เที่ยวเกาหลีสไตล์ TEATA ไร่ชา Bohyang Da Won (ตอน 4)
วันที่ 4 ของการเดินทางท่องเที่ยวอันแสนสนุกและไม่เหมือนใครในเกาหลีกับ สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (TEATA) เรานั่งรถยนต์มุ่งหน้ากลับขึ้นฝั่งจากเกาะนัมเฮ (Namhe Island) สู่หมุดหมายต่อไป ซึ่งขอบอกเลยว่าไม่ธรรมดาจริงๆ เพราะเป็นไร่ชาที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในเกาหลี คือ ‘หมู่บ้านไร่ชาโพยาง ดาวอน’ (Boseong Da Won Tea Farm Village) ดำเนินกิจการต่อกันมาถึง 5 ชั่วอายุคนแล้ว โดยเริ่มปลูกผลไม้และชามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1937 จนสามารถพาธุรกิจของตัวเองยกระดับโด่งดังไปทั่วโลกด้วยชื่อ Bohyang Tea แม้จะเป็นไร่ชาแบบดั้งเดิมที่ยังคงสืบทอดวิธีปลูกและผลิตชาด้วยกรรมวิธีโบราณ ทว่าการจัดสถานที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวกลับดูเก๋ไก๋ น่ารัก โมเดิร์น ราวกับว่าเราอยู่ในยุโรปกลายๆ ยิ่งยามนี้เป็นฤดูร้อนด้วย ดอกไม้นานาชนิดจึงเบ่งบานละลานตาเชียวมุมเล็กๆ อันแสนน่ารัก เติมสีสันการท่องเที่ยวในไร่ชาโพยาง ดาวอน ให้สมบูรณ์แบบผึ้งตัวน้อยดื่มกินน้ำหวาน พร้อมกับช่วยผสมเกสรดอกไม้ ที่ไร่ชาโพยาง ดาวอนตามธรรมเนียม เมื่อแขกมาถึงบ้าน เจ้าบ้านก็ต้องกล่าวต้อนรับอย่างเป็นทางการ นอกจากการเรียนรู้วิถีชีวิตชาวไร่ชาแล้ว เรายังได้ฝึกฝนวิธีการทำความเคารพแบบคนเกาหลี ที่ถูกต้องด้วย สะท้อนถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน น่ารักดีครับ
อุ่นเครื่องกันได้ที่แล้ว ตอนนี้ก็ถึงเวลาออกไปเก็บชากันล่ะ แต่ละคนจะได้รับแจกกระจาดเล็กๆ คนละอัน เอาไว้ไปใส่ยอดชาเขียวที่เก็บได้
ป้ายแสดงความมั่นใจให้ผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวว่า โร่ชาแห่งนี้ปลูกด้วยวิธี Organic ครับ คือไม่ใช้สารเคมีในทุกขั้นตอนคุณ Choi Yeong-Gi เจ้าของไร่ชาโพยาง ดาวอน มาสาธิตวิธีการเก็บยอดชาเขียวให้เราดูด้วยตนเองคุณชอยสอนว่าให้ดูยอดชาที่มี 3 ใบ ตรงส่วนบนสุดของลำต้น โดยสองใบจะแผ่ออก แต่ใบที่สามจะมีลักษณะเป็นปลายแหลมคล้ายหอก เด็ดมาเลยทั้ง 3 ใบ เอาพอเต็มกระจาด เข้าใจแล้วก็เริ่มต้นเก็บยอดชากันทันที ไม่จำกัดเวลานะครับ แต่เอาแค่พอเต็มกระจาด เพื่อนำไปคั่วต่อ การเดินในไร่ชาที่เปิดโล่ง อากาศบริสุทธิ์ มองเห็นทัศนียภาพเนินเขากว้างไกล และมีต้นสนซีดาร์กระจายอยู่ห่างๆ กัน ถือเป็นกำไรของชีวิต เพราะเป็นการพาตัวและหัวใจออกมาสัมผัสกลิ่นอายธรรมชาติบ้าง หลังจากถูกเมืองใหญ่ดูดกลืนพลังชีวิตไปซะเยอะแล้ว ฮาฮาฮาได้แล้วยอดขาเขียวสามใบ ตามที่คุณชอยสอนพี่หุยครับ เขาให้มาเก็บยอดชานะครับ ไม่ได้ให้มาเซลฟี่ ฮาฮาฮา (อ๋อ ดูในกระจาดเก็บได้เยอะแล้ว เลยเปลี่ยนจากยอดชา มาเก็บภาพเป็นที่ระลึกแทน อิอิ)โมงยามแห่งความสุข ของสมาชิกชาว TEATA ในไร่ชาโพยาง ดาวอนค่อยๆ เก็บยอดชาไป ใจเย็นๆ ไม่ต้องรีบร้อน เดี๋ยวก็เต็มกระจาดเองนั่นล่ะ มืออาชีพมากๆ ได้มาเพียบ เตรียมเอาไปทำกิจกรรมที่สองต่อเลย คือการคั่วใบชาเขียวครับผลงานการเก็บยอดชาเขียวคุณภาพ โดยน้องๆ ทีมงานจากนครพนม น่ารักอ่ะไม่รอช้า ต่อเนื่องเข้าสู่กิจกรรมที่สองกันเลย คือ ‘การคั่วยอดใบชาเขียว’ แต่ก่อนอื่นต้องฟังสรุปวิธีการคั่วใบชาที่ถูกวิธีจาก Tea Master กันก่อน
ผ้ากันเปื้อนและถุงมือกันร้อน คืออุปกรณ์สำคัญสำหรับทุกคนในกิจกรรมนี้ เพราะเราต้องใช้มือทั้งสองคั่วใบชาเขียวในกระทะขนาดใหญ่ ด้วยไฟร้อนถึง 150 องศาเซลเซียส น่ะสิเตรียมพร้อม เอายอดใบชาเขียวลงกระทะคั่วครับ‘การคั่วใบชา’ ผลที่ได้จะแตกต่างกัน ทั้งชาเขียว (Green Tea) และชาดำ (Black Tea) ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีและอุณหภูมิในการคั่ว วันนี้ผู้เชี่ยวชาญพาเราคั่วชาเขียว โดยนำยอดชาสดที่เพิ่งเก็บได้มาเทรวมกันใส่กระทะเหล็กใบใหญ่ที่อุณหภูมิราว 150 องศาเซลเซียส จากนั้นก็ใส่ถุงมือกันร้อน ช่วยกันใช้มือคั่ว คลุกเคล้าใบชาไปมาอย่างเป็นจังหวะ 3 เสต็ป ตั้งแต่เบาๆ นุ่มนวล ไปจนถึงเร็วและหนักหน่วงขึ้น จากนั้นก็นำใบชามาแผ่บนโต๊ะ แล้วนวดคลุกเคล้าต่อไปจนมันเย็น โห เพิ่งรู้ว่ากว่าจะได้ชาเขียวหอมกรุ่นดีๆ สักจอก ต้องใช้แรงเยอะเหมือนกันนะเนี่ยะ ต่อไปจะไม่ต่อราคาแล้ว เมื่อคั่วใบชาเขียวในกระทะจนได้ที่ ก็นำมาแผ่บนโต๊ะให้เย็นตัว แล้วแบ่งเป็นกองๆ นวดคลึงคลุกเคล้าไปมาอีกครั้ง เพื่อให้เกิดความหอม และสารเคมีต่างๆ ในใบชาถูกกระตุ้นให้พร้อมออกมาเต็มที่ยามชงใส่น้ำร้อน เสร็จขั้นตอนคั่วและนวดคลึงใบชา ก็ได้เวลา Tea Master มาตรวจการบ้าน ว่าใน 5 กลุ่มของพวกเรา กลุ่มไหนคั่วใบชาเขียวได้เก่งที่สุด ดีที่สุด หอมที่สุด???
กลุ่ม 5 คว้ารางวัลชนะเลิศ สำหรับกิจกรรมคั่วใบชาเขียวในวันนี้ครับ รับรางวัลกันไป กับผลิตภัณฑ์ชาหลากชนิดของไร่ชาออร์แกนิก โพยาง ดาวอนนี่คือหน้าตาของชาแบบโบราณ ทั้งชาแผ่น ชาเหรียญ และชาก้อน เป็นการนำใบชามาอัดเป็นรูปทรงตากแห้งไว้ เพื่อใช้ในการเก็บไว้กินตลอดปี หรือเพื่อในการขนส่งไปค้าขายระยะทางไกลๆ หรือเพื่อติดตัวไปยามเดินทางได้สะดวก ซึ่งชาก้อนลักษณะนี้จริงๆ เราก็จะเห็นในประเทศจีนและญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน เรียกว่า ชาก้อน (Brick Tea)
คืนนี้เราจะเข้าพักค้างคืนที่ไร่ชาโพยาง ดาวอน ทว่าเขามีให้แต่ที่พัก (แบบง่ายๆ และมีจำนวนจำกัด) และไม่ได้มีอาหารรวมอยู่ในแพ็กเกจด้วย เราจึงต้องขับรถออกมาประมาณ 15 นาที สู่ตัวเมืองโพยาง (Bohyang) เพื่อกินอาหารเย็น ร้านนี้ไม่ธรรมดา เพราะเด่นด้วยเนื้อหมูเบอร์เกอร์ เสิร์ฟมาพร้อมอาหารเกาหลีขนานแท้หลากหลายรสชาติ เป็นอีกหนึ่งมื้อที่เรามีความสุขมากๆ
เรากลับจากร้านอาหารสู่ไร่ชาโพยาง ดาวอน เกือบสองทุ่ม เพื่อมารวมตัวกันและเริ่มกิจกรรมสุดท้ายของวันนี้ คือ ‘พิธีชงชา’ (Tea Ceremony) ซึ่งต้องมี ‘ปรมาจารย์การชงชา’ หรือ Tea Master มาเป็นผู้นำ วันนี้คุณ Choi Yeong-Gi เจ้าของไร่ชา โพยอง ดาวอน ในเจนเนอร์เรชั่นที่ 4 มาสาธิตการชงชาให้เราชมด้วยตนเองเลย
การชงชาแบบเกาหลีนั้นจะดูเกร็งๆ น้อยกว่าของญี่ปุ่น คือของเกาหลีเขาให้เราจับคู่นั่งตรงข้ามกัน ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ชง อีกฝ่ายเป็นผู้ดื่ม แล้วผลัดกัน โดยวิธีการรับส่งแก้วและยกขึ้นดื่มจะต้องกระทำอย่างช้าๆ และมีเสต็ปเฉพาะ การดื่มชาจริงๆ แล้วเป็นทั้งการดื่มดม และทำสมาธิไปในตัว ขณะดื่มก็ต้องคิดแต่สิ่งดีๆ แบบ Positive Thinking ให้เราสัมผัสลึกล้ำทั้งรูป รส กลิ่น เสียง ของน้ำชาที่ค่อยๆ ไหลลงคอแทรกซึมเข้าสู่ร่างกาย พร้อมกับมีการเสิร์ฟขนมหวานชิ้นเล็กๆ ให้กินคู่กันด้วย คุณ Choi Yeong-Gi เล่าให้ฟังว่าไร่ชาของเขามีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อยู่ตลอดเวลา มิใช่แค่ต้องการขายให้คนเกาหลีได้ดื่มเองในประเทศเท่านั้น แต่บุกตลาดไปทั่วโลก เพื่อให้คนทั่วโลกได้รับรู้ถึงวัฒนธรรมเกาหลีผ่านชาคุณภาพนี่ล่ะ ยิ่งกว่านั้นเขายังมีการคิดค้น ‘ชาทองคำ’ (Golden Tea) สำเร็จเป็นเจ้าแรกด้วย คือเขาได้วิจัยจนสามารถใช้กระแสไฟฟ้าละลายทองคำก้อนให้กลายเป็น ‘น้ำทองคำ’ จากนั้นก็นำไปรดต้นชา ให้ต้นชาดูดน้ำทองคำเข้าไปเก็บไว้ แล้วก็นำใบชานั้นมาผลิตเป็นชาทองคำ ขายราคากล่องละ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ! ตอนนี้มีออร์เดอร์จากทั่วโลก โดยเฉพาะจากผู้นำหลายประเทศ รวมถึงดาราเซเลปก็สั่งชาทองคำไปดื่ม เพราะผลวิจัยพบว่าเมื่อร่างกายเรามีทองคำสะสมอยู่ถึงปริมาณหนึ่ง ร่างกายจะสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งได้โดยเองอัตโนมัติ! โห ฟังแล้วตาโต (แต่ไม่มีตังค์ซื้อ!) คุณนีรชา วงศ์มาศา นายกสมาคม TEATA มอบของที่ระลึกน่ารักๆ ให้กับคุณชอยและภรรยา วันเวลาในเกาหลีทำไมช่างผ่านไปรวดเร็วอย่างนี้นะ? เหลืออีกแค่วันเดียวก็ต้องกลับบ้านแล้ว และเราก็มุ่งหน้าเข้าใกล้กรุงโซลเข้าไปทุกทีๆ โปรดติดตามตอนสุดท้าย ว่าสมาชิก TEATA ของเราจะต้องไปผจญภัย หรือพบเจออะไรสนุกๆ อีกบ้าง บ้ายบายสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (TEATA) โทร. 08-3250-9343 (คุณน้ำ)
Leave a Reply
Want to join the discussion?Feel free to contribute!