จากสงขลา ถึงเคดาห์ Charming of the South

%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b8%8d%e0%b9%88-2

คาบสมุทรมลายู คือดินแดนที่เต็มไปด้วยเรื่องราวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมประเพณี โดยภาคใต้ของไทยก็คือส่วนหนึ่งของคาบสมุทรมลายู ต่อเนื่องเข้าไปในประเทศมาเลเซีย ผู้คนสองประเทศนี้มีการเดินทางติดต่อค้าขายฉันท์พี่น้อง สะท้อนถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b8%8d%e0%b9%88-1

จังหวัดสงขลา คือเมืองใหญ่ที่ได้ชื่อว่าเป็น ‘ศูนย์กลางของภาคใต้ปลายด้ามขวานทอง’ เพราะเป็นเมืองเศรษฐกิจ คึกคักด้วยการค้าขาย และตัวเมืองใหญ่ที่คนมาเลเซียก็ยังนิยมเข้ามาช้อปปิ้งกันทุกๆ สุดสัปดาห์ นอกจากนี้สงขลายังมีด่านชายแดนถาวรถึง 3 แห่ง เชื่อมพรมแดนสองประเทศ คือ ด่านสะเดา อำเภอสะเดา ติดต่อกับด่านบูกิตกายูฮิตัมห์ รัฐเคดาห์, ด่านบ้านประกอบ อำเภอนาทวี ติดต่อกับด่านบ้านดูเรียนบูรง อำเภอปาดังเตอร์รับ รัฐเคดาห์ และสุดท้าย ด่านปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา ติดต่อกับด่านปาดังเบซาร์ รัฐเปอร์ลิส นักท่องเที่ยวไทยที่มีเวลาน้อย สามารถข้ามไปช้อปปิ้งในร้าน Duty Free แต่ถ้าคุณเวลาเยอะ เราขอแนะนำให้พาตัวและหัวใจเข้าไปสัมผัสมาเลเซียให้ลึกซึ้ง แล้วคุณจะหลงรักประเทศนี้

%e0%b8%95%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b9%81%e0%b8%94%e0%b8%99-%e0%b8%aa%e0%b8%87%e0%b8%82%e0%b8%a5%e0%b8%b2dsc_0006

ทริปนี้เราเข้ามาเลเซียทางด่านอำเภอสะเดา กล่าวคำทักทาย “ซาลามัต ดาตัง” กับ รัฐเคดะห์ (Kedah) รัฐใหญ่ทางตะวันตกเฉียงเหนือสุด ซึ่งจริงๆ แล้วติดต่อกับทั้งจังหวัดสงขลาและยะลาของไทย เคดาห์มีชื่อเดิมว่า ‘ดารุลอามัน’ แปลว่า ‘ถิ่นที่อยู่แห่งสันติภาพ’ ก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 ดินแดนนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของสยาม ทว่าเมื่ออังกฤษเข้ามาล่าอาณานิคม เราก็ต้องเสียรัฐเคดาห์ (หรือรัฐไทรบุรี) ไป รัฐนี้เป็นที่ราบซึ่งใช้ปลูกข้าวได้ดี จนอาจกล่าวได้ว่า ‘เคดาห์คืออู่ข้าวอู่น้ำของมาเลเซีย’ เลยทีเดียว dsc_0033%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%94%e0%b8%b0%e0%b8%ab%e0%b9%8c-life-4 %e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%94%e0%b8%b0%e0%b8%ab%e0%b9%8c-life-1 %e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%94%e0%b8%b0%e0%b8%ab%e0%b9%8c-life-2 %e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%94%e0%b8%b0%e0%b8%ab%e0%b9%8c-life-3 dsc_233 dsc_516 dsc_250

นอกจากความสงบงามของทุ่งนาป่าเขาที่เราจะได้ชมแล้ว หมู่บ้านตามชนบทห่างไกล ของเคดาห์ก็ยังมีวิถีชีวิตแบบมาเลย์แท้ๆ ให้สัมผัสนับไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหารการกิน หรือเรือนปั้นหยามาเลย์ที่มุงหลังคากระเบื้องว่าว และเก็บรักษาข้าวของเก่าแก่ไว้มากมาย โดยเฉพาะในชุมชนชาวไทยสัญชาติมาเลเซียที่อยู่ในรัฐนี้มาตั้งแต่ยุครัชกาลที่ 5 กว่า 80,000 คน เราสามารถเข้าไปเที่ยวชมได้ที่อำเภอเปินดังและอำเภอกัวลามูดา จะได้สัมผัสซึ้งถึงวิถีความเป็นไทยแท้ๆ บนแผ่นดินอื่น โดยเฉพาะในแง่พุทธศาสนา ที่ชาวไทยในมาเลเซียยังยึดมั่นเหนียวแน่น น่าชื่นชมมาก %e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%97%e0%b8%a2-%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%94%e0%b8%b0%e0%b8%ab%e0%b9%8c dsc_158balai-bezar-%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b8%b2

แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอื่นๆ ของรัฐเคดาห์ คือ พระราชวังบาไลเบอซาร์ (Balai Besar) สร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1735 โดยสุลต่านโมฮาหมัด ยิวา (Mohamad Jiwa) สุลต่านองค์ที่ 19 ของรัฐเคดาห์ ด้วยแรงบันดาลใจที่เคยไปเยือนเมืองปาเลมบังบนเกาะสุมาตรา วังนี้สร้างขึ้นอย่างประณีตด้วยเสา หลังคา และปูพื้นด้วยไม้ แต่โชคไม่ดีเคยถูกเพลิงเผาทำลาย ทว่าได้รับการบูรณะขึ้นใหม่เพื่อใช้สำหรับการเข้าเฝ้า งานราชาภิเษก งานแต่งงาน และราชพิธีของสุลต่ารัฐเคดาห์%e0%b8%ab%e0%b8%ad%e0%b8%84%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%ad%e0%b8%a5%e0%b8%ad%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%8c

อีกที่ซึ่งห้ามพลาดชม คือ ‘หอคอยอลอร์สตาร์’ (Alor Setar Tower) หอคอยสูง 165.5 เมตร ซึ่งได้รับการจัดอันดับให้เป็นหอคอยโทรคมนาคมสื่อสารสูงอันดับ 19 ของโลก เราสามารถขึ้นลิฟท์ไปได้ บนชั้นชมวิว ความสูง 88 เมตร พร้อมด้วยห้องอาหาร ห้องประชุม ที่มองออกไปเห็นวิวพาโนรามากว้างไกล สุดลูกหูลูกตา เห็นตัวเมือง มัสยิด แม่น้ำ ถนนหนทาง รวมถึงถึงภูเขาที่ผุดขึ้นบนที่ราบเขียวขจีdsc_836 dsc_838 dsc_840 dsc_845 dsc_849

ที่กล่าวมาล้วนเป็นเพียงส่วนน้อยในความน่าสนใจของรัฐเคดาห์ อัญมณีเม็ดงามแห่งมาเลเซีย ซึ่งพร้อมต้อนรับคุณอยู่แล้วในวันนี้

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *