เที่ยวเมืองไก่ขันวันแสนสุข ลำปาง

%e0%b8%aa%e0%b8%b0%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%a9%e0%b8%8e%e0%b8%b2-5

ชวนกันไปเที่ยว ลำปางเขลางค์นคร เมืองไก่ขาวแห่งล้านนาที่บรรจุไว้ด้วยมนต์เสน่ห์เมืองเหนือ ครบครัน ทั้งธรรมชาติ วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และกิจกรรมสนุกๆ โดยเฉพาะวัดวาอารามเก่าแก่ ที่ได้รับอิทธิพลจากพม่าหรือไทยใหญ่ เอกลักษณ์โดดเด่นของลำปางคือการนั่งรถม้าแอ่วเมือง ตระเวนเที่ยวชมความงามของบ้านเรือนโบราณ และถนนคนเดินอันเนิบช้า ที่ใครๆ ก็ต้องหลงรัก%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%b2-1

กาดกองต้า (ตลาดจีนเก่า) เป็นชุมชนโบราณเลียบแม่น้ำวัง ที่กำเนิดขึ้นจากการเป็นศูนย์กลางค้าขาย มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ครั้งที่ลำปางเคยเป็นศูนย์กลางสัมปทานทำไม้สัก จึงมีคนอังกฤษ, พม่า, จีน เข้ามาอาศัยจำนวนมาก คนจีนชวนกันเปิดร้านขายของ ส่วนคนอังกฤษก็ทำธุรกิจค้าไม้สัก สร้างบ้านพักอยู่ที่นี่ โดยจ้างหัวหน้าคนงานเป็นชาวพม่า และอาศัยแม่น้ำวังเป็นเส้นทางล่องไม้ซุงลงสู่นครสวรรค์และบางกอก %e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%b2-2 %e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%b2-3

โรงเรียนสอนทำตุงแบบโบราณล้านนา ที่กาดกองต้าลำปาง%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%b2-4 %e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%b2-5

ทุกวันนี้กาดกองต้าน่าเที่ยวน่าเดิน พาตัวเองย้อนเข้าสู่บรรยากาศอดีต ชื่นชมบ้านเรือนเก่าๆ อายุนับร้อยปี มีทั้งเรือนไม้ร้านตลาด และเรือนไม้สไตล์ขนมปังขิงอังกฤษ จุดเด่นคือการฉลุลายไม้ตามประตู หน้าต่าง ชายคา และช่องลม อย่างละเอียดสวยงาม มองเท่าไหร่ก็ไม่เบื่อ ปัจจุบันนี้ทุกคืนวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลาประมาณห้าโมงเย็นไปจนถึงสี่ห้าทุ่ม กาดกองต้าจะเปิดเป็นถนนคนเดินชิลชิล ยาวเหยียดเกือบ 2 กิโลเมตร ละลานตาด้วยสินค้าพื้นเมืองเก๋ๆ นานาชนิด เดินชมการแสดงพื้นเมือง ชิมอาหารอร่อย แล้วเข้าไปนั่งพักในร้านเรือนไม้ตกแต่งน่ารัก สไตล์เอาใจวัยรุ่น ยิ่งถ้าเป็นฤดูหนาวคนจะยิ่งแน่น %e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%b2-6

ชามตราไก่ เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของลำปาง หาซื้อได้เพียบที่กาดกองต้า%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%b2-7

การแสดงพื้นเมืองของสาวน้อยน่ารัก ที่กาดกองต้า%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%b2-8 %e0%b8%9a%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%9e%e0%b8%b8%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%88%e0%b9%89%e0%b8%8b%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%99-1

บ่อน้ำพุร้อนแจ้ซ้อน ชวนกันไปเที่ยวอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน แหล่งธรรมชาติแสนบริสุทธิ์เพื่อการพักผ่อน แช่บ่อน้ำพุร้อนธรรมชาติ 9 บ่อ ในพื้นที่ 3 ไร่ ทั้งใหญ่และเล็ก โดยมีกลิ่นกำมะถันอ่อนๆ โชยขึ้นมาจากบ่อไอน้ำลอยกรุ่นตลอดเวลา ยามเช้าตรู่เมื่อไอร้อนกระทบกับอากาศเย็น จะเกิดกลุ่มหมอกลอยอ้อยอิ่ง น้ำพุร้อนนี้มีอุณหภูมิราวๆ 73 องศาเซลเซียส คนนิยมนำไข่ไก่มาแช่ประมาณ 17 นาที ไข่แดงก็จะแข็งมีรสชาติมันอร่อย และไข่ขาวจะเหลวคล้ายไข่เต่า ส่วนในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม จะพบจักจั่นนับหมื่นตัวในบริเวณน้ำพุ เชื่อว่าจักจั่นหลังจากผสมพันธุ์แล้วก็จะมาดื่มกินน้ำแร่ก่อนตาย

%e0%b8%9a%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%9e%e0%b8%b8%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%88%e0%b9%89%e0%b8%8b%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%99-2 %e0%b8%9a%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%9e%e0%b8%b8%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%88%e0%b9%89%e0%b8%8b%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%99-3 %e0%b8%9a%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%9e%e0%b8%b8%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%88%e0%b9%89%e0%b8%8b%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%99-4

การอาบน้ำแร่ที่นี่ มีทั้งห้องเดี่ยว ค่าบริการ 50 บาท/คน หรือห้องรวมแต่แยกชาย-หญิง ค่าบริการ 20 บาท/คน และมีบ่อกลางแจ้งคล้ายสระน้ำ ค่าบริการ 10 บาท/คน เปิดเวลา 08.00-17.00 น. อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน โทร. 0-5438-0000, 08-9851-3355 %e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%98%e0%b8%b2%e0%b8%95%e0%b8%b8%e0%b8%a5%e0%b8%b3%e0%b8%9b%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%a7%e0%b8%87-1

ในจังหวัดลำปางคงไม่มีพุทธสถานแห่งใดจะยิ่งใหญ่และสำคัญเท่า “พระธาตุลำปางหลวง” อีกแล้ว เพราะเป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่ในบริเวณซากเมืองโบราณลัมพกัปปะนคร พระนางจามเทวีเคยเสด็จมานมัสการ แล้วทำการบูรณะซ่อมแซมอยู่เสมอ จึงถือเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณ มีความสวยงาม และยอดเยี่ยมทั้งด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม โดยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วดอนเต้า อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวลำปางทั้งมวล %e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%98%e0%b8%b2%e0%b8%95%e0%b8%b8%e0%b8%a5%e0%b8%b3%e0%b8%9b%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%a7%e0%b8%87-2 %e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%98%e0%b8%b2%e0%b8%95%e0%b8%b8%e0%b8%a5%e0%b8%b3%e0%b8%9b%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%a7%e0%b8%87-3 %e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%98%e0%b8%b2%e0%b8%95%e0%b8%b8%e0%b8%a5%e0%b8%b3%e0%b8%9b%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%a7%e0%b8%87-4 %e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%98%e0%b8%b2%e0%b8%95%e0%b8%b8%e0%b8%a5%e0%b8%b3%e0%b8%9b%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%a7%e0%b8%87-5

นอกจากนี้ในวิหารเล็กด้านหลังองค์พระธาตุ ยังปรากฏสิ่งมหัศจรรย์ Unseen ล้านนา คือ “พระธาตุหัวกลับ ซึ่งก็คือเงาแสงสะท้อนขององค์พระธาตุ ที่ลอดผ่านช่องแตกของประตูวิหารเล็กเข้าสู่ห้องภายในที่มืดสนิท ปัจจุบันมีการนำผ้าขาวผืนใหญ่ขึงไว้ด้านใน ให้เงาสะท้อนนี้ทาบลงจึงเห็นชัดเจนยิ่งขึ้น วัดพระธาตุลำปางหลวงตั้งอยู่ที่อำเภอเกาะคา ห่างจากตัวเมืองลำปางไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 18 กิโลเมตร ติดต่อ โทร. 0-5432-8327 %e0%b8%a3%e0%b8%96%e0%b8%a1%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a5%e0%b8%b3%e0%b8%9b%e0%b8%b2%e0%b8%87-1

ลำปางได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งรถม้า เพราะเป็นจังหวัดเดียวในเมืองไทยที่ยังคงมีรถม้าวิ่งอยู่ ไม่ต่างจากรถแท็กซี่ในเมืองกรุง แต่รถม้าลำปางเก๋กว่าเยอะ เพราะเป็นพาหนะเนิบช้าที่ไม่ก่อมลพิษสักนิด เวลานั่งจะได้ยินแค่เสียงกีบเท้าม้ากระทบพื้นถนน ดังกุบกับๆ เบาะนั่งก็กว้างขวางนุ่มสบาย เป็นรถเปิดประทุน นั่งได้คันละ 2 คน พาเราแอ่วเมืองลำปางทุกวัน แต่อากาศจะเย็นสบายมากที่สุดช่วงเช้าและเย็นแดดร่มลมตก เขามีบริการพาชมเมืองวงรอบเล็ก 150 บาท 25-30 นาที, รอบเมืองกลาง 200-300 บาท 45 นาที-1 ชั่วโมง รอบเมืองใหญ่ 500 บาท 1.30-2 ชั่วโมง หรือเช่าชั่วโมงละ 300 บาท คิวจอดรถม้าอยู่ที่หน้าศาลากลางหลังเก่า ระหว่าง 05.00-20.00 น. ส่วนคิวหน้าโรงแรมทิพย์ช้างลำปาง โรงแรมเวียงลคอร และโรงแรมลำปางเวียงทอง มีบริการเวลา 05.00-21.00 น.

%e0%b8%a3%e0%b8%96%e0%b8%a1%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a5%e0%b8%b3%e0%b8%9b%e0%b8%b2%e0%b8%87-2 %e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%8b%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%b4%e0%b8%84-%e0%b8%98%e0%b8%99%e0%b8%9a%e0%b8%94%e0%b8%b5-1

ลำปางเป็นเมืองแห่งตำนานไก่ขาว สมัยที่ยังมีชื่อเดิมของเมืองว่า “กุกกุฏนคร” เล่ากันว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดสัตว์ที่เมืองนี้ พระอินทร์จึงจำแลงองค์ลงมาเป็นไก่ขาว เพื่อขันปลุกชาวเมืองทุกเช้า ให้ตื่นขึ้นมาตักบาตรพระพุทธองค์ ไก่ขาวจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของลำปาง เช่นเดียวกับที่ไปปรากฏอยู่บน “ชามตราไก่” อันมีเอกลักษณ์ แหล่งผลิตใหญ่อยู่ที่ โรงงานเซรามิคธนบดี อำเภอเมืองลำปาง โทร. 0-5482-1558, 0-5435-1099 www.dhanabadee.com

%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%8b%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%b4%e0%b8%84-%e0%b8%98%e0%b8%99%e0%b8%9a%e0%b8%94%e0%b8%b5-2 %e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%8b%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%b4%e0%b8%84-%e0%b8%98%e0%b8%99%e0%b8%9a%e0%b8%94%e0%b8%b5-3 %e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%8b%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%b4%e0%b8%84-%e0%b8%98%e0%b8%99%e0%b8%9a%e0%b8%94%e0%b8%b5-4 %e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%8b%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%b4%e0%b8%84-%e0%b8%98%e0%b8%99%e0%b8%9a%e0%b8%94%e0%b8%b5-5 %e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%8b%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%b4%e0%b8%84-%e0%b8%98%e0%b8%99%e0%b8%9a%e0%b8%94%e0%b8%b5-6

เตามังกรอันเก่าแก่ ของโรงงานเซรามิคธนบดี
%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%8b%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%b4%e0%b8%84-%e0%b8%98%e0%b8%99%e0%b8%9a%e0%b8%94%e0%b8%b5-7

พิพิธภัณฑ์บอกเล่าอดีตความเป็นมา ของโรงงานเซรามิคธนบดี%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%9b%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b8%81-1

ถ้าจะเรียกว่าลำปางเป็นเมืองแห่งวัดไม่แพ้เชียงใหม่ก็คงไม่ผิดนัก เพราะทั่วเมืองมีวัดน้อยใหญ่อยู่นับ ร้อยแห่ง หนึ่งในนั้นคือ “วัดปงสนุก” วัดโบราณอายุกว่า 1,328 ปี ที่ได้รับรางวัล Award of Merit จาก UNESCO เมื่อ ค.ศ. 2008 สาขาการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตามโครงการ 2008 Asia-Pacific Heritage Award for Cultural Heritage Conservation %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%9b%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b8%81-2

วัดปงสนุก ตั้งอยู่ที่ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองลำปาง เป็นวัดสำคัญคู่เมืองเขลางค์นครมาช้านาน สร้างขึ้นสมัยที่เจ้าอนันตยศ ราชบุตรของพระนางจามเทวีแห่งหริภุญไชย (ลำพูน) ผู้เสด็จมาสร้างเขลางค์นคร (ลำปาง) เมื่อ พ.ศ. 1223 จึงเป็นสถานที่ตั้งเสาหลักเมืองอันแรกของลำปาง ซึ่งยังคงพบเห็นได้ตราบทุกวันนี้ ความโดดเด่นของวัดปงสนุกคือมีพุทธศิลป์อันงดงามอ่อนช้อย ไล่ตั้งแต่บันไดนาคขึ้นไปลอดซุ้มประตูโขงเข้าวัด จนถึงวิหารพระเจ้าพันองค์ (หรือวิหาร 12 ราศี, วิหารสะเดาะเคราะห์) ที่สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง ภายในมีพระพุทธรูปสี่องค์หันพระพักตร์ไปสี่ทิศ พร้อมด้วยการแกะสลักลายไม้เป็นรูปต่างๆ อย่างวิจิตรพิสดาร %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%9b%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b8%81-3 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%9b%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b8%81-4 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%b2-1

เชื่อหรือไม่ว่า ก่อนที่พระแก้วมรกตจะได้มาประดิษฐานอยู่ที่วัดพระแก้วในกรุงเทพฯ เหมือนปัจจุบัน ได้เคยประดิษฐานอยู่ที่ “วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม” อยู่นานถึง 575 ปี (เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1979)

%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%b2-2 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%b2-3

วัดพระแก้วดอนเต้าฯ ตั้งอยู่ที่ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองลำปาง เป็นวันเก่าแก่นับพันปี จุดเด่นคือองค์พระแก้วดอนเต้าและวิหารที่ได้รับอิทธิพลพม่า รวมถึงเขตติดต่อกันเป็นบ้านเก่าของนางสุชาดา มีตำนานเล่าว่า นางสุชาดาได้พบแก้วมรกตในแตงโม (หมากเต้า) จึงนำมาถวายพระเถระ ท่านจึงจ้างช่างให้แกะสลักเป็นพระพุทธรูป ซึ่งก็คือพระแก้วดอนเต้า และต่อมาได้รับการอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดพระธาตุลำปางหลวง เพราะมีผู้ไปฟ้องเจ้าเมืองลำปาง กล่าวหาว่าพระเถระและนางสุชาดาเป็นชู้กัน เจ้าเมืองลำปางจึงให้จับนางสุชาดาไปประหารชีวิต! ส่วนพระเถระองค์ได้อัญเชิญพระแก้วดอนเต้าหนีไปฝากไว้ที่วัดพระธาตุลำปางหลวงจนถึงปัจจุบัน ต่อมาภายหลังความจริงปรากฏว่าทั้งสองบริสุทธิ์ จึงมีผู้เห็นคุณงามความดีของนาง ได้บรินาคเงินสร้างวัดเล็กๆ ขึ้นในบริเวณบ้านของนาง และยังมีอนุสาวรีย์นางสุชาดายืนอุ้มลูกแตงโม ให้เราไปสักการะจนถึงทุกวันนี้ %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%b2-5 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%ab%e0%b8%b4%e0%b8%99-1

ชวนกันไปกราบพระที่ “วัดไหล่หินหลวง” หนึ่งในสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ชื่อดังเรื่องสุริโยทัย แต่บางคนก็ว่าวัดนี้มีอาถรรพ์ เพราะช่างคนใดที่ไปรื้อกำแพงรอบวัดเพื่อบูรณะ ก็จะต้องประสบเภทภัยที่คนเหนือเรียกว่า “ขึด” (ประหลาด) ทุกครั้งที่จะบูรณะจึงต้องมีการจัดพิธี “แก้ขึด” ก่อน

%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%ab%e0%b8%b4%e0%b8%99-2 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%ab%e0%b8%b4%e0%b8%99-3

วัดไหล่หินหลวง ตั้งอยู่ที่ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา ห่างจากตัวเมืองลำปาง 18 กิโลเมตร และห่างจากพระธาตุลำปางหลวงเพียง 6 กิโลเมตรเท่านั้น แม้วันนี้จะมีขนาดเล็ก แต่ก็โบราณมาก คือสร้างในสมัยพระนารายณ์มหาราช เมื่อ พ.ศ. 2226 มาเที่ยววัดนี้แล้วห้ามพลาดชมวิหารหลังเล็ก ซึ่งบรรจุสุดยอดศิลปกรรมปูนปั้นโดยช่างลำปางเอาไว้อย่างครบถ้วน ตั้งแต่ซุ้มประตูเข้าด้านหน้าอันวิจิตร ไปจนถึงตัววิหารไม้ที่มีการจำหลักลวดลายละเอียดยิบจนเราต้องตะลึง! แถมยังประดับด้วยกระจกสีอีก ประวัติว่าสร้างขึ้นสมัยเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิตย์ เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้ายนั่นเอง

%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%ab%e0%b8%b4%e0%b8%99-4 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%ab%e0%b8%b4%e0%b8%99-5 %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%ab%e0%b8%b4%e0%b8%99-6

ไม้ค้ำโพธิ์ ตามความเชื่อของชาวล้านา ที่วัดไหล่หินหลวง%e0%b8%aa%e0%b8%b0%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%a9%e0%b8%8e%e0%b8%b2-1

สะพานรัษฎาภิเศก หรือสะพานขาว ถือเป็น Landmark สัญลักษณ์สำคัญของเมืองลำปาง มานานแล้ว มีลักษณะเป็นสะพานปูนขนาดใหญ่ ทรงโค้งสี่โค้ง (คนลำปางเรียก “ขัวสี่โก๊ง”) ข้ามแม่น้ำวัง โดยอยู่ติดกับทางเข้าตลาดจีนเก่า หรือกาดกองต้านั่นเอง เดิมสะพานนี้เป็นโครงไม้ที่เจ้านรนันทไชยชวลิต เจ้าผู้ครองนครลำปางสร้างขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติในวาระที่รัชกาลที่ 5 ทรงครองราชย์ครบ 25 ปี เมื่อ พ.ศ. 2437 ต่อมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ได้ทาสีพรางตาเพื่อไม่ให้เครื่องบินเห็น จึงรอดจากการโจมตีทิ้งระเบิดมาได้! จากนั้นจึงมีการสร้างใหม่เมื่อ พ.ศ. 2460 เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก บริเวณหัวสะพานมีเครื่องหมายไก่ขาวและครุฑหลวงประดับไว้ บ่งบอกถึงคุณค่าความสำคัญ %e0%b8%aa%e0%b8%b0%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%a9%e0%b8%8e%e0%b8%b2-2 %e0%b8%aa%e0%b8%b0%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%a9%e0%b8%8e%e0%b8%b2-3 %e0%b8%aa%e0%b8%b0%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%a9%e0%b8%8e%e0%b8%b2-4

ตอนเช้าๆ ตรงเชิงสะพานรัษฎาภิเศก จะมีกาดเช้า (ตลาดเช้า) อันแสนคึกคัก เต็มไปด้วยของกินอร่อย และของใช้พื้นบ้านนานาชนิด ผู้คนคึกคัก อากาศสดชื่น มีพระเดินบิณฑบาตรด้วย รีบตื่นเช้าๆ ไปชมกันเถอะ

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *