ผ้าไหมแพรวา ราชินีแห่งแพรพรรณไทย

ผ้าแพรวา 1

เมื่อพูดถึงเรื่องการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อไปชื่นชมความงามของผืนผ้าแพรพรรณในเมืองไทยเรา ก็ต้องยอมรับว่าเป็นสวรรค์ของคนรักผ้า รักงานศิลป์อย่างแท้จริง เพราะในแทบทุกจังหวัด แทบทุกภูมิภาค ล้วนมีผ้าทอเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของตนเองด้วยกันทั้งนั้น โดยเฉพาะในดินแดนภาคอีสาน ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว มิใช่ดินแดนแห้งแล้งอย่างที่หลายคนเข้าใจ ทว่าอีสานคือดินแดนอันรุ่มรวยด้วยวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตผู้คนหลายเผ่าหลากพันธุ์

ในทริปนี้ เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับ “ราชินีแห่งผ้าไหมไทย ผ้าไหมแพรวา” แห่งอำเพอบ้านโพน จังหวัดกาฬนสินธุ์ผ้าแพรวา 2

ผ้าไหมแพรวา ได้รับการยกย่องให้เป็นราชินีแห่งไหมไทย! เพราะเป็นผ้าไหมที่มีลวดลายวิจิตพิสดาร ประณีต สวยงาม อย่างที่ใครเห็นก็ไม่กล้าปฏิเสธ! ทั้งในส่วนของสีสันอันเตะตา ซึ่งแต่เดิมใช้สีหลักเป็นสีแดงจากตัวครั่ง รวมถึงลวดลายทรงเรขาคณิตแบ่งจังหวะลวดลายบนผืนผ้าอย่างลงตัว ผืนผ้ามีความแวววาว สูงค่าน่าสวมใส่ ทำให้ผ้าไหมแพรวาเป็นที่ต้องการของทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ อย่างที่ผลิตกันแทบไม่ทันในปัจจุบัน!ผ้าแพรวา 3

แต่ก่อนจะไปลงลึกถึงเรื่องผ้าแพรวากันมากกว่านี้ เราคงต้องมาทำความรู้จักกับ “ชาวผู้ไทย” หรือ “ภูไท” กันสักเล็กน้อยก่อน เพราะว่าชาวผู้ไทยนี้เอง คือเจ้าของผ้าไหมแพรวาอันเลื่องชื่อ โดยแต่เดิมในอดีตนั้น ชาวผู้ไทยอาศัยอยู่ในแคว้นสิบสองจุไทย (ดินแดนตอนเหนือของลาวและเวียดนาม ซึ่งต่อกับจีนตอนใต้) จากนั้นในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ถูกภัยสงคราม กวาดต้อนเข้ามาสู่แผ่นดินสยามหลายระลอก โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งชาวผู้ไทยได้ถูกกวาดต้อนเข้ามาสู่แถบจังหวัดกาฬสินธุ์ สกลนคร และนครพนม (เทือกเขาภูพาน) มากที่สุด ทว่าชาวผู้ไทยในแต่ละจังหวัดก็แต่งกายต่างกัน อย่างเช่นผู้ไทย อำเภอบ้านโพน กาฬสินธุ์ก็จะแต่งกายด้วยผ้าพื้นสีดำเป็นหลัก ส่วนผู้ไทยอำเภอเรณูนคร นครพนม ก็จะแต่งกายด้วยสีฟ้าครามเป็นหลัก เป็นต้น

ชาวผู้ไทยจากลาวที่เข้ามาตั้งรกรากใหม่อยู่บนผืนดินอีสาน จริงๆ แล้วถือเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนมากที่สุด รองจากคนลาวเลยก็ว่าได้ ลักษณะของชาวผู้ไทยคือเป็นชนเผ่าที่มีอารยธรรมค่อนข้างสูง นิสัยรักสงบ ยิ้มแย้ม หน้าตาดี ผิวพรรณดี โอบอ้อมอารี และมีฝีมือทางด้านงานถักทอผ้าแพรวา นำติดตัวเข้ามาสืบสานจนถึงปัจจุบันผ้าแพรวา 4

ผ้าไหมแพรวาของชาวผู้ไทยจะใช้เทคนิคการจกและขิดผสมกัน โดยแต่เดิมผืนผ้านั้นมีความยาวเพียง 1 วา หรือ 1 ช่วงแขน ใช้สำหรับคลุมไหล่หรือห่มสไบเฉียง เรียกว่า “ผ้าเบี่ยง” ใช้พาดบ่าไปวัดไปวาในโอกาสงานเทศกาลบุญประเพณี หรือเทศกาลงานสำคัญ กระทั่งถึงปี พ.ศ. 2520 ครั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยี่ยมราษฎรผู้ไทย บ้านโพน กาฬสินธุ์ ทรงเห็นสาวชาวบ้านห่มผ้าเบี่ยงมารอรับเสด็จ จึงทรงสนพระทัยมาก จากนั้นจึงมีการส่งเสริมให้มีการทอเพิ่มหน้ากว้างและเพิ่มความยาวของผ้าแพรวา เพื่อนำไปตัดชุด ทำประโยชน์ได้หลากหลายมากขึ้น ให้สอดรับวิถีชีวิตและการใช้งานยุคปัจจุบัน ผ้าแพรวาจึงได้ประกาศความยิ่งใหญ่ในวงการผ้าไทย มาถึงทุกวันนี้
ผ้าแพรวา 5

ลายหลักของผ้าไหมแพรวา เป็นทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน สลับด้วยลายคั่นเป็นเส้นทางยาว ไล่ไปจนถึงลายเชิงหรือปลายสุดของผ้าผ้าแพรวา 6

ลวดลายบนผืนผ้าแพรวา เกิดจากการใช้เทคนิคการจกและขิด ในอดีตใช้สีธรรมชาติ แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนมาใช้สีเคมีบ้างตามความนิยมของยุคสมัย จากที่เคยนิยมทอแต่สีแดง เหลือง ขาว ดำ ทุกวันนี้มีให้เลือกทุกสีแล้วล่ะผ้าแพรวา 7.1

กลุ่มสตรีทอผ้าไหมแพรวาบ้านโพน สหกรณ์ศูนย์ศิลปาชีพทอผ้า ผ้าไหมแพรวาบ้านโพน ตั้งอยู่เลขที่ 173 หมู่ 5 ตำบลบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ โทร. 0-4385-6204, 08-3338-3956ผ้าแพรวา 7

กลุ่มทอผ้าไหมแพรวาบ้านโพน เขาผลิตกันเองในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ปลูกต้นหม่อน เลี้ยงไหม สาวไหม ไปจนถึงการทอ และทำการตลาดขายกันอย่างเป็นระบบ นักท่องเที่ยวสามารถเข้าเยี่ยมชมขั้นตอนเหล่านี้ได้ตลอดปีเลยจ้าผ้าแพรวา 8

เส้นไหมดิบจะมีสีเหลืองทองอร่ามอย่างนี้เอง ว้าว!
ผ้าแพรวา 9

ตัวหนอนไหม กำลังกินใบหม่อนอย่างเอร็ดอร่อย เพื่อสะสมพลังงานและสารอาหารไว้ ก่อนที่มันจะเข้าสู่ระยะดักแด้ ที่มีการสร้างรังไหมสีทองห่อหุ้มตัวไว้ โดยในระยะนั้นนั่นล่ะ ที่เราจะได้เส้นไหมจากรังดักแด้ของมัน นำมาทอผ้า
ผ้าแพรวา 10

นำรังไหมมาต้ม แล้วสาวไหมออกมาทีละเส้น ปั่นรวมกันเป็นเส้นไหม พร้อมใช้ทอผ้าต่อไปผ้าแพรวา 11 ผ้าแพรวา 12.1

ต้มรังไหมให้ร้อนได้ที่ ค่อยๆ สาวเส้นไหมออกไปปั่นรวมกัน
ผ้าแพรวา 12

ปั่นเส้นไหมเข้ากระสวย เตรียมนำไปใช้งานผ้าแพรวา 13 ผ้าแพรวา 14

บางครั้งก็ต้องมีการย้อมสีเส้นไหม หรือเส้นฝ้าย ก่อนนำไปทอเป็นผืน เพื่อให้เกิดความหลากหลายของสีสันมากขึ้น
ผ้าแพรวา 15 ผ้าแพรวา 16

เส้นไหมที่ผ่านกระบวนการย้อมมาเรียบร้อยแล้ว มีหลายสิบสี อีกไม่นานเมื่อผ่านมือช่างทอผ้าแพรวาผู้ชำนาญการ ก็จะกลายมาเป็นผืนผ้าอันสูงค่า มีราคาตั้งแต่หลักพันบาท ไปจนถึงหมื่นบาท และแสนบาท! ตามความยากของการทอ โดยลวดลายในปัจจุบัน ยังมีการอนุรักษ์ลายโบราณไว้นับร้อยลายผ้าแพรวา 17 ผ้าแพรวา 18

หนึ่งในเสน่ห์การทอผ้าแพรวาที่ไม่มีใครเหมือน ก็คือการใช้ปลายนิ้วก้อยเกี่ยวเส้นยืนของเส้นไหมบนกี่ขึ้นมา แล้วสอดเส้นไหมอีกแนวหนึ่งเข้าไป ผูกให้เกิดลายตามต้องการ โดยลายเหล่านี้จริงๆ แล้วแต่ละครอบครัว แต่ละคน ก็มีลายเฉพาะของตนเอง ที่แม่จะสอนต่อให้ลูกสาวสืบกันมาเป็นรุ่นๆ ในภาษาอีสานเรียกว่า “พ่อแม่พาทำ”ผ้าแพรวา 19

การผูกลายอันสลับซับซ้อนของผ้าแพรวา ต้องใช้เวลาเรียนรู้กันนานหลายปี จึงต้องใช้ช่างทอที่มีใจรักในงานศิลป์อย่างแท้จริง โชคดีที่มีโครงการศิลปาชีพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เข้ามาโอบอุ้ม ทำให้ผ้าแพรวาไม่สูญหายไปจากผืนดินสยาม
ผ้าแพรวา 20 ผ้าแพรวา 21 ผ้าแพรวา 22

ผ้าไหมแพรวาลายจกผ้าแพรวา 23

ผ้าไหมแพรวาลายจกผ้าแพรวา 24

ผ้าไหมแพรวาลายจกผ้าแพรวา 25

เมื่อทอเสร็จแล้ว ก็จะได้ผ้าไหมแพรวาอันเลอค่า นิยมสวมใส่กันตั้งแต่ประชาชนทั่วไป จนถึงเจ้านายในวังหลวง รวมถึงสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ก็ทรงโปรดผ้าไหมแพรวาอย่างมาก
ผ้าแพรวา 26

สาวผู้ไทยบ้านโพน ในชุดการแต่งกายแบบดั้งเดิม เสื้อทรงกระบอกสีดำเข้ารูป และมีผ้าแพรวาหน้าแคบพาดบ่า พร้อมกับยิ้มอันจริงใจ คอยต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกคนผ้าแพรวา 27

ที่บ้านโพนมีผ้าไหมแพรวาให้เลือกชมเลือกซื้อกันอย่างจุใจ ราคาอาจจะสูงหน่อย แต่ขอร้องว่าอย่าต่อเลยนะ เพราะกว่าจะได้มาสักผืน ต้องใช้ความอุตสาหะอย่างมาก นับเป็นงานศิลป์ที่ควรค่าแก่การซื้อมาใช้และสะสมไว้ประดับตัวผ้าแพรวา 28

เห็นแล้วก็น้ำลายไหล อยากซื้อทุกผืนเลย!!!ผ้าแพรวา 29

ผ้าไหมแพรวา เคยประกาศศักดาความงามในงานกาล่าดินเนอร์ที่จังหวัดกาฬสินธุ์จัดขึ้น เป็นการนำผ้าแพรวามาดีไซน์ใหม่ให้ดู Modern จนต้องตะลึง!!!
ผ้าแพรวา 30 ผ้าแพรวา 31 ผ้าแพรวา 32 ผ้าแพรวา 33 ผ้าแพรวา 34 ผ้าแพรวา 35 ผ้าแพรวา 36 ผ้าแพรวา 37

ในตัวอำเภอบ้านโพน มีร้านจำหน่ายผ้าแพรวาอยู่หลายร้าน เมื่อเยี่ยมชมศูนย์การผลิตของชาวบ้านแล้ว ก็ลองแวะเลือกชมเลือกซื้อกันได้ตามอัธยาศัยนะครับ
ผ้าแพรวา 38 ผ้าแพรวา 39 ผ้าแพรวา 40 ผ้าแพรวา 41 ผ้าแพรวา 42logo123-300x300Special Thanks : ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคอีสาน และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานขอนแก่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม สนับสนุนการเดินทางเป็นอย่างดี สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0-4322-7714-5

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *