นั่งรถไฟ KIHA 183 สืบสาน รักษา ต่อยอด @เขาชะงุ้ม จ.ราชบุรี
เรื่อง/ภาพ สุเทพ ช่วยปัญญา สำนักข่าวท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดราชบุรี สมาพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย (สสทท.) สมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไ
คุณสัญชัย สวัสดี หัวหน้างานโฆษณาและส่งเสริมการท่องเที่ยว การรถไฟแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย คุณจุไรรัตน์ ชัยทวีทวัทรัพย์ รองผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานราชบุรี และ คุณกันตพงษ์ ธนเนืองโรจน์ นายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย (สธทท.) ร่วมต้อนรับนักท่องเที่ยว “นั่งรถไฟ KIHA 183 สืบสาน รักษา ต่อยอด @เขาชะงุ้ม ราชบุรี” สถานีจุฬาลงกรณ์ ราชบุรี “นั่งรถไฟ KIHA 183 สืบสาน รักษา ต่อยอด @ เขาชะงุ้ม ราชบุรี” ทริปนี้ไม่ได้เป้น One Day Trip เหมือนที่เพชรบุรี และกาญจนบุรี แต่เป็นแบบค้าง 1 คืน 2 วัน รถไฟ KIHA 183 มาถึง สถานีจุฬาลงกรณ์ ราชบุรี ในเวลา 9.30 น. นักท่องเที่ยวจำนวน 200 คน เต็มทุกที่นั่ง ทยอยลงจากรถไฟ เพื่อเดินไปขึ้นรถบัส 5 คัน จอดรออยู่แล้วที่ข้างสถานี โดยมีเจ้าหน้าการรถไฟช่วยนักท่องเที่ยวขนกระเป๋า ชี้ป้ายบอกทางไปยังรถบัส แยกตามสีป้ายคล้องคอที่ได้รับต้อนลงทะเบียนในตอนเช้า โครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม ตามพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 จุดแรกที่มาถึงก็คือ โครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม ตามพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 นักท่องเที่ยวแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ขึ้นรถรางเข้ารับฟังการบรรยายในห้องประชุม ถึงประวัติความเป็นมาที่ได้รับบริจากมา เดิมเป็นบ่อดินลูกรังที่ถูกหน้าดินขายไปหมดแล้ว วัถตุประสงค์เพื่อทำการทดลองฟื้นฟู บำรุงดิน ให้กลับมาใช้เพาะปลูกได้ และทำกิจกรรมปลูกหญ้าแฝก ในโครงการฯ ส่วนกลุ่มที่ 2 รวมกลุ่มกันถ่ายรูปหมู่กับป้ายหน้าโครงการฯ เสร็จแล้วใครจะถ่ายรูปเช็คอินส่วนตัวก็เชิญตามสบาย จากนั้นก็นั่งรถราง ชมฐานกิจกรรมต่างๆของโครงการฯ อ่างเก็บน้ำเขาชะงุ้ม ต้นไม้ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงปลูก และแวะถ่ายรูปหมู่กันที่ฐานปลูกผักสวนครัวกันอีก 1 จุด มื้อกลางวันทานอาหารท้องถิ่นแบบโต๊ะไทย นั่งรถรางชมฐานกิจกรรมต่างๆเสร็จแล้วก็ได้เวลา มื้อกลางวันทานอาหารท้องถิ่นแบบโต๊ะไทย เมนูประกอบไปด้วย น้ำพริงกะปิชะอมชุบไข่ทอด แกงคั่วหมูผักทอง ไข่พะโล้หมูเต้าหู้ ปลานิลทอดสมุนไพร และผัดผักรวมมิตรน้ำมันหอย ปิดท้ายด้วยของหวานกล้วยบวชชี อร่อยรสชาติ แบบท้องถิ่น ทุกเมนู กิจกรรมปลูกหญ้าแฝก ป้องกันหน้าดินพังทะลาย หลังอาหารมื้อกลางวัน นักท่องเที่ยวร่วมกันทำกิจกรรม ปลูกหญ้าแฝก ป้องกันหน้าดินพังทะลาย ตามพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 เจ้าหน้าที่โครงการฯ ได้เตรียมต้นกล้าหญ้าแฝกต้นเล็ก อยู่ในถุงดำเล็กวางเรียงรายอยู่ในร่องดินที่เจ้าหน้าที่ขุดเตรียมไว้ พร้อมปลูก นักท่องเที่ยวลงจากรถราง มาถึงก็ต้องเช็คอินถ่ายรูปกับต้นกล้าหญ้าแฝกเพื่อลงโซเซียนกันก่อน เพียงแค่แกะถุงดำออกให้เหลือแต่ต้นกล้าหญ้าแฝก แกะเสร็จก็วางลงไปในร่อง แล้วเอาดินที่ขุดเป็นร่องอยู่ข้างๆกลบต้นกล้าลงไป ใครจะปลูกกี่ต้นก็ได้ตามอำเภอใจ จากนั้นก็ไปเอาฝักบัวรดน้ำมารดให้ต้นกล้าได้ชุ่มช่ำสดชื่น มีน้ำเพียงพอในการฟื้นตัว หลังจากที่นักท่องเที่ยวปลูกหญ้าแฝกเสร็จกลับไปแล้ว แต่เจ้าหน้าก็ยังต้องดูแลให้หญ้าแฝกเจริญเติบโตต่อไปได้ อุทยานหินเขางู แหล่งระเบิดหินเก่ากลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว อุทยานหินเขางู ตั้งอยู่ที่ ตำบลเกาะพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เดิมเป็นแหล่งระเบิดหินเอาไปทำปูนซีเมนต์ และทำหินผสมคอนกรีต มาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาภาครัฐและเอกชนมีมติให้ยกเลิกสัมปทานระเบิดหิน เพราะสภาพภูมิประเทศในบริเวณนั้นเสื่อมโทรมลงอย่างมาก เกิดเป็นแอ่งน้ำลึกไปตาม 5 ล่องเขา ต่อทางจังหวัดราชบุรีจึงได้พัฒนาเขางูให้เป็นสวนสาธารณะ และสถานที่ท่องเที่ยว แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น อุทยานหินเขางู เช้าวันใหม่นักท่องเที่ยวทานอาหารเช้าที่โรงแรมเรียบร้อยแล้ว ก็เดินทางมาที่ อุทยานหินเขางู เพื่อมาถ่ายรูปหมู่ กันบนสะพานแขวงสัญลักษณ์ของอุทยานหินเขางู เสร็จแล้วก็แยกย้ายกันไปท่องเที่ยวตามจุดต่างๆของอุทยานฯ ซึ่งก็มีหลายจุดให้ท่องเที่ยว บางกรุ๊ปก็เดินเที่ยวชมธรรมชาติสวยงามไปตามเทรล จะเช่าเรือถีบล่องแอ่งน้ำเพลินๆ หรือซื้ออาหารปลาเลี้ยงปลาคราฟก็ได้ กราบพระรับพรมน้ำมนต์ที่ ถ้ำฤาษีเขางู ในบริเวณ อุทยานหินเขางู ยังมี ถ้ำฤาษีเขางู ให้นักท่องเที่ยวได้มากราบพระรับพรมน้ำมนต์ได้อีกจุดหนึ่ง ด้านหน้ามีพระพุทธรูปสลักหินปางลีลาขนาดใหญ่ เต็มพื้นที่หน้าผา สร้างจากการยิงแสงเลเซอร์ลงบนหน้าผาหินให้เป็นรูปองค์พระแบบนูนตำ่ ลงรักปิดทองเหลืองงามตา เหนือพระเศียรประดับด้วยฉัตรเงิน 8 ชั้น ด้านข้างองค์พระใหญ่มีศาลเจ้าพ่อเขางู ให้กราบบูชาก่อนถึงไปยังถ้ำฤาษี ภายถ้ำฤาษี มีพระพุทธรูปสลักหินนูนต่ำ สมัยทราวดี 2 องค์ มีพระพุทธรูปปางแสดงธรรม และปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ อยู่ที่ผนังถ้ำ นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังขอพรรับพรมน้ำมนต์จากพระสงฆ์ ที่มาจำวัดอยู่ในถ้ำนี้ได้ด้วย ถวายเทียนพรรษา วัดหนองหอย ช่วงบ่ายคณะนักท่องเที่ยวไปร่วมกันถวายเทียนพรรษาที่ วัดหนองหอย เนื่องจากวันเข้าพรรษาในวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 ที่จะเวียนมาถึง ทางวัดได้จัดเก้าอี้ให้นักท่องเที่ยวนั่งทำกิจกรรมทางสงฆ์ได้อย่างสะดวกสบาย นายสัญชัย สวัสดี หัวหน้างานโฆษณาและส่งเสริมการท่องเที่ยว การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นประธานถวายเทียนพรรษา นางสาวจุไรรัตน์ ชัยทวีทวัทรัพย์ รองผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ถวายเครื่องอัฐบริขาร ตัวแทนคณะนักท่องเที่ยวถวายเงินบริจาค จากนักท่องเที่ยว เป็นจำนวนเงิน 27,100 บาท เสร็จแล้วถ่ายรูปหมู่กันที่บันไดหน้าศาลาการเปรียญ วัดหนองหอยเป็นอันเสร็จพิธี ดื่มกาแฟยามบ่าย @ KON RUK SUAN CAFE เสร็จจากถวายเทียนพรรษาแล้วก็มาพัก ดื่มกาแฟยามบ่าย @ KON RUK SUAN CAFE กันได้ตามอัธยาศัย ใครใคร่ดื่ม อเมริกาโน เอสเปรสโซ ลาเต้ คาปูชิโน ชาเขียว ร้อนเย็น มีให้เลือกดื่มหลากหลายเมนู ภายในบริเวณร้านก็มีมากหลายบรรยากาศ ร้านเมนหลักรับออเดอร์ลูกค้ากว้างขวางใหญ่โต รองรับลูกค้าได้อย่างเพียงพอ ตัวอาคารติดกระจกโดยรอบให้ความโปร่งสบาย นอกจากนี้ยังมีห้องต่างๆให้ลูกค้าเลือกใช้บริการได้หลายรูปแบบ บรรยายกาศแบบการ์เดน นั่งทานกาแฟในสวน ก็มีให้นั่งถ่ายรูปเก๋ๆได้หลายมุม ขอพรเจ้าแม่กวนอิม วัดหนองหอย ราชบุรี ตรงข้ามวัดหนองหอยมี หอเจ้าแม่กวนอิม ให้นักท่องเที่ยวไปกราบขอพร ให้ชาวพุทธมามกะมาถือศิลกินเจ และมีอาหารเจให้ทานฟรี ทานเสร็จจะใส่ตู้บริจาคได้ตามกำลังศรัทธาก็สามารถทำได้ ภายใน หอเจ้าแม่กวนอิม มีรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมอยู่หลายองค์ ให้นักท่องเที่ยวได้กราบขอพรอย่างทั่วถึง ทั้งองค์ใหญ่องค์เล็ก มีรูปปั้นหลวงปู่ทวด พระสังกัจจายน์ให้นักเที่ยวเสี่ยงทายโยนเหรียญ และสุดท้ายก็คือจุดชมวิวที่มองได้กว้าง 180 องศา สวยงาม ช้อปสินค้าโอท็อป กาดวิถีชุมชนคูบัว ปิดท้ายทริปนี้ด้วยการมาซื้อของฝากที่ กาดวิถีชุมชนคูบัว ตั้งอยู่ในบริเวณ วัดโขลงสุวรรณคีรี อ.เมือง จ.ราชบุรี ลงจากรถบัสแล้วก็มาถ่ายรูปกับพระพุทธปางสมาธิองค์ใหญ่ ที่อยู่หน้ากาดกันก่อน ทางขวาของกาดยังมี เมืองโบราณคูบัว ให้นักท่องเที่ยวมาถ่ายรูปกันอีก 1 จุด เมืองโบราณคูบัวเป็นเมืองเก่าสมัยทราวดี ทรงสี่เหลี่ยมพื้นผ้า มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ขุดค้นพบประติมากรรมปูนปั้น และดินเผา ที่ใช้ประดับอาคาร เช่น พระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ เทวดาหรือบุคคลชั้นสูง ปัจจุบันจัดแสดงอยู่พิพพธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ก่อนเข้ากาดก็ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกันอีกแล้ว ภายตลาดมีการแสดงย้อนยุคไทยวนบนเวที สินค้าโอท๊อปในชุมชนให้เลือกซื้อหลากหลาย อาหารก็มีผัดไทยกระธงดอกบัว ขนมจีนน้ำยาไข่ต้ม แต่ที่นักท่องเที่ยวตามหากันก็คือร้านหัวไชโป๊ราชบุรี เจอร้านแล้วปรากฏว่านักท่องเที่ยวพากันซื้อเหมาหมดร้านเรียบร้อย “นั่งรถไฟ KIHA 183 สืบสาน รักษา ต่อยอด @ เขาชะงุ้ม ราชบุรี” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 22-23 กรกฎาคม 2566
ติดตามข่าวสาร จองทริปต่อไปของรถไฟ KIHA 183 และสามารถโหลดรูปที่เจ้าหน้าที่การรถไฟถ่ายให้ในทริปนี้ ได้ทางเพจ Feacbook ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
Leave a Reply
Want to join the discussion?Feel free to contribute!