จากนครพนม-เวียดนาม Beauty of the Far East

%e0%b8%aa%e0%b8%b0%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e-%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%9e%e0%b8%99%e0%b8%a1-1

สำหรับเส้นทางท่องเที่ยวจากไทยสู่อาเซียนด้านทิศตะวันออก คงจะไม่มีเส้นทางไหนฮิตเกินจาก จังหวัดนครพนม-ลาว-เวียดนามกลาง เพราะเป็นเสมือน ‘ประตูสู่อาเซียนแห่งใหม่’ หลังจากสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 3 เปิดใช้ ก็ช่วยให้คนสามประเทศนี้ไปมาหาสู่กันสะดวกยิ่งขึ้น %e0%b8%aa%e0%b8%b0%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e-%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%9e%e0%b8%99%e0%b8%a1-2

เส้นทางเชื่อมโยง 3 ประเทศนี้มีศักภาพสูงมาก อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติหลากหลาย แต่ที่พิเศษจริงๆ คือระยะทางยาวเพียง 367 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางขาไปแค่ 1 วันเท่านั้น เริ่มจากจังหวัดนครพนม ขับรถข้ามแม่น้ำโขงโดยสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 เข้าสู่เมืองท่าแขก แขวงคำม่วนของลาว แล้วเข้าสู่เวียดนามทางด่านน้ำพาว-กาวแจว ไปเมืองวินห์ เมืองฮาติงห์ เมืองดงเหย จากนั้นกลับเข้าไทยทางด่านนครพนม หรือมุกดาหารก็ได้ตามสะดวก %e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b9%88%e0%b8%ad-lao-1

การขับรถเที่ยวบนเส้นทางนี้ไม่ลำบากแล้ว เพราะถนนดี อีกทั้งไม่ต้องทำวีซ่า ถนนช่วงแรกจากนครพนมเข้าลาวจะลัดเลาะไปตามภูเขาเตี้ยๆ มีป่าไม้และเรือกสวนไร่นาเขียวชอุ่ม ไฮไลท์อยู่ที่ ‘เขาหนามหน่อ’ เขตอนุรักษ์ธรรมชาติซึ่งเด่นด้วยเทือกเขาหินปูนยอดแหลมตะปุ่มตะป่ำนับแสนๆ ยอด ต่อเนื่องเข้าไปจนถึงเวียดนาม โดยมีจุดแวะพักริมทาง ให้เราได้จอดรถชมวิวถ่ายภาพกันอย่างเต็มอิ่ม%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%ae%e0%b8%b2%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%87-2

เมื่อข้ามแดนจากลาวเข้าเวียดนาม เราจะได้สัมผัส 3 เมืองหลักในภาคกลางค่อนไปทางภาคใต้ คือ เมืองวินห์ (Vinh) เมืองฮาติงห์ (Ha Tinh) และ เมืองดงเหย (Dong Hoi) โดยสองเมืองแรกอยู่ในจังหวัดแหงะอาน และเมืองสุดท้ายอยู่ในจังหวัดกวางบิงห์ อันเป็นที่หมายตาของนักแบกเป้เที่ยว ที่ต้องการชื่นชมความบริสุทธิ์ของชายทะเลตะวันออกเวียดนาม%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b9%8c%e0%b8%a5%e0%b8%b8%e0%b8%87%e0%b9%82%e0%b8%ae-%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%a7%e0%b8%b4

เมืองวินห์ เมืองหลวงของจังหวัดแหงะอาน (Nghe An Province) ได้ฉายาว่าเป็น ‘ประตูสู่ภาคใต้ของเวียดนาม’ สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญคือ ‘จัตุรัสโฮจิมินห์’ ซึ่งมีอนุสาวรีย์ของลุงโฮ หรือประธานาธิบดีคนแรกของเวียดนาม สูงถึง 18 เมตร ตั้งตระหง่านอยู่ เพราะเมืองวินห์คือบ้านเกิดของท่าน โดยท่านเป็นผู้นำเวียดนามทวงคืนเอกราชจากฝรั่งเศสได้สำเร็จ และเมื่อขับรถออกไปนอกเมืองที่ ‘หมู่บ้านฮว่างจู่ ก็จะได้เยี่ยมชมบ้านเกิดจริงๆ ของท่านโฮจิมินห์ด้วย

%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b9%8c%e0%b8%a5%e0%b8%b8%e0%b8%87%e0%b9%82%e0%b8%ae-%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%a7%e0%b8%b4 %e0%b8%9a%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%a5%e0%b8%b8%e0%b8%87%e0%b9%82%e0%b8%ae-1 %e0%b8%9a%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%a5%e0%b8%b8%e0%b8%87%e0%b9%82%e0%b8%ae-2%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b7%e0%b9%8b%e0%b8%ad%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%ad-2

จากตัวเมืองวินห์นั่งรถออกไปแค่ 16 กิโลเมตร ก็ถึง ‘ชายหาดเกื๋อหล่อ’ ชายทะเลสวยที่สุดของเวียดนามกลาง หาดทรายที่นี่สงบ มีทิวมะพร้าวโอนเอน พร้อมด้วยร้านอาหารให้นั่งชิล %e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b7%e0%b9%8b%e0%b8%ad%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%ad-1%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%ae%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b9%8a%e0%b8%81-3

จากชายหาดเกื๋อหล่อขับรถไปอีกไม่ไกลก็จะถึง ‘วัดเฮืองติ๊ก’ วัดที่คนเวียดนามนิยมไปไหว้เจ้าแม่กวนอิม ทว่าการจะไปถึงวัดนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย (แต่ก็คุ้มค่า) เพราะต้องนั่งเรือข้ามทะเลสาบ แล้วเดินป่า 2 กิโลเมตร เพื่อจะไปขึ้นกระเช้าสู่ยอดเขา แล้วเดินต่ออีก 500 เมตร จนถึงที่ตั้งของวัด %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%ae%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b9%8a%e0%b8%81-4 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%ae%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b9%8a%e0%b8%81-5%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%ae%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b9%8a%e0%b8%81-1 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%ae%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b9%8a%e0%b8%81-2%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b9%81%e0%b8%a2%e0%b8%81%e0%b8%94%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%81-1

เมื่อขับรถเลียบทะเลลงมาทางทิศใต้เรื่อยๆ เราก็มาถึง ‘เมืองฮาติงห์’ เมืองท่าที่สวยงามอีกแห่ง ซึ่งยังคงมีอาคารยุคโคโลเนียลให้ชม คือบ้านมักสร้างเป็นทรงหน้าจั่ว และมีหอระฆังโบสถ์ยอดแหลมแบบโกธิค แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของฮาติงห์ คือ ‘สามแยกด่งหลก’ แหล่งประวัติศาสตร์ยุคสงครามเวียดนาม เพราะจุดนี้เป็นช่องเขาสำคัญ ที่ทหารเวียดมินห์ใช้ขนยุทธปัจจัยไปสู่กับทหารอเมริกันผู้รุกราน เครื่องบินอเมริกันจึงทิ้งระเบิดสามแยกด่งหลกเป็นว่าเล่น จนเกิดวีรกรรม 10 ทหารหญิงผู้พลีชีพอันโด่งดัง %e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b9%81%e0%b8%a2%e0%b8%81%e0%b8%94%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%81-2 %e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b9%81%e0%b8%a2%e0%b8%81%e0%b8%94%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%81-3 %e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b9%81%e0%b8%a2%e0%b8%81%e0%b8%94%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%81-4%e0%b8%94%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a2-4

จากเมืองฮาติงห์ ขับรถเลียบชายทะเลตะวันออกเวียดนาม จนมาถึง ‘เมืองดงเหย’ (Dong Hoi) เขตอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึกใหม่ ทว่าก็ยังมีท่าเรือและตลาดปลาแบบบ้านๆ ให้เราเดินชมกันอย่างสนุก ยามที่มีเรือประมงเทียบท่า จะเห็นแม่ค้ารีบวิ่งกรูเข้าไปประมูลซื้อกุ้งหอยปูปลาแข่งกัน สะท้อนถึงความอุดมของทะเลเวียดนาม %e0%b8%94%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a2-5%e0%b8%94%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a2-1 %e0%b8%94%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a2-2%e0%b8%94%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a2-6 %e0%b8%94%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a2-7%e0%b8%96%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%9f%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%8d%e0%b8%b2-5

และเมื่อเที่ยวในตัวเมืองจนอิ่มแล้ว ก็ต้องไปสัมผัส ‘ถ้ำฟองญา’ ถ้ำน้ำลอดที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก จนได้เป็นมรดกโลกไปเรียบร้อยแล้ว การเที่ยวถ้ำนี้ต้องนั่งเรือเข้าไป ภายในประกอบด้วยโถงถ้ำและหินงอกหินย้อยขนาดยักษ์นับไม่ถ้วน จนเราแทบไม่เชื่อสายตาตัวเอง! %e0%b8%96%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%9f%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%8d%e0%b8%b2-6%e0%b8%96%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%9f%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%8d%e0%b8%b2-1 %e0%b8%96%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%9f%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%8d%e0%b8%b2-2 %e0%b8%96%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%9f%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%8d%e0%b8%b2-3 %e0%b8%96%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%9f%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%8d%e0%b8%b2-4

เส้นทางนี้ถ้าเที่ยวให้สนุกแบบไม่รีบ ควรใช้เวลา 4-5 วัน คุณจะได้ค้นพบความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ และชีวิตผู้คน บนถนนสายอาเซียนตะวันออก ที่ยังคงความบริสุทธิ์มากจริงๆ

จากสงขลา ถึงเคดาห์ Charming of the South

%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b8%8d%e0%b9%88-2

คาบสมุทรมลายู คือดินแดนที่เต็มไปด้วยเรื่องราวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมประเพณี โดยภาคใต้ของไทยก็คือส่วนหนึ่งของคาบสมุทรมลายู ต่อเนื่องเข้าไปในประเทศมาเลเซีย ผู้คนสองประเทศนี้มีการเดินทางติดต่อค้าขายฉันท์พี่น้อง สะท้อนถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b8%8d%e0%b9%88-1

จังหวัดสงขลา คือเมืองใหญ่ที่ได้ชื่อว่าเป็น ‘ศูนย์กลางของภาคใต้ปลายด้ามขวานทอง’ เพราะเป็นเมืองเศรษฐกิจ คึกคักด้วยการค้าขาย และตัวเมืองใหญ่ที่คนมาเลเซียก็ยังนิยมเข้ามาช้อปปิ้งกันทุกๆ สุดสัปดาห์ นอกจากนี้สงขลายังมีด่านชายแดนถาวรถึง 3 แห่ง เชื่อมพรมแดนสองประเทศ คือ ด่านสะเดา อำเภอสะเดา ติดต่อกับด่านบูกิตกายูฮิตัมห์ รัฐเคดาห์, ด่านบ้านประกอบ อำเภอนาทวี ติดต่อกับด่านบ้านดูเรียนบูรง อำเภอปาดังเตอร์รับ รัฐเคดาห์ และสุดท้าย ด่านปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา ติดต่อกับด่านปาดังเบซาร์ รัฐเปอร์ลิส นักท่องเที่ยวไทยที่มีเวลาน้อย สามารถข้ามไปช้อปปิ้งในร้าน Duty Free แต่ถ้าคุณเวลาเยอะ เราขอแนะนำให้พาตัวและหัวใจเข้าไปสัมผัสมาเลเซียให้ลึกซึ้ง แล้วคุณจะหลงรักประเทศนี้

%e0%b8%95%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b9%81%e0%b8%94%e0%b8%99-%e0%b8%aa%e0%b8%87%e0%b8%82%e0%b8%a5%e0%b8%b2dsc_0006

ทริปนี้เราเข้ามาเลเซียทางด่านอำเภอสะเดา กล่าวคำทักทาย “ซาลามัต ดาตัง” กับ รัฐเคดะห์ (Kedah) รัฐใหญ่ทางตะวันตกเฉียงเหนือสุด ซึ่งจริงๆ แล้วติดต่อกับทั้งจังหวัดสงขลาและยะลาของไทย เคดาห์มีชื่อเดิมว่า ‘ดารุลอามัน’ แปลว่า ‘ถิ่นที่อยู่แห่งสันติภาพ’ ก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 ดินแดนนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของสยาม ทว่าเมื่ออังกฤษเข้ามาล่าอาณานิคม เราก็ต้องเสียรัฐเคดาห์ (หรือรัฐไทรบุรี) ไป รัฐนี้เป็นที่ราบซึ่งใช้ปลูกข้าวได้ดี จนอาจกล่าวได้ว่า ‘เคดาห์คืออู่ข้าวอู่น้ำของมาเลเซีย’ เลยทีเดียว dsc_0033%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%94%e0%b8%b0%e0%b8%ab%e0%b9%8c-life-4 %e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%94%e0%b8%b0%e0%b8%ab%e0%b9%8c-life-1 %e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%94%e0%b8%b0%e0%b8%ab%e0%b9%8c-life-2 %e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%94%e0%b8%b0%e0%b8%ab%e0%b9%8c-life-3 dsc_233 dsc_516 dsc_250

นอกจากความสงบงามของทุ่งนาป่าเขาที่เราจะได้ชมแล้ว หมู่บ้านตามชนบทห่างไกล ของเคดาห์ก็ยังมีวิถีชีวิตแบบมาเลย์แท้ๆ ให้สัมผัสนับไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหารการกิน หรือเรือนปั้นหยามาเลย์ที่มุงหลังคากระเบื้องว่าว และเก็บรักษาข้าวของเก่าแก่ไว้มากมาย โดยเฉพาะในชุมชนชาวไทยสัญชาติมาเลเซียที่อยู่ในรัฐนี้มาตั้งแต่ยุครัชกาลที่ 5 กว่า 80,000 คน เราสามารถเข้าไปเที่ยวชมได้ที่อำเภอเปินดังและอำเภอกัวลามูดา จะได้สัมผัสซึ้งถึงวิถีความเป็นไทยแท้ๆ บนแผ่นดินอื่น โดยเฉพาะในแง่พุทธศาสนา ที่ชาวไทยในมาเลเซียยังยึดมั่นเหนียวแน่น น่าชื่นชมมาก %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%97%e0%b8%a2-%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%94%e0%b8%b0%e0%b8%ab%e0%b9%8c dsc_158balai-bezar-%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b8%b2

แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอื่นๆ ของรัฐเคดาห์ คือ พระราชวังบาไลเบอซาร์ (Balai Besar) สร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1735 โดยสุลต่านโมฮาหมัด ยิวา (Mohamad Jiwa) สุลต่านองค์ที่ 19 ของรัฐเคดาห์ ด้วยแรงบันดาลใจที่เคยไปเยือนเมืองปาเลมบังบนเกาะสุมาตรา วังนี้สร้างขึ้นอย่างประณีตด้วยเสา หลังคา และปูพื้นด้วยไม้ แต่โชคไม่ดีเคยถูกเพลิงเผาทำลาย ทว่าได้รับการบูรณะขึ้นใหม่เพื่อใช้สำหรับการเข้าเฝ้า งานราชาภิเษก งานแต่งงาน และราชพิธีของสุลต่ารัฐเคดาห์%e0%b8%ab%e0%b8%ad%e0%b8%84%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%ad%e0%b8%a5%e0%b8%ad%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%8c

อีกที่ซึ่งห้ามพลาดชม คือ ‘หอคอยอลอร์สตาร์’ (Alor Setar Tower) หอคอยสูง 165.5 เมตร ซึ่งได้รับการจัดอันดับให้เป็นหอคอยโทรคมนาคมสื่อสารสูงอันดับ 19 ของโลก เราสามารถขึ้นลิฟท์ไปได้ บนชั้นชมวิว ความสูง 88 เมตร พร้อมด้วยห้องอาหาร ห้องประชุม ที่มองออกไปเห็นวิวพาโนรามากว้างไกล สุดลูกหูลูกตา เห็นตัวเมือง มัสยิด แม่น้ำ ถนนหนทาง รวมถึงถึงภูเขาที่ผุดขึ้นบนที่ราบเขียวขจีdsc_836 dsc_838 dsc_840 dsc_845 dsc_849

ที่กล่าวมาล้วนเป็นเพียงส่วนน้อยในความน่าสนใจของรัฐเคดาห์ อัญมณีเม็ดงามแห่งมาเลเซีย ซึ่งพร้อมต้อนรับคุณอยู่แล้วในวันนี้

ล้านใบไม้เปลี่ยนสีที่ Kyoto

%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%87-1

“ในสายลมแห่งฤดูใบไม้ร่วง ใบหญ้าโดดเดี่ยว สั่นสะท้าน… ใบไม้ร่วง ร่วงหล่นล่องลอยมาจากที่ใด ฤดูใบไม้ร่วงได้สิ้นสุดลงแล้ว” บทกวีไฮกุโบราณของญี่ปุ่นพรรณนาถึงบรรยากาศและอารมณ์อันหลากหลาย ของฤดูใบไม้ร่วงที่เปี่ยมด้วยสีสัน เมื่อลมหนาวพัดโชย อากาศเยือกเย็นลง และหิมะขาวใกล้โปรยปราย เมื่อนั้นใบไม้ทั่วแดนอาทิตย์อุทัยก็เริ่มผลัดใบกลายเป็นสีเหลือง แดง ส้ม ก่อนที่จะร่วงโรยปลิดปลิวลงจากต้น รอวันให้หิมะขาวโปรยมาทักทาย หมุนเวียนเช่นนี้ทุกปี ดินแดนจึงเปี่ยมเสน่ห์ไม่ต่างจากสวรรค์บนพื้นพิภพ %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%87-2

ทุกปีในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน หรือธันวาคม แล้วแต่สภาพอากาศ ก่อนที่ฤดูหนาวจะมาถึง ญี่ปุ่นจะเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง โดยปกติใบไม้จะเริ่มผลัดใบเปลี่ยนสีมาจากภาคเหนือก่อน แล้วค่อยๆ ไล่ลงสู่ภาคใต้ ยามที่ใบไม้เปลี่ยนเป็นสีแดง ปรากฏการณ์นี้ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “โมะมิจิ” หรือ “โคโย” นอกจากจะเป็นห้วงเวลาที่มากด้วยลีลาของสีสันแล้ว ยังกลายเป็นฤดูท่องเที่ยวคึกคักสุดๆ เลยล่ะ %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%87-3ทริปนี้ผมให้รางวัลตัวเอง ด้วยการบินไปไกลถึง “เกียวโต” (Kyoto) หรือที่คนญี่ปุ่นเรียกว่า “เคียวโตะ” เมืองหลวงเก่าของญี่ปุ่นที่ได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลก เมื่อไปสัมผัสเกียวโตด้วยตัวเองจึงรู้สึกได้ทันทีถึงความขลัง เหมือนได้ย้อนเวลากลับไปในยุคซามูไรและโชกุน เห็นสาวๆ หน้าใสใส่ชุดกิโมโนเดินไปมาตามท้องถนน แต่งตัวกันน่ารักคิกคุอาโนเน๊ะ แต่หลายคนอาจไม่เคยรู้ว่า ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เกียวโตเกือบโดนทิ้งระเบิดปรมาณูโดยสหรัฐฯ มาแล้ว! ทว่าโชคดี ที่ปรึกษาของประธานาธิบดีทรูแมนเคยมาฮันนีมูนที่เกียวโต เคยเห็นถึงความสวยงาม และคุณค่าทางประวัติศาสต์ ศิลปวัฒนธรรมของนครโบราณนี้ จึงไปทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองนางาซากิแทน! มิฉะนั้นเราก็คงจะไม่มีเมืองใบไม้เปลี่ยนสีสวยๆ อย่างเกียวโต ไว้ให้ไปเที่ยวชมกันแล้วล่ะ

%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%87-4

การเที่ยวชมใบไม้เปลี่ยนสีในเกียวโตเป็นเรื่องง่ายดาย เพียงเลือกไปชมที่วัดใดวัดหนึ่งซึ่งมีสวนสวยๆ ล้อมรอบอาณาบริเวณ เท่านี้ก็จะได้ตื่นตากับภาพผืนพรมใบไม้สีสวยแล้วล่ะ โดยเฉพาะวัดใหญ่ๆ ที่มีชื่อเสียง อย่างเช่น วัดคินคาคูจิ วัดคิโยะมิสุ และวัดเรียวอันจิ ที่ว่ามาล้วนอลังการด้วยต้นเมเปิลและต้นกิงโกะสีสด แบบที่เห็นแล้วต้องตกตะลึงพรึงเพริดกันเลยทีเดียว! %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%87-5

วัดแรกที่ผมไปเยือนคือ “วัดทอง” (Golden Pavilion) วัดที่มีชื่อเสียงสุดของเกียวโต หรือในอีกชื่อว่า “วัดคินคาคูจิ” (Kinkakuji Temple หรือ วัดโรคูออนจิ : Rokuon-ji Temple) ถ้าใครเคยดูการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง “เณรน้อยเจ้าปัญญา อิคคิวซัง” คงพอจะจำได้ถึงภาพพระราชวังสีทองตั้งอยู่ริมสระน้ำใหญ่ บนยอดปราสาทมีนกสีทองตั้งเด่นเป็นสง่า และเป็นที่ประทับของโชกุนโยชิมิตสุ (Yoshimitsu) นั่นล่ะวัดทองซึ่งมีตัวตนอยู่จริง เมื่อแรกสร้างไม่ใช่วัด แต่เป็นปราสาทที่โชกุนประทับ เพื่อบริหารราชการและใช้พบปะข้าวราชการ กระทั่งโชกุนโยชิมิตสุสิ้นพระชนม์ เมื่อ ค.ศ.1408 ปราสาทแห่งนี้จึงได้เปลี่ยนสถานะกลายเป็นวัดนิกายเซน (Zen) ตามที่ท่านโชกุนมีดำริไว้

วัดคินคาคูจิที่เห็นในวันนี้งามสง่าราวเทพเทวานฤมิตร ตัวปราสาทสีทองสามชั้นเมื่อต้องแสงอาทิตย์ พลันสะท้อนแดดส่องประกายสีทองอร่ามเรืองรอง เงาของมันสะท้อนลงไปในทะเลสาบกว้างเบื้องหน้า เกิดเป็นเงาเสมือนจริงล้อกันอย่างน่าชม ยามนี้แมกไม้นานาพันธุ์โดยรอบกำลังผลิใบเปลี่ยนสีรับฤดูหนาว จึงมีพุ่มไม้เมเปิลและกิงโกะสีแดง สีส้ม สีเหลือง เข้มบ้างอ่อนบ้าง สอดแซมสลับอยู่ตามพุ่มสนเขียวสด เป็นจังหวะจะโคนลงตัว คล้ายภาพวาดของศิลปินเอกระดับโลกก็ไม่ปาน %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%87-6%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%87-7จุดชมวิวสวยที่สุดของวัดคินคาคูจิอยู่ตรงด้านหน้าใกล้ทางเข้า บริเวณริมทะเลสาบจำลองนั่นล่ะ ในทะเลสาบมีปลาคาปหลากสีแหวกว่าย ร่วมกับเป็ดแมนดารินฝูงหนึ่งที่ว่ายน้ำอวดโฉม แต่ถ้าจะให้ดี ต้องเดินอ้อมไปด้านหลังตัวปราสาทด้วย จะมีดงต้นเมเปิลผลัดใบสีเหลืองสีแดงฉาน หยุดทุกสายตาไว้ตรงนั้น ในขณะเดียวกันเราก็ต้องไม่ลืมที่จะพิจารณารายละเอียดอันแสนวิจิตพิสดารของปราสาทสีทองด้วย เพราะนอกจากจะสร้างด้วยไม้ทั้งหลังแล้ว ชั้นสองและสามยังบุด้วยแผ่นทองแท้อันประเมินค่ามิได้! เชื่อหรือไม่ว่าปราสาททองแห่งนี้เคยถูกไฟไหม้พินาศสิ้นเมื่อ ค.ศ.1950 แต่ก็ได้รับการบูรณะขึ้นใหม่อย่างรวดเร็ว จนเสร็จสมบูรณ์ใกล้เคียงของเก่าเมื่อ ค.ศ.1955 กลายเป็นมรดกมรดกโลกมาจนทุกวันนี้  %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%87-8 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%87-9

เส้นทางนำเราเดินวนขึ้นไปด้านหลังปราสาทผ่านป่าเมเปิลที่กำลังอวดสีสัดสุดอลังการ จนถึงกระท่อมน้อยหลังหนึ่ง มุงหลังคาด้วยหญ้าแบบโบราณ จุดนี้ใช้เป็นสถานที่นั่งดื่มน้ำชาของท่านโชกุน กับซามูไร เรียกว่า “เซกกะเตอิ” (Sekkatei Tea House) ซึ่งแปลว่า “กระท่อมงามยามบ่าย” เพราะจากจุดนี้เมื่อมองกลับไปยังปราสาททองในยามบ่ายแล้ว แสงจะทำมุมสวยที่สุด น่าอิจฉาท่านโชกุนจริงๆ %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%87-10 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%87-11 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%87-12 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%87-13 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%87-14 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%87-15%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a7%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%88%e0%b8%b4-1

จากวัดทองที่มีผู้คนคลาคล่ำ ผมเที่ยวเตร็ดเตร่ไปจนถึง วัดเรียวอันจิ” (Ryoanji Temple) หรือที่เรียกกันให้จำง่ายว่า “วัดสวนเซน” (Zen Garden Temple) หรือ “วัดสวนหิน” (Rock Garden Temple) ผมรักวัดนี้มาก เพราะสงบ ร่มรื่น คนน้อย เดินเที่ยวชมใบไม้เปลี่ยนสีได้สบาย ไม่ต้องเร่งร้อน ตลอดทางเดินเข้าสู่ตัววัด รวมถึงภายในวัด และสวนด้านหลัง ล้วนอุดมด้วยป่าเมเปิลหลากสายพันธุ์ ที่พากันผลัดใบอวดสีงดงามสุดขีด จริงๆ แล้วเมเปิลมีทั้งชนิดใบสามแฉก ห้าแฉก และใบเจ็ดแฉก บางชนิดต้นใหญ่ บางชนิดต้นเล็ก บางสายพันธุ์ผลัดใบเป็นสีเหลืองสด แต่บางพันธุ์ก็ผลัดใบเป็นสีแดงเข้มปรี๊ดจนแทบไม่เชื่อสายตา! ยามสายที่แดดส่องลงมาในแนวเฉียง ต้องใบเมเปิลเหล่านี้ สีของพวกมันจึงเจิดกระจ่างขึ้นจนเห็นทุกรายละเอียดเส้นใบ รวมถึงประกายสีเจิดจ้า หรือแม้แต่ในยามที่พวกมันต้องลม สั่นระริกเป็นจังหวะพลิ้วไหวไปมาพร้อมกัน ก็ไมต่างจากโอเปร่าแห่งสีสัน ที่ฉันได้บันทึกภาพนั้นไว้ในก้นบึ้งของหัวใจเรียบร้อยแล้ว %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a7%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%88%e0%b8%b4-2 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a7%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%88%e0%b8%b4-3

จุดเด่นของวัดเรียวอันจิอยู่ที่ใจกลางวัด ซึ่งมีการจัดเป็น สวนหิน หรือสวนเซน ที่มีชื่อเสียงระดับโลก โดยสวนแห่งนี้ยาว 25 เมตร กว้างเพียง 10 เมตร ทอดตัวจากทิศตะวันออก-ตะวันตก และมีแนวกำแพงโบราณขนาบอยู่ด้านหนึ่ง สวนหินโรยหน้าพื้นดินด้วยกรวดสีขาว และมีหินขนาดต่างๆ กัน 15 ก้อน ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่จัดวางอย่างจงใจ บนพื้นกรวดมีการใช้คราดกวาดไปเป็นริ้วลายต่างๆ คล้ายคลื่น และเส้นสายให้เกิดจังหวะพื้นผิวน่ามอง โดยรวมมีนัยทางธรรมสะท้อนถึงความสงบ สมาธิ และการหลุดพ้น ตามแนวคิดของพุทธนิกายเซน ซึ่งเน้นให้ตัวเรากลับเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ และเข้าสู่สภาวะธรรม หรือบรรลุธรรมอย่างฉับพลัน การชมสวนหินแห่งนี้ห้ามลงไปเดินย่ำเด็ดขาด เขาจัดพื้นที่ระเบียงไม้ด้านหนึ่งไว้ให้นั่งชมอย่างสงบ หรือบางคนก็มาทำสมาธิชำระจิตกันที่นี่ด้วยนะ %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a7%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%88%e0%b8%b4-4 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a7%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%88%e0%b8%b4-5 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a7%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%88%e0%b8%b4-6 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a7%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%88%e0%b8%b4-7 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a7%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%88%e0%b8%b4-8 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a7%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%88%e0%b8%b4-9%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%aa-1

บ่ายแก่ของวันนั้น ผมนั่งรถแท็กซี่ต่อไปชมใบไม้เปลี่ยนสีในวัดที่โด่งดังที่สุดอีกแห่งของเกียวโต คือ วัดคิโยะมิสุ (Kiyomizu Temple) หรือ วัดคิโยมิสุ-เดระ (Kiyomizu-dera) หรือที่คนไทยรู้จักในนาม “วัดน้ำใส” เหตุที่ชื่อวัดน้ำใสก็เพราะมีธารน้ำใสสะอาดจากน้ำตกโอโตวะ (Otowa Waterfall) ไหลผ่านวัดนั่นเอง วัดนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกเรียบร้อยแล้ว ความโดดเด่นอยู่ที่ตัววัดซึ่งสร้างด้วยไม้ มี 9 อาคาร แต่ที่เจ๋งสุดคืออาคารหลักขนาดมหึมาสร้างยื่นออกไปจากหน้าผา โดยใช้เสาไม้ซุงยักษ์สูงถึง 13 เมตร หลายสิบต้น ค้ำยันตัวอาคารไว้ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ประกอบกับรอบๆ มีป่าเมเปิลสีแดงฉานพื้นที่กว้างใหญ่ ผลัดใบปกคลุมหุบเขาและเนินเขาโดยรอบ ทำให้ภูมิทัศน์ของวัดน้ำใสกลายเป็นสวรรค์ของคนรักธรรมชาติ อย่างไม่กล้าปฏิเสธ วัดนี้มีคนเดินทางมาสักการะนับหมื่นคนทุกวัน โดยเฉพาะสาวๆ ที่นิยมสวมชุดกิโมโนสีสวย หลากลวดลายมาเดินอวดกัน ยิ่งเพิ่มเติมสีสันวันใบไม้เปลี่ยนสีให้ดูสดชื่นขึ้นอีก สาวคนไหนอยากแต่งกิโมโน แต่ไม่มี ก็ไม่ต้องกลัว เพราะก่อนทางขึ้นวัดมีร้านให้เช่าชุดกิโมโนเพียบ แปลงโฉมให้เหมือนสาวเจแปนได้ไม่ยาก %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%aa-2 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%aa-3 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%aa-4 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%aa-5 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%aa-6 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%aa-7

จากอาคารหลักของวัด มีทางเดินเลียบภูเขาวนไปอีกด้านหนึ่ง เพื่อให้สามารถมองกลับมาเห็นตัวอาคารหลักที่ใช้ไม้ซุงยักษ์ค้ำยันได้ชัดเจนมาก ต่ำลงมาก็คือป่าเมเปิลแดงสุดอลังการ ที่กำลังเปล่งประกายสีแดงเจิดจ้ารับแสงสุดท้ายยามเย็น ตอนนี้ญี่ปุ่นกำลังจะเข้าฤดูหนาว แค่ห้าโมงเย็น ฟ้าก็เริ่มมืดแล้ว การเก็บภาพจึงต้องทำด้วยความรวดเร็ว มองผ่านป่าเมเปิลแดงออกไปไกลลิบๆ เห็นเมืองเกียวโต หอคอยเกียวโต และแนวเทือกเขายาวเหยียดโอบล้อมเมืองโบราณนี้ไว้ ฉันอิจฉาตัวเองเหลือเกินที่ได้มายืนอยู่ที่นี่ ณ เวลานี้ %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%aa-8 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%aa-9 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%aa-10 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%aa-11 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%aa-12 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%aa-13 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%aa-14 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%aa-15 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%aa-16 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%aa-17

เดินกลับลงมาจากวัดคิโยะมิสุฟ้าก็มืดซะแล้ว แต่ด้วยความที่วัดนี้ตั้งอยู่บนภูเขา และนักท่องเที่ยวก็เยอะ จึงหารถแท็กซี่ยาก ฉันตัดสินใจเดินลัดเลาะผ่านตรอกซอกซอยโบราณ ที่คดเคี้ยวราวเขาวงกต ผ่านร้านรวงขายของที่ระลึกละลานตา ค่อยๆ ลงเขามาอย่างสุขใจ และระหว่างทางเดินขาลงนั้นเองที่ผมรู้สึกว่า ได้ถูกจิตวิญญาณแห่งเกียวโตนครโบราณ กลืนกินตัวตนของผมไปจนหมดสิ้น มีเพียงถนนสายเก่า ตัวผม ความเย็นเยือกของอากาศ และภาพใบไม้เปลี่ยนสี ที่ตรึงอยู่ในก้นบึ้งหัวใจฉันอย่างแนบแน่น

%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%aa-18kanra-hotel-kyoto

Kyoto Guide

Best season : ใบไม้เปลี่ยนสีในเกียวโตสวยสุด ประมาณต้นเดือนตุลาคม ถึงปลายเดือนพฤศจิกายน

Getting there : จากไทยบินตรงไปลงที่สนามบินราริตะ โตเกียว แล้วต่อรถไฟหัวจรวดความเร็วสูง ชิงกังเซ็น (Shinkansen) ไปเกียวโตได้เลย ส่วนการท่องเที่ยวในเมืองเกียวโต ถ้าระยะทางใกล้ๆ สามารถนั่งรถบัส หรือปั่นจักรยานเที่ยวได้ แต่ถ้าไกลๆ แนะนำให้นั่งรถแท็กซี่ หรือเช่ารถยนต์ขับเองได้สบาย

Overnight : แนะนำโรงแรมห้าดาว Hotel Kanra Kyoto เพราะสะดวกสบาย ตกแต่งสไตล์ญี่ปุ่นร่วมสมัย อีกทั้งยังอยู่ไม่ไกลจาก Kyoto Tower และสถานีรถไฟ Kyoto Station เดิน 10 นาทีถึง จองห้องพักติดต่อ http://hotelkanra.jp/en/ หรือ โทร. +81-75-344-3815

Cuisine : อาหารในเกียวโตมีให้เลือกหลากหลายมาก แต่เนื่องจากเป็นเมืองไกลทะเล จึงมีเมนูปลาไม่เยอะ อาหารเด่นของเกียวโตคือ เต้าหู้รสเลิศ รวมไปถึงผักดอง, ข้าวหน้าปลาไหล, ราเมน อูด้ง, ขนมปังแกง ฯลฯ

Souvenirs : เกียวโตเป็นเมืองแห่งศิลปะและงานหัตถกรรม จึงมีสินค้าให้ซื้อละลานตา เช่น ผ้ากิโมโน, ผ้าห่อของลายญี่ปุ่น, พัด, ปิ่นปักผม, กล่องข้าวเบนโตะทำด้วยไม้, พวงกุญแจ, รองเท้าเกี๊ยะไม้, ภาพวาดญี่ปุ่น, เต้าหู้เกียวโต, ปลาแห้ง, บ๊วยเค็ม บ๊วยหวาน, ถ้วยจานชามเซรามิค, ไม้แกะสลัก, เครื่องจักสาน, เครื่องแก้ว ฯลฯ

More info : http://kyoto.travel/en และ www.japan-guide.com/e/e2158.html

เรื่องเล่าจากเชียงคาน เรือนไม้โบราณริมโขง

 

เชียงคาน 2

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ชื่อของ “เชียงคาน” อำเภอน้อยริมโขง แห่งจังหวัดเลย ได้กลายเป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่นักท่องเที่ยวไทย ถึงขนาดเป็นแหล่งท่องเที่ยวฮอตฮิต คลื่นนักท่องเที่ยวหลั่งไหลไปชื่นชม จนบางปีในฤดูหนาวเชียงคานล้น หนาแน่นเกินความสามารถที่จะรับนักท่องเที่ยวได้ไหว! บางคนจึงมองว่า เชียงคานกำลังถูกกระแสบริโภคนิยมจากภายนอกทำให้เปลี่ยนไป จนสูญเสียตัวตนที่เคยน่ารัก ดีงาม

แต่ลึกๆ เชียงคานยังมีลมหายใจ ยังมีจิตวิญญาน มีเรื่องเล่า ความเป็นมา แอบซ่อนอยู่อีกมากมายในแต่ละตรอกซอกซอย การเที่ยวชมเชียงคานให้ละเอียดอย่างเนิบช้า ด้วยการเดินหรือปั่นจักรยาน พูดคุยกับชาวบ้านพร้อมรอยยิ้ม จะทำให้เราพานพบ “เชียงคาน” ในอีกแง่มุมหนึ่งอย่างแน่นอน…
เชียงคาน 3

คนเชียงคานดั้งเดิมแล้วอพยพข้ามโขงมาจากเมืองสานะคาม (เมืองชนะสงคราม) ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง หรือประเทศลาวในปัจจุบัน ณ บ้านเวินคำ โดยย้ายมาอยู่ที่ฝั่งผืนดินสยามบริเวณ บ้านท่านาจัน แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น “เมืองเชียงคาน” จนกลายมาเป็นอำเภอเชียงคาน ส่วนใหญ่คนที่นี่มีชื่อสายจากคนหลวงพระบาง จึงนำวิถีวัฒนธรรม การใส่บาตรข้าวเหนีว ภาษาการพูดด้วยสำเนียงอ่อนหวาน และนำอาหารการกินอร่อยๆ ติดตัวมาด้วย
เชียงคาน 4

คนเชียงคานแท้ๆ ต้องตื่นแต่เช้า หุงข้าวเหนียว เพื่อรอใส่บาตรในยามเช้าตรู่ จากนั้นยามสายจึงค่อยนำกับข้าวไปถวายเพลที่วัด ทว่าวิถีชีวิตของคนยุคใหม่ที่เปลี่ยนไป เร่งรีบมากขึ้น มีเวลาน้อยลง ทำให้วัฒนธรรมการใส่บาตรข้าวเหนียวเชียงคาน ถึงกาลต้องเปลี่ยนไป!
เชียงคาน 5

จุดเด่นของเมืองเชียงคานที่ไม่มีใครกล้าปฏิเสธในความงามก็คือ ทัศนียภาพริมโขงที่เห็นแล้วทำให้รู้สึกโปร่ง โล่ง สบายใจ หายใจหายคอได้เต็มปอด สายน้ำโขงที่ไหลเอื่อยๆ อยู่ชั่วนาตาปีไม่เคยเหือดแห่ง คือเส้นเลือดหลัก หล่อเลี้ยงชีวิตคนสองฝั่งน้ำนี้มาหลายชั่วรุ่น

การขนส่งทางน้ำจากเมืองหลวงพระบางลงมายังเชียงคาน ทำให้เมืองนี้เติบโต รุ่งเรืองขึ้นในฐานะเมืองท่าขนาดใหญ่ที่สุดของลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ทว่าหลังจากลาวเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง สยามเลิกค้าขายกับลาว เมืองเชียงคานจึงซบเซาลง ทว่าเมื่อการท่องเที่ยวเพิ่มบทบาทมากขึ้น เชียงคานจึงเปลี่ยนจาก “เมืองท่าสู่เมืองเที่ยว” ในที่สุด

เชียงคาน 6

บรรยากาศยามเช้าเย็น ริมฝั่งโขงเชียงคาน คือภาพตระการตาของธรรมชาติแสงสีบนฟากฟ้า ที่จะประทับใจเรา มิรู้ลืมเชียงคาน 7

นอกจากตัวเมืองเชียงคานที่เด่นด้วยเรือนไม้เก่ายาวเหยียดอยู่ริมโขงแล้ว ใกล้ๆ กันยังมีภูทอก เป็นจุดชมทะเลหมอกตระการตา โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวและหน้าฝน ตื่นเช้าจากเชียงคานนั่งรถขึ้นภูทอก ได้ชมทะเลหมอกแสนสดชื่นเชียงคาน 8

คนเชียงคานเองก็น่ารัก ยิ้มง่าย ใจดี มีอัธยาศัยไมตรี พร้อมต้อนรับผู้มาเยือน หากเรามีเวลาได้นั่งพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับชาวเชียงคาน ก็จะได้รับรู้ถึง “เรื่องเล่าที่ซ่อนเร้น” หรือ The Untold Story of Chiangkhan ซึ่งมีมิติมุมมองลุ่มลึก หลากหลาย ทั้งในเรื่องวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรม ภาษา อาหาร และอีกมากมาย

การฟ้อนแบบเชียงคาน ก็คือการฟ้อนหลวงพระบางอย่างหนึ่ง ซึ่งได้รับการดัดแปลงให้สอดรับกับยุคสมัยเชียงคาน 9

คงมีน้อยคนนักที่จะรู้ว่า ณ ถนนเชียงคาน ซอย 4 (ล่าง) ที่บ้านของ คุณตาคูณ จูงใจ จะมีเรื่องราวของศิลปะการตัดกระดาษสีที่แทบจะหาดูไม่ได้แล้ว โดยคุณตาคูณ เคยได้รับรางวัลครูศิลป์แห่งแผ่นดิน ประเภทการตัดกระดาษสี (Decorative Paper Cutting) จากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ SACICTเชียงคาน 10

กระดาษสีที่ตัดออกมาแล้ว จะมีทั้งเป็นแผ่นรูปดาว ดอกมะลิ และเป็นพวงห้อยระย้า เพื่อใช้ในพิธีมงคลต่างๆ หากจะมีใครสนใจไปสืบทอดไว้ก็ไม่เสียหลาย เพราะนี่คือมรดกของแผ่นดินเชียงคาน และเมืองไทย ที่ประเมินค่ามิได้
เชียงคาน 11

คุณตาคูณเล่าว่า ในอดีตไม่มีกรรไกร ต้องใช้มีดพร้ากับฆ้อนตอกลงบนกระดาษสี จึงต้องเชี่ยวชาญจริงๆเชียงคาน 12

ที่บ้านของ คุณลุงเสี่ยน อ้วนคำ ซอย 16 (ล่าง) ท่านคือผู้เชี่ยวชาญการ “สานกระติ๊บข้าวเหนียว” คุณภาพเยี่ยม สานมาทั้งชีวิต สองมือของท่านจึงเคลื่อนไหวด้วยความแคล่วคล่องอย่างอัตโนมัติ อีกทั้งท่านเป็นคนใจดี ยิ้มง่าย ชอบพูดคุยกับลูกหลานที่ไปเยือน นี่คือหนึ่งในปราชญ์แห่งเชียงคานที่แทบไม่มีใครพูดถึง
เชียงคาน 13

คุณลุงเสี่ยน ตรวจสอบผลงานการสานกระติ๊บข้าวเหนียวอย่างตั้งใจ ละเอียดถี่ถ้วนเชียงคาน 14

ใกล้ๆ กับบ้านของลุงเสี่ยน ซอย 16 (ล่าง) คือบ้านของ คุณตาอ้วน และคุณยายสมบูรณ์ ผู้เชี่ยวชาญการ สานกระติ๊บข้าวเหนียว และหวดนึ่งข้าวเหนียว ผลงานของท่านละเอียดประณีต มีออร์เดอร์สั่งเข้ามาไม่ขาด สะท้อนถึงวัฒนธรรมอีสานที่ยังต้องการใช้งานหัตถกรรมประเภทนี้ในชีวิต ทว่าช่างฝีมือเหล่านี้ต่างหาก ที่กำลังลดลง และล้มหายตายจากบ้านเมืองของเราไปเรื่อยๆ

คุณตาอ้วนเล่าว่า มีนักท่องเที่ยวฝรั่งซื้อกระติ๊บข้าวเหนียวของท่านไปถึงอเมริกาและยุโรปด้วย น่าภูมิใจจริงๆเชียงคาน 15

คนทั่วไปรู้จักผีตาโขน แห่งอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย แต่ใครจะรู้บ้างว่าจังหวัดนี้ยังมีอีกหนึ่งผีที่แสนน่ารัก “ผีขนน้ำ”บ้านนาซ่าว อำเภอเชียงคาน แม้จะดูเผินๆ ภายนอกคล้ายผีตาโขน แต่ในรายละเอียดต่างกันมาก เพราะผีขนน้ำคืองานบุญเดือนหก ก่อนลงมือทำการเกษตร ประมาณเดือนพฤษภาคมเชียงคาน 16 ชาวบ้านนาซ่าว ซึ่งเป็นชาวไทยพวน เชื่อว่า ผีขน คือ วัว ควาย ที่ตายไปแล้ว แต่วิญญาณยังคงวนเวียนอยู่ตามห้วย หนอง คลอง บึงรอบหมู่บ้าน เมื่อชาวบ้านไปตักน้ำกลับมา ผีขนก็จะตามมาด้วย โดยได้ยินแต่เสียงกระดิ่งกระดึงที่ผูกคอมันไว้ ในอดีตเมื่อมีการละเล่นแห่ผีขนน้ำแล้ว ฝนมักจะตก ทุกวันนี้การเล่นผีขนน้ำจึงกลายเป็น “ผีขอฝน” นั่นเอง

ลายที่วาดบนหน้ากากผีขนน้ำมักจะน่ารัก ประดับด้านบนด้วยผ้าริ้วเป็นสีสดใส แสดงถึงสายฝนและความอุดมสมบูรณ์เชียงคาน 17 ผีขนน้ำบ้านนาซ่าว สืบทอดกันมาถึงรุ่นที่ 6 หรือ 7 แล้ว ทว่าคนนอกอำเภอเชียงคานแทบไม่รู้จักประเพณีการละเล่นผีขนน้ำเลย นับเป็นอีกหนึ่งประเพณี UNSEEN of Chiangkhan อย่างแท้จริงเชียงคาน 18

หน้ากากผีขนน้ำบ้านนาซ่าว ทำจากไม้นุ่น หรือไม้งิ้ว นำมาสลักให้เป็นรูปใบหน้า แล้วทาสีวาดลายตามต้องการ ส่วนหน้ากากผีตาโขนที่เราคุ้นเคย ทำจากหวดนึ่งข้าวเหนียว แค่นี้ก็ต่างกันแล้ว

ทุกวันนี้นักท่องเที่ยวที่ไปเยือนบ้านนาซ่าว สามารถทดลองทำหน้ากากผีขนน้ำได้ด้วยตนเอง สนใจติดต่อ คุณวิชิต ทำทิพย์ โทร. 08-8548-1688เชียงคาน 19เชียงคานในฤดูหนาว อากาศหนาวเย็นยะเยือกจับใจ ผู้คนที่นี่จึงเรียนรู้การทำ “ผ้าห่มนวม” ขึ้นใช้เอง และจำหน่ายเป็นสินค้ามีชื่อเสียง โดยเฉพาะที่ โรงหีบฝ้ายบ่วยเฮียงในตลาดเชียงคาน เป็นโรงหีบฝ้ายแห่งแรกของเชียงคาน มีทั้งหน้าร้านจำหน่าย และเปิดให้เข้าชมโรงงาน ขั้นตอนวิธีผลิตอย่างละเอียด ตั้งแต่การหีบฝ้าย (แยกเมล็ดฝ้ายออกจากปุยฝ้าย), การขึ้นเส้นโครงผ้าห่ม, การบุฝ้าย, การตีฝ้าย จนกลายเป็นผ้าห่มแสนอุ่นสบาย
เชียงคาน 20

ผ้าห่มนวมเชียงคานไม่ได้มีแต่ที่ร้านบ่วยเฮียง แต่ยังมีที่ร้านนิยมไทย (อยู่ระหว่างซอย 13 และ 14 ล่าง), ร้านไดเฮง (ซอย 12 บน), บ้านคุณป้าคำหล้า สิงห์หล้า (ซอย 10 บน) ฯลฯ
เชียงคาน 21

หนึ่งวัฒนธรรมอันแสนน่ารัก ดีงาม ที่บรรพบุรุษชาวหลวงพระบางนำมาสู่เชียงคานเมืองริมโขง ก็คือ “ประเพณีผาสาดลอดเคราะห์” (หรือ ปราสาทลอยเคราะห์) ที่เชื่อกันว่าเป็นเหมือนการสะเดาะห์เคราะห์ นำโชคร้าย สิ่งไม่ดีออกจากตัวด้วยการทำกระทงกาบกล้วยทรงสี่เหลี่ยม ประดับประดาอย่างงดงาม เพื่อไปลอยในแม่น้ำโขงเชียงคาน 22

กระทงผาสาดลอยเคราะห์ ตามแบบประเพณีนิยมดั้งเดิม นอกจากเชื่อว่าจะนำเคราะห์โศรก โรคภัย สิ่งไม่ดีทั้งปวงออกจากตัวเราแล้ว ยังช่วยให้มีโชคดีติดตามมาด้วยเชียงคาน 23

ทุกวันนี้นักท่องเที่ยวที่สนใจในประเพณีผาสาดลอยเคราะห์ สามารถทดลองทำ แล้วนำไปลอยในแม่น้ำโขงได้ด้วยตัวเอง หรือติดต่อที่บ้านป้านาง ซอย 8 (ล่าง) ช่วยกันสืบสานสิ่งดีๆ ไม่ให้สูญหายนะจ๊ะเชียงคาน 24

เมื่อทำกระทงผาสาดลอยเคราะห์เรียบร้อยแล้ว ก็ได้เวลาลงเรือล่องโขง ออกไปหาจุดเหมาะๆ ลอยเคราะห์ไปกับสายน้ำเชียงคาน 25

นั่งเรือชมธรรมชาติสองฝั่งโขง พร้อมกับผาสาดลอยเคราะห์ในมือ ที่เราประดิษฐ์ขึ้นด้วยตนเองอย่างภาคภูมิใจเชียงคาน 26

ลอยผาสาดลอยเคราะห์กลางแม่นำ้โขง เชียงคาน ครั้งหนึ่งในชีวิตที่ต้องจดจำ เชื่อกันว่าเมื่อลอยไปแล้ว ห้ามมอง ต้องปล่อยสิ่งไม่ดี โชคร้าย ความเศร้าโศรกไปกับกระทงนั้นเชียงคาน 27

กลับจากผาสาดลอยเคราะห์เข้าฝั่งเชียงคาน แสงอาทิตย์ก็คล้อยต่ำเย็นย่ำอ่อนแรง เปลี่ยนบรรยากาศริมโขงให้อ่อนหวาน เนิบช้า สงบเย็น นี่ล่ะเสน่ห์แท้จริงของเมืองริมโขงอย่างเชียงคาน ที่เราสัมผัสได้ตลอดปีเชียงคาน 28

เมื่ออาทิตย์อัสดง สายน้ำโขงเชียงคานก็ถูกแต่งแต้มเปลี่ยนเฉดสีไปตามธรรมชาติสร้างสรรค์ สีของฟากฟ้าสะท้อนลงมาเจือเป็นเนื้อเดียวกับสีสายน้ำโขง บ่งบอกเรื่องราวธรรมชาติ และชีวิตสองฟากฝั่ง โรแมนติกอย่าบอกใครเชียว
เชียงคาน 29

เชียงคานเป็นเมืองรุ่มรวยด้วยวัฒนธรรมอย่างแท้จริง ไม่ได้มีแต่ถนนคนเดินไว้ให้ช้อปปิ้งอย่างที่หลายคนเข้าใจผิด โรงเรียนเชียงคาน คือแหล่งสืบทอดการรำเบิ่งโขง พร้อมด้วยการแต่งกายอย่างคนหลวงพระบาง บรรพบุรุษของชาวเชียงคาน ลีลาอ่อนช้อย และเนื้อเพลงอันน่าฟัง สะท้อนถึงความผูกพันของผู้คนกับสายน้ำโขง มาหลายชั่วรุ่นเชียงคาน 30

งามอย่างเชียงคาน กับลีลาการรำเบิ่งโขงอันอ่อนหวาน ที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้พบเห็นเชียงคาน 31

นักเรียนของโรงเรียนเชียงคานทุกคน สามารถรำเบิ่งโขงได้ และในหนึ่งสัปดาห์ ต้องแต่งชุดประจำถิ่นของเชียงคาน เพื่อช่วยกันอนุรักษ์สืบสานอัตลักษณ์ ตัวตน คนเชียงคาน ให้คงอยู่ไปอีกนานแสนนานเชียงคาน 32

การเที่ยวสัมผัสเชียงคานอย่างมีคุณค่า ควรหาโอกาสไปที่บ้าน “อาจารย์สมโภช ดนตรีไทย” (โทร. 09-3449-3399, 09-4558-9388) อยู่ที่ซอย 10 (บน) เป็นแหล่งเรียนรู้ดนตรีไทยและดนตรีสากล ซึ่งผู้ใหญ่และเด็กรุ่นใหม่ในเชียงคานสนใจมาก การเที่ยวชมเป็นหมู่คณะก็สามารถทำได้ เพียงแต่ต้องติดต่อล่วงหน้า ไปร่วมกันซึมซับสัมผัสเสียงดนตรีอันไพเราะ เปี่ยมด้วยจิตวิญญาณความเป็นไทย แล้วคุณจะรักเมืองไทยมากขึ้นอย่างแน่นอนเชียงคาน 33

ที่บ้านป้านาง (ซอย 8 ล่าง) เวลามีแขกไปใครมาเยือน ตอนเย็นๆ ก็จะมีจัดเลี้ยงอาหารพื้นเมือง เสร็จแล้วก็ร่วมวงฟ้อนรำกันสนุกสนาน บางวันอาจารย์สมโภชก็มาร่วมบรรเลงด้วย สร้างความประทับใจไปอีกนานแสนนานเชียงคาน 34

แม้วันเวลาจะล่วงเลยไปนานเพียงไร จิตวิญญาณที่แท้จริงอย่างหนึ่งของเชียงคาน ซึ่งไม่เคยเปลี่ยนก็คือ “เรือนไม้เก่าริมโขง” ไล่ตั้งแต่ซอย 0 ถึงซอย 20 นับเป็นหนึ่งในชุมชนเรือนไม้เก่าริมแม่นำ้โขงที่โดดเด่นที่สุดในสยาม แม้หลายหลังจะถูกทิ้งร้าง ทว่าส่วนใหญ่ยังมีชีวิต มีลมหายใจ ส่งต่อไปจากรุ่นสู่รุ่น
เชียงคาน 35

เรือนไม้เก่าริมโขงเชียงคาน บริเวณถนนศรีเชียงคาน ถือเป็นหัวใจของเมืองน้อยน่ารักแห่งนี้เชียงคาน 36

เรือนไม้เก่าบางหลัง ด้านที่ติดถนนศรีเชียงคานอาจจะปิดประตูบานพับไม้ไว้มิดชิด แต่เมื่อเดินไปที่ถนนชายโขงตรงริมแม่น้ำ เรายังเห็นผู้คนเปิดบ้านใช้ชีวิต รับลมแม่น้ำพัดพรูเข้ามาสร้างความชื่นใจ เป็นโลกสองด้านที่เราต้องเปิดใจรับรู้เชียงคาน 37

รถสามล้อสกายแลป คือพาหนะสุดเท่ห์ที่ผู้คนใช้เป็นรถรับส่งสาธารณะ ขนคนขนของ รับใช้ชุมชนนี้มาเนิ่นนาน เป็นพาหนะเอกลักษณ์เมืองชายโขงที่เข้าคู่กับเรือนไม้เก่าได้ลงตัว นั่งเที่ยวชมเชียงคานและแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง อย่างแก่งคุดคู้, ภูทอก, พระพุทธบาทภูควายเงิน, ภูช้างน้อย ฯลฯ ได้สบายมากๆ
เชียงคาน 38

เชื่อหรือไม่ว่าเชียงคานในอดีตเป็นเมืองท่าที่รุ่งเรืองมาก ถึงขนาดมีโรงหนังถึง 3 แห่ง คือ ราชาภาพยนตร์, สุวรรณรามา และพรเทพ โดยเฉพาะบนถนนซอย 9 ที่ตรงขึ้นมาจากท่าเรือเก่า ไปสู่ตลาดเชียงคาน แม้แต่คนฝั่งลาวยังนั่งเรือมาชมเวลามีโปรแกรมหนังใหม่ๆ ดังๆ เข้าฉายในวิก แต่เมื่อถึงยุคมีม้วนเทปวีดีโอ แผ่นซีดี ดีวีดี จนมาถึงยุคดูหนังฟรีทางอินเตอร์เน็ท โรงหนังทั้งหมดก็ปิดตัวลงอย่างถาวร สะท้อนสัจธรรมความเปลี่ยนแปลง ไม่หยุดนิ่งของโลกใบนี้เชียงคาน 39

คุณลุงเจ้าของโรงหนังราชาภาพยนตร์ เปิดที่พักเก๋ไก๋น่ารัก พร้อมกับนำเครื่องฉายภาพยนตร์ เก้าอี้ไม้เก่า และโปสเตอร์หนังสุดรัก มาตกแต่งคล้าย Mini Theater หรือโรงหนังขนาดย่อมในด้านล่างของที่พักแบบไม่เหมือนใครจริงๆเชียงคาน 40

โรงหนังสุวรรณรามา ซอย 9 (บน) ทางเข้าตลาดเชียงคาน ปัจจุบันผันตัวเองไปเป็นร้านอาหาร และคอร์ตแบตมินตัน แต่ก็ยังคงมีกลิ่นอายโรงหนังเก่าในอดีตให้สัมผัส ทั้งม้วนฟิล์มเก่า, เก้าอี้ไม้, เครื่องฉายหนัง, โปสเตอร์ภาพยนตร์ เป็นเสน่ห์ของเมืองเล็กๆ ริมโขง ที่ทำให้ผู้มาเยือนคนแล้วคนเล่าหลงรักจนหมดใจเชียงคาน 41เรือนไม้เก่าของเชียงคาน ถือเป็นมรดกทางสถาปัตยกรรมท้องถิ่นอันทรงคุณค่ายิ่ง แต่ละหลังเปี่ยมด้วยเรื่องราวน่าค้นหา อย่าง “บ้านตาสิงห์คำ” (ซอย 19 ล่าง ถนนศรีเชียงคาน) ที่เก่าแก่กว่า 150 ปีเป็นอย่างน้อย เป็นเรือนหลังเดียวในเชียงคาน ที่มีเสาใต้ถุนเป็นปูนทรงสี่เหลี่ยมแบบยุโรป บนตัวบ้านก็กว้างขวาง และหลังบ้านยังมียุ้งฉางข้าวแบบโบราณให้ชมด้วย

เชียงคาน 42

เรือนไม้เก่าอายุนับร้อยปีของตาสิงห์คำ เต็มไปด้วยเรื่องเล่าในทุกอณูของตัวบ้าน
เชียงคาน 43 บ้านตาอูบ ปากซอย 14 (ล่าง) ถนนศรีเชียงคาน คือเรือนไม้โบราณอันทรงคุณค่า แสดงให้เห็นถึงวิธีการสร้างเรือนของคนเชียงคานในอดีต ที่นิยมใช้ไม้ไผ่ขัดแตะแล้วฉาบปูนบางๆ ปิดทับเป็นฝาผนัง แม้ปัจจุบันบ้านหลังนี้จะปิดร้าง แต่ก็ยังทำหน้าที่เป็น Landmark ของเชียงคาน ที่ได้รับความสนใจจากผู้คนไม่เสื่อมคลายเชียงคาน 44

ด้านหลังบ้านตาอูบ ปัจจุบันกลายเป็นที่จอดรถสาธารณะ ทว่าตัวบ้านนั้นยังคงโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมท้องถิ่นอันมีเอกลักษณ์ สมควรได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟูให้เป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนเพื่อการเรียนรู้ต่อไปเชียงคาน 45

เรือนไม้เก่าเชียงคานทุกหลังมีอดีต มีเรื่องเล่า พร้อมให้เราเข้าไปเรียนรู้ ถ้าเราเปิดใจอย่างเต็มที่เชียงคาน 46

ซอย 9 คือหัวใจหลักของเชียงคานในอดีต เพราะท่าเรือเก่าอยู่ที่ริมน้ำซอย 9 พอขึ้นฝั่งมาก็จะพบกับร้านค้าของชาวจีน ที่มีทั้งร้านโชห่วย ร้านกาแฟ ร้านขายยา รวมถึงโรงหนัง และโรงแรมเล็กๆ เรียงราย จากถนนชายโขง ผ่านถนนศรีเชียงคาน ขึ้นไปยังตลาดเชียงคาน แม้แต่โรงแรมพูลสวัสดิ์ ซึ่งเป็นโรงแรมแห่งแรกของเชียงคาน มี 9 ห้อง ก็อยู่ในซอย 9 นี้เช่นกันเชียงคาน 47

เรือนไม้เก่าเชียงคาน แม้เก่าก็เพียงตัวบ้าน ทว่ารอยยิ้มของผู้เป็นเจ้าของ ที่พร้อมบอกเล่าเรื่องราวให้เราฟังนั้น ไม่ได้เก่าไปด้วยเลย แต่เปี่ยมด้วยเสน่ห์วิถีชุมชน ที่ไม่ยอมละทิ้งบ้านเรือนของตนไปไหนไกลเชียงคาน 48 เชียงคาน 49

เชียงคานบุรี เรือนไม้ 3 ชั้นเพียงแห่งเดียวของเชียงคาน เป็นโรงแรมสร้างใหม่บริเวณซอย 11 (ล่าง) พอขึ้นไปชั้นบนสุด จะมองเห็นวิวตัวเมืองได้สวยงาม ใครจะไปพักต้องจองนะจ๊ะ จะบอกให้เชียงคาน 50

โรงแรม White House (อยู่ระหว่างซอย 5-6 ล่าง ถนนศรีเชียงคาน) เป็นตึกฝรั่งทรงโคโลเนียลสีขาวอันสวยงาม สะท้อนวันเวลาท่ีฝรั่งเศสเคยมีอิทธิพลเหนือล้านช้าง หรือลาวในอดีต แถมยังแผ่อิทธิพลข้ามโขงมาถึงเมืองเชียงคานด้วย ปัจจุบัน Whit House คือโรงแรมน่าพัก ที่พาเราย้อนกลับไปสู่อดีตได้ราวกับ Time Capsuleเชียงคาน 51

เชียงคานเป็นเมืองพุทธ เมืองสงบ ที่ผู้คนยังคงยึดมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างเต็มเปี่ยม วัดวาอารามกว่า 10 แห่งในย่านริมโขง ทำให้คนใกล้วัด ไม่ลืมทำบุญสุนทาน และในขณะเดียวกันก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญด้วย เด่นที่สุดคือ “วัดศรีคุณเมือง” อยู่ระหว่างซอย 6-7 (ล่าง) ใกล้แม่น้ำโขง
เชียงคาน 52

วัดศรีคุณเมือง เดิมชื่อ วัดใหญ่ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2119 เป็นวัดที่โดดเด่นด้วยพุทธศิลป์แบบล้านช้าง (ลาว) เห็นได้จากหลังคาโบสถ์ที่ลดหลั่นกันลงมาในทรงเตี้ยแบบล้านช้าง, พระพุทธรูปไม้จำหลักปิดทอง และภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบล้านช้างแท้ๆ นับเป็นศูนย์กลางรวมใจรวมศรัทธาของชาวเชียงคานเชียงคาน 53 พระประทานในโบสถ์วัดศรีคุณเมือง สร้างด้วยศิลปกรรมล้านช้างแท้ๆ เป็นทองสำริด เชียงคาน 54

วัดศรีคุณเมือง ที่เชียงคาน แท้จริงแล้วเป็นชื่อวัดเดียวกับ วัดสีคุนเมือง ของเมืองหลวงพระบางในประเทศลาว เป็นวัดที่ราชวงศ์ลาวให้การอุปถัมป์ เมื่อผู้คนอพยพลงมาสร้างบ้านแปงเมืองอยู่ ณ ที่ปัจจุบัน จึงนำชื่อวัดในบ้านเกิดมาด้วยเชียงคาน 55

วัดมหาธาตุ คือวัดใหญ่อีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่กลางเมืองเชียงคานใกล้ริมโขง บริเวณซอย 14 สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2197 เป็นวัดที่เก่าแก่มาก เด่นด้วยพระอุโบสถไม้หลังเก่าศิลปะล้านช้าง เชื่อกันว่าเจดีย์ขาวที่วัดมหาธาตุนี้ สร้างอุดรูพญานาคไว้ เพราะเชื่อว่าเป็นทางผ่านของพญามุจลินทร์นาคราช ที่เข้ามากราบไหว้หลวงพ่อใหญ่ แล้วกลับลงสู่แม่น้ำโขงเชียงคาน 56

นอกจากความเชื่อเรื่องพญานาคแล้ว วัดมหาธาตุยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง และวัตถุโบราณเก็บรักษาไว้ อีกทั้งยังมีส้วมฝรั่ง ที่เป็นห้องน้ำก่ออิฐถือปูนทรงโคโลเนียล เพราะจุดนี้เคยใช้เป็นที่ตั้งที่ว่าการเมืองเชียงคานเก่า สมัยพระยาศรีอรรคฮาตเชียงคาน 57

ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดมหาธาตุ เป็นฝีมือช่างพื้นบ้านสกุลช่างล้านช้าง แม้ทุกวันนี้จะลบเลือนไปมาก แต่ก็ยังพอเห็นเค้าโครงกลิ่นอายความงามของพุทธศิลป์แห่งศรัทธา
เชียงคาน 58

หลวงพ่อใหญ่แห่งวัดมหาธาตุ ที่เชื่อกันว่าท่านศักดิ์สิทธิ์มาก
เชียงคาน 59

เชียงคานเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายสุดๆ ทั้งในแง่วัฒนธรรม ชุมชน งานประเพณี เชิงเกษตร และธรรมชาติ โดยเฉพาะที่ “ภูทอก” แหล่งชมทะเลหมอกใกล้เชียงคาน มองออกไปเห็นแม่น้ำโขงและฝั่งลาวได้ชัดเจน ยิ่งถ้าเป็นฤดูหนาวด้วยแล้ว ทะเลหมอกจะแน่นเป็นผืนพรมคล้ายปุยนุ่นทีเดียว เชียงคาน 60

แก่งคุดคู้ อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงคานไปทางตะวันออก 2 กิโลเมตร เป็นแก่งใหญ่กลางแม่น้ำโขง ที่จะเผยตัวขึ้นมาอย่างชัดเจนในยามฤดูแล้ง ปัจจุบันมีร้านอาหาร จุดชมวิว และบริการล่องเรือเที่ยวชมธรรมชาติลำน้ำโขง ชิลสุดๆเชียงคาน 61

ตำนานแก่งคุดคู่เล่าว่า ในอดีตมีพรานคนหนึ่งรูปร่างสูงใหญ่ ชื่อ ตาจึ่งขึ่งดังแดง ไล่ตามควายเงินมาจากฝั่งลาว โดยหมายจะยิงมันให้ได้ แต่พอมาถึงแก่ง ก็มีพ่อค้าจากหลวงพระบางถ่อเรือมาถึงพอดี ควายเงินตกใจ เผ่นหนีขึ้นไปซ่อนอยู่ที่ปลักบนภูควายเงิน พรานโกรธมากจึงนำหินมาก่อเรียงขวางลำน้ำ เพื่อไม่ให้ใครถ่อเรือผ่านไปได้อีก พระอินทร์จึงแปลงร่างลงมาเป็นเณรน้อย ออกอุบายให้พรานใช้ไม้ไผ่ทำคานแบกหิน ทว่าไม้ไผ่ไม่แข็งแรงพอ จึงหักลงมาบาดคอตายในท่านอนคุดคู้ บริเวณนี้จึงได้ชื่อว่า “แก่งคุดคู้” มาจนทุกวันนี้เชียงคาน 62

เวลาไปเที่ยวแก่งคุดคู้ นอกจากกุ้งแพ (กุ้งฝอยแม่น้ำโขง ชุบแป้งทอดเป็นแพ กินกับน้ำจิ้มแสนอร่อย) แล้ว สิ่งหนึ่งที่ห้ามพลาดชิมคือ มะพร้าวแก้วแก่งคุดคู้ ผลิตกันที่นี่มาช้านาน มีหลายเจ้า ขอเข้าชมการผลิตได้ เอกลักษณ์คือเนื้อมะพร้าวต้องนุ่ม รสชาติหวานนวลๆ กินเล่นได้เพลินๆ จ้าเชียงคาน 63

การผลิตมะพร้าวแก้วแก่งคุดคู้ ต้องใช้เนื้อมะพร้าวคุณภาพดี ทำความสะอาด แล้วผ่ารีดเป็นแผ่นบางๆ ก่อนนำไปเชื่อม
เชียงคาน 64

การเชื่อมมะพร้าวแก้ว แก่งคุดคู้ ของกินเล่นยอดฮิตที่เหมาะจะซื้อเป็นของฝากกลับบ้านเชียงคาน 65

ใครที่สนใจวิถีท่องเที่ยวเชิงเกษตร หรือ Agro-Tourism แนะนำให้ไปเที่ยวที่ “สวนผลไม้บ้านบุฮม” อยู่ห่างจากเชียงคานไปทางตะวันออก 14 กิโลเมตร ตามถนนเส้นเลียบโขงอันสวยงาม เราจะเห็นสวนมะม่วง สวนฝรั่ง สวนแก้วมังกร สวนกระท้อน สวนมะขามหวาน และอีกสารพัดสวน ให้เข้าชม ชิม และซื้อกลับบ้าน ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันตลอดปีเชียงคาน 66

มะม่วงบ้านบุฮม มีพ่อค้ามาซื้อเหมากันไปถึงที่เลย รสชาติหวานอร่อยสุดยอด เพราะดินแถวริมโขงมีแร่ธาตุเยอะมากเชียงคาน 67

เชียงคานมีอาหารอร่อย เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครอยู่หลายอย่าง เช่น ที่ซอย 0 มี “ข้าวหลามยาว” ซึ่งเมื่อก่อนยาวมากถึง 1.5 เมตร (เกือบ 2 เมตรก็มี!) ถือเป็นข้าวหลามที่ยาวที่สุดในเมืองไทย เอกลักษณ์คือเนื้อข้าวเหนียวจะนุ่ม หอม หวานอ่อนๆ มีทั้งข้าวเหนียวดำและข้าวเหนียวขาว เหมาะจะกินเล่นจิ้มนมข้นหวาน ที่นี่ทำขายตอนเช้าเท่านั้นจ้าเชียงคาน 68

น่าเสียดายที่ทุกวันนี้ไม้ไผ่ยาวๆ ในบ้านเราแทบไม่มีแล้ว หรือถ้ามีก็อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ เข้าไปตัดมาใช้งานไม่ได้ ข้าวหลามยาว ซอย 0 เชียงคาน เลยต้องรับซื้อไม้ไผ่มาจากฝั่งลาวแทนเชียงคาน 69

เมื่อปิ้งข้าวหลามจนสุกดีแล้ว ก่อนหม่ำก็ต้องมาเหลาเปลือกให้บางเฉียบ จนสามารถใช้มือปอกข้าวหลามกินได้ทันที นี่คือเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครของข้าวหลามยาวเชียงคาน
เชียงคาน 70

เที่ยวชมเชียงคานกันมาจนเหนื่อยแล้ว ได้เวลาเติมพลัง กับ “ข้าวปุ้นน้ำแจ่ว” ซึ่งเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากลาว (ต้นตำรับคือเวียดนาม) แท้จริงแล้วก็คือเส้นขนมจีน ใส่น้ำซุป และเครื่องในหมู เนื้อหมู กินกับผักแกล้ม พริก กะปิ มะนาว คล้ายๆ เฝอ (ก๋วยเตี๋ยว) เวียดนามนั่นล่ะ

เชียงคาน 71

ข้าวปุ้นน้ำแจ่ว คืออาหารเช้ายอดฮิตของคนเชียงคาน ชื่อดังสุดคือ ข้าวปุ้นน้ำแจ่วป้าบัวหวาน ซอย 14 (บน)เชียงคาน 72

ส้มตำด้องแด้ง แห่งร้านจิตส้มตำ ปากซอย 21 (บน) ใกล้โรงพยาบาลเชียงคาน เป็นส้มตำเจ้าเด่นเจ้าดัง รสชาติแซ่บถึงใจ สั่งได้ตามต้องการ มีตำทุกประเภทให้เลือก โดยเฉพาะส้มตำด้องแด้ง ซึ่งมีต้นกำเนิดที่นี่เชียงคาน 73

จุ่มนัวยายพัด หรือสุกี้หลวงพระบาง ขายอยู่ที่ซอย 10 (ล่าง) รสชาติอร่อยกลมกล่อม ลูกค้าแน่นตลอดวัน ขายมาหลายสิบปี ร้านนี้ยังมีขนมหวานแบบไทยๆ ให้กินล้างปากด้วย โดยเฉพาะลอดช่อง, กล้วยบวชชี, ฟักทองแกงบวช สุดยอด!!!เชียงคาน 74

ตื่นเช้าเดินไปเที่ยวตลาดเชียงคาน ถ้าหิวขึ้นมา ก็เดินไปชิม “ปาท่องโก๋ยัดไส้” กินคู่กับกาแฟ โอวัลติน ชาร้อน ต้อนรับวันใหม่ให้สดชื่นอิ่มท้องเชียงคาน 75

มีคนเคยบอกว่า ตลาดเช้าคือสิ่งที่สะท้อนวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นนั้นๆ ได้ดี มันคือความจริง เพราะในตลาดเช้าเชียงคาน จะมีพืชพักผลไม้ในท้องถิ่นมาขายหลากหลายตามฤดูกาล รวมถึงพืชผัก ข้าวเหนียว แกง อ่อม หมก แหนม ฯลฯ อุดมสมบูรณ์ คนที่อยากใส่บาตรข้าวเหนียว ตื่นเช้าเอากระติ๊บมาซื้อข้าวเหนียวร้อนๆ ที่นี่ได้เลย
เชียงคาน 76

เชียงคาน เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย ของเรื่องราว ชีวิต วัฒนธรรม และธรรมชาติงามริมโขง เรือนไม้เก่าทุกหลังล้วนมีอดีต เรื่องเล่า ที่พร้อมให้เราเข้าไปเรียนรู้ เชียงคานไม่ได้มีแต่ถนนคนเดิน แม้เชียงคานจะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่นั่นคือการปรับตัวตามวิวัฒนาการของเมืองที่ได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยว คำถามคือ เราจะทำอย่างไรที่จะช่วยกันรักษาเชียงคานให้คงอยู่ พร้อมกับรักษาอัตลักษณ์ตัวตนไว้ได้ด้วย

เชียงคานไม่ใช่เมืองที่ถูกแช่แข็งไว้ในกาลเวลา แต่เป็นเมืองที่มีความเติบโตไปตามยุคสมัย วันนี้เชียงคานยังน่านัก เต็มไปด้วยเรื่องราวของชีวิตที่หมุนไป ไม่หยุดหย่อน เราจึงต้องเคารพความเป็นเชียงคาน ไปเรียนรู้ในสิ่งที่เขาเป็น อย่าให้เขาต้องเปลี่ยนเพื่อคนนอก

นี่คือเมืองแห่งเรือนไม้เก่าริมโขง ที่ฉันหลงรักจนหมดใจ ในความน่ารักและรอยยิ้มที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง

 

มานครพนม ชมสามที่สุด เพื่อสุขที่สุด

วิวริมโขง นครพนม 2

มาเที่ยวนครพนมทีไร สุขใจทุกครั้ง ทั้งวิวสวยริมโขง ผู้คนน่ารัก ความหลากหลายของวัฒนธรรมไทย ญวน จีน และอีสาน ผสมกลมกลืน รวมถึงอาหารแสนอร่อย แต่มาเที่ยวคราวนี้มีความพิเศษ เพราะเป็นปีท่องเที่ยวนครพนม ที่เขาจัดแคมเปญสนุกๆ ชื่อ “สามที่สุด…ปีท่องเที่ยวนครพนม” ชวนไปชมของดีของเด่น ซึ่งจะทำให้เราประทับใจไม่รู้ลืม

ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด : พระธาตุพนม เป็นพระธาตุประจำคนเกิดวันอาทิตย์ และปีวอก

สวยที่สุด : สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 3 (นครพนม-คำม่วน)

งามที่สุด : ทิวทัศน์ริมฝั่งโขงพระธาตุพนม 1

ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด : พระธาตุพนม เป็นพระธาตุประจำคนเกิดวันอาทิตย์ และปีวอก

พระธาตุพนม 2ท่านสมชาย วิทย์ดำรงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เปิดตัวกิจกรรม “สามที่สุด…ปีท่องเที่ยวนครพนม” กับจุด Check In แรก ณ พระธาตุพนม ซึ่งถือว่าศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในจังหวัดนครพนม
พระธาตุพนม 3มาเที่ยวนครพนมแล้ว ร่วมกิจกรรม “เช็ค อิน ฟินสุขสุด” และกิจกรรม Like and Share เพื่อรับของที่ระลึกและของรางวัลจากนครพนม ทั้งสินค้าโอทอป, เสื้อ T-Shirt สามที่สุด, แฟลชไดร์ฟสามที่สุด, Gift Voucher โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร ร้านของฝากในจังหวัด และแพ็กเกจทัวร์ ตั้งแต่ 11 มิถุนายน – 30 ตุลาคม 2559

สอบถามเพิ่มเติมที่ สำนักงานจังหวัดนครพนม โทร. 0-4251-1287
พระธาตุพนม 4

พระธาตุพนม เป็นพระบรมธาตุที่เก่าแก่มาก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยทวารวดี เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 หรือ 12 เป็นที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุ หรือกระดูกส่วนหน้าอกของพระพุทธเจ้า ถ้าได้มากราบไหว้ หรือห่มผ้าพระธาตุแล้ว ถือว่าเป็นสิริมงคลอย่างยิ่งกับชีวิต
พระธาตุพนม 5

ใครได้มาไหว้พระธาตุพนมครบ 7 ครั้ง ถือว่าเป็นลูกพระธาตุอันศักดิ์สิทธิ์แล้วนะจ๊ะพระธาตุพนม 6 อาจารย์คฑา ชินบัญชร และ คุณซัน ประชากร ปิยะสกุลแก้ว นักแสดงสายเลือดนครพนม นำคณะผู้ศรัทธา บูชาพระธาตุพนมและห่มผ้าพระธาตุ ณ จุด Check In จุดแรกพระธาตุพนม 7.1

พลังแห่งศรัทธา ณ พระธาตุพนมพระธาตุพนม 7เนื่องจากปี 2559 นี้ ถือเป็นปีดีเฮงๆ ของคนปีวอก จังหวัดนครพนมจึงจัดงาน “พิธีบูชาพระธาตุพนม เสริมบารมีคนปีวอก” ซึ่งโดยปกติจัดกันอยู่แล้วทุกวันเสาร์ที่ 2 และ 4 ของเดือน แต่ปีนี้จัดยิ่งใหญ่และพิเศษขึ้นอีก ด้วยว่าองค์พระธาตุพนมเป็นพระธาตุประจำคนเกิดปีวอก จึงมีผู้ศรัทธาเข้าร่วมอย่างล้นหลาม

พระธาตุพนม 8

ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม และแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมพิธีเปิดงานบูชาพระธาตุพนม เสริมบารมีคนปีวอกพระธาตุพนม 9.1

ท่านประมวล มุ่งมาตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานเปิดงาน “พิธีบูชาพระธาตุพนม เสริมบารมีคนปีวอก” เมื่อค่ำของวันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน 2559พระธาตุพนม 9

ผู้ศรัทธาและนักท่องเที่ยวนับพัน เข้าร่วมพิธีบูชาพระธาตุพนม เสริมบารมีคนปีวอก
พระธาตุพนม 10.1

พิธีบายศรีสู่ขวัญตามความเชื่อของชาวอีสาน ก่อนที่การรำบูชาพระธาตุพนมจะเริ่มขึ้นพระธาตุพนม 10.2

พานบายศรีประดิษฐ์ด้วยใบตองฝีมือละเอียดประณีตของชาวนครพนม สร้างสรรค์เป็นรูปพญานาค 7 เศียร
พระธาตุพนม 10 ไฮไลท์ของงานบูชาพระธาตุพนมที่ทุกคนรอคอย คือการฟ้อนบูชาพระธาตุพนมโดยชาวบ้านกลุ่มต่างๆ ที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมา จัดขึ้นทุกวันเสาร์ที่ 2 และ 4 ของเดือนพระธาตุพนม 11

การฟ้อนบูชาพระธาตุพนมอันยิ่งใหญ่ตระการตา ได้ชมเมื่อไหร่ก็ประทับใจเมื่อนั้น สะท้อนถึงความผูกพันของผู้คน กับพระพุทธศาสนา และพระบรมธาตุอันศักดิ์สิทธิ์พระธาตุพนม 12.1

ชาวบ้านในอำเภอต่างๆ ของจังหวัดนครพนม ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาทำการแสดง เพื่อบูชาองค์พระธาตุพระธาตุพนม 12 การฟ้อนอันสวยงามอ่อนช้อย ของสาวนครพนม ตำบลพระกลางทุ่ง
พระธาตุพนม 13.1

รำด้วยศรัทธา ถวายเป็นพุทธบูชาแด่องค์พระธาตุพนมพระธาตุพนม 13 พระธาตุพนม 14 พระธาตุพนม 15 พระธาตุพนม 16 พระธาตุพนม 17

ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ร่วมฟ้อนรำกับนางรำตำบลพระกลางทุ่ง ในช่วงท้ายของพิธีบูชาพระธาตุพนม เสริมบารมีคนปีวอกสะพานมิตรภาพไทย ลาว นครพนม 1

สวยที่สุด : สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม-คำม่วน) จุด Check In จุดที่ 2 ของสามที่สุด… ปีท่องเที่ยวนครพนม นำเราไปชมความสวยงามของสะพานทอดยาวข้ามลำโขง สู่เมืองท่าแขกของลาว ซึ่งมีทิวเขาหินปูนยิ่งใหญ่ทอดยาวตระการตา เป็นวิวทิวทัศน์ที่ Amazing จริงๆ!สะพานมิตรภาพไทย ลาว นครพนม 2

ซัน ประชากร ปิยะสกุลแก้ว นักแสดงวัยรุ่นชื่อดัง ลูกหลานของชาวนครพนมแท้ๆ มาเป็น presenter ให้กับกิจกรรม “สามที่สุด…ปีท่องเที่ยวนครพนม” ว๊าว!
สะพานมิตรภาพไทย ลาว นครพนม 3สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 3 เปิดตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 11 เดือน 11 ปี 2011 เวลา 11.11 น. ทำหน้าที่เหมือน Gateway ใหม่ของการเดินทางท่องเที่ยวและค้าขายใน ASEAN
สะพานมิตรภาพไทย ลาว นครพนม 4

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 3 ในวันฟ้าใสปิ๊งๆ
วิวริมโขง นครพนม 1งามที่สุด : ทิวทัศน์ริมฝั่งโขง จุด Check In ที่ 3วิวริมโขง นครพนม 2

วิวริมโขงนครพนมสวยสุดๆ ตลอดวัน ตั้งแต่เช้าจรดเย็น มองเห็นเทือกเขาหินปูนฝั่งเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ทอดยาวเป็นแนวกำแพงธรรมชาติอยู่ไกลลิบๆ ตรงเส้นขอบฟ้า
วิวริมโขง นครพนม 3

สามพรีเซนเตอร์ ณ จุดงามที่สุด ทิวทัศน์ริมฝั่งโขงนครพนมวิวริมโขง นครพนม 4

ถ้าใครขยันตื่นเช้า ก็จะได้ชื่นชมความงามของตะวันเบิกฟ้า ณ ริมโขงนครพนม มองข้ามโขงไปเห็นแสงทองรับวันใหม่ เหนือเทือกเขาหินปูนแขวงคำม่วนวิวริมโขง นครพนม 5

ยามเช้าอันเงียบสงบที่ริมโขงนครพนม ยังเป็นเมือง Slow Town ที่ช่วยทำให้นาฬิกาชีวิตเราเดินช้าลงจริงๆ นะจ๊ะวิวริมโขง นครพนม 6.1

นอกจากวิวธรรมชาติสวยๆ แล้ว ยังมีกิจกรรมตักบาตรริมโขงรับวันใหม่ ตามวิถี Slow Life ชาวนครพนมวิวริมโขง นครพนม 6

บรรยากาศสบายๆ ในยามเช้าอันสดใสที่ริมโขงนครพนม รอพระเดินบิณฑบาตรหน้าวัดพระมหาธาตุ
วิวริมโขง นครพนม 7

ตักบาตรริมโขงยามเช้า สืบสานวิถีพุทธอันสงบเย็นให้คงอยู่สืบไปวิวริมโขง นครพนม 8

คนอีสานบ้านเฮา ก็ต้องตักบาตรข้าวเหนียวอย่างนี้ล่ะจ้าวิวริมโขง นครพนม 9

วิวริมโขงนครพนมในช่วงกลางวันแดดกระจ่างตาฟ้าใส มองไปเห็นทิวทัศน์เทือกเขาทอดยาวเรียงราย เหมาะนั่งเรือชมธรรมชาติสองฝั่งโขงซะจริงๆ เลยนะ
พระธาตุท่าอุเทน

นอกจากการร่วมกิจกรรม “จุดถ่ายภาพสามที่สุด” ในปีท่องเที่ยวนครพนมแล้ว มาเยือนจังหวัดนี้ทั้งที ก็ต้องหาโอกาสไปนมัสการพระธาตุประจำวันเกิดให้ครบ 7 วันด้วยนะจ๊ะ เพราะนครพนมเป็นจังหวัดเดียวในเมืองไทย ที่มีพระธาตุประจำวันเกิดครบ 7 วัน อย่างพระธาตุท่าอุเทน เป็นพระธาตุประจำคนเกิดวันศุกร์จ้าพระธาตุนครพระธาตุนคร พระธาตุประจำคนเกิดวันเสาร์
พระธาตุเรณู

พระธาตุเรณู พระธาตุประจำคนเกิดวันจันทร์พระธาตุศรีคูณ

พระธาตุศรีคูณ พระธาตุประจำคนเกิดวันอังคารทำบุญ นครพนม 1

มาไหว้พระทำบุญ ถวายสังฆทาน สะสมบุญบารมีกันที่นครพนม
ทำบุญ นครพนม 2

อาจารย์คฑา ชินบัญชร เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มการจัดกิจกรรมไหว้พระธาตุประจำวันเกิดในจังหวัดนครพนม จนเกิดคลื่นมหาชนผู้ศรัทธา หลั่งไหลมาสักการะพระธาตุประจำวันเกิด เสริมบุญบารมี สร้างสิริมงคลแก่ชีวิตทำบุญ นครพนม 3สวดมนต์ไหว้พระ ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว เสริมบุญบารมีกันที่นครพนม เมืองริมโขงอันแสนสงบร่มเย็นอนุสรณ์สถานโฮจิมินห์ บ้านนาจอก 1พอไหว้พระเสร็จแล้ว ถ้าใครมีเวลาเหลือก็อย่าลืมแวะชมแหล่งท่องเที่ยวใหม่เอี่ยมของนครพนม คือ “อนุสรณ์สถานประธานาธิบดีโฮจิมินห์” เป็นสถานที่รวบรวมเรื่องราวประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของเส้นทางการต่อสู้เพื่อกอบกู้เอกราช ของประธานาธิบดีโฮจิมินห์ ซึ่งเคยมาหลบภัยพำนักอยู่ที่บ้านจาจอก ตำบลหนองญาติ จังหวัดนครพนม อยู่หลายปีเลยล่ะ
อนุสรณ์สถานโฮจิมินห์ บ้านนาจอก 2

สาวไทยเชื้อสายเวียดนาม ที่บ้านนาจอก นครพนมอนุสรณ์สถานโฮจิมินห์ บ้านนาจอก 3

สีสันของสาวเวียดนามรุ่นใหญ่ ที่อนุสรณ์สถานประธานาธิบดีโฮจิมินห์ แหล่งท่องเที่ยวซึ่งไม่ใช่เฉพาะชาวไทยเท่านั้นนิยมไปชม แต่ชาวเวียดนามแท้ๆ ก็มักจะเดินทางตามรอยประวัติศาสตร์การกู้ชาติ มาเยือนบ้านนาจอกเสมอๆ โดยภายในที่นี้มีการจำลองบ้านพักของท่านมาให้ชมด้วย
อนุสรณ์สถานโฮจิมินห์ บ้านนาจอก 4อนุสรณ์สถานประธานาธิบดีโฮจิมินห์ บ้านนาจอก นครพนม แหล่งท่องเที่ยวใหม่ที่ไม่ควรพลาด
อนุสรณ์สถานโฮจิมินห์ บ้านนาจอก 5

รูปเคารพของลุงโฮ หรือท่านโฮจิมินห์ ประธานาธิบดีคนแรกของเวีดยนาม หลังจากต่อสู้ทวงคืนเอกราชจากฝรั่งเศสได้สำเร็จ บัดนี้สร้างอย่างยิ่งใหญ่ ณ บ้านนาจอก นครพนม แหล่งที่ท่านเคยหนีมาพำนัก เพื่อวางแผนกู้ชาติNakhonpanomสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานจังหวัดนครพนม โทร. 0-4251-1287