รมช.กระทรวงศึกษธิการ เดินหน้าหลักสูตร Coding หนุนเด็กไทยสู่ศตวรรษที่ 21

เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2562 คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แถลงนโยบายหนุนหลักสูตร Coding เพื่อพัฒนาคนไทยก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 พร้อมพัฒนาหลักสูตรให้เป็นรูปธรรม ให้ทันโลกยุคดิจิทัล และเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

หนึ่งในภารกิจสำคัญที่กำลังมีการทำอย่างเร่งด่วน การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพคนไทยทุกช่วงวัย โดยเป้าหมายแรกที่จะผลักดันให้ประสบความสำเร็จคือ การเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ หรือ โค้ดดิ้ง (Coding) ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา เพื่อมุ่งหมายที่จะเสริมสร้างทักษะการใช้ชีวิตสู่ระบบ มีเหตุ มีผล และมุ่งหวังให้เยาวชนไทยใช้ชีวิตก้าวทันโลกในศตวรรษที่ 21
รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ Coding โดยกำหนดไว้ในนโยบายการศึกษาของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภาไปแล้ว และกระทรวงศึกษาธิการก็มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการสื่อสารภาษาต่างๆ ของเด็กไทย ทั้งภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ ตลอดจนภาษาคอมพิวเตอร์ หรือ Coding ซึ่งเป็นทักษะภาษาใหม่ที่จะใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีในอนาคต ทำให้เข้าใจการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) และหุ่นยนต์ สอดคล้องกับการเตรียมกำลังคนของไทย ให้มีทักษะเท่าทันโลกยุคดิจิทัล มีอาชีพ ตลอดจนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
นอกจากความรู้ด้านภาษาไทยและภาษาอังกฤษแล้ว เด็กไทยต้องมีความรู้ภาษคอมพิวเตอร์ หรือ Coding ด้วย ซึ่งเป็นทักษะใหม่ในยุคนี้และเด็กสามารถเรียนรู้ได้ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา เพื่อให้เกิดทักษะที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันที่เรียกว่า ‘Coding for all , all for coding’ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่าจะเริ่มนำร่องสอนภาษา Coding ในเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยจะมีการอบรมครูสอน Coding จำนวน 1,000 คน ในเดือนตุลาคมนี้ พอเปิดเทอมในเดือนพฤศจิกายนก็สามารถสอนได้เลย กระทรวงศึกษาธิการพร้อมขับเคลื่อน Coding ทั้งในเรื่องอุปกรณ์และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญจากสถาบันการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) การเรียนการสอน Coding จะเริ่มขึ้นในชั้น ป. 1-3 ก่อน เป็นการเรียนการสอนที่ไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์เรียกว่า Unplugged Coding แล้วจะขยายผลต่อไปในอนาคตคำว่า Coding ไม่ได้พูดถึงเพียงแค่การป้อนชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ Coding เป็นสิ่งที่จะทำให้เด็กไทยมีทักษะใช้ชีวิตรอบด้าน

C-Creative Thinking คือความคิดสร้างสรรค์

O-Organized Thinking คือการส่งเสริมให้เด็กไทยมีความคิดอย่างเป็นระบบระเบียบ และมีตรรกะวิเคราะห์สิ่งต่างๆ รอบตัวในชีวิตประจำวัน

D-Digital Literacy คือความสามารถในการเข้าใจภาษาดิจิทัล

I-Innovation หรือนวัตกรรม ที่จะนำไปใช้จริงและเกิดประโยชน์กับคนหมู่มาก

N-Newnwss คือการสนับสนุนให้คนไทยมีความคิดริเริ่มในการทำสิ่งต่างๆ อย่างไม่รอช้า เป็นความคิดริเริ่มสดใหม่ ทั้งความรู้ ความเข้าใจในเทคโนโลยี

G-Globalization หรือยุคโลกาภิวัฒน์ของศตวรรษที่ 21 นับเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้
อย่างไรก็ตาม การเรียน Coding ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป และไม่ต้องห่วงว่า Coding จะเป็นสิ่งที่ยากเกินไปสำหรับเด็กๆ หรือบุคคลทั่วไป เพราะ Coding ง่ายกว่าที่คิดพิชิตยุคดิจิทัล ทั้งนี้ภาษา Coding คือการคิดเป็นระบบ คิดแบบมีตรรกะ และมีระบบในการแก้ปัญหา แม้เด็กจะไม่ได้เป็นนักวิทยาศาสตร์หรือนักคอมพิวเตอร์ แต่ทุกคนต้องมีการวางแผนการจัดการอย่างเป็นขั้นเป็นตอนในการดำเนินชีวิต ซึ่งเราจะนำสิ่งเหล่านี้ไปให้เด็กไทยได้อย่างไร

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *