โครงการสานรักของเ อไอเอส ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีของครอบครัว

ภายใต้ โครงการสานรัก สนับสนุนสถาบันครอบครัว ด้วยความเชื่อมั่นว่า “ครอบครัว” เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาไปสู่สังคมที่ดี เพราะหากครอบครัวไทยแข็งแรง ย่อมส่งผลให้ประเทศชาติแข็งแรงไปด้วย

เอไอเอส ได้ริเริ่มโครงการ “สานรัก” ขึ้น https://www.facebook.com/sarnrak.ais/ ซึ่งนับเป็นนโยบายหลักของบริษัทฯ ในด้านกิจกรรมเพื่อสังคม ด้วยเล็งเห็นว่าสถาบันครอบครัวเป็นลักษณะเด่นของสังคมไทยมาแต่โบราณกาล และครอบครัวเป็นสถานบันแห่งแรกที่เป็นรากฐานของการสร้างคนเป็นคนดี

ปัจจุบันสถาบันครอบครัวไทยค่อนข้างอ่อนแอ ความใกล้ชิดและความอบอุ่นในครอบครัวลดน้อยลงอันเนื่อง มาจากวิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะเศรษฐกิจ สังคมไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันสูงขึ้น พ่อแม่จำนวนมากต้องทุ่มเทเวลาให้กับงานจนไม่มีเวลาให้คู่สมรสและลูก เป็นเหตุให้ครอบครัวตึงเครียด ขาดความเข้าใจกัน และนำไปสู่ความแตกแยกในที่สุด เมื่อสภาพครอบครัวไม่แข็งแรงจึงส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมตามมา

ด้วยความปรารถนาดีต่อสังคมไทย เอไอเอส มีความเข้าใจและห่วงใยในความเข้มแข็งของสังคมไทยที่เติบโตด้วยความรัก ความอาทร ความเกื้อกูล และความเข้าใจภายในครอบครัว

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ในฐานะผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ชั้นนำของประเทศ จึงมุ่งหวังที่จะส่งเสริม และสนับสนุนครอบครัวของคนไทยให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น และพร้อมที่จะเป็นรากฐานที่ดีของสังคมไทย

โครงการ “สานรัก” จึงกำเนิดขึ้น โดย เอไอเอส มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางสร้างให้คนไทยทุกคนตระหนักในความสำคัญของครอบครัว และร่วมใจกันสานสายใยแห่งความรัก ความผูกพันของครอบครัวให้มีความแน่นแฟ้นตลอดไป

เอไอเอสเพื่อสังคม สานรัก สนับสนุนสถาบันครอบครัว สานรัก คนเก่งหัวใจแกร่ง สานรัก สานสังคมไทย สานรัก หัวใจอาสา

แอพพลิเคชั่น ฟาร์มสุข ช่องทางออนไลน์เกษตรกร

https://play.google.com/store/apps/details?id=th.co.mimotech.android.farmconsumer&hl=th และ http://www.ais.co.th/farmsuk/

เอไอเอส มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมไทย ภายใต้แนวคิด Digital For Thais หนึ่งในนั้นมีเป้าหมายสร้างเกษตรกรไทยรุ่นใหม่ให้เกิดขึ้น สร้างชุมชนออนไลน์ของเกษตรกรไทยให้เข้มแข็ง สร้างตลาดออนไลน์ให้กับผลผลิตของเกษตรกรไทย ผ่านแพลตฟอร์มฟาร์มสุข มีส่วนประกอบหลักๆ คือ แอปพลิเคชัน “ฟาร์มสุข” เป็นแอปฯ เพื่อให้เกษตรกรไทยเข้าถึงข้อมูลสำคัญในการทำการเกษตร คลังความรู้และภูมิปัญญาต่างๆ ทั้งในรูปแบบของวิดีโอ บทความ และเทคโนโลยีต่างๆ อาทิเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในแปลงเพาะปลูกจากอุปกรณ์ NB-IOT ข้อมูลราคาซื้อ-ขายผลผลิตทางการเกษตร องค์ความรู้เกี่ยวกับการเกษตรจากผู้เชี่ยวชายและปราชญ์ชาวบ้าน รวมไปถึงข้อมูลด้านการพยากรณ์อากาศที่มีความแม่นยำสูง ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตของเกษตรกรให้สูงขึ้น รวมทั้งจะช่วยให้เกษตรกรสามารถใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหาทางการเกษตร จัดการปัจจัยการผลิตอย่างแม่นยำ เสริมด้วยการแบ่งปันความรู้ของกลุ่มเกษตรกร สภาพอากาศ และราคาตลาดที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร

แอปพลิเคชัน “ร้านฟาร์มสุข” เอไอเอส ได้สร้างช่องทางออกไลน์ให้เกษตรกรสามารถขายผลผลิตทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป รวมถึงสินค้าที่เป็นภูมิปัญญาของชุมชนหรือ OTOP และพันธุ์พืช เครื่องมือเกษตรต่างๆ โดยเกษตรกรเป็นผู้กำหนดราคาได้เองตามความเหมาะสม เพื่อยกระดับเกษตรกรไทยสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งจะเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอีกช่องทางหนึ่ง โดยเอไอเอสมีทีมงานที่ช่วยบริหารจัดการให้เข้าถึงเทคโนโลยีและช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าออนไลน์ผ่านระบบร้านฟาร์มสุข ทั้งการแนะนำการทำตลาดออนไลน์ การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ การถ่ายภาพสินค้าให้น่าสนใจ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า

ซึ่งแพลทฟอร์ม ร้านฟาร์มสุข จะเป็นแหล่งรวบรวมสินค้าเกษตรและสินค้าเกษตรแปรรูป ที่ผู้ซื้อสามารถเข้ามาเลือกซื้อสินค้าวิสาหกิจชุมชน ผลิตผล พันธุ์พืช และอุปกรณ์ทางการเกษตร ที่หลากหลายจากทั่วประเทศได้ที่นี่เพียงที่เดียว ซึ่งถือเป็นการสนับสนุนและช่วยเหลือเกษตรกรโดยตรง

เอไอเอส นำนวัตกรรมดิจิทัลอสม.ออนไลน์ ช่วยงานด้านสาธารณสุขชุมชนเชิงรุก

เอไอเอส โดย อสม.ออนไลน์ ร่วมกับกรมควบคุมโรค และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือการบูรณาการข้อมูลเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลาย ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล

วิถีดูแลสุขภาพ หรืออาการเจ็บป่วยของคนในหมู่บ้าน ตำบลต่าง ๆ มักจะคุ้นเคยกับ “โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล” หรือ รพ.สต. เช่นเดียวกับ “อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน” หรือ อสม. ที่มีจำนวน 1,200,000 คน ทั่วประเทศ

ทั้ง 2 ส่วนถือเป็นด่านหน้าด้านสุขภาพ ที่จะต้องรายงานให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขส่วนกลางทราบว่า ขณะนี้ สถานการณ์ด้านสุขภาพของชุมชนที่รับผิดชอบเป็นอย่างไร มีใครเจ็บไข้ได้ป่วย และมีวิธีการรักษาอย่างไร มีโรคระบาดหรือไม่ ซึ่งก่อนปี 2559 อสม.ทำหน้าที่รายงานสถานการณ์เหล่านี้ ก็จะใช้การจดรายละเอียดลงในกระดาษ ใช้โทรศัพท์แจ้งข่าว แจ้งข้อมูล และใช้มอเตอร์ไซด์ หรือรถยนต์ เป็นยานพาหนะ เพื่อไปให้ถึงบ้าน แล้วนำข้อมูลกลับมาแจ้งที่รพ.สต.นั้น ๆ ซึ่งในระหว่างทาง อาจเกิดเหตุไม่คาดคิด เช่น กระดาษที่จดบันทึกข้อมูลปลิวหล่นหาย ส่วนการสื่อสารก็อาจจะมีการตกหล่น ไม่ครบถ้วน รวมถึง มีความล่าช้าในการแจ้งเตือนข้อมูลการระบาดของโรคต่าง ๆ เนื่องจากใช้เวลาในการเดินทางค่อนข้างไกล และมีลักษณะการกระจายข่าวแบบ 1 ต่อ 1 บอกต่อ ๆ กัน

สมชัย เลิศสุทธิวงศ์ CEO และ วีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจสัมพันธ์และองค์กร เอไอเอส ร่วมทดสอบแอปฯ อสม.ออนไลน์

ด้วยวิธีการทำงานดังกล่าวข้างต้น บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เล็งเห็นถึงปัญหา และเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาด้วยนวัตกรรมดิจิทัลผ่าน แอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์ เข้ามาเป็น Platform ในรูปแบบเครือข่ายสังคมออนไลน์เฉพาะกลุ่ม โดยมุ่งหวังให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใช้เป็นเครื่องมือการทำงานด้านสาธารณสุขชุมชนเชิงรุก ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพของประชาชนได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมเพื่อจัดบริการสุขภาพที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพในแต่ละพื้นที่ให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม

“แอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์ ถือเป็นหนึ่งในหลายเรื่องภายใต้แนวคิด Digital For Thais ที่เอไอเอสพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลเพื่อสังคม และเราทำเป็น CSR จริงๆ ไม่ได้หวังผลกำไร แต่ต้องการให้ อสม.มีการใช้งานอย่างทั่วถึง และเกิดประโยชน์ตามความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการของแอปฯ อสม.ออนไลน์ เช่นเดียวกับฟีเจอร์รายงานสำรวจลูกน้ำยุงลาย ที่เพิ่มเข้ามาในแอปฯ ก็มาจากความต้องการ และ Paint Point ของผู้ใช้โดยตรง สอดคล้องกับมาตรการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในประเทศไทยที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น”

วีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจสัมพันธ์และองค์กร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส  ขยายข้อมูลถึง ฟีเจอร์รายงานสำรวจลูกน้ำยุงลาย ตั้งแต่เปิดเมื่อเดือนมิถุนายน 2562 จนถึงเดือนกันยายนนี้ มีผู้ใช้งานทั้งหมด 300,000 Transactions และคาดว่าจะมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งปริมาณการส่งข้อมูลจำนวนนี้ จะช่วยให้มีการวิเคราะห์สถานการณ์เฝ้าระวังโรคติดต่อได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

ทั้งนี้ เอไอเอส และกรมควบคุมโรค จะนำข้อมูลที่ได้จากแอปฯ อสม.ออนไลน์ และ ชุดซอฟต์แวร์ “ทันระบาด” มาบูรณาการร่วมกัน เพื่อนำไปประมวลผลและวิเคราะห์สถานการณ์ของโรคติดต่อนำโดยยุงลายร่วมกัน ทำให้หน่วยงานสาธารณสุขระดับต่าง ๆ สามารถเข้าถึงสถานการณ์ได้อย่างครอบคลุมและแม่นยำยิ่งขึ้น พร้อมทั้งนำเสนอมาตรการจัดการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลาย ไปยังหน่วยบริการสุขภาพโดยตรง ผ่านระบบการทำงานของแอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์

อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือครั้งสำคัญ

“แอปฯ อสม.ออนไลน์ สามารถใช้ได้กับทุกเครือข่าย หากใช้เอไอเอส จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ซึ่ง อสม.หลายคนที่แม้จะไม่คุ้นเคยกับสมาร์ทโฟน ก็ให้ลูกหลานสอนก่อนได้ เป็นฟังก์ชั่นที่ไม่ยาก ปัจจุบัน มีอสม.ใช้งานแล้ว 1 แสนคนทั่วประเทศ และจากวันนี้ พร้อมขยายเครือข่าย
อสม.ออนไลน์ ไปยังพื้นที่ต่างๆ สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหน่วยงานภาครัฐที่ต้องการให้อสม.ใช้เครื่องมือสื่อสารออนไลน์ และเอไอเอส ถือเป็นภาคเอกชนที่มาช่วยให้เกิดการใช้งานมากขึ้น ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างยิ่งกับการเฝ้าระวังควบคุมโรคระบาด เพราะเมื่อส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องจะเห็นว่าหมู่บ้านใดต้องเฝ้าระวังแบบเรียลไทม์ทันที ซึ่งแอปฯ ถูกออกแบบมาให้ อสม. สามารถใช้ส่งผลการสำรวจได้ง่าย และรวดเร็ว ทำให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วและครอบคลุมยิ่งขึ้น มีส่วนช่วยให้การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลายมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

นอกจากนี้ เอไอเอส ยังร่วมกับกรมควบคุมโรค และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับโรคติดต่อนำโดยยุงลาย ผ่านแอปฯ อสม.ออนไลน์ และ Smart อสม. ของกรม สนับสนุนบริการสุขภาพ ไปยังกลุ่ม อสม. ทั่วประเทศ อีกด้วย

ปัจจุบัน แอปฯ อสม.ออนไลน์ สามารถกระจายข่าวได้ทันที ทุกที่ ทุกเวลาเพียงครั้งเดียว ส่งผลให้ อสม. ทุกคนรับทราบข่าวสาร ความเคลื่อนไหว กิจกรรมต่างๆ ตลอดจน วางแผนป้องกันโรคได้อย่างทันถ่วงทีหากเกิดโรคระบาดในพื้นที่ โดยการลงพื้นที่ของอสม. แต่ละหมู่บ้าน จะมีการแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน ถือเป็นการนำเทคโนโลยีมาช่วยกระตุ้นการทำงานของอสม. ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

พร้อมกันนี้ จุดเด่นของ แอปฯ อสม.ออนไลน์ คือ ฟีเจอร์ภาพประกอบการส่งรายงาน เช่น สภาพร่างกาย ลักษณะของบาดแผล รวมถึง การบันทึกและส่งวิดีโอในกรณีช่วยผู้ป่วยออกกำลังกายเพื่อกายภาพบำบัด ฯลฯ จะช่วยให้โรงพยาบาล หรือ รพ.สต. ได้ข้อมูลที่แม่นยำ และสามารถแนะนำดูแลผู้ป่วยได้ เช่นเดียวกับกายถ่ายรูปพื้นที่จุดเสี่ยงต่างๆ ในบ้าน ที่คาดว่าจะเกิดโรคระบาดจากยุงลาย

วีรวัฒน์ กล่าวในท้ายที่สุดว่า แอปฯ อสม.ออนไลน์ และความร่วมมือกับกรมควบคุมโรค และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ตอกย้ำแนวคิด Digital For Thais ที่มุ่งส่งเสริมการทำงานด้านสาธารณสุขชุมชนเชิงรุก ขยายองค์ความรู้ความเข้าใจให้ อสม. ช่วยดูแลสุขภาพคนไทยอย่างเต็มประสิทธิภาพ ทั่วถึง และเท่าเทียมกันทุกพื้นที่

ต้องการใช้ อสม.ออนไลน์ ทำอย่างไร ?

ขั้นตอนที่ 1 รพ.สต. สมัครใช้งาน ที่่ http://www.ais.co.th/aorsormor/RegisterForm.aspx

ขั้นตอนที่ 2 รพ.สต. ได้รับรหัสผ่านสำหรับเจ้าหน้าที่

ขั้นตอนที่ 3 รพ.สต. เพิ่มชื่อ – เบอร์โทร ของ อสม. เข้าระบบ พร้อมกำหนดรหัสผ่าน 4 หลัก ในระบบเวปแอดมิน

ขั้นตอนที่ 4 รพ.สต. แจ้งรหัสผ่าน 4 หลักแก่ อสม.

ขั้นตอนที่ 5 อสม. ดาวน์โหลดแอปฯ และลงชื่อเข้าใช้งานแอปฯ ด้วยเบอร์โทรศัพท์ของตนเอง และรหัสผ่านที่ได้รับจาก รพ.สต.

 

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถโทรสอบถามได้ที่ โทร. 06 2520 1999

เที่ยวสุขใจ ซาลามัตชายแดนใต้ @เบตง จ.ยะลา

“เมืองในหมอก ดอกไม้งาม ใต้สุดสยามเมืองงามชายแดน”  คือนิยามเก๋ไก๋ของอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ที่ผมไปเที่ยวมาแล้วเกิดหลงรักหมดจิตหมดใจ

ก็เพราะเบตงมีสิ่งสวยๆ งามๆ แปลกใหม่แบบคิดไม่ถึง ให้เราได้เที่ยวชมกันอย่างตื่นตาตื่นใจมากมายเลยนะสิ  Shutter Explorer ขอบคุณ “โครงการซาลามัตชายแดนใต้” ของ ททท. ที่นำเราลงไปสู่เบตงในทริปนี้เบตงเป็นเมืองน่ารัก บรรยากาศสุดชิล เพราะตัวเมืองมีขนาดไม่ใหญ่ไม่เล็กเกินไปในการเที่ยวชม อีกทั้งตัวเมืองยังโอบล้อมรอบไว้ด้วยภูเขาเขียวๆ อากาศเย็นสบาย แทบทุกเช้าตรู่จะมีสายหมอกโรยตัวลงห่มคลุม จนเบตงกลายเป็นเมืองในหมอกไม่แพ้ภาคเหนือของไทย นอกจากนี้เบตงยังเป็นเมืองพหุวัฒนธรรม คือมีทั้งพี่น้องชาวมุสลิม ไทยพุทธ และคนจีน อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์มาช้านานแล้ว
ใครหลายคนอยากมาพักผ่อนตากอากาศ เนื่องจากเบตงเป็นเมืองในอ้อมกอดของเทือกเขาสันกาลาคีรีกั้นพรมแดนไทย-มาเลเซีย สูงจากระดับน้ำทะเลกว่า 1,590 เมตร อากาศของเบตงจึงเย็นสบายตลอดปี หน้าร้อนไม่ร้อนอบอ้าว ส่วนหน้าหนาวเย็นเจี๊ยบจับใจไม่แพ้ภาคเหนือ แถมยังมีทะเลหมอกสวยที่สุดในภาคใต้ให้ชมกันด้วย 1. อุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์ ‘อุโมงค์รถยนต์ลอดภูเขาแห่งแรกของไทย’

อยู่ที่ถนนอมฤทธิ์ตัดกับถนนภักดีดำรง ผ่านสวนสาธารณะออกสู่ถนน บริเวณหน้าสวนนกเชื่อมต่อกับถนนมงคลประจักษ์ ทะลุไปสู่ชุมชนเมืองใหม่หมู่บ้านแกรนด์วิว และเชื่อมต่อกับถนนอัยเยอร์เบอร์จัง ไปสู่ชุมชนธารน้ำทิพย์อีกทอดหนึ่ง เป็นอุโมงค์รถยนต์ลอดภูเขาแห่งแรกของไทย ที่ขุดทอดโค้งให้รถวิ่งไปมา สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กอย่างดี ยาว 268 เมตร กว้าง 9 เมตร สูง 7 เมตร ผิวจราจรคู่ กว้าง 7 เมตร ทางเท้าเดินกว้างข้างละ 1 เมตร ความเร็วรถวิ่งได้ 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง
อุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์  เปิดใช้เป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544ในยามค่ำคืนจะมีการเปิดโคมไฟประดับประดาอย่างน่าตื่นตา ให้นักท่องเที่ยวได้ชักภาพเก็บไว้อย่างสนุกสนาน แต่เวลาถ่ายภาพอย่าลงไปบนผิวจราจรล่ะ ต้องคอยระวังรถยนต์ที่แล่นไปมาด้วยจ้า2. วงเวียนหอนาฬิกาเบตง 

เป็นสิ่งก่อสร้างอันเก่าแก่อยู่เคียงคู่กับเมืองเบตงมาช้านาน เปรียบเสมือนสัญลักษณ์จุดศูนย์กลางเมือง สร้างด้วยหินอ่อนอย่างสวยงาม ในยามเย็นจะเห็นฝูงนกนางแอ่นนับหมื่นตัวบินมาเกาะหลับอยู่บนสายไฟรอบๆ หอนาฬิกา จนกลายเป็นสัญลักษณ์คู่กันไปแล้วโดยปริยาย คนเบตงเขามีอารมณ์ขัน บอกว่าถ้าใครมาเที่ยวเบตงแล้วถูกนกนางแอ่นอุจจาระใส่หัว จะต้องกลับมาเที่ยวที่นี่อีก! จะจริงหรือเปล่า คงต้องพิสูจน์ด้วยตัวเอง ฮาฮาฮา
3. ตู้ไปรษณีย์ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย 

มีประวัติว่า นายสงวน จิรจินดา นายกเทศมนตรีเทศบาลเบตงคนแรก และเป็นอดีตนายไปรษณีย์โทรเลข เห็นว่าอำเภอเบตงอยู่ห่างไกล จะติดต่อสื่อสารโดยช่องทางอื่นกับโลกภายนอกไม่ได้เลย ยกเว้นทางจดหมาย เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของเมืองเบตงท่านจึงได้สร้างตู้ไปรษณีย์ยักษ์นี้ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2467 โดยสร้างขึ้นที่บริเวณสี่แยกหอนาฬิกาใจกลางเมืองเบตง
ปัจจุบันมีการสร้างตู้ใบใหม่ที่มีขนาดใหญ่เป็น 3.5 เท่าอยู่ริมถนนหน้าศาลาประชาคม ถือเป็นตู้ไปรษณีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่ของไทยในปัจจุบัน ตู้ทั้งสองใบสามารถใช้ส่งจดหมายได้จริงซะด้วย เท่ห์ไหมล่ะ? นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่อยากทำเก๋ ก็นิยมเขียนโปสการ์ดหรือจดหมาย ส่งกลับไปหาตัวเองหรือญาติมิตรที่บ้าน เพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึกไงล่ะครับ ว่าครั้งหนึ่งเราเคยมาเยือนเมืองใต้สุดแดนสยามแล้ว ว้าว 4. WOW! Street Art เบตง
เบตงวันนี้ไม่ใช่เมืองชายแดนธรรมดาๆ อีกต่อไป แต่มีการนำศิลปะเข้าไปเติมแต่งจนมีชีวิตชีวาน่าเที่ยวชม ทั้งตึกรามบ้านช่องร้านค้าที่พร้อมใจกันทาสีสดใส พร้อมทั้งมี ภาพ Street Art หรือภาพเพนท์บนผนังอาคารตามตรอกซอกซอยต่างๆ อย่างน่ารักน่าชัง เขาบอกว่าเริ่มมีมาตั้งแต่ตอนเมืองเบตงครบ 111 ปี (เมื่อ พ.ศ. 2560) จึงเชิญศิลปินและนักเรียนศิลปะมาช่วยกันเพนท์ภาพ Street Art เหล่านี้ไว้ ภาพ Street Art เบตง สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตและของดีของเด่นของคนที่นี่ มีด้วยกันหลายสิบภาพแบ่งเป็นโซนๆ คือถ้าภาพอยู่ตรงโซนไหน ก็จะเกี่ยวเนื่องกับคนแถวนั้น เช่น ตรงตลาดสดก็จะมีภาพพืชผักผลไม้ต่างๆ และพอเดินเลยไปถึงโซนร้านน้ำชาติ่มซำ ก็จะมีภาพชุดม้านั่งที่มีคนกำลังนั่งจิบชาเปิดสภากาแฟกันอยู่ครับ น่ารักมาก ภาพ Street Art เบตง ที่เป็นไฮไลท์มีด้วยกันหลายโซน เช่น เริ่มต้นเดินจากหน้าร้านติ่มซำไทซีอี้ (ข้างวงเวียนหอนาฬิกา และตู้ไปรษณีย์ใหญ่ที่สุดของไทย) ข้ามถนนมาฝั่งตรงข้าม เดินเข้าตรอกเล็กๆ ตรงไป ก็จะมีภาพ Street Art มากมายอยู่สองฟากฝั่ง จนไปทะลุถนนอีกเส้น ข้ามถนนเข้าสู่ตรอกถัดไป เป็นตลาดสดที่มีแผงพืชผักผลไม้นานาชนิด ก็มีภาพ Street Art เช่นกัน หรืออีกโซนที่หน้าสนใจ คือข้ามถนนจากหน้าร้านอาหารต้าเหยิน ในตรอกฝั่งตรงข้ามมี Street Art สุดน่ารัก

แต่เราไม่เฉลยว่าเป็นภาพอะไร ให้ทุกท่านไปชมกันเองดีกว่าจ้า
5. ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง “รับอรุณก่อนใคร ที่ทะเลหมอกใต้สุดแดนสยาม”
ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง อยู่ที่ตำบลอัยเยอร์เวง บนถนนหมายเลข 410 ตรงช่วง กม. 33 เป็นทะเลหมอกที่ Amazing มาก เพราะเที่ยวได้เกือบตลอดปี โดยเฉพาะช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ยิ่งถ้าเป็นวันแห่งความรัก 14 กุมภาพันธ์ ก็มักจะมีทะเลหมอกสีขาวหนาแน่นราวกับปุยนุ่น ลอยอ้อยอิ่งอาบแสงอาทิตย์ยามเช้าให้เราได้ตื่นตะลึงง! ขอ Confirm เลยว่า นี่คือธรรมชาติ Unseen ที่สวยสู้ทะเลหมอกทางภาคเหนือได้สบาย
แม้ว่าปัจจุบันที่เบตงจะเปิดจุดชมทะเลหมอกใหม่ๆ อีกหลายแห่ง เช่น ทะเลหมอกไต้ต๋ง และทะเลหมอกกูนุง ซีรีปัต แต่ว่าทะเลหมอกอัยเยอร์เวงก็ยังไม่เคยเสื่อมความนิยมไปจากใจของนักท่องเที่ยว อีกทั้งในปี 2563 นี้ ยังจะมีการเปิด Sky Walk ชมทะเลหมอกที่อัยเยอร์เวงเพิ่มด้วย เขาว่าจะเป็น Sky Walk ยาวที่สุดในเอเชีย คือมีสะพานที่ยื่นออกไปกว่า 50 เมตร!
6. บ่อน้ำร้อนเบตง “สปาธรรมชาติเพื่อสุขภาพ”

อยู่ที่บ้านจะเราะปะไร ตำบลเนาะแม (ห่างจากตัวเมืองเบตง 5 กิโลเมตร บนถนนสาย 410) บ่อน้ำร้อนธรรมชาติแห่งนี้มีควันฉุยตลอดเวลา น้ำอุ่นกำลังดี ต้มไข่สุกได้ใน 7 นาที นักท่องเที่ยวนิยมลงมาอาบแช่แก้เมื่อย รักษาสุขภาพ บ้างก็แก้หนาว ปัจจุบันมีการสร้างรีสอร์ทเอาไว้ให้นักท่องเที่ยวได้นอนพักค้างคืนกันด้วย ชิลมากๆ
7. สวนดอกไม้เมืองหนาว “อลังการพรรณไม้งามในหุบเขาหนาวเย็น” 

อยู่ที่หมู่บ้านปิยะมิตร 2 เป็นโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นสวนดอกไม้นานาพันธุ์ตั้งอยู่บนเขา อากาศเย็นสบาย พาคนพิเศษของเราไปทำโรแมนติก ชวนกันถ่ายรูปกับดอกกุหลาบ ดอกฮอลีฮ้อค ดอกแอสเตอร์ สีสันสวยงามไม่แพ้ภาคเหนือ เสร็จแล้วจะนอนค้างในรีสอร์ทสวยได้สบาย ไม่น่าเชื่อเลยว่าสุดชายแดนใต้ของเราจะมีดอกไม้เมืองหนาวให้ชมกันด้วย Amazing! 8. ด่านพรมแดนเบตง “มาเลเซียเที่ยวง่าย ใกล้แค่นี้เอง”
เที่ยวเบตงแล้วถ้ายังไม่หนำใจ จะเที่ยวต่อเข้าไปในในมาเลเซียก็ได้นะ ด่านพรมแดนเบตงแห่งนี้ทำหน้าที่เหมือนประตูบ้านเชื่อมโยงสองประเทศเข้าหากัน จุดเด่นคือมีป้ายใต้สุดแดนสยามและหลักเขตแดนให้ถ่ายภาพเป็นที่ระลึก หรือจะเลยเข้าไปในมาเลเซียนิดนึง ช้อปปิ้งที่ร้าน Duty Free ปลอดภาษี ซื้อขนมนมเนย หรือกระเป๋า รองเท้า นาฬิกาดีๆ กลับมาด้วยก็ได้ ด่านพรมแดนเบตงนี้ อยู่ติดกับประเทศมาเลเซียด้านกิ่งอำเภอปึงกาลันฮูลู รัฐเปรัค 9. พิพิธภัณฑ์เมืองเบตง “แหล่งเรียนรู้ประวัติวิถีเบตงที่ครบครัน”

พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บนเนินเขาสูง ตัวอาคารสร้างด้วยสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ มีสองชั้น แต่ละชั้นจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้โบราณๆ หาชมได้ยาก และประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันน่าสนใจของเบตงไว้ครบถ้วน โดยเฉพาะชั้นล่างมีการจัดแสดงกบภูเขา สัตว์หายากมากของเขตเทือกเขาสันกาลาคีรีให้ชมด้วย จากชั้นสองของพิพิธภัณฑ์ฯ เดินต่อขึ้นไปบนหอคอยชมวิวสูง มองเห็นตัวเมืองเบตงได้ทั่วถึง เต็มอิ่ม เต็มตา แบบพาโนรามาเลยล่ะ
10. มัสยิดกลางเบตง “ศาสนสถานแห่งศรัทธา”

เปรียบเสมือนศูนย์รวมใจของพี่น้องชาวมุสลิมเบตง สร้างด้วยสถาปัตยกรรมอิสลาม ทาสีฟ้าขาวเย็นตาเย็นใจ ส่วนบนสุดสร้างเป็นโดมทรงหัวหอม มีรูปจันทร์เสี้ยวและดาวห้าแฉกเป็นสัญลักษณ์ นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมได้ แต่ต้องแต่งกายให้เรียบร้อย สุภาพ ไม่ส่งเสียงดัง ถ่ายภาพห้ามใช้แฟลช และผู้หญิงควรหาผ้ามาคลุมศีรษะด้วย นักท่องเที่ยวนิยมเข้ามาชมการประกอบพิธีวันละ 5 ครั้ง ภายในมัสยิด
11. วัดพุทธาธิวาส “พระพุทธศาสนาปลายด้ามขวานทอง”

เป็นวัดสำคัญตั้งเด่นอยู่บนเนินเขา มีพระประธานในอุโบสถเหมือนหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดเท่าองค์จริง ผู้คนมาสักการะกันไม่ได้ขาด ส่วนภายนอกมี พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ สีทองอร่ามงามเด่น กับพระพุทธรูปปางสมาธิขนาดยักษ์ตั้งอยู่กลางแจ้ง ชื่อ พระพุทธธรรมกายมงคลประยุรเกศานนท์สุพพิธาน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย ให้กราบไหว้กันด้วย 12. อุโมงคปิยะมิตร “โลกใต้ดินที่ไม่สิ้นเรื่องเล่าประวัติศาสตร์”
อุโมงค์ปิยะมิตร อยู่ที่หมู่บ้านปิยะมิตร 1 ต.ตะเนาะแมเราะ ใช้เส้นทางเดียวกับที่จะไปบ่อน้ำร้อนเบตง (เลยบ่อน้ำร้อนไป 4 กิโลเมตร) ปัจจุบันบริเวณนี้เป็นที่อยู่ของพี่น้องชาวจีนผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ซึ่งเดิมในอดีตเคยเป็นฐานที่มั่นของพรรคคอมมิวนิสต์มลายา (เขต 2) เขาเหล่านั้นต้องขุดอุโมงค์ใต้ดินยาวกว่า 1 กิโลเมตร กว้าง 50-60 ฟุต เพื่อใช้อยู่อาศัยหลบซ่อนจากการตรวจจับของทางการ โดยสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2519 ทุกวันนี้เหตุการณ์สงบแล้ว อุโมงค์ปิยะมิตรกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้เราเข้าชมได้อย่างปลอดภัย ภายในปรับปรุงเป็นทางเดินเรียบและมีไฟฟ้าส่องสว่างอย่างดี ด้านในมีห้องหลบภัยห้องสะสมเสบียง เมื่อเดินทะลุกอีกฝั่งก็จะถึงทางออกในป่าทึบในบริเวณเดียวกันยังมี พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์พรรคคอมมิวนิสต์มลายา พร้อมด้วยตู้จัดแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ พร้อมด้วย ต้นไม้ยักษ์ สูงหลายสิบเมตรที่ต้องเดินป่าเข้าไปชมอย่างสนุกสนาน13.ไก่เบตง “กรอบนอก นุ่มใน ละลายในปาก”

ไก่เบตงคืออาหารรสเลิศเลื่องชื่อไปทั่วประเทศ ของแท้ต้องมาชิมที่อำเภอเบตงเท่านั้น เนื้อไก่ของเขาเหนียวนุ่ม มันน้อย หวานในปาก เคี้ยวง่าย ส่วนหนังไก่เป็นสีเหลืองทอง กรอบ ไม่มีชั้นไขมันหนาอยู่ใต้ผิวหนังเหมือนไก่เลี้ยงสายพันธุ์อื่น เพราะไก่เบตงเวลาเลี้ยงต้องปล่อยให้วิ่งเล่นไปมาอย่างอิสระ ว่ากันว่าเมื่อร้อยกว่าปีก่อน มีชาวจีนนำพันธุ์ไก่เบตงเข้ามาจากจีนตอนใต้ จนเลี้ยงกันแพร่หลาย ทว่ากว่าจะจับขายได้แต่ละตัว ต้องรอถึง 6 เดือน หรือ 1 ปี จำนวนผู้เลี้ยงจึงลดลง ปัจจุบันเหลือเลี้ยงอยู่จริงไม่กี่เจ้า ถึงบอกไงล่ะ ว่าไก่เบตงของแท้หาชิมยากสุดๆ
14. ร้านต้าเหยิน “สุดยอดร้านอาหารจีนแดนใต้”

ตั้งอยู่เลขที่ 253 ถนนสุขยางค์ อ.เบตง จ.ยะลา โทร. 0-7323-0461, 0-7324-5189, 08-1599-4654
ต้าเหยิน ชื่อนี้คือตำนานความอร่อยสะท้านยุทธจักรการกิน ที่นักชิมทั้งมืออาชีพและมือใหม่ต่างยกนิ้วโป้งให้ เพราะเป็นร้านอาหารจีนชื่อดังที่สุดในเบตง เปิดมาไม่ต่ำกว่า 30-40 ปีแล้ว คนแน่นทุกวัน อย่าลืมโทรจอง
นอกจากจะหาชิมไก่เบตงของแท้ได้ที่ร้านต้าเหยินแล้ว เขายังมีสุดยอดเมนูที่ต้องสั่งต้องชิมอีกเพียบ ไม่ว่าจะเป็นกบภูเขาทอดกระเทียม, ปลาจีนนึ่งซีอิ๊ว, ซี่โครงสวรรค์, เคาหยก (หมูสามชั้นอบเผือก), ถั่วเจี๋ยน, ซุปปู, ผัดหมี่เบตง, ผักน้ำเบตงผัดน้ำมันหอย และอื่นๆ อีกมากมาย 15. ติ่มซำยามเช้าที่เบตง “เริ่มต้นวันใหม่อย่างราชา”
ขอบอกว่าอาหารจีนยามเช้าในเมืองเบตงนั้นอลังการไม่ใช่เล่น เพราะที่นี่มีคนจีนอาศัยอยู่มาก ป็นชาวจีนกวางไสจากกว่างซีจ้วง และชาวจีนฮกเกี้ยน วัฒนธรรมการกินของพวกเขาจึงสืบทอดกันมา อย่างติ่มซำยามเช้าที่มีให้เลือกนับร้อยอย่าง ในเบตงมีหลายร้าน ที่มีชื่อเสียง เช่น ร้านไทซีอี้ และร้านเซ้งติ่มซำ Location อยู่แถวๆ หอนาฬิกาและตู้ไปรษณีย์ยักษ์ มองไปเห็นได้ชัดเลย
จะกินติ่มซำเมืองนี้ต้องขยันตื่นเช้าหน่อย และต้องกินร้อนๆ จึงจะอร่อยครบรส และอย่าลืมสั่งบักกุ๊ดเต๋มาซดน้ำซุปยาจีนให้คล่องคอด้วยล่ะ 16.วุ้นดำเบตง”เจ้าสุดท้ายความอร่อยต้นตำรับ”วุ้นดำเบตง หรือ เฉาก๊วย กม.4 เจ้าแรก (โทร. 0-7323-0413)มาถึงเบตงแล้วถ้าไม่ได้ชิม ‘วุ้นดำเบตง’ สักหน่อย ก็ถือว่าทริปเที่ยวครั้งนี้คงไม่สมบูรณ์ เพราะเป็นขนมพื้นบ้านที่ใช้ภูมิปัญญาล้วนๆ รังสรรค์ขึ้นมา

วุ้นดำเบตง ทำจากหญ้าชนิดหนึ่งที่ปลูกในประเทศจีน (และอินโดนีเซีย) เจ้าแรกนี้บรรพบุรุษอพยพมาจากเมืองจีน เมื่อกว่า 30 กว่าปีมาแล้ว เป็นร้านสุดท้ายที่ยังทำด้วยกรรมวิธีโบราณ คือใช้เตาไม้ฟืน เวลากินจึงได้กลิ่นหอมของไม้ด้วย แต่เพราะกรรมวิธีที่ยุ่งยาก ใช้เวลานาน เจ้าอื่นจึงเปลี่ยนไปใช้เตาแก๊สกันหมด กรรมวิธีคร่าวๆ คือ เขาจะนำหญ้าเฉาก๊วยมาต้มกับส่วนผสมแล้วกรองเอาเฉพาะน้ำ เพื่อแยกหญ้าวุ้นดำออกจากกัน จากนั้นนำแป้งมันสำปะหลังผสมกับน้ำที่ได้จากการกรองในขณะร้อนๆ คนให้เข้ากัน ทิ้งไว้จนกว่าจะเย็นกลายเป็นวุ้น นิยมรับประทานกับน้ำเชื่อมแล้วเติมน้ำแข็ง มีสรรพคุณช่วยแก้ร้อนในดีนักแล
17. ผักน้ำเบตง “ผัก Signature กลางขุนเขา”
มาถึงเบตงแล้วต้องชิม ผักน้ำ หรือ Watercress กันสักหน่อย ผักชนิดนี้ถือเป็นผักดีต่อสุขภาพ เนื่องจากการปลูกโดยไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ต้องปลูกในธรรมชาติตามลำธารบนขุนเขา ที่น้ำใสสะอาดและเย็นเจี๊ยบเท่านั้น

ว่ากันว่าผักน้ำมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ต่อมามีการนำมาปลูกที่จีนและมาเลเซีย คนจีนจึงนำเข้ามาปลูกในภาคใต้ของไทย โดยเฉพาะที่อำเภอเบตง ซึ่งตอนแรกคนจีนปลูกกินกันในครัวเรือน ไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ต่อมาทางราชการจึงส่งเสริมให้ปลูกกันแพร่หลาย เพราะเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ปัจจุบันสวนผักน้ำเบตงจึงกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวไปโดยปริยายธรรมชาติของผักน้ำชอบอากาศหนาวเย็น และน้ำที่ใสสอาดจากภูเขาไหลผ่านตลอดเวลา แปลงปลูกผักน้ำจึงทำเป็นขั้นบันไดลดหลั่นลงมา ยิ่งถ้าเป็นน้ำที่ไหลจากที่สูงใสเย็น และเป็นดินปนทรายด้วยจะทำให้ผักน้ำยิ่งเจริญเติบโตดี ต้นจะอวบน้ำ ก้านยาว ใบสีเขียวจัด เมื่อเลี้ยงไป 45-60 วัน ก็เก็บขายได้แล้ว ราคาขายกิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 80 บาทเลยทีเดียวส่วนใหญ่จะนำผักน้ำมาแกงจืด หรือต้มกับกระดูกหมูหรือไก่ นอกจากนี้ยังสามารถทำผักน้ำทรงเครื่อง, ผักน้ำมันหอย, ลวกจิ้มและสลัดผัก สรรพคุณช่วยคลายร้อน แก้ร้อนใน และลดความดันโลหิตสูงได้

18. ปลาจีนเบตง “ปลายักษ์แห่งลำธารบนขุนเขาสูง”

ติดต่อ สวนยายสวย (นางปานจิตร สายสวาท) โทร. 06-5682-4879
อีกหนึ่งความพิเศษของเมนูอาหารเมืองเบตงที่ขึ้นชื่อลือชาก็คือ ปลาจีน หรือ ปลาเฉาฮี้อ ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่มีต้นกำเนิดมาจากลุ่มน้ำแยงซีเกียงในประเทศจีน

ปลาจีน มีลำตัวทรงกระบอกสีขาวอมเขียว เกล็ดใหญ่ และเมื่อโตเต็มที่หนักได้หลายสิบกิโลกรัม แต่ที่ร้านอาหารจะรับซื้อไปทำอาหารจริงๆ ตัวจะไม่ใหญ่เกินไป แหล่งเพาะเลี้ยงที่ดีต้องอยู่ในลำธารบนขุนเขาที่อุดมสมบูรณ์ เงียบสงบปราศจากการรบกวน และที่สำคัญคือน้ำต้องเย็นและใสสะอาดมากด้วย ธรรมชาติป่าเขาของอำเภอเบตงจึงเหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเลี้ยงปลาชนิดนี้

เมนูอาหารที่นิยมนำปลาจีนมาทำ เช่น ปลาจีนนึ่งบ๊วย, ปลาจีนนึ่งซีอิ้ว, ปลาจีนนึ่งขิง, และปลาจีนแดดเดียว แหล่งเพาะเลี้ยงปลาจีนในเบตงบางแห่ง ยังทำสวนผลไม้อย่างทุเรียนหมอนทองปลูกควบคู่กันไปด้วย สนใจจะชิมต้องไปเที่ยวในเดือนสิงหาคมนะจ๊ะ

SPECIAL THANKS โครการ ‘ซาลามัตชายแดนใต้’ จ.นราธิวาส-ยะลา-ปัตตานี

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ททท สำนักงานนราธิวาส-ยะลา-ปัตตานี โทร. 0-7352-2411 , 0-7354-2345

เที่ยวสุขใจ ซาลามัตชายแดนใต้ @ยะลา

ยะลา ใต้สุดแดนสยาม เมืองงามชายแดน จังหวัดเดียวในภาคใต้ที่ไม่มีทางออกทะเล แต่มีชื่อเสียงในเรื่องแหล่งท่องเที่ยวอันหลากหลายงดงาม เป็นเมืองหน้าด่านเที่ยวต่อเนื่องเข้าสู่ประเทศมาเลเซียได้สบาย

วันนี้ Shutter Explorer ขอพาพวกเราไปตระเวนเที่ยว ตระเวนกิน กันในยะลาให้สนุกไปเลย กับโครงการดีๆ ของ ททท. “ซาลามัตชายแดนใต้”  จ้า
1. หมู่บ้านกาแป๊ะกอตอใน อ.เบตง ‘หมู่บ้านแห่งตำนานราชาสิยง’

“หมู่บ้านกาแป๊ะกอตอใน” ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล ต.เบตง อ.เบตง จ.ยะลา ห่างไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ตามเส้นทางที่จะออกไปด่านเบตง ประมาณ 4-5 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านดั้งเดิมที่มีตำนานซึ่งถูกเล่าขานโดยบรรพบุรุษ จากรุ่นสู่รุ่นมาถึงปัจจุบัน ความหมายของ “กาแป๊ะกอตอ” คำว่า “กาแป๊ะ” หมายถึง “ต้นไม้ชนิดหนึ่งดอกสีส้มคล้ายดอกเข็ม” ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ลำคลอง น้ำตก ส่วนคำว่า “กอตอ” หมายถึง “เมือง”

หมู่บ้านกาแป๊ะกอตอใน เป็นชุมชนที่ยังคงมีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม แต่ก็มีกลุ่มมุสลิมในหมู่บ้าน มีการรวมกลุ่มสตรีประกอบอาชีพสร้างรายได้เสริม ทั้งการทำผลิตภัณฑ์โอท้อป เช่น กาแฟคั่วแบบโบราณ สร้างรายได้ให้กลุ่มสตรีได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ แถมยังเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวได้ ให้คนเข้ามาชมขั้นตอนการผลิต และชิมกาแฟพันธุ์โรบัสต้ารสชาติเข้มข้นแสนอร่อย

ในหมู่บ้านมีอาคารพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กน่ารัก นำวัตถุโบราณและข้าวของเครื่องใช้ดั้งเดิมภายในชุมชน มาจัดแสดงไว้อย่างเป็นระบบระเบียบ ทั้งถ้วยโถโอชาม อาวุธโบราณ กริช หินบดยา และชุดชาวมุสลิม เป็นต้นด้วยความที่หมู่บ้านนี้มีประวัติศาสตร์เกี่ยวเนื่องกับการเคยเป็นวังเก่า และมีธรรมชาติอุดมสมบูรณ์จึงมีการทำ “สวนกาแฟวังเก่า” เพื่อปลูกขายปลูกกินสร้างรายได้ให้ชุมชนเมื่อหลายร้อยปีก่อน มีผู้นำกองทัพจากประเทศมาเลเซียผ่านมาบริเวณนี้ มีพระนามว่า ราชาสิยง ทรงตั้งกองทัพแล้วสร้างกำแพงกั้นล้อมรอบกองทัพไว้ ต่อมาจึงมีการตั้งรกรากเป็นหมู่บ้านขึ้น มีการประหารนักโทษที่กระทำผิดร้ายแรง โดยก่อนการประหารจะนำนักโทษไปอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด มี 2 บ่อ คือ บ่อน้ำสำหรับราชาสิยงและครอบครัว ส่วนอีกบ่อสำหรับประชากรและทหารในกองทัพ

เมื่อชำระล้างร่างกายนักโทษสะอาดแล้ว ก็จะให้กินอาหารมื้อสุดท้ายก่อนเข้าสู่หลักประหาร โดยมีเพชรฆาต 3 คน ใช้ดาบฟันคอจนเสียชีวิต กล่าวกันว่าก่อนคืนประหารจะได้ยินเสียงโอดครวญของเหล่าวิญญาณ และน้ำจะขึ้นเต็มบ่อทุกครั้งที่จะมีการประหารนักโทษ หลักไม้ที่ใช้ประหารเป็นไม้หลุมพอ ซึ่งในปัจจุบันหลักประหารเก่าแก่นั้นไม่มีอยูแล้ว จะมีเพียงหลักไม้จำลองที่ทำขึ้นมาแทน และตั้งปักไว้ในจุดที่เป็นลานประหารเดิมให้ชมกัน

ส่วนบ่อน้ำโบราณก็เรียกกันว่า บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่มีน้ำผุดขึ้นมาเองตามธรรมชาติ และมีชาวบ้านนำไปดื่ม อาบ รักษาโรคภัยไข้เจ็บ ส่วนราชาสิยงได้ดื่มเลือดจากนักโทษประหาร จนมีเขี้ยวงอกออกจากปาก จึงถูกชาวบ้าและทหารขับไล่ออกจากหมู่บ้าน จนต้องหนีเข้าไปในฝั่งมาเลเซียแถว ๆ บาลิง และได้สิ้นพระชนม์ที่นั่น จนมีการสร้างสัญลักษณ์รูปเขี้ยวไว้ที่บาลิงในปัจจุบันภายในหมู่บ้านกาแป๊ะกอตอในมี ต้นกาแฟร้อยปี ให้ชมกันด้วยจ้ากิจกรรมสนุกๆในการเที่ยวชมหมู่บ้าน คือการไปดูกลุ่มแม่บ้านทำกาแฟคั่วหอมกรุ่นแบบโบราณ ให้เราชิมกันเมล็ดกาแฟดิบสีขาวนวลเมื่อคั่วให้สุกบนเตาถ่านแล้ว ก็จะกลายร่างเป็นเมล็ดกาแฟสีดำปี๊แบบนี้ล่ะ แต่ยังกินไม่ได้นะยังมีอีกหลายขั้นตอนจ้าหลังจากนั้นก็นำน้ำตาลทรายขาวน้ำตาลทรายแดงมาคั่วบนกระทะ ให้ร้อนละลายกลายเป็นคาราเมล แล้วเทเมล็ดกาแฟลงไปคลุกเคล้าให้ทั่ว เสร็จแล้วผึ่งให้แห้ง ตำบดให้ละเอียดด้วยครกไม้โบราณ ก็พร้อมชงเสิร์ฟเป็นกาแฟดำพื้นบ้าน (โกปี้) แบบฉบับบ้านกาแป๊ะกอตอในที่ขายดิบขายดี ของกินเด่นดังอีกอย่างที่นี่คือ “ข้าวหลามยาว” หรือ “ข้าวหลามบาซุก้า” ที่กินอร่อยอิ่มนาน แถมแปลกไม่เหมือนใครด้วยก่อนลาจากชุมชนกาแป๊ะกอตอใน ก็ต้องลองชิมอาหารพื้นบ้านอร่อยๆ รสมือแม่กันหน่อย มีทั้งปลาทอดขมิ้น ผัดผักกูด น้ำพริกกะปิผักเหนาะ และต้มยำปลา แหมประทับใจจริงๆ

2. ผ้าสีมายา (SIMAYA) อ.เมืองยะลา “ผ้ามัดย้อมดินมายาหน้าถ้ำ”

เลขที่ 136 หมู่ 1 บ้านหน้าถ้ำ ต.หน้าถ้ำ อ.เมืองยะลา โทร. 0-9930-87252
กลุ่มผ้าสีมายา จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2558 โดยนำดินมายาซึ่งมีอยู่มากในภูเขาถ้ำและภูเขากำปั่น มาย้อมเป็นผ้าอันสวยงาม

ชาวบ้านได้สังเกตว่าเมื่อดินชนิดนี้ติดเสื้อผ้าจะล้างออกยาก จึงคิดค้นหาวิธีนำมาย้อมผ้าได้ผ้าสีส้มอมน้ำตาลสดใสอันเป็นเอกลัษณ์ อีกทั้งยังเพิ่มเติมคุณค่าให้ผืนผ้าแพรพรรด้วยการนำลายภาพเขียนสีในถ้ำอายุกว่า 1,000  ปี และลายศิลป์ช่องลมของศาลาการเปรียญ มาพิมพ์ลงบนผืนผ้า นอกจากนี้ยังเน้นการย้อมสีธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น อย่างใบหูกวาง และใบมังคุดอีกด้วย สีย้อมผ้าธรรมชาติจากดินมายาหน้าถ้ำกิจกรรมสนุกๆ เมื่อเข้าไปเยี่ยมกลุ่มสีมายา คือเราจะได้ทดลองทำผ้ามัดย้อมฝีมือเราเอง ขั้นแรกก็ต้องนำเชือกหรือหนังสติ๊ก มามัดลงบนผืนผ้าให้เกิดลายตามต้องการ
ผ้าสีมายาลายภาพเขียนสีโบราณ 1,000 ปี 3. เขื่อนบางลาง อ.บันนังสตา “เขื่อนแห่งความชุ่มฉ่ำ และจุดชมวิวพาโนรามา”
เขื่อนบางลาง อยู่ที่บ้านบางลาง ต.เขื่อนบางลาง ห่างจากตัวจังหวัดยะลาไปตามทางหลวงหมายเลข 410 ประมาณ 50 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายไปอีก 12 กิโลเมตร เป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าและเขื่อนเอนกประสงค์แห่งแรกของภาคใต้ โดยสร้างกั้นแม่น้ำปัตตานี เป็นเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียว สูง 85 เมตร สันเขื่อนยาว 422 เมตร นับเป็นจุดชมวิวธรรมชาติอันน่าตื่นตามาก4. ปั้มน้ำมันธารโต ‘จุดถ่ายภาพคู่กับแงะป่า และไก่เบตง” อ.ธารโต
ความสนุกในการขับรถท่องเที่ยวจากตัวเมืองยะลาสู่อำเภอเบตง ระหว่างทางแนะนำให้แวะพักยืดเส้นยืดสายในปั้มน้ำมันธารโตกันก่อน ถ่ายภาพคู่กับรูปปั้นคู่รักเงาะป่าที่เคยอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ และยังมีรูปปั้นไก่เบตงตัวเบ้อเริ่ม ยืนโพสต์ท่าพร้อมให้เราเก็บภาพไว้เป็นที่ระลึกจ้า5. สวนคุณชายโอ๊ค “ฟาร์มตัวอย่างที่น่าเอาเยี่ยงอย่าง” อ.ธารโต
สำหรับคนที่ชอบ ท่องเที่ยวชมวิถีเกษตร หรือ Agro-Tourism รับรองว่ามาเที่ยวยะลาแล้วจะติดใจ เพราะมีพืชผักผลไม้อุดมสมบูรณ์จริงๆ ที่อำเภอธารโตมีฟาร์มตัวอย่างสวนคุณชายโอ๊ค (ทางเข้าอยู่ติดปั๊มน้ำมันธารโต) ให้เราได้เที่ยวชมกันตลอดปี ยิ่งสำคัญถ้าตรงกับเดือนสิงหาคมก็จะมีผลไม้นานาชนิดให้ชิม โดยเฉพาะทุเรียนหมอนทองจะออกผลสุกพร้อมกินนับร้อยๆ ต้นที่สวนนี้ความสำเร็จของสวนคุณชายโอ๊คในวันนี้มิได้เกิดโดยบังเอิญ หากแต่เกิดจากการเดินตามรอยศาสตร์พระราชา ด้วยการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง และปลูกไร่ส้มจนสำเร็จโด่งดังนอกจากไม้ดอกไม้ผลต่างๆ แล้ว สวนคุณชายโอ๊คยังเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจหลายชนิดไว้ด้วย ทั้งนกยูง ไก่ฟ้า แพะเนื้อ แพะนม สามารถเที่ยวชมถ่ายภาพได้อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเหล่าแพะที่เราให้อาหารได้ด้วย
กิจกรรมที่ถือว่าเป็นไฮไลท์สุดๆ ของสวนคุณชายโอ๊คคือ การชิมน้ำผึ้งชันโรง (เป็นผึ้งจิ๋วซึ่งไม่มีเหล็กในที่ก้น หรือ Stingless Bee)โดยเขาจะเปิดรังเลี้ยงตัวชันโรง ให้เห็นอาณานิคมและส่วนเก็บน้ำผึ้งของมันอย่างเต็มตา จากนั้นก็ใช้หลอดจิ้มดูดกันสดๆ ตรงนั้นเลย ถือว่าได้คุณค่าวิตามินกันไปเต็มๆ สุดยอด!6. ศาลหลักเมืองยะลา “ศูนย์รวมใจรวมศรัทธาผู้คน”

ศาลหลักเมืองยะลา ตั้งอยู่กลางวงเวียนหน้าศาลากลางจังหวัด เป็นที่เคารพนับถือของชาวจังหวัดยะลา โดยประมาณปลายเดือนพฤษภาคมจะมีงานสมโภชนเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งเป็นงานเทศกาลประจำปีสำคัญงานหนึ่งของภาคใต้ ศาลหลักเมืองยะลาถือเป็นจุดศูนย์กลางของผังเมืองรูปใยแมงมุม อันเป็นเมืองที่มีผังเมืองสวยที่สุดในประเทศไทย 7. สวนขวัญเมือง อ.เมืองยะลา “พักผ่อนหย่อนใจในสวนสวยกลางเมือง”

สวนขวัญเมือง หรือพรุบาโกย อยู่ที่ถนนเทศบาล 1 ห่างจากศาลหลักเมืองยะลาประมาณ 300 เมตร เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกายชองชาวเมือง มีทะเลสาบ ทิวสน สนามหญ้า ให้ได้ทอดกายคลายอารมณ์ อีกทั้งยังเป็นจุดที่ใช้จัดงานออกร้านต่างๆ ของจังหวัดด้วย การที่ยะลาไม่ติดทะเล แต่มีทะเลสาบจำลองในสวนนี้ก็สร้างความชุ่มชื่นหัวใจทดแทนกันได้พอสมควร
8. ร้านธารา Seafood อ.เมืองยะลา  “ชิมอาหารทะเลสดจริง ในเมืองที่ไม่ติดทะเล!”

ถนนพิพิธภักดี ตำบลสะเตง เทศบาลนครยะลา 95000 โทร. 0-7321-2356 เปิด 11.00 – 21.00 น.

ร้านนี้โด่งดังนานกว่า 30 ปี แม้ยะลาจะไม่ติดทะเล แต่เขาก็ยังสามารถขายอาหารทะเลสดๆ ที่นำมาจากปัตตานีและนราธิวาส เมนูเด็ดของร้านธารา Seafood คือ ปลาเผาสมุนไพรอันเป็นเอกลักษณ์  หอมกลิ่นสมุนไพรสีเขียวๆ ส่วนเนื้อปลาก็หวานนุ่ม กินคู่กับน้ำจิ้มรสเด็ด นอกจากนี้ยังมีกุ้งทอดกระเทียม หอยหวาน หอยแครงและกุ้งหอยปูปลาอื่นๆ อีกเพียบ 9. ร้านเรือนนพรัตน์ อ.เมืองยะลา “อาหารไทยรสเด็ด ที่พิเศษจนห้ามพลาด!”

เลขที่ 90-92-94-96 ถนนรวมมิตร ต.สะเตง อ.เมืองยะลา 95000 โทร. 0-7372-0088, 08-6749-5543 เปิดทุกวัน เวลา 10.00-22.00 น.
เรือนนพรัตน์ เป็นร้านอาหารรับแขกบ้านแขกเมืองยะลาได้อย่างไม่อายใคร ตกแต่งร้านหรูหราในสไตล์ไทยภาคกลาง ภายในร้านติดแอร์เย็นฉ่ำ ตกแต่งด้วยวัสดุไม้พร้อมการจัดแสงให้ความรู้สึกอบอุ่นน่านั่ง โดยมีทั้งส่วนนั่งอิงหมอนสามเหลี่ยมบนพื้น ส่วนนั่งโต๊ะ และห้องส่วนตัวอย่างครบครัน
อาหารเด็ดก็มีทั้ง ห่อหมกถ้วย, ยำหัวปลี, ยำผักกูด, ต้มส้มปลากระบอก, ปลากระบอกทอดกระเทียม, ไข่เจียวปูฟู, ผักเหลียงผัดไข่, แกงคั่วหอยขม, น้ำพริกกุ้งสดและอื่นๆ อีกเพียบ แค่ได้ยินชื่อเมนูก็น้ำลายสอแล้วล่ะ

SPECIAL THANKS โครการ ‘ซาลามัตชายแดนใต้’ จ.นราธิวาส-ยะลา-ปัตตานี

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ททท สำนักงานนราธิวาส-ยะลา-ปัตตานี โทร. 0-7352-2411 , 0-7354-2345

เที่ยวสนุกถิ่นอีสานใต้ ในบุรีรัมย์

ได้มาเที่ยว บุรีรัมย์ ก็หลายครั้ง ส่วนใหญ่จะได้ดูแต่สนามฟุตบอลกับสนามแข่งรถระดับโลก แต่จริงๆ เขาน่าจะมีที่เที่ยวเจ๋งๆ อื่นอีกแน่นอน

ทริปนี้โชคดีได้เดินทางไปกับ ททท. สำนักงานบุรีรัมย์ พาไปชมความน่าสนใจของสัตว์โลกในธรรมชาติเมืองไทยที่แสนหายากอย่าง ‘นกกระเรียนพันธุ์ไทย’ หรือ Sarus Crane นั่นเอง

แหล่งเรียนรู้นี้ชื่อเต็มว่า ‘ศูนย์อนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำและนกกระเรียนพันธุ์ไทย จังหวัดบุรีรัมย์’ ต.สะแกโพรง อ.เมืองบุรีรัมย์ (ทางเข้าเดียวกับอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก) เป็นแหล่งเรียนรู้ใหม่เอี่ยมที่เพิ่งเปิดตัวได้แค่ 1 เดือน แต่ก็มีการออกแบบตัวอาคารไว้อย่างสวยงาม ดู Modern และที่สำคัญคือโปร่งโล่งสบาย อากาศถ่ายเทดี จึงประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้เยอะสมความตั้งใจของสถาปนิกครับทำไมเราต้องมาดูนกกระเรียนพันธุ์ไทยกันที่นี่ด้วย? คำตอบง่ายๆ คือ นกกระเรียนพันธุ์ไทยในธรรมชาติได้สูญพันธุ์ไปกว่า 50-70 ปีแล้ว เนื่องจากมันเป็นนกขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มฉ่ำน้ำและนาข้าว จึงตกเป็นเป้าล่าของชาวบ้าน ที่ล่าทั้งกินเนื้อและไข่ของมัน อีกทั้งที่อยู่อาศัยคือนาข้าวได้แปรสภาพไปเป็นบ้านจัดสรรหรือสิ่งก่อสร้างอื่น นกกระเรียนพันธุ์ไทยจึงสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติอย่างน่าเศร้า!

โชคดีที่มีการนำนกกระเรียนพันธุ์ไทยจากสวนสัตว์โคราช มาเพาะเลี้ยง แล้วปล่อยคืนสู่ธรมชาติของจังหวัดบุรีรัมย์ อันเป็นพื้นที่ดั้งเดิมที่เคยมีนกกระเรียนพันธุ์ไทยอาศัยอยู่ เพราะเป็นทุ่งราบฉ่ำน้ำและนาข้าว Organic หลังจากปล่อยนกกระเรียนคืนสู่ธรรมชาติไปแล้ว มันก็ค่อยๆ เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ยังถือว่ามีน้อย เพราะปีนึงจะออกไข่แค่ไม่กี่ฟองเองครับ
หลักฐานหนึ่งที่ยืนยันได้ดีที่สุดว่าบุรีรัมย์เคยมีนกกระเรียนพันธุ์ไทยอาศัยอยู่ ก็คือรูปถ่ายจากยุคโบราณของครอบครัวหนึ่งที่เลี้ยงนกกระเรียนไว้เป็นเพื่อนด้านในของศูนย์ฯ มีความโปร่งโล่งสบาย ประกอบด้วยห้องบรรยายและห้องนิทรรศการ รวมถึงทางเดินไปยังหอคอยชมวิว และมีกรงเลี้ยงนกกระเรียนพันธุ์ไทยไว้คู่หนึ่ง เพื่อศึกษาและให้ได้ชมกัน โดยนกคู่นี้เลี้ยงไว้ตั้งแต่ยังเล็ก จึงไม่สามารถปล่อยคืนสู่ธรรมชาติได้ เพราะมันจะหาอาหารกินเองไม่ได้ครับ
หอคอยชมวิวและส่องดูนก มองออกไปจากหอนี้จะเห็นทุ่งนาของชาวบ้านกว้างไกลสุดลูกหูลูกตา กรงเลี้ยงนกกระเรียนพันธุ์ไทยไว้ให้เราได้ชมนกกระเรียนพันธุ์ไทยเป็นนกขนาดใหญ่ที่สง่างามมาก จุดเด่นคือบนหัวและคอมีแผ่นหนังสีแดง พร้อมด้วยจุดสีขาวที่ข้างหัว ปากยาวใช้จิกกินกุ้งหอยปูปลาสัตว์เล็กในทุ่งหรือในน้ำ ตัวผู้และตัวเมียมีขนาดใกล้เคียงกันจนยากจะแยกเพศได้ในช่วงเวลาปกติ แต่เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะเข้าเกี้ยวพาราสีตัวเมีย โดยกางปีกเต้นรำไปรอบๆ และใช้ลำคอเกี่ยวกระหวัดกันไปมาอย่างน่ารักมาก โดยมันเป็นนกผัวเดียวเมียเดียวตลอดชีวิต เมื่อจับคู่กันแล้วก็จะไม่เปลี่ยนคู่อีก จนกว่าจะตายจากกันไป น่าสรรเสริญจริงๆ ครับ!ปัจจุบันนกกระเรียนพันธุ์ไทยของศูนย์ฯ ที่ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติของบุรีรัมย์แล้ว มีเหลือรอดชีวิตประมาณ 70 ตัว อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าฉ่ำน้ำ แนวชายป่า และนาข้าว Organic ของชาวบ้าน ปีไหนฝนตกดีอากาศไม่ร้อนจัด มันก็จะผสมพันธุ์กันเยอะหน่อย นาข้าวผืนใดมีนกไปทำรังวางไข่แล้วมาแจ้งศูนย์ฯ ก็จะมีเงินอุดหนุนช่วยดูแลให้เจ้าของนาด้วย นกกระเรียนที่ปล่อยคืนสู่ธรรมชาตินั้นหากินอยู่ในระยะไกลในนาข้าวของชาวบ้าน จึงต้องใช้กล้อง Tele Scope กำลังขยายสูงๆ ส่องดูครับ
จุดที่ห้ามพลาดชมของศูนย์ฯ นี้ คือ ห้องนิทรรศการ ซึ่งบอกเล่าชีวิตและนิเวศวิทยาของนกกระเรียนพันธุ์ไทยไว้อย่างละเอียดมาก ทางรอดหนึ่งของนกกระเรียนพันธุ์ไทย คือการคืนพื้นที่อาศัยอันสงบ ปลอดภัย และมีอาหารอุดมสมบูรณ์ให้นก จึงเกิดโครงการแปลงนาข้าวอินทรีย์กับวิถีอนุรักษ์นกกระเรียนพันธุ์ไทยขึ้นที่บุรีรัมย์ ปัจจุบันมีเครือข่ายเกษตรกรผลิตข้าวอินทรีย์ แล้วปล่อยให้นกเข้ามาอาศัยได้เหมือนเพื่อนปัจจุบันเกิดเครือข่ายเกษตรอินทรีย์กับการอนุรักษ์นกกระเรียนพันธุ์ไทย คือ กลุ่มข้าวอินทรีย์บ้านสวายสอ ต.สะแกโพรง อ.เมืองบุรีรัมย์, กลุ่มข้าวอินทรีย์บ้านเกียรติเจริญ ต.โคกม้า อ.ประโคนชัย และกลุ่มโครงการระบบส่งสเริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ต.สะแกซำ อ.เมืองบุรีรัมย์ ร่วมกันผลิตข้าวแบรนด์ ‘SARUS RICE’ หรือ ‘ข้าวสารัช’ ข้าวหอมนกกระเรียน ซึ่งเป็นข้าว Organic แท้ๆ
หลังจากช่วงกลางวันเราได้ไปเที่ยวศูนย์อนุรักษ์นกกระเรียนพันธุ์ไทยสุดน่ารักกันมาแล้ว ยามค่ำวันเสาร์-อาทิตย์ในตัวเมืองบุรีรัมย์ อย่าพลาดเดินช้อปปิ้งกันที่ ‘ถนนคนเดินเซาะกราว’ เป็นถนนคนเดินยาวเหยียดกว่า 1 กิโลเมตร กลางเมือง ที่รวมเอาของกินอร่อยๆ ผักสดผลไม้ ของใช้ และผ้าทอพื้นเมืองสวยๆ มาไว้ในที่เดียว แค่เตรียมตัวกับเงินไปพอ ฮาฮาฮา อีกหนึ่ง Signature ของบุรีรัมย์ ซึ่งเรายังไม่เห็นว่ามีที่ไหนเหมือนก็คือ ‘ลูกชิ้นยืนกิน’ หน้าสถานีรถไฟบุรีรัมย์

ลูกชิ้นยืนกินมีขายตั้งแต่เช้าจดเย็น เป็นรถเข็นหลายสิบเจ้ามาจอดเรียงต่อกันตรงถนนทางเข้าหน้าสถานีรถไฟบุรีรัมย์ แต่ละเจ้ามีลูกชิ้นนานาชนิดละลานตาต่างกันไป รวมถึงผักสดไว้กินแกล้มด้วย ความเจ๋งคืนน้ำจิ้มแต่ละร้านมีสูตรเรียกลูกค้าต่างกัน เวลากินก็ไปหยิบมาจิ้มน้ำจิ้ม ยืนกินหน้าร้านเลยจนกว่าจะอิ่ม พอจะจ่ายตังค์ก็นับไม้ (ไม้ละ 3 บาท) สุดยอดไปเลย! หรือถ้าจะซื้อกลับบ้านก็ได้ไม่ว่ากันครับ แนะนำอีกร้านก่อนกลับบ้านคือ ‘เป็ดย่างคูเมือง’ อาหารขึ้นชื่อที่แขกไปใครมาก็นิยมแวะชิม ลักษณะเป็นเป็ดย่างตัวเล็กพอดีๆ ย่างมาเนื้อแห้งกรอบนอกนุ่มใน กินคู่กับน้ำจิ้มรสเผ็ดอมเปรี้ยวซอสมะขาม

แซ่บอีหลีเด้อ! เป็ดย่างคูเมืองส้มตำรสเด็ด สั่งได้ตามชอบสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ททท. สำนักงานบุรีรัมย์ โทร. 0-4463-4722-3

https://www.facebook.com/TATBuriram8/

https://i-san.tourismthailand.org

เที่ยวสุรินทร์ ถิ่นข้าว Organic ไทย

ไปเที่ยวสุรินทร์มาก็หลายครั้ง เพราะหลงใหลในชื่อเสียงของ ‘ข้าวหอมมะลิสุรินทร์’ ซึ่งทุกวันนี้มีปลูกไม่น้อยกว่า 3 ล้านไร่ที่นี่ อีกทั้งยังเป็นจังหวัดผู้บุกเบิกการปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ด้วย จึงมีคุณภาพดีเด่นระดับโลก ส่งออกแบบเทน้ำเทท่า ความเจ๋งของเขาคือข้าวหุงขึ้นหม้อ เมล็ดสวย และมีกลิ่นหอมหวนชวนรับประทานสมชื่อจริงๆ คงเพราะดินของสุรินทร์เป็นดินภูเขาไฟ อันเป็นส่วนหนึ่งของทุ่งกุลาร้องไห้ จึงอุดมด้วยแร่ธาตุต่างๆ เพียบเรามาเที่ยวสุรินทร์รอบนี้ กับ ททท. ได้เปิดมุมมองใหม่กันที่ ‘หอมมะลิ Factory’ ร้านกาแฟออร์แกนิคที่ต่อยอดมากจากโรงสีข้าว ตกแต่งสไตล์ Factory มีบริการเครื่องดื่มร้อน-เย็น อาหาร และเบเกอร์รี่ต่างๆ

หอมมะลิ Factory เลขที่ 84 หมู่ 6 ถนนปัทมานนท์ ต.จอมพระ อ.จอมพระ จ.สุรินทร์ / เปิดเวลา 7.30-18.00 น. / โทร. 08-7255-5657, 08-8884-5252
ภายในจัดเป็นบรรยากาศแบบ Chill Out Factory ที่น่านั่งชิลกันนานๆ รับรองถูกใจวัยรุ่นครับ
มีมุมช้อปปิ้งสินค้าข้าวหอมมะลิตราช้างชูรวงข้าว ในรูปแบบแพ็กเกจเก๋ๆ ต่างกันมากมาย กินข้าว Organic แล้วสบายใจ ปลอดภัยต่อสุขภาพครับ อีกหนึ่งไฮไลท์ของ หอมมะลิ Factory คือ ‘กาแฟข้าวหอมมะลิ’ คอกาแฟทุกคนห้ามพลาด เพราะกลิ่นหอมหวนจริงๆ รสชาติก็ไม่เข้มเกินไป ถือว่ามีความละมุนเป็นเลิศ อีกหนึ่งสถานที่เที่ยว ซึ่งสะท้อนวิถีชีวิตการกินอยู่ และความผูกพันกับเกษตรกรรมของคนสุรินทร์ ก็คือ ‘ตลาดเขียว’ ซึ่งมีเฉพาะช่วงเช้าวันเสาร์-อาทิตย์ ในตัวเมืองสุรินทร์เท่านั้นครับ
จุดเด่นของตลาดเขียว คือการนำสินค้าเกษตรพวกพืชผักผลไม้พื้นบ้านนานาชนิด มาจำหน่ายกันสดๆ ในราคาไม่แพง นอกจากนี้ยังมีของกินพื้นบ้าน ข้าวหอมมะลิ ของใช้และผ้าไหมสุรินทร์ให้เลือกกันอย่างจุใจ

ใครขยันตื่นเช้าก็จะได้สัมผัสความคึกคักแบบนี้ล่ะจ้า หนึ่งในเมนูอาหารท้องถิ่นห้ามพลาดของสุรินทร์ก็คือ ‘อังแก๊บบ๊อบ’ แม้ชื่อจะคล้ายอาหารฝรั่ง แต่แท้จริงแล้วมันคือเนื้อกบสับคลุกเคล้าสมุนไพรและเครื่องแกง บรรจงยัดใส่ไว้ในตัวกบอีกทีหนึ่ง แล้วนำไปย่างไฟให้หอมหวนชวนรับประทาน ถือเป็น Signature ของสุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่เขาล่ะ!!!

เราลองกินไปคำนึง ขอบอกเลยว่า อังแก๊บบ๊อบรสชาติเหมือนไส้อั่วเชียงใหม่เปี๊ยบ!ข้าวจี่ตลาดเขียว
ไก่ย่างตลาดเขียวรอยยิ้มและเสียงพิณอันไพเราะของพ่อใหญ่ในตลาดเขียวยามเช้า ผ้าไหมทอมือทอเครื่องหลายเนื้อหลายราคา มีให้เลือกกันละลานตาในตลาดเขียวครับ

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ททท สำนักงานสุรินทร์ โทร. 0-4451-4447-8 

https://www.facebook.com/tatsurin

https://i-san.tourismthailand.org

บ้านท่าสว่าง วิจิตรศิลป์แพรพรรณแห่งสยาม จ.สุรินทร์

“กลุ่มทอผ้ายกทอง จันทร์โสมา” แห่งบ้านท่าสว่าง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุรินทร์ เป็นหมู่อาคารเรือนไทยหลายหลังในสวนสวยแมกไม้ใหญ่ร่มรื่น ที่นี่มีทั้งส่วนอาคารพิพิธภัณฑ์ของสะสม ของท่านอาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย แกนนำกลุ่มจันทร์โสมา ที่มีจุดเด่นในการอนุรักษ์และฟื้นฟูผ้ายกทองชั้นสูงแบบราชสำนักไทยโบราณ โดยการนำใยไหมเส้นเล็กละเอียด (ไหมน้อย) มาย้อมสีธรรมชาติ ด้วยเทคนิคโบราณผสานกับการออกแบบลวดลายที่วิจิตรเหมือนในอดีต เช่น ลายเทพพนม ลายหิ่งห้อยชมสวน ลายก้านขดเต้นรำ ลายครุฑยุดนาค ฯลฯ ผสานกับลายผ้านุ่งที่คนสุรินทร์นิยมอยู่แล้ว คือ ลายอัมปรม ลายสาคู ลายสมอ ลายละเบิก ลายลูกแก้ว มีการใช้เส้นไหมกะไหล่ทองปั่นควบกับเส้นไหม ถักทอเป็นผ้าไหมยกทองอันวิจิตรงดงามอย่างเหลือเชื่อ

ยิ่งกว่านั้นบ้านท่าสว่างยังได้รับการสนับสนุนจากสำนักพระราชวัง และมูลนิธิในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระพันปีหลวง จนได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ทอผ้าไหมมอบให้กับผู้นำเอเปค เมื่อปี พ.ศ. 2546 บ้านท่าสว่างจึงเป็นที่รู้จักนับแต่นั้น แม่เฒ่าใช้เส้นใยจากใบไม้มาเตรียมไว้มัดเส้นไหม เตรียมลงย้อมในหม้อสีที่ต้มไว้เดือดๆ โดยย้อมทีละมัดๆ อย่างประณีต สีธรรมชาติจากพรรณไม้ต่างๆ นำมาจากมใบไม้, เปลือกไม้, แก่นไม้ แช่น้ำทิ้งไว้ค้างคืน แล้วนำมาเติมน้ำต้มให้เดือดควันฉุย จากนั้นนำมัดเส้นไหมหรือฝ้ายมาย้อมหลายครั้ง จนสีติดดี ได้สีเข้มตามต้องการ นี่คือเทคนิคการย้อมแบบร้อน จากทางเข้าด้านหน้า เราค่อยๆ เดินชมนกชมไม้เข้ามาสู่โรงย้อมผ้าสีธรรมชาติ ที่มีชาวบ้านกำลังช่วยกันนำเส้นไหมลงย้อมในหม้อบนเตาฟืนควันฉุย หม้อสีครามให้สีน้ำเงินสดใส หม้อน้ำต้มครั่งได้สีแดงชาติเตะตา หม้อน้ำจากต้นเขให้สีเหลืองแจ่มกระจ่างตา สีส้มได้จากดอกคำแสด สีเขียวมะกอกได้จากแก่นขนุน สีดำได้จากผลมะเกลือ สีน้ำตาลได้จากต้นหมาก และสีม่วงได้จากต้นหว้า เป็นต้น เมื่อนำผืนผ้าสีธรรมชาติมาทอผสมผสานกับไหมยกทองโบราณ ด้วยลวดลายที่มีความพิเศษของ อาจารย์วีรธรรม แล้ว ก็ยิ่งทำให้ผ้าไหมบ้านท่าสว่างกลายเป็นแพรพรรณอันเล่อค่าจนไม่น่าเชื่อ พอย้อมสีเส้นไหมเสร็จแล้ว ก็นำมาตากให้แห้งในที่ร่มลมโกรก หม้อหมักคราม ต้องหมั่นดูแลเพื่อไม่ให้ครามเน่า ชาวบ้านเรียกว่าครามยังมีชีวิต ถ้าครามเน่าเสีย หรือครามตายแล้ว จะเรียกว่า ครามหนีไปแล้ว! เสน่ห์ของสีธรรมชาติ คือ Colour Variation เป็นความหลากหลาย ความต่างของสีที่ไม่เท่ากันเลยในการย้อมแต่ละครั้ง ได้สีเข้มอ่อนตามการย้อม การผสม และวัสดุธรรมชาติที่ก่อกำเนิดสี ยิ่งใช้ยิ่งสวย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาก จากเรือนย้อมผ้า เราสาวเท้าเข้าไปที่เรือนทอผ้า และก็ต้องตื่นตาอีกครั้งกับกี่ทอผ้าขนาดยักษ์ของที่นี่ เพราะกี่ทอผ้าแต่ละอันของบ้านท่าสว่างนั้นมีความสูงกว่า 2-3 เมตร แต่ละกี่ต้องใช้คนช่วยกันทอ 4-5 คน เพราะผ้าไหมบ้านท่าสว่างมีมากถึง 1,416 ตะกอ จึงต้องอาศัยทักษะและทีมเวิร์กขั้นสูง เพราะต้องมีคนช่วยยกตะกอ 2-3 คน คนสอดไม้ 1 คน และคนทออีก 1คน เป็นความซับซ้อนทางด้านเทคนิคการทอ จนได้ผลงานเพียงวันละ 6-7 เซนติเมตรเท่านั้น ช่างทอซึ่งเป็นคุณป้าคุณยายเล่าให้ฟังว่า ผ้าลายพิสดารที่อยู่บนกี่นี้ล้วนมีคนสั่งทอทั้งสิ้น ผืนหนึ่งยาว 3 เมตร ราคาก็ไม่ต่ำกว่า 1.5-2.5 แสนบาท และต้องช่วยกันทุ่มเทแรงกายแรงใจทอนานหลายเดือนเลยทีเดียว เราสอบถามท่านว่ามีลูกหลานรุ่นใหม่มาร่ำเรียนสืบทอดวิชาทอผ้าบ้างหรือไม่? คุณป้ามองหน้ากันแล้วยิ้ม ตอบว่า “แทบไม่มีคนรุ่นใหม่มาสืบทอดวิชาทอผ้าเลย! สักวันมันคงสูญหายแน่นอน” เรื่องนี้จะจริงหรือไม่ เราไม่แน่ใจ แต่คงเป็นการบ้านที่ผู้รับผิดชอบต้องช่วยกันอนุรักษ์สืบสานมรดกของชาติแขนงนี้ไว้ให้ได้ กี่ทอผ้ายักษ์แห่งบ้านท่าสว่าง แต่ละอันสูงกว่า 3 เมตร ไม่ต่างจากตึก 3 ชั้น ที่มีทั้งชั้นล่าง ชั้นกลาง ชั้นบน ใช้ช่างทอที่มีความชำนาญสูงช่วยกันกี่ละไม่ต่ำกว่า 4-5 คน นับเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านขนานแท้ ที่สร้างความซับซ้อนบนผืนผ้าขึ้นมาได้ ลวดลายอันสวยงาม สลับซับซ้อน และวิจิตรพิสดาร ของผ้าไหมยกดิ้นทองบ้านท่าสว่าง ส่วนใหญ่จะเป็นการทำตามออร์เดอร์ โดยเฉพาะส่งเข้าวัง พอเดินชมสาธิตวิธีการทอผ้าไหมยกดิ้นทองในโรงทอแล้ว ก็ได้เวลาออกมาเดินช้อปปิ้งผ้าไหมบ้านท่าสว่าง อุดหนุนชาวบ้าน

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ททท สำนักงานสุรินทร์ โทร. 0-4451-4447-8 

https://www.facebook.com/tatsurin

https://i-san.tourismthailand.org

กลุ่มทอผ้ายกทองจันทร์โสมา บ้านท่าสว่าง โทร. 0-4414-0015 / บ้านท่าสว่าง อยู่ในอำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์ โดยอยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางเหนือ 10 กม. ใช้ถนนสายเกาะลอย-เมืองลิง (ทางหลวงชนบท สร.4026) จากตัวเมืองสุรินทร์ เป็นถนนลาดยางตลอด

ดื่มด่ำวิถีอีสานใต้ ภูมิปัญญาทอผ้าไหมบ้านสวาย จ.สุรินทร์

ถ้าเปรียบสุรินทร์เป็นถิ่นผ้าไหมงาม “บ้านสวาย” ก็เป็นหนึ่งในชุมชนที่สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมการทอผ้ามายาวนานหลายร้อยปี

บ้านสวายมีชื่อเสียงด้านการผลิตผ้าไหมที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของสุรินทร์ จุดเด่นอยู่ที่กรรมวิธีการทอที่สลับซับซ้อนมีความยาก ต้องใช้ความสามารถ และอาศัยทักษะความชำนาญในการทอ โดยเฉพาะการทอผ้าไหมมัดหมี่ยกดอก ซึ่งทำให้ผ้ามีเนื้อแน่นใส่ได้ทนทาน ทว่ายังความนุ่มพลิ้วไหวและระบายอากาศได้ดีเยี่ยม กว่า 70 เปอร์เซนต์ ของคนในชุมชนนี้ ยังคงสืบสานวัฒนธรรมการทอผ้า และรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มหัตถกรรมสตรีทอผ้าไหมบ้านสวาย เพื่อพัฒนางานแขนงนี้มิให้สูญหาย
ท่านผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานสุรินทร์ ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกคู่กับนางสาวสุรินทร์ ปี 2562 ที่บ้านสวายตอนพาเราไปเที่ยว ปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่า มีลายผ้าไหมหลายร้อยลายเกิดขึ้นในตำบลสวายทั้ง 14 หมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นลายต่างๆ ที่บรรพบุรุษคิดค้นขึ้น หรือลายที่ชาวบ้านคิดใหม่จนกลายเป็นเอกลักษณ์ในวันนี้ อาทิ ลายช้าง, ลายนกยูง, ลายนาคี, ทำให้ชุมชนบ้านสวายโด่งดังเป็นที่รู้จัก มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมตลอดปีการเที่ยวชมวิถีภูมิปัญญาผ้าไหมบ้านสวาย เขาจะมีการแบ่งเป็นฐานๆ ไว้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การปลูกต้นหม่อน เลี้ยงหนอนไหม ต้มไหมสาวเส้นไหม และทอผ้าไหม รวมไปถึงการช้อปปิ้งปิดท้าย หรือจะอยู่กินอาหารพื้นบ้านในชุมชนก็ดีไม่น้อย เพราะจะได้สัมผัสวิถีคนบ้านสวายอย่างลึกซึ้งจุดเริ่มต้นของวงจรคือหนอนไหม ที่กำลังพยายามถักทอเส้นใยสีเหลืองอร่ามห่มคลุมตัวเองไว้ เพื่อเข้าระยะดักแด้หนอนไหมที่ฟักออกจากดักแด้กลายเป็นผีเสื้อไหม ตัวผู้และตัวเมียก็จะมาผสมพันธุ์กันด้วยความรัก แล้วเกิดไข่สีขาวฟองเล็กๆ มากมาย เพื่อเพาะเป็นหนอนไหมรุ่นต่อไปไม่รู้จบรังไหมที่มีตัวหนอนไหมหรือดักแด้ไหมอยู่ภายใน ก่อนนำลงต้มน้ำร้อนเพื่อสาวเส้นไหมออกมา ใช้ถักทอเป็นผ้าไหมต่อไปการสาวเส้นไหมจากรังไหมในน้ำเดือด ชาวบ้านจะทำกันเฉพาะวันที่ไม่ใช่วันพระเท่านั้นนักท่องเที่ยวกำลังเรียนรู้วิธีการสาวเส้นไหมจากรังไหมต้มในน้ำเดือดเมื่อสาวเส้นไหมไปหมดแล้ว สิ่งที่เหลืออยู่ในรังไหมก็คือดักแด้หรือหนอนไหมไร้ชีวิต ซึ่งกลายเป็นอาหารโปรตีนสูงบำรุงสุขภาพแบบฉบับพื้นบ้านมาช้านาน เราทดลองชิมแล้ว รสชาติเหมือนกินข้าวโพดต้มเลยล่ะปั่นเส้นไหมสีทองอร่ามตามธรรมชาติที่ตากแห้งแล้วไว้เป็นม้วน เพื่อเตรียมปั่นลงกระสวยไว้ให้ช่างทอผ้าต่อไปชาวบ้านสวายช่วยกันเก็บรังไหมที่มีตัวดักแด้อยู่ภายใน เตรียมนำไปต้มเพื่อสาวเส้นไหมออกมาหนูน้อยน่ารักมาช่วยเป็นกำลังใจให้คุณยายในการทอผ้าไหมเส้นไหมดิบตากแห้งที่ผ่านการต้มและสาวไหมแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการปั่นแยกเส้นไม่ให้พันกันเพื่อเตรียมลงกระสวยของจริงของแท้ เกิดจากวิถีพ่อแม่พาทำ เรียนรู้วิธีการทอผ้าไหมมาหลายชั่วอายุคนที่บ้านสวาย จ.สุรินทร์
เอกลักษณ์ของผ้าไหมสุรินทร์ คือเนื้อผ้าไหมบางเบา อ่อนนุ่ม พลิ้วไหว ระบายอากาศดี ใส่แล้วไม่ระคายตัว ด้วยว่าอากาศในแถบอีสานใต้ค่อนข้างร้อนจัด ผ้าไหมสุรินทร์จึงใส่สบาย เข้ากับภูมิอากาศภูมิประเทศได้ยอดเยี่ยม
เส้นไหมมัดหมี่ คือเทคนิคการทออันลือชื่อของบ้านสวายชมขั้นตอนการทอผ้าไหมจนครบวงจรแล้ว สุดท้ายก็ต้องไปช้อปปิ้งกันที่ ‘ตลาดใต้ถุนเรือน’ ของบ้านสวาย ตื่นตาตื่นใจกับผ้าไหมแพรพรรณที่ละเอียดประณีตอันเกิดจากความอุตสาหะและความรักของชาวบ้านที่นี่ล่ะ ผ้าไหมที่นี่มีขายตั้งแต่ราคาหลักพันไปจนถึงหลักหมื่นหลักแสน ขอร้องว่ากรุณาอย่าต่อราคานะครับ เพราะได้เห็นกันมาแล้วว่า กว่าจะได้แต่ละผืนต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจใช้เวลานานแค่ไหน!หนึ่งในสุดยอดผ้าสุรินทร์ลายโบราณของบ้านสวาย คือ ผ้าโฮล และผ้าอัมปรม ซึ่งมีการผลิตน้อย ต้องรีบจอง ใครได้ไปครอบครองขอให้ภูมิใจ เพราะสีและลวดลายเป็นแบบสุรินทร์ดั้งเดิม ใส่แล้วไม่อายใครแน่นอน
กิจกรรมสนุกๆ ของนักท่องเที่ยวที่ได้มาเยือนบ้านสวาย ก็คือ การทำผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติด้วยฝีมือเราเองขั้นแรกก็ต้องเอาหนังสติ๊กมามัดเป็นปมบนผ้าไหมสีขาวล้วนก่อน มัดปมต่างกันก็จะได้ลายต่างกัน แล้วแต่จินตนาการ จากนั้นก็นำผ้าไปชุบน้ำเปล่า บิดพอหมาดๆ แล้วนำลงจุ่มสีธรรมชาติที่เตรียมไว้ จุ่มได้หลายครั้ง ยิ่งจุ่มเยอะสียิ่งเข้ม

ท่าน ผอ. ททท. สำนักงานจังหวัดสุรินทร์ กับนางสาวสุรินทร์ ปี 2562 ช่วยกันต้มผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติบนเตา เพื่อให้สีติดดีขึ้น
จากนั้นก็แกะหนังสติ๊กออกจากผ้ามัดย้อม นำไปตากให้แห้ง ก็จะได้ผลงานผ้าชิ้นเดียวในโลกฝีมือเราเองไงล่ะ ฮาฮาฮา
ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติฝีมือเราเอง เป็นของที่ระลึกจากบ้านสวายที่จะไม่มีวันลืมมื้อเที่ยงวันนั้นที่บ้านสวาย เราได้ชิมอาหารพื้นบ้านแบบง่ายๆ แต่รสชาติเกินตัว มีทั้งแกงกล้วย ลาบหมู น้ำพริกปลาทู ต้มส้มปลา และไข่เจียวยัดไส้

ขอบอกว่ามาเที่ยวที่นี่แค่วันเดียวก็ประทับใจแล้ว

บ้ายบาย บ้านสวาย I LOVE YOU

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ททท สำนักงานสุรินทร์ โทร. 0-4451-4447-8 

https://www.facebook.com/tatsurin

https://i-san.tourismthailand.org

ศูนย์การเรียนรู้ไหมย้อมสีธรรมชาติ โดยครูผ้าแม่สำเนียง โทร. 044546656 / กลุ่มทอผ้าอุตมะไหมไทย โทร. 08-4959-9747 / ท่องเที่ยวชุมชน อบต. บ้านสวาย โทร. 0-4445-46595, 08-6249-5683