โครงการสานรักของเ อไอเอส ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีของครอบครัว

ภายใต้ โครงการสานรัก สนับสนุนสถาบันครอบครัว ด้วยความเชื่อมั่นว่า “ครอบครัว” เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาไปสู่สังคมที่ดี เพราะหากครอบครัวไทยแข็งแรง ย่อมส่งผลให้ประเทศชาติแข็งแรงไปด้วย

เอไอเอส ได้ริเริ่มโครงการ “สานรัก” ขึ้น https://www.facebook.com/sarnrak.ais/ ซึ่งนับเป็นนโยบายหลักของบริษัทฯ ในด้านกิจกรรมเพื่อสังคม ด้วยเล็งเห็นว่าสถาบันครอบครัวเป็นลักษณะเด่นของสังคมไทยมาแต่โบราณกาล และครอบครัวเป็นสถานบันแห่งแรกที่เป็นรากฐานของการสร้างคนเป็นคนดี

ปัจจุบันสถาบันครอบครัวไทยค่อนข้างอ่อนแอ ความใกล้ชิดและความอบอุ่นในครอบครัวลดน้อยลงอันเนื่อง มาจากวิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะเศรษฐกิจ สังคมไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันสูงขึ้น พ่อแม่จำนวนมากต้องทุ่มเทเวลาให้กับงานจนไม่มีเวลาให้คู่สมรสและลูก เป็นเหตุให้ครอบครัวตึงเครียด ขาดความเข้าใจกัน และนำไปสู่ความแตกแยกในที่สุด เมื่อสภาพครอบครัวไม่แข็งแรงจึงส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมตามมา

ด้วยความปรารถนาดีต่อสังคมไทย เอไอเอส มีความเข้าใจและห่วงใยในความเข้มแข็งของสังคมไทยที่เติบโตด้วยความรัก ความอาทร ความเกื้อกูล และความเข้าใจภายในครอบครัว

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ในฐานะผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ชั้นนำของประเทศ จึงมุ่งหวังที่จะส่งเสริม และสนับสนุนครอบครัวของคนไทยให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น และพร้อมที่จะเป็นรากฐานที่ดีของสังคมไทย

โครงการ “สานรัก” จึงกำเนิดขึ้น โดย เอไอเอส มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางสร้างให้คนไทยทุกคนตระหนักในความสำคัญของครอบครัว และร่วมใจกันสานสายใยแห่งความรัก ความผูกพันของครอบครัวให้มีความแน่นแฟ้นตลอดไป

เอไอเอสเพื่อสังคม สานรัก สนับสนุนสถาบันครอบครัว สานรัก คนเก่งหัวใจแกร่ง สานรัก สานสังคมไทย สานรัก หัวใจอาสา

แอพพลิเคชั่น ฟาร์มสุข ช่องทางออนไลน์เกษตรกร

https://play.google.com/store/apps/details?id=th.co.mimotech.android.farmconsumer&hl=th และ http://www.ais.co.th/farmsuk/

เอไอเอส มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมไทย ภายใต้แนวคิด Digital For Thais หนึ่งในนั้นมีเป้าหมายสร้างเกษตรกรไทยรุ่นใหม่ให้เกิดขึ้น สร้างชุมชนออนไลน์ของเกษตรกรไทยให้เข้มแข็ง สร้างตลาดออนไลน์ให้กับผลผลิตของเกษตรกรไทย ผ่านแพลตฟอร์มฟาร์มสุข มีส่วนประกอบหลักๆ คือ แอปพลิเคชัน “ฟาร์มสุข” เป็นแอปฯ เพื่อให้เกษตรกรไทยเข้าถึงข้อมูลสำคัญในการทำการเกษตร คลังความรู้และภูมิปัญญาต่างๆ ทั้งในรูปแบบของวิดีโอ บทความ และเทคโนโลยีต่างๆ อาทิเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในแปลงเพาะปลูกจากอุปกรณ์ NB-IOT ข้อมูลราคาซื้อ-ขายผลผลิตทางการเกษตร องค์ความรู้เกี่ยวกับการเกษตรจากผู้เชี่ยวชายและปราชญ์ชาวบ้าน รวมไปถึงข้อมูลด้านการพยากรณ์อากาศที่มีความแม่นยำสูง ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตของเกษตรกรให้สูงขึ้น รวมทั้งจะช่วยให้เกษตรกรสามารถใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหาทางการเกษตร จัดการปัจจัยการผลิตอย่างแม่นยำ เสริมด้วยการแบ่งปันความรู้ของกลุ่มเกษตรกร สภาพอากาศ และราคาตลาดที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร

แอปพลิเคชัน “ร้านฟาร์มสุข” เอไอเอส ได้สร้างช่องทางออกไลน์ให้เกษตรกรสามารถขายผลผลิตทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป รวมถึงสินค้าที่เป็นภูมิปัญญาของชุมชนหรือ OTOP และพันธุ์พืช เครื่องมือเกษตรต่างๆ โดยเกษตรกรเป็นผู้กำหนดราคาได้เองตามความเหมาะสม เพื่อยกระดับเกษตรกรไทยสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งจะเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอีกช่องทางหนึ่ง โดยเอไอเอสมีทีมงานที่ช่วยบริหารจัดการให้เข้าถึงเทคโนโลยีและช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าออนไลน์ผ่านระบบร้านฟาร์มสุข ทั้งการแนะนำการทำตลาดออนไลน์ การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ การถ่ายภาพสินค้าให้น่าสนใจ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า

ซึ่งแพลทฟอร์ม ร้านฟาร์มสุข จะเป็นแหล่งรวบรวมสินค้าเกษตรและสินค้าเกษตรแปรรูป ที่ผู้ซื้อสามารถเข้ามาเลือกซื้อสินค้าวิสาหกิจชุมชน ผลิตผล พันธุ์พืช และอุปกรณ์ทางการเกษตร ที่หลากหลายจากทั่วประเทศได้ที่นี่เพียงที่เดียว ซึ่งถือเป็นการสนับสนุนและช่วยเหลือเกษตรกรโดยตรง

เอไอเอส นำนวัตกรรมดิจิทัลอสม.ออนไลน์ ช่วยงานด้านสาธารณสุขชุมชนเชิงรุก

เอไอเอส โดย อสม.ออนไลน์ ร่วมกับกรมควบคุมโรค และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือการบูรณาการข้อมูลเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลาย ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล

วิถีดูแลสุขภาพ หรืออาการเจ็บป่วยของคนในหมู่บ้าน ตำบลต่าง ๆ มักจะคุ้นเคยกับ “โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล” หรือ รพ.สต. เช่นเดียวกับ “อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน” หรือ อสม. ที่มีจำนวน 1,200,000 คน ทั่วประเทศ

ทั้ง 2 ส่วนถือเป็นด่านหน้าด้านสุขภาพ ที่จะต้องรายงานให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขส่วนกลางทราบว่า ขณะนี้ สถานการณ์ด้านสุขภาพของชุมชนที่รับผิดชอบเป็นอย่างไร มีใครเจ็บไข้ได้ป่วย และมีวิธีการรักษาอย่างไร มีโรคระบาดหรือไม่ ซึ่งก่อนปี 2559 อสม.ทำหน้าที่รายงานสถานการณ์เหล่านี้ ก็จะใช้การจดรายละเอียดลงในกระดาษ ใช้โทรศัพท์แจ้งข่าว แจ้งข้อมูล และใช้มอเตอร์ไซด์ หรือรถยนต์ เป็นยานพาหนะ เพื่อไปให้ถึงบ้าน แล้วนำข้อมูลกลับมาแจ้งที่รพ.สต.นั้น ๆ ซึ่งในระหว่างทาง อาจเกิดเหตุไม่คาดคิด เช่น กระดาษที่จดบันทึกข้อมูลปลิวหล่นหาย ส่วนการสื่อสารก็อาจจะมีการตกหล่น ไม่ครบถ้วน รวมถึง มีความล่าช้าในการแจ้งเตือนข้อมูลการระบาดของโรคต่าง ๆ เนื่องจากใช้เวลาในการเดินทางค่อนข้างไกล และมีลักษณะการกระจายข่าวแบบ 1 ต่อ 1 บอกต่อ ๆ กัน

สมชัย เลิศสุทธิวงศ์ CEO และ วีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจสัมพันธ์และองค์กร เอไอเอส ร่วมทดสอบแอปฯ อสม.ออนไลน์

ด้วยวิธีการทำงานดังกล่าวข้างต้น บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เล็งเห็นถึงปัญหา และเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาด้วยนวัตกรรมดิจิทัลผ่าน แอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์ เข้ามาเป็น Platform ในรูปแบบเครือข่ายสังคมออนไลน์เฉพาะกลุ่ม โดยมุ่งหวังให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใช้เป็นเครื่องมือการทำงานด้านสาธารณสุขชุมชนเชิงรุก ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพของประชาชนได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมเพื่อจัดบริการสุขภาพที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพในแต่ละพื้นที่ให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม

“แอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์ ถือเป็นหนึ่งในหลายเรื่องภายใต้แนวคิด Digital For Thais ที่เอไอเอสพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลเพื่อสังคม และเราทำเป็น CSR จริงๆ ไม่ได้หวังผลกำไร แต่ต้องการให้ อสม.มีการใช้งานอย่างทั่วถึง และเกิดประโยชน์ตามความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการของแอปฯ อสม.ออนไลน์ เช่นเดียวกับฟีเจอร์รายงานสำรวจลูกน้ำยุงลาย ที่เพิ่มเข้ามาในแอปฯ ก็มาจากความต้องการ และ Paint Point ของผู้ใช้โดยตรง สอดคล้องกับมาตรการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในประเทศไทยที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น”

วีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจสัมพันธ์และองค์กร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส  ขยายข้อมูลถึง ฟีเจอร์รายงานสำรวจลูกน้ำยุงลาย ตั้งแต่เปิดเมื่อเดือนมิถุนายน 2562 จนถึงเดือนกันยายนนี้ มีผู้ใช้งานทั้งหมด 300,000 Transactions และคาดว่าจะมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งปริมาณการส่งข้อมูลจำนวนนี้ จะช่วยให้มีการวิเคราะห์สถานการณ์เฝ้าระวังโรคติดต่อได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

ทั้งนี้ เอไอเอส และกรมควบคุมโรค จะนำข้อมูลที่ได้จากแอปฯ อสม.ออนไลน์ และ ชุดซอฟต์แวร์ “ทันระบาด” มาบูรณาการร่วมกัน เพื่อนำไปประมวลผลและวิเคราะห์สถานการณ์ของโรคติดต่อนำโดยยุงลายร่วมกัน ทำให้หน่วยงานสาธารณสุขระดับต่าง ๆ สามารถเข้าถึงสถานการณ์ได้อย่างครอบคลุมและแม่นยำยิ่งขึ้น พร้อมทั้งนำเสนอมาตรการจัดการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลาย ไปยังหน่วยบริการสุขภาพโดยตรง ผ่านระบบการทำงานของแอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์

อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือครั้งสำคัญ

“แอปฯ อสม.ออนไลน์ สามารถใช้ได้กับทุกเครือข่าย หากใช้เอไอเอส จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ซึ่ง อสม.หลายคนที่แม้จะไม่คุ้นเคยกับสมาร์ทโฟน ก็ให้ลูกหลานสอนก่อนได้ เป็นฟังก์ชั่นที่ไม่ยาก ปัจจุบัน มีอสม.ใช้งานแล้ว 1 แสนคนทั่วประเทศ และจากวันนี้ พร้อมขยายเครือข่าย
อสม.ออนไลน์ ไปยังพื้นที่ต่างๆ สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหน่วยงานภาครัฐที่ต้องการให้อสม.ใช้เครื่องมือสื่อสารออนไลน์ และเอไอเอส ถือเป็นภาคเอกชนที่มาช่วยให้เกิดการใช้งานมากขึ้น ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างยิ่งกับการเฝ้าระวังควบคุมโรคระบาด เพราะเมื่อส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องจะเห็นว่าหมู่บ้านใดต้องเฝ้าระวังแบบเรียลไทม์ทันที ซึ่งแอปฯ ถูกออกแบบมาให้ อสม. สามารถใช้ส่งผลการสำรวจได้ง่าย และรวดเร็ว ทำให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วและครอบคลุมยิ่งขึ้น มีส่วนช่วยให้การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลายมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

นอกจากนี้ เอไอเอส ยังร่วมกับกรมควบคุมโรค และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับโรคติดต่อนำโดยยุงลาย ผ่านแอปฯ อสม.ออนไลน์ และ Smart อสม. ของกรม สนับสนุนบริการสุขภาพ ไปยังกลุ่ม อสม. ทั่วประเทศ อีกด้วย

ปัจจุบัน แอปฯ อสม.ออนไลน์ สามารถกระจายข่าวได้ทันที ทุกที่ ทุกเวลาเพียงครั้งเดียว ส่งผลให้ อสม. ทุกคนรับทราบข่าวสาร ความเคลื่อนไหว กิจกรรมต่างๆ ตลอดจน วางแผนป้องกันโรคได้อย่างทันถ่วงทีหากเกิดโรคระบาดในพื้นที่ โดยการลงพื้นที่ของอสม. แต่ละหมู่บ้าน จะมีการแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน ถือเป็นการนำเทคโนโลยีมาช่วยกระตุ้นการทำงานของอสม. ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

พร้อมกันนี้ จุดเด่นของ แอปฯ อสม.ออนไลน์ คือ ฟีเจอร์ภาพประกอบการส่งรายงาน เช่น สภาพร่างกาย ลักษณะของบาดแผล รวมถึง การบันทึกและส่งวิดีโอในกรณีช่วยผู้ป่วยออกกำลังกายเพื่อกายภาพบำบัด ฯลฯ จะช่วยให้โรงพยาบาล หรือ รพ.สต. ได้ข้อมูลที่แม่นยำ และสามารถแนะนำดูแลผู้ป่วยได้ เช่นเดียวกับกายถ่ายรูปพื้นที่จุดเสี่ยงต่างๆ ในบ้าน ที่คาดว่าจะเกิดโรคระบาดจากยุงลาย

วีรวัฒน์ กล่าวในท้ายที่สุดว่า แอปฯ อสม.ออนไลน์ และความร่วมมือกับกรมควบคุมโรค และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ตอกย้ำแนวคิด Digital For Thais ที่มุ่งส่งเสริมการทำงานด้านสาธารณสุขชุมชนเชิงรุก ขยายองค์ความรู้ความเข้าใจให้ อสม. ช่วยดูแลสุขภาพคนไทยอย่างเต็มประสิทธิภาพ ทั่วถึง และเท่าเทียมกันทุกพื้นที่

ต้องการใช้ อสม.ออนไลน์ ทำอย่างไร ?

ขั้นตอนที่ 1 รพ.สต. สมัครใช้งาน ที่่ http://www.ais.co.th/aorsormor/RegisterForm.aspx

ขั้นตอนที่ 2 รพ.สต. ได้รับรหัสผ่านสำหรับเจ้าหน้าที่

ขั้นตอนที่ 3 รพ.สต. เพิ่มชื่อ – เบอร์โทร ของ อสม. เข้าระบบ พร้อมกำหนดรหัสผ่าน 4 หลัก ในระบบเวปแอดมิน

ขั้นตอนที่ 4 รพ.สต. แจ้งรหัสผ่าน 4 หลักแก่ อสม.

ขั้นตอนที่ 5 อสม. ดาวน์โหลดแอปฯ และลงชื่อเข้าใช้งานแอปฯ ด้วยเบอร์โทรศัพท์ของตนเอง และรหัสผ่านที่ได้รับจาก รพ.สต.

 

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถโทรสอบถามได้ที่ โทร. 06 2520 1999

รมช.กระทรวงศึกษธิการ เดินหน้าหลักสูตร Coding หนุนเด็กไทยสู่ศตวรรษที่ 21

เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2562 คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แถลงนโยบายหนุนหลักสูตร Coding เพื่อพัฒนาคนไทยก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 พร้อมพัฒนาหลักสูตรให้เป็นรูปธรรม ให้ทันโลกยุคดิจิทัล และเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

หนึ่งในภารกิจสำคัญที่กำลังมีการทำอย่างเร่งด่วน การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพคนไทยทุกช่วงวัย โดยเป้าหมายแรกที่จะผลักดันให้ประสบความสำเร็จคือ การเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ หรือ โค้ดดิ้ง (Coding) ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา เพื่อมุ่งหมายที่จะเสริมสร้างทักษะการใช้ชีวิตสู่ระบบ มีเหตุ มีผล และมุ่งหวังให้เยาวชนไทยใช้ชีวิตก้าวทันโลกในศตวรรษที่ 21
รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ Coding โดยกำหนดไว้ในนโยบายการศึกษาของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภาไปแล้ว และกระทรวงศึกษาธิการก็มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการสื่อสารภาษาต่างๆ ของเด็กไทย ทั้งภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ ตลอดจนภาษาคอมพิวเตอร์ หรือ Coding ซึ่งเป็นทักษะภาษาใหม่ที่จะใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีในอนาคต ทำให้เข้าใจการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) และหุ่นยนต์ สอดคล้องกับการเตรียมกำลังคนของไทย ให้มีทักษะเท่าทันโลกยุคดิจิทัล มีอาชีพ ตลอดจนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
นอกจากความรู้ด้านภาษาไทยและภาษาอังกฤษแล้ว เด็กไทยต้องมีความรู้ภาษคอมพิวเตอร์ หรือ Coding ด้วย ซึ่งเป็นทักษะใหม่ในยุคนี้และเด็กสามารถเรียนรู้ได้ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา เพื่อให้เกิดทักษะที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันที่เรียกว่า ‘Coding for all , all for coding’ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่าจะเริ่มนำร่องสอนภาษา Coding ในเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยจะมีการอบรมครูสอน Coding จำนวน 1,000 คน ในเดือนตุลาคมนี้ พอเปิดเทอมในเดือนพฤศจิกายนก็สามารถสอนได้เลย กระทรวงศึกษาธิการพร้อมขับเคลื่อน Coding ทั้งในเรื่องอุปกรณ์และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญจากสถาบันการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) การเรียนการสอน Coding จะเริ่มขึ้นในชั้น ป. 1-3 ก่อน เป็นการเรียนการสอนที่ไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์เรียกว่า Unplugged Coding แล้วจะขยายผลต่อไปในอนาคตคำว่า Coding ไม่ได้พูดถึงเพียงแค่การป้อนชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ Coding เป็นสิ่งที่จะทำให้เด็กไทยมีทักษะใช้ชีวิตรอบด้าน

C-Creative Thinking คือความคิดสร้างสรรค์

O-Organized Thinking คือการส่งเสริมให้เด็กไทยมีความคิดอย่างเป็นระบบระเบียบ และมีตรรกะวิเคราะห์สิ่งต่างๆ รอบตัวในชีวิตประจำวัน

D-Digital Literacy คือความสามารถในการเข้าใจภาษาดิจิทัล

I-Innovation หรือนวัตกรรม ที่จะนำไปใช้จริงและเกิดประโยชน์กับคนหมู่มาก

N-Newnwss คือการสนับสนุนให้คนไทยมีความคิดริเริ่มในการทำสิ่งต่างๆ อย่างไม่รอช้า เป็นความคิดริเริ่มสดใหม่ ทั้งความรู้ ความเข้าใจในเทคโนโลยี

G-Globalization หรือยุคโลกาภิวัฒน์ของศตวรรษที่ 21 นับเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้
อย่างไรก็ตาม การเรียน Coding ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป และไม่ต้องห่วงว่า Coding จะเป็นสิ่งที่ยากเกินไปสำหรับเด็กๆ หรือบุคคลทั่วไป เพราะ Coding ง่ายกว่าที่คิดพิชิตยุคดิจิทัล ทั้งนี้ภาษา Coding คือการคิดเป็นระบบ คิดแบบมีตรรกะ และมีระบบในการแก้ปัญหา แม้เด็กจะไม่ได้เป็นนักวิทยาศาสตร์หรือนักคอมพิวเตอร์ แต่ทุกคนต้องมีการวางแผนการจัดการอย่างเป็นขั้นเป็นตอนในการดำเนินชีวิต ซึ่งเราจะนำสิ่งเหล่านี้ไปให้เด็กไทยได้อย่างไร

ททท ชวนเที่ยวหน้าฝนสุขใจ ซาลามัตชายแดนใต้

ททท สำนักงานนราธิวาส ชวนเที่ยว 3 จังหวัดชายแดนใต้ นราธิวาส ยะลา ปัตตานี ตามโครงการ ‘ซาลามัตชายแดนใต้’ เพื่อสัมผัสความงดงามในหลากหลายแง่มุม ในดินแดนที่สดใหม่ไร้การปรุงแต่ง ทั้งธรรมชาติบริสุทธิ์งดงาม วิถีชีวิต-วัฒนธรรมอันมีชีวิตชีวา อาหารพื้นถิ่นแสนอร่อย และได้ชม ช้อป สินค้า OTOP พื้นบ้านมากมาย

นี่คือเสน่ห์ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ที่รอคุณอยู่วันนี้ โดยเฉพาะในฤดูฝน หรือหน้า Green Season ที่เขียวสดชื่น ราคาห้องพักไม่แพง และนักท่องเที่ยวไม่แออัด
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ททท สำนักงานนราธิวาส-ยะลา-ปัตตานี โทร. 0-7352-2411 , 0-7354-2345 

NIDA จับมือ TPQI สร้างมาตรฐานบุคลากรท่องเที่ยวไทย

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม 3001 อาคารนวมินทราธิราช สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ได้มีการสัมมนาในหัวข้อ

‘ท่องเที่ยวในท้องถิ่น ทางเลือกหรือทางรอด? บุคลากรเราพร้อมหรือยัง?’ ภายใต้โครงการ ‘จัดทำมาตฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาการจัดการการท่องเที่ยวในท้องถิ่น’ อันเป็นความร่วมมือระหว่าง NIDA และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (TPQI) โดยโครงการนี้มี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรักษ์ สุเณอ (รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์) เป็นหัวหน้าโครงการ

ในการนี้มีผู้สนใจ และบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเข้าร่วมฟังสัมมนาจำนวนมาก โดยมีวิทยากรผู้ทรงความรู้เข้าร่วมเสวนาหลายท่าน อาทิ คุณสุเทพ เกื้อสังข์ รองผู้อำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ได้มาปาฐกถาพิเศษเรื่อง ‘แนวโน้มความต้องการบุคคลากรเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวในท้องถิ่น’  รวมทั้งยังมี คุณเพชรลดา ศรชัยไพศาล นายกสมาคมภาษาเพื่อการศึกษา อาชีพ และธุรกิจนำเที่ยว, คุณวันชัย สุวัฒน์ศิริพล จากสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (TEATA) และ คุณสมศักดิ์ อิทนะชัย ประธานชมรมเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่พิเศษ

Thailand Professional Qualification Institute (Public Organization) หรือ TPQI เป็นองค์การมหาชน ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี ที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฏษฎีกา ‘จัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) พ.ศ.​2554’ ทำหน้าที่ศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพ, สนับสนุนกลุ่มอาชีพ หรือกลุ่มวิชาชีพในการจัดทำมาตรฐานอาชีพ, ให้การรับรององค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคลากรตามมาตรฐานอาชีพ และติดตามประเมินผลองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ โดยกำหนดระดับคุณวุฒิวิชาชีพไว้เป็นระดับ 1-8 (ตามภาพประกอบด้านบน)

ซึ่งในปัจจุบันนี้ วิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนามาตรฐานเร่งด่วน เพื่อตอบสนองการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทย เช่น นักเล่าเรื่อง, นักบริหารจัดการที่พักท้องถิ่น, ผู้ประกอบการร้านอาหารท้องถิ่น, นักออกแบบประสบการณ์การท่องเที่ยวในท้องถิ่น, นักออกแบบของที่ระลึกและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น และนักประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชียลมีเดีย เป็นต้น

สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คณะการจัดการการท่องเที่ยว  NIDA โทร. 08-6941-1047 อีเมล LTM-TQF@outlook.com (คุณพิริญา เย็นระยับ ผู้ประสานงานโครงการ)

และ สถาบัญคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) โทร. 06-3373-3926, 02-035-4900  www.tpqi.go.th

เปิดเทศกาลงานดอกไม้เมืองหนาว ‘แก่นมะกรูด’ จ.อุทัยธานี 2018

ลมหนาวพัดโชยมาแล้ว แม้ว่าจะไม่หนาวเท่าปีก่อนๆ ทว่าที่ ต.แก่นมะกรูด อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี ซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางราวๆ 750-1,200 เมตร ก็เริ่มเย็นฉ่ำ พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วสารทิศ ให้มาชื่นชมสวนดอกไม้หลากสีหลายสายพันธุ์ ที่กำลังเบ่งบานขานรับการส่งท้ายปีเก่า 2018 ต้อนรับปีใหม่ 2019 อย่างเต็มรูปแบบแล้วเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2018 จังหวัดอุทัยธานี ร่วมกับชาว ต.แก่นมะกรูด อ.บ้านไร่ จึงจับมือกันเปิดงาน ‘เทศกาลดอกไม้เมืองหนาวแก่นมะกรูด’ อย่างเป็นทางการ ท่ามกลางอากาศเย็นสบาย โดยมี นายณรงค์ ร้กร้อย ผู้ว่าจังหวัดอุทัยธานี เป็นประธานเปิดงาน ร่วมด้วย นายภฤศ พุทธนบ ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานอุทัยธานี, นายเผด็จ นุ้ยปรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี, ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ, นายอำเภอบ้านไร่ และผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุทัยธานีท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี กล่าวเปิดงานเทศกาลดอกไม้เมืองหนาวแก่นมะกรูด สร้างความมั่นใจให้นักท่องเที่ยวผู้มาเยือน ด้วยความพร้อมทุกด้าน ทั้งการจราจรในพื้นที่, ความปลอดภัย, ห้องน้ำ, สิ่งอำนวยความสะดวก และการช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉินนายภฤศ พุทธนบ ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานอุทัยธานี กล่าวเชิญชวนนักท่องเที่ยวทั่วไทยให้มาเยี่ยมชมสวนดอกไม้เมืองหนาว ต.แก่นมะกรูด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภาคเหนือตอนล่าง ที่อยู่ห่างจากเมืองกรุงเพียง 230 กิโลเมตร เดินทางสะดวก มีอาหารอร่อย วิวสวยๆ ไว้คอยต้อนรับ แถมผู้คนที่นี่ยังยิ้มง่ายใจดีด้วยล่ะความสดชื่นสดใสของบรรยากาศที่แก่นมะกรูดท่ามกลางลมหนาวแม้ว่าแก่นมะกรูดจะอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเพียง 1,000 กว่าเมตร ทว่าอากาศในช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ก็เย็นสบาย ไม่แพ้ภาคเหนือตอนบน สามารถปลูกดอกไม้เมืองหนาวได้หลากชนิด โดยเฉพาะดอกลิลลี่ ที่ถือว่าโดดเด่นเป็นพระเอกคอยรับแขก จึงถือว่า ‘แก่นมะกรูดคือสวรรค์ของดอกลิลลี่’ อย่างแท้จริงจ้า
ยามเมื่อได้เข้าไปชมและดอมดมดอกลิลลี่ใกล้ๆ จะได้กลิ่นหอมๆ และได้ยินเสียงหึ่งๆ ของผึ้งตัวน้อยที่คอยมาไต่ตอม ช่วยผสมเกสรให้ดอกลิลลี่สีขาวสะอาดตา ท่ามกลางแดดอุ่นและอากาศเย็นสบายยามเช้า ที่แก่นมะกรูดดอกทิวลิปบานแล้วที่แก่นมะกรูดผึ้งตัวน้อยแวะมากินน้ำหวานและละอองเกสรบนดอกคอสมอส สร้างความสดใสและชีวิตชีวาให้แก่นมะกรูดเดินถ่ายภาพไป รับลมหนาวไป ฟังเพลงไพเราะไป แหม…​อะไรจะสุขกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว ฮาๆๆๆ แก่นมะกรูดเป็นถิ่นที่อยู่ของพี่น้องชาวปกากะญอหลายหมู่บ้าน ที่ตั้งรกรากอยู่อาศัยกันมาหลายชั่วอายุคน บัดนี้พวกเขาได้เข้ามามีส่วนร่วมในการท่องเที่ยว นำเราเข้าไปสัมผัสวิถีเกษตร และวิถีวัฒนธรรมอันน่าชื่นชม นอกจากที่แก่นมะกรูด อ.บ้านไร่ แล้ว ใครที่ยังมีเวลาเหลือ และอยากตระเวนเที่ยวชมแหล่งท่องเที่ยวใหม่เอี่ยมของอุทัยธานี เราแนะนำให้ไปที่นี่เลย ‘บ้านสวนจันทร์กระจ่าง’ ต.ทุ่งนางาม อ.ลานสัก (ติดต่อ คุณอัฐพร จันทร์กระจ่าง โทร. 081-9530021) ชมสวนดอกไม้ในแนว Agro-tourism ที่เพิ่งเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวเป็นปีแรก ด้วยเสน่ห์ของดอกไม้นานาพันธุ์หลากสีสัน ที่เกิดจากความตั้งใจ ของครอบครัวจันทร์กระจ่าง เดินเที่ยวถ่ายภาพกันกลางลมหนาวในช่วงปีใหม่ให้เต็มอิ่มไปเลยนะจ๊ะ
อีกแห่งที่ห้ามพลาดคือ ‘บ้านชายเขา สวิตเซอร์แลนด์เมืองไทย’ อ.ลานสัก ที่ตั้งอยู่ในโอบล้อมของขุนเขารอบด้าน ถ่ายภาพออกมาได้ตื่นตาตื่นใจสุดๆ เลย (สอบถามเพิ่มเติม ติดต่อ คุณรัต โทร. 085-7310853) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ททท. สำนักงาน อุทัยธานี โทร. 0-5651-4651-2

เบอร์โทรศัพท์ในการขอความช่วยเหลือยามฉุกเฉิน

สถานีตำรวจภูธรบ้านไร่ โทร. 056-539106

สถานีตำรวจภูธรจังหวัดอุทัยธานี โทร. 056-503100

ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 082-3847333

หัวหน้าฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อบจ.อุทัยธานี โทร. 081-9731116

กู้ภัยเมืองพระชนกจักรี โทร. 088-7997836

กรณีรถเสีย, รถขัดข้อง ติดต่อ วิทยาลัยชุมชนอุทัยธานี โทร. 087-1991128

โรงพยาบาลบ้านไร่ โทร. 056-539000

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแก่นมะกรูด (หมอโรจน์) โทร. 098-6859204

กำนันตำบลแก่นมะกรูด โทร. 081-0407056

ประชาสัมพันธ์จังหวัดอุทัยธานี โทร. 056-511915

A Boutique Italian Wine Tasting & Food Pairing @204 BAR / Swissotel BANGKOK

ค่าเฟ่บ่วนจอร์โน่ ร่วมกับ สวิสโซเทล เลอ คองคอร์ต กรุงเทพฯ จัดบูติค Italian Wine Tasting ที่ 204 BAR เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2018

โดยภายในงานมีสื่อมวลชน และผู้บริหารของโรงแรม เข้าร่วมอย่างอบอุ่น มีการเทสต้ิงไวน์พิเศษหลากหลายจากทางภาคเหนือของอิตาลี นำเสนอคู่กับอาหารทานเล่นที่เข้าคู่กันได้เป็นอย่างดี และช่วยเพิ่มรสชาติให้ไวน์ได้อย่างยอดเยี่ยม วัตถุดิบต่างๆ ล้วนคัดสรรมาอย่างดี

ซึ่งจะมีการจัดงานอีกครั้งที่ 204 Bistro โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพ รัชดา ในวันที่ 17 มกราคม 2019

สำหรับคอไวน์ทั้งหลายที่สนใจ สอบถามรายละเอียดได้ที่ คุณพิม 06-2494-1649

ไวน์สุดพิเศษที่มีการเทสต้ิงกันในงานนี้ประกอบด้วย

1.GleraBrut (Sparkling wine) as welcome drink

2. Manon Pinot Grigio (White)

3. Vernaccia Torri Vernaccia (White)

4. La Bisbetica Barbera (Red)

5. Chianti Torri Vernaccia (Red)

6. Vermentino Nero  (Red)

7. Alfredo Moscato (Sparkling dessert wine)

Swissôtel Bangkok Ratchada

204 Ratchadapisek Road, | Huay Kwang, Bangkok 10320 | Thailand
Tel:  + 66 (0) 2694 2222 | Fax: + 66 (0) 2694 2212
E-mail: romteera.tanthanongsakkul@swissotel.com | www.swissotelbangkok.com

TEATA เซ็นต์ MOU เกาหลี แลกเปลี่ยนเรียนรู้ท่องเที่ยวชุมชนยั่งยืน

เมื่อวันที่ 7-11 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (TEATA) ได้นำคณะสมาชิก 34 ชีวิต เดินทางสู่ประเทศเกาหลีใต้ เพื่อร่วมศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน 4 ชุมชนท้องถิ่น และเซ็นต์บันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกัน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT : Community-based Tourism) ระหว่างกันอย่างยั่งยืน โดยการเซ็นต์ MOU ครั้งนี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2561 ระหว่าง TEATA โดยคุณนีรชา วงศ์มาศา นายกสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย เป็นตัวแทน และในฝั่งเกาหลีมี Mr.Kyujeong Lee นายกสภาท่องเที่ยวหมู่บ้านชนบทเกาหลี (The Korean Rural Experience Village Council : KREVC) เป็นตัวแทนการเซ็นต์ MOU ครั้งนี้ ถือเป็นมิติใหม่ในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของทั้งสองประเทศ เพราะในอดีตที่ผ่านมา ยังไม่เคยมีการทำข้อตกลงในลักษณะนี้เกิดขึ้นมาก่อน ผลจากการเซ็นต์ MOU ของทั้งสององค์กร ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนในหลายๆ ด้าน ทั้งองค์ความรู้ในการจัดการและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน, การฝึกอบรมบุคลากรร่วมกัน, การศึกษาดูงาน, การจัดทริปท่องเที่ยวแบบเหย้าเยือน ฯลฯ โดยองค์ความรู้ต่างๆ สามารถนำมาต่อยอดเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน หรือ CBT ได้อย่างกว้างขวางในทุกมิติ ในทริปนี้ TEATA ได้เข้าไปเยี่ยมเยือน ทำกิจกรรม และพักค้างคืนในชุมชนน่ารัก 4 แห่งของเกาหลีใต้ ซึ่งถือเป็นชุมชนต้นแบบในการท่องเที่ยว CBT ที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทั้งในแง่การจัดการ, กิจกรรม, ที่พัก, อาหาร และตัวแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่ หมู่บ้านดูโม (Dumo Village) เมืองนัมเฮ จังหวัดคยองซาง, หมู่บ้านดารังงี (Darangee Village) เมืองนัมเฮ จังหวัดคยองซาง, ไร่ชาโพฮยองดาวอน (Bohyang Da Won Tea Farm Village) เมืองโพซอง จังหวัดเจลลา และ หมู่บ้านเวอัม (Way Am Village) เมืองอาซาน จังหวัดชองชุงนัม
การเยี่ยมชมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Study Trip) ครั้งนี้ของ TEATA ทำให้เราได้รับทราบถึงบทเรียนอันทรงคุณค่ามากมาย ไม่ว่าจะเป็นระบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ดี มีประสิทธิภาพ เป็นขั้นเป็นตอน มีการแบ่งหน้าที่กันทำในชุมชนอย่างชัดเจน เราได้เห็นการมีส่วนร่วมของผู้คนในชุมชน บนรากฐานของความสามัคคี ที่พยายามดึงจุดเด่นของตนเองออกมาสร้างเป็นกิจกรรมและแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างน่ารัก อีกทั้งยังได้รับทราบถึงการส่งเสริมของภาครัฐอย่างจริงจัง ตั้งแต่ระดับนโยบาย งบประมาณ องค์ความรู้ เครื่องไม้เครื่องมือที่พรั่งพร้อม รวมถึงความจริงใจในการผลักดันให้ ‘การท่องเที่ยโดยชุมชน’ ของเกาหลีใต้ ประสบความสำเร็จดังเช่นทุกวันนี้ในปัจจุบัน สภาท่องเที่ยวหมู่บ้านชนบทเกาหลี (The Korean Rural Experience Village Council : KREVC) มีหมู่บ้านสมาชิกอยู่ทั่วประเทศ ไม่น้อยกว่า 1,000 แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งมีจุดเด่นต่างกันไป และเที่ยวได้ใน 4 ฤดูอันแตกต่าง ทำให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้าสู่ชุมชนที่เคยซบเซาถูกทิ้งร้าง จนปัจจุบันการท่องเที่ยวชุมชนได้กลายเป็น Trend ใหม่สุดฮิตในเกาหลีไปแล้ว เพราะมิใช่ว่าไปเที่ยวชุมชนแล้วจะได้พบเห็นแต่วิถีชีวิตผู้คนเท่านั้น ยังมี กิจกรรมเชิงธรรมชาติและผจญภัย (Eco-Tourism) เดินป่า พายเรือ ปีนเขา ฯลฯ ผสมผสานเข้าไปด้วยอย่างลงตัว จนกลายเป็น Farming Experience Village ที่โด่งดังมาก ในเดือนพฤศจิกายน 2561 ที่กำลังจะถึงนี้ คณะทำงานท่องเที่ยวชุมชนของเกาหลีใต้ มีแผนที่จะเดินทางมาเยี่ยมเยือนประเทศไทยด้วยเช่นกัน เราจึงมีโอกาสทำความเข้าใจซึ่งกันและกันให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพื่อใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือหรือฟันเฟืองหนึ่ง ในการขับเคลื่อนชุมชนให้คึกคัก คับคั่ง มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยยังสามารถรักษาอัตลักษณ์ดั้งเดิมของตนเองไว้ได้ สมดังเจตนารมณ์ของ TEATA และการเซ็นต์ MOU ครั้งนี้ ให้บรรลุผลในเชิงปฏิบัติเป็นรูปธรรมต่อไปสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (TEATA) โทร. 08-3250-9343 (คุณน้ำ)