แอ่วลำพูนม๋วนใจ๋ ในเมือง Slow Town

ลำพูน 2

ในขณะที่โลกเราทุกวันนี้หมุนไปอย่างรวดเร็ว จนบางครั้งเราเองก็ตามไม่ทัน เคยไหมที่อยากหาสถานที่ใดสักแห่งเพื่อพักผ่อนกายใจ เป็นสถานที่เงียบสงบ น่ารัก ได้ไปเยือนแล้วทำให้ใจเย็น เย็นใจ คล้ายได้ช๊าตแบตเตอร์รี่ชีวิต

คำตอบมีอยู่จริง ณ ดินแดนล้านนาภาคเหนือของสยามที่เรียกขานกันว่า “ลำพูน” หรือ “เมืองหริภุญไชย” นั่นเอง ลำพูนเป็นเมืองเก่าแก่ที่สุดของภาคเหนือ มีอายุกว่า 1,300 ปี ลือเลื่องในเรื่องพระรอด 1 ในเบญจภาคีอันล้ำค่า อีกทั้งยังเป็นดินแดนต้นกำเนิดลำไยรสชาติดีที่สุดของสยาม โดยมีพื้นที่ปลูกลำไยอยู่กว่า 600,000 ไร่! จนมีคำพูดติดตลกกันเล่นๆ ว่า “ลำพูนคือลำไย ลำไยคือลำพูน” ฮาฮาฮา

ลำพูน 3

มาถึงลำพูนแล้ว สถานที่แรกซึ่งควรไปกราบสักการะ คือ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ตั้งอยู่กลางใจเมือง ห่างจากศาลากลางแค่ไม่กี่ร้อยเมตร เป็นพระบรมธาตุเก่าแก่ สร้างมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 17 โดยสร้างเป็นทรงปราสาทสีทองอร่าม ภายในบรรจุธาตุกระหม่อม ธาตุกระดูกอก ธาตุกระดูกนิ้วมือ และธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง
ลำพูน 4

ภายในวิหารหลวง ด้านข้างองค์พระบรมธาตุ ประดิษฐานพระพุทธปฏิมาขนาดใหญ่ 3 องค์ ก่ออิฐถือปูนปิดทองเหลืองอร่าม พุทธลักษณะผุดผ่อง เปี่ยมเมตตา น่าเคารพสักการะอย่างยิ่ง
ลำพูน 5.1 ลำพูน 5

หากใครมาเที่ยวลำพูน แล้วไม่มีรถยนต์ส่วนตัว หรือไม่รู้จะเที่ยวยังไงไม่ให้พลาดสถานที่สำคัญ เราแนะนำให้ไปนั่งรถพ่วงเที่ยว เขาจอดอยู่ที่วัดพระธาตุหริภุญชัยฯ นั่นเอง โดยมีบริการเป็นรอบๆ เสียค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย พร้อมด้วยไกด์สาวสวยเสียงหวาน คอยบรรยายให้ความรู้ต่างๆ อย่างน่ารักเชียว
ลำพูน 6 ลำพูน 7

สถานที่แรก ซึ่งรถพ่วงจะหยุดแวะให้เราเที่ยวชม คือ “อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี” องค์ปฐมกษัตรีแห่งนครหริภุญไชยโดยมีประวัติเล่าว่า เมื่อ พ.ศ. 1200 ครั้นฤาษีวาสุเทพได้เกณฑ์พวกเมงคบุตรเชื้อสายมอญ มาสร้างเมืองใหม่ระหว่างแม่น้ำปิงและแม่น้ำกวง เสร็จแล้ว ก็ได้ไปอัญเชิญพระธิดากษัตริย์กรุงละโว้ (ลพบุรีในปัจจุบัน) คือ พระนางจามเทวี มาปกครองเมือง ด้วยว่าพระนางมีพระปรีชาสามารถ และมีพระสิริโฉมงดงามยิ่ง

การได้มากราบสักการะท่านสักครั้ง จึงเป็นมงคลแก่ชีวิตเราแล้วลำพูน 8

จุดที่สอง ซึ่งรถพ่วงนำเที่ยวจะแวะ คือ “วัดจามเทวี” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า “วัดกู่กุด” เป็นหนึ่งในสถานที่ห้ามพลาดเมื่อมาเยือนลำพูน เพราะมีพระเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม บรรจุพระอัฐิของพระนางจามเทวี ปฐมบรมกษัตรีแห่งนครหริภุญไชย สร้างขึ้นโดยพระราชโอรสของพระนาง เมื่อปี พ.ศ. 1298
ลำพูน 9

ความโดดเด่นไม่เหมือนใครของกู่กุดก็คือ โดยรอบทั้งสี่ทิศมีพระพุทธรูปปูนปั้นหลายสิบองค์ประดิษฐานอยู่ ศิลปะที่ใช้ปั้นนั้นก็เป็นสกุลช่างลำพูนแท้ๆ สังเกตได้จากพระพักตร์ คือ คิ้วต่อกันเหมือนคันศร, ตาโปน, พระพักตร์เหลี่ยม และขอบปากทั้งสองข้าง จะมีเส้นโค้งงอนขึ้นคล้ายหนวดลำพูน 10 ลำพูน 11 ลำพูน 12วัดจามเทวี มิใช่สถานที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระนางจามเทวีเพียงอย่างเดียว ทว่ายังเป็นสถานท่ีบรรจุอัฐิธาตุของตนบุญแห่งล้านนา “ครูบาศรีวิชัย” พระอริยสงฆ์องค์สำคัญที่สุดแห่งล้านนาในอดีตด้วย จริงๆ แล้วท่านเกิดที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และก็ได้กลับมามรณภาพที่บ้านเกิดของท่าน เมื่อปี พ.ศ. 2481 นั่นเอง
ลำพูน 13 ลำพูน 14

จุดที่สาม ซึ่งรถพ่วงนำเที่ยวจอดแวะก็คือ “วัดมหาวัน” ต้นกำเนิดพระรอด 1 ในเบญจภาคีแห่งสยาม โดยพระรอดหลวง (พระรอดลำพูน) องค์ดั้งเดิมนี้มีอายุมากถึง 1,400 ปี สร้างมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวีครองนครหริภุญไชย จึงได้รับการนำไปเป็นแบบพิมพ์พระเครื่องเลื่องชื่อในนาม “พระรอดมหาวัน” ที่นักเลงพระอยากครอบครองลำพูน 15 ลำพูน 16

พระรอดหลวงลำพูนลำพูน 17

จุดที่สี่ ซึ่งรถพ่วงแวะชม คือ “กู่ช้าง กู่ม้า” เป็นโบราณสถานในชุมชนวัดไก่แก้ว ห่างจากใจกลางเมืองลำพูนประมาณ 1 กิโลเมตร กู่ช้างจริงๆ แล้วก็คือสถูปที่ใช้บรรจุอัฐิของช้างทรงคู่บารมีของพระนางจามเทวี ที่ใช้ทรงออกศึก ชื่อว่า “ภูก่ำงาเขียว” เป็นช้างคชลักษณะพิเศษผิวสีคล้ำ งาสีเขียว ทำให้มีพลัง อานุภาพ และอิทธิฤทธิ์มากในสงครามลำพูน 18

กู่ม้า เป็นสถูปองค์ระฆังคว่ำ เชื่อว่าเป็นสุสานม้าทรงของพระโอรสพระนางจามเทวีลำพูน 19

อนุสาวรีย์ภูก่ำงาเขียว
ลำพูน 20

จุดที่ห้า ของการนั่งรถพ่วงเที่ยวก็คือ “วัดพระยืน” ที่บ้านพระยืน ตำบลเวียงยอง เป็นวัดเก่าแก่และสำคัญมาก เพราะเป็นวัดประจำ 1 ใน 4 ทิศของลำพูนมาแต่อดีต สร้างโดยพระเจ้าธรรมมิกราช กษัตริย์หริภุญไชย เมื่อ พ.ศ.1606-1611ลำพูน 21 ลำพูน 22

จุดเด่นของวัดพระยืน คือพระเจดีย์ทรงมณฑป ที่มองครั้งแรกก็ชวนให้นึกถึงเจดีย์ที่เมืองพุกาม ประเทศเมียนมาร์ ซะจริงๆ และยิ่งได้ไปค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมก็พบว่า ผู้สร้างตั้งใจให้มีความคล้ายคลึงกับอานันเจดีย์เมืองพุกามจริงๆ และยังมีอีกแห่งที่สร้างคล้ายกัน คือพระเจดีย์วัดป่าสัก จังหวัดเชียงราย

ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงมณฑป มีพระพุทธรูปยืนสีทองอร่ามประจำทั้งสี่ทิศ ส่วนบนเป็นเจดีย์ห้ายอด โดยมีเจดีย์ทรงระฆังและเจดีย์ทรงกลมขนาดเล็กเป็นประธาน
ลำพูน 23

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง พระนางจามเทวีเสด็จวัดพระยืนลำพูน 24

จุดที่หก เป็นจุดสุดท้ายของการนั่งรถพ่วงแอ่วลำพูนแบบชิลชิลในวันนี้ คือ “สถาบันผ้าทอมือหริภุญชัย” อำเภอเมืองฯ เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ของคนรักผ้าแพรพรรณโบราณ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมสวมใส่กันอย่างมากในปัจจุบัน เหมือนการปลุกผ้าทอพื้นเมืองอันทรงคุณค่าให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง โดยเฉพาะ “ผ้าไหมยกดอกลำพูน” 

ลำพูน 25

คุณนิชาดา สุริยะเจริญ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน หญิงเก่งผู้มากความสามารถ ได้เล่าประวัติผ้ายกดอกลำพูนให้เราฟังว่า จริงๆ แล้วคำว่า “ยกดอก” เป็นเทคนิคการทอผ้าแบบหนึ่ง ต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศอินเดีย แล้วค่อยๆ ถ่ายทอดมาสู่มลายู จนกระทั่งเจ้าดารารัศมีแห่งเชียงใหม่ ได้ไปเป็นพระชายาของพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 ขณะอยู่ในวังที่บางกอก เจ้าดารารัศมีได้ทรงเรียนรู้เทคนิคการทอผ้ายกดอก แล้วกลับมาถ่ายทอดให้กับช่างทอผ้าของล้านนาในเวลาต่อมา ทว่าผ้ายกดอกลำพูน ได้พัฒนาเทคนิคลวดลายใหม่ๆ เพิ่มขึ้น จนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ลำพูน 26

ผ้าไหมยกดอกลำพูน ปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก มีตั้งแต่ราคาหลักพันบาทไปจนถึงแสนบาท ใช้เวลาทอนานแรมเดือน ขายหมดเกลี้ยง ทุกวันนี้แทบไม่มีสต็อกผ้าเลย นับเป็นกระแสความนิยมผ้าไทยอันมีลวดลายวิจิตรมหัศจรรย์ สร้างรายได้ให้แม่บ้านในจังหวัดลำพูนอย่างน่าชื่นใจลำพูน 27 ลำพูน 28

ร้านจำหน่ายผ้าไหมยกดอกอันล้ำค่าน่าสวมใส่ ที่สถาบันผ้าทอมือหริภุญชัย
ลำพูน 29

สวมใส่แล้วงามอย่างกับนางฟ้าแต้ๆ ล่ะเจ้าลำพูน 30 ลำพูน 32 ลำพูน 33

ลวดลายผ้าทอยกดอกลำพูน มีมากกว่า 80 ลาย นิยมสวมใส่กันตั้งแต่คนธรรมดา ดารา นักร้อง นักแสดง ไปจนถึงเจ้านายในรั้วในวัง อาทิ ลายปักษาสวรรค์, ลายลีลาวดี, ลายพิกุลก้านแหย่ง, ลายกุหลาบพันปี, ลายดอกพวงแก้วโบราณ, ลายบัวสวรรค์, ลายโคมโพธิ์แก้ว และลายมงกุฎเพชร เป็นต้นลำพูน 34.1 ลำพูน 34

นอกเหนือจากลวดลายผ้าทอยกดอกลำพูนที่ถือเป็นหนึ่งในสุดยอดผ้าพื้นเมืองสยามแล้ว ผ้ายกดอกลำพูนยังได้สร้างมิติใหม่ให้วงการทอผ้าอีกด้วย คือการได้รับมาตรฐาน GI หรือ Geographical Indications โดยใช้ผ้านี้เป็นเครื่องบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ว่าผ้ายกดอกลำพูน เป็นของเมืองลำพูนแห่งสยามเท่านั้น ปัจจุบันมีการไปจดลิขสิทธิ์ไว้ในหลายประเทศแล้ว อาทิ อินโดนีเซีย อินเดีย และฝรั่งเศส เพื่อมิให้เกิดการลอกเลียนแบบได้
ลำพูน 35.1

ยิ่งกว่านั้น ผ้าทอยกดอกลำพูนทุกผืนยังมีเครื่องหมาย QR Code ที่เราสามารถใช้โทรศัพท์มือถือไป Scan ก็จะมีข้อมูลรายละเอียดของผ้าผืนนั้นขึ้นมาให้อ่านอย่างละเอียด ตั้งแต่วัสดุที่ใช้ทอ, สี, ชื่อช่างทอ, วันที่ทอ ฯลฯ นับเป็นมาตรฐานการตรวจสอบย้อนหลัง ทำให้ผู้ซื้อมีความมั่นใจในผืนผ้า ว่าเป็นผ้ายกดอกลำพูนแท้ๆ ทุกวันนี้จึงมีออร์เดอร์สั่งเข้ามาอย่างมากมาย จนทอกันแทบไม่ทัน!ลำพูน 35 ลำพูน 36 ลำพูน 37 ลำพูน 38 ลำพูน 39 ลำพูน 40

ผ้ายกดอกลำพูน ช่างทอต้องนั่งต่อไหมทีละเส้น นับเป็นพันๆ หมื่นๆ เส้น! ดังนั้นถ้าราคาแพงก็ไม่ควรต่อ เพราะแต่ละผืนต้องใช้ความประณี ฝีมือ ความอุตสาหะ และความรักในงานนี้จริงๆลำพูน 41 ลำพูน 42

ภาพสาวชาวลำพูน นุ่งซิ่นในอดีต ท่อนบนสวมเสื้อออกแนวไทยใหญ่ลำพูน 43

นอกจากส่วนสาธิตการทอ และร้านจำหน่ายผ้ายกดอกลำพูนแล้ว สถาบันผ้าทอมือหริภุญชัย ยังมีพิพิธภัณฑ์เล็กๆ จัดแสดงวิถีคนกับผืนผ้าล้านนา ให้เราเข้าใจพอสังเขปลำพูน 44 ลำพูน 45

มาเที่ยวลำพูนคราวนี้ได้พบเห็นมุมมองใหม่แปลกออกไป ทำให้รู้ว่าลำพูนไม่ได้มีแต่ลำไย ทว่าลำพูนวันนี้ได้ก้าวเข้าสู่โลกของการท่องเที่ยวยุคใหม่แล้วจริงๆ ในตอนต่อไป เราจะไปเยี่ยมเยือนแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ของลำพูนกันบ้าง โปรดติดตาม ตอน 2 ของ Go Travel Photo แอ่วลำพูนนะเจ้าlogo123-300x300Special Thanks : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง สนับสนุนการเดินทางเป็นอย่างดี สนใจสอบถามเพิ่มเติม โทร. 0-5324-8604-5

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *