TEATA พาเที่ยวปีใหม่ รวมใจไปตลาดน้อย

TEATA 1สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย หรือ TEATA ชื่อนี้หลายคนคงคุ้นหูอยู่บ้าง เพราะเป็นหนึ่งในสมาคมสำคัญของวงการท่องเที่ยวไทย ที่มีผลงานชั้นแนวหน้าด้านวิชาการ และทำงานเจาะลึกทั้งเรื่องชุมชน ธรรมชาติ ผจญภัย และเชิงวัฒนธรรมมานานจนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์มากมาย

ในโอกาสต้อนรับปีใหม่ เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2018 สมาคม TEATA จึงได้จัดงานพบปะสังสรรค์ระหว่างสมาชิก แต่จะธรรมดาได้ไง เพราะชาว TEATA เจอกันทีไร ก็ต้องทั้งสนุก เฮฮา และได้ความรู้ไปพร้อมๆ กัน ด้วยการจัดทริปเดินเที่ยวย้อนรอยอดีตย่านการค้าโบราณแห่งสยามริมน้ำเจ้าพระยา บริเวณเขตสัมพันธวงศ์ แถวๆ ตลาดน้อย แล้วนั่งเรือข้ามไปเขตคลองสานฝั่งธนบุรีด้วยล่ะIMG_9698 TEATA 2ชาว TEATA นัดรวมพลกันที่โรงแรม River City ริมแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมฟังบรรยายสรุปจากวิทยากรผู้ทรงภูมิปัญญาอย่างยิ่ง
โบสถ์กาลหว่า 1จุดแรกที่ได้สัมผัสคือ โบสถ์กาลหว่าร์ หรือ วัดแม่พระลูกประคำ (Holy Rosary Church) เป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ทรงโกธิค ตั้งอยู่ที่ซอยวานิช 2 แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กทม. โบสถ์แห่งนี้ไม่ใช่โบสถ์หลังแรก หากแต่เป็นโบสถ์หลังที่สาม ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อทดแทนโบสถ์หลังเดิมที่ถูกทิ้งร้างภายหลังเพลิงไหม้ใหญ่ใน พ.ศ. 2470 โบสถ์ในปัจจุบันสร้างขึ้นโดยคุณพ่อแดซาลส์ ชาวฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2434 ปัจจุบันโบสถ์มีอายุ 126 ปี ถือเป็นโบสถ์เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์โบสถ์กาลหว่า 2ชาวสมาชิก TEATA ชักภาพพร้อมหน้าพร้อมตาด้านหน้าโบสถ์กาลหว่าร์ (โบสถ์กาลวาริโอ้)โบสถ์กาลหว่า 3 โบสถ์กาลหว่า 4ธนาคารไทยพาณิชย์ 1ถัดมาเราก็มาถึง ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย หรือชื่อเดิม แบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด ‘บุคคลัภย์’ (Book Club) เป็นสถาบันการเงินแห่งแรกของประเทศไทย ก่อตั้งโดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2447 หลังจากการขยายตัวของบุคคลัภย์ ‘บริษัท แบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด’ ได้กำเนิดขึ้นจากพระบรมราชานุญาตของล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ให้ดำเนินการเป็นธุรกิจธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของสยามอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2449 จวบจนทุกวันนี้ธนาคารไทยพาณิชย์ 2จากที่ตั้งเดิมของบุคคลัภย์ ที่ตำบลบ้านหม้อ อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร ได้ใช้เป็นที่ทำการชั่วคราวของแบงค์สยามกัมมาจล’ เมื่อกิจการขยายตัวทำให้ต้องมีการขยายออฟฟิศ จึงย้ายธนาคารไปอยู่ที่ ตลาดน้อย’ เพราะทำเลดี เนื่องจากติดแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ใกล้แหล่งค้าขายใหญ่อย่างเยาวราชและสำเพ็ง อีกทั้งยังมีคนไทยและจีนอาศัยอยู่บริเวณนั้นเป็นจำนวนมาก โดยอาคารหลังใหม่นี้เป็นสถาปัตยกรรมตะวันตก ออกแบบโดยนายช่าง Anibale Rigotti และ Mario Tamagno ชาวอิตาเลียน ใช้ทุนสร้างประมาณ 300,000 บาท จนเสร็จสมบูรณ์ แล้วย้ายมาเมื่อ พ.ศ. 2451ตลาดน้อย 1ได้เวลาเดินลัดเลาะตรอกซอกซอยเข้าสู่ ‘ชุมชนตลาดน้อย’ หนึ่งในชุมชนเก่าแก่ที่สุดริมแม่น้ำเจ้าพระยา กำเนิดมาตั้งแต่ก่อนสมัยรัชกาลที่ 1 เลยด้วยซ้ำ ทุกวันนี้จึงมีวิถีชีวิตของชาวจีนเก่าๆ ให้เราได้สัมผัสตลาดน้อย 2 ตลาดน้อย 3 ตลาดน้อย 4 ตลาดน้อย 5 ตลาดน้อย 6บางตรอกซอกซอยของตลาดน้อยยังคมีสถาปัตยกรรมแบบจีนผสมฝรั่งให้ชม โดยจุดนี้เคยเป็นตรอกโรงฝิ่นเมื่อครั้งอดีตตลาดน้อย 7‘บ้านโซวเฮงไถ่’ (หรือ บ้านดวงตะวัน) เป็นหนึ่งในคฤหาสน์ของคหบดีเก่าแก่ อายุกว่า 220 ปี ซึ่งเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมในปัจจุบัน คฤหาสน์นี้สร้างตามสถาปัตยกรรมแบบฮกเกี้ยนแต้จิ๋ว วางผังบ้านแบบคหบดีที่มั่งคั่งในสมัยนั้น ที่เรียกว่า 4 เรือนล้อมลาน ด้านหน้าประตูทางเข้ามีศิลปกรรมฝาผนังแบบจีนให้ชมอย่างวิจิตรงดงามมาก
ตลาดน้อย 8 ตลาดน้อย 9 ตลาดน้อย 10 ตลาดน้อย 11 ตลาดน้อย 12 ตลาดน้อย 13ในชุมชนตลาดน้อย ยังมีบ้านทำหมอนจีนโบราณ หลังสุดท้าย ที่ผลิตหมอนทุกใบด้วยมืออย่างประณีตงดงาม โดยหมอนเหล่านี้จะนำไปใช้ในพิธีมงคลต่างๆ ล้วนสะท้อนความเชื่อ ความศรัทธาของชาวจีนโพ้นทะเล ที่อพยพมาตั้งรกรากพึ่งพระบรมโพธิสมภารบนแผ่นดินสยาม หมอนทุกใบเป็นงาน Handmade ล้วนๆ ต้องช่วยกันอุดหนุนแล้วล่ะ
ตลาดน้อย 14 ตลาดน้อย 15ศาลเจ้าพ่อโจวซือกง เป็นศาลเจ้าใหญ่และศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชุมชนตลาดน้อย ในช่วงเทศกาลถือศีลกินเจจะมีผู้คนนับหลายหมื่นหลั่งไหลเข้ามาสักการะ อีกทั้งมีการแสดงงิ้วที่ถือว่ายิ่งใหญ่ที่สุดของเมืองไทย เป็นประจำทุกปีตลาดน้อย 16 ตลาดน้อย 17ชาวสมาชิก TEATA ชักภาพร่วมกันหน้าศาลเจ้าโจวซือกง ก่อนเข้าไปกราบสักการะขอพรตลาดน้อย 18 ตลาดน้อย 19มุมสุดคลาสิกในชุมชนตลาดน้อย เหมือนได้เดินย้อนอดีตเลยจริงๆคลองสาน 1

จากตลาดน้อยเราเดินทะลุไปถึงชุมชนใน เขตสัมพันธวงศ์ ซึ่งมีชาวจีนอาศัยอยู่มาตั้งแต่ตอนแรกเริ่มกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว โดยผู้คนได้ย้ายมาจากเขตพระนครในปัจจุบัน มีถนนวานิช 1 หรือ ‘ถนนสำเพ็ง’ เป็นศูนย์กลางของชุมชนชาวจีน จวบจนสร้างถนนเยาวราชเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2435 เยาวราชจึงกลายเป็นศูนย์กลางชาวจีนมาแทนจนถึงปัจจุบัน สันนิษฐานกันว่าเขตสัมพันธวงศ์คงตั้งชื่อตามวัดที่ตั้งนั่นเอง (วัดสัมพันธวงศาราม)

คลองสาน 2เดินเตร็จเตร่เข้าไปในชุมชนเขตสัมพันธวงศ์ (ถนนที่จะไปถึงหน้าวัดสัมพันธวงศาราม) ด้านขวามือจะผ่านอาคารพาณิชย์สูง 4 ชั้น ของ บริษัท เจียไต๋ จำกัด ต้นกำเนิดเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ CP ในปัจจุบัน จากถนนเล็กๆ เส้นนี้ถ้าเดินผ่านหน้าวัดสัมพันธวงศาราม ก็จะไปทะลุถึงถนนเยาวราชได้ใกล้นิดเดียว นับเป็นทำเลทองที่มีฮวงจุ้ยดีเลิศ ทำการค้าขายได้ร่ำรวยจากอดีตมาถึงปัจจุบันคลองสาน 3ตึกฝรั่งในเขตวัดสัมพันธวงศารามวัดสัมพันธวงศาราม 1

วัดสัมพันธวงศาราม (หรือ วัดสัมพันธวงศ์) เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก เขตสัมพันธวงศ์ จังหวัดพระนคร เดิมเป็นวัดราษฎร์ มีนามว่า ‘วัดเกาะ’ ไม่ปรากฎว่าผู้ใดเป็นผู้สร้าง ทราบแต่ว่าเป็นวัดโบราณ มีมาตั้งแต่สมัยพระนครศรีอยุธยาก่อนสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานี ในอดีตวัดสัมพันธวงศ์เป็นวัดที่มีน้ำล้อมรอบบริเวณที่ตั้งวัด จึงเรียกว่า ‘วัดเกาะ’

วัดสัมพันธวงศาราม 2ในสมัยรัชกาลที่ 3 ด้านหน้าวัดเกาะมีโรงพิมพ์ของบุคคลผู้มีชื่อเสียงมากจนถึงทุกวันนี้ คือ หมอบรัดเลย์ (แดเนียล บีช แบรดลีย์) ซึ่งชาวสยามในยุคนั้นเรียกทับศัพท์ว่า ‘หมอปลัดเล’ เป็นนายแพทย์ชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในสยาม และยังเป็นผู้เริ่มต้นการพิมพ์อักษรไทยในสยามเป็นครั้งแรก และทำการผ่าตัดในสยามเป็นครั้งแรกด้วย ท่านจึงเป็นบุคคลที่มีคุณูปการต่อสยามอย่างยิ่ง แม้ว่าการพิมพ์ครั้งแรกนั้นจะเป็นเอกสารเกี่ยวกับการเผยแพร่คริสตศาสนาก็ตามที วัดสัมพันธวงศาราม 3วัดปทุมคงคา 1ใกล้เที่ยงแล้ว แต่สมาชิก TEATA ก็ยังไม่หมดแรง พากันไปเที่ยวชม ‘วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร’ พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งพระนคร ถนนทรงวาด ติดต่อกับถนนสำเพ็ง แขวงสัมพันธวงศ์ เดิมชื่อ ‘วัดสำเพ็ง’ ตามชื่อถนนหน้าวัด ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 พระราชทานนามใหม่ว่า ‘วัดปทุมคงคา’

วัดนี้มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา รัชกาลที่ 1 เมื่อครั้งแรกสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าฯ ให้พระยาธรรมาธิกรณ์ (บุญรอด บุณยรัตพันธ์) กับพระวิจิตรนาวี เป็นแม่กองคุมช่างและไพร่ไปกะที่สร้างพระนครใหม่ ณ ฝั่งตะวันออก โปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชาเศรษฐี และคนจีนย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สวน ตั้งแต่คลองวัดสามปลื้ม (วัดจักรวรรดิราชาวาส) ไปจนถึงคลองวัดสำเพ็ง (วัดปทุมคงคา) และเห็นว่าเป็นวัดโบราณที่ทรุดโทรมมาก สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมใหม่ทั้งวัด จากนั้นรัชกาลที่ 1 จึงพระราชทานนามใหม่ว่า ‘วัดปทุมคงคา’วัดปทุมคงคา 2ภายในวัดปทุมคงคา มีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองสีขาวสะอาดนับสิบองค์เรียงรายอยู่โดยรอบ กล่าวกันว่าในเขตเกาะรัตนโกสินทร์มีเพียงไม่กี่วัดที่มีลักษณะนี้ เพราะต้องเป็นวัดที่สำคัญจริงๆ เท่านั้นวัดปทุมคงคา 3ภายในพระอุโบสถวัดปทุมคงคา ประดับประดาด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังยุคต้นรัตนโกสินทร์ สังเกตได้จากภาพเทพชุมนุมบนฝาผนังสองด้าน อันเป็นลักษณะจำเพาะของช่วงรัชกาลที่ 1-3วัดปทุมคงคา 4 วัดปทุมคงคา 5 วัดปทุมคงคา 6ระเบียงคดสี่ด้านรอบโบสถ์วัดปทุมคงคา มีพระพุทธรูปปางต่างๆ นับร้อยองค์ประดิษฐานไว้ให้สักการะวัดปทุมคงคา 7ถ้าสังเกตให้ดี จะพบช่องบรรจุอัฐิของ ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และภริยา อยู่ที่ช่องเก็บในระเบียงคดวัดปทุมคงคานี้เอง ใครที่อยากรำลึกและแสดงความเคารพในคุณงามความดีของท่าน ก็ขอเชิญมาได้นะวัดปทุมคงคา 8หินประหาร คือหินก้อนใหญ่ที่นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานกันว่า น่าจะใ้ช้เป็นหินสำเร็จโทษเจ้านายที่กระทำความผิดร้ายแรงในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยเป็นเจ้านายพระองค์สุดท้ายของสยามที่ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทร์TEATA งานเลี้ยงปีใหม่ 1เดินเที่ยวกันมากว่าครึ่งวัน ตอนนี้ก็เริ่มหมดแรงแล้ว ได้เวลาเข้าห้องแอร์เย็นฉ่ำ กินเลี้ยงปีใหม่ในสไตล์ TEATA นอกจากสมาชิกของสมาคมเองแล้ว ยังมีพันธมิตรที่ดีจาก สกว. , CBTI , KTC , สื่อมวลชน และอื่นๆ อีกมากมาย ทำให้บรรยากาศการรรับประทานอาหารเที่ยงในวันนั้น เป็นไปอย่างอบอุ่นอย่างยิ่ง โดยมี คุณนีรชา วงศ์มาศา นายกสมาคม TEATA กล่าวต้อนรับเพื่อนพ้องน้องพี่ทุกคนTEATA งานเลี้ยงปีใหม่ 2 TEATA งานเลี้ยงปีใหม่ 3 TEATA งานเลี้ยงปีใหม่ 4ระหว่างรับประทานอาหาร ยังมีการจับแจกลุ้นโชคของรางวัลรับปีใหม่ 2018 อย่างสนุกสนานTEATA งานเลี้ยงปีใหม่ 5 TEATA งานเลี้ยงปีใหม่ 6วัดทองธรรมชาติ 1อิ่มหนำกันถ้วนหน้าจากอาหารเที่ยงแสนอร่อยที่ถนนเยาวราช เราก็เดินย้อนมาลงเรือข้ามฟาก ข้ามจากฝั่งกรุงเทพฯ ไปยังเขตคลองสาน ฝั่งธนบุรีวัดทองธรรมชาติ 2เราข้ามเรือมาสู่ วัดทองธรรมชาติวรวิหาร (ชาวบ้านเรียกกันสั้นๆ ว่า ‘วัดทองธรรมชาติ’) ถนนสมเด็จเจ้าพระยา แขวงวัดทองนพคุณ เขตคลองสาน กรุงเทพฯ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเยื้องฝั่งลำน้ำกับวัดปทุมคงคา วัดนี้เป็นวัดโบราณไม่ปรากฏว่าสร้างมาแต่สมัยใดและใครเป็นผู้สร้าง แต่เรียกกันว่า ‘วัดทองบน’ เนื่องจากมีวัดทองตั้งอยู่ใกล้กัน 2 วัดวัดทองธรรมชาติ 3 วัดทองธรรมชาติ 4

สันนิษฐานว่า วัดทองธรรมชาติ อาจสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ประมาณ พ.ศ. 2330 พระองค์เจ้าหญิงกุ (ต่อมา คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนรินทรเทวี) ซึ่งคนทั้งหลายขานพระนามว่า ‘เจ้าครอกวัดโพธิ์’ พระขนิษฐาในรัชกาลที่ 1 พร้อมด้วยกรมหมื่นนรินทรพิทักษ์พระภัสดา ทรงมีพระศรัทธาบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างอุโบสถ วิหาร และเสนาสนะวัดทองบนขึ้นใหม่ทั้งวัด กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ทรงวางผังสร้างอุโบสถใหม่โดยขยายให้กว้างขึ้นและย้ายสถานที่ตั้งใหม่ให้เหมาะสม
ในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประธานปางมารวิชัย ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานนามแก่พระประธานองค์นี้ว่า ‘พระพุทธชินชาติมาศธรรมคุณ’

วัดทองธรรมชาติ 5สิ่งที่ห้ามพลาดชมด้วยประการทั้งปวงในวัดทองธรรมชาติ คือภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างชั้นครู ที่ถือว่าเป็น 1 ใน 10 ภาพจิตรกรรมฝาผนังของยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่ยังสมบูรณ์ที่สุด โดยส่วนใหญ่วาดเป็นภาพพุทธประวัติในตอนต่างๆ นับเป็นสมบัติล้ำค่าของชาติที่เราต้องช่วยกันหวงแหนวัดทองธรรมชาติ 6 วัดทองธรรมชาติ 7 วัดทองธรรมชาติ 8ผ้าพระบฎอายุนับร้อยปีใส่ไว้ในกรอบทองประดับเหนือประตูหน้าต่างทุกบาน ของพระอุโบสถวัดทองธรรมชาติ คืออีกหนึ่งมรดกแห่งแผ่นดินที่เราต้องช่วยกันรักษาล้ง 1

ทริปแสนสนุกในวันนี้ของ TEATA จบลงอย่าง Happy ที่ ‘ล้ง 1919’ โกดังสินค้าเก่าที่ได้รับการปรับโฉมใหม่ กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เปรียบเสมือนท่าเรือประวัติศาสตร์ศิลป์ไทย-จีน ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เขตคลองสาน ฝั่งธนบุรี นี่คือจุดเชื่อมความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกว่า 167 ปีแล้ว

ล้ง 2 ล้ง 3 ล้ง 4 ล้ง 5 ล้ง 6.1 ล้ง 6 ล้ง 7 ล้ง 8 ล้ง 9 ล้ง 10แม้วันนี้ทริปจะจบลงและเราต้องจากกัน แต่แน่นอนว่า ความผูกพันอันเหนียวแน่นของพี่น้องชาว TEATA ยังคงอยู่ เราจะกลับมาพบกันใหม่ เพื่อสรรค์สร้างกิจการงานดีๆ แก่วงการท่องเท่ียวไทย และผืนดินไทย ผืนดินที่เราเรียกว่าบ้านอันเป็นที่รักของเราทุกคน Happy New Year 2018 จ้าIMG_9698สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ TEATA เลขที่ 608/10 ชั้น 1 อาคารบี คอนโดเอสเปซ ถนนอโศก-ดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2006-0770, 08-3250-9343

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *