มหัศจรรย์พืชวงศ์ขิงข่าไทย มีดีอวดชาวโลก! จ.เชียงใหม่

อุทยานขิงข่า 1

เมื่อพูดถึงคำว่า “ขิงข่า” คนส่วนใหญ่อาจนึกถึงอาหารอร่อยอย่างต้มข่าไก่ หรือผัดขิง แต่ถ้าเอ่ยถึงชื่อขิงข่าในวงวิชาการพฤกษศาสตร์แล้วล่ะก็ พืชวงศ์ขิงข่า หรือ Zingiberaceae คือกลุ่มพืชเขตร้อนชื้นที่มีประโยชน์อนันต์ มากกว่าอาหารมากมายนัก เพราะขิงข่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในปัจจัยสี่ โดยเฉพาะอาหารและยารักษาโรค อีกทั้งยังมีความสวยงาม ใช้ประดับสวน บ้านเรือน และส่งออกทำรายได้มหาศาล! ยิ่งกว่านั้น ปัจจุบันยังมีการต่อยอด นำดอกขิงข่าบางชนิดมาสกัดน้ำหอม และทำชาสุขภาพด้วยล่ะ ว้าว!
อุทยานขิงข่า 2 อุทยานขิงข่า 3 อุทยานขิงข่า 4

ด้วยความสำคัญของพืชวงศ์ขิงข่าที่นำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย อีกทั้งเมืองไทยของเรายังมีพืชวงศ์นี้อยู่กว่า 300 ชนิด ใน 24 สกุล ถือเป็นจำนวน 1 ใน 4 ของพืชวงศ์ขิงข่าที่มีอยู่ในโลก! สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จึงได้จัดสร้าง “อุทยานพืชวงศ์ขิง-ข่า” บนเนื้อที่กว่า 5 ไร่ มีการรวบรวมพืชวงศ์นี้ไว้กว่า 180 ชนิด จากทั่วทุกภาค ถือเป็นสวนที่รวมพืชวงศ์ขิง-ข่าไว้มากที่สุดแล้วในปัจจุบัน

อุทยานขิงข่า 5

กระเจียว (Curcuma) เป็นสกุลเด่นในพืชวงศ์ขิงข่า เพราะมีช่อดอกขนาดใหญ่ และดอกบานทนนาน มีดอกเฉพาะฤดูฝน ส่วนในฤดูอื่นๆ จะพักตัวลงหัว มีแต่ใบเขียวๆ ให้เห็นเท่านั้นอุทยานขิงข่า 6 อุทยานขิงข่า 8 อุทยานขิงข่า 9

กระเจียวส้ม

อุทยานขิงข่า 10

ช่อดอกสีสดใสของกระเจียวที่เห็น แท้จริงคือกลีบประดับ (Bract) ที่เรียงซ้อนกันขึ้นไปเป็นช่อแนวตั้ง ส่วนดอกที่แท้จริงของกระเจียว เป็นดอกรูปทรงจงอย มีขนาดเล็ก โผล่ออกมาจากกลีบประดับอีกทีหนึ่ง
อุทยานขิงข่า 11

ดอกข่าลิง (Globba sp.) เป็นพืชวงศ์ของข่าที่มีดอกขนาดเล็ก รูปทรงดอกสวยงามแปลกตา มีทั้งสีเหลือง ขาว และชมพูอ่อน ดอกเข้าพรรษาที่พบในจังหวัดสระบุรี ก็อยู่ในวงศ์ข่าลิงนี้ด้วยเช่นกันอุทยานขิงข่า 12 อุทยานขิงข่า 13 อุทยานขิงข่า 14 อุทยานขิงข่า 15

อุทยานขิง-ข่า เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญให้กับเยาวชนจากทั่วประเทศ เพื่อให้เด็กๆ รู้ถึงคุณค่าความสำคัญ และความสวยงาม นำไปสู่ความรัก และการอนุรักษ์พืชวงศ์นี้ให้อยู่คู่ป่าไทยตลอดไป อุทยานขิงข่า 16 อุทยานขิงข่า 17 อุทยานขิงข่า 18

ภายในอุทยานขิง-ข่า ร่มรื่นมาก สามารถเดินชมพรรณไม้ต่างๆ ได้อย่างเพลิดเพลิน พร้อมกับมีป้ายบอกชื่อชนิดพันธุ์ของขิงข่าเอาไว้อย่างชัดเจน แยกเป็นสกุลอย่างมีระบบระเบียบอุทยานขิงข่า 19

กระทือพิลาส หรือกระทือช้าง (Zingiber spectabile) เป็นพืชวงศ์ขิงข่าที่มีช่อดอกขนาดใหญ่มาก สีสดใสสวยงาม ตั้งแต่เหลือง ส้ม แดง ไล่เฉดกันสวยงาม ดั้งเดิมมีถิ่นกำเนิดอยู่ในป่าดิบชื้นแถบจังหวัดนราธิวาส

อุทยานขิงข่า 20

ดอกจริงๆ ของกระทือพิลาส มีขนาดเล็ก โผล่ออกมาจากกลีบประดับ โดยมีรูปร่างเป็นจงอยโค้งแบบนี้ล่ะ เพราะธรรมชาติได้ออกแบบดอกไม้ให้มีรูปทรงเหมาะเจาะรับกับแมลงที่มาช่วยผสมพันธุ์ให้ น่ารักมากๆอุทยานขิงข่า 21 อุทยานขิงข่า 22

ไพล (Zingiber sp.) เป็นพืชวงศ์ขิงข่าที่ใช้ทำอาหารและสมุนไพรในสังคมไทยมาช้านาน โดยเฉพาะในวงศ์การแพทย์แผนไทย ใช้เหง้าไพลที่แก่จัด แก้ฟกช้ำ บวม เคล็ด ยอก ปวดเมื่อย ขับลม ท้องเดิน ช่วยขับระดูหรือประจำเดือนของสตรี นิยมใช้หลังจากที่คลอดบุตรแล้ว เหง้าไพลมีน้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ลดอาการอักเสบด้วย

อุทยานขิงข่า 23

ดอกไพลอุทยานขิงข่า 24

กระทือหนู (Zingiber sp.) เป็นพืชในวงศ์ขิงข่าที่นิยมปลูกเลี้ยงประดับสวนกันทั่วไป เพราะดอกออกตลอดปี และดอกบานทน สร้างสีสันให้สวนสวยได้

อุทยานขิงข่า 25

ทากน้อยแอบมาอาศัยอยู่กับดอกขิงข่า อยู่อย่างพึ่งพิงอิงอาศัยกัน เป็นการเกื้อกูลในธรรมชาติอันแสนน่ารัก

อุทยานขิงข่า 26

ดร.สุญาณี เวสสบุตร ผู้อำนวยการองค์การสวนพฤกษศาสตร์ (อ.ส.พ.) เดินทางมาต้อนรับคณะสื่อมวลชน ที่มาเยี่ยมชมอุทยานขิงข่า อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่อุทยานขิงข่า 27

คุณเมธี วงศ์หนัก นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญพืชวงศ์ขิงข่า ผู้ที่เดินทางสำรวจรวบรวมพืชวงศ์ของข่าทั่วประเทศ มาออกแบบจัดเป็นอุทยานพืชวงศ์ขิงข่า ในสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่อุทยานขิงข่า 28

ดร.สุญาณี เวสสบุตร ผู้อำนวยการองค์การสวนพฤกษศาสตร์ (อ.ส.พ.) ให้เกียรติถ่ายภาพร่วมกับ คุณเมธี วงศ์หนัก นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญพืชวงศ์ขิงข่า และคุณน้ำค้าง PR สาวสวนแห่งสวนพฤกษศาสตร์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

อุทยานขิงข่า 29

มหาหงส์ (Hedychium sp.) ถือเป็นนางเอกแสนสวยของอุทยานขิงข่า เพราะปัจจุบันมีการศึกษาวิจัย จนสามารถนำดอกมหาหงส์มาผลิตเป็นน้ำหอม และชาสุขภาพ ได้เรียบร้อยแล้ว เพียงแต่รอการผลิตออกขายในเชิงอุตสาหกรรมเท่านั้น

อุทยานขิงข่า 30

ตาเหิน (Hedychium sp.) เป็นพืชวงศ์ขิงข่าที่มีช่อดอกขนาดใหญ่ จัดเป็นพืชป่าหายากที่มีความสวยงามมาก

อุทยานขิงข่า 31

มหาหงส์สีส้มอุทยานขิงข่า 32

มหาหงส์ (Hedychium coronarium) เป็นพืชท้องถิ่นล้านนา ที่สาวๆ นิยมนำดอกประดับมวยผม เพื่อให้กลิ่นหอมชื่นใจ

อุทยานขิงข่า 33

มหาหงส์ขาวสวนพฤกษศาสตร์เชียงใหม่ 2

นอกจากอุทยานขิงข่าแล้ว สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ยังมีกลุ่มอาคารเรือนกระจกเฉลิมพระเกียรติ 12 โรงเรือน จัดแสดงพืชพรรณต่างๆ ไว้ให้ชมอย่างน่าตื่นตาสวนพฤกษศาสตร์เชียงใหม่ 3

โรงเรือนไม้ทะเลทรายและพืชทนแล้งสวนพฤกษศาสตร์เชียงใหม่ 4สวนพฤกษศาสตร์เชียงใหม่ 5

ดอกกระเจียวขาว เบ่งบานอยู่ด้านหน้าโรงเรือนบุก-บอนสวนพฤกษศาสตร์เชียงใหม่ 6สวนพฤกษศาสตร์เชียงใหม่ 7

โรงเรือนไม้กินแมลง มีทั้งพืชท้องถิ่นของไทยและจากทวีปอเมริกาให้ชมสวนพฤกษศาสตร์เชียงใหม่ 8

โรงเรือนกล้วยไม้และเฟิน ให้ความรู้สึกชุ่มชื้นเย็นฉ่ำ เหมือนเดินอยู่ในผืนป่าจริงๆ เลยล่ะสวนพฤกษศาสตร์เชียงใหม่ 9สวนพฤกษศาสตร์เชียงใหม่ 10สวนพฤกษศาสตร์เชียงใหม่ 11

โรงเรือนป่าดิบชื้น (Tropical Rainforest) เป็นอาคารหลังใหญ่ที่สุดในกลุ่มอาคารเรือนกระจก จำลองสภาพป่าดิบชื้นของไทยมาให้ชม พร้อมด้วยพืชหายากและพืชเฉพาะถิ่นอันน่าตื่นตา อย่างใบไม้สีทอง (ย่านดาโอ๊ะ), ปาล์มเจ้าเมืองตรัง, ปาล์มเจ้าเมืองถลาง, ปาล์มบังสูรย์, หมากแดง, กล้วยศรีนรา, ดาหลาขาว และอื่นๆ อีกมากมายสวนพฤกษศาสตร์เชียงใหม่ 12สวนพฤกษศาสตร์เชียงใหม่ 13

ภายในโรงเรือนป่าดิบชื้น มีสะพานสูงให้เดินชมบรรยากาศจากด้านบนด้วย จะได้เห็นเรือนยอดไม้กันชัดๆCanopy Walway เชียงใหม่ 1

สะพานเดินศึกษาธรรมชาติบนยอดไม้ หรือ Canopy Walkway แห่งใหม่ของไทย ที่สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นทางเดินบนยอดไม้ยาวที่สุดในเมืองไทย คือยาวถึง 500 เมตร สูงจากพื้นป่าเบื้องล่างกว่า 22 เมตร และจะเปิดให้นักท่องเที่ยวทั่วไปเที่ยวชมได้ในปลายปี 2015 ครับ
Canopy Walway เชียงใหม่ 2

บางช่วงของ Canopy Walkway เป็นพื้นกระจกใส เข้าไปยืนแล้วให้ความรู้สึกเสียวดี แต่ที่เจ๋งกว่าคือ เหมือนกับตัวเราลอยอยู่เหนือพื้นป่า สามารถศึกษาสังคมพืชและสิ่งมีชีวิตบนยอดไม้ได้อย่างง่ายดายCanopy Walway เชียงใหม่ 3Special Thanks : ขอขอบคุณ งานประชาสัมพันธ์ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โทร. 0-5384-1234  www.qsbg.org

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *