ตื่นตาน่าสนุก! เทศกาลดูเหยี่ยวอพยพ ชุมพร 2558

เหยี่ยวเขาดินสอ 1NIKON-18-copy-copy เหยี่ยวเขาดินสอ 2ธรรมชาติเป็นสิ่งอัศจรรย์และมีเรื่องราวสนุกๆ ให้เราได้พานพบเสมอ อย่างที่จังหวัดชุมพร ทุกปีในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม จะเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติยิ่งใหญ่อย่างหนึ่ง คือ “เหยี่ยวอพยพ” จากตอนเหนือของโลก เพื่อหนีอากาศหนาวจัดสุดขั้วจากประเทศจีน มองโกเลีย และไซบีเรีย ลงมาหากินยังแถบอุ่นกว่าในอินโดนีเซียและออสเตรเลีย โดยในปีหนึ่งๆ จะมีเหยี่ยวหลายสิบชนิด กว่า 200,000-400,000 ตัว บินผ่านลงมาตามคาบสมุทรภาคใต้ของไทย ผ่านจังหวัดชุมพร บริเวณเขาดินสอ จึงมีการจัด “เทศกาลดูเหยี่ยวอพยพ กันอย่างคึกคัก นักดูนกทั้งไทยและเทศนับพันๆ คน ต่างแบกกล้องขึ้นไปดูนกกันอย่างสนุกสนาน เป็นงานที่รู้จักกันในระดับอินเตอร์ไปแล้ว แต่ว่าการขึ้นเขาดินสอ ต้องเดินระยะทาง 1.5 กิโลเมตร อาจจะเหนื่อย แต่ก็คุ้ม เพราะได้ทั้งความรู้และความสนุก แถมได้เพื่อนใหม่ด้วย
เหยี่ยวเขาดินสอ 3

เหยี่ยว 6 ชนิดหลัก ที่บินอพยพผ่านเขาดินสอ จังหวัดชุมพร ก็คือ เหยี่ยวผึ้ง (Oriental Honey-buzzard) เหยี่ยวนกเขาพันธุ์จีน (Chinese Goshawk) เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น (Japanese Sparrowhawk) เหยี่ยวนกเขาชิครา (Shikra) เหยี่ยวหน้าเทา (Grey-faced Buzzard) และเหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ (Black Baza) แต่จากการสำรวจแล้ว มีเหยี่ยวอพยพผ่านเขาดินสอถึง 26 ชนิดด้วยกัน

องค์กรด้านการอนุรักษ์นก (Royal Society for the Protection of Birds) ได้ตีพิมพ์ลงหนังสือ Migration Hotspots ; The World”s Best Migration Sites ยืนยันว่า บริเวณเขาดินสอ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เป็นจุดดูนกล่าเหยื่อที่ดีที่สุดจุดหนึ่งของโลกเลยทีเดียวเหยี่ยวเขาดินสอ 4

เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น มักบินผ่านมาเป็นฝูงเล็กๆ หรือตัวเดี่ยวๆ ในขณะที่ถ้าเป็นเหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ ฝูงหนึ่งจะมาพร้อมกันเป็นร้อยๆ ตัวเหยี่ยวเขาดินสอ 5

ฝูงเหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ พากันบินผ่านเขาดินสอ ลงไปตามคาบสมุทรภาคใต้ เพื่อลงไปหากินยังประเทศอินโดนีเซียเหยี่ยวเขาดินสอ 6

ฝูงเหยี่ยวกิ้งก่าสีดำนับร้อยๆ ตัว บินฉวัดเฉวียนไปมากลางอากาศ โดยอาศัยมวลอากาศร้อนช่วยลอยตัวขึ้นไปในอากาศเป็นวงกลม แต่โดยนิสัยของนกชนิดนี้แล้ว พวกมันชอบบินโฉบไปมาราวกับนักยิมนาสติกกลางอากาศเหยี่ยวเขาดินสอ 7

การขึ้นไปดูนกหรือถ่ายภาพนกบนเขาดินสอให้ได้สนุก อุปกรณ์จำเป็นที่สุดคือ กล้องส่องทางไกล หรือกล้องถ่ายภาพคุณภาพสูง ที่มีเลนส์ทางยาวโฟกัสเยอะๆ ตั้งแต่ 500 มิลลิเมตรขึ้นไป เรียกว่า Lens Super Tele มีตั้งแต่ 500, 600, 800 มิลลิเมตร และเพิ่มทางยาวโฟกัสขึ้นไปได้อีก เมื่อใส่ตัวขยาย 1.4X, 1.7X และ 2X เพื่อให้สามารถดูนกหรือถ่ายภาพนก ได้เต็มตัวจากระยะไกลมากๆเหยี่ยวเขาดินสอ 8.1 เหยี่ยวเขาดินสอ 8

กล้องส่องทางไกลที่ใช้ดูนก มี 2 แบบ คือ กล้องสองตา (Binoclar) และกล้องเลนส์เดี่ยว (Scope) โดยแบบหลังมีกำลังขยายสูงกว่า ภาพใสคมชัดกว่า แต่ต้องติดไว้บนขาตั้งกล้อง ส่วนกล้องสองตาที่นิยมใช้ดูนก คือกำลังขยาย 8X แต่ไม่เกิน 10X เพราะถ้ามากกว่านี้ ส่องดูนกนานๆ จะเวียนหัวได้เหยี่ยวเขาดินสอ 9นอกจากเหยี่ยวขนาดเล็กที่บินอพยพมาพร้อมกันเป็นฝูงแล้ว ถ้าสังเกตให้ดี เราจะพบเหยี่ยวขนาดใหญ่ บินแยกมาเดี่ยวๆ ด้วย เมื่อกางปีกเต็มที่โผผินอยู่บนฟ้า พวกมันช่างสง่างามเหลือเกิน เพราะมันคือนักล่าแห่งเวหาที่แท้จริง
เหยี่ยวเขาดินสอ 10

นอกจากเหยี่ยว 6 ชนิดหลักที่บินอพยพผ่านเขาดินสอนับแสนตัวทุกปีแล้ว ยังมีเหยี่ยวอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น เหยี่ยวดำ, นกอินทรีเล็ก, เหยี่ยวกิ้งก่าสีน้ำตาล, นกอินทรีปีกลาย, เหยี่ยวรุ้ง, เหยี่ยวทุ่ง ฯลฯ เหยี่ยวเขาดินสอ 11

เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น (Japanese Sparrowhawk)เหยี่ยวเขาดินสอ 12

พระเอกของเขาดินสอ เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ (Black Baza)
เหยี่ยวเขาดินสอ 13

 เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ ชอบบินโฉบไปมา ฉวัดเฉวียนในอากาศ
เหยี่ยวเขาดินสอ 14

เหยี่ยวกิ้งก่าสีน้ำตาล กางปีกร่อนอย่างสง่างาม โดยอาศัยลมร้อนช่วยในการลอยตัวเหยี่ยวเขาดินสอ 15

ฝูงเหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ บินร่อนวนอยู่ในอากาศสูงหลายกิโลเมตรเหนือเขาดินสอเหยี่ยวเขาดินสอ 16

เหยี่ยวเป็นนกล่าเหยื่อ ซึ่งในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Bird of Prey เป็นนกที่มีประสาทการรับกลิ่น และการมองเห็นที่ยอดเยี่ยมมาก นอกจากนี้ยังมีปากเป็นจงอย และกรงเล็บอันแข็งแกร่ง เพื่อใช้จับเหยื่อกินได้อย่างง่ายดายเหยี่ยวเขาดินสอ 17.1 เหยี่ยวเขาดินสอ 17

กิจกรรมการดูนก เป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบ Eco-Tourism ที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับเยาวชนทุกคน เพราะช่วยให้เด็กๆ ได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ ช่วยให้จิตใจอ่อนโยน และได้เปิดโลกทัศน์ เป็นวิธีการเรียนนอกห้องเรียน ที่ทั้งสนุกและได้ความรู้ไปพร้อมๆ กันเหยี่ยวเขาดินสอ 18

ครอบครัวสุขสันต์ เมื่อเดินขึ้นถึงยอดเขาดินสอ
เหยี่ยวเขาดินสอ 19

กิจกรรมดูนกเขาดินสอปี 2558 คึกคักเป็นพิเศษ เพราะนอกจากจะมีประชาชนทั่วไปให้ความสนใจกันอย่างล้นหลามแล้ว ยังมีนักดูนกมืออาชีพ ทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ 20 ประเทศ เข้าร่วมสัมมนาหัวข้อเหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ เพราะที่เขาดินสอเป็นจุดดูนกล่าเหยื่อที่โด่งดังไปทั่วโลกแล้วในขณะนี้เหยี่ยวเขาดินสอ 20 เหยี่ยวเขาดินสอ 21

บรรยากาศการเดินขึ้นลงเขาดินสอ ทางบางช่วงอาจจะชันและลื่นบ้าง ถือว่าได้บรรยากาศของการผจญภัยเล็กๆ

Special Thanks : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานชุมพร เลขที่ 111/11-12 ถนนทวีสินค้า ตำบลท่าตะเภา อำเภอเมืองฯ จังหวัดชุมพร โทร. 0-7750-2775-6 สนับสนุนการเดินทางทำสารคดีเรื่องนี้เป็นอย่างดี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเทศบาลตำบลบางสน อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร โทร. 0-7759-1003

การเดินทางไปเขาดินสอ : จากตัวเมืองชุมพร ใช้ทางหลวงหมายเลข 3180 แล้วเลี้ยวขวาบริเวณบ้านต้นมะพร้าว เข้าถนนสายสามสี-ปะทิว อีกประมาณ 20 กิโลเมตร เมื่อถึงเขาดินสอแล้ว ต้องจอดรถไว้แล้วเดินขึ้นเขาอีก 1.5 กิโลเมตร

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *