Tana Toraja Land of Life & Dead, Indonesia
สุลาเวสี (Sulawesi) ชื่อนี้หลายคนอาจไม่คุ้นเคย แต่ถ้าจับแผนที่หมู่เกาะของประเทศอินโดนีเซียมากางดู จะรู้ว่าสุลาเวสี คือหนึ่งในเกาะใหญ่ที่สุดทางตะวันออกของอินโดนีเซีย อยู่ถัดจากเกาะชวา เกาะบาหลี และลอมบอก ออกไป เกาะนี้เป็นแหล่งปลูกข้าวสำคัญ เพราะมีดินภูเขาไฟอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งมีเทือกทิวเขาสลับซับซ้อน มีภูเขาสูงเกินพันเมตรหลายลูก อากาศเย็นฉ่ำ กลายเป็นแหล่งปลูกกาแฟ โกโก้ วานิลลา และที่สำคัญคือ สุลาเวสียังได้ชื่อว่าเป็น “หมู่เกาะเครื่องเทศ” ในอดีตอีกด้วย
เมื่อเดินทางไปถึงตอนใต้ของเกาะสุลาเวสี ที่บริเวณ Tana Toraja เราจะได้ชื่นชมวิถีชีวิตการปลูกข้าว ที่ผูกพันกับผู้คนมาหลายร้อยปี
และแน่นอนว่า เมื่อมีการเกษตรกรรมปลูกข้าว ควายก็คือเพื่อนแสนดีที่ชาวนาใน Tana Toraja สนิทที่สุด ทว่าด้วยความเชื่อในเรื่อง ‘ชีวิตหลังความตาย’ ควายจึงถูกนำไปเปรียบเสมือนพาหนะที่จะนำพาวิญญาณของผู้วายชนม์ไปสู่สุขติ ใน Tana Toraj จึงมีการบูชายัญควายในพิธีศพด้วย อีกทั้งยังมี ‘ตลาดควาย’ หรือ Buffalo Market ที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย ทุกวันเสาร์และวันอังคาร จะมีควายหลายพันตัวมาสู่ตลาดซื้อขายนี้เอกลัษณ์อย่างหนึ่งของชาว Torajan ที่อาศัยอยู่ในเขต Tana Toraja ของเกาะสุลาเวสีตอนใต้ ก็คือการสร้างบ้านหลังคาโค้งหน้าจั่วแหลมสูงที่เรียกว่า ‘ตองโกนัน’ (Tongkonan) โดยเหตุที่เขาต้องสร้างหลังคาในลักษณะนี้ก็เพราะ บรรพบุรุษของชาว Torajan ได้ล่องเรืออพยพมาจากกัมพูชาและจีนตอนใต้ เมื่อมาถึงเกาะสุลาเวสี ก็ล่องเรือลึกเข้ามาในแผ่นดินตามแม่น้ำสายใหญ่ และเมื่อเริ่มตั้งรกรากฐาวร ไม่อาศัยอยู่ในเรืออีกแล้ว จึงสร้างตัวแทนเรือไว้เป็นหลังคาบ้านแบบนี้ล่ะครับ โดยบ้านรุ่นเก่าจะมุงหลังคาด้วยไม้ไผ่และฟาง ส่วนเสาบ้านใช้ต้นปาล์มป่า หรือไม้เนื้อแข็งสี่เหลี่ยม บนบ้านมีไม่เกิน 4 ห้อง อาศัยอยู่ได้แค่ 4-5 คน
หมู่บ้านปาลาวา (Palawa Village) เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่สุดของชาว Torajan ซึ่งยังมีบ้าน Tonganan ในลักษณะดั้งเดิมให้ชมหลายสิบหลัง ด้านนอกตัวบ้านจะมีการสลักไม้เป็นลวดลายต่างๆ ทั้งพระจันทร์ พระอาทิตย์ ไก่ ทุ่งนา ควาย ฯลฯ ล้วนสะท้อนถึงวิถีชีวิตเกษตรกรรม อีกทั้งเมื่อมีคนในบ้านเสียชีวิตลง ช่วงแรกเขาก็จะเก็บศพไว้ในบ้าน ทำทีว่าผู้นั้นยังมีชีวิต มีการจัดข้าวปลาอาหารเลี้ยงดูปกติ จากนั้นก็จะห่อศพคล้ายมัมมี่เก็บไว้ โดยในพิธีศพจะมีการเชือดควายบูชายัญมากน้อยตามฐานะผู้ตายทิวเขา สายหมอก ป่าไม้ บ้าน Tongonan วัวควาย และทุ่งนา คือลมหายใจและจิตวิญญาณที่แท้จริงของ Tana Torajaรีสอร์ทบางแห่งสร้างห้องพักเลียนแบบบ้าน Tongonan อันมีเอกลักษณ์
ชาว Torajan ในปัจจุบันปรับตัวมาใช้ชีวิตแบบคนเมืองแล้ว ส่วนใหญ่เปิดให้ท่องเที่ยว และขึ้นชมบ้านได้ รวมทั้งจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองที่หาชมที่อื่นไม่ได้แน่นอนการเต้นรำพื้นเมืองแบบ Torajan หาชมได้เฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญ หรือในโรงแรมใหญ่ๆสาว Torajan ดูแทบไม่ออกเลยว่าบรรพบุรุษของเธอคือชาวกัมพูชา และคนจีนตอนใต้ที่อพยพสู่เกาะสุลาเวสีการเดินทางจากเมืองไทยไป Tana Toraja บนเกาะสุลาเวสีไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินไป ช่วงแรกต้องบินจาก กทม.-จาการ์ต้า แล้วเปลี่ยนเครื่องภายในประเทศ จาการ์ต้า-มาคาซาร์ (Makassar) จากนั้นต้องนั่งรถยนต์อีก 300 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 8-10 ชั่วโมง จนถึงเขต Tana Toraja ตรงจุดกึ่งกลางครึ่งทางมีร้านกาแฟให้นั่งแวะพัก บริเวณ ภูเขาโนน่า (Gunung Nona)เมื่อถึงเขต Tana Toraja ก็จะต้องผ่านเข้าสู่ประตู Toraja Gate เสียก่อน
ก่อนที่จะเดินทางถึง เมืองมาคาเล่ (Makale) เมืองหลวงของ Tana Toraja เราจะผ่านหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ทางสถาปัตยกรรม และความศรัทธาของชาวคริสต์ที่นี่ (เนื่องจากคนเกิน 60 เปอร์เซนต์ ของ Toraja ปัจจุบันนับถือศาสนาคริสต์) คือ ‘รูปปั้นพระเยซูคริสต์แห่งมานาโด้’ (Jesus of Manado) ซึ่งมีความยิ่งใหญ่ไม่แพ้รูปปั้นพระเยซูคริสต์ที่บราซิลเลยแม้แต่น้อยลงจากยอดเขา Jesus of Lemo สู่ ตัวเมือง Makale เพื่อเดินทางต่อไปยังเขตทะเลภูเขาสลับซับซ้อนของ Tana TorajaLand Above the Cloud หรือ แผ่นดินสูงเหนือเมฆ คือจุดชมวิวสวยที่สุดในยามเช้าของเขต Toraja จาก Land Above the Cloud มองลงไปเบื้องล่าง งามไม่ต่างจากสวรรค์!
ที่ Land Above the Cloud มีจุดกางเต็นท์และจุดชมวิวให้นักท่องเที่ยวเลือกหลายแห่ง วิวตรงหน้าก็จะงามต่างกันไป
ด้วยความสูงไม่ต่ำกว่า 1,300-1,600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ทำให้ภูเขาในแถบ Tana Toraja กลายเป็นแหล่งปลูกกาแฟอะราบิก้าคุณภาพดีที่สุดแห่งหนึ่งของอินโดนีเซีย ส่งออกไปทั่วโลกต้องหากาแฟ Toraja Cofee ร้อนๆ ดื่มแก้หนาวกันหน่อยล่ะกาแฟ และผงโกโก้เข้มข้น ที่นี่หาซื้อง่าย แม้แต่ใน ตลาดเช้า หรือ Morning Market ก็มีให้เลือกซื้อเพียบบรรยากาศตลาดเช้าของเมือง Makale คึกคักทุกวัน พืชผักผลไม้มีให้เลือกซื้อหลากหลายจริงๆ สะท้อนถึงความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดินการจะเข้าถึง Tana Toraja ให้ได้แบบถึงกึ๋นลึกซึ้ง เราต้องไปเยี่ยมชมสถานที่เกี่ยวกับ ‘ชีวิตหลังความตาย’ กันหน่อย! อย่าเพิ่งตกใจ เพราะคนที่นี่เขามองเรื่อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นของธรรมดา เหมือน Cycle of Life นั่นล่ะ ที่ Tana Toraja จะไม่มีการเผาศพหรือฝังศพเด็ดขาด แต่จะใช้วิธีห่อศพคล้ายมัมมี่ แล้วนำไปเก็บไว้ตามถ้ำ ตามหน้าผา หรือสร้างบ้าน Tongonan หลังเล็กๆ เก็บไว้แทน เพื่อให้ลูกหลานได้รำลึกถึงบรรพบุรุษ อย่างที่ ‘ถ้ำลีโม่’ (Lemo Cave) จะมีการเจาะโพรงไว้บนหน้าผาสูงชัน หรือนำศพคนตายไปเก็บไว้ในถ้ำต่างๆหน้าผาเก็บศพแห่งลีโม่ มีการแกะสลักตุ๊กตาไม้ตัวแทนผู้ตาย ให้คนที่ยังอยู่ได้รำลึกถึง ตุ๊กตาเหล่านี้มีขนาดเท่าคนจริง เรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า ‘เตา-เตา’ (Tao-Tao)ที่ ‘หมู่บ้านทัมปัง อัลโล’ (Tampang Allo Village) มีต้นไม้โบราณอยู่ต้นหนึ่ง ซึ่งชาวบ้านใช้เก็บศพเด็กทารกที่ตายก่อนจะมีฟันน้ำนมขึ้น โดยเขาจะนำศพเด็กห่อผ้าเหมือนมัมมี่ นำไปใส่ไว้ในโพรงต้นไม้ เพราะต้นไม้นี้มียางขาวคล้ายน้ำนม วิญญาณเด็กจะได้ดื่มน้ำนมแล้วมาเกิดใหม่ มันจึงกลายเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ที่ไม่มีการเก็บกินผลเด็ดขาด ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงต้นเดียว ภายในบรรจุศพเด็กทารกไว้หลายสิบศพ
ที่หมู่บ้าน Tampang Allo ยังมีอีกหนึ่งสถานที่น่าขนลุกซึ่งไม่ควรพลาดชม นั่นคือ ‘ถ้ำเก็บศพแห่งทัมปัง อัลโล่’ ภายในถ้ำขนาดใหญ่ที่เย็นชื้นและโบราณนี้ เต็มไปด้วยหัวกะโหลก โครงกระดูก โลงศพไม้โบราณ และตุ๊กตาเตา-เตา นับร้อยๆ ตัว วางระเกะระกะอยู่ทั่วไปในทุกซอกหลืบ บ้างแขวนอยู่บนเพิงผาหินปูนสูงชัน ปัจจุบันเหลือถ้ำเก็บศพลักษณะนี้อยู่ใน Tana Toraja เพียงไม่กี่แห่ง โดยส่วนใหญ่จะเป็นศพของชนชั้นปกครองหรือคนรวยภายในถ้ำเก็บศพทัมปัง อัลโล่ คือที่พำนักสุดท้ายอันสงบสงัดของผู้วายชนม์!ตุ๊กตาเตา-เตา ภายในถ้ำเก็บศพทัมปัง อัลโล่
หากคุณมีโอกาส และต้องการเดินทางสู่ดินแดนแปลกใหม่ ไม่น่าเชื่อว่าจะมีอยู่ในโลก หรือต้องการผจญภัยในดินแดนห่างไกลที่แทบจะไม่เคยมีใครย่างเหยียบไปถึง เราขอแนะนำ ดินแดน Tana Toraja แห่งเกาะสุลาเวสี ที่สุดแห่งการเดินทางครั้งหนึ่งในชีวิต!
Leave a Reply
Want to join the discussion?Feel free to contribute!