ 5

จากตรงจุดชมวิวดอยเสมอดาว มองไปทางซ้ายจะเห็น “ผาหัวสิงห์” เป็นผาหินขนาดมหึมา รูปร่างเหมือนหัวสิงโตเลยล่ะแพร่ 6

แม้เราจะไปถึงดอยเสมอดาวกันสายโด่ง ไม่ได้ยลทะเลหมอก แต่ทุกคนใน Mini Caravan ก็มีความสุขสนุกสนานแพร่ 7

ลงจากดอยเสมอดาว จังหวัดน่าน เรานั่งรถยาวไปจนเข้าเขตจังหวัดแพร่ เมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางการทำไม้สัก เคียงคู่กับจังหวัดลำปางมาแต่อดีต เมืองแพร่อาบอิ่มด้วยธรรมชาติ ขุนเขาลำเนาไพร และมีแหล่งธรรมชาติชวนพิศวงอยู่แห่งหนึ่ง คือ “แพะเมืองผี” ธรณีวิทยาอันเกิดจากการกัดเซาะของลมและน้ำเป็นเวลาหลายล้านปี! จนเราแอบตั้งฉายาให้เล่นๆ ว่าเป็น “สโตนเฮนจ์เมืองไทย” ฮาฮาฮา
แพร่ 8

ทุกวันนี้แพะเมืองผีได้รับการอนุรักษ์สภาพไว้ในรูปแบบของ วนอุทยานแพะเมืองผี มีเนื้อที่กว่า 500 ไร่ โดยมีการจัดทำเส้นทางเดินเข้าไปชมความมหัศจรรย์ได้อย่างใกล้ชิด
แพร่ 9

หลังจากเดินวนเวียนชมแพะเมืองผีจากด้านล่างกันจนหนำใจแล้ว เขายังมีจุดชมวิวจากมุมสูงด้วยนะ
แพร่ 10

วันแรกของการเดินทาง ยังไม่สิ้นสุดลง เพราะในตอนเย็นย่ำ ขบวนคาราวานของเราก็เข้าสู่ใจกลางเมืองแพร่ ณ คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ ซึ่งเป็นคุ้มหรือที่ประทับของเจ้าเมืององค์สุดท้ายแห่งเมืองแพร่ คือ เจ้าหลวงพิริยชัยเทพวงศ์ (พระยาพิริยวิไชย) ซึ่งประทับอยู่ที่นี่พร้อมกับพระอัครชายา คือ แม่เจ้าบัวไหล ผู้มีความสามารถในงานเย็บปักถักร้อยขั้นสูง โดยแม่เจ้าบัวไหลได้ปักผ้าทองคำแท้สำหรับคลุมรถเบนซ์ ถวายรัชกาลที่ 5 ถือเป็นผ้าคลุมรถทองคำผืนแรกของสยาม!
แพร่ 11

ปัจจุบันคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่เปลี่ยนโฉมเป็นพิพิธภัณฑ์ ตัวบ้านงามด้วยสถาปัตยกรรมขนมปังขิงแบบยุโรป แพร่ 12

คุณธนภร พูลเพิ่ม (เสื้อขาว คนที่ 3 จากซ้ายในภาพ) ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานแพร่ พร้อมด้วยแขกผู้มีเกียรติในเมืองแพร่ เดินทางมาร่วมงานแถลงข่าว “น่านเมืองต้องห้าม…พลาด PLUS แพร่” ณ คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่อย่างอบอุ่นแพร่ 13

ขวนแห่ตุงอันยิ่งใหญ่อลังการ ณ คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ ต้อนรับโครงการ น่านเมืองต้องห้าม…พลาด PLUS แพร่แพร่ 14

การฟ้อนตัวอ่อน เป็นนาฎศิลป์พื้นถิ่นแพร่ และน่าน บ้านพี่เมืองน้องอันใกล้ชิดมาแต่โบราณแพร่ 15 แพร่ 16

ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ พร้อมด้วยท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน และแขกผู้มีเกียรติจาก ททท. ร่วมกันแถลงข่าว “น่านเมืองต้องห้าม…พลาด PLUS แพร่” เพื่อช่วยกันส่งเสริมการท่องเที่ยวจากเมืองหลัก ที่อาจมีความคับคั่ง เมืองรองจึงมีบทบาทเพิ่มขึ้น โดยจังหวัดแพร่และน่าน ต่างก็มีแหล่งท่องเที่ยว วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี คล้ายคลึงเชื่อมโยงกันได้อย่างผสมกลมกลืน

แพร่ 17

ททท. สำนักงานแพร่ ได้จัดแคมเปญ “เส้นทางรักแท้” ภายใต้ธีม “รักแท้ รักนาน เที่ยวน่าน แพร่” เพื่อเชิญชวนให้ครอบครัว เพื่อนรัก และคู่รัก เดินทางมาสัมผัสเสน่ห์ของทั้งสองเมืองคู่แฝดนี้ “รักแท้ เที่ยว แพร่” เชิญเรามาสัมผัสรักนิรันดร์ของตำนานรักพระลอ อนุสรณ์สถานแห่งความเสียสละเพื่อรัก พร้อมมาถวายเทียนคู่ที่วัดพระธาตุช่อแฮ และกราบพระธาตุพันปีเพื่อเสริมสร้างบุญบารมี

เช่นเดียวกับ “รักนาน เที่ยว น่าน” เชิญมาถวายเทียนคู่ที่วัดพระธาตุแช่แห้ง แล้วมาสัญญากระซิบรักต่อหน้าภาพเขียนสีปู่ม่าน ย่าม่าน ที่วัดภูมินทร์ ให้รักกันยืนยาวจนแก่เฒ่า จากนั้นก็ไปบอกรักกันต่อในอุทยานแห่งรักแสนโรแมนติก ณ ดอยเสมอดาว อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ทั้งหมดนี้คือเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงที่เต็มไปด้วยมนต์ขลังของแดนดินถิ่นล้านนาตะวันออก อย่างแท้จริงแพร่ 18

การฟ้อนเทียนอันสวยสดงดงาม อ่อนช้อย ของสาวเมืองแพร่ ณ คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่แพร่ 19

เสน่ห์สาวงามเมืองแพร่ งามไม่เป็นสองรองใครจริงๆ เลยแพร่ 20

หลังจากงานแถลงข่าว “น่านเมืองต้องห้าม…พลาด PLUS แพร่” แล้ว แขกผู้มีเกียรติพร้อมด้วยคณะ Mini Caravan ม๋วนใจล้านนาตะวันออก ก็ร่วมกันรับประทานขันโตก อาหารแบบชาวเหนือ ที่ทั้งอร่อย และประทับใจไปกับบรรยากาศย้อนยุค ของเสียงสะล้อ ซอ ซึง และการฟ้อนงามๆ ของสาวแพร่แพร่ 21

เช้าวันถัดมาของการเดินทาง ยามเช้าในเมืองแพร่อากาศเย็นสบาย ท้องฟ้าปลอดโปร่งแจ่มใส คงไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการเร่ิมต้นวันนี้ด้วยการไปเยือนกำแพงเมืองแพร่ และตักบาตรทำบุญให้สุขใจ
แพร่ 22

ชาวแพร่เขามีการตักบาตรทำบุญยามเช้าเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร เพราะเขามี “การตักบาตรบนสะพานเมฆ” ซึ่งอันที่จริงแล้ว ไม่ใช่ทะเลเมฆทะเลหมอกอย่างที่ใครหลายคนคิด ทว่าเป็นการตักบาตรบนกำแพงเมืองโบราณ อยู่ติดกับตลาดเทศบาลแพร่ เราตื่นมาตอนเช้า ไปซื้ออาหารคาวหวานและดอกไม้จากตลาดมาตักบาตรได้เลย โดยพระท่านจะเดินมารับบาตรประมาณ 7 โมงเช้าทุกวัน
แพร่ 23แพร่ 24แพร่ 25

ได้เวลาคณะ Mini Caravan ออกตระเวนซอกแซกเที่ยวต่อ เช้านี้เราจะเดินทางย้อนเวลาหาอดีต กลับไปสัมผัสส่วนเสี้ยวหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ 2 ณ “สถานีรถไฟบ้านปิน” อำเภอลอง เป็นสถานีรถไฟไม้สักที่ถือว่าสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของสยามเลยทีเดียว ว้าว! สถานีรถไฟแห่งนี้สร้างขึ้นด้วยสไตล์บาวาเรียนเยอรมันเป็นแห่งแรกของไทย มี 2 ชั้น งดงามด้วยลวดลายไม้และซุ้มประตูหน้าต่างโค้ง ฉลุฉลายสวยงามมาก อีกทั้งยังสร้างหลังคาแบบปั้นหยา ซึ่งเป็นไสตล์ที่นิยมกันมากในช่วงรัชกาลที่ 5-6 อันเป็นยุคที่สถานีรถไฟบ้านปินถือกำเนิดขึ้น
แพร่ 26

สถานีรถไฟบ้านปินเข้าไปเกี่ยวข้องกับสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้อย่างไร? นายสถานีเล่าให้ฟังว่า ทหารอเมริกันได้ขึ้นเครื่องบิน เอาระเบิดมาทิ้งที่สะพานรถไฟที่อยู่ใกล้ๆ เพื่อหยุดยั้งการลำเลียงทัพของทหารญี่ปุ่น ทว่ามีระเบิดจำนวนหนึ่งไม่ระเบิด ชาวบ้านจึงเข้าไปกู้ถอดสลักและดินปืนออก เหลือแต่เปลือกระเบิดขนาดใหญ่ ซึ่งชาวบ้านพบว่าใช้เหล็กอย่างดีมาก เมื่อเคาะดูมีเสียงก้องกังวาลเหมือนระฆัง จึงนำไปถวายวัด จนเกิดคำกล่าวที่ว่า “คนแพร่แห่ระเบิดขึ้น” ว้าว!แพร่ 27

เมื่อเที่ยวชมสถานีรถไฟบ้านปินเสร็จแล้ว ก็ต้องไปซด กาแฟแห่ระเบิดเมืองแพร่ ซึ่งสมเด็จพระเทพฯ ท่านเคยเสด็จมาเสวยด้วย ร้านนี้อยู่ไม่ไกลจากสถานีรถไฟบ้านปิน ถามใครๆ ในอำเภอลองรู้จักแน่นอน โดยร้านนี้ตั้งอยู่ริมถนน มี Landmark เด่นเป็นลูกระเบิดสีทองขนาดใหญ่แขวนอยู่ให้สังเกตได้ ภายในร้านที่สร้างด้วยไม้ให้ความรู้สึกอบอุ่น จัดเป็น Art Gallery เล็กๆ น่านั่งชิลนานๆ ลองสั่งกาแฟมาซด เปิดอ่านหนังสือดีๆ สักเล่ม ปล่อยตัวและหัวใจไปพร้อมกับตำนานกาแฟแห่ระเบิดเมืองแพร่ 
แพร่ 28

หนึ่งในวัดสำคัญที่สุดของเมืองแพร่ปัจจุบัน คือ “วัดพระศรีดอนคำ” (หรือวัดห้วยอ้อ) อำเภอลอง ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองแพร่ไป 45 กิโลเมตร ที่ว่าสำคัญเพราะเก่าแก่นับพันปี สร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 1078 สมัยพระนางจามเทวีเสด็จจากเมืองละโว้ไปเมืองหริภุญชัย ที่ว่าเป็นวัดสำคัญเพราะมีพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนหน้าอกของพระพุทธองค์แท้ๆ ให้สักการะ พร้อมด้วยระฆังระเบิด 1 ใน 2 ลูกของเมืองแพร่ เป็นระเบิดที่ทิ้งลงมาทำลายสะพานรถไฟข้ามห้วยแม่ต้า ช่ววปี พ.ศ. 2485-2488

แพร่ 29

วัดพระศรีดอนคำยังเป็นที่ประดิษฐาน พระเจ้าพร้าโต้ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ศิลปะพม่า อยู่ภายในพิพิธภัณฑ์ของวัด อันเป็นที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุแห่งล้านนาตะวันออกไว้อย่างละลานตาแพร่ 30

ดูกันชัดๆ เลยจ้า นี่คือระฆังระเบิด 1 ใน 2 ลูกของเมืองแพร่ ที่มาของตำนาน คนแพร่แห่ระเบิด! (ก็คือแห่มาถวายวัด)แพร่ 31แพร่ 32

อำเภอลอง จังหวัดแพร่ แม้ดูเผินๆ จะเป็นอำเภอเล็กๆ แต่เชื่อไหมว่ามีความเป็นมายาวนานนับพันปี ตั้งแต่ยุคที่พระนางจามเทวีเสด็จโดยทางเรือขึ้นภาคเหนือ เมื่อผ่านบริเวณนี้เห็นว่าชัยภูมิดีเยี่ยม จึงตรัสว่าไหนลองขึ้นไปชมดูหน่อยซิ บริเวณนี้จึงได้ชื่อว่า “อำเภอลอง” มาจนปัจจุบัน
แพร่ 33

อำเภอลองมีวัดอายุพันปีชื่อ “วัดสะแล่ง” ที่แม้จะเคยถูกทิ้งร้างกว่า 300 ปี แต่ก็ได้รับการบูรณะจนสวยสดงดงาม มีสถาปัตยกรรมแบบล้านนาตะวันออกเด่นสง่า รวมถึงมีพระพุทธรูปไม้จันทน์ของพระเจ้าปดุงกษัตริย์พม่าในอดีต ประดิษฐานอยู่ด้วย วัดนี้มีพิพิธภัณฑ์รวมของเก่าแก่โบราณล้ำค่านับหมื่นชิ้นให้ชม นับเป็นอารามที่คนในท้องถิ่นเคารพบูชาอย่างยิ่งแพร่ 34

พิพิธภัณฑ์วัดสะแล่ง อำเภอลอง จังหวัดแพร่แพร่ 35

อำเภอลองช่างมีเรื่องราวน่าสนใจให้ค้นหาไม่สิ้นสุดจริงๆ จากวัดวาอาราม เราเปลี่ยนบรรยากาศมาชื่นชมศิลปวัฒนธรรมและหัตถกรรมล้ำค่าของคนแพร่กันบ้าง ณ โกมลผ้าทอโบราณ เป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ของท้องถิ่น ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อกว่า 50 ปีก่อนโดย คุณโกมล พานิชพันธ์ ช่างภาพอำเภอลอง ที่เดินทางเก็บภาพวัดวาอารามและประเพณีต่างๆ ของคนแพร่มาจัดแสดงไว้
แพร่ 36

ปัจจุบันได้พัฒนาเพิ่มเติม กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ผ้าทอโบราณของคนแพร่ที่ถือว่าสมบูรณ์ที่สุด จุดเด่นอยู่ที่ห้องจัดแสดงผ้าล้ำค่านานาชนิด อาทิ พญาผ้า ซึ่งเป็นผ้าทอโบราณที่ใช้เทคนิคการทอทุกรูปแบบมารวมไว้ในผืนเดียวกันได้อย่างวิเศษ! รวมถึงผ้าทอทองคำอันประเมินค่ามิได้ ณ ที่นี้เราจะได้ยลผ้าซิ่นตีนจกลับแลอันลือชื่อไปทั่วผืนดินสยามแพร่ 37

ดาบเหล็กอำเภอลองอันโด่งดังในอดีต เป็นเหล็กกล้าไร้สนิม คมกริบ และสามารถม้วนพันไว้รอบเอวได้!
แพร่ 38ซิ่นทองคำอายุหลายร้อยปี อันประเมินค่ามิได้
แพร่ 39

ซิ่นของคนแพร่มีเอกลักษณ์ด้วยการใช้สีแดง เหลือง ขาว เป็นหลัก โดยส่วนหัว (เอว) จะเป็นสีขาว ส่วนตัวซิ่นเป็นลายขวางสีเหลือง แดง เขียว ดำ สลับกัน และส่วนตีนซิ่นมีลวดลายวิจิตพิสดาร พร้อมด้วยปลายตีนสีแดงสด การใช้ลายขวางบนตัวซิ่นมิได้ทำให้ผู้สวมใส่ดูตัวเตี้ยลงแต่อย่างใด เพราะช่างทอโบราณมีการใช้ทฤษฎีสีต่างๆ เข้ามาแซมสลับ ทำให้เกิดความสวยงาม มีทัศนมิติที่ช่วยเสริมบุคลิกของผู้ใส่ได้อย่างวิเศษ นอกจากนี้ซิ่นโบราณอำเภอลองทุกผืน ยังมีการทอลายจำเพาะกำหนดไว้ที่ตีนซิ่น เปรียบเสมือลายเซ็นต์ หรือ Bar Code โบราณ ไม่มีผิดเลยแพร่ 40

ก่อนโบกมืออำลาแพร่ เราแวะไปกราบพระกันที่ “วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรี” ที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2520 บนถนนสายแพร่-ลำปาง ช่วงอำเภอเด่นชัย เป็นวัดใหญ่ที่งดงามด้วยสถาปัตยกรรมอันน่าตื่นตา เพราะมีการนำสถาปัตยกรรมหลายสไตล์มาผสมผสานกัน ทั้งล้านนา ไทยใหญ่ ลาว พม่า และจีน โดยเฉพาะเจดีย์ใหญ่ 30 องค์ ผู้ที่ควบคุมการก่อสร้างคือ ครูบาน้อย (หรือหลวงพ่อมนตรี) ซึ่งท่านได้รวบรวมสุดยอดช่างฝีมือล้านนา ที่เรียกว่า “สล่า” มาก่อสร้างวัดนี้แพร่ 41

สุดยอดของศิลปะล้านนา 11 แห่ง ที่นำมาประยุกต์สร้างโบสถ์วิหารภายในวัดพระธาตุสุโทน ได้แก่

ซุ้มประตูด้านหน้าโบสถ์ จากวัดพระธาตุลำปางหลวง ลำปาง
ซุ้มประตูด้านตะวันออก จากวัดพระธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่
 ซุ้มประตูด้านตะวันตก จากวัดพระธาตุหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว
 ฐานพระอุโบสถรูปซิกแซก จากวังประทับพระยามังราย เชียงราย
 ประตูและหน้าต่างลวดลายแกะสลัก จากวิหารลายคำวัดพระสิงห์ เชียงใหม่
 ปั้นลมลวดลายเก่าศิลปะทางเหนือ จากวัดต้นเกวน อำเภอสเมิง เชียงใหม่
 นาค 7 เศียร แบบขอมและนางอัปสรปูนปั้น จากวัดเจ็ดยอด เชียงใหม่
 หอไตร จากวัดพระสิงห์ เชียงใหม่
 หอระฆัง จากวัดพระธาตุหริภูญชัย ลำพูน
 กุฏิหลังใหญ่สร้างด้วยไม้สักทองจากบ้านไทยสิบสองปันนา ประเทศจีน
 พระบรมธาตุ 30 ทัส ศิลปะเชียงแสน จากวัดพระธาตุนอ (หน่อ) ของพระชนกพระเจ้าเม็งรายมหาราช จากแคว้นสิบสองปันนา ประเทศจีนแพร่ 42

จากจังหวัดแพร่ ได้เวลาเดินทางมากล่าวทักทาย เมืองอุตรดิตถ์ เมืองเหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน บ้านพระยาพิชัยดาบหัก และถิ่นสักใหญ่ที่สุดของโลกแพร่ 43

พิพิธภัณฑ์เมืองลับแล อุตรดิตถ์แพร่ 44

ภายในพิพิธภัณฑ์เมืองลับแล ถือเป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ความเชื่อ ภาษา อาหาร และประเพณีวัฒนธรรมของชาวลับแลอุตรดิตถ์ไว้อย่างสมบูรณ์แบบ
แพร่ 45

นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ ร่วมกับ คุณธนภร พูลเพิ่ม ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานแพร่ กล่าวต้อนรับ Mini Caravan 12 เมืองต้องห้าม…พลาด PLUS แพร่ อย่างอบอุ่นแพร่ 46

สาวงามเมืองลับแลฟ้อนขันดอกให้เราชมอย่างน่าประทับใจแพร่ 47ใกล้ๆ กับพิพิธภัณฑ์เมืองลับแล มี ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ที่พร้อมให้ทั้งข้อมูล มีจักรยานให้เช่าขี่เล่น และเป็นจุดขึ้นลงรถพ่วงชมรอบเมือง วนเวียนไปตามสถานที่สำคัญต่างๆ อย่างเรือนไม้เก่าร้อยปี, พิพิธภัณฑ์ผ้าคุณโจ รวมถึงร้านของกินอร่อยนานาชนิด เช่น ขนมจีนทอด และของทอดร้านป้าณี ลับแล ฯลฯ
แพร่ 48

รถพ่วงชมเมืองลับแลแพร่ 49

เรือนไม้เก่าร้อยปี ทั้งสวยงาม คลาสสิก เต็มไปด้วยมนต์ขลัง และเรื่องราวเก่าๆ ในทุกย่างก้าว ที่นี่เปิดเป็น Homestay ด้วย แค่คืนละ 300 บาทต่อคนเท่านั้นแพร่ 50แพร่ 51

พิพิธภัณฑ์ผ้าคุณโจ นอกจากจะเป็นแหล่งรวบรวมซิ่นตีนจกลับแล ทั้งโบราณและสมัยใหม่แล้ว ยังสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้ชาวบ้านโดยรอบเป็นกอบเป็นกำ เพราะผ้าเหล่านี้ถือเป็นงานประณีตศิลป์ล้ำค่าราคาสูง ผืนหนึ่งสนนราคาตั้งแต่หลักหมื่นถึงแสนบาท ปัจจุบันมียอดสั่งจองยาวเหยียด และจำหน่ายหมดอย่างรวดเร็ว!แพร่ 52แพร่ 53

การทอซิ่นตีนจกลับแล จะใช้เทคนิคคล้ายคลึงกับการจกผ้าที่หาดเสี้ยว สุโขทัย ทว่าลายสองด้านของลับแลจะละเอียดเรียบร้อยงามตากว่า งานแขนงนี้จึงเป็นการสืบสานภูมิปัญญาของท้องถิ่น ของชาติ ให้คงอยู่สืบไป
แพร่ 54

ของทอดร้านป้าณี ลับแล ใครมาก็ต้องแวะชิม โดยเฉพาะ “กระบองทอด” ทำจากหน่อไม้ใส่หมูชุบแป้งทอด อร่อยมากๆ
แพร่ 55แพร่ 56

วันสุดท้ายของการเดินทางที่ทั้งยาวไกลและสนุกสนาน Mini Caravan ของเราไปแวะหม่ำอาหารเที่ยงแสนอร่อยสไตล์ Western Fusion กันที่ “ไร่องุ่น คานาอัน” อำเภอทองแสนขัน อุตรดิตถ์ บรรยากาศของไร่นี้ทำให้รู้สึกเหมือนกำลังนั่งอยู่ในอิตาลี หรือในฝรั่งเศสตอนใต้ ไม่มีผิดเลย ฮาฮาฮาแพร่ 57

เดินชมไร่องุ่นแดงที่กำลังผลิผลสะพรั่ง มีทั้งองุ่นกินผลสด และองุ่นทำไวน์แดงแพร่ 58แพร่ 59

อากาศยามบ่ายอาจจะร้อนอบอ้าวนิดนึง แต่เมื่อได้ดื่มน้ำองุ่นสดเย็นชื่นใจ ก็ทำให้โลกสดชื่นขึ้นอีกครั้งเนอะแพร่ 60

ไม่มีงานเลี้ยงใดไม่เลิกรา ในที่สุดเราก็มาถึงแหล่งท่องเที่ยวสุดท้ายของทริปนี้กันแล้ว กับ “บ่อเหล็กน้ำพี้” อำเภอทองแสนขัน อุตรดิตถ์ ดินแดนแห่งตำนานดาบเหล็กน้ำพี้อันลือลั่น

เหล็กน้ำพี้ แท้จริงแล้วคือแร่เหล็กชนิดหนึ่งที่มีคุณภาพดีเยี่ยม สามารถนำมาถลุงตีเป็นอาวุธนานาชนิด มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แสดงให้เห็นว่าบรรพบุรุษไทยท่านได้นำเหล็กน้ำพี้มาใช้เป็นอาวุธ ต่อสู้รักษาผืนดินไทยไว้ให้ลูกหลานมาจนปัจจุบัน กล่าวกันว่าเหล็กน้ำพี้เป็นโลหะมหัศจรรย์และมีพลังเร้นลับ ผู้ที่ครอบครองสามารถป้องกันภูตผีปีศาจ มนต์ดำ เกิดเมตตามหานิยม และคงกระพันชาตรี สุดยอดจริงๆ!
แพร่ 61

หลังจากชมพิพิธภัณฑ์เหล็กน้ำพี้ และกราบสักการะเจ้าพ่อเหล็กน้ำพี้แล้ว ก็ได้เวลาสนุก ตกเหล็กน้ำพี้ ใครโชคดีอาจจะได้ก้อนใหญ่กลับบ้านไปบูชาด้วยแพร่ 62

เหล็กน้ำพี้หน้าตาเป็นอย่างนี้เองนะแพร่ 63

การเดินทางอันยาวไกล บนเส้นทาง “น่าน เมืองต้องห้าม…พลาด PLUS แพร่” ของเราสิ้นสุดลงแล้ว แต่ภาพประทับใจและประสบการณ์ดีๆ ครั้งนี้ จะได้รับการบอกต่อไปไม่สิ้นสุด หน้าหนาวนี้ถ้าคุณยังไม่รู้จะไปเที่ยวไหนดี ขอบอกเลยว่า เส้นทางจาก น่าน-แพร่-อุตรดิตถ์ นั้น สวยงาม หลากหลาย เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์ล้านนาตะวันออกจริงๆ จ้า

Special Thanks : ททท. สำนักงานแพร่ เลขที่ 2 ถนนบ้านใหม่ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองฯ จังหวัดแพร่ 54000 โทร. 0-5452-1127 โทรสาร 0-5452-1110  www.tourismthailand.org/phrae , www.easternlanna.org , tatphrae@tat.or.thlogo123-300x300 11150908_463007607208094_5994833930499316607_n

ล่องไพรมหัศจรรย์ ฝันที่เป็นจริง ชุมพร ระนอง!

ล่องแพพะโต๊ะ 1

สมัยผมเป็นเด็ก พ่อเคยเอานิยายเรื่อง “ล่องไพร” มาให้อ่าน พอจำเรื่องเลาๆ ได้ว่า เมื่อสัก 50-100 ปีที่แล้ว สมัยที่เมืองไทยยังปกคลุมด้วยป่าทั้งประเทศ ยุคนั้นเต็มไปด้วยสิงห์สาราสัตว์ ต้นไม้แปลกๆ เรื่องเล่าผีๆ สางๆ และการผจญไพรในป่าลึกอันน่าตื่นเต้น ไม่มีที่สิ้นสุด

แต่พอพ้นยุคปี พ.ศ. 2500 มาแล้ว ป่าไม้เมืองไทยก็หดหายลงมาเหลือแค่ 30 เปอร์เซนต์ บ้านเราจึงเกิดภัยธรรมชาติน้ำท่วมสลับฝนแล้ง ฤดูกาลผิดเพี้ยน นี่คือผลจาการตัดไม้ทำลายป่าอย่างหนักมาหลายชั่วอายุคน!

ในผืนป่าปักษ์ใต้ แถบชุมพร ระนอง ซึ่งต่อเนื่องลงไปถึงป่าของพังงาและสุราษฎร์ธานี ถือเป็นกลุ่มป่าที่มีขนาดใหญ่สุด ซึ่งยังหลงเหลือของภาคใต้ในปัจจุบัน ทริปนี้ เราจะร่วมเดินทางไปสัมผัสส่วนเสี้ยวของป่าต้นน้ำเมืองใต้ ที่ยังมอบความชุ่มฉ่ำให้แก่สรรพชีวิตเสมอมา
ล่องแพพะโต๊ะ 2เริ่มต้นการผจญไพรกันที่ “อำเภอพะโต๊ะ” จังหวัดชุมพร อำเภอแสนน่ารักที่มีคำขวัญชวนให้เที่ยวว่า “พะโต๊ะ ดินแดนแห่งภูเขาเขียว เที่ยวล่องแพ แลหมอกปก น้ำตกงาม ลือนามผลไม้” เพราะนอกจากจะเป็นอำเภอใต้สุดของชุมพร ซึ่งไม่มีทางออกทะเลแล้ว เกือบร้อยเปอร์เซนต์ของพะโต๊ะคือพื้นที่ภูเขาสลับซับซ้อน และผืนพรมของป่าไม้เขียวขจี ต้นน้ำลำธารสำคัญของภาคใต้ตอนบนเลยล่ะครับ โดยผืนป่าเหล่านี้ จะทอดตัวสลับกับสวนผลไม้ของชาวบ้าน ทั้งสวนกาแฟ สวนทุเรียน และสวนมังคุด

ล่องแพพะโต๊ะ 3

กิจกรรมที่สร้างชื่อให้กับอำเภอพะโต๊ะมานานหลายสิบปี และทำให้คนในภาคอื่นได้รู้จักอำเภอพะโต๊ะก็คือ “การล่องแพพะโต๊ะ” ซึ่งในอดีตเป็นการใช้แพไม้ไผ่ ทว่าต่อมามีการรณรงค์อนุรักษ์ธรรมชาติ ผู้ประกอบการจึงเปลี่ยนมาใช้แพท่อเอสล่อนขนาดใหญ่แทน ซึ่งเป็นวัสดุที่ทนทาน ยังคงรักษารูปแบบความสนุกของการล่องแพพะโต๊ะไว้ได้อย่างเต็มเปี่ยม เนื่องจากลำคลองพะโต๊ะมีสายน้ำไม่เชี่ยวกราก แก่งต่างๆ ก็มีความยากแค่ระดับ 1-2 ถือว่า ชิลชิล นั่งชมวิวกันได้สบาย
ล่องแพพะโต๊ะ 4

การล่องแพพะโต๊ะ ถือเป็นกิจกรรม Slow-Travel แบบเที่ยวเนิบช้า และเป็น Low-Carbon Tourism ที่ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศโลกในปริมาณต่ำๆๆๆๆๆๆ จริงๆ เพราะแพของเราจะใช้วิธีการถ่อเท่านั้น ไม่ใช้เครื่องยนต์เสียงดัง ระหว่างทางเราจึงมีโอกาสเห็นนก ลิง หรือนกเงือก ในป่าสองฟากฝั่งได้!
ล่องแพพะโต๊ะ 5

การล่องแพพะโต๊ะ เป็นการล่องแพไปตามน้ำ โดยผู้ประกอบการแต่ละเจ้า ก็จะมีจุดขึ้นลงแพเป็นของตนเอง ส่วนใหญ่จะเป็น แพ็กเกจครึ่งวัน เหมารวมอาหารเที่ยง 1 มื้อด้วย คุ้มค่ามากๆล่องแพพะโต๊ะ 6

เพื่อความปลอดภัย ก็ต้องใส่เสื้อชูชีพกันทุกคนนะครับ ยกเว้นคนที่มีไซต์พิเศษ! อาจต้องใช้เสื้อชูชีพไซต์ BIG กว่าปกติ
ล่องแพพะโต๊ะ 7

บางช่วงของลำคลองพะโต๊ะ น้ำไม่ลึกและไม่เชี่ยว เราจึงโดดน้ำเล่นกันได้อย่างสนุกสนานล่องแพพะโต๊ะ 8

ปล่อยตัวและหัวใจให้หลุดเข้าสู่อ้อมกอดของธรรมชาติ ป่าเขียว สายน้ำใสอยู่ใกล้แค่เอื้อมล่องแพพะโต๊ะ 9 ล่องแพพะโต๊ะ 10

ระยะทางในการล่องแพพะโต๊ะ จะอยู่ที่ประมาณ 6-10 กิโลเมตร แล้วแต่ผู้ประกอบการแต่ละราย
ล่องแพพะโต๊ะ 11

พี่โรจน์ พี่ชายใจดีแห่งเหวโหลม Homestay ที่พาเรามาล่องแพพะโต๊ะในครั้งนี้ พี่เขาลงทุนถ่อแพให้เองเลย เจ๋งอ่ะล่องแพพะโต๊ะ 12 ล่องแพพะโต๊ะ 13

ในบางช่วง ลำน้ำพะโต๊ะจะขยายกว้างออก เปิดโอกาสให้เราได้เห็นทัศนียภาพสองฟากฝั่งน้ำ และทิวเขาเบื้องหน้า ที่มีป่าดิบปกคลุมแน่นทึบอุดมสมบูรณ์ นี่คือป่าต้นน้ำที่แท้จริงของปักษ์ใต้บ้านเรา
ล่องแพพะโต๊ะ 14 ล่องแพพะโต๊ะ 15

เมื่อการล่องแพจบลง ยังมีบรรยากาศควันหลงของการโหนเชือกโดดน้ำเล่นกันตูมตาม นับเป็นโมงยามแห่งความสุข ของการท่องเที่ยวอำเภอพะโต๊ะ ที่มีมาแล้วหลายสิบปี และจะยังคงดำเนินเช่นนี้ต่อไปได้อย่างยั่งยืน ตราบใดที่คนพะโต๊ะยังคงรักษาป่าต้นน้ำของพวกเขาไว้
ล่องแพพะโต๊ะ 16

พี่โรจน์ มาเผาข้าวหลามเตรียมไว้ให้เรากินหลังจากล่องแพเสร็จแล้ว กินกันแบบง่ายๆ ลูกทุ่งๆ อย่างนี้เราชอบล่องแพพะโต๊ะ 17

หน้าตาของข้าวหลามที่สุกพร้อมกินแล้ว ข้าวนิ่ม กลิ่นหอมฉุย เพราะห่อด้วยใบตอง ผสานกับกลิ่นของกระบอกไม้ไผ่ และกลิ่นฟืน เป็นข้าวหลามธรรมชาติที่กินกันได้ไม่อั้น มื้อนั้นผมเลยซัดเข้าไป 4 ห่อ ทั้งจุก ทั้งอร่อย ฮาฮาฮา แต่พี่โรจน์เขาบอกว่ามีสถิติ คนกินสูงสุดได้ 7 ห่อ! ล่องแพพะโต๊ะ 18

กับข้าวพื้นบ้านแสนอร่อย เติมพลังหลังจากล่องแพกันมาหลายชั่วโมง มีทั้งปลาทูทอด, น้ำพริกกะปิใส่กุ้งสด ผักเหนาะ, ข้าวหลาม, ใบเหรียงผัดไข่, ผักกูดราดกะทิ, แกงส้มหยวกกล้วย, ต้มตำลึง และไข่เจียวมหัศจรรย์ ฮาฮาฮา หรอยจังหู! (ภาษาใต้แปลว่า อร่อยมากเลยครับ)
น้ำตกเหวโหลม 1นอกจากการล่องแพสุดมันส์แล้ว อำเภอพะโต๊ะยังเป็นดินแดนที่มีน้ำตกน้อยใหญ่อยู่นับสิบแห่ง โดยเฉพาะพระเอกของที่นี่คือ “น้ำตกเหวโหลม” (ชื่อเดิม น้ำตกเหวถล่ม) เป็นน้ำตกสวยกลางป่าดิบรกทึบ สายน้ำถาโถมลงมาจากหน้าผาหินแกรนิตสูงกว่า 40 เมตร กว้างกว่า 25 เมตร โดยเฉพาะในฤดูฝน สายน้ำจะไหลรุนแรงดังกึงก้อง ละอองน้ำปลิวว่อนไปทั่ว ด้านหน้ามีแอ่งน้ำสีมรกตให้ลงเล่นกันด้วย และถ้าไปเที่ยวในตอนเช้าตรู่ ก็อาจได้เห็นสายรุ้งพาดอยู่หน้าน้ำตกอย่างงดงาม น่าประทับใจน้ำตกเหวโหลม 2

สายรุ้งพาดอยู่หน้าน้ำตกเหวโหลมในยามเช้าตรู่
น้ำตกเหวโหลม 3

หน้าน้ำตกเหวโหลม มีวังน้ำใหญ่และสายน้ำไหลเย็น ให้ลงว่ายเล่นกันได้ แต่ถ้าใครว่ายน้ำไม่แข็ง ก็พยายามอย่าลงไปในจุดที่ล้ำลึกเกินเท้าหยั่งถึงละกันนะครับ ปลอดภัยไว้ก่อนดีที่สุดน้ำตกเหวโหลม 4

การเข้าถึงนำ้ตกเหวโหลมนั้นไม่ยากเลย จากลานจอดรถ เดินป่าเข้าไปตามทางเลียบธารน้ำ ประมาณ 200 เมตรเท่านั้น โดยลักษณะเป็นทางปูน ที่มีขั้นบันไดและราวจับอย่างดี แต่ก็มีลื่นบ้างในบางจุด เพราะป่าดิบภาคใต้นั้นขึ้นชื่อเรื่องความชื้นฉ่ำน้ำตกเหวโหลม 5บัวผุด พะโต๊ะ 1

ไม่ไกลจากน้ำตกเหวโหลม พี่โรจน์แห่งเหวโหลม Homestay ได้พาเราไปผจญไพรกันต่อในป่าต้นน้ำแท้ๆ ของ หน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำพะโต๊ะ ตำบลปากทรง ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานราชการที่เข้ามาช่วยดูแลพื้นที่ อนุรักษ์ป่าต้นน้ำผืนนี้ไว้ ควบคู่กับการทำความเข้าใจกับชาวบ้านรอบป่า ให้เห็นถึงความสำคัญในการคงอยู่ของป่าบัวผุด พะโต๊ะ 2บัวผุด พะโต๊ะ 3บัวผุด พะโต๊ะ 4

วันนี้เส้นทางเดินป่าของเราไม่ธรรมดา! เพราะเป็นการบุกป่าฝ่าดงไปตามหา ดอกไม้ขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองไทย! นั่นคือ ดอกบัวผุด หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Rafflesia kerrii เรียกง่ายๆ ว่า รัฟฟลีเซีย แต่ชาวบ้านในท้องถิ่นรู้จักบัวผุดในชื่อ ดอกบัวตูม ตั้งแต่สมัยโบราณมานิยมเก็บหัวของบัวผุดที่ยังไม่บาน เป็นหัวอวบอ้วนคล้ายกะหล่ำ ไปทำยา โดยเฉพาะการชงกับน้ำร้อน ดื่มเป็นชาที่เชื่อว่าช่วยบำรุงสุขภาพ!

ทว่าจริงๆ แล้วบัวผุดเป็นพืชหายากของโลก การถูกรบกวน หรือเก็บออกไปจากธรรมชาติ ก็จะทำให้มันลดจำนวน จนอาจสูญพันธุ์ไปได้ในอนาคต!!!!!
บัวผุด พะโต๊ะ 5

เส้นทางเดินป่าของเราในวันนี้ ผ่านเข้าไปในใจกลางป่าดิบชื้นแท้ๆ ระหว่างทางมีแต่ต้นไม้ใหญ่สูงหลายสิบเมตร โคนต้นใหญ่หลายคนโอบ บางต้นมีพูพอนขนาดใหญ่แผ่ออกไปด้านข้าง เพื่อช่วยพยุงคำ้ยันลำต้นไว้
บัวผุด พะโต๊ะ 6

เส้นทางบางช่วง จะต้องเดินเลียบไปตามธารน้ำเล็กๆ กลางป่าดิบ เราจึงได้พบเฟินขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ ปกคลุมเขียวครึ้ม จนเราสัมผัสได้ถึงความเย็นฉ่ำของอากาศในบริเวณนั้น
บัวผุด พะโต๊ะ 7

ดอกไม้เล็กๆ ในตระกูลเร่วและกระวาน หนึ่งในสมาชิกของพืชวงศ์ขิงข่า (Zingiberaceae) ซึ่งเป็นพืชพื้นล่างของป่า ช่วยปกคลุมดินรักษาความชุ่มชื้นไว้ แถมพืชในตระกูลนี้ยังใช้เป็นอาหารและยารักษาโรคได้หลากหลายมากบัวผุด พะโต๊ะ 8

เห็ดป่านานาชนิด งอกงามขึ้นจากซากต้นไม้กิ่งไม้ผุบนพื้นป่า นับเป็นกระบวนการย่อยสลายตามธรรมชาติ ให้สารอาหารต่างๆ กลับคืนสู่ระบบนิเวศอีกครั้ง บัวผุด พะโต๊ะ 9

เห็ดขอน (บางคนเรียก เห็ดหลินจือป่า) ขนาดใหญ่ ขึ้นอยู่บนซากต้นไม้ที่ล้มพังพาบลงมาอยู่บนพื้นบัวผุด พะโต๊ะ 10

ระหว่างเส้นทางล่องไพร เราพบ ดอกค้างคาวดำ (Tacca chantrieri) เบ่งบานอยู่เป็นจำนวนมาก พืชชนิดนี้นอกจากจะมีรูปทรงประหลาดแล้ว ชาวบ้านยังนิยมเก็บใบและยอดอ่อน ไปลวกกินเป็นผักแกล้ม หรือใช้หัวใต้ดินมาหั่นเป็นแว่น ดองกับเหล้า กินเป็นยาบำรุงกำลัง โดยในปัจจุบันนิยมนำมาปลูกเลี้ยงเป็นไม้ประดับสวนกันได้แล้วด้วยบัวผุด พะโต๊ะ 11

ผ่านความยากลำบากของเส้นทางเดินป่าอันยาวไกล รกทึบ ขึ้นๆ ลงๆ ไปตามสันเขา ประมาณ 2 ชั่วโมงผ่านไป ในที่สุดเราก็มาถึงจุดที่ดอกบัวผุดขึ้นอยู่! พื้นที่เป็นสันเขาค่อนข้างลาดชัน โดยรอบเต็มไปด้วยเถาวัลย์ป่าชนิดหนึ่งชื่อ ย่านไก่ต้ม ซึ่งจริงๆ แล้วคือต้นกำเนิดของดอกบัวผุดนั่นเอง!

เพราะดอกบัวผุดมีชีวิตเป็น “พืชเบียน” หรือ Parasitic Plant ที่มีลักษณะเป็นเส้นใยรา อาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ในเถาย่านไก่ต้ม เมื่อบัวผุดต้องการสืบพันธุ์ จึงค่อยๆ มีหัวตูมผุดขึ้นมา โดยหัวบัวผุด (ชาวบ้านเรียก บัวตูม) จะมีลักษณะคล้ายหัวกะหล่ำสีส้มอมแดงเต่งอยู่ 9 เดือน แล้วบานออกเพียง 7 วัน เท่านั้นในรอบปี จุดที่เคยมีดอกบานออกมาจากย่านไก่ต้มแล้ว ก็จะไม่มีดอกซ้ำ แต่ดอกจะไปผุดขึ้นจากจุดอื่นแทน อัศจรรย์จริงๆ
บัวผุด พะโต๊ะ 12

วันที่เราไปถึง ดอกบัวผุดยังไม่บาน แต่ก็ถือว่ากำลังเต่งเต็มที่แล้ว บัวผุด พะโต๊ะ 13

หลังจากนั้นอีกเพียง 2 วัน ดอกบัวผุดก็บานเต็มที่! มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบ 100 เซนติเมตร หรือ 1 เมตร! เป็นราชาของดอกไม้ยักษ์กลางป่าดิบที่ไม่มีพืชชนิดใดเทียบได้ แม้ว่าผมจะเคยเดินป่าไปดูบัวผุดที่อุทยานแห่งชาติเขาสก จ.สุราษฎร์ธานี มาแล้ว แต่ก็ต้องยอมรับเลยว่า บัวผุดพะโต๊ะสุดยอดไม่แพ้กัน แถมยังมีปริมาณเยอะมากๆๆบัวผุด พะโต๊ะ 14

บัวผุดเป็นพืชที่มีดอกตัวผู้ และดอกตัวเมีย อยู่แยกกันคนละที่ มันจึงต้องผลิตกลิ่นคล้ายเนื้อเน่าอ่อนๆ เพื่อล่อแมลงให้มาช่วยผสมพันธุ์ให้ แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่า เมล็ดที่ได้รับการผสมแล้ว กลับลงไปอยู่ในเถาย่านไก่ต้มได้อย่างไร? ยังเป็นปริศนาที่รอการไขต่อไป! หรือว่ามันกลับคืนสภาพเป็นลักษณะเส้นใยรา กลับลงไปอยู่ในย่านไก่ต้มดังเดิม ก็ไม่รู้เหมือนกันนะครับ?ถ้ำนางทอง 1ทริปล่องป่าผจญไพรของเรายังไม่สิ้นสุด แต่ยังมี Surprise! อีกที่ ตำบลบางสน อำเภอปะทิว ชุมพร กับการเที่ยว “ถ้ำนางทอง” ถ้ำขนาดใหญ่ที่ยังไม่เปิดอย่างเป็นทางการ จึงมีรอยเท้าของมนุษย์เพียงไม่กี่คน เคยเข้าไปสำรวจถ้ำแห่งนี้!ถ้ำนางทอง 2

การผจญภัยเที่ยวถ้ำนางทอง คงจะต้องมีร่างกายแข็งแรงสักหน่อย เพราะทางช่วงแรกต้องปีนเขาโหนเชือกขึ้นไป แล้วเดินป่าสู่ปากถ้ำที่มีปล่องแคบนิดเดียว เพื่อปีนบันไดชันลงสู่โถงยักษ์ภายในถ้ำ การเดินป่าทุกครั้งจำเป็นต้องมีไกด์ท้องถิ่น คราวนี้เราได้ พี่แตน พี่สาวใจดีแห่ง Homestay บ้านธรรมชาติ พาน้องๆ พลพรรคตัวจิ๋วไปเที่ยวถ้ำกัน

สิ่งสำคัญคือ ทุกคนต้องมีไฟฉายประจำกาย รวมถึงมีเทียนและไม้ขีดเอาไว้สำรองด้วย เพราะในถ้ำไม่มีไฟฟ้านะครับ
ถ้ำนางทอง 3ถ้ำนางทอง 4

ปากถ้ำนางทอง มีรูแคบพอให้คนแค่ 1-2 คนมุดลงมาได้ จากนั้นก็ต้องไต่บันไดชันลงไปอย่างระมัดระวัง ข้าวของที่จะนำลงไปได้ จึงต้องเป็นอะไรที่จำเป็นจริงๆ ไม่งั้นคงพะรุงพะรังแย่
ถ้ำนางทอง 5

โถงแรกของถ้ำนางทอง มีความสูงและกว้างมากๆ โดยบนเพดานบนสุดมีปล่องทะลุออกสู่ป่าภายนอก ปล่อยให้แสงอาทิตย์ลอดเข้ามาได้บ้าง ตามผนังถ้ำมีเสาหินขนาดยักษ์ รวมถึงม่านหินย้อย และหลืบโพรงอีกนับไม่ถ้วน ในโถงแรกนี้อากาศถ่ายเทดี มีลมอ่อนๆ ไม่อึดอัด แถมไม่มีกลิ่นขี้ค้างคาวให้รำคาญใจด้วย
ถ้ำนางทอง 6

เมื่อเดินลึกเข้ามาในถ้ำ ก็ยังพบประติมากรรมธรรมชาติอีกหลายลักษณะ ซึ่งหลายคนจินตนาการไปเป็นรูปต่างๆ นาๆ โดยเฉพาะสาหินปูน หรือ Limestone Pillar นั้น แต่ละต้นน่าจะมีอายุเป็นแสนปี! เพราะกว่าหินงอกและหินย้อยจะเติบโตมารวมกันกันเป็นเสาหินได้ ต้องใช้เวลาหลายชั่วอายุคน!

กระบวนการเกิดถ้ำหินปูน จริงๆ แล้วเกิดจากน้ำฝนที่รวมตัวกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ เกิดเป็นกรดคาร์บอนิกอ่อนๆ ค่อยๆ กัดกร่อนเขาหินปูน จนทะลุเข้าไปเป็นโพรงถ้ำ แล้วขยายขนาดออกเรื่อยๆ ชาวบ้านเล่าว่า ถ้ำนางทองในฤดูฝนจะมีน้ำไหลลงมาหลายจุด เราจึงพบขั้นบันไดหินปูน ที่มีร่องรอยของแอ่งน้ำขังถ้ำนางทอง 7ถ้ำนางทอง 8

ความสวยงามมหัศจรรย์แห่งถ้ำนางทองถ้ำนางทอง 9ถ้ำนางทอง 10

เมื่อเดินเข้ามาถึงโถงใหญ่ในสุดของถ้ำนางทอง ก็ต้องตกตะลึงอีกรอบ เพราะมันมีขนาดใหญ่โตมโหฬารมาก เพดานบนสุดมีช่องโพรงทะลุประมาณ 3 โพรง ปล่อยให้แสงแดดจากภายนอกลอดเข้ามาได้ ถ้ำแห่งนี้จึงมีอากาศถ่ายเทตลอด ไม่ร้อนอบอ้าว หรือมีกลิ่นเหม็นใดๆ หินงอกหินย้อยและรากไม้ใหญ่ที่ชอนไชหินปูนลงมาในถ้ำ สร้างบรรยากาศสวยงาม ลึกลับ น่าขนลุก แต่ก็น่าค้นหาในเวลาเดียวกันถ้ำนางทอง 11ถ้ำนางทอง 12

ใช้เวลาอยู่ในถ้ำนางทองกันกว่า 2 ชั่วโมง ออกมาได้ น้องๆ ผู้นำเที่ยวท้องถิ่น ลูกๆ หลานๆ พี่แตน Homestay บ้านธรรมชาติ ก็เอามะพร้าวน้ำหอมมาเฉาะให้เราดื่มกันสดๆ ชื่นใจดีจริงๆ ครับ ต้องขอบคุณทุกคนมากสำหรับวันนี้ค่างแว่นถิ่นใต้ 2

ในส่วนของจังหวัดชุมพร ถ้าใครมีเวลาเหลือ ต้องไม่พลาดการไปเที่ยวที่ เขตอนุรักษ์สัตว์ป่าถ้ำเขาพลู (วัดถ้ำเขาพลู) อำเภอปะทิว เพื่อชมความน่ารักของ “ค่างแว่นถิ่นใต้” (Dusky Langur) สัตว์ในตระกูลลิงอันซุกซน ที่จะใช้เวลาส่วนใหญ่ของชีวิตอยู่บนยอดไม้ เก็บกินใบไม้ผลไม้เป็นอาหารไปตามเรื่องตามราว พอดีช่วงนี้แม่ค่างแว่นมีลูกน้อยด้วย เราจึงได้เห็นลูกน้อยขนสีทองซุกอยู่กับอกแม่ หรือปีนป่ายโหนกิ่งไม้เล่นไปมาอย่างน่าชมบ้านไร่ ไออรุณ 1

ทริปนี้ยอมรับว่าเหนื่อย แต่ก็คุ้มและสนุกมาก เพราะได้สัมผัสป่าต้นน้ำของชุมพรกันจนเต็มอิ่ม ก่อนกลับบ้าน พี่ปูแห่ง ททท. สำนักงานชุมพร-ระนอง เลยพาเราไปพักผ่อนแบบชิลชิล กันที่ “Farmstay บ้านไร่ ไออรุณ” ของคุณเบส สถาปนิกหนุ่มผู้จบการศึกษาจากเมืองกรุง แต่เดินตามฝันของตัวเอง กลับไปพัฒนาบ้านสวนของพ่อแม่ จนกลายเป็น Farmstay ที่ดู Modern กลมกลืนกับบรรยากาศสวนผลไม้แบบสมรมของอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ได้ดีเยี่ยมบ้านไร่ ไออรุณ 2บ้านไร่ ไออรุณ 3

ขอบอกว่า Farmsaty บ้านไร่ ไออรุณ เขาไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน เพราะมีความพิเศษหลายอย่าง ตั้งแต่การสร้างสะพานทางเดินยกระดับ เชื่อมโยงบ้านพักแต่ละหลังเข้าหากัน โดยทางเดินนี้ แท้จริงแล้วใช้เป็นเส้นทางชม “ดอกพลับพลึงธาร” หรือ “ดอกหอมน้ำ” ซึ่งเป็นพืชหายากของโลก! ตามธรรมชาติพบเฉพาะในลำธารน้ำใสกลางป่าดงดิบชื้น ของจังหวัดระนองเท่าน้ัน แต่เดิมเคยพบในคลองนาคา ทว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้ว บ้านไร่ ไออรุณ จึงนำพันธุ์มาเพาะเลี้ยงจนสำเร็จ! น่าชื่นชมจริงๆ ครับ
บ้านไร่ ไออรุณ 4

ดูกันชัดๆ ครับ กับหน้าตาแสนน่ารักของ ดอกพลับพลึงธาร พืชหายากของโลก! ซึ่งตามธรรมชาติเธอชอบขึ้นอยู่ในลำธารเล็กๆ กลางป่าดงดิบชื้น เงียบสงบ ต้องเป็นลำธารที่สะอาด น้ำใสมาก ไม่ค่อยมีตะกอน น้ำไม่ไหลเชี่ยว และท้องลำธารต้องเป็นดินปนทราย ตามธรรมชาติหายากแล้วครับ มาชมที่บ้านไร่ ไออรุณ ก็ได้ ง่ายและชิลดีบ้านไร่ ไออรุณ 5บ้านไร่ ไออรุณ 6บ้านไร่ ไออรุณ 7

ต้นอ่อนของพลับพลึงธาร ที่บ้านไร่ ไออรุณ พยายามหาวิธีฟูมฟักจนสำเร็จ ขอปรบมือให้ดังๆ เลยครับบ้านไร่ ไออรุณ 8

ความพิเศษมากๆ อีกอย่างของบ้านไร่ ไออรุณ คือเขามีที่พักให้ด้วย คนที่มาพักจะสัมผัสได้ตลอดเวลา ถึงกลิ่นอายของคำว่า ART & Design เพราะคุณเบส เจ้าของ Farmstay แห่งนี้ เป็นคนที่มีไอเดียสร้างสรรค์ ด้วยความรู้ที่รำ่เรียนมาด้านสถาปนิก จึงสรรค์สร้างที่พัก ห้องครัว ร้านอาหาร รวมถึงการจัด Lansdcape ให้ดู Modern มากๆ ถึงขนาดเคยขึ้นปกหนังสือชื่อดัง My Home มาแล้ว!
บ้านไร่ ไออรุณ 9

นี่ถ้าไม่บอกว่าอยู่ระนอง ผมคงนึกว่าต้องเป็นบ้านไร่แถวยุโรปแน่ๆ เลย
บ้านไร่ ไออรุณ 10

เราจบทริปผจญไพรในป่าใต้ ชุมพร ระนอง กันที่เก้าอี้และหมอนอิงนิ่มๆ ของบ้านไร่ ไออรุณ พร้อมกับภาพประทับใจ ในประสบกาณ์ดีๆ มากมาย ที่ทำให้เรารู้สึกรู้ซึ้งว่า จริงๆ แล้วเมืองไทยของเราช่างกว้างใหญ่นัก และยังมีแหล่งท่องเที่ยวอีกนับไม่ถ้วนให้เราไปสัมผัส คงจะดีไม่น้อยเลย ถ้าเราได้หยุดเวลาไว้ตรงนี้ ตลอดไป

Special Thanks : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานชุมพร – ระนอง เลขที่ 111/11-12 ถนนทวีสินค้า ตำบลท่าตะเภา อำเภอเมืองฯ จังหวัดชุมพร โทร. 0-7750-2775-6 สนับสนุนการเดินทางทำสารคดีเรื่องนี้เป็นอย่างดีNIKON-18-copy-copy

More info

  • ล่องแพพะโต๊ะ สอบถาม ที่ว่าการอำเภอพะโต๊ะ ชุมพร โทร. 0-77 53-9040, มาลินล่องแพ โทร. 08-9592-8376
  • เดินป่าดูบัวผุด อำเภอพะโต๊ะ ชุมพร ติดต่อ เหวโหลม Homestay โทร. 08-1968-3893 (คุณโรจน์)
  • ชมรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศป่าต้นน้ำพะโต๊ะ โทร. 0-7752-0075, 08-4926-7007
  • ถ้ำนางทอง ตำบลบางสน อำเภอปะทิว ชุมพระ ติดต่อ Homestay บ้านธรรมชาติ โทร. 08-9873-8535, 08-1273-0127 (คุณแตน)
  • พลับพลึงธาร Farmstay บ้านไร่ ไออรุณ อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง โทร. 08-3051-1654 (คุณ Best)